THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ล็อกดาวน์เฉิงตู
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เศรษฐกิจจีน เสี่ยงสูงขึ้น เมื่อต้องกลับมาล็อกดาวน์เฉิงตู

... • 12 ก.ย. 2022

HIGHLIGHTS

7 mins. read
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเด่นสวนทางตลาดอื่นที่เข้าสู่โหมด Risk Off ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.75% ในการประชุมวันที่ 20-21 กันยายนนี้
  • จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เตรียมประกาศในสัปดาห์นี้ ว่าจะลดลงจากระดับ 8.5% ในเดือนที่แล้วหรือไม่ รวมทั้งยังต้องติดตามตัวเลขยอดค้าปลีกว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 10.3% ด้วยหรือไม่ 
  • เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงมากขึ้นหลังกลับมาล็อกดาวน์เฉิงตู แต่เชื่อรัฐบาลจีนจะยังผลักดันมาตรการเผื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 4% ในปีนี้ 
  • แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ เชื่อว่าจะยังให้น้ำหนักกับความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีมากขึ้น หลัง Fed ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ ขณะที่จีนยังเผชิญแรงกดดันจากโควิดจนต้องล็อกดาวน์เฉิงตู

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสวนทางกับภาพตลาดอื่นๆ ที่เข้าสู่สถานการณ์ปิดรับความเสี่ยง(Risk Off) หลังจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลงตามคาด ขณะที่รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อคุมเงินเฟ้อ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงมากขึ้น ทั้ง PMI ภาคบริการสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงภาคการผลิตเยอรมนีและการส่งออกของจีนที่ชะลอลงมาก 

 

ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) อินโนเวสท์ เอกซ์ (InnovestX) มองว่า ภาพตลาดสหรัฐฯ ที่ยังคงฟื้นตัวสวนทางกับภาพตลาดอื่นๆ ที่เข้าสู่สถานการณ์ Risk Off เป็นเพราะตลาดมีความชัดเจนในนโยบายการเงินว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 20-21 กันยายนนี้ หลังจาก 

 

1. ตัวเลขตลาดแรงงานยังขยายตัวดี แม้ว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นบ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้คนที่ออกจากตลาดแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง 

 

2. ตัวเลขภาคบริการ (ISM Service) ยังคงแข็งแกร่ง (แม้ว่าตัวเลข PMI จะลดลงมากก็ตาม) 

 

3. การส่งสัญญาณของรองประธาน Fed รวมถึงประธาน Fed สาขาต่างๆ ว่ายังต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ 

 

4. สำนักข่าวสำคัญ เช่น WSJ และ CNBC คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะขึ้น 0.75% 

 

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าความเสี่ยงเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นทั้งในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ จะกระทบต่อการลงทุนในระยะถัดไป ทั้งนี้ มองว่าเศรษฐกิจที่เสี่ยงสูงสุดได้แก่ยุโรปที่กำลังเผชิญกับเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยที่ต่ำ และวิกฤตพลังงาน 

 

ส่วนในจีนมองว่าเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการล็อกดาวน์เฉิงตูนั้นน่าจะยังคงรุนแรงก่อนการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อต่ออายุประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ขณะที่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงก็จะกระทบต่อการส่งออกจีนด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็พร้อมใช้มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจจีนน่าจะยังคงขยายตัวได้ประมาณ 4% ในปีนี้

 

จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลุ้นต่ำกว่า 8.5%

สัปดาห์นี้ ยังต้องจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ว่าจะลดลงจาก 8.5% ในเดือนที่แล้วหรือไม่ รวมถึงจับตาตัวเลขยอดค้าปลีกว่าจะชะลอลงจากเดือนที่แล้วที่ 10.3% ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจที่มากขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ยังมีการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษที่ตลาดมองว่าอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5%

 

InnovestX มองว่า ระยะสั้น ตลาดการเงินเริ่มชัดเจนขึ้นว่า Fed จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงต่อเนื่องเพื่อคุมเงินเฟ้อขณะที่เศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดการเงินในเดือนกันยายนยังมีแนวโน้มผันผวนจนกว่าจะทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ด้านความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปยังคงต้องระมัดระวังต่อไป เนื่องจากปัญหาขาดแคลนก๊าซยังไม่คลี่คลาย ส่วนประเทศจีนยังคงจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นระยะเพื่อจัดการโควิด ส่งผลให้เศรษฐกิจใน 3Q22 มีแนวโน้มชะลอตัว ดังนั้น เราแนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังสำหรับการลงทุนในระยะสั้น โดยแนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีเป็นหลัก 

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ลดลงทำให้ความกังวลเรื่องนโยบายการเงินที่ตึงตัวลดลง ในขณะที่ตัวเลขภาคบริการออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ ตลาดเกิดใหม่ (EM) มีประเด็นกดดันจากการขยายเวลาในการล็อกดาวน์ในจีน การอ่อนค่าของค่าเงินในเอเชีย รวมถึงการส่งออกของจีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ออกมาต่ำกว่าที่คาด

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ 

1. ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงมาที่ 8.1%YoY 

2. การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5%

3. การประกาศตัวเลขอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร 

4. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยและเยอรมนีที่คาดว่าจะชะลอตัวลงตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 

5. การเจอกันของประธานาธิบดีจีนและรัสเซียที่อุซเบกิสถาน 

6. ตัวเลขค้าปลีกที่จะสะท้อนกำลังซื้อของสหรัฐฯ จากการขึ้นดอกเบี้ย 

7. ผลประกอบการ Adobe และ Oracle

 

กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้

มองตลาดยังให้น้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีมากขึ้น เนื่องจาก Fed ยังคงเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งจีนยังใช้นโยบาย Zero-COVID ทำให้มีการล็อกดาวน์เมืองใหญ่เป็นระยะ และวิกฤติพลังงานในยุโรปยังไม่คลี่คลาย จึงแนะนำ Selective ในหุ้นคุณภาพที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

 

1. หุ้น Defensive ที่ผลประกอบการอิงเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศ เลือก ZEN, HTC, ADVANC 

 

2. หุ้นที่คาดได้ Sentiment บวกจากสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งเป็นความเสี่ยงตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นในกันยายน-ตุลาคม เลือก HMPRO, GLOBAL, CPALL, BJC, TASCO


หุ้นที่ได้อานิสงส์ราคาน้ำมันปรับตัวลง ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของมาร์จิ้น เลือก GPSC, EPG

 

ช่วงสั้นยังแนะนำเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้ 

 

1. หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพพลายเชน หลังจีนยังคงดำเนินมาตรการล็อกดาวน์เมืองใหญ่เป็นระยะ โดยเฉพาะที่เป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์อย่าง เฉิงตู, เซินเจิ้น, กุ้ยหยาง ซึ่งมีโอกาสกดดันคำสั่งซื้อและการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตในไทย 

 

2. หุ้นท่องเที่ยวหลังมองราคาหุ้นปรับขึ้นมาแรงแล้ว ขณะที่ล่าสุดอาจได้รับ Sentiment ลบจากจีนกลับมาล็อกดาวน์และยุโรปเผชิญปัญหาค่าครองชีพ

 

สำหรับในส่วนของเงินทุนเคลื่อนย้ายช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินสดพบว่ากระแสเงินไหลเข้าพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งสะท้อนภาพ Risk Off ของตลาด ขณะเดียวกันยังพบว่ามีแรงเทขายในหุ้นกลุ่มการเงิน พลังงาน และสินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงหุ้นขนาดเล็กสะท้อนความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง 

 

ในส่วนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและธีม Growth ยังเผชิญกับกระแสเงินไหลออก โดยมีการปรับประมาณการลงกดดันอยู่ ส่วนตลาด EM มีเงินไหลเข้าจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวน้อยกว่าและมีการฟื้นตัวที่ดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีแรงขายในตลาดยุโรปอย่างต่อเนื่องจากความเสี่ยงด้านพลังงาน รวมถึงตลาดหุ้นจีนจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และยังพบว่าเงินยังไหลออกจากโลหะมีค่า ซึ่งเป็นผลจากเงินดอลลาร์ที่ยังแข็งค่าและคอยกดดันต่อเนื่อง

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว(DM) มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักที่ต่างๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัว อย่างไรก็ดี การเปิดเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม DM และผลประกอบการ บจ. DM ที่ยังขยายตัวได้ดีจะสามารถช่วยประคองให้ตลาด DM มีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวขึ้นบางส่วน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่ายังคงมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของ Fed แต่เรามองว่าตลาดฯ ยังได้แรงหนุนจาก Valuation ตลาดฯ ที่ลดลง และกลับมาอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล จากการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลของ บจ.สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการที่ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ มีสัดส่วนกลุ่ม Growth ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาด DM อื่นๆ จึงทำให้ได้อานิสงส์จากแรงซื้อนักลงทุน หากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ Sentiment ของนักลงทุนตลาดฯ ที่ตื่นตระหนกมากเกินไป อาจเป็นผลทำให้มีแรงซื้อกลับได้ในช่วงสั้น โดยเฉพาะหาก CPI เดือนสิงหาคมออกมาต่ำกว่าที่คาด

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นยุโรป แม้ว่าจะเริ่มปรับตัวลงมาและมี Valuation ที่ถูก แต่เรามองว่ายังมีหลายปัจจัยเสี่ยงกดดันภาพการลงทุน โดยเฉพาะวิกฤติพลังงานในยุโรปที่เป็นปัจจัยกดดันหลัก ซึ่งยังไม่ได้ถูกสะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจ และจะกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของ บจ. อีกทั้งเราเริ่มเห็นการส่งผลเงินเฟ้อไปยังผู้บริโภคมากขึ้นสะท้อนจาก CPI ที่เร่งตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม ในขณะที่นโยบายทางการเงินของ ECB มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นกว่าที่คาดไว้ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันเศรษฐกิจยุโรป

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังจากที่ Outperform ตลาดอื่นไปมาก และยังขาดปัจจัยสนับหนุนใหม่ เรามองว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออก ในขณะที่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภายในประเทศได้จากสินค้านำเข้าที่มีราคาแพงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี Valuation ยังอยู่ในระดับที่ต่ำนั้นยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนอยู่หากมีการปรับตัวลงมา ประกอบกับการเปิดประเทศในช่วงเดือนกันยายนเป็นปัจจัยช่วยหนุน Sentiment กลุ่ม Reopening 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

หุ้นจีน H-share เริ่มมี Valuation ดัชนีฯ ที่ไม่แพงเมื่อเทียบตลาดหุ้นโลก การคุมด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่น่าจะผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว และความเสี่ยง Delisting ของหุ้นจีน ADRs ที่เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเรื่องการกีดกันการค้า และการคว่ำบาตรทางอ้อมจากสหรัฐฯ ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับรัสเซียและไต้หวัน ความกังวลบนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีอยู่ การระบาดรอบใหม่ และกำไร บจ. ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลงต่อ จะยังกดดัน Upside ของดัชนีฯ 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นจีน A-share โดยดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มจะต้องเร่งนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรพิเศษจากโควตาที่ยังไม่ได้ใช้ก่อนหน้า ไปใช้ให้หมดภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ แม้ว่าแนวโน้มการคงนโยบาย Zero-COVID โดยรวมของทางการจีนที่อาจยาวนานขึ้น หลังจีนเผชิญการระบาดอีกรอบในเมืองหลักที่สำคัญ เช่น เซินเจิ้น และเฉิงตู ตลอดจนปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังมีอยู่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนปีนี้ให้ห่างไกลจากเป้า GDP Growth ที่ 5.5% ก็ตาม

 

กองทุนแนะนำ

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

SCB China A Shares Active Equity

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Schroder International Selection Fund China A กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของทรัพย์สินกองทุน ในตราสารทุนและตราสารที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนและซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีน

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นไทย มีปัจจัยสนับสนุนหลักจาก 1. การเปิดเมือง ซึ่งหนุนการฟื้นตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และ 2. Foreign Fund Flow ที่กลับเข้ามาลงทุนในตลาด EM-ASEAN โดยไทยเองมีแนวโน้มที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะฟื้นตัวตามรายได้ท่องเที่ยว ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่กำลังลดลง (เงินเฟ้อพีคในเดือนสิงหาคม) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหนุนให้ต่างชาติอยากเข้ามาในตลาดไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ แนวโน้มการส่งออกที่อาจชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ปัญหา Supply Constraint ในจีนจากภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ และไต้หวัน ซึ่งหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ

 

กองทุนแนะนำ

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่ยังมีโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ดี (ตามการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม และฐานที่ต่ำในช่วง 2H21) จากผลประกอบการ บจ. เวียดนามที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อ จาก Sentiment ของนักลงทุนรายย่อยภายในประเทศที่ดีขึ้น จาก Valuation ตลาดฯ ที่ไม่แพง จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเวียดนามที่เริ่มลดลง รวมทั้งรายละเอียดของกฎระเบียบบนตลาดหุ้นกู้ในร่างล่าสุดที่ไม่ได้เข้มงวดเท่ากับที่ตลาดคาดไว้

 

กองทุนแนะนำ

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

SCB Vietnam Equity Fund

  • กองทุน SCB Vietnam ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1. เศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการบริโภคและ FDI ในประเทศ 2. Earning มีแนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่อง 3. Valuation อยู่ในระดับที่น่าลงทุน และ 4. Foreign Fund Flow ที่เข้ามาใน EM-ASEAN 

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับขึ้น 30% หลังการลดอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงของทางการ ซึ่งอาจกระทบต่อเงินเฟ้อให้เร่งตัว กดดันเส้นทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือน กระทบต่อเนื่องไปยังการขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังต้องจับตาผลกระทบต่อ Sentiment ของตลาดหุ้น อันเกิดจากการประท้วงของประชาชนที่ไม่พอใจการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ทองคำ ในระยะสั้นถึงกลางราคาทองคำจะยังคงถูกกดดันจาก ทิศทาง Real Yield ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จนกว่า Fed จะเริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคามีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก 1. การเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่มีความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอย 2. ความต้องการถือครองจากธนาคารกลางเพื่อเป็นทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น 3. ความต้องการถือครองในฐานะเครื่องประดับที่ฟื้นตัวตาม Wealth Effect ในเอเชีย

 

น้ำมัน / อาหาร

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ล็อกดาวน์เฉิงตู

 

ราคาน้ำมันมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว และอุปสงค์เพื่อใช้แทนก๊าซธรรมชาติในยุโรป ขณะที่อุปทานมีแนวโน้มที่จะลดลงจากผลของการคว่ำบาตรรัสเซียจาก EU ในขณะที่กลุ่ม OPEC เริ่มเข้ามาคุมราคาน้ำมันมากขึ้นผ่านการปรับลดกำลังการผลิต รวมถึงการหยุดปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในขณะที่การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านยังคงยืดเยื้อ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 12 ก.ย. 2022

READ MORE



Latest Stories