THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เงินเฟ้อ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เงินเฟ้อยืดเยื้อส่งผลเงินทุนไหลออก กดเงินบาท ‘อ่อนค่า’ สู่ระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์ช่วงกลางปี

... • 20 ก.พ. 2023

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวดีขึ้น แต่ตลาดกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเอเชียกลับปรับตัวลดลง
  • ยอดค้าปลีกฟื้นตัวเป็นบวก ทำใ้ห้มีการเริ่มพูดถึง ‘No landing’ หรือเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ไปต่อได้โดยไม่ชะลอตัว หรือเกิด Recession
  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวตามคาด แต่องค์ประกอบภายในน่ากังวลมากขึ้น ทำให้มีความกังวลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยยาวมีมากขึ้น
  • กระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะไทยที่เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นรุนแรงสุดในภูมิภาคในเดือนนี้ที่ 482 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในตลาดพันธบัตรไหลออกเกือบ 3 หมื่นล้านบาท
  • ปัจจัยทุนไหลออกจะกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว โดย InnovestX คาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าสู่ระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางปีนี้ 

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวดีขึ้น แต่ตลาดกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเอเชียปรับลดลง สาเหตุสำคัญมีดังนี้ 

1. ยอดค้าปลีกที่ฟื้นตัวขึ้นเป็นบวก โดยขยายตัวดีทั้งเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ที่ +3% จากหดตัวใน 2 เดือนก่อน และเทียบกับปีก่อน (YoY) ที่กลับมาฟื้นตัวที่ 6.4% จาก 5.9% ในเดือนธันวาคม ทำให้เริ่มมีการพูดถึง ‘No Landing’ หรือเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ไปต่อได้โดยไม่ชะลอตัว หรือเกิด Recession ทำให้ยังมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นสหรัฐฯ

2. เงินเฟ้อสหรัฐฯ แม้จะชะลอลงตามคาด โดยขยายตัว 6.4% ในเดือนมกราคม ใกล้เคียงตลาดคาดที่ 6.2% แต่องค์ประกอบภายในน่ากังวลมากขึ้น โดยเงินเฟ้อจากอาหาร พลังงาน และที่อยู่อาศัยเริ่มกลับมา ทำให้ความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยยาวมีมากขึ้น

3. กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกจากตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยรุนแรงสุดในภูมิภาคในเดือนนี้ที่ 482 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในตลาดพันธบัตรไหลออกเกือบ 3 หมื่นล้านบาท จนเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วถึงกว่า 4.5% ในเดือนนี้ ขณะที่สกุลเอเชียอื่นอ่อนลงด้วยอัตราที่ต่ำกว่า 

4. ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ทรงตัวในเดือนมกราคม หลังปรับลดลง 1.0% ในเดือนธันวาคม ขณะที่การผลิตภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 1% สูงกว่าตลาดคาดที่จะเพิ่มขึ้น 0.8%

5. ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลัง คาซุโอะ อุเอดะ ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ท่านใหม่เป็นสายเหยี่ยวกว่าท่านเดิม ขณะที่ตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ที่ 0.6% ต่ำกว่าคาดที่ 2% 

6. เงินเฟ้ออินเดียกลับมาเร่งตัวขึ้นเกิน 6% อีกครั้ง โดยอยู่ที่ 6.52% ในเดือนมกราคม จาก 5.72% ในเดือนธันวาคม ผลจากราคาอาหาร พลังงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านที่พุ่งขึ้น 

7. รองประธาน Fed เลล เบรนาร์ด ที่ค่อนข้างเป็นสายพิราบ ถูกเชิญไปเป็นประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ทำให้ FOMC ที่เหลือเสี่ยงเป็นสายเหยี่ยวเพิ่มขึ้น 

8. สื่อจีนรายงานว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงกล่าวในการประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจว่า แนวนโยบายเศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาลจีนในปีนี้คือการกระตุ้นการบริโภคเป็นหลัก โดยเฉพาะคนชั้นล่างและชั้นกลางที่พร้อมบริโภค และให้มุ่งเน้นการขยายสินเชื่อให้กับสินค้าสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ อันได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และบริการสุขภาพผู้สูงอายุ 

9. เงินเฟ้อผู้บริโภคอังกฤษเริ่มละลอลง โดยขยายตัว 10.1% จาก 10.5% ในเดือนธันวาคม และ 11.1% ในเดือนตุลาคม ผลจากราคาพลังงานที่ลดลง 

 

“สัปดาห์นี้ตลาดประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวดีขึ้น แต่ตลาดกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเอเชียปรับลดลงจาก 1. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะจากยอดค้าปลีกที่ฟื้นตัวขึ้นเป็นบวก ทำให้เริ่มมีการพูดถึง ‘No Landing’ หรือเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไปต่อได้โดยไม่ชะลอตัวหรือเกิด Recession ทำให้ยังมีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นสหรัฐฯ 2. เงินเฟ้อที่แม้จะชะลอลงตามที่หลายฝ่ายคาด แต่องค์ประกอบภายในน่ากังวลมากขึ้น และ 3. กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะไทยอย่างต่อเนื่อง จนเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว” 

 

องค์ประกอบเงินเฟ้อ ‘น่ากังวล’ กดดันเงินบาทอ่อนค่ารวดเร็ว

ประเด็นเศรษฐกิจที่มีผลต่อการลงทุนมี 3 ประเด็นได้แก่ 1. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะจากยอดค้าปลีก 2. เงินเฟ้อที่แม้จะชะลอลงตามที่หลายฝ่ายคาด แต่องค์ประกอบภายในน่ากังวลมากขึ้น และ 3. กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากไทยอย่างต่อเนื่อง จนเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว 

 

ในประเด็นแรก ยอดค้าปลีกที่ขยายตัวดี หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าเป็นผลจากการบริการ เช่น การรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นหลัก ขณะที่สินค้าจำเป็นและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มียอดขายต่ำกว่า บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตได้ดีจะเป็นภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตมีทิศทางที่ชะลอลงชัดเจนขึ้น สอดคล้องกับดัชนีเศรษฐกิจอื่นๆ 

 

InnovestX เชื่อว่าภาพนี้จะเป็นได้อีกพักหนึ่ง จนกระทั่งการชะลอตัวจากฝั่งการผลิตจะลามเข้าสู่ภาคบริการเพิ่มขึ้น 

 

ในประเด็นที่สอง เงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อ แต่ระดับการลดลงเริ่มน้อยลงขณะที่พิจารณาองค์ประกอบสำคัญ เช่น อาหารและพลังงานเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

นอกจากนั้น หากพิจารณาองค์ประกอบของเงินเฟ้อจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้าน พบว่าเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่า Fed อาจต้องคงดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานขึ้น และ/หรือต้องขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าที่หลายฝ่ายคาด ซึ่งจะเป็นผลลบต่อพันธบัตรโดยเฉพาะระยะยาวมากขึ้น 

 

ในประเด็นสุดท้าย เรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงถึง 4.5% ในเดือนนี้ โดย InnovestX เห็นสัญญาณเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ผลจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่าภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เมื่อเกิดกระแส Risk Off ในตลาดเกิดใหม่ จึงมีเงินไหลออกจากไทยมากเป็นพิเศษ

 

“เรามองว่าในระยะต่อไปบาทมีสิทธิ์ที่จะอ่อนค่าลงมากขึ้นตามทิศทางความเสี่ยงนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่อาจกลับมาตึงตัวมากขึ้น โดยมองว่าในไตรมาสที่ 3 บาทอาจจะอ่อนไปอยู่ที่ประมาณ 35-36 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางปีได้ ทำให้ค่าบาทเฉลี่ยทั้งปีอาจอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์ ใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ 35.1 บาทต่อดอลลาร์” 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน หลัง Valuation ตึงตัว และรอปัจจัยใหม่ๆ ขณะที่การประกาศผลประกอบการ 4Q65 ของ Real Sector กำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย 

 

กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังนี้ 

1. หุ้นที่คาดผลประกอบการ 4Q65 จะออกมาดี YoY ในช่วงโค้งสุดท้ายของการประกาศงบ เลือก BDMS, ZEN, BJC และ LH

2. หุ้นที่มองไม่ต้องระวังแรงขายจากต่างชาติ (ปี 2565 ต่างชาติขายสุทธิหรือซื้อสุทธิน้อย) ขณะที่ปี 2566 (YTD) ต่างชาติเริ่มพลิกซื้อสุทธิหรือซื้อต่อเนื่อง เลือก

SCC, AMATA และ ERW

 

ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นที่แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากคาดจะเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ AOT, KBANK, PTTEP, BANPU, EA, BH และ TIDLOR

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. รายงานการปะชุม Fed 

2. ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานของสหรัฐฯ เดือนมกราคม ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fedให้ความสำคัญ

3. GDP4Q65 ของสหรัฐฯ ตลาดคาดขยายตัว 2.9%QoQ

4. ความคาดหวังเงินเฟ้อ และดัชนีความเชื่อมั่นของ The Conference Board ว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจที่ดูดีขึ้นหรือไม่

5. PMI จากยุโรป โดยเฉพาะภาคการผลิต ว่าจะฟื้นตามภาคบริการหรือไม่ 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: AU - ความหวานที่เริ่มลงตัว

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.อาฟเตอร์ ยู หรือ AU เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้นำเทรนด์ร้านคาเฟ่ขนมหวาน ซึ่งมีจุดแข็งจากมีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีการคิดค้นเมนูใหม่ๆ เพื่อสร้างกระแสและตอบโจทย์ลูกค้าตลอดเวลา ทำให้ปี 2563-2564 บริษัทยังสามารถอยู่รอดได้ภายใต้วิกฤตโควิด โดยไม่ถึงขั้นประสบผลขาดทุน 
  • กำไรกำลังกลับเข้าสู่ขาขึ้น โดยปี 2566-2570 คาดกำไรจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% ตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อีกทั้งยังจะรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากการมีแผนขยายสาขาและแฟรนไชส์เชิงรุกมากขึ้น
  • 4Q65 คาดมีกำไรสุทธิ 34 ล้านบาท แต่หากไม่รวมการจ่ายโบนัสพิเศษให้พนักงานราว 5 ล้านบาท คาดจะมีกำไรปกติทำนิวไฮของปีที่ 39 ล้านบาท เติบโต 17%QoQ ตามฤดูกาล และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 3 ล้านบาท ใน 4Q64 จากยอดขายรวมที่คาดโตดีและมาร์จิ้นปรับตัวดีขึ้น หลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาเพิ่มขึ้นและกลับมารับประทานที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นดีกว่าซื้อกลับและเดลิเวอรี)
  • ปี 2565 คาดมีกำไรปกติ 122 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 190 ล้านบาท เติบโต 56%YoY ในปี 2566 ตามการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมและรับรู้ยอดขายจากขยายสาขาเชิงรุก ทั้งนี้ปี 2566 ยังมี Upside Risk จากนักท่องเที่ยวจีนกลับมาเที่ยวไทยเร็วกว่าคาด (เดิมคาดจีนเปิดประเทศ 2H66)
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่ 13 บาท และคาดจะกลับมาจ่ายเงินปันผลได้อีกครั้งจากกำไรปี 2565 อีกอย่างน้อย 0.07 บาทต่อหุ้น (ปีก่อนงดจ่ายปันผล) คิดเป็น Div. Yield ปีละ 0.6% 

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ลดลง และธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มขึ้นดอกเบี้ยช้าลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังถูกปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ดอกเบี้ยที่อยู่สูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

10y UST Yield มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น หลังเงินเฟ้อสูงกว่าคาดเล็กน้อย แต่คาดว่าจะเริ่มลดลงชัดเจนหลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย และจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มากขึ้น ในส่วน 10y TH Yield เร่งตัว สอดคล้องไปกับ US แต่ YTD ยังลดลง โดยมีแรงซื้อจากบริษัทประกันเข้ามาชดเชยการขายออกของต่างชาติ

 

กองทุนแนะนำ

 

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย ตามตลาดแรงงานและภาคบริการที่มีโมเมนตัมดีขึ้น สำหรับ IG TH Yield ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบ YTD ตาม Gov’t Yield และ Corporate Spread โดยเฉพาะอายุ < 3 ปี นอกจากนี้ Spread กลุ่ม BBB ก็ปรับลดลงมาใกล้เคียงก่อนโควิดด้วย

 

ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยที่ลดลงช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่ความผันผวนของตลาดการเงินและค่าเงินยังคงเป็นความเสี่ยงที่อาจกดดันตลาดพันธบัตรและหุ้นกู้โดยเฉพาะ HY ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะยังกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่ม HY ในบางกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2566 ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ในช่วงรายงานงบฯประจำ 4Q65 ท่ามกลางต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนแรงงานที่ยังสูง รวมทั้งผลกระทบทางลบจากการเพิ่มการจัดเก็บภาษีภาคธุรกิจ แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลง

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด ในขณะที่ระดับของก๊าซธรรมชาติสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูงลดความเสี่ยงของวิกฤตพลังงานในปีนี้ ด้าน Valuation เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม DM โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวยังเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโต

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มถูกกดดันจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว และค่าเงินเยนที่แข็งค่า รวมถึงความผันผวนจากแนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวตามการเปิดเมือง จะช่วยลดผลกระทบต่อตลาดหุ้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มรับแรงหนุนจากการเปิดเมืองต่อเนื่อง มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน/การคลัง มาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง Sentiment รายย่อยจีนที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับดัชนีฯ ยัง Laggard เมื่อเทียบกับดัชนีฝั่ง Offshore แม้การเร่งเปิดเมืองที่จะนำไปสู่การระบาดและอาจกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจช่วงสั้นก็ตาม

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่มแพลตฟอร์มที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากข้อพิพาทเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ รวมทั้งจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวหนุนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ EPS ยังเติบโต โดยเฉพาะเซ็กเตอร์ที่เน้นตลาดในประเทศและเกี่ยวข้องการท่องเที่ยว โดย EPS ของไทยยังเติบโตได้ดีหากเทียบกับ EM และ TIP ท่ามกลาง Valuation ที่ยังน่าลงทุน แต่ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มส่งออก

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ว่าดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากแรงกระตุ้นทางการคลังที่มีอยู่ Valuation ที่ไม่แพง และความคาดหวังบนมาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ด้วยความกังวลการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้, การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว, ผลประกอบการ บจ. ที่ชะลอตัวลง และการปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ จึงทำให้ Upside ตลาดถูกจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มถ่านหิน และมีความเสี่ยงจากการที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลออก รวมถึงการคาดการณ์ EPS Growth ในปีนี้ที่ไม่น่าดึงดูดเท่ากลุ่มอาเซียน โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวไม่มากนัก และเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับประโยชน์จากจีนเปิดเมืองที่น้อยกว่า

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นจากทิศทางของธนาคารกลางที่ยังคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่า ในขณะที่ Upside ของราคาทองคำอาจเริ่มถูกจำกัดได้หากเศรษฐกิจยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการของสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

แนวโน้มเป็นอุปทานส่วนเกินช่วง 1H66 เป็นปัจจัยสร้างความผันผวนแก่ราคาน้ำมันในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้ไปพอสมควรแล้ว ในขณะที่อุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยหนุนในช่วง 2H66 นอกจากนี้น้ำมันสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ในระยะข้างหน้าแรงกดดันจาก Bond Yield ลดลง แต่ US REITs Index ที่กลับมาใกล้เคียง Pre-COVID ทำให้ความน่าสนใจของ US ลดลง ขณะที่ญี่ปุ่นยังถูกกดดันจากการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ที่กระทบ Bond Yield และ EU ยังถูกกดดันจากนโยบายการเงินที่ยัง Hawkish และ Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

จีนเปิดประเทศ หนุนท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในประเทศ EM ดีต่อรายได้ Retail และโรงแรม ขณะที่อัตราเงินปันผลอยู่ในระดับที่น่าสนใจกว่า DM ท่ามกลางแรงฉุดจาก Bond Yield ลดลง (โดยเฉพาะช่วง Fed Pause ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะส่งผลบวกต่อตลาดสิงคโปร์) โดยระยะสั้นที่ Bond Yield เร่งตัว เป็นจังหวะเข้าสะสม

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 20 ก.พ. 2023

READ MORE




Latest Stories