วันเลือกตั้ง

เปิดงบนโยบายการศึกษาประชาธิปัตย์ ‘เกิดปั๊บรับ 1 แสน’ งบเพิ่มปีละ 1 หมื่นล้าน

17.12.2018
  • LOADING...

 

 

พรรคการเมืองเริ่มประกาศนโยบายเสนอเป็นทางเลือกให้ประชาชน โดยพรรคประชาธิปัตย์ นัดแถลงข่าวเปิดตัวนโยบายการศึกษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตาม นโยบายที่เรียกเสียงฮือฮาและถูกวิจารณ์มากที่สุดคือ ‘นโยบายเกิดปั๊บรับสิทธิเงินแสน’

 

กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรค โพสต์เฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij ระบุว่า “ประเด็นที่ฮือฮามากมีสองเรื่อง เรื่องแรกคือ ‘เกิดปั๊บได้สิทธิรับเงินแสน’ ซึ่งหมายถึงการรับเบี้ย ‘เด็กเข้มแข็ง’ 5,000 บาท เดือนแรก และเดือนละ 1,000 บาท จากนั้นไปจนเด็กครบอายุ 8 ปี (รวมเป็น 1 แสนบาท)

 

มีคำถามมามากว่า แจกเงินแบบนี้ดีหรือ?

 

ผมขอชี้แจงง่ายๆ ว่า เงินเดือนละพันมีคำถามเยอะที่สุด แต่จริงๆ แล้วทางวิชาการเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่สุดเรื่องหนึ่ง วัตถุประสงค์คือช่วยเป็นค่าอาหารให้เด็กไทยมีโภชนาการที่ดีขึ้น ช่วงที่สำคัญมากคือช่วง 8 ปีแรก ซึ่ง 1,000 บาทต่อเดือนนักวิชาการ TDRI ยังบอกว่าน้อยไป (1,000/30วัน/3มื้อ = มื้อละ 11บาท) เด็กไทยถึงไม่พัฒนา

 

ส่วนที่ให้ ‘ถ้วนหน้า’ เพราะจากประสบการณ์ รัฐไม่เก่งเรื่องการคัดกรอง คือคัดแล้วคนจนจริงจะไม่ได้สิทธิเสียเยอะ ยิ่งมีเงื่อนไขมากคนจนจริงยิ่งเข้าถึงยาก

 

TDRI จึงแนะนำว่าให้ ‘ถ้วนหน้า’ ดีกว่า แล้วเราจะตั้งกองทุน ใครสละสิทธิเอาใส่ทุนกลับไปช่วยเด็กยากจน

 

ส่วนเรื่อง ปวส. ไว้ผมอธิบายต่างหาก แต่สั้นๆ คือเป็นวิธีส่งเสริมให้เด็กไทยเรียนสายวิชาชีพมากขึ้นเทียบกับสายสามัญ”

 

ขณะเดียวกัน วันนี้ (17 ธ.ค.) กรณ์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand เปิดเผยว่า ตัวเลขงบประมาณที่ทำการศึกษาไว้สำหรับนโยบาย ‘เด็กเข้มแข็ง’ ปีแรกคาดการณ์อยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 หมื่นล้านบาทจนถึงปีที่ 8 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง

 

กรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เด็กกลุ่มแรกที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวคือเด็กที่อยู่ใน ‘โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด’ ของรัฐบาลปัจจุบัน จำนวน 4 แสนกว่าคนในครอบครัวที่ยากจน ซึ่งได้เงินอุดหนุนเดือนละ 600 บาทตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี แต่ประชาธิปัตย์จะเพิ่มให้เป็น 1,000 บาท จนถึงอายุ 8 ปี จากนั้นจะขยายไปถึงเด็กทั่วประเทศซึ่งตั้งใจจะให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันประกาศนโยบาย 15 ธันวาคม 2561

 

ขณะที่นโยบายอาหารเช้า-กลางวันฟรีตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 (เฉพาะโรงเรียนรัฐ) ใช้งบประมาณต่อปี 2.7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นอาหารเช้า 10 บาทต่อหัว และอาหารกลางวัน 20 บาทต่อหัว

 

ส่วนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก งบประมาณที่ทำให้บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ 5,000 บาท/หัว/ปี ประเมินตัวเลขเด็กในศูนย์เด็กเล็กมากที่สุดประมาณ 3 ล้านคน ใช้งบประมาณอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท

 

ภาพประกอบ: Nisakorn R.

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X