ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 10 Apr 2024 01:53:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 นายกฯ ตรวจสนามบินสุวรรณภูมิไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นหนที่ 3 เช็กระบบบริการประชาชนก่อนเทศกาลสงกรานต์ https://thestandard.co/srettha-thavisin-suvarnabhumi-airport-09042024/ Wed, 10 Apr 2024 01:53:26 +0000 https://thestandard.co/?p=921352

วานนี้ (9 เมษายน) เวลา 21.20 น. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมน […]

The post นายกฯ ตรวจสนามบินสุวรรณภูมิไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นหนที่ 3 เช็กระบบบริการประชาชนก่อนเทศกาลสงกรานต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (9 เมษายน) เวลา 21.20 น. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปตรวจระบบการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่สนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยมาตรวจในลักษณะนี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 

 

เมื่อมาถึงสนามบินสุวรรณภูมินายกรัฐมนตรีได้ตรวจระบบเช็กอิน ซึ่งพบว่าระบบบริหารจัดการยังสามารถทำได้ดี ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน เนื่องจากทางการท่าอากาศยานเปิดให้เช็กอินเร็วขึ้นจากเดิม 3 ชั่วโมงเป็น 4 ชั่วโมง 

 

จากนั้น กิตติพงศ์  กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ พล.ต.ต. เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้มาต้อนรับและนำตรวจตามจุดต่างๆ นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจระบบของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. ซึ่งได้มีการยกเว้นการสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือสำหรับคนไทย เนื่องจากมีชื่ออยู่ในระบบ และไม่เป็นปัญหาต่อระบบความมั่นคง ทำให้ผู้โดยสารขาออกสามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนนี้ได้ถึง 15 นาที  

 

ส่วนระบบของ ตม. ที่ก่อนหน้านี้เคยล่มหลายครั้ง พล.ต.ต. เชิงรณ ยืนยันว่า จากนี้ระบบจะไม่ล่มอีก ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและมีการเชื่อมต่อระบบกับทางการท่าอากาศยานแล้ว ทำให้ระบบทำงานได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งในระยะยาวนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ยกเครื่องระบบตรวจคนเข้าเมืองทั้งหมด ให้ทำงานร่วมกันระหว่างตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและการท่าอากาศยานเป็นระบบเดียว คือ Thailand Immigration System ซึ่งขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างดำเนินการอนุมัติ ส่วนขาเข้าตั้งแต่ลงเครื่องมาถึงจุดตรวจคนเข้าเมืองพยายามจะให้ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที 

 

ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบอีกว่า ช่วงพีคของผู้โดยสารขาออกจะเป็นเวลาตั้งแต่ 22.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งพบว่าผู้โดยสารขาออกมีการเข้าแถวรอเช็กอินจำนวนมาก ซึ่งปัญหาหนึ่งเกิดมาจากสายการบินบางสายการบินยังไม่พร้อมให้ผู้เครื่องเช็กอินด้วยตัวเอง ทำให้ผู้โดยสารยืนรอต่อแถวหน้าเคาน์เตอร์ 

 

นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้สำนักงานการบินพลเรือนและการท่าอากาศยานขอความร่วมมือสายการบินให้เปิดใช้ระบบเช็กอินด้วยตนเอง ร่วมกับระบบเช็กอินหน้าเคาน์เตอร์ เนื่องจากปัจจุบันมีสายการบินที่ใช้ระบบออโต้เพียง 28 สายการบินจากทั้งหมด 117 สายการบิน

 

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้ไปตรวจดูห้องพักของเจ้าหน้าที่ที่ก่อนหน้านี้เคยมาตรวจดู และสั่งให้มีการเพิ่มพื้นที่ห้องพักของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความสะดวกสบาย ซึ่งพบว่าขณะนี้การเพิ่มห้องพักให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความคืบหน้าไปมาก จากนั้นได้ไปดูเรื่องระบบการจราจรของผู้โดยสารที่เดินทางมายังสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่าการจราจรค่อนข้างหนาแน่น แต่ทางการท่าอากาศยานก็ได้มีการบริหารจัดการเพิ่มเจ้าหน้าที่และเพิ่มช่องทาง อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารระบายรถได้ดีขึ้น

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลังจากเดินตรวจสอบระบบทั้งหมดพบว่า การบริหารจัดการโดยภาพรวมดีขึ้นมาก ใช้ระบบ Manual เยอะขึ้น มีเจ้าหน้าที่มาคอยให้บริการเยอะขึ้น และเชื่อว่าภายในเดือนกรกฎาคมนี้ระบบทั้งหมดจะดีขึ้น

The post นายกฯ ตรวจสนามบินสุวรรณภูมิไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นหนที่ 3 เช็กระบบบริการประชาชนก่อนเทศกาลสงกรานต์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค ประกาศรองรับ นทท. 150 ล้านคน ดันสุวรรณภูมิติดท็อป 50 ภายใน 1 ปี https://thestandard.co/vision-to-develop-thailand-as-an-aviation-hub/ Fri, 01 Mar 2024 05:17:04 +0000 https://thestandard.co/?p=906014

วันนี้ (1 มีนาคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตร […]

The post นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค ประกาศรองรับ นทท. 150 ล้านคน ดันสุวรรณภูมิติดท็อป 50 ภายใน 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (1 มีนาคม) เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงวิสัยทัศน์ ‘Ignite Thailand, Aviation Hub’ เพื่อประกาศถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคว่า ตนและรัฐบาลมีความเชื่อว่าศักยภาพของประเทศไทยพร้อมระเบิดออกมาเพื่อฉายแววให้ชาวโลกรู้ แต่เราต้องยอมรับก่อนว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง เพราะถ้าเราไม่ยอมรับ ปัญหาก็จะไม่มีทางออก ยืนยันว่าไม่ได้ว่าใครหรือทำให้ใครรู้สึกไม่ดี แต่เชื่อว่าการที่เราจะนำเรื่องนี้มาพูดคุยถือเป็นเรื่องที่ดี

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า 10 ปีก่อนสนามบินสุวรรณภูมิถือเป็นสนามบินที่ดีอันดับ 13 ของโลก แต่วันนี้อยู่อันดับ 68 ของโลก ตกมา 55 ระดับ และเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซียที่ไม่ได้มีการลงทุนอะไรเลย แต่อันดับสูงขึ้น ซึ่งไม่ต้องพูดถึงสิงคโปร์เลย 

 

ทั้งนี้ คนต่างชาติอยากเข้ามาประเทศไทยแต่ติดปัญหาเที่ยวบินไม่เพียงพอ และภาษีการบินแพง ทั้งที่ความต้องการก็ล้น ดังนั้นถ้าเราไม่ทำอะไรก็จะวุ่นวายอย่างแน่นอน 

 

ขณะที่การรองรับท่องเที่ยว การโหลดกระเป๋าสินค้า แท็กซี่สนามบิน ระบบล่ม ไฟลต์บินเปลี่ยนผ่านน้อยลง เรื่องเหล่านี้ตนเชื่อว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่บั่นทอนศักยภาพประเทศ ดังนั้นขอให้นึกภาพดูแล้วกัน 60 ล้านคนที่เข้ามา ถ้าไม่ทำอะไรก็อาจทำให้ตกจากอันดับ 68 ไปอีก

 

ปรับปรุงดันไทยเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค

 

โดยแผนแรกคือ การเร่งแก้ไขสนามบินสุวรรณภูมิเป็นการเร่งด่วน โดยจะขยายข้อบกพร่อง ให้รองรับผู้โดยสารให้ได้ 60 ล้านคนจริงๆ ไม่ใช่รองรับแค่ 45 ล้านคน และไม่พอกับความต้องการจริงที่เข้ามา 

 

ส่วนจิ๊กซอว์ที่สองคือ การสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งจะเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้หรือเร็วกว่า จะทำให้เครื่องบินขึ้นลงได้ถึง 90 ลำ ไม่ใช่แค่ 60 ลำ

 

ส่วนเรื่องที่สาม จะต้องลดเวลาผู้โดยสารในการผ่านด่านจุดตรวจต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาการเดินทางที่ทำให้การเดินทางไม่เชื่อมต่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็ก รวมถึงอนาคตเรื่องของเหลวที่มีในกลุ่มสตรี แม้เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ตนเชื่อว่ากรมท่าอากาศยานไทยคำนึงถึงและให้ความสำคัญมาก โดยจะต้องถูกแก้ไขภายใน 6 เดือน รวมถึงจะเปิดจุดเช็กอินเพิ่มและขยายเวลาการเปิดเช็กอินให้เร็วขึ้น รวมถึงเปิดเครื่องโหลดกระเป๋าอัตโนมัติ 

 

นอกจากนี้ต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง โดยเราจะเพิ่มบริษัทภาคพื้นดินในการดูแลการขนส่งและรถกระเป๋าต่างๆ โดยเปิดให้มีการแข่งขันหลายบริษัท เพื่อบังคับให้เขาบริการให้ดีที่สุดกับนักท่องเที่ยวและประชาชนคนไทยทุกคน เพราะในอดีตบริษัทที่เข้ามาก็มีปัญหา

 

นายกฯ ยังกล่าวถึงการคัดเลือกผู้รับเหมาว่า หากทำไม่ดีก็ต้องมีการลดเกรด เพื่อให้มีการวิเคราะห์และพัฒนาตลอดซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากทำได้จะทำให้การเข้าออกประเทศมีความสมดุลและตรวจสอบได้หมด รวมถึงทำให้รวดเร็ว ทั้งนี้ ตนมั่นใจว่า 6 เดือนต่อจากนี้จะไม่เห็นผู้โดยสารที่ต้องรอคิวเช็กอินนานๆ

 

นอกจากนี้เราต้องขยายโครงสร้างพื้นฐานสุวรรณภูมิในระยะยาว อาทิ เรื่องการขนส่งสินค้าต้องพัฒนาทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องการพัฒนาคนอย่างเดียว โดยเราจะมีการสร้างเชื่อม 2 เทอร์มินอล เพราะจะทำให้การขนถ่ายผู้โดยสารและสินค้าดีขึ้น 

 

ตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ 150 ล้านคน

 

นายกรัฐมนตรีระบุอีกว่า จาก 2 สนามบิน (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) ถ้าเราสามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ 150 ล้านคน ก็จะทำให้หลายภาคส่วนเติบโต แล้วจะทำให้เศรษฐกิจไทยรุ่งโรจน์อย่างแน่นอน จากนั้นค่อยพิจารณาเรื่องการขยายเทอร์มินอลที่ 4 

 

ส่วนเรื่องคลังสินค้า ถ้าเราทำให้เป็นศูนย์กลางได้ก็จะทำให้ตลาดในภูมิภาคนี้อยู่ในมือของไทย เพราะมีสินค้าผ่านสุวรรณภูมิ 1.2 ล้านตันต่อปี ฉะนั้นการยกระดับคลังสินค้าก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเราจะต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือต้องทำให้เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว

 

ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะทำให้ก้าวแรกที่ผู้โดยสารเดินเข้ามาสู่สุวรรณภูมิต้องมีความมั่นใจ รวมถึงทำให้การขนส่งสินค้าดีขึ้น 

 

ยกระดับสนามบินดอนเมือง-ภูมิภาค

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เราจะเปลี่ยนสนามบินดอนเมืองให้มีจุดเด่น รวมถึงขยายขีดความสามารถให้สูงขึ้น จากปัจจุบันรับผู้โดยสารปีละ 30 ล้านคน เพื่อให้สามารถรับได้ถึง 50 ล้านคน และพัฒนาเรื่องร้านค้าเพื่อเป็นจุดหลักในการส่งสินค้า OTOP ด้วย ส่วนการพัฒนาเรื่องที่จอดรถ ภายในปี 2572 เราจะเพิ่มการรองรับ 5 เท่า เป็น 7,600 คัน 

 

นอกจากนี้ต้องมีการขยายศูนย์การซ่อมเครื่องบินไพรเวตเจ็ต โดยไม่ต้องบินไปสิงคโปร์อีกต่อไป นอกจากนี้เราก็จะมีการพัฒนาสนามบินตามภาคต่างๆ ด้วย อาทิ ภาคใต้ภูเก็ต ภาคเหนือเชียงใหม่ รวมถึงสนามบินย่อยอื่นๆ ก็จะต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยจะต้องไม่มีความแออัด พร้อมย้ำว่า ความมั่นคงจะต้องควบคู่ไปกับความมั่งคั่งในรัฐบาลนี้ 

 

เผยแผนหลังฟื้นฟู ดัน ‘การบินไทย’ สู่ท็อป 3 ของโลก

 

ส่วนการพัฒนาสายการบินไทยที่เป็นสายการบินแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีระบุว่า ต้องพัฒนาอย่างเหมาะสม อาทิ ตั๋วที่มีปัญหาเรื่องเอเจนต์และทำให้เต็มบ่อย ต้องพัฒนาเรื่องตั๋วออนไลน์ ซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมา และการจัดตารางเวลาก็ต้องทำให้เหมาะสม เพราะเมื่อเราหมดจากแผนฟื้นฟูแล้ว เราก็จะมายกระดับให้การบินไทยมีระดับที่ดี หรือเป็นอันดับท็อป 3 ของโลก

 

ช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีระบุว่า เราตั้งเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และนักเดินทาง 150 ล้านคน ขอประกาศว่าต่อจากนี้ใน 1 ปี สุวรรณภูมิจะเป็นสนามบินท็อป 50 ของโลก และภายใน 5 ปีจะต้องอยู่ในท็อป 20 ให้ได้ วันนี้เราตื่นแล้ว และเราต้องตื่นมาร่วมกันพัฒนาเพื่อให้ความฝันนั้นเป็นจริง

The post นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค ประกาศรองรับ นทท. 150 ล้านคน ดันสุวรรณภูมิติดท็อป 50 ภายใน 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนจีนแห่เที่ยวไทย โตทะลัก 200% รับเทศกาลตรุษจีน https://thestandard.co/tourist-chinese-new-year-festival/ Thu, 01 Feb 2024 10:33:42 +0000 https://thestandard.co/?p=894914 เทศกาลตรุษจีน

‘สุริยะ’ คาดว่าเทศกาลตรุษจีนระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพัน […]

The post คนจีนแห่เที่ยวไทย โตทะลัก 200% รับเทศกาลตรุษจีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทศกาลตรุษจีน

‘สุริยะ’ คาดว่าเทศกาลตรุษจีนระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพันธ์นี้ จะมีผู้โดยสารเดินทางผ่านสนามบินทั้ง 6 แห่งของ AOT กว่า 3.52 ล้านคน 

 

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2567 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางผ่านท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT กว่า 3.52 ล้านคน ปริมาณเที่ยวบินรวม 21,115 เที่ยวบิน จึงได้สั่งการให้ AOT เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ สอดรับกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของรัฐบาลและมาตรการวีซ่าฟรีให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

 

คาดผู้โดยสารเดินทางช่วงตรุษจีนกว่า 3.5 ล้านคน

ด้าน กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า AOT ได้เตรียมความพร้อมรองรับงานบริการผู้โดยสารทั้งด้านความปลอดภัย และการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเดินทางจากทั่วโลก และสอดคล้องกับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนผ่านท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.), ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.)  

 

โดย AOT คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารประมาณ 3,523,929 คน หรือเฉลี่ย 352,393 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 20% และมีเที่ยวบิน 21,115 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 2,112 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 16.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับท่าอากาศยานที่มีปริมาณการเดินทางมากที่สุดคือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) จะมีปริมาณการจราจรทางอากาศมากที่สุด ซึ่งคาดว่ามีผู้โดยสาร 1,735,885 คน หรือเฉลี่ย 173,588 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 24.3% และมีเที่ยวบิน 9,439 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 944 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 15.6% 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

รองลงมาคือ ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) คาดว่ามีผู้โดยสาร 842,251 คน หรือเฉลี่ย 84,225 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 19.2% และมีเที่ยวบิน 6,104 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 610 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 24.7% ส่วนด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) คาดว่ามีผู้โดยสาร 284,123 คน หรือเฉลี่ย 28,412 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 12.7% และมีเที่ยวบิน 1,679 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 168 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 5.3% 

 

ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 523,988 คน หรือเฉลี่ย 52,399 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 21.7% และมีเที่ยวบิน 3,005 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 300 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 21.5% ส่วนท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 78,974 คน หรือเฉลี่ย 7,897 คนต่อวัน ลดลง 9.2% และมีเที่ยวบิน 529 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 53 เที่ยวบินต่อวัน ลดลง 8.8% และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 58,709 คน หรือเฉลี่ย 5,871 คนต่อวัน ลดลง 7% และมีเที่ยวบิน 360 เที่ยวบิน หรือเฉลี่ย 36 เที่ยวบินต่อวัน ลดลง 8.6%

 

ผู้โดยสารคนจีนโตทะลุ 200%

 

ทั้งนี้ วันตรุษจีนเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ตามปกติจะมีการหยุดงานติดต่อกันหลายวันเพื่อให้ชาวจีนบางส่วนเดินทางมาท่องเที่ยว สำหรับตรุษจีนในปีนี้ ระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2567 มีสายการบินเฉพาะเส้นทางจีนแจ้งขอทำการบิน ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT รวมเที่ยวบินกว่า 3,086 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 202.6% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณผู้โดยสาร 458,813 คน เพิ่มขึ้น 220.2%

 

โดยท่าอากาศยานที่คาดว่าจะมีสายการบินแจ้งขอทำการบินมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 1,799 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 193.4% มีจำนวนผู้โดยสาร 282,982 คน เพิ่มขึ้น 224.6% รองลงมาคือ ท่าอากาศยานดอนเมือง มีปริมาณเที่ยวบินจำนวน 662 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 366.5% มีจำนวนผู้โดยสาร 88,074 คน เพิ่มขึ้น 328.5% และท่าอากาศยานภูเก็ต มีปริมาณเที่ยวบินจำนวน 497 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 167.3% มีจำนวนผู้โดยสาร 69,342 คน เพิ่มขึ้น 170.1% 

 

อย่างไรก็ตาม AOT ได้เตรียมพร้อมรองรับผู้โดยสารชาวจีนจากนโยบายยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารเดินทางจีนและคาซัคสถาน (Visa Free) เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าประเทศไทยกว่า 8 ล้านคน

 

The post คนจีนแห่เที่ยวไทย โตทะลัก 200% รับเทศกาลตรุษจีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตม. แจ้งระบบตรวจคนเข้า-ออกประเทศขัดข้อง ผู้โดยสารสะสมแน่นสุวรรณภูมิ อยู่ระหว่างเร่งแก้ปัญหา https://thestandard.co/immigration-system-outage-24012567/ Wed, 24 Jan 2024 06:23:42 +0000 https://thestandard.co/?p=891483 ตรวจคนเข้าเมือง

วันนี้ (24 มกราคม) เมื่อเวลาประมาณ 11.40 น. พล.ต.ต. เชิ […]

The post ตม. แจ้งระบบตรวจคนเข้า-ออกประเทศขัดข้อง ผู้โดยสารสะสมแน่นสุวรรณภูมิ อยู่ระหว่างเร่งแก้ปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตรวจคนเข้าเมือง

วันนี้ (24 มกราคม) เมื่อเวลาประมาณ 11.40 น. พล.ต.ต. เชิงรณ ริมผดี โฆษกสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเวลาประมาณ 04.30 น. ของวันนี้ ได้รับแจ้งเหตุจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า 

 

ระบบตรวจคนเข้าเมืองในส่วนของช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ หรือ Automatic Channels ไม่สามารถตรวจได้ และอยู่ระหว่างการแก้ไข ส่งผลให้เกิดความหน่วงที่คอมพิวเตอร์ช่องตรวจ ตม. ทำให้การตรวจหนังสือเดินทางใช้เวลามากกว่าปกติ จากเดิมใช้เวลานับแต่ยื่นหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าที่จนตรวจสอบและประทับตราเสร็จไม่เกิน 45 วินาทีต่อคน แต่กลับต้องใช้เวลากว่า 1 นาทีต่อคน 

 

พล.ต.ต. เชิงรณกล่าวต่อว่า ส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาที่มีเที่ยวบินขึ้นลงหนาแน่น โดยเฉพาะผู้โดยสารขาออกประเทศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแถวยาวล้นมาถึงจุดตรวจค้นสัมภาระ ตั้งแต่เวลา 04.30 จนขณะนี้ (เวลา 11.40 น.) ยังติดขัดอยู่เป็นระยะ 

 

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้แจ้งศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งควบคุมระบบเทคโนโลยีดังกล่าวให้เร่งแก้ไขโดยด่วน ขณะเดียวกันทางด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก้ปัญหาตามแผนเผชิญเหตุกรณีระบบล่มตามรหัส Com Down โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วยระบบ Manual และใช้ระบบ APPS ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คัดกรองบุคคลที่อาจมีหมายจับ และ Overstay เพื่อเร่งระบายผู้โดยสารโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อการขึ้นเครื่อง

 

พล.ต.ต. เชิงรณกล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะมีการเรียกบริษัทผู้ดูแลระบบมาชี้แจงและตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อไป และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนโยบายส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวของนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับความสะดวกในระบบสนามบินสากล ซึ่งเป็นหน้าตาของประเทศ

The post ตม. แจ้งระบบตรวจคนเข้า-ออกประเทศขัดข้อง ผู้โดยสารสะสมแน่นสุวรรณภูมิ อยู่ระหว่างเร่งแก้ปัญหา appeared first on THE STANDARD.

]]>
19 มกราคม 2545 – รัชกาลที่ 9 ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ https://thestandard.co/onthisday-19012545/ Fri, 19 Jan 2024 02:18:29 +0000 https://thestandard.co/?p=889530

วันที่ 19 มกราคม 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภ […]

The post 19 มกราคม 2545 – รัชกาลที่ 9 ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันที่ 19 มกราคม 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ หลังพระราชทานชื่อสุวรรณภูมิ ซึ่งมีความหมายว่าแผ่นดินทอง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2543 โดยใช้แทนชื่อเดิมคือหนองงูเห่า

 

สำหรับอาคารผู้โดยสารสนามบินเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตารางเมตร มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ประกอบด้วย สถานีรถไฟฟ้า สถานีรถโดยสาร ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้าและขาออก รวมทั้งสำนักงานสายการบินต่างๆ

 

สนามบินสุวรรณภูมิเริ่มเปิดทดลองใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 ก่อนเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งโครงการราว 155,000 ล้านบาท 

 

ภาพ: ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

The post 19 มกราคม 2545 – รัชกาลที่ 9 ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลอาญายกฟ้องคดีพันธมิตรปิดสนามบิน ไม่ผิดกบฏ-ก่อการร้าย แต่ให้ลงโทษบางแกนนำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน https://thestandard.co/dismissal-of-case-against-protest-airport-closure/ Wed, 17 Jan 2024 07:13:04 +0000 https://thestandard.co/?p=888731

วันนี้ (17 มกราคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านค […]

The post ศาลอาญายกฟ้องคดีพันธมิตรปิดสนามบิน ไม่ผิดกบฏ-ก่อการร้าย แต่ให้ลงโทษบางแกนนำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (17 มกราคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.973/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต. จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ กับพวกรวม 32 คน ร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นกบฏ-ก่อการร้ายฯ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

 

กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2551 จำเลยได้ร่วมกันโฆษณาชักชวนให้ประชาชนมาร่วมกันชุมนุมใหญ่ กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ และปิดล้อมอาคารวีไอพีท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ผู้เสียหายที่ 2 และทำลายทรัพย์สินเสียหายเป็นเงิน 627,080 บาท แล้วนำจานรับสัญญาณของพวกจำเลยไปติดตั้งใกล้เครื่องรับสัญญาณเรดาร์ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เสียหายที่ 3 และปิดกั้นสะพานกลับรถของกรมทางหลวง ผู้เสียหายที่ 4 ตรวจค้นตัวเจ้าหน้าที่ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายที่ 5 ปิดกั้นการบริการสื่อสารบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้เสียหายที่ 6 และร่วมกันขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายบุคคลและทรัพย์สิน รวมทั้งจำเลยกับพวกได้ชุมนุมปิดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกดดันให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นลาออก

 

คดีนี้พวกจำเลยให้การปฏิเสธ โดยศาลอาญาได้นัดฟังคำพิพากษาครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 แต่จำเลย 4 คน มีอาการป่วย และ ประพันธ์ คูณมี ติดภารกิจเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ศาลจึงเลื่อนนัดฟังคำพิพากษา

 

โดยในวันนี้จำเลยเดินทางมาศาล ยกเว้น พล.ต. จำลอง ศรีเมือง และ เทิดภูมิ ใจดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ศรีสะเกษ ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล โดยจะมีการเชื่อมสัญญาณอ่านคำพิพากษาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

 

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1-5 จำเลย 7-13 และจำเลยที่ 31 ประกอบด้วย พล.ต. จำลอง ศรีเมือง, สนธิ ลิ้มทองกุล, พิภพ ธงไชย, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สุริยะใส กตะศิลา, ศิริชัย ไม้งาม, สำราญ รอดเพชร, มาลีรัตน์ แก้วก่า, สาวิทย์ แก้วหวาน, สันธนะ ประยูรรัตน์, ชนะ ผาสุกสกุล, รัชต์ชยุตม์ หรือ อมรเทพ หรือ อมร ศิริโยธินภักดี หรือ อมร รัตนานนท์ และบริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด

 

กระทำความผิดฐานบุกรุกและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดคือความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พิพากษาให้ลงโทษปรับคนละ 20,000 บาท ส่วนข้อหาอื่น พยานและหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่เหลือศาลได้ยกฟ้องทั้งหมด

 

ด้าน ประพันธ์ คูณมี ให้สัมภาษณ์ภายหลังฟังคำพิพากษา ระบุว่า น้อมรับในคำพิพากษาของศาลและยืนยันว่าการชุมนุมในครั้งนั้นเป็นการชุมนุมโดยสันติ สงบ ปราศจากอาวุธ

 

ในคดีนี้อัยการยื่นฟ้องหลายข้อหา เช่น ข้อหาบุกรุกฯ ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ข้อหาก่อการร้าย ชุมนุมโดยก่อการวุ่นวาย ข้อหาทำร้ายเจ้าพนักงาน ต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว เป็นต้น

 

สำหรับประเด็นที่ศาลวินิจฉัยคือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยศาลเห็นว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรสืบเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยมีจุดมุ่งหมายคือการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะทำให้การกระทำผิดเรื่องคอร์รัปชันของนักการเมืองหายไป

 

ซึ่งการชุมนุมในครั้งนั้นแม้จะเป็นพื้นที่สนามบินดอนเมือง แต่เป็นการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะภายนอก ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งร้านค้า ประชาชนสามารถเข้าใช้ได้ เป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งการชุมนุมไม่มีการทำร้ายผู้โดยสาร พนักงานสายการบิน รวมถึงการชุมนุมดังกล่าวไม่มีการพกอาวุธ ก่อจลาจลวุ่นวาย ถึงแม้จะเกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนบ้างก็เป็นเรื่องปกติของการชุมนุม

 

ประพันธ์กล่าวต่อว่า ศาลจึงมองว่าการชุมนุมโดยรวมทั้งหมดเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นความผิดในฐานก่อการร้าย รวมถึงข้อหาอื่นๆ ซึ่งข้อหาก่อการร้ายที่ยกฟ้องนั้นเนื่องจากการชุมนุมนั้นไม่มีการใช้อาวุธทำลายระบบคมนาคมขนส่งหรืออากาศยาน จึงถือว่าไม่เข้าข่ายความผิด

 

ในส่วนข้อหาบุกรุกซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีการใช้เป็นการประชุม ครม. เป็นการชั่วคราวของรัฐบาลขณะนั้น ซึ่งช่วงที่พันธมิตรเคลื่อนขบวนเข้าไปได้เข้าไปในห้องประชุมที่ใช้ในการประชุมจริง ศาลจึงมองว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ จึงเข้าข่ายความผิดฐานบุกรุก และขณะนั้นเป็นช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย แต่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ผิดกฎหมายหลายบท ศาลจึงลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

The post ศาลอาญายกฟ้องคดีพันธมิตรปิดสนามบิน ไม่ผิดกบฏ-ก่อการร้าย แต่ให้ลงโทษบางแกนนำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
22 New Things in Bangkok มัดรวมสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตลอดปี 2023 https://thestandard.co/life/22-new-things-in-bangkok-2023 Wed, 27 Dec 2023 00:56:56 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=881474

ในลิสต์นี้มีที่ไหนที่คุณไปมาแล้วบ้าง?   ดูเหมือนว่ […]

The post 22 New Things in Bangkok มัดรวมสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตลอดปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในลิสต์นี้มีที่ไหนที่คุณไปมาแล้วบ้าง?

 

ดูเหมือนว่าปี 2566 กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย ทั้งสวนสาธารณะเปิดใหม่ อาคารสูงแห่งใหม่ คอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ และบางสถานที่เปิดโซนใหม่เพื่อให้คนเข้ามาทำกิจกรรมกันมากขึ้น เป็นปีแห่งการได้ออกไปใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ แต่ถ้าอยากดูรายละเอียดเต็มๆ ว่ามีที่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติมในลิสต์นี้ได้เลย

 

 

1. อุโมงค์หน้าพระลาน 

หลายคนอาจลืมไปแล้ว แต่วันที่ 1 มกราคม 2566 กรุงเทพมหานครประกาศเปิดใช้งาน ‘อุโมงค์หน้าพระลาน’ อย่างเป็นทางการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนชาวไทยที่เดินทางสักการะขอพรพระแก้วมรกตและชมความงดงามของพระบรมมหาราชวัง โดยตั้งอยู่บริเวณเดียวกับสนามหลวง ฝั่งเดียวกับประตูมณีนพรัตน์ พระบรมมหาราชวัง เชื่อมต่อไปยังศาลหลักเมือง หน้ากรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ และสนามหลวง ภายในอุโมงค์มีระบบระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศเย็นสบาย ฯลฯ นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาจะได้ชมภาพเก่าหาชมยากของกรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมจุดบริการประชาสัมพันธ์ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวังด้วย

 

Location: ลานหน้าพระบรมมหาราชวัง 

Open: เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

 


 

 

2. EKM6

ปีนี้คอมมูนิตี้รักสุขภาพมีเยอะมาก และ EKM6 ก็เป็นหนึ่งในนั้น ชื่อ EKM ไม่ได้แปลว่าเอกมัยเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึง ‘Every Kind Moment’ อีกด้วย เพราะที่นี่เป็นคอมมูนิตี้มอลล์ที่อยากจะเป็นที่พักผ่อนเพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับคนในเมือง หลักๆ ที่นี่จะมีคาเฟ่แพลนต์เบสและออร์แกนิก และยังมีร้านขายสินค้าที่เป็นแพลนต์เบส นอกจากนี้ที่นี่ยังมีที่พักผ่อนหลายๆ จุดทั่วโครงการ เพื่อให้คุณได้มานั่งพัก รับลม รับแดด สัมผัสกับพื้นหญ้า มีความสุขกับตัวเองแบบง่ายๆ แต่ยั่งยืน 

 

Location: ซอยเอกมัย 6

Open: เปิดทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.

Facebook: EKM6

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/ekm6-space-for-plant-based-food-lovers

 


 

 

3. Marche’ Thonglor

คอมมูนิตี้มอลล์สุดฮอตในทองหล่อที่เคลมตัวเองว่าเป็นคอมมูนิตี้สเปซที่ครบเครื่องที่สุดในละแวกนี้ โดยรวมเอาคอมมูนิตี้มอลล์และออฟฟิศไว้ในที่เดียวกัน เอกลักษณ์ของที่นี่คืองานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ไม่เหมือนใคร เหมาะเป็นจุดเช็กอินถ่ายรูปสวยๆ ภายในประกอบไปด้วยร้านอาหารดัง ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า บาร์ และพื้นที่สีเขียว ที่เดียวอยู่ได้ตั้งแต่เช้าจนถึงดึก สามารถพาเจ้าสี่ขาออกมาเดินเล่นด้วยกันได้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่ใครมาทองหล่อต้องแวะ

 

Location: ติดกับซอยทองหล่อ 4

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-00.00 น.

Facebook: Marche’ Thonglor

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/marche-thonglor-new-landmark

 


 

 

4. Slowcombo 

คอมมูนิตี้เกิดใหม่ย่านสามย่าน ที่อยากชวนคนรุ่นใหม่ในเขตเมืองอันแสนเร่งรีบมา Slowdown ใช้ชีวิตให้ช้าลงและมีสติมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นเรื่องสนุกและไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป ภายใน Slowcombo จึงมีหลายกิจกรรมให้เลือกสรร มีทั้งร้านข้าวแกงในเวอร์ชันสุขภาพดี ร้านดอกไม้รักษ์โลกที่สนับสนุนดอกไม้ไทยและอยากเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ไปด้วย ยังไม่รวมถึงคลาสฮีลใจและกายต่างๆ

 

Location: ซอยจุฬาลงกรณ์ 50 สามย่าน 

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.

Facebook: Slowcombo

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/slowcombo-samyan

 


 

 

5. The Corner House  

ตึกเก่า 100 ปี ริมคลองผดุงกรุงเกษม อดีตโรงงานน้ำอัดลมและโกดังแบรนด์รองเท้าไทยถูกรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้สเปซแสนเก๋แห่งใหม่ของย่านตลาดน้อย เจริญกรุง มีทั้งนิทรรศการงานอาร์ต, Co-playing Cafe จาก People of Small World ที่ครบทั้งคาเฟ่ มุมเล่นเกม มุมเวิร์กช็อป ไปจนถึงมุมเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ Gadhouse รวบรวมแผ่นเสียงมาให้ลองฟังถึง 6,500 แผ่น 

 

Location: ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซอยเจริญกรุง 35

Open: วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 12.00-22.00 น.

Facebook: The Corner House Bangkok

 


 

 

6. One City Centre

ถ้าพูดถึงอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ตอนนี้คงไม่มีตึกไหนที่ร้อนแรงไปกว่า One City Centre อีกแล้ว เพราะตอนนี้ถือได้ว่าเป็นอาคารสำนักงานที่สูงที่สุดในไทย และตั้งอยู่ในทำเลดีที่มูลค่าสูงสุดๆ อย่างเพลินจิต ภายในอาคารนอกจากเป็นพื้นที่สำนักงานแล้ว ยังมีร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ แถมยังมีคาเฟ่ชื่อดังหลายร้าน เช่น % Arabica มาเปิดอีกด้วย แต่จุดที่กำลังเป็นกระแสมากๆ ในตอนนี้คือการจัดแลนด์สเคปหน้าตึกที่ถ่ายรูปออกมาแล้วนึกว่าไม่ได้อยู่เมืองไทย

 

Location: ถนนเพลินจิต 

Facebook: OCC – One City Centre

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/one-city-centre

 


 

 

7. สวนจากภูผาสู่มหานที

สวนส่วนต่อขยายมาจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ในโครงการ Green Bangkok 2030 มีพื้นที่ 10 ไร่ ภายในสวนจะเป็นการรวบรวมพันธุ์พืชหลากหลายสายพันธุ์มาไว้ในที่เดียวกัน มีทางเดินและสะพาน สามารถไปเดินออกกำลังกายได้ และไฮไลต์ของสวนนี้คงหนีไม่พ้นหอชมนกสีขาวขนาดใหญ่ที่เป็นเหมือนแลนด์มาร์กสำคัญของสวนนี้ 

 

Location: ใกล้สวนจตุจักร

Open: เปิดทุกวัน เวลา 05.00-19.00 น.

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/forest-park-in-bangkok/

 


 

 

8. โซนกีฬา 7 ชนิด สวนเบญจกิติ

หลังเปิดสวนป่าเบญจกิติระยะ 2-3 มาให้คนกรุงได้ใช้กันค่อนปี กรุงเทพมหานครก็เปิดสนามกีฬาสวนเบญจกิติ สนามกีฬาแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ที่รวม 7 ประเภทกีฬาไว้ด้วยกัน ได้แก่ Basketball, Street Basketball, Pickleball, Table Tennis, Badminton, Futsal และ Teqball โดยกีฬาทั้งหมดนี้จะตั้งอยู่ในโกดังบริเวณใกล้ๆ ลานจอดรถ เป็นสนามกีฬาในร่มและแยกประเภทกีฬาอย่างชัดเจนตามโกดัง แถมสิ่งอำนวยความสะดวกที่นี่ไม่ต่างจากสนามกีฬาดีๆ เลย มีห้องน้ำที่สะอาด พร้อมอุปกรณ์กีฬาให้ยืม

 

Location: โกดังใกล้ลานจอดรถ

Open: เปิดทุกวัน เวลา 05.00-20.30 น.

Facebook: สวนป่าเบญจกิติ: Benchakitti Forest Park

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/benjakitti-park-new-zone

 


 

 

9. EMSPHERE

ห้างใหม่ล่าสุดในย่านพร้อมพงษ์ จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายแห่งอาณาจักร EM DISTRICT ที่มีจุดเด่นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ อยู่ใจกลางเมือง มีกิจกรรมให้ทำมากมาย ทั้งกิน ทั้งช้อป กว่า 300 ร้านค้า มากกว่า 1,000 แบรนด์ และชั้นบนของที่นี่ยังมีฮอลล์จัดคอนเสิร์ตอีกด้วย และที่สำคัญที่นี่มีหลายร้านที่เปิดถึงตี 3 ตอบโจทย์คนนอนดึกสุดๆ

 

Location: BTS สถานีพร้อมพงษ์

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.

Facebook: Emsphere at EM District

อ่านเพิ่มเติม:


 

 

10. สวนปทุมวนานุรักษ์

พื้นที่สีเขียวใจกลางกรุงเทพฯ ขนาดประมาณ 27 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ติดกับคลองแสนแสบ อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิปทุมวนานุรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกรุงเทพมหานคร เดิมเป็น ‘ชุมชนโรงปูน’ กว่าพันหลังคาเรือน ก่อนถูกเวนคืนเพื่อเอาพื้นที่มาทำสวนสาธารณะพื้นที่ 27 ไร่ ประกอบด้วยสวนหย่อม สวนป่า บึงรับน้ำ ลานกิจกรรม พื้นที่นิทรรศการกลางแจ้ง และอาคารอเนกประสงค์

 

Location: ถนนราชดำริ ปทุมวัน ติดกับเซ็นทรัลเวิลด์

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/pathumwananurak-park

 


 

 

11. Central Westville

ศูนย์การค้าแห่งใหม่ล่าสุด ลำดับที่ 40 ของเครือเซ็นทรัลพัฒนาก็เปิดเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ริมถนนราชพฤกษ์ เชื่อมต่อย่านราชพฤกษ์-สาทร ห้างแบบ Low-rise โดยมีคอนเซปต์หลักเป็น Semi-Outdoor & Low Carbon Mall บรรยากาศละม้ายคล้าย Central Eastville แต่มีขนาดใหญ่กว่า และเคลมตัวเองว่าเป็น Food Destination ของย่าน รวบรวมร้านอาหารมากกว่า 80 แบรนด์ทั้งไทยและเทศ นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์, กิจกรรมวัดใจผจญภัยบนเส้นเชือก SkyRise Adventures, สนามเด็กเล่นชื่อดังจากสิงคโปร์ Kiztopia และลานลู่วิ่งขนาดใหญ่ที่ชั้นบนสุด

 

Location: ริมถนนราชพฤกษ์ เชื่อมต่อย่านราชพฤกษ์-สาทร

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.

Facebook: Central Westville

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/central-westville

 


 

 

12. BLOQyard, ช่องนนทรี

คอมมูนิตี้แห่งใหม่ติดกับ BTS สถานีช่องนนทรี ที่รวมเอาร้านอาหาร บาร์ และคาเฟ่เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมมีสเปซส่วนรวมให้ทุกคนสั่งเมนูจากหลายๆ ร้านมานั่งแฮงเอาต์ด้วยกันได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ โดยร้านที่น่าสนใจ เช่น No Drama Burger ร้านเบอร์เกอร์สไตล์ LA ที่ขายอยู่เมนูเดียว Smashburger เพียงวันละ 50 ชิ้นเท่านั้น, Salad Smith สลัดบาร์และเฮลตี้โบวล์ เสิร์ฟอาหารสุขภาพแบบกินอิ่มจากทีม Sloane’s, Nihon Saiseisakaba อิซากายะแบบยืนกินสไตล์มตสึยากิจากประเทศญี่ปุ่น 

 

Location: BTS สถานีช่องนนทรี

Open: ทุกวัน เวลา 09.00-00.00 น.

Facebook: BLOQyard

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/bloqyard-community

 


 

 

13. Baan Trok Tua Ngork

ตึกเก่า 5 คูหาบริเวณปากซอยตรอกถั่วงอกถูกนำมารีโนเวตใหม่และเปลี่ยนสถานะตนเองให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เอาไว้ให้คนในวงการศิลปะ นักออกแบบ ศิลปิน เชฟ ฯลฯ สามารถนำเสนอไอเดียและปล่อยของผ่าน Pop-Up Event ที่บ้านตรอกถั่วงอกจัดขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสให้ผู้สนใจรู้จักตัวตนศิลปินและชิ้นงานใหม่เช่นเดียวกัน ที่นี่ไม่ได้มีเฉพาะงานอาร์ตเท่านั้น แต่บริเวณชั้น 1 ยังมีร้านอาหารน่ากินมาเปิดร้านป๊อปอัพสนุกๆ ให้ชิมด้วย

 

Location: ตรอกถั่วงอก ป้อมปราบศัตรูพ่าย 

Open: วันพฤหัสบดี-อาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/baan-trok-tua-ngork

 


 

 

14. GUMP’s Ari 

คอมมูนิตี้สเปซในย่านอารีย์ขวัญใจวัยรุ่น Gen Z ที่มีคอนเซปต์น่ารักว่า Grab Your Memory Place พื้นที่ดีๆ ที่อยากให้ผู้คนนำความทรงจำที่ดีกลับไปด้วยได้ ที่นี่จึงไม่ได้มีแค่ของกินอร่อยๆ แต่ยังมีลานกิจกรรม และที่สำคัญคือตกแต่งด้วยโทนสีสันน่ารักและทุกมุมถ่ายรูปได้หมด ใครที่เคยไป GUMP’s Ari เมื่อนานมาแล้วสมควรไปอีกรอบ GUMP’s Ari ในเวอร์ชันปี 2566 มีร้านใหม่ๆ อัปเดตเพียบ

 

Location: ซอยอารีย์ 4 ฝั่งเหนือ

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.

Facebook: GUMP

 


 

 

15. เรือถีบ-พายคายัค, สวนเบญจกิติ

การพายคายัค ถีบเรือเป็ด ไม่ใช่กิจกรรมใหม่ แต่ปีนี้เป็นปีที่สวนเบญจกิติเปิดกิจกรรมทางน้ำให้ประชาชนมาใช้บริการ เพราะนอกจากจะเป็นตัวเลือกใหม่ๆ ให้แก่คนชอบออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นกิจกรรมนันทนาการได้ดีด้วย โดยจุดพายอยู่บริเวณท่าน้ำฝั่งศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจจะต้องลงชื่อเข้าใช้ สวมชูชีพให้เรียบร้อย และใช้บริการได้ฟรี รอบละ 1 ชั่วโมง โดยวิวที่ได้ก็จะเป็นการพายเรือในบึงกว้างที่มีฉากหลังเป็นต้นไม้ใหญ่และตึกสูง ส่วนเครื่องแต่งกาย เราแนะนำให้สวมใส่กางเกงแห้งง่าย หรือนำเสื้อผ้ามาเปลี่ยนด้วยสำหรับคนที่จะพายเรือ

 

Location: สวนเบญจกิติ ใกล้กับประตูฝั่งศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

Open: ทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น. 

Facebook: สวนป่าเบญจกิติ: Benchakitti Forest Park

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/kayaking-benchakitti

 


 

 

16. SAT-1 สนามบินสุวรรณภูมิ

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ของท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ที่เปิดใช้จริงแบบ Soft Opening วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เรียกได้ว่าสร้างความตื่นเต้นให้คนกรุงพอควร ด้านในโอ่โถง กว้างขวาง มีรถไฟ APM ไร้คนขับเชื่อมต่อระหว่างอาคาร โดยสายการบินที่เข้าทำการบินช่วงแรก ได้แก่ สายการบิน Thai AirAsia X และ Thai Vietjet ก่อนจะมีสายการบินพาณิชย์อื่นๆ ตามมาในเวลาต่อไป

 

Location: สนามบินสุวรรณภูมิ

Open: ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

Facebook: Suvarnabhumi Airport

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/sat-1-suvarnabhumi-airport

 


 

 

17. ย่านโบ๊เบ๊ (โฉมใหม่)

ย่านตลาดค้าส่งและชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ที่ปีนี้เปลี่ยนโฉมใหม่สดใสกว่าเคย ผลพวงจากแผนปรับปรุงคลองผดุงกรุงเกษมครั้งยิ่งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจัดระเบียบ ปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น โดยตัวอาคารที่ทาสีใหม่มีทั้งหมด 5 โซน 215 คูหา ทั้งหมดเป็นอาคารรูปแบบเก่าแก่และสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ตั้งอยู่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งแต่ช่วงระหว่างแยกจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ (สะพานขาว) – แยกกษัตริย์ศึก ใครสนใจแวะไปถ่ายรูปได้นะ

 

Location: ริมคลองผดุงกรุงเกษม สะพานขาว

Open: ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/bobae-restores-old-buildings

 


 

 

18. เรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษม 

ไม่ใช่แค่การปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามเท่านั้น แต่ปีนี้กรุงเทพมหานครยังนำเรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษมกลับมาให้บริการอีกครั้งในระยะที่ 2 เส้นทางจากท่าเรือหัวลำโพง-ท่าเรือตลาดเทวราช รวมทั้งสิ้น 11 ท่า ผ่านย่านสำคัญๆ มากมาย เช่น ตลาดน้อย หัวลำโพง วงเวียน 22 กรกฎาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ สวนมะลิ โบ๊เบ๊ นางเลิ้ง มาจนถึงเทเวศร์ ใช้เวลาเดินทางตลอดสายเพียง 20 นาที ค่าโดยสารเพียง 20 บาท 

 

Location: หัวลำโพง-ตลาดเทวราช

Open: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-19.00 น. (ทุก 20 นาที), วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00-19.00 น. (ทุก 30 นาที)

Facebook: Krungthep Thanakom

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/khlong-phadung-electric-boat-free-rides

 


 

 

19. โมโนเรลสายสีเหลืองและชมพู

หลังแหงนคอมองการก่อสร้างมานานนับปี ปีนี้ชาวกรุงที่อาศัยในละแวกเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) พาดผ่าน ก็มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้าโมโนเรลเดินทางสัญจรในกรุงเทพฯ เสียที โดยสายสีเหลืองเปิดให้บริการในช่วงเดือนมิถุนายน ตามมาด้วยสายสีชมพูที่เปิดทดลองใช้ฟรีปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

Location: ลาดพร้าว-สำโรง และแคราย-มีนบุรี 

Open: เปิดทุกวัน เวลา 06.00-00.00 น. โดยประมาณ

Facebook: โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

 


 

 

20. สวนสัตว์พาต้า

ใครจะคิดว่าอดีตสวนสัตว์คนเมืองในสมัยคุณลุงคุณป้ายังสาวอย่างสวนสัตว์พาต้าจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง หลังใช้ลูกฮึดสุดท้ายปรับปรุงสวนสัตว์ใหม่ และวางตนเป็นสถานที่พักผ่อนและสวนสัตว์กลางเมืองแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร แน่นอนว่าไฮไลต์ของสวนสัตว์ยังคงเป็น ‘ป้าบัวน้อย’ กอริลลาวัย 33 ปี นอกจากนี้ยังมีโซน Pata Exotic Studio จัดแสดงสัตว์แปลก เช่น งู กิ้งก่า เต่า ฯลฯ และมีโชว์พิเศษอีกวันละ 2 รอบด้วย

 

Location: ห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า

Open: เปิดทุกวัน เวลา 10.00-17.00 น. โดยประมาณ

Facebook: สวนสัตว์พาต้า

 


 

 

21. Dream Stadium 

โปรเจกต์ปรับปรุงพื้นที่สนามฟุตบอลของ 4 ชุมชนด้วยการเพนต์สนามใหม่เป็นลายการ์ตูน ‘กัปตันซึบาสะ’ เพื่อส่งมอบแรงบันดาลใจด้านฟุตบอลสู่คนในชุมชน โดย 4 ชุมชนที่ว่า ได้แก่ ชุมชนแฟลตห้วยขวาง, ชุมชนเชื้อเพลิง, ชุมชนกุฎีจีน และชุมชนเคหะคลอง 6 

 

Location: ห้วยขวาง, เชื้อเพลิง, กุฎีจีน และเคหะคลอง 6

Open: เปิดทุกวัน

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/dream-stadium-sport-field/

 


 

 

22. Park Silom 

อาคาร Mixed-Use แห่งใหม่ในย่านสีลม โดย 5 ชั้นแรกจะเป็นพื้นที่ของคอมมูนิตี้มอลล์ มีร้านค้ามากมาย และมีคาเฟ่ชื่อดังอย่าง % Arabica ส่วนอื่นของอาคารจะเป็นพื้นที่ออฟฟิศ และข้างบนชั้นที่ 29 ยังมี Co-working Space วิวตึกสูง ชื่อ The Great Room ซ่อนอยู่ ที่นี่ถือเป็น Green Landmark แห่งใหม่ของชาวสีลม ทั้งส่วนนอกอาคารและชั้นบนของอาคารที่มี Sky Garden เป็นสวนลอยฟ้าให้คุณได้ชมวิวเมืองในบรรยากาศร่มรื่นเหมือนอยู่ในสวนอีกด้วย

 

Location: ถนนสีลม (ติดกับซอยคอนแวนต์)

Facebook: Park Silom

อ่านเพิ่มเติม: https://thestandard.co/life/the-great-room-park-silom/

 

ภาพ: THE STANDARD TEAM, Getty Images, Courtesy of Brands

The post 22 New Things in Bangkok มัดรวมสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตลอดปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สุวรรณภูมิสู่ ‘สิงคโปร์-โซล’ คือ 2 เส้นทางบินที่คนใช้บริการเยอะที่สุดของไทยในปี 2023 https://thestandard.co/life/thailand-busiest-routes-2023 Sun, 24 Dec 2023 03:03:16 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=880326

เคยสงสัยไหมว่า ในปีปีหนึ่งคนไทยและชาวต่างชาติใช้เครื่อง […]

The post สุวรรณภูมิสู่ ‘สิงคโปร์-โซล’ คือ 2 เส้นทางบินที่คนใช้บริการเยอะที่สุดของไทยในปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เคยสงสัยไหมว่า ในปีปีหนึ่งคนไทยและชาวต่างชาติใช้เครื่องบินไปไหนกันมากที่สุด? 

 

OAG บริษัทข่าวกรองด้านการเดินทางระดับโลก เปิดเผยรายชื่อเส้นทางบินระหว่างประเทศที่มีคนใช้บริการเยอะที่สุดในโลกประจำปี 2023 โดย 10 อันดับแรกส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียและตะวันออกกลาง เส้นทางที่คนใช้เยอะมากที่สุดคือ กัวลาลัมเปอร์ (KUL) ไปยังสิงคโปร์ (SIN) ด้วยจำนวน 4.9 ล้านที่นั่ง ตามติดด้วยไคโร (CAI) ไปยังเจดดาห์ (JED) จำนวน 4.8 ล้านที่นั่ง และฮ่องกง (HKG) ไปยังไทเป (TPE) 4.6 ล้านที่นั่ง

 

สำหรับประเทศไทยติดอันดับ 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) – สิงคโปร์ (SIN) (อันดับ 9 จำนวน 3.5 ล้านที่นั่ง) และกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) – โซล อินชอน (ICN) (อันดับ 10 จำนวน 3.4 ล้านที่นั่ง)

 

ส่วนเส้นทางการบินภายในประเทศ เอเชียยังครองแชมป์เช่นกัน โดยเส้นทางที่ใช้บริการมากที่สุดคือ เชจู (CJU) ไปยังโซล กิมโป (GMP) ขายตั๋วไปแล้วทั้งหมด 14 ล้านที่นั่ง และญี่ปุ่นคือชาติที่ติดอันดับมากที่สุด โดยมักใช้เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างโตเกียวไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ เช่น ฟุกุโอกะ ซับโปโร และโอกินาวา 

 

ใครอยากดูลิสต์เต็มๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่: www.oag.com/busiest-routes-world-2023

 

10 เส้นทางบินระหว่างประเทศที่พลุกพล่านมากที่สุดในปี 2023

 

  1. กัวลาลัมเปอร์ (KUL) – สิงคโปร์ (SIN)
  2. ไคโร (CAI) – เจดดาห์ (JED)
  3. ฮ่องกง (HKG) – ไทเป (TPE)
  4. โซล อินชอน (ICN) – โอซาก้า คันไซ (KIX)
  5. โซล อินชอน (ICN) – โตเกียว นาริตะ (NRT)
  6. ดูไบ (DXB) – ริยาด (RUH)
  7. จาการ์ตา (CGK) – สิงคโปร์ (SIN)
  8. นิวยอร์ก เคนเนดี (JFK) – ลอนดอน ฮีทโธรว์ (LHR)
  9. กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) – สิงคโปร์ (SIN)
  10. กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) – โซล อินชอน (ICN)

 

ภาพ: coolbiere photograph via Getty Images

อ้างอิง:

The post สุวรรณภูมิสู่ ‘สิงคโปร์-โซล’ คือ 2 เส้นทางบินที่คนใช้บริการเยอะที่สุดของไทยในปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราเมศบอกเศรษฐาอย่าลืมประวัติศาสตร์สนามบินสุวรรณภูมิ ริเริ่มยุคชวน อย่าพูดแค่เอาใจทักษิณ https://thestandard.co/rames-rattanachaweng-01102023/ Mon, 02 Oct 2023 05:40:07 +0000 https://thestandard.co/?p=849214 ราเมศ รัตนะเชวง

วานนี้ (1 ตุลาคม) ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ […]

The post ราเมศบอกเศรษฐาอย่าลืมประวัติศาสตร์สนามบินสุวรรณภูมิ ริเริ่มยุคชวน อย่าพูดแค่เอาใจทักษิณ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราเมศ รัตนะเชวง

วานนี้ (1 ตุลาคม) ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิว่า

 

นายกรัฐมนตรีต้องกลับไปดูข้อมูลพื้นฐานที่มาที่ไปของการริเริ่มสร้างสนามบินสุวรรณภูมิว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันพัฒนามาตั้งแต่ต้น ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้เริ่มต้นให้สนามบินสุวรรณภูมิเกิดขึ้น เพราะได้อนุมัติงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการสร้างสนามบินหนองงูเห่า (ชื่อขณะนั้น) และต่อมาก็ได้ขอพระราชทานชื่อเป็น ‘สนามบินสุวรรณภูมิ’ 

 

ราเมศกล่าวอีกด้วยว่า ชวน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น มองการเจริญเติบโตด้านการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเมืองไทยมากขึ้น ก็มีความจำเป็นต้องขยาย และต้องสร้างสนามบินไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น อีกเหตุผลสำคัญคือสนามบินดอนเมืองไม่สามารถขยายได้แล้ว จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการพิจารณาการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ และรัฐบาล ชวน หลีกภัย ก็เริ่มต้นสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เศรษฐาต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์เหล่านี้ อย่าพูดเพียงเพื่อตีกินหรือเอาใจ ทักษิณ ชินวัตร 

 

ราเมศกล่าวตอนท้ายว่า สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ มีการตรวจสอบการทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิมากมาย เป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ที่มีความไม่โปร่งใสในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน เรื่องนี้เชื่อว่าเศรษฐาก็ทราบดีว่าเกิดขึ้นสมัยรัฐบาลใด ไม่อยากให้นายกรัฐมนตรีต้องมาฝืนใจกินน้ำเห็นปลิง อย่างไรก็ตาม วันที่ 2 ตุลาคมนี้ ตนจะออกมาเปิดเผยเรื่องสนามบินอีกแห่งที่นายกรัฐมนตรีต้องตรงไปตรงมาในการให้ข้อมูลกับประชาชน ไม่เช่นนั้นจะเกิดความสับสนได้

The post ราเมศบอกเศรษฐาอย่าลืมประวัติศาสตร์สนามบินสุวรรณภูมิ ริเริ่มยุคชวน อย่าพูดแค่เอาใจทักษิณ appeared first on THE STANDARD.

]]>
28 กันยายน 2549 – เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ https://thestandard.co/onthisday-28092549/ Thu, 28 Sep 2023 03:12:31 +0000 https://thestandard.co/?p=847330 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-บางปะกง ในเขตต […]

The post 28 กันยายน 2549 – เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-บางปะกง ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 โดยรัฐบาลกำหนดให้เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกแบบโดย เฮลมุต ยาห์น มีหอควบคุมที่สูงติดอันดับโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก (563,000 ตารางเมตร) เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดปลายปี 2548

 

ปัจจุบันได้มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 โดยเตรียมเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1 Full-Scale Trial Operations) ในวันที่ 28 กันยายน 2566 ซึ่งจะทำให้ขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง:

 

The post 28 กันยายน 2549 – เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ appeared first on THE STANDARD.

]]>