THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

สัญญาณ Soft Landing ชัดขึ้น ปลุกตลาดหุ้นโลกครึ่งปีหลัง

... • 11 มี.ค. 2024

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปที่จะดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในระยะถัดไป
  • ผลตอบแทนตลาดในฝั่ง EM ให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่ต่ำกว่าฝั่ง DM เนื่องจากจีนวางเป้าการเติบโต GDP ตามที่ตลาดคาด แต่นโยบายไม่ชัดเจน 
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะเริ่มชะลอลงในลักษณะ Soft Landing โดยเฉพาะการบริโภคและตลาดแรงงาน 
  • การกำหนดเป้าหมายการเติบโตของ GDP จีน แม้จะเป็นข่าวเชิงบวก แต่นโยบายผลักดันเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน โดย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ คาดว่า จีนจะใช้การส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการผลักดันเศรษฐกิจ

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัจจัยสนับสนุนมาจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในระยะถัดไปผ่านการปรับลดดอกเบี้ย โดยระบุว่าดอกเบี้ยที่สูงยาวนานเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ภาพดังกล่าวทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง หนุนกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง นอกจากนั้นตัวเลขส่งออกของจีนในเดือนมกราคมออกมาสูงกว่าตลาดคาดมาก ตอกย้ำการบริโภคของตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัว 

 

อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนตลาดในฝั่ง EM ให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่ต่ำกว่าฝั่ง DM เนื่องจากการประชุมสภาของจีนที่แม้จะวางเป้าการเติบโต GDP ตามตลาดคาด แต่ยังขาดความชัดเจนด้านนโยบายที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว 

 

ตลาดหุ้นไทยผันผวน โดยปรับลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะฟื้นได้ในช่วงปลายสัปดาห์ตามการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลก ในส่วนของราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ จากความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ Fed ในระยะถัดไป ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังจากขึ้นแรงมาในช่วงก่อนหน้าจากความคาดหวัง OPEC+ จะคงลดการผลิตโดยสมัครใจออกไป ซึ่งผลเป็นไปตามตลาดคาด โดยต่ออายุออกไปจนสิ้นสุด 2Q2567 หนุนราคาน้ำมันดิบ Brent ยังยืนได้ในระดับสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 

 

สัญญาณ Soft Landing ชัดขึ้น  

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจาก 3 สาเหตุหลัก คือ

1. ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดูดีกว่าคาด ทั้งตลาดแรงงาน การบริโภค และภาคบริการ (แม้ตัวเลขจะเริ่มลดลงในระยะหลังก็ตาม)

2. ปริมาณเงินในระบบ (M2) ที่อยู่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยังไม่ปรับลดลงชัดเจน 3. สัญญาณจาก Fed ที่พร้อมจะลดดอกเบี้ยลงในปีนี้ 

 

อย่างไรก็ตาม บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า

1. ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะเริ่มชะลอลงในลักษณะ Soft Landing โดยเฉพาะการบริโภคและตลาดแรงงาน (ซึ่งเป็นผลจากอำนาจการต่อรองของลูกจ้างที่ลดลง)

2. ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงขึ้นจะกระทบความสามารถในการชำระหนี้ในระยะต่อไป ท่ามกลางความสามารถในการผลิตที่ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

3. ความเสี่ยงภาคอสังหาเพื่อการพาณิชย์ที่มากขึ้นจะกระทบต่อผลประกอบการภาคธนาคารในอนาคต 

 

ด้านเศรษฐกิจจีนมองว่า จีนจะใช้การส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นจาก 3 วิกฤต อันได้แก่ วิกฤตอสังหา วิกฤตเงินฝืด และวิกฤตการจ้างงาน ทั้งนี้ มาตรการของภาครัฐ เช่น การตั้งเป้า GDP ที่จะขยายตัวประมาณ 5% การที่รัฐบาลท้องถิ่นเตรียมออกพันธบัตรระยะยาวอีกกว่า 1 ล้านล้านหยวน รวมถึงกระแสข่าวที่ธนาคารกลางเตรียมลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) จะช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจเติบโตได้ตามเป้า

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นเก็งกำไรจากแรงซื้อกลับจากทำ Cover Short และ Fund Flow ไหลกลับ อีกทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีแผนออกมาตรการคุม Short Sales มากขึ้น ขณะที่พื้นฐานยังแข็งแกร่ง เลือก AOT, KBANK, BBL และ PTT

2. หุ้นเก็งกำไรหากเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ซึ่งคาดว่าส่งผลบวกต่อหุ้นที่ได้อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาลง เลือก AP, CPALL, GULF และ TIDLOR

3. หุ้นเก็งกำไรขนาดเล็กที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยกำไรปี 2567 ยังเติบโตดี YoY และมองราคาหุ้นผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เลือก AU, ONEE, SECURE, KLINIQ และ HTC

4. นักลงทุนระยะยาวแนะนำลงทุนสะสมแบบ DCA เนื่องจากมองเป็นจังหวะที่ดีที่สุด หลัง SET ปรับลงแรงจนความเสี่ยงลดลงไปมาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL, BDMS, BEM, CPALL, PTT และ SCC

 

“ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังผันผวนในกรอบ โดยยังมีแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 1,400 จุด หลังในประเทศยังไร้ปัจจัยใหม่ชี้นำ ขณะที่มองว่าตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ เช่น GDP 4Q2566 ของญี่ปุ่น และยอดขายปลีกของสหรัฐฯ จะยังอ่อนแอ ส่วนดัชนี CPI (เงินเฟ้อ) เดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ อาจจะเติบโตสูงกว่าตลาดคาดการณ์ ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อความคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. เงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ (เราคาด 3.2% จากเดือนก่อนที่ 3.1%)

2. ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (ตลาดคาด +0.3% ต่อเดือน จากหดตัว -0.8% เดือนมกราคม)

3. ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (เดือนกุมภาพันธ์ -0.9%YoY)

4. ดัชนีความเชื่อมั่นมหาวิทยาลัยมิชิแกน (ตลาดคาด 78.0 จุด จาก 76.9 เดือนกุมภาพันธ์)

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: GFPT - ตีปีก...ปีนี้กำไรจะพลิกเติบโตอีกครั้ง 

 

แนะนำ บมจ.จีเอฟพีที หรือ GFPT เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้ประกอบธุรกิจไก่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงไก่ ชำแหละและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ และผลิตอาหารแปรรูป โดยเป็นผู้ส่งออกไก่ไทยอันดับ 2 (ส่วนแบ่งตลาด 13%) และผู้ผลิตไก่ไทยอันดับ 7 (ส่วนแบ่งตลาด 5%)
  • 1Q2567 คาดกำไรจะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล แต่จะเติบโต YoY จากปริมาณส่งออกที่ดีขึ้น อีกทั้งมีมาร์จิ้นที่กว้างขึ้น เนื่องจากคาดว่ายอดส่งออกที่มีมาร์จิ้นสูงจะเพิ่มขึ้น และยังมีต้นทุนอาหารสัตว์ (ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง) ที่ปรับลดลง 
  • ราคาหุ้นปรับขึ้น 2.6%YTD ดีกว่า SET Index ที่ลดลง 3.2%YTD ซึ่งมองว่าสะท้อนกำไร 4Q2566 ที่ดีกว่าตลาดคาด แต่ยังไม่ได้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานปี 2567 ที่จะพลิกมาเติบโต 10.6%YoY จากการส่งออกดีขึ้นและต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 14.50 บาท ด้วยวิธี STOP โดยอิง PER 13 เท่าสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์, 11 เท่าสำหรับธุรกิจฟาร์ม และ 15 เท่าสำหรับธุรกิจอาหาร ขณะที่คาดว่ามีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2567 หุ้นละ 0.23 บาท

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ท่าทีของทางการในกลุ่มเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป มีแนวโน้มผ่อนคลายต่อการดำเนินนโยบายการเงินมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เราเชื่อว่าในระยะถัดไปจะเห็นการลดดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ยุโรป และอีกหลายประเทศ รวมถึงจีนที่จะลด RRR ซึ่งภาพนี้จะช่วยให้ตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง โดยสหรัฐฯ และยุโรปเราจะยังเห็นกลุ่มเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนดีอยู่ ส่วนกลุ่มอื่นจะเริ่มให้ผลตอบแทนดีขึ้นตามภาพเศรษฐกิจและกำไรที่ฟื้นตัว ด้านจีนแนะมองกลุ่มที่รัฐสนับสนุน

 

  • สหรัฐฯ: Testimony ของ Jerome Powell สะท้อนได้ว่า Fed เตรียมปรับลดดอกเบี้ยอย่างแน่นอนในปีนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่เงินเฟ้อเข้าสู่จุดเป้าหมายอย่างมั่นคง และสถานการณ์เศรษฐกิจเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนนโยบาย นอกจากนี้มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แกร่งอยู่ แต่เตรียมควบคุมกลุ่มธนาคารมากขึ้น
  • จีน: การประชุม Two Sessions สะท้อนได้ว่า ทางการจีนมีท่าทีที่สนับสนุนในเชิงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโต 5% ของรัฐบาล โดย 1. ธนาคารกลางจีนส่งสัญญาณปรับลด RRR เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และมองว่าช่วยปรับต้นทุนการเงินผ่านหลายช่องทาง, 2. ก.ล.ต.จีนมีการควบคุมการฝ่าฝืนกฎตลาดอย่างเข้มงวด และ 3. กระทรวงการคลังจะเน้นไปที่การลดภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับกลุ่มเทคโนโลยีและภาคอุตสาหกรรม
  • ยุโรป: ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น สะท้อนจากการปรับลดคาดการณ์การเติบโตและเงินเฟ้อลง รวมถึงประธานธนาคารกลางที่ส่งสัญญาณว่าจะมีความชัดเจนด้านดอกเบี้ยในช่วงเดือนมิถุนายน

 

ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปมีการผ่อนคลายมากขึ้น ประกอบกับหากพิจารณาตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอลง ทำให้เราคาดการณ์ได้ว่า Fed จะมีการปรับลดดอกเบี้ยได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ ในทิศทางเดียวกันกับ ECB ที่เชื่อว่าเตรียมปรับลดในเดือนเดียวกัน สะท้อนจากภาพ Disinflation ที่ชัดเจนขึ้นหลังราคาพลังงาน เศรษฐกิจ และการจ้างงานชะลอตัวลง 

 

ภาพนี้จะช่วยให้ตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นได้ใน 2H2567 โดยเราจะยังเห็นกลุ่มเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนดีอยู่ ขณะที่กลุ่มอื่นจะเริ่มให้ผลตอบแทนดีขึ้นตามภาพเศรษฐกิจและกำไรที่ฟื้นตัว โดยเราแนะมอง 1. สหรัฐฯ: กลุ่มเทคโนโลยี NVDA, MSFT, GOOGL กลุ่มอื่น DIS, WMT, PFE, 2. ยุโรป: Iberdrola, Enel, LVMH, Airbus, Volkswagen, Inditex, Nestlé และ 3. ส่วนทางฝั่งจีนเรามองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจยังค่อนข้างท้าทาย ซึ่งสำหรับการลงทุนเราแนะเน้นกลุ่มที่มีภาครัฐสนับสนุน เช่น BYD, CATL, Longi

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

สภาพคล่องหรือเงินสดมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่สูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ หลังตัวเลขการเปิดรับสมัครงานใหม่ของสหรัฐฯ เดือนมกราคมออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้ สภาพคล่องรวมเงินสดยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากปัญหาด้านความปลอดภัยในทะเลแดงที่มีอยู่

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

Fed และ ECB ยังคงท่าทีที่ ‘ไม่รีบเร่ง’ ในการลดดอกเบี้ย โดยให้เหตุผลในเรื่องของเงินเฟ้อที่ยังมีโอกาสยืนในระดับปัจจุบันได้นานกว่าคาด (Sticky Inflation) UST และ Euro Yield เริ่มเข้าสู่การพักฐานหลังเร่งตัวขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา TGB Yield ตัวยาวยังทรงตัวในระดับต่ำสุดในรอบปี สะท้อนโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ เนื่องจากสภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำในช่วงที่ผ่านมา

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fund Flow ยังมีทิศทางไหลเข้า US IG Bond ส่งผลให้ US IG Spread ยังทรงตัวได้ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่าจะมี Supply Bond เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วก็ตาม เราคาดว่า Valuation ในเชิง Spread ค่อนข้างแพง แต่ในเชิง Yield to Worst ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน่าสนใจ แตะระดับ 5.37% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 15 ปี

 

OAS Spread ตึงตัวขึ้นมาก แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขาลงช่วยลดแรงกดดันต่อกระแสเงินสดและลดความตึงตัวในงบดุลของกิจการ ทำให้ราคาสินทรัพย์มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ Valuation ที่ตึงตัวจะเพิ่มความเสี่ยงที่ราคาจะผันผวนในระยะกลาง ทั้งนี้ แม้ Default Rate จะยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่กำหนดการครบกำหนดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปลายปี 2567 และจะเร่งตัวตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

Fed มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยช้ากว่าตลาดคาดการณ์ และแม้ประมาณการ EPS ปี 2567 ของ S&P 500 ถูกปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำไรใน 4Q2566 ของหุ้นกลุ่ม Tech และกลุ่ม Quality (ส่วนใหญ่อยู่ใน Consumer Discretionary และ Communication Services) โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์และ AI แข็งแกร่ง แต่ EPS ในกลุ่ม Old Economy (Financial และ Energy) ยังอ่อนแอ ขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่ตึงตัวมาก

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

EPS ของดัชนีหุ้นยุโรปยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วง 1H2567 ก่อนที่จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2H2567 ขณะที่การปรับเพิ่มขึ้น YTD ของดัชนีฯ ค่อนข้างเป็นการกระจุกอยู่ในหุ้นเพียงไม่กี่หุ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Growth จึงเสี่ยงที่ดัชนีฯ จะพักฐาน อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ ECB จะยังช่วยประคอง P/E ของดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ดัชนีหุ้นญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากและต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ Valuation ดัชนีฯ ตึงตัวมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าผลการเจรจาค่าจ้าง Shunto ที่มีแนวโน้มออกมาดี จะเอื้อให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มคุมเข้มทางการเงินในเดือนเมษายนเป็นอย่างเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้เงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่าเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ และ 10-Year JGB Yield เพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่ทางการมีแนวโน้มส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยล่าสุดผู้ว่า PBOC เผยว่า มีโอกาสที่จะลด RRR ลงอีก อย่างไรก็ตาม การกีดกันทางเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ (สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์) กับจีน โดยเฉพาะในประเด็นเซมิคอนดักเตอร์ อาจสร้างความผันผวนให้แก่ดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามการผ่อนคลายด้านกฎระเบียบ และตามแรงฉุดจากภาคอสังหาที่ลดลง ขณะที่ Valuation ดัชนีฯ ที่ยังไม่แพง อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทการค้าระหว่างจีน-คู่ค้าที่มีอยู่ ล่าสุดยุโรปเตรียมตอบโต้จีนมากขึ้นในประเด็นการทุ่มตลาดรถยนต์ EV จะยังจำกัด Upside ดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนจาก 1. การส่งสัญญาณของประธาน Fed ว่าจะลดดอกเบี้ยในปีนี้, 2. การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่คาดว่าจะเห็นความชัดเจนเร็วขึ้นเป็นเดือนเมษายน และ 3. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยช่วง 2M2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจำนวน 6.38 ล้านคน (+50%YoY) Valuation อยู่ในระดับน่าสนใจ Forward P/E อยู่ที่ 14.1x (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -1.1 s.d.) 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากการลงทุนโดยตรง (FDI) ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง สินเชื่อมีแนวโน้มเติบโตได้ดี นอกจากนี้ กิจกรรมในภาคอสังหามีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่การส่งออกและการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ที่ลดลงเป็นผลจากวันหยุดยาว ด้าน Valuation อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยมี Forward P/E อยู่ที่ 10.8x (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -1 s.d.)

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีแนวโน้มสำเร็จรอบแรก ทำให้การสานต่อโครงการลงทุนต่างๆ มีความต่อเนื่อง เป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างให้ปรับเพิ่มขึ้นราว 1.9% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกที่ยังหดตัวต่อเนื่อง และผลผลิตข้าวในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม-เมษายนที่คาดว่าลดลง 17.52%YoY จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง จะยังเป็นปัจจัยกดดันดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นอินเดีย

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

FY3Q2567 GDP เติบโตที่ระดับ 8.4%YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ นำโดยภาคการลงทุนและการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, พลังงาน, Healthcare และภาคอุตสาหกรรม (Industrial) ขณะที่กลุ่มที่ปรับตัวแย่ลง ได้แก่ กลุ่ม FMCG ในส่วนของ Economic High-Frequency Data อย่างเช่น PMI และรายได้จาก GST บ่งชี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเร่งตัวต่อเนื่อง

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ราคาทองคำได้รับอานิสงส์เชิงบวกตามแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2567 ส่งผลให้ 10-Year UST Real Yield มีโอกาสปรับตัวลดลง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า อีกทั้งยังมีความต้องการซื้อทองคำของธนาคารกลางประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ที่ลดลง อาจทำให้ Upside ราคาทองคำค่อนข้างจำกัด

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 70-85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานน้ำมันโลกค่อนข้างสมดุล โดยอุปสงค์ทั่วโลกยังมีแนวโน้มเติบโต 1.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่แรงกดดันด้านอุปทานจากประเทศกลุ่ม Non-OPEC ค่อยๆ ลดลง รวมถึงกลุ่ม OPEC+ ได้ขยายการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสิ้น 1Q2567 ไปจนถึง 2Q2567 เพื่อพยุงราคาน้ำมัน

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

DM REITs ปรับตัวขึ้น ได้แรงหนุนจากการส่งสัญญาณของประธาน Fed ว่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มทยอยเข้าลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการ Office REITS ยังมีแนวโน้มที่ปรับตัวลง ด้วยปัจจัยกดดันจากอัตราการเช่าและค่าเช่าที่มีแนวโน้มปรับตัวลงจาก Supply ที่เพิ่มขึ้น กอปรกับ Dividend Yield Spread ของ US REITs ที่ยังคงติดลบที่ 0.1% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 1.6%

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เราค่อนข้างมีมุมมองเป็นกลางต่อ REITs ไทย เนื่องจากสภาพคล่องที่ต่ำ และได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสเงินทุนที่ไหลออกจากตลาดทุนต่อเนื่อง ขณะที่เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ REITs สิงคโปร์มากกว่า เนื่องจากมีสภาพคล่องและคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีกว่า ทั้ง Occupancy Rate ที่แข็งแกร่ง และค่าเช่าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมี Dividend Yield ในระดับที่น่าสนใจบริเวณ 5.6%

 

Private Asset

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เรามีมุมมอง Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหน้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

มีมุมมองบน Private Equity เป็น Neutral อัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดและมีแนวโน้มลดลงส่งผลให้แรงกดดันด้าน Discount Rate ที่มีต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ลดลง 

 

ขณะที่มีมุมมองต่อ Private Real Estate เป็น Slightly Negative เนื่องจากหลายกองทุนยังมีการบังคับใช้การระงับการไถ่ถอนกองทุนอยู่ 

 

ภาพ: franckreporter / Getty Images 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 11 มี.ค. 2024

READ MORE




Latest Stories