THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
นโยบายการเงิน Fed
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เปิด ‘5 ประเด็น’ น่าสนใจ จากนโยบายการเงิน Fed ล่าสุด

... • 6 พ.ย. 2023

HIGHLIGHTS

  • ตลาดปรับตัวดีขึ้นจากประธาน Fed เริ่มส่งสัญญาณยุติการขึ้นดอกเบี้ย โดยบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของการคาดการณ์เศรษฐกิจและดอกเบี้ยของ FOMC (หรือ Dot Plot) ลดลง
  • จากการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ล่าสุด กำลังส่งสัญญาณว่าผลตอบแทนพันธบัตรที่ขึ้นทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อลดลง 
  • INVX มองว่า Fed ยังคงเปิด Room ในการขึ้นดอกเบี้ยได้ โดยประธาน Fed ย้ำว่ายังมีหนทางอีกยาวไกลในการทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับลงมาตามเป้าหมาย และเงินเฟ้อในระยะต่อไปอาจจะกระโดด หรือ Lumpy ขึ้นได้
  • ทิศทางการตึงตัวนโยบายการเงินทั่วโลก (ยกเว้นญี่ปุ่น) น่าจะเข้าสู่ปลายทางหรือสิ้นสุดลงแล้ว หลังการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องทำให้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอลง แต่ธนาคารกลางขนาดใหญ่จะยังคงดอกเบี้ยสูงไปอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางการลดทอนขนาดของงบดุลที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกตึงตัวมากขึ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวดีขึ้นจาก



1. ประธาน Fed เริ่มส่งสัญญาณยุติการขึ้นดอกเบี้ย โดยบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของการคาดการณ์เศรษฐกิจและดอกเบี้ยของ FOMC (หรือ Dot Plot) ลดลงจากดอกเบี้ยพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง บ่งชี้ความจำเป็นที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีลดลงถึงกว่า 20 bps 

 

  1. ดัชนี ISM ภาคการผลิตสหรัฐฯ ปรับลดลงรุนแรง (ISM) มาสู่ระดับ 46.7 ในเดือนตุลาคม จาก 49.0 ในเดือนกันยายน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ที่ระดับ 49.2 โดยได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อและการจ้างงานที่ลดลง 

 

  1. ตัวเลข GDP ยูโรโซนหดตัว -0.1% ใน 3Q23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนท่ามกลางเงินเฟ้อที่ขยายตัว 2.9% ต่ำกว่าคาดที่ 3.1% โดยเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น เยอรมนี หดตัว -0.1% ผลจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 10 การประชุมติด และเริ่มยุติการขึ้นในการประชุมสัปดาห์ก่อน 

 

  1. การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ (ADP) อยู่ที่ 113,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคม ต่ำกว่าคาดที่ 130,000 ตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขค่าจ้างเพิ่มขึ้น 5.7% น้อยที่สุดในรอบ 2 ปี 

 

  1. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับนโยบายควบคุมเส้นผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) โดยกำหนดเพดานกรอบบนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ระดับ 1.0% ขณะที่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ซึ่งการปรับครั้งนี้น้อยกว่าที่ตลาดคาดจนเกิดกระแสเทขายพันธบัตรญี่ปุ่น ทำให้ธนาคารกลางต้องเข้าแทรกแซง 

 

  1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ​ ของ Conference Board ลดลงสู่ระดับ 102.6 ในเดือนตุลาคม ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 104.3 ในเดือนกันยายน จากราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed รวมทั้งสถานการณ์ในตะวันออกกลาง (6) PMI ภาคการผลิตของทางการจีนปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.5 จากระดับ 50.2 ในเดือนกันยายน และต่ำกว่าคาดที่ 50.2 ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนตุลาคม ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.6 จาก 51.7 ในเดือนกันยายน

 

  1. อิสราเอลประกาศสงครามในกาซา ‘เข้าสู่เฟสใหม่’ โดย เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล กล่าวว่า สงครามในพื้นที่ฉนวนกาซาจะเป็นสงครามที่ยาวนานและยากลำบาก โดยเป้าหมายของการยกระดับสงครามสู่เฟสใหม่ในครั้งนี้เพื่อทำลายล้างกลุ่มติดอาวุธฮามาสและช่วยเหลือตัวประกันที่ยังติดอยู่ออกมา โดยก่อนหน้านี้กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ได้เข้าสู่ฉนวนกาซาจากสองจุด: เบต ฮานูน เมืองทางตอนเหนือ และบูเรจ ใกล้จุดกึ่งกลางแคบของฉนวนกาซาที่ยาว 45 กิโลเมตร โดยใช้การโจมตีทางอากาศและขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดทางให้รถถังและรถหุ้มเกราะอื่นๆ ที่บรรทุกทหารราบและกองกำลังวิศวกรรมการรบเข้าพื้นที่  

 

ตลาดปรับตัวดีขึ้นจากประธาน Fed เริ่มส่งสัญญาณยุติการขึ้นดอกเบี้ย โดยบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของการคาดการณ์เศรษฐกิจและดอกเบี้ยของ FOMC (หรือ Dot Plot) ลดลงจากดอกเบี้ยพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง บ่งชี้ความจำเป็นที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยลดลง นอกจากนั้น ภาพเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วเริ่มส่งสัญญาณชะลอแรงขึ้น ทั้ง



1. ดัชนี ISM ภาคการผลิตสหรัฐฯ ปรับลดลงรุนแรง
2. ตัวเลข GDP ยูโรโซนที่หดตัว -0.1% ใน 3Q23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ขยายตัว 2.9% ต่ำกว่าคาดที่ 3.1%
3. การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ (ADP) อยู่ที่ 113,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคม ต่ำกว่าคาดที่ 130,000 ตำแหน่ง ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอลงท่ามกลางธนาคารกลางชั้นนำต่างๆ เริ่มคงดอกเบี้ยหลังขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง 

 

5 สัญญาณน่าสนใจจากนโยบายของ Fed ครั้งล่าสุด

ในประเด็นการทำนโยบายการเงินของ Fed เรามองว่ามีประเด็นน่าสนใจ 5 ประเด็น คือ

 

  1. มติคงดอกเบี้ยตามคาด แต่เริ่มส่งสัญญาณคงดอกเบี้ย โดยมองว่าประสิทธิภาพ Dot Plot ในการทำนายเศรษฐกิจและดอกเบี้ยลดลง บ่งชี้ว่าโอกาสในการขึ้นอีกครั้งลดลง 
  2. ส่งสัญญาณว่า ผลตอบแทนพันธบัตรที่ขึ้นทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อลดลง 
  3. ยังคงเปิด Room ในการขึ้นดอกเบี้ยได้ โดยประธาน Fed ย้ำว่ายังมีหนทางอีกยาวไกลในการทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับลงมาตามเป้าหมาย และเงินเฟ้อในระยะต่อไปอาจจะ ‘กระโดด’ (Lumpy) ขึ้นได้ 
  4. นโยบายการเงินยังไม่ช่วยชะลอเศรษฐกิจได้แรงพอ เพราะผู้กู้ยืมจำนวนมากตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า (Fix Rate) แต่เมื่อต้องรีไฟแนนซ์ต้นทุนการกู้ยืมจะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง (บ่งชี้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวมากขึ้นแม้ไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ) 
  5. ผลของ QT ต่อดอกเบี้ยพันธบัตรจำกัด และ FOMC ยังคงระดับการลดของการถือครองพันธบัตรต่อเนื่อง ทั้งนี้ เรามองว่า ตลาด Bullish ขึ้นหลัง FOMC และประธาน Fed เริ่มส่งสัญญาณยุติการขึ้นดอกเบี้ย 

 

อย่างไรก็ตาม INVX มองว่า การที่ประธาน Fed ไม่เริ่มส่งสัญญาณลดทอน QT ท่ามกลางการขาดดุลการคลังที่มากขึ้นและการขึ้นดอกเบี้ยที่แรงในช่วงก่อน จะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรกลับขึ้นไปได้อีก และกดดันเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะต่อไป โดยเราเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 4/23 เป็นต้นไป และ Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 2/24  

 

นอกจากนั้น ในภาพใหญ่ เรามองว่าทิศทางการตึงตัวนโยบายการเงินทั่วโลก (ยกเว้นญี่ปุ่น) น่าจะเข้าสู่ปลายทางหรือสิ้นสุดลงแล้ว หลังการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องทำให้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอลง แต่ธนาคารกลางขนาดใหญ่จะยังคงดอกเบี้ยสูงไปอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางการลดทอนขนาดของงบดุลที่มากขึ้น (ขณะที่ในญี่ปุ่นจะเป็นการลดการอัดฉีดลงผ่านการปรับเงื่อนไขของนโยบาย Yield Curve Control) ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกตึงตัวมากขึ้น ท่ามกลางการขาดดุลการคลังของรัฐบาลทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรจะยังอยู่ระดับสูงและเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะถัดไป

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้น Undervalued ซึ่งราคาปรับลงมาจนเข้าเขต Oversold และยังมีพื้นฐานดี อีกทั้ง Valuation ไม่แพง (PER และ PBV 23F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) เลือก BDMS, CPALL, CPN, MINT

2. หุ้นที่คาดผลประกอบการดีต่อเนื่องไปใน 4Q23 (+YoY, +QoQ) เลือก AP, AOT, BCH, CENTEL รวมทั้ง KCE ที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว (+QoQ)

3. หุ้นเก็งกำไร ซึ่งคาดได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับขึ้นหรือทรงตัวในระดับสูง หากความตึงเครียดในตะวันออกกลางไม่ทวีความรุนแรงมากขึ้น (Upside ราคาน้ำมัน 5-10 ดอลลาร์) แนะนำเทรดดิ้งราคาน้ำมันเบรนต์ในกรอบ 84-94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เลือก BCP, PTTEP

 

ขณะที่ระยะกลางแนะนำระมัดระวังหุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะกระทบต่อกำลังซื้อภาคเกษตรลดลง ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL) กลุ่มสินเชื่อ (MTC, SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG จากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภายหลังจากที่ผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เตรียมประกาศท่าทีของกลุ่มต่อการทำสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส 
  2. รายงานภาวะเงินเฟ้อและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือนตุลาคม รวมทั้งความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล
  3. รายงานมูลค่าการส่งออกและอัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนตุลาคม

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: GULF - 3Q23 คาดกำไรปกติทำนิวไฮ

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชั้นนำของไทย มีการกระจายความเสี่ยงโดยขยายไปสู่ธุรกิจก๊าซ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีสัมปทานกับรัฐบาลเพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว  
  • 3Q23 คาดทำกำไรปกติรายไตรมาสสูงสุดใหม่ เติบโต YoY และ QoQ จากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก Jackson Generation ดีขึ้นหลังมีราคาไฟฟ้าต่ำใน 1H23 และการรับรู้โรงไฟฟ้า IPP อีกแห่งหนึ่ง คือ GPD หน่วยที่ 1 (662.5MW) เต็มไตรมาส ขณะที่ 4Q23 คาดกำไรปกติทำนิวไฮต่อจาก GPD หน่วยที่ 2 ซึ่งเริ่ม COD ตุลาคม 2023 และเข้า High Season ของโรงไฟฟ้าพลังงานลม 
  • ปี 2023 คาดกำไรปกติเติบโต 32%YoY ปัจจัยหนุนจากกำลังผลิตใหม่ที่ทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โดยสิ้นปีนี้คาดมีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนลงทุน 6,113MW เพิ่มขึ้น 21%YoY และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก INTUCH ซึ่งมีเสถียรภาพปีละ 4-5 พันล้านบาท
  • ราคาหุ้นปรับลง 20.4%YTD จากความกังวลในนโยบายพลังงานของรัฐบาลที่อาจกระทบธุรกิจโรงไฟฟ้า IPP อย่างไรก็ตาม มองการปรับสัญญา PPA ทำได้ยากเพราะมีข้อผูกพันหลายฝ่าย อีกทั้งคาดราคาหุ้นปรับลงจนเริ่มมี Downside จำกัด ขณะที่กำไรยังเติบโตดี จึงมองน่าสนใจลงทุน  
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 63 บาท (อิงวิธี DCF) อีกทั้งคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 0.60 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1.3% 

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed ยังมีแนวโน้มดำเนินนโยบายดอกเบี้ยแบบ Higher-for-Longer) ประกอบกับ ความหวังเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft Landing มากขึ้น ขณะที่สินทรัพย์สภาพคล่องยังได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยังดำเนินอยู่

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อ Long-Duration Bond มากขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ปลายวัฏจักรขาขึ้นแล้ว ความน่าจะเป็นที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงอย่างมีนัย ตามตัวเลขเงินเฟ้อที่ทยอยลดลง และตลาดแรงงานที่ลดความตึงตัวลง รวมถึงคาดการณ์การอ่อนตัวลงของกิจกรรมเศรษฐกิจใน 4Q23

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Effective Yield ของ IG Bond ยังยืนในระดับสูง ถึงแม้ว่า Spread ยังแกว่งตัวแคบ / IG มีความทนทานต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่ Corporate ที่ออก IG ส่วนใหญ่ได้ล็อกต้นทุนทางการเงินตอนที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงก่อนหน้า จึงได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจำกัด

 

Interest Coverage ของ US HY ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า Pre-COVID สะท้อนถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยที่ลดลง Spread ที่ยังอยู่ในระดับต่ำยังไม่สะท้อน 1. ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง และ 2. HY Outstanding ที่ต้อง Refinance จะเร่งตัวขึ้นในปี 2024 ต่อเนื่องไปในปี 2025

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ผลประกอบการในไตรมาส 3/23 ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด นำโดยกลุ่ม Consumer Discretionary, Communication Service และ Information Technology รวมถึงกลุ่ม Big Tech (Alphabet, Amazon, Meta, และ Microsoft) คาดว่ากำไรของ บจ. ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2 และจะดีขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 3

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากผลประกอบการ บจ. ในตลาดหุ้นยุโรปในไตรมาส 3/23 ที่มีแนวโน้มออกมาหดตัวค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี Valuation ของดัชนีฯ ยังไม่แพง ประกอบกับทั้ง ECB และ BOE มีแนวโน้มลดท่าที Hawkish ลง หลังล่าสุด BOE ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% และปรับคาดการณ์เงินเฟ้ออังกฤษลง

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Earnings บจ.ญี่ปุ่น มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่า นอกจากนี้ บจ. มีแนวโน้มประกาศเพิ่มการซื้อหุ้นคืนในช่วงการรายงานงบฯ ขณะที่ผลการประชุม BOJ ล่าสุด ค่อนข้าง Dovish กว่าที่ตลาดคาด ประกอบกับล่าสุด นายกฯ คิชิดะของญี่ปุ่น ได้ประกาศแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินราว 17 ล้านล้านเยน

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนยังมีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ท่ามกลาง PMI ภาคการผลิตของจีนล่าสุดที่กลับมาต่ำกว่า 50 ขณะที่ EPS ของดัชนีฯ มีแนวโน้มออกมาขยายตัว และ บจ. ยังมีประกาศซื้อหุ้นคืนมากขึ้น แต่ด้วยความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินต่ออาจชะลอแรงซื้อบนดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ขณะที่ Valuation ไม่แพง รวมทั้งได้อานิสงส์จากการแนวโน้มการปรับลด Stamp Duty ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ความกังวลการชะลอตัวในภาคอสังหา ข้อพิพาทเทคโนโลยีระหว่างจีน-สหรัฐฯ และความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ จะยังกดดันดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตามการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและภาคการผลิตที่หดตัวน้อยลงในเดือนตุลาคม ขณะที่นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ช่วง High Season ใน 4Q23 รวมถึงการหยุดปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed อาจช่วยส่งเสริมตลาดในระยะสั้น

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แม้การส่งออกมีสัญญาณฟื้นตัว แต่ดัชนี PMI เดือนตุลาคมที่หดตัว รวมถึงการออกหุ้นกู้โดยบริษัทใหญ่ที่มีสัดส่วนน้ำหนักมากบนดัชนีฯ ในขณะที่นักลงทุนย้ายเงินลงทุนสู่สินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความเสี่ยงสงครามอาจทำให้ปัจจัยสนับสนุนตลาดในระยะสั้นมีจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากการที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่สูง หลัง BI ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 6% กระทบการบริโภคในประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า จำกัดการส่งออกถ่านหินในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ในระยะยาวเศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการลงทุนโดยตรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปแร่โลหะ

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคำได้รับแรงหนุนในระยะสั้นจากสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล ประกอบกับการที่ Bond Yield อ่อนตัวลงจากการหยุดปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed รวมถึงโอกาสที่สหรัฐฯ เป็น Soft Landing มากขึ้น นอกจากนี้การที่ USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะถัดไปจะช่วยสนับสนุนราคาทองคำในระยะกลาง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการหยุดปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และ BOE ในการประชุมฯ ครั้งล่าสุด รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาสที่อาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ที่ชะลอตัวลงตามสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ PMI จีนที่ชะลอลงยังกดดันราคา

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CMBS) ลดลงเล็กน้อยในเดือนกันยายน หลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 5M ขณะที่ค่าเช่ายังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แต่อุปสงค์โดยรวมและ Vacancy Rate ยังคงอ่อนแอ ประกอบกับ Valuation ยังค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

REITs ไทยเริ่มมี Fund Flow ไหลเข้าเล็กน้อยในเดือนกันยายน หลังจากเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจาก Property Fund นับตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม อีกทั้งมี Valuation ค่อนข้างถูกทั้งในแง่ PBV, Dividend Yield Spread ขณะที่ REITs สิงคโปร์ Yield Spread ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าสนใจ 

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly Negative on Private Equity, Private Real Estate และ Private Debt ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและบริษัทใน Private Debt

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 6 พ.ย. 2023

READ MORE




Latest Stories