THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
คลังเงินสหรัฐฯ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

หวั่นคลังสหรัฐฯ เงินหมดเร็วกว่าคาด หลังสองพรรคไร้ข้อสรุปเจรจา นำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้

... • 2 พ.ค. 2023

HIGHLIGHTS

8 MIN READ
  • ภาพรวมผลประกอบการยังไม่ดีนัก โดยเฉพาะธนาคาร First Republic ที่เงินฝากไหลออกต่อเนื่องกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายกังวลความเสี่ยงของธนาคารขนาดเล็กและภาพเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ดัชนี CDS ที่ใช้ประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร 1 และ 3 เดือนของสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
  • ตัวชี้วัดดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงเรื่องเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่ทั้งสองพรรคหลักอาจตกลงกันไม่ได้ ซึ่งทำให้ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่เงินคงคลังของสหรัฐฯ จะหมดลงเร็วกว่าคาด 
  • ราคาสินทรัพย์ต่างๆ อาจผันผวนสูง เพราะแม้ว่า CDS Spread ที่ใช้ประกันการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ​ขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ในตลาดอื่นๆ ยังไม่ได้พิจารณาความเสี่ยงมากนัก โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ที่ยังคงอ่อนค่า
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เชื่อว่า Fed จะยังขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคมนี้ ไปอยู่ที่ 5-5.25% ก่อนจะคงดอกเบี้ยเพื่อวัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงจากผลประกอบการที่ไม่ดีนัก เช่น รายงานจากธนาคารขนาดเล็ก โดยเฉพาะธนาคาร First Republic พบเงินฝากไหลออกต่อเนื่องกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ทำให้หลายฝ่ายกังวลความเสี่ยงของธนาคารขนาดเล็กรวมถึงภาพเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผสมผสาน ดังนี้ 

 

1. Flash PMI ของประเทศพัฒนาแล้ว ปรับตัวดีขึ้นจากภาคบริการเป็นหลัก โดยในสหรัฐฯ ดัชนี Flash Composite PMI เพิ่มขึ้นเป็น 53.5 จาก 52.3 ในเดือนมีนาคม ด้านดัชนี Flash Composite PMI ของยุโรป ฟื้นขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 54.4 สูงกว่าประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 53.7 

 

2. ดัชนีเศรษฐกิจชี้นำของสหรัฐฯ ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 โดยลดลง 1.2% สู่ 108.4 ในเดือนมีนาคม และลดลง -7.8%YoY ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดเศรษฐกิจถดถอยครั้งก่อนๆ 

 

3. คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (หักเครื่องบินและอาวุธ) หดตัว 0.4%MoM ในเดือนมีนาคมต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ที่หดตัว 0.7%MoM 

 

4. ราคาบ้าน (Case-Shiller Index) เดือนกุมภาพันธ์เทียบกับเดือนก่อนปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2%MoM แต่ขยายตัว 2% ต่อปี ชะลอลงจาก 3.7% ในเดือนก่อน

 

5. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ปรับลดลงต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือนมาอยู่ที่ 101.3 จาก 104.0 ในเดือนเมษายน 

 

6. ดัชนี CDS ที่ใช้ประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์มาอยู่ที่ 161.8 

 

เช่นเดียวกับส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร 1 และ 3 เดือนของสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ หลังข้อเสนอของพรรครีพับลิกันในการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ จากระดับหนี้ปัจจุบันที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ แลกกับการปรับลดการใช้จ่ายภาครัฐที่ค่อนข้างเข้มงวดผ่านสภาล่าง แต่มีโอกาสน้อยที่จะผ่านสภาสูง และ/หรือ ประธานาธิบดี เนื่องจากในข้อเสนอให้มีการตัดรายจ่ายสำคัญ เช่น การพักหนี้การศึกษา สวัสดิการสุขภาพ และคูปองช่วยเหลือค่าอาหาร ซึ่งเป็นจุดยืนของพรรคเดโมแครต ทำให้โอกาสตกลงกันไม่ได้ และผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น 

 

ทั้งนี้ ทั้งสองพรรคมีเวลาที่จะเจรจาปรับเปลี่ยนกฎหมายการขยายเพดานหนี้ได้จนถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บรายได้จากภาษีเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน ทำให้มีความเสี่ยงที่เงินคงคลังของสหรัฐฯ จะหมดลงเร็วกว่าคาด 

 

7. ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1/66 ของสหรัฐฯ ขยายตัว 1.1% ต่ำกว่าคาดที่ 2% โดยภาคการลงทุนและการหดตัวของสินค้าคงคลังเป็นตัวฉุดรั้งสำคัญ

 

“สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงจากผลประกอบการที่ไม่ดีนัก ขณะที่รายงานจากธนาคารขนาดเล็กพบว่า เงินฝากไหลออกต่อเนื่อง 

 

“ด้านตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผสมผสาน โดย Flash PMI ของประเทศพัฒนาแล้ว ปรับตัวดีขึ้นจากภาคบริการเป็นหลัก 

 

“ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจชี้นำของสหรัฐฯ ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 บ่งชี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (หักเครื่องบินและอาวุธ) หดตัวต่อเนื่อง 

 

“ด้านราคาบ้าน (Case-Shiller Index) เทียบกับเดือนก่อน ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบรายปี ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ปรับลดลงต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน 

 

“ขณะที่ดัชนี CDS ที่ใช้ประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังข้อเสนอการปรับลดการใช้จ่ายภาครัฐที่ค่อนข้างเข้มงวดของพรรครีพับลิกันผ่านสภาล่าง แต่มีโอกาสน้อยที่จะผ่านสภาสูง และ/หรือ ประธานาธิบดี ทำให้โอกาสผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น” 

 

เตือน! ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ยังไม่ได้ถูกใส่ในราคาสินทรัพย์

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ วิเคราะห์ว่า ประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ยังไม่ได้เข้าไปในราคาของสินทรัพย์เสี่ยงมากนัก โดยในปัจจุบันแม้ว่า CDS Spread ที่ใช้ประกันการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ​ขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ในตลาดอื่นๆ ยังไม่ได้พิจารณาความเสี่ยงมากนัก โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่า 

 

ทั้งนี้มองว่า ความเสี่ยงที่รัฐบาลพรรคเดโมแครตและสภาล่างฯ ที่นำโดยรีพับลิกัน จะตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากจุดยืนของพรรครีพับลิกันในการเพิ่มเพดานหนี้ที่จะครบกำหนดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จะต้องแลกกับการลดการใช้จ่ายภาครัฐที่เป็นจุดยืนของพรรคเดโมแครต 

 

ซึ่งหากไม่สามารถตกลงกันได้ อาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบแง่ลบต่อภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ในปัจจุบันชะลอตัวชัดเจนขึ้น 

 

อีกทั้งมองว่า ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มสูงขึ้นหลังวิกฤตธนาคาร ซึ่งทำให้สภาพคล่องไหลออกจากธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็ก ทำให้เกิดสภาวะสินเชื่อตึงตัว โดยที่ผ่านมาสินเชื่อหดตัวถึงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนมีนาคม 

 

อย่างไรก็ตาม การที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังคงชะลอลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับราคาบ้านที่วัดจากดัชนี Case-Shiller เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ในรายงาน Fed Minute เดือนมีนาคม คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งก่อนจะคงดอกเบี้ย ทำให้ บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เชื่อว่า Fed จะยังขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคม ไปอยู่ที่ 5-5.25% ก่อนจะคงดอกเบี้ยเพื่อวัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้น Best of the Best มีพื้นฐานและฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกำไรในปี 2566-2567 เติบโตเฉลี่ยสูงกว่ากำไรของกลุ่มหุ้นที่เราแนะนำ Outperform และ Valuation ไม่แพง โดยซื้อ-ขายด้วย PER และ PBV เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่บริเวณ -1.0 ถึง -2.0 S.D. จึงมองเป็นโอกาสซื้อสะสม เลือก AU, BBL, BDMS, CPALL และ GULF สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่แล้วแนะนำ Let Profit Run 

 

2. หาจังหวะซื้อสำหรับหุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 1Q66 จะออกมาเติบโตดี YoY (Earning Play) ซึ่งมองยัง Outperform SET ได้ เลือก BJC, ADVANC, OSP และ ZEN

 

3. รอจังหวะซื้อหลังประกาศงบสำหรับหุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 1Q66 จะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้และมีสัญญาณฟื้นตัวใน 2Q66 เลือก KCE, MINT และ AOT

 

4, หุ้นปันผลดี ซึ่งปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและราคาหุ้นยังมี Upside น่าสนใจเกิน 15% เลือก AP (XD 9 พฤษภาคม @0.65 บาท) และ LH (XD 8 พฤษภาคม @0.35 บาท) โดยคิดเป็น Div. Yield เกิน 3% 

 

5. ขณะที่มีกลุ่มหุ้นแนะนำ ‘ขายหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนไปก่อน’ เนื่องจากผลการดำเนินงานยังไม่สดใสและมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ NRF, LPN, MST, SAWAD, QH, KTC, PSH, THRE, TCAP, MTC, KEX, KISS, TU, CBG, GFPT, BTG, BTS, BEM, JASIF, SAT, IIG และ NER

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. การประชุมนโยบายการเงินของ Fed (2-3 พฤษภาคม), ECB (4 พฤษภาคม) และ BOE (11 พฤษภาคม) 

2. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมทั้งตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายนของสหรัฐฯ, อียู, จีน และไทย 

3. การทยอยประกาศผลการดำเนินงาน 1Q66 ของบริษัทจดทะเบียนไทยในกลุ่ม Real Sector

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: OSP - เริ่มฟื้นตัว หลังพ้นจุดต่ำสุด 1Q66

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.โอสถสภา หรือ OSP เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทยที่มีศักยภาพเติบโตและกระแสเงินสดดี โดยมีสินค้าหลักที่รู้จักดี เช่น เครื่องดื่มบำรุงกำลัง แบรนด์ M-150 และลิโพ, เครื่องดื่ม Functional แบรนด์ C-vitt และของใช้ส่วนบุคคล แบรนด์ Babi Mild และ Twelve Plus เป็นต้น 
  • 1Q66 ผลการดำเนินงานมองว่าจะเป็นจุดต่ำสุดปีนี้ โดยคาดว่ามีกำไร 666 ล้านบาท ลดลง 11%YoY แต่เพิ่มขึ้น 98%QoQ โดยได้รับการสนับสนุนจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับตัวดีขึ้นและรับรู้เงินปันผลจาก Unicharm ขณะที่ 2Q66 คาดว่ากำไรจะฟื้นตัว QoQ จากส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้น หลังผู้เล่นรายใหญ่อีกรายปรับราคาเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม  
  • ปี 2566 คาดว่ากำไรจะเติบโตสูง 43.8%YoY สู่ระดับ 2.78 พันล้านบาท จากรายได้และปริมาณการขายที่ฟื้นตัวดีขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับตัวดีขึ้นอันเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่ลดลง การบริหารประสิทธิภาพการผลิต และการทวงคืนส่วนแบ่งการตลาดเครื่องดื่มบำรุง 
  • มองราคาหุ้น OSP จะเข้าสู่โหมดฟื้นตัวหลังผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดใน 1Q66 และตั้งแต่ 2Q66 จะปรับตัวดีขึ้น QoQ ตามปริมาณขายและส่วนแบ่งตลาดที่ดีขึ้น ขณะที่ราคาหุ้น OSP ยังต่ำกว่าก่อนโควิดอยู่ -30.8% เทียบกับ SET Index ที่ -1.4% จากก่อนโควิด
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 32 บาท อิง PER 34 เท่า และบริษัทมีประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H65 ในอัตรา 0.45 บาทต่อหุ้น (ขึ้น XD วันที่ 3 พฤษภาคมนี้) คิดเป็น Div. Yield 1.5%

 

Asset Allocation Strategy

เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วมีโอกาสชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดและอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปีก่อน รวมไปถึงเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นหลังเกิดปัญหาในภาคการธนาคาร ในกรณีของสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงบ่งชี้โอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ มีเพียงอัตราการว่างงานที่ยังต่ำ ซึ่งเรามองว่าการจ้างงานจะชะลอตัวลงต่อจากนี้ 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจากปัญหาทางการเมืองที่อาจนำไปสู่การขาดสภาพคล่องและการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลได้ หากสภาไม่สามารถหาข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ เพื่อกู้เงินมาจ่ายได้ทันเวลา กลายเป็นความไม่แน่นอนและปัจจัยลบต่อตลาดไปถึงช่วงเดือนมิถุนายน 

 

ด้านตลาดยุโรปยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ขณะที่ธนาคารกลางยังคงท่าทีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป โดย IMF มองว่า เศรษฐกิจใหญ่อย่างอังกฤษและเยอรมนีมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปีนี้ กลยุทธ์หลักจึงยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนที่ให้น้ำหนักสภาพคล่องมากกว่าสินทรัพย์ เสี่ยงเพื่อรอการคลี่คลายของปัจจัยลบต่างๆ 

 

การขยายตัวในเศรษฐกิจเอเชียและจีนยังมีแนวโน้มดีกว่าตลาดประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นตามการเปิดประเทศของจีน ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นที่มีมูลค่าไม่แพงนัก เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเอเชียและจีน 

 

อย่างไรก็ดี เรามองความเสี่ยงจากการเมืองระหว่างที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นและสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ และจีนที่แข่งขันด้านเทคโนโลยีรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน จำเป็นต้องเรียกคะแนนเสียงเพื่อเตรียมตัวลงเลือกตั้งในปี 2024 จึงอาจเห็นข้อพิพาทกับจีนหรือรัสเซียที่เป็นมหาอำนาจอื่นมากขึ้น

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ตเพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด โดยเศรษฐกิจโลกยังได้แรงส่งจากการเปิดประเทศของจีน แต่ความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งความกังวลผลกระทบเชิงลบของปัญหาภาคธนาคารก่อนหน้านี้ที่ยังมีอยู่ และความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ยังส่งสัญญาณลบอยู่เป็นระยะๆ

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 5

US Bond Yields เป็นขาลง จากความเสี่ยง Recession เงินเฟ้อทั่วไปลงเร็ว และการจ้างงานเริ่มลดความตึงตัว ทั้งนี้ Yields มีโอกาสปรับขึ้นบ้างจากเงินเฟ้อพื้นฐานหนืด ปัญหาภาคธนาคารผ่อนลง และ Fed ตั้งใจคงดอกเบี้ยที่ 5-5.25% ตลอดครึ่งปีหลัง / สำหรับ TH Bonds เคลื่อนไหวตาม US, ต่างชาติกลับเป็น Net Buy  

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

US IG Yields ได้รับแรงหนุนหลักจาก Govt Bond Yields ที่มีแนวโน้มขาลง ทั้งนี้ IG Spreads มีความน่าจะเป็น Widening อยู่บ้างเล็กน้อย จากความเสี่ยง Recession ถึงแม้ว่าจะแคบลงหลังความกังวลปัญหาภาคธนาคารลดลง และมี Buffer จากงบดุลที่ค่อนข้างแข็งแรง ขณะที่ TH IG Spreads มีลักษณะทรงตัวต่อไป

 

US HY Spreads มีความเสี่ยง Widening มากกว่า IG Spreads จากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น รวมทั้งผลกระทบจากวิกฤตภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ที่ถึงแม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่ยังคงสร้างความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินและมีส่วนเพิ่มความตึงตัวในภาวะการปล่อยสินเชื่อ

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

หุ้นสหรัฐฯ เผชิญ Earnings Downside Risks จากเศรษฐกิจขาลงและการปล่อยสินเชื่อที่ตึงตัวขึ้น ส่งผลให้เน้นที่หุ้น Defensive ต่อไป ทั้งนี้ ภาคบริการฟื้นตัว ตลาดแรงงานที่ยังแข็งแรง Bond Yields ขาลงมากกว่าขาขึ้น และผลประกอบการดีกว่าคาดของ Financial และ Mega Tech ช่วยจำกัดการปรับลดลงของตลาดฯ

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

พัฒนาการเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่องเริ่มมีแนวโน้มจำกัดมากขึ้น ตามผลของการใช้นโยบายการเงินตึงตัวที่จะเริ่มสะท้อนผ่านการชะลอตัวของสินเชื่อ แม้ว่า Valuation ของตลาดหุ้นยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่หลังจากที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง เริ่มทำให้ Upside จำกัด และยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอยที่ยังมีอยู่ เงินเยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น JGBs Yield ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และแนวโน้มผลประกอบการที่อาจถูกปรับประมาณการลง อย่างไรก็ดี Valuation ที่ยังไม่แพง แรงส่งจากการเปิดเมือง และการซื้อหุ้นคืนที่มากขึ้น จะช่วยจำกัด Downside ตลาดฯ

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากโมเมนตัมเศรษฐกิจจีนที่ยังดี นำโดยภาคการบริโภคจากแรงซื้อหุ้นจีนของภาคครัวเรือนจีนตามเงินออมที่ยังสูง และจากความคาดหวังมาตรการกระตุ้นในการประชุม Politburo รวมทั้งแนวโน้ม EPS ดัชนีฯ ปีนี้ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการขึ้นตาม EPS ใน 1Q66 ที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมา จากการคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง และจาก EPS ที่มีแนวโน้มดีขึ้น Valuation ที่ยังไม่แพง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความตึงเครียดในประเด็นที่เกี่ยวกับไต้หวัน

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

ในระยะสั้นตลาดหุ้นไทยยังคงขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับผลกระทบจาก Sentiment ภายนอก ประกอบกับนักลงทุนยังคงรอจับตาทิศทางการรายงานผลประกอบการในช่วง 1Q66 อย่างไรก็ตาม พัฒนาการด้านการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจะยังคงช่วยหนุนในช่วง 2H66  

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

Earnings ของบริษัทจดทะเบียนใน 1Q66 ที่ทยอยออกมา สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แม้รัฐบาลจะพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่อาจใช้เวลากว่าจะส่งผลสู่เศรษฐกิจจริง อีกทั้งสภาพคล่องบนธุรกิจภาคอสังหายังตึงตัว ทำให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

การที่อัตราเงินเฟ้อยังเกินกว่าเป้าที่ 4% ส่งผลกระทบต่อการบริโภคครัวเรือนให้ยังคงอ่อนแอ ขณะที่ Cycle ถ่านหิน ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อีกทั้งการส่งออกที่ชะลอลงและ Valuation กลุ่มธนาคารที่ไม่ถูก ทำให้ Upside ในระยะสั้นมีจำกัด อย่างไรก็ดี ให้จับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศในช่วง 2H66

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

US Bond Yields ขาลง ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอ และเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มอ่อนค่า สนับสนุนราคาทองคำขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมี Upside จำกัด เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรและ Fed ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม การทยอยเข้าสะสมในพอร์ตควรรอให้ราคาปรับลดลงในระดับที่เหมาะสมก่อน

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

ในระยะข้างหน้าอุปสงค์โลกเป็นตัวแปรที่สำคัญ กล่าวคือชะลอตัวลงในกลุ่ม DMs โดยที่สหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยง Recession ชัดขึ้น แต่ภาคบริการฟื้นตัวได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม อุปสงค์กำลังทยอยฟื้นตัวในเศรษฐกิจจีนและเอเชีย นอกจากนี้การลดกำลังการผลิตที่อาจมากเกินไปกดดันเงินฟ้อและการบริโภคครัวเรือน

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

Hybrid Working, สินเชื่อ Commercial Real Estate ที่ตึงตัวมากขึ้น และเศรษฐกิจขาลงท่ามกลางดอกเบี้ยที่อยู่สูง ส่งผลลบต่อ Occupancy / Rental Rates และรายรับของ DM REITs สอดคล้องกับเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ จำนองที่ ทยอยเพิ่มมากขึ้นใน DMs แม้ว่า Bond Yield ขาลงจะส่งผลดีต่อ REIT-Govt Yield Spreads

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

แรงกดดันจากการปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ เริ่มจำกัด ประกอบกับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียยังคงได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง / ประเทศ ส่งผลให้รายได้ของกลุ่ม REITs ยังคงมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 2 พ.ค. 2023

READ MORE




Latest Stories