THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ รุ่น 2 ปี พุ่งเหนือ 0.5% ครั้งแรก สวนทางตัวยาว 10 ปี ที่ลดต่ำ 1.6% สะท้อนภาพดอกเบี้ย ‘Fed’ เข้าสู่ขาขึ้น

... • 1 พ.ย. 2021

HIGHLIGHTS

  • ตลาดบอนด์สหรัฐฯ ปั่นป่วน หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงกว่าคาด กดดัน Fed จ่อขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า 2 ครั้ง
  • บอนด์ยีลด์ระยะสั้นของสหรัฐฯ รุ่นอายุ 2 ปี พุ่งเกิน 0.5% เป็นครั้งแรก สวนทางบอนด์ยีลด์ระยะยาวที่ลดต่ำกว่า 1.6%
  • จับตาผลประชุม Fed ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้ คาดลด QE ครั้งละ 1.5 หมื่นดอลลาร์ เริ่มเดือนพฤศจิกายน 2021
  • หุ้นไทยมีแนวโน้มแกว่งตัวลง แนะกลยุทธ์ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเน้นหุ้นเชิงรับ เช่น BDMS, BGRIM และ GPSC 
  • หุ้นจีนยังเผชิญแรงกดดันจากการทดลองเก็บภาษีอสังหาฯ ในบางเขตเมือง อาจสร้างแรงกดดันบางส่วนเพิ่มเติมต่อหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แม้จะมีช่วงทดลองราว 5 ปี ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้ทั่วประเทศก็ตามตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นปวน สาเหตุจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่องและอาจนานกว่าคาด ส่งผลให้ตลาดการเงินคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 ถึง 2 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากกว่าที่ Fed ส่งสัญญาณมาก่อนหน้า ดังนั้นจึงส่งผลให้บอนด์ยีลด์อายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นเกิน 0.50% เป็นครั้งแรกในขณะที่บอนด์ยีลด์อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.60% ส่งผลให้ Yield Curve กลายเป็น Bear Flattening ซึ่งภาพดังกล่าวถือว่าเป็นลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง      จับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) คาดว่า ผลการประชุมวันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้ จะมีดังนี้
    1. ประกาศลดทอน QE ครั้งละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน
    2. ยังไม่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย
    3. ยังคงส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แต่เงินเฟ้ออาจลากยาวไปถึงครึ่งปีหน้า 

    Fed Behind the Curve?

    SCBS คาดว่า 

    1. ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 10 ปี ไม่น่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบันที่ 1.5-1.7% อีกมากนัก และอาจเริ่มลดลงในระยะต่อไป จากความกังวลเศรษฐกิจที่จะเริ่มมีมากขึ้น
    2. เงินเฟ้ออาจลากยาวไปถึงครึ่งปีแรกเช่นเดียวกับที่ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาด 
    3. เชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าจะน้อยกว่าที่ตลาดคาดหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลย เนื่องจากเราประเมินว่าสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลายใน 2H22 เช่น การขาดแคลนสินค้า/วัตถุดิบ รวมถึงภาพรวมอุปสงค์จะเริ่มชะลอตัวกลับเข้าสู่ระดับปกติ

    ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 0.6% แบ่งเป็น ตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง 1.3% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 0.9% โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาดและกระแสของรถยนต์ไฟฟ้ามีการฟื้นตัว นอกจากนั้นธนาคารกลางยุโรปยังมีท่าทีที่สนับสนุนตลาดเงินอย่างต่อเนื่อง และหลายบริษัทประเมินว่าผลประกอบการไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 3

    สัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงเทขายในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงก่อนหน้านี้ โดยมีแรงซื้อกลับในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และจีน และกลุ่ม Consumer Discretionary จากประเด็นของรถยนต์ไฟฟ้า

    แนวโน้มตลาดหุ้นในระยะสั้นต้องติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ และการประกาศงบ 3Q21 ของสหรัฐฯ (AirBnB, Maersk, BMW, Moderna, Pfizer, Qualcomm, SoftBank, Enel) ทั้งนี้ ด้วยผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ที่มีแนวโน้มดีกว่าที่คาดและไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง มีโอกาสที่จะช่วยลดแรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น 

    SET Index ยังคงมีโอกาสอ่อนตัว

    แนวโน้มตลาดหุ้นไทยคาด SET Index ยังคงมีโอกาสอ่อนตัว โดยต้องติดตามการประกาศงบ 3Q21 และราคาน้ำมันดิบหลังการประชุมโอเปกพลัส ทั้งนี้ ประเมินว่าภาพรวมของงบ 3Q21 จะยังคงอ่อนแอ จากผลกระทบของการปิดเมืองและต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะประกาศงบ 3Q21 ได้แก่ ADVANC, BH, LPN, GPSC และ IVL

    กลยุทธ์หลักคือ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเน้นหุ้นเชิงรับ เช่น BDMS, BGRIM และ GPSC สำหรับการเก็งกำไรแนะนำหุ้นพลังงาน โดยรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ในขณะที่แนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นเปิดเมือง เนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นมาพอสมควรแล้ว

    ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

    • การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้ โดยติดตามการประกาศลดวงเงิน QE และการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ
    • การประชุม G20 วันที่ 30-31 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มีการหารือกันเกี่ยวกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
    • การประชุมโอเปกพลัส วันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ โดยติดตามนโยบายการผลิตน้ำมันหลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

    SPALI หุ้นเด่นประจำสัปดาห์

    สัปดาห์นี้แนะนำ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เนื่องจาก

    1. เป็นผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย ซึ่งพอร์ตสินค้ามีกระจายตัวดีทั้งแนวราบและคอนโดฯ อีกทั้งแบรนด์ยังเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้ซื้อบ้านระดับราคาปานกลาง จึงทำให้ผลดำเนินงานเติบโตได้อย่างมั่นคง
    2. 3Q21 คาดมีกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาท เติบโต 40%YoY จากรับรู้รายได้ Backlog ซึ่งมีการเริ่มโอนคอนโดฯ 1 โครงการใหม่ตามกำหนด คือ ศุภาลัย เวอเรนด้า (มูลค่า 4.5 พันล้านบาท ขายได้ 80%) โดยคาดว่า กำไร 4Q21 จะเป็นจุดสูงสุดของปีนี้
    3. มองการผ่อนคลายเพดาน LTV จะส่งผลบวกทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อลดลงจนถึงสิ้นปี 2022
    4. ฐานะการเงินแกร่ง โดยมีหนี้สินต่อทุนต่ำสุดในกลุ่มอสังหาฯ ขณะที่เราประเมินราคาเป้าหมายที่ 27 บาท และคาดให้ Div. Yield ปีนี้ 6.2%

    มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

    บรีฟอาร์ต: ระดับความน่าสนใจของตลาดต่างๆ รบกวนทำกราฟิกแถบพลังตาม format ลิงก์นี้จ้ะ https://thestandard.co/120-days-opening-the-country-support-thai-reit-exclusive-summary/ 

    ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

    ความน่าสนใจระดับ: 4

    ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วโดยรวมยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และการทยอยเปิดเมือง ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 3Q21 มีแนวโน้มออกมาดี

    อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบการระบาดไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาอุปทานขาดแคลน และแนวโน้มการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed

    กองทุนแนะนำ

      

    • SCB Global Experts Fund

    กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

    ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

    ความน่าสนใจระดับ: 4

    ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่ม Value/Cyclical เช่น Financials, Energy, Industrials, Materials ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นตาม Fed ที่จะเริ่มการทำ QE Tapering ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ประเด็นเกี่ยวกับร่าง Reconciliation Bill ที่คืบหน้ามากขึ้น และแนวโน้มการทยอยเปิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    ด้านหุ้นกลุ่ม Growth เช่น IT มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามที่ผลประกอบการใน 3Q21 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาด และมองผลกระทบทางลบจากการเพิ่มขึ้นของบอนด์ยีลด์จำกัด ทั้งนี้ เราคงคําแนะนําสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และ Value/Defensive อยู่ที่ 60:40

    ตลาดหุ้นยุโรป

    ความน่าสนใจระดับ: 4

    ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมี Valuation ที่ถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ (Laggard Play) และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดดเด่นมากกว่าหรือเท่ากับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในระยะต่อไป เรามองผลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 31 ตุลาคม จะสนับสนุน Fund Flow นักลงทุนต่างชาติจากธีม Election Rally และคาดว่าพรรค LDP (นำโดยนายกฯ ท่านใหม่ ฟูมิโอะ คิชิดะ) ยังครองเสียงข้างมากและสานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด

    กองทุนแนะนำ

      

    • Krungsri Japan Hedged Dividend Fund

    กองทุน KF-HJAPAND ลงทุนในกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น คัดเลือกธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และเฟ้นหาหลักทรัพย์รายตัวที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงและปัจจัย

    ตลาดหุ้นจีน H-Share

    ความน่าสนใจระดับ: 2

    ตลาดหุ้นจีน H-Share ยังมีความเสี่ยงในการออกกฎระเบียบด้าน Antitrust ที่เข้มงวดขึ้นอย่างมากกับกลุ่มแพลตฟอร์มรายใหญ่ แต่ก็เริ่มมีสัญญาณที่บรรเทาลง ขณะที่ผลกระทบทางลบจากการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PIPL) ต่อกลุ่มฯ อาจไม่มากนัก ประกอบกับ Valuation ปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี จึงส่งผลทำให้ดัชนีหุ้นจีน Offshore มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงขาลงที่จำกัด 

    อย่างไรก็ตาม ประเด็นการทดลองจัดเก็บภาษีอสังหาฯ ในบางเขตเมืองของจีน อาจสร้างแรงกดดันบางส่วนเพิ่มเติมต่อหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แม้การจัดเก็บภาษีอสังหาฯ ข้างต้น จะมีช่วงทดลองราว 5 ปี ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้ทั่วประเทศก็ตาม

    ตลาดหุ้นจีน A-Share

    ความน่าสนใจระดับ: 3

    ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในช่วงที่เหลือของปี และคงต้นทุนทางการเงินสำหรับ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มเร่งใช้โควตาในการออกพันธบัตรท้องถิ่นพิเศษ เพื่อนำมาใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 

    นอกจากนี้ ตลาดฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากวิกฤตพลังงานขาดแคลนในจีนที่เริ่มคลี่คลายลง และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจีนใน 3Q21 ที่มีแนวโน้มออกมาดี ประกอบกับยังมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของทางการจีน

    ตลาดหุ้นไทย

    ความน่าสนใจระดับ: 2

     

    ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญแรงกดดันจากการระบาดของโควิดที่ยังกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าแต่ยังคงห่างไกลจากการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ แม้เริ่มมีแผนการเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน แต่เรามองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้ายังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่มาก 

    นอกจากนี้ Valuation หุ้นไทยยังคงตึงตัว ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนใน SET Index ปี 2021 และ 2022 เริ่ม Priced In การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจไทยไปแล้ว

    ตลาดหุ้นเวียดนาม

    ความน่าสนใจระดับ: 4

    ตลาดหุ้นเวียดนามแม้ยังผันผวนสูงจากผลกระทบภายหลังการล็อกดาวน์รอบล่าสุด และคาดการณ์ GDP จะได้รับผลกระทบมากในปีนี้ โดยการเติบโตมีแนวโน้มลดลงเหลือราว 3-4% แต่เราคาดว่า GDP จะเริ่มฟื้นตัวได้ใน 4Q21 และเติบโตได้ราว 6% ในปี 2022 

    ด้านผลประกอบการ บจ. แม้จะเริ่มเห็นการชะลอลงใน 3Q21 แต่สถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง และ Valuation ยังไม่แพงเท่าตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

    กองทุนแนะนำ 

      ​​

    • Principal Vietnam Equity Fund

    กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นปวน สาเหตุจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่องและอาจนานกว่าคาด ส่งผลให้ตลาดการเงินคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 ถึง 2 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากกว่าที่ Fed ส่งสัญญาณมาก่อนหน้า ดังนั้นจึงส่งผลให้บอนด์ยีลด์อายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นเกิน 0.50% เป็นครั้งแรก

 

ในขณะที่บอนด์ยีลด์อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.60% ส่งผลให้ Yield Curve กลายเป็น Bear Flattening ซึ่งภาพดังกล่าวถือว่าเป็นลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง 

     

จับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) คาดว่า ผลการประชุมวันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้ จะมีดังนี้

  1. ประกาศลดทอน QE ครั้งละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน
  2. ยังไม่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย
  3. ยังคงส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แต่เงินเฟ้ออาจลากยาวไปถึงครึ่งปีหน้า 

 

Fed Behind the Curve?

 

SCBS คาดว่า 

  1. ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 10 ปี ไม่น่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบันที่ 1.5-1.7% อีกมากนัก และอาจเริ่มลดลงในระยะต่อไป จากความกังวลเศรษฐกิจที่จะเริ่มมีมากขึ้น
  2. เงินเฟ้ออาจลากยาวไปถึงครึ่งปีแรกเช่นเดียวกับที่ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาด 
  3. เชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าจะน้อยกว่าที่ตลาดคาดหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลย เนื่องจากเราประเมินว่าสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลายใน 2H22 เช่น การขาดแคลนสินค้า/วัตถุดิบ รวมถึงภาพรวมอุปสงค์จะเริ่มชะลอตัวกลับเข้าสู่ระดับปกติ

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 0.6% แบ่งเป็น ตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง 1.3% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 0.9% โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาดและกระแสของรถยนต์ไฟฟ้ามีการฟื้นตัว นอกจากนั้นธนาคารกลางยุโรปยังมีท่าทีที่สนับสนุนตลาดเงินอย่างต่อเนื่อง และหลายบริษัทประเมินว่าผลประกอบการไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวจากไตรมาสที่ 3

 

สัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงเทขายในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงก่อนหน้านี้ โดยมีแรงซื้อกลับในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และจีน และกลุ่ม Consumer Discretionary จากประเด็นของรถยนต์ไฟฟ้า

 

แนวโน้มตลาดหุ้นในระยะสั้นต้องติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ และการประกาศงบ 3Q21 ของสหรัฐฯ (AirBnB, Maersk, BMW, Moderna, Pfizer, Qualcomm, SoftBank, Enel) ทั้งนี้ ด้วยผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ที่มีแนวโน้มดีกว่าที่คาดและไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง มีโอกาสที่จะช่วยลดแรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น 

 

SET Index ยังคงมีโอกาสอ่อนตัว

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยคาด SET Index ยังคงมีโอกาสอ่อนตัว โดยต้องติดตามการประกาศงบ 3Q21 และราคาน้ำมันดิบหลังการประชุมโอเปกพลัส ทั้งนี้ ประเมินว่าภาพรวมของงบ 3Q21 จะยังคงอ่อนแอ จากผลกระทบของการปิดเมืองและต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะประกาศงบ 3Q21 ได้แก่ ADVANC, BH, LPN, GPSC และ IVL

 

กลยุทธ์หลักคือ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเน้นหุ้นเชิงรับ เช่น BDMS, BGRIM และ GPSC สำหรับการเก็งกำไรแนะนำหุ้นพลังงาน โดยรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ในขณะที่แนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นเปิดเมือง เนื่องจากราคาเพิ่มขึ้นมาพอสมควรแล้ว

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  • การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้ โดยติดตามการประกาศลดวงเงิน QE และการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ
  • การประชุม G20 วันที่ 30-31 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มีการหารือกันเกี่ยวกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
  • การประชุมโอเปกพลัส วันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ โดยติดตามนโยบายการผลิตน้ำมันหลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

SPALI หุ้นเด่นประจำสัปดาห์

 

สัปดาห์นี้แนะนำ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เนื่องจาก

  1. เป็นผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทย ซึ่งพอร์ตสินค้ามีกระจายตัวดีทั้งแนวราบและคอนโดฯ อีกทั้งแบรนด์ยังเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้ซื้อบ้านระดับราคาปานกลาง จึงทำให้ผลดำเนินงานเติบโตได้อย่างมั่นคง
  2. 3Q21 คาดมีกำไรสุทธิ 1.7 พันล้านบาท เติบโต 40%YoY จากรับรู้รายได้ Backlog ซึ่งมีการเริ่มโอนคอนโดฯ 1 โครงการใหม่ตามกำหนด คือ ศุภาลัย เวอเรนด้า (มูลค่า 4.5 พันล้านบาท ขายได้ 80%) โดยคาดว่า กำไร 4Q21 จะเป็นจุดสูงสุดของปีนี้
  3. มองการผ่อนคลายเพดาน LTV จะส่งผลบวกทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อลดลงจนถึงสิ้นปี 2022
  4. ฐานะการเงินแกร่ง โดยมีหนี้สินต่อทุนต่ำสุดในกลุ่มอสังหาฯ ขณะที่เราประเมินราคาเป้าหมายที่ 27 บาท และคาดให้ Div. Yield ปีนี้ 6.2%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

บรีฟอาร์ต: ระดับความน่าสนใจของตลาดต่างๆ รบกวนทำกราฟิกแถบพลังตาม format ลิงก์นี้จ้ะ https://thestandard.co/120-days-opening-the-country-support-thai-reit-exclusive-summary/ 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วโดยรวมยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และการทยอยเปิดเมือง ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 3Q21 มีแนวโน้มออกมาดี

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบการระบาดไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาอุปทานขาดแคลน และแนวโน้มการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Global Experts Fund

 

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่ม Value/Cyclical เช่น Financials, Energy, Industrials, Materials ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นตาม Fed ที่จะเริ่มการทำ QE Tapering ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ประเด็นเกี่ยวกับร่าง Reconciliation Bill ที่คืบหน้ามากขึ้น และแนวโน้มการทยอยเปิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

ด้านหุ้นกลุ่ม Growth เช่น IT มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามที่ผลประกอบการใน 3Q21 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาด และมองผลกระทบทางลบจากการเพิ่มขึ้นของบอนด์ยีลด์จำกัด ทั้งนี้ เราคงคําแนะนําสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และ Value/Defensive อยู่ที่ 60:40

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมี Valuation ที่ถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ (Laggard Play) และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดดเด่นมากกว่าหรือเท่ากับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในระยะต่อไป เรามองผลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 31 ตุลาคม จะสนับสนุน Fund Flow นักลงทุนต่างชาติจากธีม Election Rally และคาดว่าพรรค LDP (นำโดยนายกฯ ท่านใหม่ ฟูมิโอะ คิชิดะ) ยังครองเสียงข้างมากและสานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด

 

กองทุนแนะนำ

 

  

  • Krungsri Japan Hedged Dividend Fund

 

กองทุน KF-HJAPAND ลงทุนในกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น คัดเลือกธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และเฟ้นหาหลักทรัพย์รายตัวที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงและปัจจัย

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ: 2

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share ยังมีความเสี่ยงในการออกกฎระเบียบด้าน Antitrust ที่เข้มงวดขึ้นอย่างมากกับกลุ่มแพลตฟอร์มรายใหญ่ แต่ก็เริ่มมีสัญญาณที่บรรเทาลง ขณะที่ผลกระทบทางลบจากการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PIPL) ต่อกลุ่มฯ อาจไม่มากนัก ประกอบกับ Valuation ปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี จึงส่งผลทำให้ดัชนีหุ้นจีน Offshore มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงขาลงที่จำกัด 

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นการทดลองจัดเก็บภาษีอสังหาฯ ในบางเขตเมืองของจีน อาจสร้างแรงกดดันบางส่วนเพิ่มเติมต่อหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แม้การจัดเก็บภาษีอสังหาฯ ข้างต้น จะมีช่วงทดลองราว 5 ปี ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้ทั่วประเทศก็ตาม

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

 

ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในช่วงที่เหลือของปี และคงต้นทุนทางการเงินสำหรับ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มเร่งใช้โควตาในการออกพันธบัตรท้องถิ่นพิเศษ เพื่อนำมาใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 

 

นอกจากนี้ ตลาดฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากวิกฤตพลังงานขาดแคลนในจีนที่เริ่มคลี่คลายลง และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจีนใน 3Q21 ที่มีแนวโน้มออกมาดี ประกอบกับยังมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของทางการจีน

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ: 2

 

 

ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญแรงกดดันจากการระบาดของโควิดที่ยังกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าแต่ยังคงห่างไกลจากการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ แม้เริ่มมีแผนการเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน แต่เรามองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้ายังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่มาก 

 

นอกจากนี้ Valuation หุ้นไทยยังคงตึงตัว ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนใน SET Index ปี 2021 และ 2022 เริ่ม Priced In การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจไทยไปแล้ว

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนามแม้ยังผันผวนสูงจากผลกระทบภายหลังการล็อกดาวน์รอบล่าสุด และคาดการณ์ GDP จะได้รับผลกระทบมากในปีนี้ โดยการเติบโตมีแนวโน้มลดลงเหลือราว 3-4% แต่เราคาดว่า GDP จะเริ่มฟื้นตัวได้ใน 4Q21 และเติบโตได้ราว 6% ในปี 2022 

 

ด้านผลประกอบการ บจ. แม้จะเริ่มเห็นการชะลอลงใน 3Q21 แต่สถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง และ Valuation ยังไม่แพงเท่าตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

 

กองทุนแนะนำ 

 

  ​​

  • Principal Vietnam Equity Fund

 

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 1 พ.ย. 2021

READ MORE




Latest Stories