Meta – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 26 Apr 2024 02:14:28 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/meta-loses-200-billion-in-value/ Fri, 26 Apr 2024 02:14:28 +0000 https://thestandard.co/?p=926847 Meta

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มต้นรายงานผลประกอบการของ Meta […]

The post อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Meta

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มต้นรายงานผลประกอบการของ Meta ด้วยการพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากนั้นจึงเข้าสู่ประเด็น Metaverse พร้อมกับชูเรื่องชุดหูฟัง แว่นตา และระบบปฏิบัติการของบริษัท แต่ตลอดการเปิดเผยข้อมูลตอนแรก เขามุ่งเน้นที่หลายๆ ด้านที่ทำให้ Meta สูญเสียเงิน

 

ทว่านักลงทุนไม่เห็นด้วย หุ้นของ Meta ร่วงลงมากถึง 19% ในการซื้อ-ขายนอกเวลาทำการของวันพุธที่ผ่านมา ลบ Market Cap ไปกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 7.4 ล้านล้านบาท การร่วงลงอย่างมากเกิดขึ้นแม้ว่า Meta รายงานผลกำไรและรายรับสำหรับไตรมาสแรกดีกว่าที่คาดไว้

 

ซักเคอร์เบิร์กดูเหมือนพร้อมสำหรับการลดราคาหุ้น “ผมคิดว่ามันคุ้มที่จะชี้ให้เห็นว่าโดยปกติแล้วหุ้นของเรามีความผันผวนสูงในช่วงผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ซึ่งเราลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังไม่ได้สร้างรายได้จากมัน” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว และได้ยกตัวอย่างความพยายามในอดีต อย่างเช่น บริการวิดีโอสั้น Reels, สตอรี และการเปลี่ยนผ่านมาพึ่งพารายได้จากอุปกรณ์โมบายล์

 

Meta สร้างรายได้ถึง 98% จากโฆษณาดิจิทัล แต่เท่าที่ซักเคอร์เบิร์กพูดถึงโฆษณา เขามองไปยังอนาคตและวิธีที่บริษัทอาจเปลี่ยนการลงทุนในปัจจุบันให้เป็นเงินจากโฆษณา จากการพูดคุยถึงความพยายามของ Meta ในการสร้าง ‘AI ระดับแนวหน้า’ เขากล่าวว่า “มีหลายวิธีในการสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ที่นี่ รวมถึงการเพิ่มสเกลการส่งข้อความทางธุรกิจ การนำโฆษณาหรือเนื้อหาแบบชำระเงินมาสู่การโต้ตอบด้วย AI”

 

เขาใช้เวลาพูดถึง Meta Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ตัวล่าสุดของบริษัท และการเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ของ Meta AI ซึ่งเป็นคำตอบของบริษัทต่อ ChatGPT ของ OpenAI ในการต่อกรด้าน AI

 

จากนั้นซักเคอร์เบิร์กก็ย้ายไปที่โอกาสสำหรับการขยายตัวภายในตลาดชุดหูฟัง Mixed Reality อย่างเช่น ชุดหูฟังสำหรับคนทำงานหรือสำหรับคนที่ออกกำลังกาย Meta เพิ่งเปิดให้เข้าถึงระบบปฏิบัติการที่ขับเคลื่อนชุดหูฟัง Quest เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซักเคอร์เบิร์กบอกว่า การเปิดระบบนี้จะช่วยให้ระบบนิเวศของ Mixed Reality เติบโตเร็วขึ้น

 

เขายังพูดถึงแว่นตา AR ของ Meta ด้วย โดยเรียกมันว่า ‘อุปกรณ์ในอุดมคติสำหรับผู้ช่วย AI’ เพราะคุณสามารถทำให้พวกเขามองเห็นสิ่งที่คุณเห็นและได้ยินสิ่งที่คุณได้ยิน

 

ระหว่างนี้หน่วย Reality Labs ของ Meta ซึ่งเป็นที่ทำงานพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ Metaverse ที่เพิ่งเกิดยังขาดทุนยับต่อเนื่อง Reality Labs รายงานยอดขาย 440 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก และขาดทุน 3.85 พันล้านดอลลาร์ การขาดทุนสะสมของหน่วยนี้มาตั้งแต่สิ้นปี 2020 ทะลุ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1.7 แสนล้านบาทแล้ว

 

กระนั้นราคาหุ้นของ Meta ก็ยังเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในปีที่แล้ว และแม้จะปิดตลาดในวันพุธก็ยังสูงขึ้น 40% ในปี 2024 ราคาเคยทำสถิติสูงสุด 527.34 ดอลลาร์เมื่อต้นเดือนเมษายน

 

หลังจากปี 2022 อันโหดร้ายที่บริษัทสูญเสียมูลค่าไปราว 2 ใน 3 ซักเคอร์เบิร์กดูจะกลับมาได้รับความเชื่อมั่นจาก Wall Street อีกครั้ง

 

ตัวขับเคลื่อนให้ราคาตีกลับมาคือ แผนลดต้นทุนที่ซีอีโอของ Meta ประกาศเมื่อต้นปีที่แล้ว ตอนที่เขาบอกกับนักลงทุนว่า ปี 2023 จะเป็น ‘ปีแห่งประสิทธิภาพ’ บริษัทลดจำนวนพนักงานและตัดโครงการที่ไม่จำเป็น เพื่อการเป็น ‘องค์กรที่แข็งแรงและคล่องตัวขึ้น’

 

ซักเคอร์เบิร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า Meta จะดำเนินงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การโยกย้ายทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในการลงทุนด้าน AI จะ “ทำให้งบลงทุนของเราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีความหมาย”

 

คาดว่ารายจ่ายลงทุนปี 2024 จะอยู่ในราว 3.5-4 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 3-3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ “เนื่องจากเรายังคงเร่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนโรดแมปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของเรา” Meta ระบุ

 

ซักเคอร์เบิร์กบอกว่า คาดว่าจะเห็น ‘วัฏจักรการลงทุนที่กินเวลาหลายปี’ ก่อนที่ผลิตภัณฑ์ AI ของ Meta จะขยายไปถึงการให้บริการที่มีกำไร แต่ก็บอกด้วยว่าบริษัท ‘มีประวัติที่ดี’ ในเรื่องนี้

 

ซูซาน ลี หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Meta กล่าวสะท้อนคำพูดของซักเคอร์เบิร์กว่า บริษัทต้องการพัฒนารูปแบบขั้นสูงและขยายขนาดผลิตภัณฑ์ออกไป ก่อนที่จะขับเคลื่อนรายได้อย่างมีความหมาย

 

“แม้จะมีศักยภาพสูงในระยะยาว แต่เรายังแค่เริ่มแรกในเส้นทางที่จะเห็นผลตอบแทน” ลีกล่าว

 

แม้แต่ก่อนที่การแถลงข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น นักลงทุนก็เริ่มขายหุ้นที่ถือไว้แล้ว นั่นเป็นเพราะ Meta ออกคาดการณ์รายรับในไตรมาสที่ 2 แบบไม่สดใสนัก บดบังผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาสแรก

 

ขณะที่ราคาหุ้นร่วงหนักซักเคอร์เบิร์กบอกกับนักลงทุนว่า หากพวกเขายินดีจะร่วมเดินทางต่อไป ก็อาจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าเช่นกัน

 

“โดยปกติแล้วการลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เพิ่มขนาดในแอปพลิเคชันของเราเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีมากสำหรับเราและสำหรับนักลงทุนที่อยู่กับเรา และสัญญาณเริ่มต้นที่นี่ก็ค่อนข้างสดใสเช่นกัน” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว “แต่การสร้าง AI ชั้นนำจะต้องลงแรงมากกว่าประสบการณ์อื่นๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไปในแอปของเรา และเรื่องนี้คงใช้เวลาหลายปี”

 

ภาพ: Alex Wong / Getty Images

อ้างอิง:

The post อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน https://thestandard.co/tech-stock-ai-nvidia-meta/ Thu, 25 Apr 2024 11:35:31 +0000 https://thestandard.co/?p=926756 AI

ในช่วงเดือนเมษายนนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาการประกาศผลประกอ […]

The post ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
AI

ในช่วงเดือนเมษายนนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งทั่วโลก ทีมงาน THE STANDARD WEALTH ได้รวบรวมงบของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ประกาศออกมาแล้วให้ได้ติดตามกันว่าจะรุ่งหรือร่วงกันแน่

 

ในฝั่งของ SK hynix บริษัทผลิตชิปแบบความจำ (Memory Chip) เบอร์ 2 ของโลก ซึ่งเป็นคู่ค้าของ NVIDIA รายงานรายได้อยู่ที่ 9 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 114% กำไรอยู่ที่ราว 1.39 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท) ตามกระแส AI ที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีแผนขยายโรงงานได้ในปีนี้เพิ่มอีกเช่นกัน

 

ทั้งนี้ กำไรที่เกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นการพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งของ hynix หลังจากขาดทุนสุทธิมาต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และเพื่อรองรับความต้องการในฝั่งเทคโนโลยี AI บริษัทมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่ในเกาหลีใต้เพิ่มเติม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน ปี 2025 ใช้เงินลงทุนราว 20 ล้านล้านวอน 

 

ส่วน Meta (เดิมคือ Facebook) ได้ประกาศรายได้ของไตรมาส 1 ว่าทำได้ราว 3.65 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.30 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อนหน้า (YoY) และทำกำไรได้ 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.50 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นราว 117% จากปีก่อนหน้า 

 

แต่ทั้งนี้ รายได้ของ Meta ก็ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และมีการเพิ่มเงินลงทุนใน AI (Artificial Intelligence) มากกว่าที่ตลาดคาดว่ามีโอกาสแตะ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ – 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท – 1.4 ล้านล้านบาท) จึงทำให้ราคาหุ้นถูกเทขายลงไปกว่า 15%

 

ในวันเดียวกัน (24 เมษายน) Tesla ประกาศรายได้ออกมาที่ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 7.7 แสนล้านบาท) น้อยลงกว่าปีก่อน 9% (YoY) ในขณะที่กำไรอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท) คิดเป็นการปรับตัวลง 55% จากปีก่อนหน้า จากแนวโน้มการแข่งขันของตลาด EV ที่เข้มข้นขึ้น จึงต้องมีการลดราคา

 

ในขณะที่ Alphabet (Google) ที่แม้จะกำลังเผชิญกับความปั่นป่วนภายในบริษัทจากการประท้วงของพนักงานจนมีการไล่ออกไป 28 คน และการแข่งขันทางด้าน AI ที่ดุเดือดขึ้น จะประกาศงบภายในวันศุกร์นี้ (26 เมษายน) โดยนักวิเคราะห์ก็ประเมินว่า รายได้ของ Alphabet มีโอกาสปรับตัวขึ้นมาราว 13% ในไตรมาส 1 นี้

 

นักวิเคราะห์ประเมินว่า รายได้ของ Microsoft มีโอกาสปรับตัวขึ้น 15% ในไตรมาส 1 นี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงกว่านี้ในอีก 3 ไตรมาสข้างหน้า ซึ่ง Microsoft เองก็มีการลงทุนในด้าน AI อย่างต่อเนื่องอีกหลายพันล้านดอลลาร์ทั้งใน Anthropic, Mistral, Figure และ Humane ในขณะที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นราว 6.8% นับจากต้นปี ดันมูลค่าบริษัทแตะ 3 ล้านล้านดอลลาร์ แซงหน้า Apple ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกอยู่ ณ ขณะนี้ ซึ่งจะประกาศงบในวันศุกร์ที่ 26 เมษายนนี้

 

อ้างอิง: 

The post ส่งงบไตรมาสแรกของหุ้นเทคเบื้องต้น กลุ่มอิง AI สัญญาณดี หลังคู่ค้า NVIDIA พลิกมีกำไร ส่วน Meta เร่งเพิ่มการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” https://thestandard.co/zuckerberg-data-not-key-for-ai/ Mon, 22 Apr 2024 09:37:05 +0000 https://thestandard.co/?p=925424 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

ท่ามกลางการเฟ้นหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งของเห […]

The post บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

ท่ามกลางการเฟ้นหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งของเหล่าบริษัทบิ๊กเทค เพื่อป้อนสู่โมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) Business Insider รายงานว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta กลับเปิดประเด็นในเรื่องของการพัฒนา AI ว่า ‘ข้อมูล’ ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของ AI

 

“สิ่งที่ผมมองว่าจะเป็นประโยชน์และสำคัญมากกว่าคลังข้อมูลสำหรับฝึกฝน AI คือ การเรียนรู้จากวงจรสะท้อนของผลลัพธ์ (Feedback Loops) โดยการที่มีผู้คนจำนวนมากเข้าใช้งานจะทำให้เราเห็นพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งการเริ่มพัฒนาจากตรงนั้นจะทำให้โมเดลมีคุณค่ากว่าเมื่อเวลาผ่านไป” มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารข่าวเทคโนโลยี Command Line

 

วงจรสะท้อนของผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ถูกใช้เพื่อฝึกซ้ำและปรับปรุงโมเดลให้ดีขึ้นจากผลลัพธ์ที่ได้มาก่อนหน้า โดยกลไกแบบนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ AI รู้ได้ว่าเมื่อไรมีข้อผิดพลาดและจะต้องแก้ไขจุดใดในอนาคต เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า

 

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของซักเคอร์เบิร์กก็ไม่ได้ชะลอความหิวกระหายในการหาแหล่งข้อมูลใหม่เพื่อฝึกฝน AI ของบริษัทบิ๊กเทค เพราะเมื่อต้นเดือนเมษายนปีนี้มีรายงานจาก The New York Times ว่า OpenAI สร้างโปรแกรมชื่อว่า Whisper สำหรับถอดบทสนทนาวิดีโอจากแพลตฟอร์ม YouTube ซึ่งทำไปแล้วรวมกว่า 1 ล้านชั่วโมง 

 

หรือในกรณีของ Google ที่เริ่มเปิดการเข้าถึงให้กับโมเดล AI ของตัวเอง ซึ่งระบุในข้อตกลงบริการกับผู้ใช้งานว่า บริษัทจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดสาธารณะได้ เช่น เอกสาร Google Docs แบบที่เปิดสาธารณะ หรือข้อความรีวิวร้านอาหารบน Google Maps

 

แม้แต่ Meta เองก็มีคลิปเสียงเกี่ยวกับการหารือภายในบริษัทว่าจะเข้าซื้อ Simon & Schuster สำนักพิมพ์ที่มีฐานข้อมูลหนังสือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งพูดถึงการรวบรวมข้อมูลที่ติดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตมาเพื่อใช้งานก่อน เพราะการรออนุมัติจากผู้ตีพิมพ์ ศิลปิน และสำนักข่าว นั้นใช้เวลานานเกินไป

 

การยอมเสี่ยงกับการกระทำที่อาจละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวและลิขสิทธิ์การครอบครองข้อมูลของเจ้าของคอนเทนต์ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูล แสดงให้เห็นว่า ‘ข้อมูล’ ยังเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาต่อยอดโมเดล AI สะท้อนผ่านการกระทำของ OpenAI, Google และ Meta ที่ The New York Times ใช้คำว่า “พยายามหาทางลัดด้วยการหาช่องโหว่ทางกฎหมายและนโยบายบริษัท” 

 

จริงอยู่ที่คำกล่าวอ้างของซักเคอร์เบิร์กเกี่ยวกับการฝึกฝน AI ด้วยวิธีการเรียนรู้จากวงจรสะท้อนของผลลัพธ์ คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โมเดล AI มีประสิทธิภาพ แต่อีกหนึ่งความเสี่ยงของการพึ่งพาวิธีดังกล่าวคือ หากชุดข้อมูลมีความลำเอียงและข้อผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ถูกนำไปต่อยอดก็จะส่งผลให้คำตอบที่ได้จาก AI ผิดเพี้ยนตามไปด้วย เมื่อสุดท้าย ‘ข้อมูล’ ตั้งต้นที่ถูกใช้ไม่ใช่ข้อมูลที่ดี

 

ภาพ: Alex Wong / Getty Images

อ้างอิง:

The post บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” appeared first on THE STANDARD.

]]>
Meta เปิดตัว Llama 3 ที่ใช้บน Meta AI พร้อมเคลมว่า เป็นผู้ช่วยที่ฉลาดที่สุดและใช้งานได้ฟรี https://thestandard.co/meta-llama-3/ Fri, 19 Apr 2024 05:59:30 +0000 https://thestandard.co/?p=924518 Meta Llama 3

Meta ประกาศเปิดตัว Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบ Open So […]

The post Meta เปิดตัว Llama 3 ที่ใช้บน Meta AI พร้อมเคลมว่า เป็นผู้ช่วยที่ฉลาดที่สุดและใช้งานได้ฟรี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Meta Llama 3

Meta ประกาศเปิดตัว Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบ Open Source ที่เปิดกว้างให้สาธารณะสามารถเข้ามาตรวจสอบและต่อยอดได้ ซึ่งกำลังเข้ามาแข่งกับโมเดลของ Google และ OpenAI ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการเข้าถึงตัวโมเดลโดยสาธารณชน

 

Meta ระบุว่า การที่บริษัทเลือกให้ Llama 3 เป็นแบบ Open Source มีความสำคัญที่จะช่วยผลักดันนวัตกรรมด้วยการเปิดให้ผู้คนสามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ โดยโมเดลใหม่ตัวนี้ถูกใช้งานแล้วกับฟีเจอร์ Meta AI ซึ่งเป็นแชตบอตของบริษัทที่สามารถทำงานร่วมกับ Facebook, Instagram, WhatsApp, Messenger และบนเว็บไซต์แยก meta.ai ที่มีหน้าตาคล้ายกับ ChatGPT ที่หลายคนคุ้นเคย ด้วยความสามารถ เช่น การช่วยเขียนอีเมล แก้โจทย์เลข และอื่นๆ

 

 

การเปิดตัวครั้งนี้ของ Llama 3 มาพร้อมกับ Meta AI ผู้ช่วย AI ที่บริษัทเคลมว่าฉลาดที่สุด ณ ตอนนี้ ซึ่งทำให้เป้าหมายที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เคยตั้งไว้ว่าต้องการทำให้ Meta AI เป็นผู้ช่วย AI ของโลกดูมีเค้าโครงมากขึ้นจากฐานผู้ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีสูงถึง 3 พันล้านคนต่อวัน และพวกเขาบางคนก็สามารถเข้าถึงผู้ช่วยดังกล่าวได้แล้ว

 

“ผมยอมรับว่าในทุกวันนี้ถ้าหากพูดถึงผู้ช่วย AI คงมีน้อยคนที่จะนึกถึง Meta AI เป็นตัวช่วยหลัก แต่ตอนนี้ผมคิดว่านี่เป็นช่วงเวลาที่เราเริ่มจะทำให้ผู้คนเข้าถึงมากขึ้น และหวังว่ามันจะกลายเป็นบริการตัวหลักในตลาดได้” มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวกับ The Verge

 

อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่ประเทศไทยยังไม่อยู่ในรายชื่อที่ Meta เลือกจะขยายบริการ Meta AI ออกไป เพราะการเปิดตัวในเฟสแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทางบริษัทระบุในจดหมายแถลงการณ์ว่า พวกเขาได้เปิดใช้งาน Meta AI เป็นภาษาอังกฤษในหลายประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา โดยทั้งหมดประกอบไปด้วย ออสเตรเลีย, แคนาดา, กานา, จาเมกา, มาลาวี, นิวซีแลนด์, ไนจีเรีย, ปากีสถาน, สิงคโปร์, แอฟริกาใต้, ยูกันดา, แซมเบีย และซิมบับเว แต่ Meta ก็ย้ำว่า การขยายเวอร์ชันที่เป็นภาษาอื่นและประเทศอื่นๆ เป็นสิ่งที่จะตามมาเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน

 

ภาพ: Gemini

อ้างอิง:

 

The post Meta เปิดตัว Llama 3 ที่ใช้บน Meta AI พร้อมเคลมว่า เป็นผู้ช่วยที่ฉลาดที่สุดและใช้งานได้ฟรี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทรัมป์ ชี้ Facebook คือ ‘ศัตรูประชาชน’ ฉุดหุ้น Meta ดิ่ง | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-12032024-3/ Tue, 12 Mar 2024 06:14:57 +0000 https://thestandard.co/?p=910030 ทรัมป์ เฟซบุ๊ก คือ ศัตรูประชาชน

หุ้น Meta บริษัทแม่ของ Facebook ปิดตลาดปรับตัวลดลงอย่าง […]

The post ชมคลิป: ทรัมป์ ชี้ Facebook คือ ‘ศัตรูประชาชน’ ฉุดหุ้น Meta ดิ่ง | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทรัมป์ เฟซบุ๊ก คือ ศัตรูประชาชน

หุ้น Meta บริษัทแม่ของ Facebook ปิดตลาดปรับตัวลดลงอย่างมากราว 5% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 มีนาคม) หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน แสดงความเห็นว่า Facebook คือศัตรูที่แท้จริงของประชาชน ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ทรัมป์ ชี้ Facebook คือ ‘ศัตรูประชาชน’ ฉุดหุ้น Meta ดิ่ง | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
Metaverse ล่มสลายแล้วจริงหรือ? อ่านใจ ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ ทำไมถึงหันหลังให้โลกเสมือนจริง มุ่งสู่ AI เต็มรูปแบบ https://thestandard.co/mark-zuckerberg-ai-metaverse/ Sun, 25 Feb 2024 11:14:54 +0000 https://thestandard.co/?p=904205 Metaverse

การรีวิว Apple Vision Pro ของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ถือเป […]

The post Metaverse ล่มสลายแล้วจริงหรือ? อ่านใจ ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ ทำไมถึงหันหลังให้โลกเสมือนจริง มุ่งสู่ AI เต็มรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Metaverse

การรีวิว Apple Vision Pro ของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ถือเป็นหนึ่งในการรีวิวที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนจำนวนมาก

 

ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีใครคิดว่าซีอีโอแห่ง Meta จะนั่งรีวิวการใช้งานในแบบง่ายๆ บ้านๆ ไม่ได้มีโปรดักชันเล่นใหญ่อะไรมากมาย แต่อีกส่วนหนึ่งแม้ในการรีวิวจะไม่ได้มีการพูดถึง Metaverse โลกเสมือนแห่งอนาคตแม้แต่น้อย (มีเพียงแค่การยกย่อง Meta Quest 3 ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ดีและคุ้มค่ามากกว่า) แต่ก็ชวนให้คิดถึงสิ่งที่เคยเป็นเดิมพันครั้งใหญ่ของซักเคอร์เบิร์ก ที่ทำให้ถึงขั้นมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น Meta

 

เวลาผ่านมาพอสมควร Metaverse กลายเป็นเรื่องที่ถูกลืมไปเหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งส่วนสำคัญก็เป็นเพราะ Meta รวมถึงซักเคอร์เบิร์กเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีโลกเสมือนนี้เป็นอันดับแรกเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป

 

โดยที่แทบไม่มีใครไหวตัว Meta เลือกแล้วว่าจะเป็นสิ่งที่นำพาบริษัทก้าวไปสู่อนาคตไม่ใช่ Metaverse แต่เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และพวกเขาก็เดินหน้าอย่างจริงจังในสนามแข่งขันที่ร้อนแรงที่สุดในเวลานี้

 

เกิดอะไรขึ้นกับซักเคอร์เบิร์กในช่วงที่ผ่านมา จนทำให้หัวใจของเขาเปลี่ยนแปลงแบบนี้

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เดิมพันราคาแพงที่เจ๊งไม่เป็นท่า

 

ย้อนกลับไปในฤดูร้อนปี 2021 ในงานสัมมนาที่ Allen & Co ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองไอดาโฮ มีช่วงเวลาไพรเวตที่เหล่าผู้บริหารระดับสูงสุดจะได้ใช้เวลาพักผ่อนแลกเปลี่ยนบทสนทนาไปด้วยกัน ในช่วงเวลานั้นเองที่ ซันดาร์ พิชัย (Sundar Pichai) เบอร์หนึ่งของ Google ได้มีโอกาสพูดคุยกับมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เกี่ยวกับทีมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของ Facebook ที่อยู่ใต้อาณัติของซีอีโอ Meta

 

ในถ้อยสนทนา พิชัยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของ AI อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ แต่ปัญหาคือซักเคอร์เบิร์กไม่เข้าใจในสิ่งที่ซีอีโอของ Google พูดสักเท่าไรนัก

 

สำหรับซักเคอร์เบิร์กพวกเขาเริ่มต้นศึกษาเทคโนโลยี AI มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการเริ่มก่อตั้งทีมพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะในปี 2013 โดยจ้าง Yann LeCun นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘บิดาแห่ง AI’ มาเลยทีเดียว

 

 

ปัญหาคือหลังจากนั้นซักเคอร์เบิร์กไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเกี่ยวกับผลงานของทีมนี้มากนัก แต่กลับไปให้ความสนใจในงานส่วนอื่นๆ แทน เช่น การส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) การสตรีมวิดีโอ ไปจนถึงเรื่องของสกุลเงินคริปโต

 

และเรื่องที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดคือ Metaverse การสร้างโลกดิจิทัลขึ้นมาเป็นโลกอีกใบเสมือนผู้สร้าง โดยหวังจะกลายเป็นสิ่งที่ ‘ปฏิวัติ’ ทางที่คนเราจะมีปฏิสัมพันธ์กันบนโลกออนไลน์

 

ซักเคอร์เบิร์กจริงจังกับเรื่องนี้อย่างมาก และความจริงจังนั้นก็เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น Meta ในปี 2021

 

เพียงแต่มันได้กลายเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำที่แพงที่สุดในประวัติการณ์ Meta ลงทุนไปมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ (1.79 ล้านล้านบาท) ในการจะสร้างโลกที่ไม่มีใครต้องการ และผลกระทบที่ตามมาคือการที่ Meta อยู่ในสถานภาพที่อ่อนไหวสั่นคลอนอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี

 

“เขา (ซักเคอร์เบิร์ก) รู้ว่ามีบางสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ผมคิดว่าเขาเดิมพันไปกับสิ่งที่ผิดพลาด” หนึ่งในอดีตนักวิจัยในโครงการ Metaverse ที่ขอปกปิดตัวตนไว้ในการเปิดเผยข้อมูลกับ Bloomberg กล่าวแทนใจใครหลายคน

 

FAIR ทีมเทพที่ถูกมองข้าม

 

หลังการพูดคุยกับพิชัยในวันนั้น ซักเคอร์เบิร์กเก็บงำสิ่งที่ได้กลับมาคิดทบทวนก่อนจะเรียกประชุมขอสรุปความคืบหน้าของทีมวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง AI ของ Meta ทันที

 

ทีมวิจัยนี้มีชื่อว่า ‘FAIR’ ซึ่งมาจาก Fundamental Artificial Intelligence Research 

 

รายงานความคืบหน้าของทีมถูกส่งตรงถึงซักเคอร์เบิร์ก ที่ใช้เวลาอีกพักใหญ่ในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ และทำความเข้าใจว่าทำไมคู่แข่งอย่างพิชัย จึงชื่นชมผลงานของ FAIR และคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง AI ถึงบอกว่าพวกเขาเป็นผู้นำของวงการ แต่ตัวเขากลับมองข้ามไป

 

“เขาใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้ด้วยตัวเองอีกพักใหญ่เลยทีเดียว” เจอโรม เพเซนติ (Jerome Pesenti) อดีตรองประธานแผนกปัญญาประดิษฐ์ของ Meta เล่าถึงเรื่องราวในช่วงเวลานั้น

 

การที่เรื่องของ AI กลับมาอยู่ในความสนใจของซักเคอร์เบิร์กถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพราะในบรรดาบริษัทเทคยักษ์ใหญ่แห่ง Silicon Valley Meta เป็นเพียงแห่งเดียวที่ยังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ก่อตั้งอย่างซักเคอร์เบิร์กที่จะเป็นคนตัดสินใจในเรื่องสำคัญทั้งหมด

 

เรื่องอะไรที่สำคัญกับบริษัท เขาต้องเป็นคนเคาะให้

 

สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นคือการที่ซักเคอร์เบิร์ก และ Meta ยังพยายามผลักดันเรื่องของ Metaverse ต่อไป ในเดือนสิงหาคม 2022 มีการเปิดเผยภาพสกรีนช็อตตัวละครเสมือน (Avatar) ของเขาใน Horizon Worlds ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันหลักแรกของ Meta ในโลกของ Metaverse

 

 

แต่ผลตอบรับที่ได้นั้นไม่เป็นที่น่าประทับใจมากนัก แม้กระทั่งเรื่องรายละเอียดอย่างตัว Avatar ของซักเคอร์เบิร์กที่ดูบู้บี้จนกลายเป็นถูกบูลลี่จากโลกสังคมออนไลน์

 

ถึงจะชินกับการเป็นมีม (Meme) ให้คนอื่นล้อ แต่ในภาพรวมผลงานของทีมที่รับผิดชอบก็ไม่เป็นที่ประทับใจของเขานัก โดยมีการพบว่าภาพ Avatar ของซักเคอร์เบิร์กมีการเปลี่ยนแปลงให้มีความคมชัดขึ้นในอีก 4 วันให้หลัง โดยเขาต้องลงมากำกับเอง และมีการแก้ไขกันถึง 40 ครั้งกว่าจะพอใจ

 

3 เดือนหลังจากนั้น Meta มีการประกาศเลย์ออฟพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดถึง 11,000 ตำแหน่ง หรือคิดเป็น 13% ของจำนวนพนักงานในเวลานั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Meta ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับการติดตามข้อมูลส่วนตัวของ Apple ที่ทำให้รายรับของบริษัทลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เป็นบริษัทมหาชน และข่าวดังกล่าวทำให้หุ้นของ Meta ตกลงถึงกว่า 65%

 

ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ OpenAI เปิดตัว ChatGPT และกลายเป็นปรากฏการณ์ของวงการ เกิดสงครามโลกของ AI ที่ยักษ์ใหญ่ทุกแห่งพร้อมร่วมวงชิงชัยกันอย่างไม่ลดละ เพราะรู้ว่าหากใครชนะมีโอกาสจะกลายเป็นผู้ครองโลกคนใหม่ได้เลย

 

Meta ที่ล้มเหลวกับ Metaverse เหมือนจะกลายเป็นยักษ์ที่สะดุดล้มและกำลังจะตกขบวน

 

ซะเมื่อไร!

 

The Meta Strikes Back

 

ตั้งแต่ที่ซักเคอร์เบิร์กเริ่มต้นศึกษา AI อย่างจริงจัง แผนกวิจัย AI ของ Meta ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้าลุยอย่างเต็มตัวอย่างลับๆ

 

FAIR มีการขยายทีมดึงตัวเทพจากทั่วโลกเข้ามาเพื่อระดมสรรพกำลังในการสู้กับ OpenAI และ DeepMind ของ Google ในสงครามครั้งใหม่ให้ได้

 

สิ่งที่ผู้คนไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับการทำงานของทีม FAIR นั้นเป็นเพราะพวกเขาไม่ได้ออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ที่ชวนตะลึงเหมือนคู่แข่งรายอื่นๆ โดยหลักแล้ว AI จะถูกใช้ในบริการของ Facebook และ Instagram เพื่อคาดเดาเรื่องของพฤติกรรมผู้ใช้ว่าจะมีโฆษณาตัวใดที่โชว์ขึ้นมาเมื่อมีการไถหน้าจอ (แบบที่เราสงสัยว่าตกลงแล้วแอบฟังอยู่ใช่ไหมนั่นแหละ) ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี

 

การเก็บตัวอย่างเงียบๆ ของ Meta ทำให้แม้แต่ทำเนียบขาวที่เชิญยักษ์ใหญ่เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็ไม่มีการเชิญมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเข้าร่วมด้วยแต่อย่างใด

 

ตรงนี้เป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน การถูกมองข้ามทำให้ซักเคอร์เบิร์กจัดตั้งทีมใหม่ คราวนี้เป้าหมายอยู่ที่การสร้างผลิตภัณฑ์ AI ออกมาให้โลกได้รู้บ้าง โดยมีการโยกคนจากทีม FAIR มาอยู่ทีมใหม่ 60 คน ในขณะที่ทีม FAIR เองก็มีการเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเช่นกัน

 

การทำแบบนี้เพื่อเร่งให้เกิดการสร้างสิ่งใหม่ๆ ออกมา โดยมีซักเคอร์เบิร์กที่ทำเหมือน เทอเรนซ์ เฟล็ตเชอร์ แห่ง ‘Whiplash’ ที่ต้องการให้ทีมวิจัยของเขาสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมาให้ได้

 

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงทำให้แนวทางไม่ตรงกับนักวิจัยจำนวนไม่น้อย ตัวระดับท็อปของวงการลาออกจาก Meta ไปพอสมควร แต่ซักเคอร์เบิร์กตัดสินใจแล้วที่จะเดินหน้าแบบนี้ นี่คือการโต้ตอบที่สำคัญและจำเป็นต่อการพลิกเกม

 

แต่จะพลิกเกมแบบไหน?

 

 

ภาพ: Anna Moneymaker / Getty Images

 

The Queen’s Gambit ของ Meta

 

ในทางกีฬาหมากรุกจะมีวิธีในการ ‘เปิดกระดาน’ อยู่หลายแบบด้วยกัน แต่หนึ่งในวิธีที่โด่งดังที่สุดคือวิธีการเปิดที่เรียกว่า Queen’s Gambit ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเล่นที่เก่าแก่ที่สุด ย้อนกลับไปได้ถึงปี 1490 เลยทีเดียว

 

วิธีที่ใช้คือการเปิดกระดานด้วยการเดินเบี้ย 2 ตัว เรียกว่าลุยก่อนแต่ทำแบบนี้จะเสียตัวเบี้ยไป 1 ตัว ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่า Gambit นั้นมาจากการเดิมพันแบบ ‘กล้าได้กล้าเสีย’ ของคนที่เปิดกระดานแบบนี้นั่นเอง

 

และนี่ก็เป็นสิ่งที่คล้ายกับการเดินหมากของซักเคอร์เบิร์กและ Meta

 

หลังจากที่ได้เปลี่ยนแนวทางและเป้าหมายของบริษัทที่มีต่อเทคโนโลยี AI ทางด้าน Meta พยายามส่งผลงานใหม่ออกมา เช่น การปฏิวัติเรื่องของแชตบอต (Chatbot) ที่มีการเปิดตัวเวอร์ชันใหม่ในงาน Meta’s Connect Conference เมื่อปี 2023 โดยเป็นแชตบอตที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น สามารถปรับบุคลิกให้เป็นตัวของตัวเองหรือเหมือนคนดังอย่างเช่น ทอม เบรดี ตำนานนักอเมริกันฟุตบอล NFL หรือ เคนดัลล์ เจนเนอร์ นางแบบชื่อดัง

 

นอกจากนี้ ซักเคอร์เบิร์กยังได้วกกลับไปถึง Metaverse เล็กๆ ด้วยการพูดถึงโลกในอนาคตที่เราสามารถพบกันได้ทั้งคนตัวเป็นๆ ที่สวมใส่แว่นที่มีเทคโนโลยี Augmented Reality ​(AR) และคนที่ส่งตัวแทนมาประชุมในห้องแต่เป็น Avatar  โดยที่ในห้องนั้นจะมี AI เป็นผู้ช่วยในแบบของโฮโลแกรม (ภาพสามมิติ) ที่คอยจัดการงานด้านต่างๆ แทนให้

 

นี่เป็นเบี้ยตัวหนึ่งที่เดินไว้

 

แต่เบี้ยอีกตัวที่เป็นทีเด็ดจริงๆ คือ ‘LlaMa’ ปัญญาประดิษฐ์ซึ่งถูกพัฒนาด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ Large Language Model (LLM) โดยทีม FAIR ของบริษัทซึ่งเกิดมาแข่งขันกับ ChatGPT ของ OpenAI และ Bard ของ Google โดยเฉพาะ

 

ความแตกต่างที่เป็น ‘กุญแจสำคัญ’ คือการที่ LlaMa เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ในแบบ Open-source ซึ่งแตกต่างจาก OpenAI หรือ Google ที่ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงได้ ด้วยความกังวลว่าการให้เข้าถึงเครื่องมือที่ทรงพลังขนาดนี้อาจเป็นอันตรายมากเกินไป

 

แต่เพราะการเดินหมากตานี้ทำให้ AI ของ Meta ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะเหมือนมีทีมพัฒนาจากภายนอกเข้ามาช่วยทำให้ทุกอย่างดีขึ้น โมเดล AI ของพวกเขาเติบโตเร็วยิ่งกว่าใคร และเก่งไวยิ่งกว่าใช้ทีมพัฒนาของตัวเอง

 

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาออกตัวในสนามนี้ช้ากว่าคู่แข่ง และความเร็วคือเรื่องของปีศาจ ซึ่งซักเคอร์เบิร์กเด็ดขาดพอที่จะตัดสินใจในหมากตาแบบนี้

 

ข้อได้เปรียบอีกด้านของ Meta คือการที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องขายเครื่องมือ AI (AI Tools) เพื่อหาเงิน เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการคือการให้คนใช้เวลาอยู่ในแอปพลิเคชันให้นานที่สุด ดังนั้นกลยุทธ์ของ Meta คือการเปิดให้ใช้ฟรีต่อไปทั้งผู้ใช้ปกติ ซึ่งมีคนโหลดไปแล้วกว่า 100 ล้านคน หรือนักพัฒนาที่สามารถเข้าถึงระบบที่พัฒนาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ในทุกวัน

 

ในเดือนตุลาคม 2023 ซักเคอร์เบิร์กบอกนักลงทุนว่า “AI จะเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของพวกเราในปี 2024” โดยเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้มาสร้างโครงการโดยใช้ AI เป็นพื้นฐานทั้งหมด

 

เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา หุ้นของ Meta ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดได้อีกครั้งนับตั้งแต่จุดตกต่ำในปี 2021 ซึ่งเป็นสัญญาณในทางที่ดีว่าพวกเขากลับมาถูกที่ถูกทางอีกครั้ง

 

ที่เหลือก็อยู่กับตัวของซักเคอร์เบิร์กเองว่าจะสนใจและใส่ใจกับปัญญาประดิษฐ์นี้ไปอีกนานแค่ไหน เพียงแต่ไม่นานมานี้เขาโพสต์วิดีโอในบัญชีส่วนตัว โดยในวิดีโอนั้นเป็นการใช้งานผู้ช่วย AI ผ่านแว่นอัจฉริยะของบริษัทเอง

 

“เฮ้ Meta ไหนช่วยบอกผมหน่อยสิว่าต้องใส่กางเกงแบบไหนถึงจะเข้ากับเสื้อตัวนี้”

 

เจ้า AI ประมวลผลก่อนตอบว่า “จากภาพแล้วเป็นเสื้อลายทาง ลองดูเป็นกางเกงยีนส์สีเข้มหรือกางเกงผ้าที่ขรึมๆ หน่อยก็น่าจะเข้ากับเสื้อได้ดี”

 

แบบนี้คิดว่าซักเคอร์เบิร์กน่าจะสนุกกับ AI ไปอีกสักระยะ

 

ส่วนผู้เขียนกำลังคิดถึงการใช้ AI ในวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน พร้อมกับคิด Prompt เอาไว้เรียบร้อย

 

ไหน ใครอยากเป็นเศรษฐี

 

ภาพปก: Tom Williams / CQ-Roll Call, Inc via Getty Images

อ้างอิง:

The post Metaverse ล่มสลายแล้วจริงหรือ? อ่านใจ ‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ ทำไมถึงหันหลังให้โลกเสมือนจริง มุ่งสู่ AI เต็มรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
2 ทศวรรษของ Facebook กับ 4 เรื่องราวที่โซเชียลมีเดียตัวนี้เข้ามาเปลี่ยนโลก https://thestandard.co/2-decades-of-facebook/ Tue, 06 Feb 2024 01:00:51 +0000 https://thestandard.co/?p=896419

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2024 ถือเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ Face […]

The post 2 ทศวรรษของ Facebook กับ 4 เรื่องราวที่โซเชียลมีเดียตัวนี้เข้ามาเปลี่ยนโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2024 ถือเป็นวันครบรอบ 20 ปีของ Facebook โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ของโลกที่มียอดผู้ใช้งานต่อวันอยู่ราว 2.09 ล้านล้านราย โดยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้คนทั่วโลกใช้บริการ Facebook ในทุกๆ วัน แสดงให้เห็นถึงความนิยมของแพลตฟอร์มที่ถูกใช้โดยคนจำนวนมากบนโลก

 

เนื่องในโอกาส 20 ปีนับตั้งแต่ Facebook เปิดตัว เราจะขอชวนมาดู 4 เรื่องราวที่ถูกเขียนขึ้นโดย โจ ไทดี นักข่าวไซเบอร์จาก BBC ว่าเจ้าแพลตฟอร์ม Facebook นั้นเข้ามาเปลี่ยนโลกเราไปโดยสิ้นเชิงอย่างไร?

 

ผู้พลิกโฉมวงการโซเชียลมีเดีย

 

แม้ Facebook จะไม่ใช่โซเชียลมีเดียรายแรก แต่แพลตฟอร์มของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีตั้งแต่เปิดตัวในปี 2004 โดยในเวลาไม่ถึง 12 เดือน Facebook สามารถกอบโกยผู้ใช้งานมาได้ถึง 1 ล้านบัญชี จนในที่สุดก็สามารถแซงหนึ่งในคู่แข่งที่เกิดขึ้นมาก่อนอย่าง MySpace ได้สำเร็จในระยะเวลา 4 ปี ด้วยนวัตกรรมอันหนึ่งที่ทำให้การ ‘แท็ก’ คนอื่นๆ บนรูปภาพเกิดขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นฟีเจอร์ที่ใหม่และถูกใจชีวิตวัยรุ่น ณ ตอนนั้น

 

เพียงแค่ในปี 2012 แพลตฟอร์มก็มียอดผู้ใช้งานต่อเดือนเกิน 1 พันล้านรายไปแล้ว และตัวเลขในปัจจุบันยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการสะดุดระหว่างทางอยู่บ้างก็ตาม

 

ด้วยสถานะที่ได้ชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่นิยมมากที่สุดในโลก บางคนมองว่า Facebook คือเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทรงพลัง แต่กลุ่มที่มองต่างก็เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนเสพติด จนอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อโครงสร้างทางสังคมได้

 

ผู้ที่ทั้งสร้างคุณค่าและบั่นทอนความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล

 

ในปัจจุบัน Meta เป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรจากการเก็บบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลของเราได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในฐานะบริษัทที่ทำรายได้จากการโฆษณาขนาดใหญ่ ผ่านบริการการเข้าถึงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำผ่านข้อมูลของผู้ใช้งาน Meta มีรายได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2023 เป็นเม็ดเงินมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มอย่าง Facebook ก็เผยอีกด้านหนึ่งให้เห็นว่า ธุรกิจการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานนั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะมีหลายกรณีในอดีตนับตั้งแต่แพลตฟอร์มเปิดตัว ที่ข้อมูลเหล่านี้มิได้ถูกจัดเก็บไว้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

 

เคสหนึ่งที่ค่อนข้างโด่งดังเกิดขึ้นตอนปี 2014 เมื่อ Facebook ถูกเชื่อมโยงกับข้อกล่าวหาที่มีบริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งานแพลตฟอร์มกว่า 50 ล้านรายไปทำแคมเปญหาเสียงทางการเมืองในสหรัฐฯ ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทต้องชำระค่าปรับจำนวน 725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเยียวยาความเสียหายต่อการถูกละเมิดข้อมูล

 

นอกจากนี้ในปี 2022 Facebook ก็ต้องเจอกับค่าปรับมูลค่า 265 ล้านยูโรอีกครั้ง เนื่องจากปล่อยให้มีเหตุการณ์ที่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานถูกดึงออกไปจากแพลตฟอร์มได้

 

ผู้ที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นสังเวียนทางการเมือง

 

สาเหตุที่ Facebook กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่ต้องการของผู้ที่ทำแคมเปญการเมืองทั่วโลก เพราะบริการโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด เช่น เมื่อตอนปี 2020 ข้อมูลงานวิจัยจาก Statista เผยว่า ทีมงานของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทุ่มเงินถึง 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใส่เข้าไปในการยิงโฆษณาบน Facebook 

 

มากไปกว่านั้น การเมืองระดับรากหญ้ายังถูกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เพราะมันกลายเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ใช้งานจากหลากหลายพื้นที่ในหลายประเทศ สามารถมารวมตัวและวางแผนความเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกได้

 

ทว่าการใช้ Facebook เพื่อดำเนินความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ก็ตกเป็นสิ่งที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบที่ตามมาในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะในปี 2018 ทางแพลตฟอร์มออกมายอมรับถึงความล้มเหลวที่ตนไม่สามารถป้องกันเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาได้ ซึ่งอัลกอริทึมของ Facebook ที่ให้ความสำคัญกับ ‘กำไร’ ก็เป็นชนวนที่นำมาสู่ความรุนแรงดังกล่าว

 

ผู้ที่ให้กำเนิดอาณาจักร Meta ผู้ครองตลาด

 

ด้วยผลสำเร็จที่ท่วมท้นของ Facebook มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้สร้างอาณาจักรโซเชียลมีเดียที่ทรงพลัง ทั้งในมิติของจำนวนและอิทธิพลต่อผู้ใช้งาน

 

บริษัทอย่าง WhatsApp, Instagram และ Oculus ต่างถูกซื้อให้เข้ามาอยู่ในเครือเดียวกับ Facebook ที่หลังจากปี 2021 ก็เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการภายใต้นาม Meta ซึ่งมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มอันใดอันหนึ่งประมาณ 3 พันล้านคนในแต่ละวัน

 

ถึงแม้ว่า Meta จะไม่สามารถเข้าซื้อโซเชียลมีเดียได้ทุกรูปแบบ แต่การออกผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับคู่แข่งก็จำเป็นต้องมีออกมาให้ใช้เพื่อรักษาตำแหน่ง ‘เจ้าตลาด’ เอาไว้ให้ได้

 

ฟีเจอร์ Stories ที่มีอายุการมองเห็น ก็เป็นอะไรที่คล้ายกันกับของ Snapchat หรือ Reels ก็เป็นการโต้กลับของแพลตฟอร์มต่อการแข่งขันในฝั่งของ TikTok รวมถึง Threads ก็เป็นกลยุทธ์ที่ดูแล้วจะคล้ายกับ X (Twitter) ค่อนข้างมาก

 

สำหรับ 20 ปีที่ผ่านมา Facebook ได้เฉิดฉายและเติบโตมาอย่างต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์ของซีอีโอ แต่ท่ามกลางอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจะรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ต่ออีก 20 ปี ก็ดูแล้วจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อย่างที่เราเห็นว่าทิศทางของบริษัทก็เริ่มจะหันเหออกจาก Facebook มาสู่เมตาเวิร์สมากขึ้น รวมทั้งปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย

 

ดังนั้นต่อจากนี้ก็จะเป็นหน้าที่ของเวลาในการพิสูจน์ว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และอาณาจักรของเขา จะรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ไปได้อีกนานเท่าไร

 

ภาพ: Justin Sullivan / Getty Images

อ้างอิง:

The post 2 ทศวรรษของ Facebook กับ 4 เรื่องราวที่โซเชียลมีเดียตัวนี้เข้ามาเปลี่ยนโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซีอีโอกลุ่มบริษัทเทคยิ้มออก แต่พนักงานบางคนบอกไม่แฟร์ ราคาหุ้นพุ่ง แต่ทำไมบริษัทยังมุ่งลดคน? https://thestandard.co/ceo-smile-employee-unfair-reach-high-stock/ Sun, 28 Jan 2024 05:32:14 +0000 https://thestandard.co/?p=893112 บริษัทเทคโนโลยี

ดัชนี S&P 500 ขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลอีกครั้งใ […]

The post ซีอีโอกลุ่มบริษัทเทคยิ้มออก แต่พนักงานบางคนบอกไม่แฟร์ ราคาหุ้นพุ่ง แต่ทำไมบริษัทยังมุ่งลดคน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
บริษัทเทคโนโลยี

ดัชนี S&P 500 ขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลอีกครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา และดัชนี Nasdaq ก็ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

 

หุ้น Alphabet กับ Meta ต่างสร้างมูลค่าสูงสุดใหม่ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา และ Microsoft ก็ปิดสัปดาห์ไปด้วยมูลค่าตลาด 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นเบอร์ 1 แซงหน้า Apple เป็นที่เรียบร้อย

 

ท่ามกลางความคึกคักของราคาหุ้นบริษัทบิ๊กเทค แต่อุตสาหกรรมเทคโนโลยียังคงเดินหน้าปลดคนอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Layoffs.fyi รายงานว่าบริษัทเทคโนโลยี 85 แห่งได้ปลดคนงานออกไปแล้ว 23,670 ชีวิต

 

หากไล่เหตุการณ์มาตั้งแต่ต้นเดือนแรกของปี 2024 บริษัทอย่าง Google และ Amazon ออกมายืนยันว่าจำเป็นต้องลดจำนวนคนหลายร้อยตำแหน่งในองค์กร แต่สถานการณ์เริ่มหนักขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ SAP บริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลก แถลงเกี่ยวกับปรับโครงสร้างใหม่ในบริษัทที่จะกระทบกับพนักงาน 8,000 คน รวมทั้ง Microsoft, eBay และ Brex ที่รวมกันแล้วปลดคนออกไปหลายพันเช่นกัน

 

ถึงแม้ว่าตัวเลขคนตกงานของสายเทคโนโลยีจะดูสูงในเดือนมกราคมปีนี้ แต่นั่นก็เทียบไม่ได้กับเดือนเดียวกันของปี 2023 ที่งานเกือบ 90,000 ตำแหน่งถูกขจัดออกไป ซึ่งเป็นยอดสูงสุดของปีนั้น คำถามต่อมาก็คือ ทำไมเดือนมกราคมถึงมีตัวเลขที่สูง?

 

หนึ่งในคำอธิบายของคำถามดังกล่าวคือ บริษัทต่างๆ เริ่มจะต้องจัดแจงงบประมาณสำหรับปีข้างหน้า และพวกเขาตระหนักได้ว่าองค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยทรัพยากรที่น้อยกว่า หรือที่คนนิยมพูดกันว่า “Less for more” ซึ่งที่ผ่านมาในปี 2023 กลุ่มนักลงทุนมักจะถูกใจกับมาตรการลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่แม้เศรษฐกิจดีขึ้น ‘ความประหยัด’ ของบริษัทก็ยังอยู่เหมือนเดิม

 

อีกทั้งในสัปดาห์หน้า (29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์) จะถึงคิวการรายงานผลประกอบการไตรมาสก่อนหน้าของเหล่าบริษัทอย่าง Alphabet, Amazon, Apple และ Microsoft ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดทิศทางความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อบริษัทในอนาคต ทำให้ธุรกิจต้องหาทางเตรียมตัว

 

การลดคนเพื่อเพิ่มโฟกัสหรือผลตอบแทน?

 

ข้อสงสัยที่ติดใจแรงงานหลายคนทั่วโลกก็คงหนีไม่พ้นประเด็นความจำเป็นของแรงงานมนุษย์ในอนาคตที่เทคโนโลยีฉลาดเทียบเท่าหรือมากกว่าพวกเรา ซึ่งในตอนนี้เรากำลังเห็นสัญญาณของคำตอบได้จากเหตุการณ์ที่เกิดกับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่ปรับลดคนและนำเงินไปลงทุนพัฒนา AI มากขึ้น

 

“บริษัทเทคโนโลยีพวกนี้กำลังเดินหน้าปลดคนงานในส่วนที่ไม่สามารถทำเงินได้อย่างคุ้มค่าให้กับบริษัทได้ เพราะพวกเขาต้องการจะปรับโครงสร้างธุรกิจให้สอดรับกับการมาของ AI” Art Zeile ซีอีโอ DHI Group กล่าว

 

สิ่งที่น่าสนใจของการปลดคนออกระลอกนี้คือ แม้ว่าเหล่าผู้บริหารของแต่ละองค์กรจะมีวิธีการเลือกใช้คำพูดที่ต่างกันในการให้เหตุผลอธิบายการปรับโครงสร้างบริษัท แต่หนึ่งใจความสำคัญที่เหมือนกันในแทบทุกที่ก็คือพวกเขาต้องการ ‘โฟกัส’ ที่มากขึ้น

 

Phil Spencer ซีอีโอของแผนกเกมมิ่งประจำ Microsoft กล่าวว่า การตัดสินใจลดคนเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดส่วนงานที่ ‘คาบเกี่ยวซ้ำซ้อน’ กัน หรือ Sundar Pichai ที่ระบุในจดหมายกับพนักงานว่า “เรามีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ในปีนี้ และจำเป็นต้องทำในสิ่งที่ยากลำบากเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายให้ได้” และเช่นเดียวกันกับ Bob Carrigan ซีอีโอ Audible ที่พูดว่า “Getting leaner and more efficient” ซึ่งก็หมายความว่าคนจะมีจำนวนลดลงแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อให้บริษัทเดินหน้าต่อได้

 

นอกจากนี้ CNBC ยังได้สัมภาษณ์ซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Publicis Sapient ผู้ให้ข้อสังเกตที่น่าชวนคิดว่า การที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งตัดสินใจปลดคนออกนั้นเป็นเพราะพวกเขาได้เห็นถึงผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ Salesforce และ Meta ในปีก่อน หลังจากที่ทั้งสองบริษัทดำเนินมาตรการลดต้นทุน

 

Salesforce ตัดสินใจลดคน 10% เมื่อเดือนมกราคมปี 2023 และราคาหุ้นพุ่งขึ้นมาเกือบ 2 เท่าหลังจากสิ้นสุดปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนหุ้นที่มากที่สุดของบริษัทตั้งแต่ปี 2009 

 

Meta เองก็แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์อันน่าทึ่ง หลังจากปลดคนออกไปกว่า 20,000 ตำแหน่งในปี 2023 เพราะหุ้นของบริษัทถูกขนานนามว่าเป็น ‘ปีที่ดีที่สุด’ นับตั้งแต่เปิดตัวในดัชนี Nasdaq เมื่อปี 2012 

 

การตัดสินใจของทั้งสองบริษัทเทคโนโลยีนี้ในคำพูดของซีอีโอ Publicis Sapient แสดงให้เห็นว่าเมื่อพวกเขาทำสิ่งที่จำเป็นและผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ มันแสดงให้เห็นว่า ‘การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด’ ในเรื่องที่จำเป็นคือสิ่งที่อาจนำมาสู่ประโยชน์แก่ตัวบริษัท

 

แม้ว่าการลดคนจะไม่ได้การันตีว่าหุ้นจะพุ่งขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จในเชิงผลตอบแทนราคาหุ้นที่ท่วมท้นของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วผ่าน Salesforce และ Meta ก็ยากเกินที่ใครจะมองข้ามโอกาสนี้ไปได้

 

อ้างอิง: 

The post ซีอีโอกลุ่มบริษัทเทคยิ้มออก แต่พนักงานบางคนบอกไม่แฟร์ ราคาหุ้นพุ่ง แต่ทำไมบริษัทยังมุ่งลดคน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปเหตุการณ์เลย์ออฟของวงการเทคในปี 2023 ที่ (มีแนวโน้ม) ลากยาวต่อในปี 2024 https://thestandard.co/technology-companies-layoffs-2023/ Tue, 16 Jan 2024 09:24:08 +0000 https://thestandard.co/?p=888376 เลย์ออฟ

การลดจำนวนพนักงานของวงการเทคโนโลยีทั่วโลกยังคงเดินหน้าอ […]

The post สรุปเหตุการณ์เลย์ออฟของวงการเทคในปี 2023 ที่ (มีแนวโน้ม) ลากยาวต่อในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลย์ออฟ

การลดจำนวนพนักงานของวงการเทคโนโลยีทั่วโลกยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องจากปี 2023 มาสู่ปี 2024 โดยในปีที่แล้วมีตำแหน่งงานสายเทคที่ถูกปลดออกไปแล้วกว่า 262,582 คนจากบริษัทมากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก ตามข้อมูลที่รวบรวมมาของเว็บไซต์ Layoffs.fyi

 

89,554 คือตัวเลขของพนักงานที่ถูกให้ออกจากบริษัทในเดือนมกราคม 2023 เพียงเดือนเดียว โดยบริษัทที่ดำเนินการลดคนนั้นประกอบด้วยหลายบริษัทดัง ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Amazon, Meta รวมไปถึงสตาร์ทอัพอีกหลายราย และถึงแม้ว่าการลดคนจะชะลอลงในช่วงกลางปี แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ในจำนวนที่ค่อนข้างสูงอยู่ดี

 

สำหรับปี 2024 ข้อมูลในครึ่งเดือนแรกเผยให้เห็นว่ามีคนทำงานสายเทคถูกตัดสินให้ออกจากงานแล้วสูงกว่า 7,500 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่า 5 เดือนสุดท้ายของปี 2023 ทั้งๆ ที่ยังเหลืออีกครึ่งทางกว่าจะสิ้นสุดเดือนมกราคม

 

ณ ปัจจุบัน มีบริษัทชื่อดังหลายแห่งที่ต้องยอมจำนนกับการตัดสินใจที่ยากลำบากนี้ โดยเริ่มจาก Audible บริษัทในเครือ Amazon ตัดสินใจปลดคนออก 100 ตำแหน่ง เนื่องจากเหตุผล ‘สถานการณ์ธุรกิจมีความท้าทายมากขึ้น’ ตามที่ได้ระบุในจดหมายแจ้งกับพนักงาน

 

นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่ต้องลดคนในแผนก Google Assistant และทีมที่ดูแล Pixels, Nest และ Fitbit รวมกัน 1,000 คน และยังมี Amazon ที่ปลดคนออกจากหลายทีมในจำนวนหลายร้อยคน รวมถึง Pixar ที่พนักงานทุกๆ 5 คนจะมี 1 คนที่จะถูกเลือกให้ไม่ได้อยู่ต่อกับบริษัท

 

เลย์ออฟ

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

The post สรุปเหตุการณ์เลย์ออฟของวงการเทคในปี 2023 ที่ (มีแนวโน้ม) ลากยาวต่อในปี 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปีแห่งปรากฏการณ์ Lay-off ของบริษัทเทคระดับโลก! ปี 2023 Google-Microsoft-Meta-Amazon ทยอยเลิกจ้างพนักงานถึง 1 แสนคน กำลังบอกอะไร? https://thestandard.co/over-100000-workers-were-laid-off-from-tech-jobs/ Sun, 24 Dec 2023 10:09:28 +0000 https://thestandard.co/?p=880434

ตลอดปี 2023 จนถึงขณะนี้ พนักงานมากกว่า 1 แสนคนในบริษัทเ […]

The post ปีแห่งปรากฏการณ์ Lay-off ของบริษัทเทคระดับโลก! ปี 2023 Google-Microsoft-Meta-Amazon ทยอยเลิกจ้างพนักงานถึง 1 แสนคน กำลังบอกอะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลอดปี 2023 จนถึงขณะนี้ พนักงานมากกว่า 1 แสนคนในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกจากสหรัฐฯ ถูกเลิกจ้างและทยอยลดจำนวนพนักงานไม่หยุด แม้ว่าพนักงานเหล่านี้จะได้รับเงินชดเชย บางส่วนจำใจออกไปหางานนอกสายเทคโนโลยีและพักร้อนยาวๆ จนกว่าจะได้งานใหม่

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณร้ายของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกหรือไม่ แล้วสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร?

 

สำนักข่าว CNBC รายงานว่าภายในปี 2023 ปีเดียว บริษัทเทคระดับโลกเลิกจ้างพนักงานกว่า 1 แสนคน เริ่มจากช่วงต้นปี Google ประกาศแผนการเลิกจ้างพนักงาน 12,000 คน และในเดือนเดียวกัน Microsoft ก็ประกาศปลดพนักงาน 10,000 คน ตามด้วย Meta เริ่มปลดและลดพนักงานลงหลายพันตำแหน่งถึง 4 ครั้ง

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แม้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างบางคนได้งานใหม่ทันทีในบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็กและบริษัทอินเทอร์เน็ต หรือเปลี่ยนสายการทำงานต่อไปนอกเหนือจากสายเทคโนโลยี โดยหันไปทำงานด้านการให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพ การเงิน และอุตสาหกรรมอื่นๆ

 

ระหว่างการมองหางานใหม่ ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยได้นำเงินออมหรือรายได้จากแหล่งอื่นๆ ไปใช้สำหรับการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูใจจากความเครียด

 

 

โดย Linkedin เว็บไซต์หางานทั่วโลก สรุปปรากฏการณ์การปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีในช่วงปีนี้จาก Trueup.io ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับติดตามการจ้างงานด้านเทคโนโลยี รายงานว่า ปีนี้พนักงานในอุตสาหกรรมเทคตกงานประมาณ 106,950 คน ตั้งแต่ต้นปี และเชื่อว่ายังจะมีการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีกจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่าง Google, Microsoft, Amazon, Meta, X (Twitter), Salesforce, Cisco และ Snap

 

สาเหตุมาจากอะไร?

  1. การคาดการณ์ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดขึ้น

ผู้นำของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เตรียมพร้อมรับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

  1. การจ้างงานจำนวนมหาศาลในช่วงโควิด

การใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงพีคของการระบาดใหญ่ เพราะผู้คนหันไปใช้ออนไลน์ระหว่างกักตัว ทั้งสั่งอาหาร สั่งสินค้าออนไลน์ และสตรีมรายการโปรดโดยไม่ต้องออกจากบ้าน ทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีได้รับผลกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลมาจากกิจกรรมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น จึงกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานอย่างมหาศาลเพื่อให้พอรองรับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น Meta เพิ่มจำนวนพนักงานเกือบ 2 เท่าในช่วงโควิด ทำให้ในปีนี้ต้องออกมาประกาศเลิกจ้างพนักงานเกือบ 11,000 คน เพราะผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว

 

  1. แรงกดดันจากนักลงทุน

นักลงทุนต้องการให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายเพราะรายได้ที่ลดลงและชะลอตัว โดย Meta และ Microsoft ต่างได้รับแรงกดดันหนักจากนักลงทุนเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ

 

  1. การเลิกจ้างอาจเพิ่มผลกำไรที่มากกว่ารับคนเพิ่ม

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าการเลิกจ้างพนักงานจะเป็นยาวิเศษในการตอบแทนผลกำไรบริษัทได้ แต่ปีนี้การเลิกจ้างกลับกลายมาเป็น ‘กลยุทธ์ระยะสั้น’ ที่พาองค์กรสร้างกำไรได้ ดังนั้นบริษัทยังคงใช้กลยุทธ์การเลิกจ้างเป็นข้ออ้างในการลดต้นทุนและทำกำไร

 

อ้างอิง:

The post ปีแห่งปรากฏการณ์ Lay-off ของบริษัทเทคระดับโลก! ปี 2023 Google-Microsoft-Meta-Amazon ทยอยเลิกจ้างพนักงานถึง 1 แสนคน กำลังบอกอะไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>