เลือกตั้ง 2566: ข้อมูลพรรคการเมือง พรรคพลังประชารัฐ

พรรคพลังประชารัฐ
จุดกำเนิด
  • พรรคพลังประชารัฐก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 ขับเคลื่อนด้วยอดีต 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. และมี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาล คสช. ร่วมกันขับเคลื่อนพรรค
  • การเลือกตั้งปี 2562 พรรคพลังประชารัฐเป็นอีกพรรคใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุด เพราะเป็นพรรคเดียวที่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
  • ในการเลือกตั้งปี 2562 พลังประชารัฐกวาดคะแนนมหาชนไปทั้งสิ้น 8,441,274 เสียง และได้ ส.ส. รวม 121 คน จากนั้นอ้างสิทธิการได้รับคะแนนจากประชาชนมากที่สุด เปิดเกมเดินหน้าเจรจาพรรคการเมืองเพื่อตั้งรัฐบาล และสามารถตั้งรัฐบาลผสมโดยรวบรวมเสียงพรรคการเมือง 19 พรรค จำนวน 254 เสียง และดัน พล.อ. ประยุทธ์เป็นนายกฯ อีกสมัยได้สำเร็จ 
  • ระยะเวลาผ่านไปปีกว่าๆ วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เกิดการเขย่าอำนาจของกลุ่ม 3 ป. กลุ่มรัฐมนตรี 4 กุมาร พร้อมด้วยสมคิด ลาออกยกทีม และพรรคได้เลือก พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ผู้มากบารมีที่สุด และศูนย์รวมของคอนเนกชัน ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐจวบจนถึงปัจจุบัน​ และในการเลือกตั้งครั้งหน้าได้รับเลือกให้เป็นแคนดิเดตนายกฯ หนึ่งเดียวของพรรค 

CANDIDATE

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ

แคนดิเดตนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ แคนดิเดตนายก พรรคพลังประชารัฐ​
ข้อมูลพื้นฐาน
  • พล.อ. ประวิตร วัย 77 ปี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวของพรรคพลังประชารัฐ เป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์แห่ง 3 ป. ผู้มากบารมีที่สุด และศูนย์รวมของคอนเนกชัน เป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออก สังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) เรื่อยมาจนถึงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก 
  • เข้าสู่เส้นทางการเมืองอย่างเป็นทางการในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อปี 2551
  • ในปี 2557 เมื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เข้ามาบริหารประเทศ พล.อ. ประวิตรมีชื่อเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้ง เป็นทั้งรองหัวหน้า คสช. รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
  • พล.อ. ประวิตรเคยทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินเต็มราว 1 เดือน จากการที่ พล.อ. ประยุทธ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี
  • เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2565 พล.อ. ประยุทธ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของพี่น้อง ‘2 ป.’ เริ่มมีรอยร้าวยิ่งขึ้น พล.อ. ประยุทธ์ อดีตแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ได้แยกทางเดินกับพี่ชายสุดที่รัก ไปเป็นสมาชิกพรรคแบบตลอดชีพในสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค
  • แต่ พล.อ. ประวิตรยังอยู่ที่เดิม พร้อมออกแรงขับเคลื่อนนโยบายของพรรคอย่างเต็มที่ และประกาศตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ด้วยการเสนอออปชัน ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ 

Superstar

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ แคนดิเดตนายก พรรคพลังประชารัฐ​

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ

รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ธรรมนัส พรหมเผ่า

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน

ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม

ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม และตระกูลอัศวเหม

ผู้กว้างขวางในจังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เสียชีวิตเมื่อเวลา 01.15 น. ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จากโรคลมแดด

อุตตม สาวนายน อดีตหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย

อุตตม สาวนายน

อดีตหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

อดีตเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์

อดีตรองนายกรัฐมนตรี

นโยบายเด่น
  • บัตรประชารัฐ​ 700 บาท 
  • ดูแลสตรีมีครรภ์ แจกเงินเดือนละ 10,000 บาท คลอดจ่ายอีกเดือนละ 3,000 บาท นาน 6 ปี

 


 

  • จำนวนผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ: 100 คน จำนวนผู้สมัคร ส.ส. เขต: 400 คน