THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เศรษฐกิจ ตลาดเงิน
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เศรษฐกิจและตลาดเงินจ่อถูกบิดเบือนมากขึ้น หลังแบงก์ชาติทั่วโลกใช้นโยบายตึงตัวอย่างพร้อมเพรียง

... • 3 ต.ค. 2022

HIGHLIGHTS

  • การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ทำให้ตลาดการเงินผันผวนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่องในระยะถัดไป 
  • การแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดพันธบัตร ทั้ง ECB ในมาตรการ Anti-Fragmentation, BOE ในการทำ QE เพื่อเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างไม่จำกัด รวมถึงรัฐบาลญี่ปุ่นแทรกแซงเงินเยน และเกาหลีใต้เข้าซื้อคืนพันธบัตร ช่วยลดความผันผวนของตลาดในระยะสั้นเท่านั้น
  • ความเสี่ยงในระยะต่อไปคือ ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่อาจมีมากขึ้น จากการ Fed Hawkishness 
  • นักลงทุนจะลดความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยลง และหันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์/ตลาดที่ยังมีความแข็งแกร่งและต้านทานการขึ้นดอกเบี้ย และการชะลอลงของเศรษฐกิจได้

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน จากปัจจัยเชิงนโยบายเป็นหลัก จาก

1. หลังจาก Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ทำนโยบายการเงินตึงตัวแรงขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วต่อเนื่องสัปดาห์นี้ เช่น อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน รวมถึงอังกฤษ

2. รัฐบาลอังกฤษออกมาตรการลดภาษีมูลค่ากว่า 3.9 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤตค่าครองชีพ แต่กลับทำให้ตลาดกังวลวิกฤตการคลัง ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นและค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง จนทำให้ Bank of England ต้องกลับมาทำ QE อีกครั้ง

3. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขึ้นดอกเบี้ยตามคาดที่ 0.25% มาอยู่ที่ 1% แต่บาทไหลลงเกิน 38 บาท

4. ทางการเกาหลีใต้ที่ประกาศเข้าซื้อคืนพันธบัตร 2 ล้านล้านวอน (1.4 พันล้านดอลลาร์) เพื่อแก้ปัญหาผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงและเงินวอนอ่อนค่า

5. ตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ทั้งตัวเลข Flash Composite PMI ของสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคาบ้านในสหรัฐฯ ที่หดตัว -0.3% ต่อเดือนเริ่มเป็นสัญญาณบวกว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะเริ่มลดลง

6. ธนาคารโลก ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจจีนลงจาก 5.0% เหลือ 2.8% แต่ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจเอเชียและไทยขึ้นเล็กน้อยตามการเปิดประเทศ

7. ผลการนับคะแนนเบื้องต้นต่อการลงประชามติในแคว้นโดเนตสก์, ลูฮันสก์, เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย ของยูเครน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบต่อการผนวกดินแดนเข้ากับรัสเซีย

8. เกิดการก่อวินาศกรรมท่อส่งก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 1 และ 2 จากรัสเซียมายังยุโรปใน 4 จุด

 

สัปดาห์ที่ผ่ามา ตลาดปรับตัวลดลงหลังจากธนาคารกลางต่างๆ ยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องหลังจากที่ Fed ส่งสัญญาณ Hawkish ในการประชุมสัปดาห์ที่แล้ว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจชะลอต่อเนื่อง นอกจากนั้น การที่รัฐบาลอังกฤษมีมาตรการลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินถึง 3.93 หมื่นล้านปอนด์ ทำให้ตลาดวิตกกังวลสถานะการคลัง และนำไปสู่การเทขายพันธบัตรอังกฤษและเงินปอนด์สเตอร์ลิง จนทำให้ธนาคารกลางอังกฤษต้องหันกลับมาทำมาตรการ QE โดยซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างไม่จำกัดจำนวนอีกครั้ง ซึ่งทำให้ตลาดฟื้นขึ้นได้บ้าง ในส่วนของไทย ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps ตามคาด มีส่วนทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเกินระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ” 

 

เศรษฐกิจโลกและตลาดเงินจะบิดเบือนมากขึ้น

InnovestX มีความเห็นว่า เศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปจะเผชิญความเสี่ยงจากนโยบายเศรษฐกิจที่กลับไปกลับมา คาดเดายาก และทำให้เศรษฐกิจและตลาดการเงินบิดเบือนมากขึ้น เห็นได้จาก

1. การปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงส่งสัญญาณ Hawkish ของ Fed อย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม นำมาสู่สถานการณ์ Global Synchronized Tightening หรือตึงตัวอย่างพร้อมเพรียง

2. การประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีของอังกฤษวงเงินสูงถึง 3.93 หมื่นล้านปอนด์ (1.7% GDP) ทั้งๆ ที่อังกฤษขาดดุลการคลังอยู่แล้วถึงกว่า 6.8% GDP และหนี้สาธารณะสูงถึง 94.9% GDP ทำให้ตลาดกังวลและเทขายพันธบัตร จนทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นกว่า 5% และเงินปอนด์ตกต่ำมากถึงกว่า 4% ในสัปดาห์เดียว

3. การแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดพันธบัตร ทั้ง ECB ในมาตรการ Anti-Fragmentation, BOE ในการทำ QE เพื่อเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างไม่จำกัด (แม้ว่าจะยังตั้งเป้าทำมาตรการ QT และขึ้นดอกเบี้ยอยู่ก็ตาม), รัฐบาลญี่ปุ่นแทรกแซงเงินเยน รวมถึงเกาหลีใต้ที่ประกาศเข้าซื้อคืนพันธบัตร ซึ่งมาตรการต่างๆ แม้จะช่วยลดความผันผวนของตลาดในระยะสั้น แต่ในระยะต่อไปจะยิ่งบิดเบือนกลไกตลาด และจะทำให้ตลาดการเงินผันผวนในระยะต่อไป 

 

ในส่วนของไทย ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด มีส่วนทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเกินระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเรามองว่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องจาก Fed ที่ยังขึ้นดอกเบี้ยแรง ขณะที่ดอกเบี้ยไทยจะขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้เราคาดว่าเงินบาทในไตรมาส 4 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และทำให้เงินบาททั้งปีเฉลี่ยที่ 35.9 บาท 

 

ดังนั้น สัปดาห์นี้จึงต้องติดตาม 1. ตัวเลขดัชนี ISM ว่าจะลดลงตาม PMI หรือไม่ 2. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้ง Non-Farm Payroll, ADP, ตำแหน่งงานเปิดใหม่, อัตราว่างงาน และค่าจ้าง โดยตลาดคาดว่าจะเริ่มชะลอลงขณะที่ว่างงานทรงตัว 3. เงินเฟ้อไทยว่าจะลดลงจากเดือนที่แล้วที่ 7.8% หรือไม่ และ 4. ยอดค้าปลีกในยุโรป ว่าจะหดตัวมากขึ้นหรือไม่ (ล่าสุดหดตัว -2.2%)

 

“เราเชื่อว่าตลาดกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในระยะต่อไปได้แก่ ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่อาจมีมากขึ้นจากการ Fed Hawkishness ดังนั้น อาจต้องระมัดระวังความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าการลงทุนจะกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น โดยนักลงทุนจะลดความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยลง และหันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์/ตลาดที่ยังมีความแข็งแกร่งและต้านทานการขึ้นดอกเบี้ย และการชะลอลงของเศรษฐกิจได้ แต่ยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง”

 

ตลาดหุ้นติดลบถ้วนหน้า

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 1.8% (EM -3.6%, DM -1.5%) โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อนโยบายการเงินที่ตึงตัว และธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มออกนโยบายป้องกันค่าเงิน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ และธนาคารกลางอังกฤษประกาศซื้อพันธบัตร

 

หุ้นกลุ่ม Growth (-1.3%) ให้ผลตอบแทนมากกว่ากว่าหุ้นกลุ่ม Value (-2.2%) หุ้นขนาดใหญ่ (-1.7%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (-2.0%) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการเงินปรับตัวลดลง 3-5% จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยที่จะได้รับผลจากการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนกลุ่มเชิงรับอย่าง Healthcare (+0.3%) และ Consumer Staple (-1%) ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด นอกจากนั้นกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางตลาดที่ 2% ตามราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว

 

กลยุทธ์ลงทุนตลาดหุ้นไทย

แม้มองตลาดรับรู้ความเสี่ยงต่างๆ ไประดับหนึ่งแล้ว แต่คาด Upside ยังจำกัด เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนจะยังถูกกดดันจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีมากขึ้น หลังธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกปรับขึ้นดอกเบี้ย กลยุทธ์ลงทุนช่วงสั้นจึงแนะนำ Selective ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

 

1. หุ้น Defensive ที่สามารถต้านทานเความเสี่ยงภายนอก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ เลือก ADVANC, BDMS และ GULF (คาดได้ประโยชน์เพิ่มจากแผน PDP ใหม่)

2. หุ้น Domestic Consumption ซึ่งโมเมนตัมกำไรยังเติบโตดี เลือก CRC, CPALL และ HMPRO

3. หุ้น Reopen ที่คาดได้ประโยชน์จากการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการเปิดประเทศมากขึ้นของต่างประเทศ เลือก AOT, ERW และ ZEN

 

ช่วงสั้นยังแนะนำเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้ 

1. หุ้นเดินเรือซึ่งคาดได้รับผลกระทบจากอุปทานเรือใหม่ที่เข้ามา และอุปสงค์การขนส่งสินค้าเริ่มชะลอตัวลง

2. หุ้นที่มีฐานลูกค้า/ตลาดส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งคาดได้รับกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มยาง

3. หุ้นกลุ่มเนื้อสัตว์ อาทิ CPF และ GFPT ซึ่งคาดได้รับผลกระทบจากความกังวลต้นทุนอาหารสัตวยังทรงตัวสูงจากสถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่กลับมายกระดับ และเข้าสู่ช่วงเทศกาลกินเจ

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การประชุมกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 5 ตุลาคม โดยตลาดคาดที่ประชุมจะมีมติลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมัน

2. สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียที่มีแนวโน้มยกระดับขึ้น โดยล่าสุดรัสเซียเผยผลประชามติของ 4 แคว้นของยูเครนที่ยึดมาได้สนับสนุนการรวมดินแดนกับรัสเซีย

3. บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลกินเจและการท่องเที่ยว หลัง ศบค. ยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม และเข้าสู่ช่วงไฮซีซัน

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: GULF - หุ้น Defensive ที่กำไรยังเติบโตดี

สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็น Holding Company ที่ลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้า ธุรกิจก๊าซ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน โดยกลยุทธ์จะเน้นไปที่ธุรกิจที่มีสัมปทานกับรัฐบาลเพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เติบโตต่อเนื่องได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังขยายไปสู่ธุรกิจดิจิทัล โดยซื้อหุ้น INTUCH และเข้าเป็นพันธมิตรกับ Binance ซึ่งดำเนินธุรกิจศูนย์ซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำของโลก 
  • ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจะยังสร้างกำไรให้เติบโตใน 6 ปีข้างหน้า และหนุนให้ GULF เป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP รายใหญ่สุดในไทย โดยปัจจุบันมีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนถือหุ้น 4,509 MW ซึ่งคาดเพิ่มเป็น 8,090 MW ในปี 2027 ซึ่งธุรกิจ IPP จะมีสัดส่วนกำลังผลิตติดตั้งราว 77%
  • ปี 2022 คาดกำไรเติบโตแกร่ง 68%YoY แรงหนุนจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก INTUCH ราวปีละ 4-5 พันล้านบาท ขณะที่มองราคาก๊าซที่สูงยังอยู่ในระดับที่จัดการได้
  • มองเป็นหุ้น Defensive ที่ต้านทานความเสี่ยงภายนอก และการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังมี Upside Risk จากแผน PDP ฉบับใหม่ในไทย และโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจดิจิทัล ซึ่งคาดจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้น และยังสามารถชนะตลาดได้ 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่ 63 บาท ประกอบด้วย มูลค่าของกำลังการผลิตที่ยืนยันแล้ว บวกกับมูลค่าตามสัดส่วนถือหุ้นของ INTUCH และ SPCG อิงราคาเป้าหมายของ Consensus 

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อการถือครองเงินสด และ/หรือ สินทรัพย์สภาพคล่อง โดยสินทรัพย์เสี่ยงยังคงเผชิญปัจจัยกดดัน จากการที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งใช้นโยบายแทรกแซงค่าเงิน

 

 

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อพันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ โดยเรามอง UST Yield ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ โดยเฉพาะอายุ 2 ปี ตามการปรับคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed หลัง Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bp ในเดือนพฤศจิกายน และจะขึ้น 25bp ในเดือนธันวาคมปีนี้ อย่างไรก็ดี ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีอยู่ (ทั้งความน่าจะเป็นที่จะเกิด Recession ในสหรัฐฯ อีก 1 ปีข้างหน้า ซึ่งอยู่ที่ 50% และคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ใน 3Q22 โดย Fed สาขาแอตแลนตาที่ +0.3%) จะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของ 10y UST Yield

 

กองทุนแนะนำ

 

 

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส ​​(ชนิดหน่วยลงทุน B) (SCBSFFPLUS-B)

  • กองทุนลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 50% และป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% โดยกองทุนเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีความผันผวนต่ำ เหมาะกับการพักเงินลงทุนในระยะสั้น

 

 

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity (ชนิดสะสมมูลค่า) (SCBCIO(A))

  • กองทุนผสมแบบ Fund of Funds ที่ลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั้งไทยและต่างประเทศ สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้ยืดหยุ่น โดยเพิ่มลดสัดส่วนได้ตั้งแต่ 0-100% ตามสภาวะตลาด โดยกองทุนนี้เป็น ONE-Stop Fund คัดสรรกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมตามสภาวะตลาด

 

 

 

หุ้นกู้ต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นกู้ไทยกลุ่ม Investment Grade โดยเฉพาะ AAA และ AA ที่ Corporate Spread ค่อนข้างทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับ Pre-COVID ขณะที่ Bond Yield ของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสหรัฐฯ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับสหรัฐฯ มาจาก 1. ความเสี่ยงเงินเฟ้อไทยที่จะเร่งตัวแรงจากปัจจุบันที่ลดลง 2. การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป (โอกาสดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นแรงกว่า 25 bps ต่อครั้งการประชุมมีน้อย) และ 3. อุปสงค์ในตลาดพันธบัตรไทยที่ยังมีต่อเนื่อง ทั้งนี้ เรายังแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

 

 

 

หุ้นกู้ไทย

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นกู้ไทยในกลุ่ม Investment Grade โดยเฉพาะ AAA และ AA โดย Gov’t Bond Yield ของไทยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐฯ และโอกาสที่จะเร่งตัวแรงยังต่ำ โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนหนึ่งมาจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายที่ขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางอุปสงค์ในตลาดพันธบัตรไทยที่ยังมีต่อเนื่องจาก AMC และบริษัทประกัน ขณะที่ Corporate Spread ค่อนข้างทรงตัวในทุกอายุและทุก Grade โดยเฉพาะในกลุ่ม AAA และ AA ที่ทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับก่อนโควิด ทั้งนี้ เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยที่ยังมีอยู่

 

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางหลักที่ต่างๆ เพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อที่สูง และความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อย่างไรก็ดี การเปิดเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม DM และผลประกอบการ บจ.DM ที่ยังขยายตัวดี จะสามารถช่วยประคองให้ตลาด DM มีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวขึ้นบางส่วน

 

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าตลาดงคยังมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของ Fed แต่เรามองว่าตลาดได้แรงหนุนจาก Valuation ของตลาดที่ลดลง จาก Sentiment ของนักลงทุนที่ Bearish มากเกินไป ขณะที่การประกาศซื้อหุ้นคืนของ บจ.สหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผลประกอบการใน 3Q22 มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาด นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ มีสัดส่วนกลุ่ม Quality Growth ค่อนข้างสูง จึงทำให้ได้อานิสงส์หากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

 

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

เรามีมุมมอง Slightly Negative ต่อตลาดหุ้นยุโรป โดยมองว่าปัจจัยที่กดดันยังไม่ถูกสะท้อนผ่านราคาที่ปรับตัวลงมา และประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน โดยปัจจัยที่ยังกดดัน ได้แก่ วิกฤตพลังงานในยุโรปที่ยังจะกระทบต่อทั้งภาคการผลิตและการบริโภคผ่านเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งเราเริ่มเห็นสัญญาณของเงินเฟ้อที่กระจายตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นโยบายทางการเงินของ ECB มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นกว่าที่คาดไว้ อีกทั้งรัสเซียมีแนวโน้มที่จะยกระดับความรุนแรงมากขึ้น ยังกดดันภาพการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป

 

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

เรายังคงมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเรามองว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะกลับมาเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออก ในขณะที่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้น เป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภายในประเทศจากราคาสินค้านำเข้าที่มีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นตาม อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงได้รับประโยชน์จากการเปิดเมืองสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศช่วยประคองเศรษฐกิจ ประกอบกับ Valuation ที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำนั้นยังเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นเวลาที่ปรับตัวลดลงมา

 

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีน H-Share จาก Valuation ดัชนีที่ไม่แพงเมื่อเทียบตลาดหุ้นโลก การคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่น่าจะผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว และความเสี่ยง Delisting ของหุ้นจีน ADRs ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเรื่องการกีดกันการค้า การแข่งขันด้านเทคโนโลยี และการคว่ำบาตรทางอ้อมจากสหรัฐฯ ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับรัสเซียและไต้หวัน ความกังวลบนภาคอสังหาจีนที่ยังมีอยู่ และสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่แน่นอน จะยังคงกดดัน Upside ของดัชนี 

 

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีน A-Share โดยแม้ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่รัฐบาลมีแนวโน้มออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการสนับสนุนภาคอสังหา รวมทั้งการผ่อนคลายทางการเงินของ PBOC ที่ยังคงดำเนินต่อ แต่อย่างไรก็ตาม การที่จีนมีแนวโน้มออกจาก Zero-COVID Policy ที่ล่าช้ามากขึ้น โดยเราคาดว่าจะยกเลิกในช่วง 2Q23 ตลอดจนกิจกรรมภาคอสังหาจีนที่ยังชะลอลง อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องจนถึง 1Q23

 

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นไทย เนื่องจาก 1. ตลาดไทยยังได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เพิ่งอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวหลังจากการเปิดประเทศที่ช้ากว่าประเทศชั้นนำ ท่ามกลางการทยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะหนุน Earning ของตลาดหุ้นไทยให้ยังขยายตัวได้ 2. ความผันผวนของตลาด ASEAN (รวมไทย) ที่ยังต่ำ เมื่อเทียบกับ EM อื่นๆ 3. เสถียรภาพต่างประเทศของไทยที่ยังดี และ 4. Valuation ที่ยังอยู่ในระดับที่น่าลงทุน (Forward P/E ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีประมาณ 0.7s.d.) อย่างไรก็ตาม ความผันผวนจากตลาดโลก จึงควรเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม High Quality เพื่อรับมือกับความเสี่ยง โดยเน้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคบริการและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะที่หุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกอาจต้องระมัดระวังผลจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก

 

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นเวียดนาม โดยตลาดมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจเวียดนามที่ยังมีโมเมนตัมการฟื้นตัวดี โดยล่าสุด GDP ใน 3Q22 +13.7%YoY เพิ่มขึ้นจาก +7.7%YoY ใน 2Q22 จากผลประกอบการ บจ.เวียดนามในช่วง 2H22 ที่มีแนวโน้มขยายตัวค่อนข้างดี จาก Sentiment นักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ดีขึ้น จาก Valuation ตลาดที่ไม่แพง รวมทั้งจากการออกกฎระเบียบบนตลาดหุ้นกู้ที่ช่วยคลายความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบลง

 

กองทุนแนะนำ

 

 

 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม SCBVIET(A)

  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นเวียดนามแบบ Active ผ่านการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งใน Active Fund เช่น Vietnam Equity Fund และ ETF เช่น Diamond ETF, VN30 ETF รวมถึงหุ้นเวียดนามรายตัวที่ SCBAM มีมุมมองที่ดี โดย​​เวียดนามมีการเติบโตสูง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการทยอยเปิดประเทศ เสถียรภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กองทุนลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง เช่น กลุ่มธนาคาร อสังหา และภาคการผลิต ที่ยังเติบโตดีต่อเนื่อง

 

 

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แม้ตลาดจะเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากเงินเฟ้อทรงตัวสูงและการเร่งขึ้นดอกเบี้ย แต่ผลจาก 1. เศรษฐกิจอินโดนีเซียที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง 2. ความเสี่ยงเสถียรภาพต่างประเทศที่จะกระทบต่อค่าเงิน IDR ยังมีความเสี่ยงต่ำ (สะท้อนจากระดับทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 2.5 เท่า ต่อการนำเข้าสินค้าและบริการ 6.2 เดือน ระดับหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ที่ 35% และบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุล) 3. ความผันผวนของตลาดที่ต่ำกว่า EM ในภูมิภาคอื่น และ 4. 2Q22 Earning ที่เติบโตดี หนุนการปรับขึ้น 2022-2023 EPS Revision จากหลายปัจจัยที่กล่าวมา ผนวกกับ Valuation ของทั้ง JCI และ MSCI-Indonesia ที่ Forward P/E ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีอยู่ที่ -0.6s.d. และ -1s.d. ตามลำดับ น่าจะยังส่งให้ตลาดอินโดนีเซียยังเป็นหนึ่งในตลาดที่ยังน่าลงทุน

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อทองคำ โดยในระยะสั้นถึงกลางราคาทองคำจะยังคงถูกกดดันจากทิศทาง Real Yield ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จนกว่า Fed จะเริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ราคามีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก 1. การเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่มีความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอย และ 2. ความต้องการถือครองจากธนาคารกลางเพื่อเป็นทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น 

 

 

น้ำมัน 

ความน่าสนใจระดับ 4

เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อน้ำมัน โดยราคายังมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว และจากการใช้น้ำมันเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติในยุโรป ขณะที่อุปทานยังคงมีภาวะตึงตัว จาก 1. การที่กลุ่ม OPEC นั้นยังคงพยายามเข้ามาควบคุมราคาน้ำมันด้วยการลดกำลังการผลิต 2. ผลของการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากประเทศรัสเซียของทางกลุ่ม EU จะเริ่มเห็นผลชัดมากขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม และ 3. การปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) ของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงในช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน

 

 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อ REITs ประเทศพัฒนาแล้ว โดยการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield ยังคงเป็นปัจจัยหลักฉุดรั้งผลตอบแทนของ REITs โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่ผลตอบแทนโดยรวมในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาลดลงหนักเมื่อเทียบกับตลาดเอเชีย อย่างไรดี REITs DM ที่สนใจคือ ญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง ท่ามกลางแรงกดดันจากตลาดพันธบัตรที่ไม่มาก ในส่วนของยุโรป เราแนะนำให้หลีกเลี่ยง ผลจากเศรษฐกิจอ่อนแอ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ต้นทุนดอกเบี้ยที่สูง กดดันผลกำไรของ REITs    

 

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมอง Neutral ต่อ REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) แม้ว่าการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield จะเป็นปัจจัยลบกดดันผลตอบแทนของ REITs แต่ตลาดเอเชียที่ Yield ไม่ได้ปรับขึ้นรุนแรง ทำให้เราคาดว่าตลาดเอเชียยังมีความน่าสนใจมากกว่า DM ชาติตะวันตก โดยเฉพาะตลาดไทย Bond Yield ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นรุนแรง ท่ามกลางปัจจัยบวกที่มีต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และ FDI ที่ยังเข้าไทย ซึ่งส่งผลดีต่อ REITs กลุ่มโรงแรม ค้าปลีก นิคมอุตสาหกรรม และคลังสินค้า อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวัง REITs ในกลุ่มที่มีหนี้สูง และหนี้ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว และในระยะกลาง REITs สำนักงานที่มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงอุปทานส่วนเกิน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 3 ต.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories