Parenting – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 11 Oct 2021 03:42:42 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 Parental Favoritism | ทำไมพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน? แล้วมันโอเคไหม https://thestandard.co/podcast/knd740/ Fri, 17 Sep 2021 11:00:35 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=537755 Parental Favoritism

พ่อแม่ก็ควรจะรักลูกเท่ากันสิ แต่ทำไมแม่ดูรักพี่ชายจังเล […]

The post Parental Favoritism | ทำไมพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน? แล้วมันโอเคไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
Parental Favoritism

พ่อแม่ก็ควรจะรักลูกเท่ากันสิ แต่ทำไมแม่ดูรักพี่ชายจังเลย ส่วนพ่อก็ดูจะดูแล ถนุถนอมน้องสาวเป็นพิเศษ แล้วทำไมไม่มีใครสนใจเราบ้างเลย! 

 

แม้ว่าเราจะพยายามทำตัวเป็นที่รักและเป็นลูกที่ดีมากแค่ไหนก็ตาม พ่อแม่ก็ยังเอียงเอนความสนใจไปที่พี่น้องเรามากกว่า 

 

คำนี้ดีเอพิโสดนี้จะทำให้คุณเข้าใจพ่อแม่มากขึ้นและอาจมองความรักความเอาใจใส่ที่พ่อแม่มีให้เราต่างไปจากเดิมก็ได้ 

 

ถ้ารู้สึกว่าคุณเป็นลูกที่พ่อแม่ไม่รักหรือเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ มาร่วมแชร์ประสบการณ์ของคุณ และบอกเล่าว่าคุณเห็นด้วยหรือเห็นต่างอย่างไรได้เลยที่คอมเมนต์ด้านล่าง!!! 

 

#รักลูกไม่เท่ากัน #พ่อแม่ไม่รัก #ลำเอียง

 

ลิงก์ช่อง KND STUDIO: http://bit.ly/kndstudio

 

ลิงก์เข้ากลุ่ม ‘ภาษาดี ชีวิตดี โดยคำนี้ดีพอดแคสต์’: https://www.facebook.com/groups/kndgroup/

 

Sources

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ คำนี้ดี

ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

joox

 


 

Credits

 

The Host ภูมิชาย บุญสินสุข

Show Creator & Producer ภูมิชาย บุญสินสุข

Creative อัญชิษฐา ล้อมธรรมพินิจ 

Video Editor อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค 

Sound Editor เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ 

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ 

Cover Design พันธิตรา หอมเดชนะกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster อารยา ปานศรี

Social Media Admin วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์  

Archive Officer ชริน จำปาวัน

Music westonemusic.com 

The post Parental Favoritism | ทำไมพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน? แล้วมันโอเคไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>
รวมข้อคิดจาก BALANCED MAMA SEASON 1 https://thestandard.co/podcast/balancedmama16/ Wed, 04 Jul 2018 17:01:43 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=104330

รวมข้อคิดดีๆ จากแขกรับเชิญทั้ง 15 คน ในรายการ Balanced […]

The post รวมข้อคิดจาก BALANCED MAMA SEASON 1 appeared first on THE STANDARD.

]]>

รวมข้อคิดดีๆ จากแขกรับเชิญทั้ง 15 คน ในรายการ Balanced Mama Season 1

 


 

“ตอนเลี้ยงลูกคนแรก นุ้ยโทรมเป็นซอมบี้เลย เพราะเหนื่อยกับการทุ่มเทให้ลูกจนไม่มีเวลาของตัวเอง ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่อยากคุยกับใคร กดดันหนักมากจนถึงขั้นต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะอยู่กับลูกแล้วเริ่มไม่มีความสุข กลัวเอามวลไม่ดีเหล่านี้ไปใส่ตัวเขา ซึ่งคุณหมอให้คำตอบเรื่องนี้กับเราว่า ทุกอย่างเกิดจากตัวนุ้ยเองที่ไปสร้างกรอบขึ้นมา ทำให้กดดัน ดังนั้นเราควรรู้จักปล่อยวางบ้าง พักผ่อนบ้าง ลองฝากลูกให้กับคนที่ไว้ใจ หรือลองให้คุณพ่อได้ใช้เวลาร่วมกับลูก” – นุ้ย-สุจิรา อรุณพิพัฒน์

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“หนิงค่อนข้างเป็นห่วงเรื่องการเปรียบเทียบกันของลูกแฝดสี่ ทั้งที่โรงเรียนและสังคมข้างนอก อาจมีคนอื่นมาพูดกับพวกเขาโดยไม่คิดอะไรว่า คนไหนน่ารักที่สุด คนไหนเก่งที่สุด หรือคนนี้ดีกว่าคนนี้ตรงไหนบ้าง หนิงเลยเน้นให้ความเป็นกลางกับลูก และมักพูดเสมอว่า แต่ละคนก็มีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้นไม่มีใครดีกว่าใครแน่นอน” – หนิง-คนึงนิจ มฆวัตสกุล

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

พ่อแม่หลายคนรับไม่ได้ที่ลูกเป็นเพศหลากหลาย อยากให้ลูกกลับไปเป็นเพศสภาพที่ควรเป็น เวลาเจอเคสแบบนี้ หมอมักพยายามสื่อสารให้เขาคิดได้ว่า ตัวเองเริ่มรักลูกตั้งแต่เมื่อไร มันเริ่มตั้งแต่วันที่รู้ว่าเขาจะมาเกิดเป็นลูกเรา โดยยังไม่รู้เพศด้วยซ้ำ แต่ทุกวันนี้ที่เป็นทุกข์กับการรักลูก เพราะความคาดหวังล้วนๆ และถ้าหากพ่อแม่กลัวว่าลูกจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ขอให้ลุกขึ้นมาเป็นคนแรกที่ยอมรับลูกให้ได้ก่อน เพราะพลังจากคนใกล้ชิดจะทำให้ลูกมีพลังที่จะฝ่าฟันอุปสรรค และความไม่เท่าเทียมทางสังคมได้” – คุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“พ่อแม่หลายคนคิดว่าตัวเองสนิทกับลูก แต่จริงๆ สนิทเฉพาะเรื่องที่ดีเท่านั้น เรื่องไม่ดีไม่เคยรู้ ดังนั้นถ้าหากพ่อแม่ต้องการให้ลูกแบ่งปันทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี ลองปรึกษาเรื่องที่ตัวเองไม่สบายใจให้ลูกฟัง เพื่อให้เขาเรียนรู้เรื่องของการแบ่งปันความสุขและความทุกข์กับพ่อแม่ได้” – จิตติมา ภาณุเตชะ

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“ช่วงเลี้ยงลูกคนแรก ฮาน่าไม่ออกจากบ้านเลย 3 เดือน ให้เวลากับลูกอย่างเดียวจนเครียด สุดท้ายแม่สามีมาเตือนสติว่า อยากให้เราแบ่งเวลามาใส่ใจดูแลสามีด้วย เพราะเด็กกินอิ่มนอนหลับ เขาก็เพียงพอแล้ว แต่คุณฮิวโก้ยังต้องการเราเหมือนเดิม ชีวิตคู่ยังไงก็ต้องดำเนินต่อไป เราเลยหาทริปไปด้วยกันทุกปี เพื่อให้เวลากันและกันมากยิ่งขึ้น” – ฮาน่า-ทัศนาวลัย จักรพงษ์

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“บทบาทของผมส่วนใหญ่คือ การดูแลความรู้สึกของภรรยา เพื่อให้ทุกอย่างในบ้านลงตัว เพราะยังไงเขารู้เรื่องลูกมากกว่าผมอยู่แล้ว ผมเลยมีทำหน้าที่เล่นกับลูก ให้เวลาส่วนตัวภรรยาไปพักผ่อนบ้าง อาบน้ำบ้าง นวดผ่อนคลายบ้าง เพื่อทำให้อารมณ์ของเธอดีขึ้น” – บอย-ตรัย ภูมิรัตน

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“หนิงมองว่า สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตคู่คือ มิตรภาพที่มีให้กัน เราต้องมีเพื่อนคู่คิด ดังนั้นเป้าหมายในการอยู่ร่วมกันของเราคือ เราจะอยู่ด้วยกันไปจนวันตาย สั้นๆ ง่ายๆ แค่นี้ แต่สิ่งที่ต้องทำคือต้องซื่อสัตย์ ดูแลซึ่งกันและกันก่อนทำอะไรต้องคิดให้ดีเพื่อรักษาชีวิตคู่ และวันนี้เรามีลูก ลูกคือความสุขของเรา เราจึงต้องดูแลความรักเพื่อให้เป็นสถาบันครอบครัวที่แข็งแกร่ง และให้ลูกอยู่กับเราแล้วมีความสุข” – หนิง-ศรัยฉัตร กุญชร ณ อยุธยา

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อชีวิตคู่ แต่ในช่วงที่ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเดือนหลังๆ อยากให้สามีนั้นควรที่จะเข้าใจถึงความลำบาก เห็นอกเห็นใจ อดทน และยังคงซื่อสัตย์ต่อกัน อย่ามองแต่ความสุขของตัวเอง เพราะการที่จะได้เป็นพ่อแม่ของเด็กคนหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นในการเสียสละอีกมากมาย” – คุณหมอดิว-วรวัธ บุญญาจันทร์

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“พี่อ้อยเคยเป็นพิธีกรงานแต่งงานของชายหญิงคู่หนึ่งที่เรารู้มาตลอดว่าพวกเขาไม่มีทางได้แต่งงานกันแน่ๆ เพราะครอบครัวฝ่ายชายทุกคนไม่เอาผู้หญิงคนนี้เลย ด้วยปัญหาต่างๆ นานามากมาย แต่สุดท้ายวันแต่งงานก็มาถึง ฉากประทับใจที่ทำให้หลายคนต้องเสียน้ำตาในวันนั้นคือ ตอนที่เจ้าสาวยืนอยู่ข้างล่าง บนเวทีมีผ้าม่านผืนใหญ่ปิดอยู่ เจ้าบ่าวค่อยๆ เดินเอาช่อดอกไม้มารับเจ้าสาวขึ้นมายืนด้วยกัน ม่านค่อยๆ เปิดออกมาเป็นครอบครัวเจ้าบ่าวที่อยู่กันพร้อมหน้า ทุกคนกอดกัน และคุณพ่อก็พูดขึ้นว่า พ่อดูหนูมานาน ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเป็นสมาชิกในครอบครัว พี่อ้อยน้ำตาไหล เพราะเราเห็นความพยายามของคู่นี้มานาน เรื่องนี้ต้องชื่นชมคนกลางที่พิสูจน์ให้ครอบครัวเห็นว่าถึงมีความรัก แต่ครอบครัวก็ยังสำคัญสำหรับเขาเสมอ” – ดีเจพี่อ้อย-นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“การที่ชายหญิงคู่หนึ่งตัดสินใจยุติความเป็นสามีภรรยา บางทีลูกเข้าใจได้นะคะ ถ้าเรามีการสื่อสารอย่างถูกวิธี และทำให้เขาสัมผัสได้ว่า ถึงแม้พ่อแม่จะแยกทางกัน แต่พ่อกับแม่ยังรักเขา เอาใจใส่เขา ยังรู้สึกถึงคำว่าครอบครัวอยู่ ถึงแม้ว่าพ่อกับแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้วก็ตาม เพราะหลายครั้ง การแยกกันอยู่อาจทำให้ทุกคนมีความสุขมากกว่าก็เป็นได้” – จรีย์ ศรีสวัสดิ์

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“ไอด้าไม่อยากให้ผู้หญิงที่ต้องแยกทางกับสามีคิดว่าตัวเองจะอยู่ต่อไปไม่ได้ เชื่อเถอะว่า ทุกคนแข็งแกร่งพอที่จะเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง เมื่อไรที่รู้สึกอ่อนแอสุดๆ แค่ลองหันไปมองลูก มันจะมีแรงฮึดขึ้นมาอีกครั้งเอง” – ไอด้า-ไอรดา ศิริวุฒิ

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“ถ้าเราอยากทำธุรกิจที่มาจากความเป็นแม่ หรืออยากทำงานที่ได้ใช้เวลากับลูกไปด้วย ต้องถามตัวเองก่อนเลยว่า เราสามารถอยู่กับสิ่งนั้นได้ขนาดไหน อย่างตุ๊กสร้างแบรนด์ Little Monster ทุกลมหายใจเข้าออกของเรากลายเป็นสิ่งนี้ แม้แต่วันที่เราเหนื่อย เราก็ยังทำมันได้ เช่น อาจต้องรอลูกหลับ แล้วค่อยมาทำงานตรงนี้ ไม่ว่าจะแตกไลน์ธุรกิจไปเป็นหนังสือทำอาหาร ขายเสื้อผ้าเด็ก หรือธุรกิจใดๆ เราต้องใช้เวลากับการทำการตลาดและรีเสิร์ชข้อมูลต่างๆ การสร้างแบรนด์และดูแลมันอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ถ้ามั่นใจว่าทุ่มเทได้ก็ลงมือทำได้เลย” – ตุ๊ก-นิรัตน์ชญา การุณวงศ์วัฒน์

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

“ทุกวันนี้พ่อแม่มีความเครียดกับการเลี้ยงลูกจนบางครั้งกลายเป็นปัญหา วิตกกังวล หรือเป็นโรคซึมเศร้าไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนที่มีความคาดหวังกับลูกสูง พยายามปั้นลูกให้เป็นดั่งใจ จนทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจะมีความสุขกับตัวเองให้ได้ก่อน อย่าคิดว่าลูกคือทุกอย่าง เมื่อไรก็ตามที่เราอยู่กับลูกแล้วรู้สึกเหนื่อย นั่นหมายความว่า เราควรที่จะหยุดพัก และหันกลับมาจัดการชีวิตของตัวเองได้แล้ว” – คุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร

 

ฟังตอนเต็มได้ที่นี่

 

 

 


 

Credits

The Host ซินดี้ บิชอพ

 

Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post รวมข้อคิดจาก BALANCED MAMA SEASON 1 appeared first on THE STANDARD.

]]>
บ่นให้น้อย ฟังให้เยอะ กับวิธีเลี้ยงลูกวัยรุ่นให้ไม่ดูจุ้นจ้าน https://thestandard.co/podcast/balancedmama15/ Wed, 27 Jun 2018 17:01:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=101677

ซินดี้ สิรินยา คุยกับคุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแ […]

The post บ่นให้น้อย ฟังให้เยอะ กับวิธีเลี้ยงลูกวัยรุ่นให้ไม่ดูจุ้นจ้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้ สิรินยา คุยกับคุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น และเจ้าของเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้านในประเด็นเกี่ยวกับการบาลานซ์ตัวเองของคุณแม่ที่มีลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นในรายการ Balanced Mama Podcast

 


 

พัฒนาการจาก ‘วัยเด็ก’ สู่ ‘วัยรุ่น’
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนคือเด็กผู้ชายจะมีขนาดอัณฑะใหญ่ขึ้น และเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีเต้านม ส่วนพัฒนาด้านสมองและจิตใจจะเป็นไปตามวุฒิภาวะของแต่ละวัย แต่โดยส่วนใหญ่ทางการแพทย์มักนับว่าเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไปถือว่าเข้าสู่ช่วงของการเป็นวัยรุ่นแล้ว แต่อาจมีบางคนที่เจริญเติบโตเร็วกว่าเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารการกิน รวมถึงกรรมพันธุ์จากครอบครัวอีกด้วย

 

โดยเด็กวัยนี้มีความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง 4 ด้านคือ

1. เริ่มต้องการความเป็นอิสระ 

ผู้ปกครองหลายคนอาจเกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมลูกเริ่มไม่ติดพ่อแม่เหมือนแต่ก่อน เช่น ไม่ยอมให้หอมแก้มในที่สาธารณะ ไม่ค่อยอยากไปไหนมาไหนด้วย หรือติดเพื่อนมากกว่าครอบครัว แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพัฒนาการตามวัยที่เด็กจะต้องพัฒนาตัวเองจากความอิสระโดยปราศจากพ่อแม่ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว


2. สนใจรูปลักษณ์มากขึ้น เด็กเริ่มให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตาและสนใจแต่งตัวตามแฟชั่นมากขึ้น


3. เริ่มสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและสังคมรอบข้าง เป็นวัยที่เพื่อนมีความสำคัญสูง พ่อแม่อาจห่วง กลัวลูกติดเพื่อนมากเกินไป แต่หมอขอแนะนำว่าเด็กที่ติดเพื่อนไม่น่าเป็นห่วงเท่าเด็กที่ไม่มีเพื่อน เพราะในวัยนี้เพื่อนมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างความมั่นใจ และทำให้เขารู้จักการพัฒนาอัตลักษณ์ตนเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม


4. ค้นหาตัวตน เด็กเริ่มค้นหาว่าตัวเองคือใคร ถนัดอะไร สนใจเรื่องไหน มีความเชื่อหรือค่านิยมต่อสิ่งต่างๆ ในสังคมอย่างไร

 

ทั้งนี้วัยรุ่นแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ วัยรุ่นตอนต้น, วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย แต่วัยที่พาความปวดหัวมาให้พ่อแม่มากที่สุดคือวัยรุ่นตอนกลาง อายุระหว่าง 14-17 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ติดเพื่อนมาก เป็นตัวของตัวเองสูง และไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่ขอให้พยายามอดทนทำความเข้าใจ เพราะเมื่อไรที่เริ่มเข้าสู่วัย 18 ปี เขาจะกลับมารับฟังมากขึ้นตามกลไกการทำงานของสมอง

สอนลูกชายและลูกสาวอย่างเท่าเทียม
หลายครั้งที่พ่อแม่มักเป็นห่วงลูกชายและลูกสาวในประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ห่วงลูกสาวเรื่องเพศ ห่วงลูกชายเรื่องยาเสพติด แต่แท้จริงแล้วทุกเพศมีความเสี่ยงเท่ากัน ทุกคนควรได้รับการสอนอย่างเท่าเทียม

 

ติดอาวุธทางความคิดให้กับลูก
เด็กยุคใหม่โตมากับความเสี่ยงที่มีมากกว่าอดีต เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงง่าย พ่อแม่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกไปไหนกับใครอย่างไรในโลกออนไลน์ มันเป็นเรื่องที่เปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือการสอนวิธีคิดเพื่อเป็นอาวุธติดตัวให้กับลูก พยายามฝึกพัฒนาสมองส่วนหน้า เน้นให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเองและอารมณ์ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ลองฝึกให้เขาเรียนรู้จากความผิดพลาด มีโอกาสได้ตัดสินใจ ใช้ความคิดกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา พยายามตั้งคำถามกับลูกเยอะๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือหาคำตอบเอง

 

อย่ากลัวที่ลูกจะต้องเจอกับความผิดพลาดหรือปัญหา เพราะหลายครั้งมันสอนเขาได้ดีกว่าคำพูดที่เราพร่ำบ่นอยู่เสมอ

ใช้ความรักเป็นเกราะป้องกันอันตราย

หมอขอแนะนำให้พ่อแม่พยายามแสดงออกให้ลูกรู้ว่าเขาสำคัญแค่ไหนและให้ความรักแบบที่ไม่มีเงื่อนไข เพราะเมื่อไรที่เด็กเข้าสู่ความเสี่ยงหรือเจอโอกาสในการออกนอกลู่ทาง ถ้าเขายังรู้ว่าตัวเองเป็นคนที่มีความหมายต่อครอบครัวก็จะสามารถช่วยดึงรั้งลูกไว้อย่างมาก ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากการบอกรัก แต่เกิดจากการใช้เวลาคุณภาพด้วยกัน

 

ฟังให้เยอะ บ่นให้น้อย เน้นให้ลูกลงมือทำจริง

วิธีการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูกก็เป็นอีกเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เด็กหลายคนเวลาเจอปัญหาหรือมีเรื่องอะไรไม่สบายใจมักไม่อยากเล่าให้ที่บ้านฟัง เพราะสิ่งที่เขาจะได้ตอบคือการสั่งสอน ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ไม่ต้องการ ฉะนั้นหลักการสำคัญของการสื่อสารกับวัยรุ่นคือฟังให้มาก ตั้งคำถามให้เยอะ สอนให้น้อย อย่าคอยปกป้องด้วยการบ่น และฝึกให้เขาลงมือทำเองในหลายด้าน

การเล่นโซเชียลของลูกเป็นสิ่งที่ควรควบคุมมากน้อยแค่ไหน

พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรับผิดชอบทุกเรื่องได้ด้วยตนเอง เพราะสมองส่วนอารมณ์ของมนุษย์จะทำงานเยอะในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น ส่วนสมองส่วนคิดวิเคราะห์จะเริ่มทำหน้าที่ตัดสินใจด้วยเหตุผลเหนืออารมณ์หลังอายุ 25 ปีขึ้นไป จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องช่วยฝึกเขาด้วยการดึงเอาตัวเองลงมากำกับ อย่าคาดหวังว่าโตแล้วต้องคิดได้

ตัวอย่างของพ่อแม่ 4 ประเภทในสถานการณ์ควบคุมลูกติดเกม

 

ประเภทที่ 1 ทูนหัวของบ่าว

เมื่อไรที่ลูกแสดงอาการไม่พอใจจะหยุดตักเตือนและตามใจทันที

 

ประเภทที่ 2 พ่อแม่สายแข็ง

ใช้การขู่บังคับหรือลงโทษด้วยการตี หากลูกไม่ทำตามที่ตัวเองพูด ซึ่งการทำวิธีนี้นอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ไม่ดีแล้ว เด็กจะไม่ได้เชื่อฟังจริงๆ เมื่อไรที่ผู้ใหญ่ไม่อยู่ก็ลั้นลาเหมือนเดิม

 

ประเภทที่ 3 พูดไปบ่นไป

บ่นไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ลงมือออกกฎจริงจังอะไร สุดท้ายบ่นจนเหนื่อยก็หยุด และลูกก็ได้เล่นเกมเหมือนเดิม

 

ประเภทที่ 4 พ่อแม่เชิงบวก

เป็นประเภทที่หมออยากให้มีมากที่สุด พ่อแม่กลุ่มนี้จะมีความใจดี แต่จริงจัง มีการออกกฎชัดเจน และเมื่อไรที่ลูกละเมิดข้อตกลงจะมีการลงมือเพื่อให้ลูกรู้ถึงผลจากการควบคุมตัวเองไม่ได้ ครั้งหน้าจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำ

 

 


 

Credits

The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร

 

Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post บ่นให้น้อย ฟังให้เยอะ กับวิธีเลี้ยงลูกวัยรุ่นให้ไม่ดูจุ้นจ้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอย่างไร ในวันที่ลูกมาบอกว่าเป็น LGBTQ https://thestandard.co/podcast/balancedmama14/ Wed, 20 Jun 2018 17:01:06 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=99457

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ คุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร กุมาร […]

The post พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอย่างไร ในวันที่ลูกมาบอกว่าเป็น LGBTQ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ คุณหมอโอ๋-จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น และเจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ในประเด็นเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจและเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวที่มีลูกเป็นกลุ่มเพศหลากหลาย ในรายการ Balanced Mama Podcast

 


 

ความหมายของคำว่ากลุ่มเพศหลากหลาย

เรียกย่อสั้นๆ ว่า LGBTQ โดยแต่ละตัวอักษรแทนความหมายดังนี้

L คือ Lesbian ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน

G คือ Gay ผู้ชายที่ชอบผู้ชายด้วยกัน

B คือ Bisexual คนที่มีความชอบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง  

T คือ Transgender คนที่เกิดมามีลักษณะเป็นเพศหนึ่ง แต่จิตใจเป็นอีกเพศหนึ่ง

Q คือ Queer หรือ Questioning คนที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองมีรสนิยมทางเพศแบบไหน

ซึ่งจากการทำวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า มีเด็กที่เป็นกลุ่ม Queer อยู่จำนวนมาก เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าตัวเองยังไม่เข้าข่ายในสิ่งที่ถูกกำหนดไว้

 

ทำอย่างไรให้ลูกกล้าเปิดใจคุยกับพ่อแม่

ก่อนที่จะให้ลูกมาพูดเปิดใจ หมอว่าพ่อแม่ควรลองย้อนคิดไปถึงท่าทีในชีวิตประจำวันของตัวเองที่ส่งผลต่อการแสดงออกเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับเพศหลากหลาย หลายครั้งเราอาจทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งกำลังนั่งดูโทรทัศน์กับพ่อ พอถึงฉากที่มีเกย์สองคนรักกัน พ่อแสดงท่าทีรังเกียจพร้อมพูดว่า “น่าเกลียด ผู้ชายอะไรมารักกันเอง วิปริตผิดเพศ” ทันทีที่พูดจบ ลูกจะซึมซับความคิดเห็นและจดจำว่าพ่อมีมุมมองต่อกลุ่มเพศหลากหลายเช่นนี้ ฉะนั้นหากวันหนึ่งเด็กค้นพบว่าตัวเองเป็นเกย์ เขาจะตัดสินใจไม่เปิดเผยต่อครอบครัวแน่นอน กลับกัน ถ้าพ่อแม่บ้านไหนเปิดใจพูดอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ คนกลุ่มนี้ไม่ได้มีความผิดปกติ และสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนผู้ชายหรือผู้หญิง การแสดงออกแบบนี้จะส่งผลให้ลูกที่อยากเปิดเผยตัวเองกล้าเข้ามาพูดคุยได้ง่ายกว่ามาก

เรื่องเพศเป็นสิ่งใกล้ตัว มันอยู่กับเราตลอดเวลา ทุกการแสดงของพ่อแม่มีผลต่อการตัดสินใจเปิดเผยตัวตนของเด็ก และทัศนคติเชิงบวกไม่ได้มีผลกระตุ้นทำให้เด็กเป็นหรือไม่เป็นกลุ่มเพศหลากหลายแต่อย่างใด เด็กที่เป็นก็คือเป็นอยู่แล้ว ที่ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่

คนสมัยนี้เป็นเพศทางเลือกมากกว่าสมัยก่อนจริงหรือ

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเดี๋ยวนี้กลุ่มเพศหลากหลายมีจำนวนมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มานานแล้ว แถมยังพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ดังนั้นเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ธรรมชาติมาก ทางการแพทย์จึงได้มีการถอดเรื่องนี้ออกจากอาการผิดปกติ หรือความเข้าใจแต่ก่อนที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง และปรับมุมมองใหม่ว่าเป็นเพียงเรื่องของรสนิยมที่แตกต่าง ไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต แต่ที่มันส่งผลกระทบกับหลายๆ คน เพราะความไม่เข้าใจของครอบครัวและสังคมต่างหาก

พ่อแม่บางคนอาจรับไม่ได้ที่ลูกเป็นเพศทางเลือก แต่จำได้ไหมว่าคุณเริ่มรู้สึกรักเขาตั้งแต่เมื่อไร มันเริ่มตั้งแต่วันที่รู้ว่าเขาจะเกิดมาโดยยังไม่รู้เพศเลยด้วยซ้ำ

สูตรสำเร็จของความเป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่การแต่งงานมีลูกเสมอไป

สิ่งที่ทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์คือความคาดหวังที่สูงเกินไป ทุกคนอยากเห็นลูกมีชีวิตที่ดี เชื่อว่าการแต่งงาน มีครอบครัว มีลูกหลาน คือชีวิตที่มีความสุข แต่จากข้อมูลพบว่า การแต่งงาน 40% มีการหย่าร้าง และการมีลูกไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนมีความสุขเสมอไป คนสมัยนี้มีความสุขได้หลายรูปแบบ คู่รักเพศเดียวกันหลายคู่อาจมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นและมีความสุขกว่าความรักของชายหญิงด้วยซ้ำ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทุกคนมีความสุขได้อย่างแน่นอน คือการได้เป็นตัวเอง คนที่เรารักยอมรับในสิ่งที่เราเป็น ฉะนั้นพ่อแม่กลุ่มนี้ต้องจัดการความคาดหวังของตัวเอง และเปิดใจรับในสิ่งที่ลูกเป็นให้ได้

 

เพศทางเลือก: ไม่ได้เลือกที่จะเป็น แต่เลือกที่จะเปิดเผย

พ่อแม่หลายคนมักทุกข์ใจจากความคิดที่ว่าเพศทางเลือกคือสิ่งที่ลูกเลือกเป็น แต่จริงๆ แล้ว คนเป็นเกย์ ตุ๊ด ดี้ กะเทย ทอม ไม่เคยเลือกว่าตัวเองจะเป็นเพศไหน มันคือสิ่งที่เขาเป็นเองมาตั้งแต่เด็ก เขาไม่เคยเลือกเลยว่าอยากชอบผู้ชายด้วยกันเอง เช่นเดียวกับผู้ชายผู้หญิง ที่ไม่เคยคิดขึ้นมาเองว่าถึงเวลาแล้วที่ฉันจะชอบเพศตรงข้าม ทุกอย่างมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สิ่งเดียวที่กลุ่มเพศหลากหลายเลือกได้คือการเลือกที่จะเปิดเผยมันออกมาเท่านั้น

 

ทดลองคบเพศเดียวกัน ทั้งที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเพศหลากหลาย

เรื่องนี้มีผลลัพธ์ได้ทั้งสองแบบ ทั้งที่ลองแล้วรู้ว่าใช่ก็มี หรือลองแล้วมาค้นพบตอนโตว่าไม่ใช่ก็มี มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ และมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเรื่องสังคมของเด็กโรงเรียนหญิงล้วน ผู้หญิงวัยรุ่นมักมองหาไอดอลในดวงใจ พอเจอรุ่นพี่ที่เป็นทอมก็เลยชอบ พอเข้าสู่วัยมหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนมาชอบผู้ชายตามปกติ ในขณะที่บางคนอาจค้นพบว่าตัวเองชอบได้ทั้งสองเพศ หรือกรณีที่ชายหญิงแต่งงานแล้วหย่ามาคบเพศเดียวกันก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

 

ปัญหาของเด็กที่พ่อแม่ไม่ยอมรับ

ถ้าพ่อแม่กลัวลูกไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ให้ลุกขึ้นมาเป็นคนแรกที่ยอมรับลูกให้ได้ก่อน เพราะพลังใจจากคนใกล้ชิดจะทำให้เด็กพร้อมฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ภายนอก บอกเขาไปเลยว่า “ไม่ว่าใครจะไม่ยอมรับ ไม่ว่าใครจะมองไม่เห็นสิ่งที่ลูกเป็น แต่พ่อแม่มองเห็นและเป็นกำลังใจให้ลูกเสมอ” หมอเชื่อว่าในสังคมอีก 10-20 ปีข้างหน้า คนกลุ่มนี้จะมีพื้นที่ในสังคมมากขึ้น

 

ส่วนปัญหาของเด็กที่ไม่ได้การยอมรับจากครอบครัว จะเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย การติดสารเสพติด การมีปัญหาทางเพศ และการถูกรังแกสูงกว่าเด็กที่ได้รับการยอมรับ มีงานวิจัยหนึ่งพบว่า เด็กกลุ่มที่พ่อแม่ยอมรับ 92% เชื่อว่าจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข แต่เด็กที่พ่อแม่ไม่ยอมรับมีเพียงแค่ 10% ที่คิดว่าตัวเองจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข เพราะฉะนั้นการยอมรับของครอบครัวสำคัญมากสำหรับเด็กกลุ่มนี้

 

คลินิกเพศหลากหลาย

พ่อแม่ท่านไหนที่อยากปรึกษาคุณหมอ สามารถติดต่อได้ที่คลินิกเพศหลากหลาย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ทางคลินิกจะดูแลเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ เด็กที่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทางเพศ โดยมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญหลากหลาย เช่น หมอต่อมไร้ท่อ หมอศัลยกรรม คอยดูแลให้คำปรึกษากับเด็กกลุ่มนี้

 


 

Credits

The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร

 

Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอย่างไร ในวันที่ลูกมาบอกว่าเป็น LGBTQ appeared first on THE STANDARD.

]]>
การคุยเรื่องเพศกับลูกไม่ใช่เรื่องน่าอาย และเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องทำให้ได้อย่างถูกวิธี https://thestandard.co/podcast/balancedmama13/ Wed, 13 Jun 2018 17:01:00 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=97447

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ จิต-จิตติมา ภาณุเตชะ นักพัฒนาสังค […]

The post การคุยเรื่องเพศกับลูกไม่ใช่เรื่องน่าอาย และเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องทำให้ได้อย่างถูกวิธี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ จิต-จิตติมา ภาณุเตชะ นักพัฒนาสังคมอิสระ ในประเด็นเกี่ยวกับการคุยกับลูกเรื่องเพศสำคัญแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรวางตัวอย่างไร แต่ละช่วงวัยควรสื่อสารแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ในรายการ Balanced Mama Podcast

 

การคุยเรื่องเพศกับลูกสำคัญแค่ไหน

การคุยกับลูกเรื่องเพศ เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในยุคสมัยนี้ที่สังคมมีความสลับซับซ้อนและโลกเปิดกว้างมากขึ้น จนการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อเด็กไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกอึดอัดใจเวลาจะคุยกับลูกเรื่องนี้ เพราะเข้าใจว่าถ้าพูดถึงเรื่องเพศ ต้องกระโจนเข้าสู่เนื้อหาที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วผู้ปกครองควรเริ่มจากคุยเรื่องเพศสภาพทั่วไปก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเด็กตามช่วงวัยอย่างเหมาะสม

 

2 สิ่งที่ต้องทำคือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ และปรับวิธีที่ใช้ในการสื่อสาร

กุญแจดอกแรกที่ทำให้ครอบครัวกล้าเปิดใจพูดคุยกันเรื่องเพศ คือการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องสกปรกลามก เพราะในสังคมไทยมักทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใต้ผ้าห่ม ดูลึกลับ ใครยกมาพูดก็ถูกมองว่าเป็นคนทะลึ่ง ดังนั้นอยากให้ลองปรับมุมมองใหม่ว่า เรื่องเพศเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ทุกคนควรเรียนรู้  

กุญแจดอกที่ 2 คือวิธีการสื่อสารที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กับลูก ลองพูดให้เหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ไม่ต้องใส่อารมณ์ความรู้สึกเขินอาย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ผิด ยกตัวอย่าง เด็กอายุขวบกว่าจับเล่นอวัยวะเพศตัวเอง ด้วยความคิดอัตโนมัติว่าสิ่งท่ีทำอยู่เป็นเรื่องน่าอายและไม่สมควรทำ คุณแม่จึงเผลอตีมือลูก การกระทำเช่นนี้คือการติดตั้งมุมมองเชิงลบให้กับลูกทันที และเมื่อเขาโตขึ้น เริ่มเกิดความรู้สึกอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของตัวเอง เขาจะไม่กล้าปรึกษาที่บ้าน เพราะจำได้ว่าตอนเด็กเคยทำแบบนี้แล้วคุณแม่ไม่โอเค เช่นนี้จึงเป็นการสร้างกำแพงให้กับเข้า เพราะผู้ปกครองขาดทักษะในการสื่อสารที่ถูกต้อง

 

คุยกับลูกเรื่องเพศในแต่ละช่วงอายุ

ช่วงก่อนเข้าชั้นประถมศึกษา (0-7 ปี)

เป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้ตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คำถามที่พวกเขาสงสัยมักอยู่ในขั้นพื้นฐาน ยกตัวอย่างคำถามเบสิกที่ว่า “หนูเกิดมาจากไหน” เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายคำตอบด้วยความจริงใจ “เพราะคุณพ่อคุณแม่รักกัน หนูจึงเกิดขึ้นมาจากร่างกายของแม่ที่มีส่วนประกอบของพ่อ” เท่านี้พอ ไม่ต้องลงรายละเอียดลึกไปถึงเรื่องอสุจิ รังไข่ มดลูก เด็กไม่ได้ต้องการเรื่องยากขนาดนั้น และอย่าใช้วิธีหลีกเลี่ยงหรือโกหก โดยเฉพาะคำตอบประเภทที่ว่าเก็บลูกมาจากถังขยะ เพราะยังมีเด็กอีกจำนวนมากเข้าใจว่าตัวเองมาจากถังขยะจริงๆ จากคำตอบที่ติดสนุกของคุณพ่อคุณแม่ และสำหรับเรื่องไหนที่ไม่รู้คำตอบ ก็อย่าเดามั่วส่งเดช แต่อยากให้ลองชวนให้ลูกมาหาคำตอบด้วยกัน ด้วยวิธีการพูดอย่างตรงไปตรงมา เช่น “เรื่องนี้แม่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน อย่างงั้นเรามาหาคำตอบด้วยกันดีไหมลูก” จากนั้นก็ช่วยหาคำตอบด้วยกันจากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม

วัยนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มสอนเรื่องความเป็นส่วนตัวกับลูก ติดตั้งมุมมองให้เด็กเข้าใจว่าส่วนไหนคือพื้นที่ส่วนตัว ส่วนไหนไม่ควรให้คนอื่นสัมผัส ผู้หญิงหลายคนต้องทนเจอเรื่องที่ไม่โอเค เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองรู้สึก ดังนั้นควรสอนให้ลูกเข้าใจ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเขาด้วย  

ร่างกายของลูกมีคุณค่าและเป็นของลูกคนเดียวเท่านั้น แม้กระทั่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่มีสิทธิ์ไปจับได้ตามใจชอบ

ช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่น (7-14 ปี)

เด็กวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จากวัยเด็กสู่วัยหนุ่มสาว มีอะไรที่กำลังเปลี่ยนไปบ้าง เรื่องแรกที่อยากให้เน้นสอนคือการใส่มุมมองเชิงบวกต่อร่างกาย รื้ออคติที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกแย่กับตัวเอง ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องขาวสวยหมวยอึ๋มอย่างเดียวก็ได้ ส่วนเด็กผู้ชายจะเริ่มล้อเลียนกับเรื่องขนาดอวัยวะเพศ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้เขาไปหาข้อมูลผิดๆ จากในอินเทอร์เน็ต เพราะอาจเกิดผลเสียตามมาอย่างคาดไม่ถึง

 

เรื่องต่อมาคือเรื่องสุขภาพ สอนให้ลูกสาวบันทึกรอบเดือน สอนให้ลูกชายเข้าใจฝันเปียก อย่าคิดว่าการพูดเรื่องพวกนี้กับลูก จะเป็นการโน้มน้าวให้ลูกไปลองผิดลองถูกโดยไม่สมควร เพราะคุณพ่อคุณแม่ทุกคนกลัวลูกถูกข่มขืน กลัวลูกท้อง หรือกลัวลูกไปทำคนอื่นท้อง แต่หลายคนกลับไม่เคยสอนลูกเรื่องพวกนี้ จนกระทั่งวันที่มันเกิดขึ้น ก็โทษว่าลูกทำไม่ดี ลูกทำผิด ทั้งที่จริงๆ แล้ว ความปลอดภัยในเรื่องเพศของเด็ก ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมของเด็ก แต่เกิดจากสิ่งที่สภาพแวดล้อมเตรียมไว้ให้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยสอน สิ่งที่อยู่ในตำราโรงเรียนก็ใช้ไม่ได้จริง สิ่งที่อยู่ในสื่อก็แฝงไปด้วยโฆษณาชวนเชื่อ นั่นเท่ากับว่าเรากำลังปล่อยให้เด็กเติบโตตามยถากรรม และมันคงอันตรายยิ่งกว่า

ทำอย่างไรให้เด็กที่ถูกลวนลามกล้าเล่าเรื่องนี้ให้ผู้ใหญ่ฟัง

เรื่องนี้ผู้ปกครองต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก ทักษะที่สำคัญมากคือการฟังลูกอย่างลึกซึ้ง เพราะเด็กพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่เสมอ แต่เขารู้ว่าบางเรื่องเลือกที่จะไม่พูดดีกว่า เนื่องจากธรรมชาติของคนเป็นคุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะสั่งสอนลูกตลอดเวลา “อย่าให้รู้เชียวนะว่ามีแฟน” แค่คุณพ่อคุณแม่พูดมาเช่นนี้ เด็กก็ไปต่อไม่ถูกแล้ว

 

สมมติว่านั่งกินข้าวกับอยู่ที่บ้าน และโทรทัศน์มีข่าวผู้หญิงโดนข่มขืน ด้วยความกลัวว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับลูก คุณแม่เลยรีบหันไปพูดว่า “อย่าไปทำตัวแบบนั้นนะลูก อย่าแต่งตัวโป๊ อย่าไปกับผู้ชาย” เหล่านี้เป็นการติดตั้งมุมมองให้เด็กเข้าใจว่าผู้หญิงเป็นคนผิด ดังนั้นเมื่อเกิดเรื่องขึ้นมา เด็กไม่กล้าบอกคุณพ่อคุณแม่แน่นอน เพราะกลัวว่าตัวเองทำผิดและจะโดนดุซ้ำ นี่คืออุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือหากโดนข่มขืน คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนวิธีพูดเป็น “เรื่องข่มขืนเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครเลย ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่เรื่องนี้ผู้ชายทำไม่ถูก เพราะไปละเมิดสิทธิคนอื่น แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้น หนูต้องบอกแม่นะ แม่จะอยู่เคียงข้างหนู และคอยช่วยเหลือหนูได้” การทำเช่นนี้จะทำให้เด็กกล้าพูดหากเกิดอะไรที่ไม่ดีขึ้น

คุณพ่อคุณแม่หลายคนมั่นใจว่าตัวเองสนิทกับลูก แต่เอาเข้าจริงกลับสนิทแต่เรื่องที่ดีเท่านั้น ลูกฉันเป็นเด็กดี ลูกฉันเรียนเก่ง ลูกฉันได้รางวัล แต่เรื่องที่ลูกทำไม่ดีกลับไม่เคยรู้เลย ฉะนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกแชร์ทั้งทุกข์และสุขได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ลองทำแบบทดสอบวัดความพร้อมก่อนคุยกับลูกเรื่องเพศได้ที่ www.คุยเรื่องเพศ.com

 



 

Credits


The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest จิตติมา ภาณุเตชะ

 

Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post การคุยเรื่องเพศกับลูกไม่ใช่เรื่องน่าอาย และเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องทำให้ได้อย่างถูกวิธี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สร้างความเข้าใจลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อสายใยที่ดีในครอบครัว https://thestandard.co/podcast/balancedmama12/ Wed, 06 Jun 2018 17:01:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=95656

ซินดี้-สิรินยา คุยกับ คุณต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตบำ […]

The post สร้างความเข้าใจลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อสายใยที่ดีในครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้-สิรินยา คุยกับ คุณต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตบำบัด จากมีรักคลินิก เรื่องอาการทางจิตเวชของเด็กแต่ละช่วงวัย และการทำเข้าใจลูกและตัวเองของผู้ปกครอง ในรายการ Balanced Mama Podcast

 


 

เข้าใจความหมายของ ‘อาการทางจิตเวช

อาการทางจิตเวช คืออาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์เป็นหลัก ถึงแม้ความรุนแรง หรือความแตกต่างทางด้านร่างกายจะไม่เหมือนคนเป็นโรคทางกายอื่นๆ แต่เวลารักษา ผมมองว่าเขาเป็นผู้ป่วยเหมือนกัน ผู้ป่วยในที่นี้คือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด จัดการอารมณ์ เพื่อให้ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น

 

ไม่ได้มองว่าเขาเป็นคนบ้า

จริงๆ แล้วคำว่า ‘คนบ้า’ เป็นคำที่รุนแรงมาก ภาพส่วนใหญ่ที่คนคิดคือคนสติไม่สมประกอบที่เดินอยู่ตามข้างถนน ทำให้พวกเขาปฏิเสธตัวเองในการเข้ารับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ผมอยากให้ทุกคนปรับมุมมองใหม่ว่า อาการทางจิตเวชเกิดขึ้นได้กับทุกคน ความเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน มุมมองความคิดต่อตัวเอง เรื่องพวกนี้ต้องใช้อารมณ์และพฤติกรรมทั้งนั้น

อาการทางจิตเวชของเด็กแต่ละช่วงวัย

เด็กแต่ละช่วงวัย มีปัญหาอาการทางจิตเวชที่แตกต่างกันไป เริ่มต้นที่เด็กเล็ก มักมีปัญหาทางพัฒนาการ 5 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม การเรียนรู้ และการดูแลตัวเอง ซึ่งการทำงานกับเด็กวัยนี้ เราดูจากเกณฑ์ของพัฒนาการว่าอายุจริงกับอายุพัฒนาการของเขาต่างกันมากแค่ไหน และต้องทำงานอย่างไรให้ช่องว่างตรงนี้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอเริ่มเป็นเด็กวัยเรียน ปัญหาส่วนใหญ่คือเรื่องการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน รวมทั้งปัญหากับผู้เลี้ยงดู พอโตขึ้นมาอีกหน่อย ถึงช่วงวัยรุ่น ปัญหาที่เจอคือเรื่องมุมมองต่อตัวเอง การปรับตัวต่อกลุ่มเพื่อน การวางเป้าหมายในอนาคต

ดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจและสังเกตลูกเสมอว่า ช่วงไหนเขาเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องการความช่วยเหลือหรือเปล่า เพื่อให้เขาสามารถก้าวผ่านแต่ละช่วงวัยไปได้อย่างเหมาะสม


คุณพ่อคุณแม่ควรให้เกียรติลูกในการให้เขาได้เป็นตัวของตัวเอง

เด็กแต่ละคนมีการรับรู้ต่อเรื่องราวที่ไม่เหมือนกัน แม้เมสเสจจะเป็นเรื่องเดียวกันทุกอย่าง เรื่องนี้มีสาเหตุมาจากหลายอย่าง ทั้งตัวเขาเอง ประสบการณ์การเลี้ยงดู และบริบทที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สังเกตได้จากการใช้ชีวิตที่โรงเรียน เด็กบางคนชอบโรงเรียนที่เป็นระเบียบนั่งอ่านเขียน เด็กบางคนชอบโรงเรียนที่เน้นให้ลงมือทำ และเมื่อต้องอยู่ในโรงเรียนที่ไม่ถูกใจ เด็กอาจมีอาการหงุดหงิดก้าวร้าวบ่อยขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนโรงเรียนหรือเปลี่ยนบริบทถือเป็นหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรกลับมามองที่พื้นฐาน ดูว่าลูกถนัดอะไร มีวิธีการเรียนรู้แบบไหน และช่วยให้เขาเจอบริบทที่เหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่เป็นผู้นำ แต่ต้องไม่ลืมเป็นผู้ฟังความรู้สึกของลูกด้วย

สื่อสารกับลูกด้วยความจริงใจ

ก่อนนักจิตบำบัดจะเริ่มทำงานกับครอบครัวทุกครั้ง ต้องมีการสัมภาษณ์ผู้ปกครองก่อน ให้เขาเล่าความรู้สึกต่อเด็กๆ ที่เขามักนิยามเรื่องราวเหล่านั้นว่า ‘ปัญหา’ และส่วนใหญ่ 60-70% ของการพูดคุย ผู้ปกครองจะสรุปว่าเพราะตัวเองเลี้ยงดูแบบนี้ ลูกถึงเป็นแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องพวกนี้เกิดจากทั้ง 2 ฝ่าย เด็กบางคนซนมาก วิ่งเล่นปีนป่ายตลอดเวลา ในขณะที่ผู้ปกครองแต่ก่อนชอบนั่งชิลจิบกาแฟ ก็ต้องกลายเป็นคุณพ่อคุณแม่นักวิ่ง ต้องกระตือรือร้นมากขึ้น ดังนั้นทุกกรณีมีความแตกต่างกัน การช่วยเหลือจึงแตกต่างกันไปด้วย

 

สื่อสารกับลูกด้วยความจริงใจ

เวลาเข้ามาปรึกษา ผู้ปกครองมักโทษการเลี้ยงดูของตัวเองไว้ก่อน ดังนั้นการปรับทัศนคติจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทำให้พ่อแม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลางที่สุด และพยายามแนะนำวิธีสื่อสารให้เด็กๆ มาเจอคุณหมอ หลายครั้งพอพวกเขาไม่รู้จะบอกลูกยังไง เลยไปบอกว่าจะพามาหาหมอฟัน เด็กมาถึงคลินิกก็ตกใจไม่มีเครื่องมือ หรือบางคนพูดเลยว่าเพราะลูกเป็นแบบนั้นแบบนี้ เลยต้องมาหาหมอ จิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดจึงกลายเป็นไม้เรียวของเด็กไปแล้ว

 

ผมคิดว่าวิธีที่ดีคือการให้พ่อแม่บอกความรู้สึกตัวเองกับลูก แม่รู้สึกเป็นห่วง แม่อยากเข้าใจหนู ถ้าได้ไปเจอคุณหมอ เราอาจจะได้เข้าใจกันมากขึ้น


เมื่อไรที่พ่อแม่ไม่โอเค

ถ้าพ่อแม่รู้สึกควบคุมตัวเองได้ยาก และใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ตามปกติ เช่น ในบทบาทเดิมๆ ของการทำงานที่เราเคยทำได้ดี กลับเริ่มทำไม่ค่อยได้ หรือไม่อยากเจอสังคม ไม่อยากแต่งตัว หงุดหงิดง่าย หลังจากที่เรามีภาระการเลี้ยงดูลูกเพิ่ม ถ้าเริ่มรู้สึกไม่ไหว ผมแนะนำลองไปพบจิตแพทย์ดู อาจทำให้เราเข้าใจตัวเอง และรู้จักประเด็นอื่นๆ ในชีวิตเพิ่มเติม ว่าตอนนี้เรากำลังโฟกัสเรื่องอะไร สาเหตุความเครียดมาจากไหน และจัดการตัวเองอย่างไรได้บ้าง

 

บริหารความสัมพันธ์ในครอบครัว

เริ่มต้นที่วัยเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องเล่นกับลูกให้มาก เพื่อฝึกพัฒนาการโดยรอบด้าน ต่อมาคือวัยเรียน ลองสอนลูกผ่านการทำการบ้านร่วมกัน ฝึกให้เขาได้มีระเบียบ มีเป้าหมาย มีแรงจูงใจ และช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออย่างวัยรุ่น อย่าลืมความสำคัญของการสื่อสารเชิงบวก เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในครอบครัว

โดยต้องไม่ลืมว่าถึงแม้ในแต่ละช่วงวัยของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นให้ความสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละบริบทที่ลูกเจอ แต่ทั้งหมดจะค่อยๆ สัมพันธ์กันอย่างแยกออกไม่ได้ ผู้ปกครองควรใส่ใจลูกในทุกช่วง เพื่อการเติบโตที่ดีที่สุดของเขา

สนใจปรึกษาคุณต้น หรือนักจิตบำบัดท่านอื่นๆ ที่มีรักคลินิก
ดูรายละเอียดได้ที่ www.merakclinic.com

 

 

 


 

Credits


The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest นรพันธ์ ทองเชื่อม

 

Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post สร้างความเข้าใจลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อสายใยที่ดีในครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความรุนแรงในครอบครัว ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นรอง ทัศนคติสังคมไทยที่ต้องเปลี่ยน https://thestandard.co/podcast/balancedmama11/ Wed, 30 May 2018 17:01:17 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=94121

ซินดี้-สิรินยา คุยกับปู-จรีย์ ศรีสวัสดิ์ ตัวแทนจากทีมงา […]

The post ความรุนแรงในครอบครัว ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นรอง ทัศนคติสังคมไทยที่ต้องเปลี่ยน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้-สิรินยา คุยกับปู-จรีย์ ศรีสวัสดิ์ ตัวแทนจากทีมงานมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ถึงประเด็นสำคัญที่สังคมไม่ควรมองข้าม เรื่องความรุนแรงในครอบครัว ในรายการ  Balanced Mama Podcast

ความหมายของคำว่าความรุนแรงในครอบครัว ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำร้ายร่างกาย สร้างบาดแผลฟกช้ำ แต่รวมไปถึงความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การใช้วาจาส่อเสียด หยาบคาย ไม่ให้เกียรติ หวังทำร้าย แอบไปมีชู้ ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่าย

“ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นรอง” ทัศนคติสังคมไทยที่ต้องเปลี่ยน

จากประสบการณ์ที่ทางมูลนิธิเจอ ฝ่ายหญิงจะเข้ามาขอความช่วยเหลือก็ต่อเมื่อปัญหามันรุนแรงจนเอาไม่อยู่แล้ว หลายคนอาจเกิดคำถามว่าแล้วทำไมพวกเขาถึงเลือกที่จะอดทน และไม่เข้ามาคุยตั้งแต่เกิดเหตุครั้งแรกเลย จากการสัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุพบว่า สังคมไทยปลูกฝังความคิดเรื่องผู้ชายมีหน้าที่เป็นผู้นำ ส่วนผู้หญิงไม่ว่าจะเกิดอะไรต้องอดทนเพื่อลูกและครอบครัว ยิ่งมีความเป็นภรรยาและคุณแม่ ยิ่งต้องแบกรับความรู้สึกตัวเองเยอะมาก ดังนั้นถ้าไม่สุดจริง พวกเขาจะยอมทนจนกว่าจะไม่ไหว แล้วค่อยมองหาทางเลือกที่จะทำให้ตัวเองออกจากสถานการณ์เหล่านั้นได้

 

เคยมีเคสต์หนึ่ง ฝ่ายหญิงโดนทำร่างกายอยู่บ่อยๆ ยาวนาน 2-3 ปี จนล่าสุดเธอโดนสามีที่มีอาการเมาสุราและเสพย์ยาซ้อมตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึงตี 5 เพราะฝ่ายชายคิดว่าภรรยาตัวเองนอกใจ ไปท้องกับคนอื่น ซึ่งไม่เป็นความจริง จนกระทั่งน้องสาวฝ่ายชายทนเห็นเหตุการณ์ไม่ไหวโทรศัพท์ไปแจ้งตำรวจให้เข้ามาช่วยระงับเหตุ

 

จากครั้งนั้น ฝ่ายหญิงเจ็บตัวจนต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลนานถึง 2 เดือน แต่สุดท้ายก็ยอมใจอ่อนไปให้อภัยสามี เพราะฝ่ายชายมาเยี่ยม พร้อมให้คำมั่นสัญญาว่าจะกลับใจและไม่ทำความรุนแรงอีก แถมยังไงเขาก็เป็นพ่อของลูก อยากรักษาสถาบันครอบครัวเอาไว้

เรื่องนี้เราไม่สามารถไปโทษฝ่ายหญิงได้ เพราะการปลูกฝังทัศนคติของประเทศไทย ยังคงเชื่อว่าผู้ชายเป็นใหญ่ ส่วนผู้หญิงเป็นรอง เปรียบเหมือนเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ชาย เรื่องนี้เป็นรากปัญหาใหญ่ของสังคมที่เกิดจากการหล่อหลอมของหลายสถาบันที่เน้นย้ำทัศนคตินี้ ดูได้จากบทเรียนของสถาบันการศึกษาที่บอกเสมอว่าผู้ชายมีหน้าที่ออกจากบ้าน ไปทำงานหาเงิน  ส่วนผู้หญิงต้องอยู่บ้านทำอาหารดูแลความเรียบร้อย หรือละครไทยในทุกวันนี้ก็ยังคงนำเสนอเนื้อเรื่องที่ให้คุณค่าตัวละครผู้ชายมากกว่า จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมผู้หญิงถึงยังโดนกระทำซ้ำอยู่แบบนี้

ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งตัดสินใจเดินออกจากสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว สิ่งที่เธอต้องเจอแน่ๆ คือคำถามมากมายจากสังคม เธอไปทำอะไรทำไมสามีถึงไม่พอใจ? เธอขาดตกบกพร่องตรงไหนทำไมเขาไปมีคนอื่น? มันแทบไม่มีพื้นที่เชิงบวกที่เข้าใจปัญหาเหล่านี้อย่างแท้จริง

“ใช้ความรุนแรงเพราะรัก” ตรรกะที่เป็นสัญญาณอันตรายของปัญหา

ทุกคนบนโลกใบนี้มีสิทธิ์ในร่างกายของตัวเองตั้งแต่กำเนิด ข้ออ้างที่ว่า ใช้ความรุนแรงด้วยความโมโหเพราะความรัก เป็นสัญญาณอันตรายที่ควรระวัง

 

คนภายนอกส่วนใหญ่มักคิดว่าปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ควรเข้าไปยุ่ง เพราะเมื่อไหร่ที่ผัวเมียกลับมาดีกัน คนที่พยายามเข้าไปช่วยเหลือก็กลายเป็นหมา แต่อันที่จริงปัญหาเหล่านี้อาจลามไปถึงปัญหาสังคมอื่นๆ ยกตัวอย่าง ฝ่ายหญิงเองพอร่างกายบาดเจ็บก็ไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ แถมยังต้องเสียเงินทองในการรักษาตัวอีก มันโยงไปถึงปัญหาระดับสังคมและเศรษฐกิจได้เลย


“ใช้ความรุนแรงโต้กลับ” ทางเลือกสุดท้ายของคนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ

การที่เด็กสักคนต้องโตมาในครอบครัวแบบนี้ ย่อมมีผลต่ออารมณ์ความเครียด ที่สุดท้ายอาจเลยเถิดไปเป็นปัญหาใหญ่โต ทำให้เขาต้องเสียโอกาสพัฒนาตัวเองและไปเป็นอนาคตที่ดีของชาติ

 

บางครั้งปัญหาที่ถูกสะสมไม่ได้รับการแก้ไข สุดท้ายผู้ประสบเหตุต้องหาทางออกด้วยการใช้ความรุนแรงโต้กลับ เกิดเป็นปัญหาอาชญากรตามมา

 

ทางมูลนิธิเคยไปเจอเด็กคนหนึ่งในสถานพินิตสำหรับเด็กที่กระทำความผิด น้องคนนี้ฆ่าตาเลี้ยงตัวเอง เพราะคุณตาชอบทำร้ายร่างกายทุบตีคุณยาย เขาต้องทนเห็นมาโดยตลอด จนถึงเหตุการณ์ที่เป็นจุดแตกหัก เมื่อคุณตาบังคับข่มขืนคุณแม่ของตน พอเข้าไปห้าม คุณตาก็ทำร้ายตัวเด็ก สุดท้ายทนไม่ไหวตัดสินใจใช้อาวุธสวนกลับคุณตาจนเสียชีวิต

แรกๆ เด็กอาจยังรู้สึกเสียใจ แต่พอนานไปจะเริ่มชาชินและมองมันเป็นเรื่องปกติ จนสุดท้ายเมื่อเจอปัญหา เขาก็ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหานั้นด้วยเช่นกัน  

สังเกตความรุนแรงในครอบครัวของตัวเอง

ระดับความรุนแรงที่พอรับได้คือการทะเลาะกันธรรมดาทั่วไป ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ตกลงกันได้ เป็นเรื่องปกติของชีวิตคู่  แต่เมื่อใดก็ตามที่เริ่มมีการใช้คำหยาบคาย ทำลายข้าวของ แสดงว่าเริ่มมีสัญญาณอันตรายแล้ว ยิ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่นใช้สารเสพย์ติด ดื่มแอลกอฮอล์ ติดการพนัน เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทวีระดับความรุนแรง ที่ไม่ควรมองข้าม และต้องรีบขอความช่วยเหลือ

 

โดยกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ ‘ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว’ เป็นกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงที่ถูกกระทำในด้านนี้ มีหน่วยงานพร้อมช่วยเหลือทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน

 

ใครที่ต้องการขอคำปรึกษาสามารถโทรได้ที่

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร 1300 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล โทร 02-513-2889 (ตามเวลาราชการ)

 


ติดตาม BALANCED MAMA PODCAST ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า Balanced Mama หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 

 



 

Credits


The Host
ซินดี้ บิชอพ

The Guest จรีย์ ศรีสวัสดิ์


Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post ความรุนแรงในครอบครัว ผู้ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นรอง ทัศนคติสังคมไทยที่ต้องเปลี่ยน appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอย ตรัย ภูมิรัตน “ผมมองภรรยาด้วยสายตาของคนเป็นรักแรกเสมอ” https://thestandard.co/podcast/balancedmama10/ Wed, 23 May 2018 17:01:57 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=92773

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ บอย-ตรัย ภูมิรัตน มาฟังกันว่าการม […]

The post บอย ตรัย ภูมิรัตน “ผมมองภรรยาด้วยสายตาของคนเป็นรักแรกเสมอ” appeared first on THE STANDARD.

]]>

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ บอย-ตรัย ภูมิรัตน มาฟังกันว่าการมีลูกเปลี่ยนแปลงชีวิตเขามากน้อยแค่ไหน ทุกวันนี้แบ่งหน้าที่กับภรรยาอย่างไร พร้อมเผยความรู้สึกต่อภรรยาที่ไม่เคยบอกใคร ในรายการ Balanced Mama Podcast

 


“ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองจะนอนเร็วตื่นเช้าได้”

ถามว่าก่อนและหลังมีลูก ชีวิตเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนพฤติกรรมของผม ด้วยความเป็นศิลปิน แต่ก่อนจะทำงานดึก ตื่นสาย ใช้ชีวิตยังไงก็ได้ แต่พอมีน้องชื่นใจแล้ว ตารางเวลาชีวิตมันเปลี่ยนหมด จนบางครั้งผมก็ไม่อยากเชื่อว่าตัวเองจะเข้านอน 3 ทุ่ม แล้วตื่น 6 โมงเช้าทุกวันได้ แถมบางวันอ่านนิทานส่งชื่นใจเข้านอน ยังเหนื่อยจนเผลอไปหลับใส่ลูกอีก (หัวเราะ)

 

หัวหิน เป็นถิ่นสัญญา…

A post shared by Trai Bhumiratna  (@bayfridoy) on

 

“หน้าที่หลักของผมคือการดูแลความรู้สึกภรรยา”

ผมและภรรยาช่วยกันเลี้ยงลูกเอง เขามีหน้าที่วางระบบในบ้านให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนหน้าที่หลักของผมคือการดูแลความรู้สึกภรรยา เพื่อให้บรรยากาศครอบครัวลงตัว เพราะยังไงเขาก็รู้เรื่องลูกมากกว่าผมอยู่แล้ว ผมเลยเป็นฝ่ายเล่นกับลูกมากกว่า เป็นช่วงที่ทำให้ภรรยาได้มีเวลาส่วนตัวพักผ่อน หรือออกไปนวดผ่อนคลายบ้าง

 

“ไม่อยากให้ลูกโตเร็วเกินไป”

ผมไม่ชอบคิดไกล ไม่อยากห่วงอนาคตมากเกินไป และเป็นคนถวิลหาอดีต ดังนั้นทุกวันที่ได้เห็นลูกเติบโตคือสิ่งที่ดีที่สุด เวลามันย้อนกลับไม่ได้ มีแต่เดินไปข้างหน้า ผมเลยพยายามรักษาช่วงเวลาที่เป็น ‘ตอนนี้’ เอาไว้ให้มันนานที่สุด

 

Making new friend #chuenjaijung

A post shared by Trai Bhumiratna  (@bayfridoy) on

การมีลูกมาพร้อมกับคำว่าห่วงอยู่แล้ว และเป็นความห่วงที่ไม่มีวันหมดอายุด้วย

ผมอยากให้เขาดูแลตัวเองได้ เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเขาโตไปแบบไม่มีพี่น้อง พ่อแม่ก็อยู่ด้วยตลอดไปไม่ได้ เขาต้องมีภูมิคุ้มกันให้ตัวเองในหลายๆ ด้าน และจัดการชีวิตตัวเองให้ได้เมื่อวันนั้นมาถึง

 

“พอมีลูกแล้ว สายตาภรรยาที่มีให้ผมก็เปลี่ยนไป”

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เคยบอกภรรยาคือ บางครั้งผมก็รู้สึกน้อยใจเขาเหมือนกันนะ พอมีลูก โฟกัสทุกอย่างของเขาไปที่ลูก ผมไม่ใช่ที่ 1 อีกแล้ว สายตาที่มองผมมันก็เปลี่ยนไปด้วย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอิจฉาลูกหรอก ยังไงเขาก็เป็นที่ 1 ในทุกอย่าง ส่วนตัวผมแค่พยายามทำทุกอย่างให้ยังใหม่ มองเขาด้วยสายตาที่เป็นรักแรกเหมือนเดิม และจริงๆ การที่ผมรู้สึกแบบนี้น่าจะเป็นข้อดีนะ เพราะมันแปลว่ารักเรายังหวานชื่นอยู่เสมอ

 

 

“การมีลูกทำให้ผมรู้ว่าชีวิตได้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ”

ผมรู้สึกว่าการเป็นพ่อไม่ใช่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ หรือหน้าที่อันสูงสุด เพียงแค่รู้สึกว่ามันเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกันกับลูก เราเป็นได้ทั้งต้นแบบที่ทั้งถูกและผิด อย่างน้อยการมีเขา ทำให้ผมรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ใช่จะทำอะไรก็ได้แล้ว ผมควรจะทำตัวให้สมกับที่เขามองเราเป็นพ่อ เหมือนเป็นขั้นหนึ่งในชีวิตที่บอกให้ผมรู้ว่า ชีวิตเราได้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ

 


ติดตาม BALANCED MAMA PODCAST ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า Balanced Mama หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 

 



 

Credits


The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest ตรัย ภูมิรัตน


Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post บอย ตรัย ภูมิรัตน “ผมมองภรรยาด้วยสายตาของคนเป็นรักแรกเสมอ” appeared first on THE STANDARD.

]]>
หนิง คนึงนิจ คุณแม่แฝดสี่ ที่ไม่ลืมให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ที่ต่างกันของลูกๆ https://thestandard.co/podcast/balancedmama09/ Wed, 16 May 2018 17:01:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=91060

ลองจินตนาการความเหนื่อยยากสำหรับการรับหน้าที่เป็น ‘คุณแ […]

The post หนิง คนึงนิจ คุณแม่แฝดสี่ ที่ไม่ลืมให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ที่ต่างกันของลูกๆ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ลองจินตนาการความเหนื่อยยากสำหรับการรับหน้าที่เป็น ‘คุณแม่’ ของเด็กสักคน ที่ไม่เคยมีวันได้ลาพัก หนักแค่ไหนก็ลาออกไม่ได้ หน้าที่ประจำคือการเตรียมทุกอย่างให้พร้อมตั้งแต่ก่อนลูกตื่น เลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดีด้วยความรักตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จนได้มีเวลาของตัวเองอีกทีก็ตอนลูกหลับ เหล่านี้ยังไม่นับเรื่องราวใหม่ๆ ที่มาให้เรียนรู้ทุกวัน และสารพันปัญหาที่รอคุณแม่มาแก้ไข

 

แต่สำหรับคุณหนิง คุณแม่เจ้าของแฟนเพจ ‘สาวน้อยแฝด4 petite 4 the quadruplet’  ความเหนื่อยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคงต้องคูณกำลังไปอีก 4 เท่า เพราะเธอมีลูกสาวเป็นแฝดมากถึง 4 คน แถมอยู่ในวัยกำลังแสบซน พร้อมการันตีความน่ารักด้วยรางวัลผู้ทรงอิทธิพลในโซเชียลมีเดียหมวด Parenting จากงาน Influence Asia 2017

 

ซินดี้ สิรินยา คุยกับ หนิง-คนึงนิจ มฆวัตสกุล ในรายการ Balanced Mama Podcast

 

 

ที่มาของสาวน้อยมหัศจรรย์ทั้ง 4 คน

หนิงเป็นคนที่มีลูกยาก ไปปรึกษาคุณหมอผ่านขั้นตอนมาหลายวิธีและหลายครั้ง จนสุดท้ายตัดสินใจไปทำอิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection การใช้เทคโนโลยีช่วยให้มีลูก) เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งโชคดีมาก เพราะครั้งนี้เราทำสำเร็จ

 

ก่อนรู้ว่าได้น้องแฝดสี่ ตอนนั้นฮอร์โมนพุ่งสูง จนคุณหมอบอกว่ามีสิทธิ์ลุ้นได้ลูกแฝดนะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นแฝด 2 หรือแฝด 3 ซึ่งแค่รู้ว่ามีโอกาสได้แฝด 3 เราก็กังวลใจแล้วว่าตัวเองจะไหวไหม เพราะเป็นคนรูปร่างเล็กมาก แถมยังกลัวเรื่องคลอดก่อนกำหนดและปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาด้วย แต่สุดท้ายตัวอ่อนที่คุณหมอใส่ไป 3 ใบ มีใบหนึ่งสปริตออกมาเป็นแฝดแท้ เลยได้ลูกพร้อมกันทีเดียวเลย 4 คน เซอร์ไพรส์ทั้งตัวเองและสามี ที่เอาแต่ขำชอบใจไม่หยุด (หัวเราะ)

 

ที่เซอร์ไพรส์กว่าคือทั้ง 4 คนเป็นลูกผู้หญิงหมดเลย

 

การเตรียมตัวรับมือก่อนคลอด

ที่เมืองไทยยังไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝดสี่สักเท่าไร ส่วนใหญ่หนิงเลยหาอ่านจากบล็อกของเมืองนอก ถึงได้รู้ว่าคนต่างชาติเขาลำบากกว่าเราในหลายๆ เรื่อง อย่างที่ต่างประเทศ การนัดหมอสักครั้งเป็นเรื่องยากมาก ในขณะที่บ้านเราจะโทรปรึกษาคุณหมอเมื่อไรก็ได้ มีอะไรสงสัยก็พูดคุยกันได้ตลอด จึงทำให้หนิงสบายใจในช่วงตั้งครรภ์ได้เยอะขึ้นมาก

 

แฟนเพจ ‘สาวน้อยแฝด4 petite 4 the quadruplet’

หนิงตัดสินใจเปิดเพจนี้ เพราะทุกคนรอบตัวต่างตื่นเต้นกับการมีลูกแฝดสี่ของเรา เมื่อเด็กๆ คลอดออกมาแล้วใครๆ ก็อยากเห็น ทั้งเพื่อนหนิงเอง และครอบครัวของทั้งสองฝ่าย ช่วงแรกก็เป็นการส่งรูปผ่านไลน์ไปมา หรือโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว แต่เมื่อมันเยอะขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายเลยตัดสินใจเปิดเป็นแฟนเพจ พร้อมเขียนเรื่องราวที่เป็นความรู้ให้คนอื่นด้วยเลยดีกว่า ซึ่งก็มีหลายคนอินบ็อกซ์เข้ามาขอคำปรึกษาในเรื่องการมีลูกแฝด หรือขอกำลังใจสำหรับคนที่อยากมีลูก เสมือนเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ของคนเป็นแม่

 

 

10 ข้อคิดสุด strong ของคุณแม่คนเก่ง

1. คุณแม่ต้องเข้าใจคาแรกเตอร์ที่แตกต่างของลูกแต่ละคน และยอมรับในความเป็นตัวเองของเด็กๆ

 

2. เวลาที่เหนื่อย เครียด หรือทำงานจนมีเวลาส่วนตัวน้อย สิ่งที่คุณหนิงพยายามทำคือ ‘เงียบ’ ไว้ก่อน เพื่อใช้สติในการจัดการและควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ให้ไปลงที่ตัวลูกๆ

 

3. วิธีการแบ่งหน้าที่เลี้ยงลูกระหว่างคุณพ่อและคุณแม่ แนะนำให้หาตรงกลางที่สามารถบาลานซ์กันได้ อย่างครอบครัวคุณหนิงเอง คุณพ่อมีหน้าที่เป็นคนเล่น คอยเอ็นเตอร์เทนลูกๆ ด้วยความสนุกสนาน ส่วนคุณหนิงจะเป็นคนเลี้ยงดูในส่วนอื่นๆ ซึ่งโชคดีที่สามีไว้ใจและไม่เคยมีปัญหาขัดแย้งเรื่องนี้กันเลย

 

4. เรื่องการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย คุณหนิงจะระวังเรื่องความปลอดภัยของลูกๆ เป็นพิเศษ ดังนั้นในแฟนเพจ ‘สาวน้อยแฝด4 petite 4 the quadruplet’ จึงไม่มีการลงรูปแบบระบุสถานที่สำคัญที่เด็กๆ ไปประจำอย่างโรงเรียน เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่อาจเกิดขึ้นได้

 

5. อีกสิ่งที่คุณหนิงระวังเป็นพิเศษ คือคอมเมนต์ที่เข้ามาเปรียบเทียบลูกแฝดแต่ละคน เช่น คนที่ 1 น่ารักที่สุด หรือคนที่ 2 น่ารักกว่าคนที่ 3 ถึงแม้ในตอนนี้เด็กๆ อาจยังไม่รู้เรื่อง แต่ในอนาคตอาจมีผลกระทบกับพวกเขาได้

 

6. อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคุณแม่ท่านอื่น แต่ให้มองข้อดีที่คนอื่นมีเป็น
แรงบันดาลใจ เพื่อให้ตัวเองทำหน้าที่ได้ดี โดยไม่กดดันตัวเอง

 

7. การซึมซับความน่ารักและเป็นธรรมชาติของเด็กๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียดของคนเป็นแม่ได้ดีเสมอ

 

8. สำหรับคุณแม่ที่มีลูกมากกว่า 1 คน อย่าลืมหาเวลาอยู่กับลูกแต่ละคนแบบสองต่อสอง ชวนเขาพูดคุยและตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาเล่า เพื่อให้เขารู้ว่าตัวเองมีความหมาย มากกว่าแค่กลมกลืนไปกับพี่น้องคนอื่นๆ

 

9. การดูแลสุขภาพของคนเป็นแม่ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่สามารถออกกำลังกายครั้งละ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงได้ แนะนำให้ลองแบ่งเวลาว่างช่วงสั้นๆ ครั้งละ 10 นาที จะวิ่งหรือฟิตเนสเองที่บ้านก็ได้ หรือบางครั้งลองชวนลูกๆ มาดูแลสุขภาพแบบสร้างสรรค์ เปิดเพลงเต้นไปพร้อมกัน เพื่อสานสัมพันธ์ในครอบครัว ไปพร้อมกับการมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

10. การเป็นแม่ทำให้คุณหนิงรู้ว่าตัวเองทำอะไรได้มากกว่าที่คิด ทั้งเรื่องความอดทน ความแข็งแรง และอีกสารพัดความสามารถที่เพิ่งมาค้นพบตอนมีลูก ทำให้ภูมิใจในตัวเอง รู้สึกรักตัวเองมากขึ้นด้วย

 

ติดตามข้อมูลความรู้สาระดีๆ และรูปภาพสุดน่ารักของสาวน้อยแฝดสี่ได้ที่ 4 Petite 4 The Quadruplet

 


 

ติดตาม BALANCED MAMA PODCAST ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า Balanced Mama หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 

 



 

Credits


The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest คนึงนิจ มฆวัตสกุล


Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post หนิง คนึงนิจ คุณแม่แฝดสี่ ที่ไม่ลืมให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ที่ต่างกันของลูกๆ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ โจทย์ใหญ่ตลอดกาลที่ผู้หญิงหลายคนต้องเจอ https://thestandard.co/podcast/balancedmama08/ Wed, 09 May 2018 17:01:47 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=89569

ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ แน่นอนว่าตอนที่หลายคนเริ่มต้นรักกัน […]

The post ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ โจทย์ใหญ่ตลอดกาลที่ผู้หญิงหลายคนต้องเจอ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ แน่นอนว่าตอนที่หลายคนเริ่มต้นรักกัน ความรักยังเป็นเรื่องของคนสองคน แต่เมื่อไรที่ตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน คราวนี้มันจะต้องมีผู้คนรอบตัวมาเกี่ยวข้อง ลำพังแค่การปรับตัวของฝั่งสามีที่ถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัวของเขา และภรรยาที่หล่อหลอมมาจากครอบครัวของตัวเอง ก็เป็นเรื่องที่ยากมากพอแล้ว แต่พอมีครอบครัวเข้ามาทุกอย่างมันก็ยากขึ้นกว่าเดิมไปอีก

 

ซินดี้ สิรินยา ชวน ดีเจพี่อ้อย-นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล จาก Club Friday มาคุยทุกมุมมองของปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ พร้อมหาวิธีแก้ไขไปด้วยกัน ในรายการ Balanced Mama Podcast

 


คนเป็นแม่อยู่กับลูกได้แค่อายุขัยของตัวเอง เขาเลยอยากมั่นใจว่าคนที่จะเข้ามาอยู่ในชีวิตของลูกตลอดไปจะต้องเป็นคนดี

คุณแม่สามีแบบไหนที่ลูกสะใภ้มีโอกาสเจอ

วันหนึ่งที่คนเป็นแม่ให้กำเนิดอีกชีวิตขึ้นมา เราย่อมต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขา ดังนั้นระบบคัดกรองของแต่ละคนเลยมีความแตกต่างกันไป ถ้าคนที่เป็นลูกสะใภ้สามารถคิดแบบนี้ได้ อาจช่วยลดความเป็นปฏิปักษ์กับแม่สะใภ้ ลูกใครใครก็รัก เขาเจอกันมาตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก แต่เราเพิ่งมาเจอเอาตอนวัยเจริญพันธุ์ เราไม่รู้หรอกว่าเขาไปมีปมชีวิตอะไรกันมา

 

อย่างตัวพี่อ้อยเองก็เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้ กว่าตัวเองและสามีจะได้แต่งงานกันนั้นขั้นตอนช่างยากเย็น ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของคุณแม่สามีเช่นกัน เพราะท่านก็เจอเรื่องเจ็บปวดในฐานะคุณแม่มามาก ลูกแต่ละคนไปเลือกคู่ชีวิตเองและสุดท้ายก็สร้างบาดแผลให้กับคนในครอบครัว ทำให้พี่อ้อยเจอด่านใหญ่ แต่เพราะเราเข้าใจในสิ่งที่ท่านเจอมา จึงทำให้ไม่เป็นปฏิปักษ์กับคุณแม่สามี และค่อยๆ พยายามสู้ไปด้วยกันกับคนรัก

 

แม่สามีทุกรูปแบบที่ลูกสะใภ้มีโอกาสได้เจอ ขอให้คิดไว้เสมอว่ามันมาจากความรัก เช่น คุณแม่ขอคัดเองกับมือทุกคน ลงรายละเอียดกับทุกอย่าง ผู้หญิงฐานะเป็นอย่างไร เกาะลูกชายฉันกินใช่ไหม เงินเดือนเท่าไร กิริยามารยาทดีพอไหม เป็นคนจีนเหมือนกันหรือเปล่า และขอบอกเลยว่าคำว่า ‘สะใภ้คนจีน’ ขีดเส้นใต้คำนี้สามเส้นเลยว่า ต้องได้รับการยอมรับค่อนข้างสูง แต่งเข้าไม่ให้แต่งออก ถ้าจะมีหลานให้ต้องเป็นผู้ชาย มันจะมีกรรมวิธีในการชนะใจแม่สามีที่เยอะมาก

บางทีรักมาก จนรักเกินไปสุดท้ายก็กลายเป็นทำร้ายกัน

เพราะฉะนั้นทุกคนมีเงื่อนไขชีวิตที่แตกต่างกัน บางคนเป็นลูกชายคนเดียว บางคนเป็นลูกชายคนโต ในขณะที่บางคนเป็นลูกชายคนเล็ก ดังนั้นความโชคดีของผู้หญิงที่แต่งงานมาในบ้านที่ครอบครัวสามีน่ารักถือเป็นการถูกหวยรางวัลใหญ่ก็ว่าได้

 

ประสบการณ์จากชีวิตจริงที่ไม่อิงนิยาย

ยกตัวอย่างจากเรื่องเล็กๆ สมมติสามีภรรยาซื้อของเข้ามากินที่บ้าน แล้วนั่งกินกันสองคน ไม่ได้ชวนคุณแม่ บางทีท่านก็น้อยใจ อ๋อ ใช่สิ ไม่มีแม่แล้วละมั้ง หรือบางครั้งลูกสะใภ้ซื้อของกินมาให้สามีที่บ้าน วันต่อมาคุณแม่สามีจัดชุดใหญ่กว่ามาเสิร์ฟลูกชายเลย กลายเป็นการแข่งขันเงียบๆ ถ้าเราเป็นคนนอกครอบครัวอาจรู้สึกว่าเรื่องนี้แปลก แต่พี่อ้อยเคยไปถามจิตแพทย์ เขาให้เหตุผลว่า เพราะคุณแม่เคยเป็นที่รักและหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกเสมอ ถ้าวันนี้ลูกเจอใครอีกสักคนที่ทำให้เขาได้ดีกว่า คุณแม่จะรู้สึกยอมไม่ได้

 

เคยมีปัญหาหนึ่งที่คนโทรเข้ามาเล่าใน Club Friday แทบจะเป็นครั้งเดียวเลยที่พี่อ้อยไม่รู้จะตอบเขาว่าอะไร ปัญหาคือเธอเป็นสาวประเภทสองที่แต่งงานกับผู้ชาย โดยที่ครอบครัวฝ่ายนั้นไม่เคยรู้เลยว่าเธอไม่ใช่ผู้หญิงแท้ ปรากฏว่าพอเข้าไปอยู่ในบ้านสามี ทำอะไรก็ไม่เคยถูกใจคุณแม่ แต่เหมือนจะโชคดีที่คุณพ่อยังน่ารัก พยายามพูดให้เข้าใจและแนะนำทางแก้ไขโดยการให้มีหลาน ความเจ็บปวดคือเธอท้องไม่ได้และไม่รู้จะสื่อสารอย่างไร แต่ยังคงสู้ต่อ จนบรรยากาศในบ้านเริ่มกดดัน สามีถึงเดินมาบอกเธอว่าไม่ไหวแล้ว ทุกครั้งที่เดินเข้าบ้านเต็มไปด้วยปัญหา ไม่มีความสุขอะไรเลย มันกลายเป็นบ้านร้อนๆ หลังหนึ่งที่หาเหตุผลไม่เจอแล้วว่าเกิดจากอะไร เขาตัดสินใจให้แยกกันไปก่อน เธอบอกว่ามันเลยน่าเสียใจที่คนกลางไม่สู้ไปด้วยกันต่อ และต้องยุติความสัมพันธ์อยู่แค่นั้น

 

คนที่ลำบากใจไม่แพ้ใครคือคนกลาง

‘คนกลาง’ คือคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างครอบครัวของเขาและครอบครัวที่เรากำลังสร้าง ครอบครัวเขาก็จำเป็นเพราะนั่นคือเลือดเนื้อเชื้อไข ครอบครัวเราก็สำคัญเพราะมันคือสิ่งที่ทั้งคู่อยากมี ดังนั้นเมื่อไรที่สองครอบครัวนี้ไปด้วยกันไม่ได้ ขอให้รู้ไว้เถอะว่าคนกลางรู้สึกกดดัน

 

‘คนกลาง’ ต้องไม่เรียกร้องการยอมรับตั้งแต่วินาทีแรก แต่จะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาเป็นตัวช่วยทุกอย่าง ฝ่ายสะใภ้เองก็ต้องเข้าใจว่าเราไม่ได้เข้ามาเพื่อที่จะแย่งใคร แต่ตั้งใจมาเป็นลูกอีกคนของเขา ถ้าคนกลางมั่นใจแล้วว่าผู้หญิงคนนี้คือคนที่ตัวเองเลือกและดีที่สุด แน่นอน เวลาจะพิสูจน์ให้คนอื่นได้เห็นเอง

 

‘คนกลาง’ ต้องเข้าใจทั้งสองฝ่าย และพยายามหาจุดพอดี เชื่อไหมคะว่าครอบครัวคนจีน การแสดงออกซึ่งความรักเวลาอยู่ในบ้านถือเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ อย่างพี่อ้อยเอง ตอนจะเข้าไปเป็นสะใภ้ เวลาไปอยู่ที่บ้านเขา สามีจะให้เราอยู่กับคุณแม่ก่อน ส่วนตัวเขาจะไปทำนู่นทำนี่ ไม่มีการมานั่งตัวติดกันหรือป้อนอาหารกันให้ท่านเห็น ซึ่งโชคดีที่คุณแม่พี่อ้อยเป็นสะใภ้คนไทยในบ้านคนจีน เลยมีการเตรียมตัวให้ลูกสาวอย่างเพียบพร้อม

 

‘คนกลาง’ ต้องอารมณ์เย็นและมีสติ อย่าแสดงอาการไม่พึงพอใจ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นความผิดของสะใภ้ทันที คุณแม่อาจคิดว่า “ลูกชายฉันแต่ก่อนไม่เคยเป็นแบบนี้ แต่มาเปลี่ยนไปตั้งแต่มีผู้หญิง”

 

ชนะใจครอบครัวสามีด้วยความดีและเวลา

พี่อ้อยเคยเป็นพิธีกรงานแต่งงานของชายหญิงคู่หนึ่งที่เรารู้มาตลอดว่าพวกเขาไม่มีทางได้แต่งงานกันแน่ๆ เพราะครอบครัวฝ่ายชายทุกคนไม่เอาผู้หญิงคนนี้เลย ด้วยปัญหาต่างๆ นานามากมาย ต้องแอบมาเจอ ต้องแอบส่งของให้กัน แต่สุดท้ายวันแต่งงานก็มาถึง ฉากประทับใจที่ทำให้หลายคนต้องเสียน้ำตาในวันนั้นคือตอนที่เจ้าสาวยืนอยู่ข้างล่าง บนเวทีมีผ้าม่านผืนใหญ่ปิดอยู่ เจ้าบ่าวค่อยๆ เดินเอาช่อดอกไม้มารับเจ้าสาวขึ้นมายืนด้วยกัน ม่านค่อยๆ เปิดออกมาเป็นครอบครัวเจ้าบ่าวที่อยู่กันพร้อมหน้า ทุกคนกอดกัน และคุณพ่อก็พูดขึ้นว่า “พ่อดูหนูมานาน ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเป็นสมาชิกในครอบครัว” พี่อ้อยน้ำตาไหลเลย เพราะเราเห็นความพยายามของคู่นี้มานาน เรื่องนี้ต้องชื่นชมคนกลางที่พิสูจน์ให้ครอบครัวเห็นว่าถึงมีความรัก แต่ครอบครัวก็ยังสำคัญสำหรับเขาเสมอ  

บางทีการที่เจอโจทย์ยาก ก็ทำให้รู้ว่าเรารักกันมากแค่ไหน
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับคนสองคนที่พร้อมสู้และจับมือไปด้วยกัน

 


ติดตาม BALANCED MAMA PODCAST ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า Balanced Mama หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 

 



 

Credits


The Host ซินดี้ บิชอพ

The Guest นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล


Show Creator ซินดี้ บิชอพ

Episode Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post ปัญหาแม่ผัวลูกสะใภ้ โจทย์ใหญ่ตลอดกาลที่ผู้หญิงหลายคนต้องเจอ appeared first on THE STANDARD.

]]>