THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เศรษฐกิจสหรัฐฯ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางจีนที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น

... • 4 ก.ค. 2022

HIGHLIGHTS

10 Mins. Read
  • ธนาคารกลางประเทศสำคัญๆ ต่างออกมาส่งสัญญาณถึงความเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะลากยาว จำเป็นต้องปรับนโยบายการเงินที่เหมาะสม 
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ตกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 
  • จับตาแนวโน้มค่าเงินสกุลต่างๆ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูงจากความผันผวน ซึ่งเป็นผลจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และกระแสการคลายล็อกดาวน์ของจีน
  • เศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดผลของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้ธีม Reopening ยังเป็นธีมหลักในการลงทุน

ทางการจีนมีการคลายล็อกดาวน์ในประเทศ พร้อมปรับลดวันกักตัวลงสำหรับการเดินทางเข้าจีน จาก 14-21 วัน เป็น 7 วัน และเพิ่มอีก 3 วันเพื่อดูอาการที่บ้าน นับเป็นการผ่อนคลายมากที่สุดในรอบนี้ของจีน 

 

ซึ่ง SCBS มองว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมีส่วนช่วยผลักดันให้จีนโตตามเป้าตามที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงให้คำมั่นไว้ได้ ประกอบกับ Zero-COVID ที่เป็นความเสี่ยงในการฟื้นตัวหลักของจีนมีภาพที่ดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายต่อเนื่อง เพราะจีนน่าจะเริ่มดำเนินเศรษฐกิจไปพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับโรคระบาด ส่งผลให้เรามองว่าปัจจัยทั้งสองจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนใน 2H22 ให้สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องได้

 

SCBS ยังคาดหวังต่อการฟื้นตัวของจีนใน 4Q22 ซึ่งอาจจะช่วยลดผลของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้เราเชื่อว่าหุ้นธีม Reopening ยังเป็นธีมหลักในการลงทุน โดยในกลุ่มนี้เราชอบ Airbus, Marriott, Disney, China Tourism Duty Free, Expedia, Trip.com และ Kering รวมถึงมองว่าหุ้นจีนจะฟื้นตัว

 

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) ระบุว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดโลกผันผวน ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ปรับลดลงจาก 

 

  1. ประธานธนาคารกลางสำคัญ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed), ธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (BIS) กล่าวถึงความเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะสูงอย่างยาวนานขึ้น และจำเป็นต้องปรับนโยบายการเงินให้เหมาะสม 

 

โดยประธาน Fed ส่งสัญญาณว่าจะมุ่งเน้นในการกดเงินเฟ้อลง ขณะที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนพันธบัตรที่ส่งสัญญาณเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยแต่อย่างใด 

 

  1. เงินเฟ้อสเปนและยุโรปพุ่งสูงต่อเนื่อง ทำให้ความเสี่ยงนโยบายการเงินตึงตัวมีมากขึ้น 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น โดย GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1/22 ประกาศครั้งสุดท้ายชะลอตัวลงมากจากการบริโภคเอกชน ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ตกต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 

 

  1. ประเด็นรัสเซีย-ยูเครนดูจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยข้อตกลงจากการประชุมผู้นำกลุ่ม G7 ตกลงที่จะหาช่องทางจำกัดราคาน้ำมันของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียโจมตีห้างสรรพสินค้าในยูเครน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ด้านตุรกียกเลิกการคัดค้านกรณีสวีเดนและฟินแลนด์จะเข้าร่วม NATO ขณะที่สหรัฐฯ เตรียมเพิ่มกำลังทหารในยุโรปเพื่อสนับสนุนความมั่นคงในภูมิภาค 

 

ข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจ

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดโลกปรับขึ้นได้ แต่ตลาดสหรัฐฯ ยังคงปรับลดลงหลังจากความเสี่ยง Recession เพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังประธานธนาคารกลางสำคัญกล่าวถึงความเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะสูงอย่างยาวนานขึ้น และจำเป็นต้องปรับนโยบายการเงินให้เหมาะสม ขณะที่เงินเฟ้อยุโรปสะท้อนภาพเดียวกัน 

 

ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 1/22 หดตัวแรงขึ้นจากภาคการบริโภค เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง ปัจจัยเสี่ยงที่มากขึ้นกดดันให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ กลับมาลดลงมากและแบนขึ้น 

 

จากสัญญาณจากธนาคารกลางต่าง ๆ ที่ส่งมาอย่างต่อเนื่อง เป็นไปได้ที่ว่าธนาคารกลางชั้นนำจะขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นและเป็น Front-load (เร่งขึ้นในช่วงแรก) เพื่อกดความคาดหมายเงินเฟ้อลง ซึ่งมาตรการหนึ่งที่ทำได้คือการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจอาจชะลอแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้คนกังวลและลดการจับจ่ายในระดับหนึ่ง 

 

นอกจากนั้นสัญญาณเงินเฟ้อที่เริ่มบรรเทาลงบ้าง เช่น ราคาบ้านสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด และตัวเลขความคาดหวังเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอในสหรัฐฯ เงินเฟ้อ Core PCE ที่ชะลอลงชัดเจนขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณเงิน (Money Supply: M2) ที่ลดลงชัดเจนและประเทศยุโรปขนาดใหญ่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลง น่าจะทำให้เงินเฟ้อในประเทศขนาดใหญ่รวมถึงไทยไปทำจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ก่อนจะลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไป ได้แก่ ค่าเงิน โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ที่จะมีความผันผวนมากขึ้นจาก 2 ปัจจัยสำคัญที่ขัดแย้งกันคือ 1. การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และธนาคารกลางชั้นนำ และ 2. การเปิดประเทศ โดยเฉพาะจากกระแสการผ่อนคลายล็อกดาวน์ของจีน

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. ดัชนี PMI ต่างๆ ว่าจะชะลอตัวรุนแรงเพียงใด 

 

  1. Fed Minute ว่าจะส่งสัญญาณนโยบายการเงินตึงตัวหรือไม่ 

 

  1. ตัวเลขตลาดแรงงาน โดยเฉพาะ Nonfarm Payroll ว่าจะชะลอตัวมาก-น้อยเพียงใด (ตลาดคาด 2.95 แสนตำแหน่ง ลดจากเดือนพฤษภาคมที่ 3.9 แสนตำแหน่ง)

 

ประเมินว่าตลาดการเงินในไตรมาสที่ 3/22 จะเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลังจาก Fed ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวเต็มที่เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ได้ ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอย (Recession) ในอนาคตมีเพิ่มขึ้นจากเดิม สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ตลาดพันธบัตรระยะยาวดูน่าสนใจขึ้นในประเด็นของการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่พันธบัตรระยะสั้นจะผันผวนตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ด้านสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ ตลาดหุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ ยังคงมีความผันผวนสูงต่อเนื่อง 

 

นอกจากนี้เรายังแนะนำให้ติดตามความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นหลังจากค่าเงินหลายประเทศอ่อนค่ามากเป็นประวัติการณ์ ดังนั้นการลงทุนในสภาวะตลาดแบบนี้นักลงทุนยังคงต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพดีเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ 

 

มุมมองต่อการลงทุน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 2.6% แบ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ (EM) -1% ตลาดพัฒนาแล้ว (DM) -2.8% โดยตลาด DM กลับมากังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยหลังตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่คาด ในขณะที่ฝั่ง EM เริ่มความคาดหวังต่อการเปิดประเทศของจีนมากขึ้น หลังจากสามารถควบคุมโควิดได้และลดวันกักตัวลง แม้ว่าห่วงโซ่อุปทานมีแนวโน้มดีขึ้น

 

หุ้นกลุ่ม Value (-1.6%) ให้ผลตอบแทนมากกว่ากว่าหุ้นกลุ่ม Growth (-3.6%) หุ้นขนาดใหญ่ (-2.6%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (-2.7%) ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ยกเว้นกลุ่มพลังงาน จากความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจจะชะลอลง 

 

ในสัปดาห์นี้ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามเพิ่มเติม คือ 

 

  1. ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่ม 2.5 แสนตำแหน่ง และอัตราการว่างงานที่ 3.6% 

 

  1. ผลการประชุม FED ในการขึ้นดอกเบี้ย 75 bps ในเดือนมิถุนายน 

 

  1. การประชุม G20 ที่คาดว่าจะมีเรื่องรัสเซียเป็นสำคัญ 

 

  1. ยอดขายรายเดือนของ Ford และ Costco ที่คาดว่าจะเห็นแนวโน้มกำลังซื้อ 

 

  1. ธนาคารกลางอิสราเอล ออสเตรเลีย มาเลเซีย จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25-0.50%

 

  1. ผลประกอบการของกลุ่ม Aeon, Levi Strauss, Qatar National Bank, Seven & i และ Tata Consultancy Services

 

“ผลตอบแทนการลงทุนใน 1H22 ติดลบจากความกังวลเรื่องนโยบายการเงินที่ตึงตัว แต่อย่างไรก็ดี ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจยังไม่สดใสและยังมีความเสี่ยงใน 2H22 แต่จะเป็นภาพที่ถ่ายโอนจากเศรษฐกิจมหภาคไปยังเศรษฐกิจจุลภาคมากขึ้น เงินเฟ้อที่สูงเริ่มเห็นผลกระทบต่อกำลังซื้อ ทำให้หลายกลุ่มอุตสาหกรรมให้แนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงในฝั่งของรายได้ หรือแม้ว่าจะให้แนวโน้มที่ดีตลาดก็ยังไม่เชื่อ ทำให้เรามองว่าเมื่อความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มลดลง จะทำให้ตลาดผันผวน จนกว่าผลประกอบการจะยืนยันภาพดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นช่วงไตรมาสที่ 4 ที่จะเริ่มเห็นจุดสมดุลของแนวโน้มการเติบโตและความคาดหวังของนักลงทุน”

 

กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้

มุมมองการลงทุนยังเป็นไปอย่างระมัดระวัง หลังมองช่วงสั้นตลาดมีความผันผวนสูง จึงต้องเลือกลงทุนมากขึ้น โดยแนะนำเน้นหุ้นปลอดภัยที่มีคุณภาพดี และ/หรือมีปัจจัยบวกเฉพาะหุ้นที่คาดโมเมนตัมกำไรเติบโตดี และได้ประโยชน์จากตลาดตะวันออออกลางที่รวดเร็ว เลือก OSP, CBG, CPF, GFPT, SAT และ VNG รวมทั้งการฟื้นตัวของตลาดผู้ป่วยตะวันออกกลางอย่าง BH

 

หุ้นโรงกลั่นซึ่งคาดราคาหุ้นปรับตัวลงแรง สะท้อนความกังวลเรื่องรัฐบาลขอความร่วมมือนำกำไรส่วนเกินส่งเข้ากองทุนน้ำมันไปแล้ว เลือก BCP เก็งกำไรแนวโน้มผลประกอบการของหุ้นกลุ่มธนาคาร เราชอบ KBANK และ BBL

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BDMS - กำไรจะดีขึ้นและราคายัง Laggard 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่มากสุดในไทย (มีโรงพยาบาล 49 แห่ง รวมกว่า 8,500 เตียง) ซึ่งคาดได้ประโยชน์จากอุปสงค์ทางการแพทย์ในไทยและต่างประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นในระยะยาว 
  • 2Q22 คาดกำไรปกติเติบโต YoY หลังประเมินรายได้ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เติบโต 20-30%YoY จากการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาที่ไม่เกี่ยวกับโควิด และการมีตลาดผู้ป่วยต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้น หลังไทยคลายข้อจำกัดการเข้าประเทศ ทำให้สะดวกต่อการเดินทางมาไทยได้ง่ายขึ้น    
  • มองโมเมนตัมกำไรดีขึ้น YoY ใน 3Q-4Q22 หนุนให้ปี 2022 มีกำไรปกติโต 39%YoY สู่ 1.06 หมื่นล้านบาท สูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด จากการเติบโตของรายได้กลุ่มผู้ป่วยทั่วไปและตลาดต่างชาติ ส่วนต้นทุนที่สูงขึ้นคาดส่งผ่านได้จากปรับขึ้นราคา หลังเป็นบริการที่จำเป็น
  • ราคาหุ้น Laggard สวนทางกำไรที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น โดยราคาหุ้น BDMS ปรับขึ้น 8.7%YTD แย่กว่า BH ที่ปรับขึ้น 27.7%YTD อีกทั้งยังต่ำกว่า 3.9% หากเทียบกับระดับราคาก่อนเกิดโควิด จึงมองเป็นโอกาสดีในการทยอยเข้าซื้อลงทุน
  • จัดเป็นหุ้น Defensive ที่มีพื้นฐานดีและปลอดภัย ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูงขึ้น โดยประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่ 30 บาท 

 

สำหรับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากระแสเงินพบว่า 

  1. เริ่มมีแรงขายในตราสารหนี้จากความเสี่ยงด้านผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงนักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังเผชิญกับแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากเงินเฟ้อ 

 

  1. มีแรงซื้อในตลาดหุ้นจีนและ EM จากการคลายมาตรการควบคุมโควิดที่ลดวันกักตัวลงเหลือ 10 วันจ าก 14 วัน 

 

  1. หุ้นกลุ่ม Consumer Staples และ Consumer Discretionary มีแรงขายจากความกังวลเรื่องกำลังซื้อที่ลดลง 

 

  1. มีแรงเก็งกำไรในกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์น้อยลง 

 

  1. นักลงทุนลดความเสี่ยงอย่าง High Yield, Materials และตลาดหุ้นยุโรปจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย

 

ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาพ Downside หลังมีแรงกดดันจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกทั้งราคาสินค้าเพิ่มขึ้นสูงจากปัญหาเงินเฟ้อ รวมไปถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ดี เรามองสัญญาณการฟื้นตัวสวนทางของ ‘เศรษฐกิจประเทศจีน’ และเห็นการลงทุนในธีม ‘China Reopening’ หลัง Zero-COVID มีแนวโน้มคลี่คลาย

 

เศรษฐกิจจีนเริ่มคลายความกังวลและมีสัญญาณการฟื้นตัว…

ตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งนับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ เช่น ดัชนีภาคการผลิต PMI ทางการจีนออกนโยบายสนับสนุนภาคเศรษฐกิจ เช่น ลดภาษี VAT สำหรับธุรกิจ SMEs และสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์จัดหาเงินทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 

 

ทางการจีนมีการคลายล็อกดาวน์ในประเทศ พร้อมปรับลดวันกักตัวลงสำหรับการเดินทางเข้าจีน จาก 14-21 วัน เป็น 7 วัน และเพิ่มอีก 3 วันเพื่อดูอาการที่บ้าน นับเป็นการผ่อนคลายมากที่สุดในรอบนี้ของจีน 

 

ซึ่ง SCBS มองว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมีส่วนช่วยผลักดันให้จีนโตตามเป้าตามที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงให้คำมั่นไว้ได้ ประกอบกับ Zero-COVID ที่เป็นความเสี่ยงในการฟื้นตัวหลักของจีนมีภาพที่ดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายต่อเนื่อง เพราะจีนน่าจะเริ่มดำเนินเศรษฐกิจไปพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับโรคระบาด ส่งผลให้เรามองว่าปัจจัยทั้งสองจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนใน 2H22 ให้สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องได้

 

SCBS ยังคาดหวังต่อการฟื้นตัวของจีนใน 4Q22 ซึ่งอาจจะช่วยลดผลของ เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้เราเชื่อว่าหุ้นธีม Reopening ยังเป็นธีมหลักในการลงทุน โดยในกลุ่มนี้เราชอบ Airbus, Marriott, Disney, China Tourism Duty Free, Expedia, Trip.com และ Kering รวมถึงมองว่าหุ้นจีนจะฟื้นตัว

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางที่ต่างๆ เช่น Fed, BOE และ ECB เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น 

 

อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม DM และผลประกอบการ บจ. DM ใน 2Q22 ที่มีแนวโน้มดีกว่าที่ตลาดคาด จะสามารถช่วยประคองให้ตลาดหุ้น DM ยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวได้

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากประเด็นต้นทุนเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูง การที่ Fed มีแนวโน้มเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนทำให้นักลงทุนเริ่มกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และผลประกอบการ บจ. 

 

อย่างไรก็ดี การที่ บจ.สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ยังมีงบดุลที่แข็งแกร่งและมีเงินสดที่สูง จะช่วยหนุนแนวโน้มการซื้อหุ้นคืน การจ่ายปันผลมากขึ้น และจะช่วยประคองตลาด ขณะที่ตลาดลดลงค่อนข้างมากจากต้นปี (Valuation ลดความตึงตัว) จะช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลง

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

ตลาดหุ้นยุโรป แม้ว่าจะมี Valuation ที่ถูก แต่เรามองเห็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากที่ ECB มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหา Fragmentation และเศรษฐกิจยุโรปเผชิญความเสี่ยงชะลอตัวหรือถดถอยในบางประเทศในช่วง 2H22 ส่งผลให้กำไรของ บจ. มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังคงยืดเยื้อต่อไป หลังจาก NATO ส่งสัญญาณเพิ่มกำลังทหารในยุโรป ส่วนทางรัสเซียประกาศพร้อมที่จะตอบโต้

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากสถานการณ์ซัพพลายเชนที่ดีขึ้น รวมไปถึงการเปิดประเทศจะช่วยให้การบริโภคในประเทศฟื้นตัวได้ในช่วง 2H22 นั้น แต่อย่างไรก็ตามเรามองว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้สะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไปแล้ว 

 

นอกจากนี้ BOJ ยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินเยนยังคงมีทิศทางอ่อนค่า ขณะที่เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นมาส่งผลให้ Real Wage ปรับตัวลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการของ บจ. ได้

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นจีน H-Share เนื่องจาก Valuation ดัชนียังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ส่วนใหญ่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว (ยกเว้นกลุ่ม Livestreaming ที่อาจเผชิญกฎระเบียบเพิ่มเติม) อย่างไรก็ตามความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเรื่อง Delisting หุ้นจีน ADRs รวมทั้งการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ กับบางบริษัทจีนในประเด็นที่เกี่ยวกับรัสเซีย ประกอบกับ การที่ EPS บจ. ที่มีแนวโน้มชะลอลงทำจุดต่ำสุดช่วง 2Q22 จะยังกดดัน Upside ของดัชนี 

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 4 

ตลาดหุ้นจีน A-Share โดยดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มจะต้องเร่งนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรพิเศษไปใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้หมดภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ รวมทั้งการผ่อนคลายล็อกดาวน์ในเมืองหลัก การปรับลดระยะเวลาการกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และความคาดหวังบนประเด็นการลดภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ แม้ว่าการที่จีนยังคงนโยบาย Zero-COVID ซึ่งอาจจะกดดัน Sentiment ของนักลงทุนอยู่ก็ตาม

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่มีแนวโน้มคลี่คลายมากขึ้น ทำให้ผลกระทบจากเงินเฟ้อที่สูงและเงินบาทที่อ่อนค่ามีแนวโน้มกดดันตลาดลดลงในช่วง 2H22 ด้านการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ที่คาดว่าอยู่ที่ 2-3 ครั้งในปีนี้ อาจเพิ่มความกังวลต่อผู้บริโภคกลุ่มเปราะบางและบริษัทที่มีหนี้สูง และเพิ่ม Downside Risk ต่อประมาณการกำไรใน 3Q22 อย่างไรก็ดี Valuation ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการเข้าลงทุน

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะตัวภายในประเทศในช่วงนี้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการคุมเข้มในตลาดการเงินและตลาดอสังหาของทางการ แต่เรามองว่าความกังวลดังกล่าวอาจจำกัด Upside ของตลาดหุ้นเวียดนามเพียงช่วงสั้นเท่านั้น 

 

ขณะที่ Downside ตลาดเริ่มมีจำกัดตาม Valuation ของตลาดที่ปรับลดลงมามาก ดังนั้นเราจึงมองเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสมหุ้นเวียดนาม โดยตลาดได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดี หลัง GDP ใน 2Q22 +7.7% เพิ่มขึ้นจาก 5% ใน 1Q22 ธนาคารกลางเวียดนามที่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ และผลประกอบการ บจ. ในปีนี้ที่ยังขยายตัวโดดเด่น

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ทองคำได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ท่ามกลางสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ รวมไปถึงการฟื้นตัวของความต้องการทองคำในฐานะเครื่องประดับที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่จะถูกกดดันจากบอนด์ยีลด์และค่าเงินสหรัฐฯ ที่ยังปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed

 

 

น้ำมัน / อาหาร

ความน่าสนใจระดับ 5

กลุ่มอาหาร / น้ำมัน ได้รับอานิสงส์จากภาวะอุปทานที่ยังคงตึงตัว โดยสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้อุปทานสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี และข้าวโพดลดลง ในขณะที่ตลาดน้ำมันนั้นจะถูกกดดันจากการที่ประเทศในกลุ่ม EU ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย แม้ว่าทาง OPEC+ จะปรับเพิ่มโควตาการผลิต แต่ก็ยังเจอกับปัญหากำลังการผลิตสำรอง ที่ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ตามเป้า ในขณะที่อุปสงค์ยังคงดีจากปริมาณน้ำมันคงคลังที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3

REITs ประเทศพัฒนาแล้วได้รับปัจจัยบวกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวตามการทยอยเปิดเมืองของหลายประเทศ สนับสนุนความต้องการพื้นที่เช่าคลังสินค้าและพื้นที่ร้านค้าในช้อปปิ้งมอลล์ โดยเฉพาะร้านให้บริการ Personal Care อย่างไรก็ตาม การเร่งตัวของอัตราดอกเบี้ยในฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป และความกังวลในความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ยังคงเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของ Total Return ในกลุ่ม REITs

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 3

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยความเสี่ยงสำคัญมาจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อผลตอบแทนของกลุ่ม REITs ที่มีรายได้ค่าเช่าค่อนข้างคงที่ ทำให้ Total Return ของ Asia REITs มีข้อจำกัดในการขยายตัว แม้ว่าหลายประเทศจะได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะในตลาดไทยที่ Return ของกลุ่ม Hotel REITs ปรับตัวขึ้นโดดเด่น ขณะที่กลุ่มร้านค้าให้เช่ากำลังทยอยฟื้นตัวตามมา ซึ่งน่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นใน 2H22 ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรม คลังสินค้า และสำนักงานให้เช่ายังไม่ฟื้นตัว ซึ่งอาจจะต้องรอเศรษฐกิจทยอยกลับเข้าสู่ระดับปกติอีกครั้ง

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 4 ก.ค. 2022

READ MORE




Latest Stories