THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ไทยเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% ต้องเร่งตัดสินใจเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย
EXCLUSIVE CONTENT

แรงกดดันรอบใหม่! สหรัฐฯ คงภาษีนำเข้า 36% บีบไทยสู่ 2 ทางเลือก ลดภาษี 0% แลก GDP โต หรือเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย?

... • 14 ก.ค. 2025

HIGHLIGHTS

  • ตลาดหุ้นโลกทรงตัว ตอบรับการประกาศอัตราภาษีศุลกากรใหม่ของทรัมป์ซึ่งประกาศต่อเนื่องตั้งแต่ 7-9  ก.ค.ที่ผ่านมา
  • ตลาดหุ้น EM อ่อนตัวลง หลังจากที่ได้รับรู้ข่าวว่าทรัมป์อาจเรียกเก็บภาษีนำเข้ายาและเวชภัณฑ์สูงถึง 200% ส่วนประเทศกลุ่ม BRICS จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มอีก 10%
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุว่ากรณีของไทยที่สหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% แต่ปรับลดอัตราภาษีให้กับหลายประเทศ จะทำให้ไทยเผชิญความตึงเครียดด้านการค้ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 
  • และข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนาม อาจเป็นฐานสำหรับการเจรจาการค้าของไทย คือไทยอาจต้องลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 0% เช่นเดียวกับเวียดนาม และไทยจะต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้นอีกมาก 
  • หากการเจรจาสำเร็จ และทำให้ภาษีลดลงเหลือ 15-20% GDP จะเติบโต 1.1-1.4% ในปี 2025 (ความน่าจะเป็น 30%) แต่หากภาษี 21-28% GDP จะขยายตัว 1.0-0.0% (ความน่าจะเป็น 50%)

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกทรงตัว แม้จะมีแรงขายเข้ามาช่วงต้นสัปดาห์ภายหลังจากสหรัฐเริ่มกลับมาใช้มาตรการภาษีนำเข้ากดดันคู่ค้าเพิ่มเติม โดยได้ประกาศอัตราภาษีศุลกากรใหม่ต่อเนื่องในวันที่ 7 - 9 ก.ค. 

 

อีกทั้ง ปธน. ทรัมป์ ยังประกาศแผนเก็บภาษีนำเข้าทองแดง 50% เป็นส่วนหนึ่งของชุดภาษีตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเริ่มในช่วงสิ้นเดือน ก.ค. 

 

ขณะเดียวกัน ทรัมป์ยังระบุว่า ภาษีนำเข้ายาและเวชภัณฑ์อาจสูงถึง 200% แต่จะให้เวลาผู้ผลิตยาต่างชาติอย่างน้อย 1 - 1.5 ปี เพื่อย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ  รวมถึงประเทศกลุ่ม BRICS จะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มอีก 10% 

 

รวมทั้งล่าสุดทรัมป์ขู่เก็บภาษีสินค้าจากบราซิล 50% กดดันตลาดหุ้น EM อ่อนตัวลง 0.5% 

 

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดหุ้นโลกถือว่าฟื้นตัวกลับมาได้ดีในช่วงปลายสัปดาห์ จากการรอผลเจรจา โดยสหรัฐฯ กำหนดเส้นตายภาษีศุลกากรเป็นวันที่ 1 ส.ค. เพื่อให้มีโอกาสในการเจรจาต่อรอง ส่วนตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นแรงท้ายสัปดาห์จากความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดจะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ 

 

รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Minutes) เดือน มิ.ย. เผยเจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องนโยบายภาษีของทรัมป์กับเงินเฟ้อ โดยกรรมการ 'ส่วนใหญ่' มองว่าภาษีอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรรมการ 'บางส่วน' เห็นว่าเป็นเพียงการเร่งราคาชั่วคราวเท่านั้น Fed ยังประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวม 'ยังแข็งแกร่ง' ทำให้มีเวลารอดูข้อมูลเพิ่มเติม 

 

ด้านตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงหลังสหรัฐคงภาษีนำเข้า 36% แต่เริ่มทยอยฟื้นตัวขึ้นจากความหวังการเจรจา ราคาน้ำมันอ่อนตัวเพียงเล็กน้อย แม้ OPEC+ จะเร่งเพิ่มการผลิตต่อเนื่อง

 

2 ทางเลือก เจรจาการค้ากับสหรัฐฯ 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ สหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% ขณะที่มีการปรับลดอัตราภาษีให้กับหลายประเทศ เราประเมินว่าความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้ยกระดับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

 

ทั้งนี้ มองว่า ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-เวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2025 อาจเป็นฐานสำหรับการเจรจาการค้าของไทย โดยมีความเป็นไปได้ดังนี้ 

 

  1. ไทยอาจต้องลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 0% เช่นเดียวกับเวียดนาม 
  2. ไทยจะต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้นอีกมาก 

 

หากการเจรจาสำเร็จ และทำให้ภาษีลดลงเหลือ 15-20% GDP จะเติบโต 1.1-1.4% ในปี 2025 (ความน่าจะเป็น 30%) แต่หากภาษี 21-28% GDP จะขยายตัว 1.0-0.0% (ความน่าจะเป็น 50%) 

 

ส่วนในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากต้องเผชิญภาษี 29-36% GDP อาจหดตัวที่ (-0.1%)-(-1.1%) (ความน่าจะเป็น 20%) ไทยมีการนำเข้าสินค้าเกษตร ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ อยู่แล้วในระดับหนึ่ง จึงมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเพิ่มการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้า 

 

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเปิดนำเข้าสินค้าใหม่ๆ ที่เคยถูกจำกัดด้วยภาษีนำเข้าสูง เช่น เนื้อสัตว์ รถยนต์ และ เครื่องจักร

 

ด้านข้อมูลจาก Fed Minutes ระบุว่าเจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องผลกระทบของนโยบายภาษีของทรัมป์ต่อเงินเฟ้อ โดยกรรมการ ‘ส่วนใหญ่’ มองว่าภาษีอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Fed ยังประเมินว่าเศรษฐกิจโดยรวม ‘ยังแข็งแกร่ง’ ทำให้มีเวลารอดูข้อมูลเพิ่มเติม 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า ในปัจจุบันความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้องจับตาความเสี่ยงเงินเฟ้อ โดยหากเงินเฟ้อ CPI ไม่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 2 - 3 เดือนข้างหน้า อาจเปิดทางให้ Fed เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เดือน ก.ย. ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ Fed จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปีนี้ 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้น Earning Play โมเมนตัมกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง โดย 2Q68 คาดกำไรปกติจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่ 3Q68 คาดกำไรยังเติบโต YoY แนะนำ ADVANC BCH CBG CPALL SCCC 
  2. หุ้น Defensive ที่ผันผวนต่ำและผลการดำเนินงานต้านทานความเสี่ยงภายนอกได้ (ผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายในและภายนอก) อีกทั้งยังมีศักยภาพจ่ายปันผลสม่ำเสมอ แนะนำ ADVANC BCH DIF 
  3. หุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี (SET50 ที่มี SETESG Rating A ขึ้นไป) เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้แก่พอร์ตลงทุนในระยะสั้น โดยคาดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไร 1H68 และให้ Div. Yield เกิน 2% แนะนำ ADVANC BBL PTT 
  4. Trading Idea :สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการเก็งกำไร แนะนำ 1) หุ้น Undervalue (PER และ PBV < -1SD) และเราแนะนำ Outperform อีกทั้งคาดให้ Div. Yield ไม่ต่ำกว่าปีละ 3% แนะนำ BBL BCPG BDMS CPALL DIF PTT SIRI TIDLOR 2) หุ้นที่มีโอกาสได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวไทย แนะนำ ERW CENTEL AAV และ 3) หุ้นที่คาดฟื้นตัวเร็วหากเชื่อว่าการเจรจาจะทำให้สหรัฐพิจารณาปรับลดภาษีไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 20% หรือต่ำกว่า แนะนำ AMATA GPSC WHA

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากยังกังวลอัตราภาษีศุลกากรใหม่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศเรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. โดยสำหรับไทยถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 36% สูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในกลุ่มอาเซียน ซึ่งทำให้ไทยมีโอกาสสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและกดดันให้ GDP อาจเติบโตชะลอตัวได้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามความคืบหน้าการเจรจาระหว่างสหรัฐกับไทยอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี เราประเมิน SET ที่บริเวณต่ำกว่า 1,100 จุด คิดเป็น PER ปี 2568 ต่ำกว่า 12 เท่า ยังเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยกลยุทธ์ลงทุนคงแนะนำให้ 'Selective Buy'” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ

 

สัปดาห์นี้ต้องติดตาม

 

  1. GDP ของจีน ไตรมาส 2 ตลาดคาด 5.10% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 5.40% YoY ในวันที่ 15 ก.ค. 
  2. Core CPI ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. ตลาดคาด 3.00% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ 2.80% YoY ในวันที่ 15 ก.ค. 
  3. ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. ตลาดคาด 0.00% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ -0.90% MoM ในวันที่ 17 ก.ค.
  4. ความคืบหน้าการเจรจาต่อรองทางการค้าเพิ่มเติมระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า รวมทั้งประเทศไทย

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CBG - Undervalued ซึ่ง 2Q25 คาดโตเด่น

 

แนะนำ บมจ. คาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดราว 25% ซึ่งมีแรงหนุนจากเครือข่ายจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์อื่นภายใต้ตราสินค้าคาราบาว ได้แก่ น้ำดื่ม กาแฟ และเครื่องดื่มเกลือแร่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์กลุ่ม functional drink (WOODY C+ Lock) 
  • 2Q25 คาดกำไรสุทธิจะอยู่ที่ 820-840 ล้านบาท เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก YoY และเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียว QoQ แรงหนุนหลักมาจากยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยน่าจะยังอยู่ที่ระดับ 26.7% ซึ่งทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ 
  • มองน่าสนใจลงทุนในฐานะเป็นทั้งหุ้น Earning Play (2Q25 คาดกำไรเติบโตเด่นราว 30%YoY) และหุ้น Undervalued ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขาย PER 2025F ที่ 15.4 เท่า คิดเป็นระดับ -2SD สวนทางกำไรปี 2025 ที่คาดยังเติบโตดี 15%YoY    
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 70 บาท (อ้างอิง -1.5SD PER ที่ 21 เท่า) และคาดมีเงินปันผลจ่ายปี 2025 หุ้นละ 1.49 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละราว 3%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ทรัมป์เผยแผนขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ โดยภาษีใหม่นี้ถูกเลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม ขณะที่เตรียมประกาศรายละเอียดภาษีอุตสาหกรรมยาและเซมิฯในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ภาพนี้ทำให้ความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าหุ้นกลุ่ม Defensive และกลุ่มที่พึ่งพาการส่งออกนำเข้าที่น้อย เช่น PM NFLX Feihe ยังคงจำเป็นในสถานการณ์แบบนี้

 

  • หากเทียบกับภาษีตอบโต้ ณ วัน Liberation Day ประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีลดลง ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา บังคลาเทศ เซอร์เบีย บอสเนีย ตูนิเซีย ในทางตรงกันข้ามประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีนำเข้าเพิ่ม ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ขณะที่ประเทศที่ได้รับข้อเสนอภาษีเท่าเดิม ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ คาซัคสถาน เกาหลีใต้ 
  • นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเพิ่มคือ 1. ปธน. ทรัมป์ ขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% สำหรับประเทศใดๆ ที่เข้าร่วมต่อต้านนโยบายอเมริกา ของกลุ่ม BRICS และ  2. ประธานาธิบดีทรัมป์เตรียมเผยรายละเอียด Tariff ในส่วนยาและเซมิฯในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีสูงถึง 200% สำหรับยาเวชภัณฑ์ แต่ตัวเลขสุดท้ายยังไม่แน่นอน
  • เราประเมินว่าความเสี่ยงจาก Tariff ยังคงเป็นกดดันทำให้ 1. ความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น 2. แนวโน้มการดำเนินงานของอุตฯทั่วโลกมีความไม่แน่นอนทั้งในด้านคำสั่งซื้อ, ต้นทุน และกำไร 3. ประเมินว่าผลกระทบจาก Tariff จะเห็นได้ชัดในผลประกอบการช่วง 2H25 มากกว่า ซึ่งทำให้หุ้น Defensive หรือหุ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีทางการค้าก็ยังเหมาะต่อสถานการณ์แบบนี้เช่น Philip Morris, Netflix, Feihe
  • นอกจากนี้ ในด้านอุตสาหกรรมยา เราประเมินว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดคือ บริษัทยุโรป โดยเกือบหนึ่งในสามของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คือ AstraZeneca (43%), Novo Nordisk (61.4%) และ Roche  (49%)  
  • ส่วนอุตฯ เซมิฯยังมีความเสี่ยงจาก Tariff ซึ่งเรายังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้หลังตัวเลขภาษียังไม่แน่ชัด 
  • หุ้น Defensive หรือกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีทางการค้าเหมาะกับสถานการณ์แบบนี้เช่น PM NFLX Feihe 

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง

 

ให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่ยังสูง และได้อานิสงส์จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และความไม่แน่นอนนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่ หลังสหรัฐฯ เลื่อนเส้นตายเก็บภาษีนำเข้าคู่ค้าเป็น 1 ส.ค.

 

ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

ความไม่แน่นอนเงินเฟ้อสหรัฐฯ จากกำแพงภาษี และความกังวลหนี้สาธารณะ มีแนวโน้มหนุน UST Yield ตัวยาว เพิ่มขึ้นต่อ ด้านตราสารหนี้ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลาง-ยาว น่าจะยังปรับลดลงได้ จากผลกระทบเศรษฐกิจที่มาจากภาษีสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนทางการเมือง

 

U.S. Treasury & IG

 

US term premium มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความกังวลขาดดุลการคลังสหรัฐฯ ตามการบังคับใช้ร่าง OBBBA ขณะที่ ดัชนี US IG bond ยังมีปัจจัยพื้นฐานดี แนะนำลงทุน UST และ US IG bonds โดยเน้น duration สั้นถึงกลาง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงพอร์ต ท่ามกลางความไม่แน่นอน

 

High Yield Bond

 

ความไม่แน่นอนของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้า อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ US HY default rate จะสูงขึ้น จากระดับในปัจจุบันที่ยังต่ำ ประกอบกับ UST Yield ตัวยาว มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อ และ US credit spread ที่ยังค่อนข้างแพง อาจจำกัด upside ของ US HY

 

สินทรัพย์ผสมกึ่งหนี้กึ่งทุนและ REITs

 

กองทุนสินทรัพย์ผสม ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุน โดยลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดและสถานการณ์ภายนอก  อีกทั้ง บริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญที่สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้อย่างยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยง

 

US REITs

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง จากการผ่านร่างกฎหมายลดภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ Yield Spread ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีและอัตราเงินปันผลของ REIT ยังติดลบที่ -0.2% อย่างไรก็ดี ตลาดคาดว่า Fed จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้ ทำให้ US REIT เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น

 

Private Credit *สำหรับนักลงทุน Ultra High Net Worth เท่านั้น

 

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit จากโมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดี หลังแบบจำลอง GDPNow ชี้ GDP ในปี 2568 จะเติบโต 2.6%QoQ ต่อปี ทั้งนี้ แนะนำเน้นลงทุนใน Private credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก

 

หุ้นไทย

 

ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น เพิ่มความเสี่ยงการผ่านร่างงบประมาณปี 2569 และการปรับลด GDP ในปีนี้ ทั้งนี้ ติดตามความคืบหน้าการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ หลังเข้าใกล้เส้นตาย 9 ก.ค. และสหรัฐฯ ประกาศลดภาษีนำเข้าจากเวียดนามจาก 46% เป็น 20% สะท้อนโอกาสที่ไทยจะถูกเก็บภาษีมากกว่า 10%

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

การบังคับใช้ร่างกระตุ้นการคลัง และการผ่อนคลายกฎระเบียบของสหรัฐฯ อาจประคอง sentiment หุ้นสหรัฐฯ / เศรษฐกิจยุโรปได้แรงหนุนจากนโยบายการคลัง และ EPS ของ บจ.มีแนวโน้มออกมาดี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม / หุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากค่าจ้างญี่ปุ่นที่เติบโตต่อ และการปฏิรูปธรรมาภิบาลที่คืบหน้า

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

ความไม่แน่นอนในการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อคู่ค้าต่างๆ ในวันที่ 1 ส.ค. ทำให้นักลงทุนบางส่วนยังระมัดระวังการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ส่วนในระยะกลาง เรามอง กำไรบจ.สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มเติบโตดี และเป็นวงกว้างขึ้น จากกระแส AI ทั่วโลก กฎหมายลดภาษีเงินได้-เพิ่มการใช้จ่าย และการผ่อนคลายกฎระเบียบเพิ่มเติม

 

หุ้นยุโรป

 

แม้ตลาดยุโรปอาจปรับลดลง หลังถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้า อยู่ที่ 30% เริ่มวันที่ 1 ส.ค.นี้ แต่คณะกรรมาธิการยังคงมุ่งมั่นที่จะเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อนเส้นตาย ด้านดัชนี PMI ภาคการผลิตส่งสัญญาณการฟื้นตัว และ คาดว่ากำไรของบจ.จะเติบโตได้ในช่วง 2H2568-2569 จากแรงหนุนด้านนโยบายการคลัง

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

ความไม่แน่นอนการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ และประเด็นการเมืองในญี่ปุ่น อาจเพิ่มความผันผวนต่อหุ้นญี่ปุ่นในระยะสั้น แต่ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปบรรษัทภิบาลในญี่ปุ่นที่คืบหน้าขึ้น และค่าจ้างในญี่ปุ่นที่เติบโตดี และ BoJ ที่มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

หุ้นตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่เติบโตดี สอดรับกับโมเมนตัม GFP ตามแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค โดยเฉพาะอินเดีย และการลดดอกเบี้ยกับออกมาตรการกระตุ้นของที่ต่างๆ รวมทั้ง เงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลดีต่อทุนไหลเข้า ขณะที่ P/E ยังต่ำกว่าตลาดพัฒนาแล้ว

 

หุ้นอินเดีย

 

ตลาดหุ้นอินเดีย ได้ปัจจัยหนุนจาก RBI ที่แนวโน้มลดดอกเบี้ยเพิ่ม และเสริมสภาพคล่องในระบบ เพื่อช่วยหนุนอุปสงค์ภายในประเทศ ประกอบกับ EPS ใน 2Q2568 ที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ตามฐานที่ต่ำปีก่อน และผลดีจากการลดภาษีเงินได้ ขณะที่ ตลาดฯ มีแนวโน้มถูกกระทบจำกัดจากนโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากความไม่แน่นอนด้านอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่มีการเรียกเก็บภาษีหลายประเทศ ในอัตรา 20% ถึง 50% รวมทั้ง จากเงินไหลเข้ากองทุน Gold ETF อย่างต่อเนื่อง และแรงซื้อทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะจีน

 

หุ้นจีน H-Share

 

ดัชนีหุ้นจีน H-Share ได้อานิสงส์จากความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น การกีดกันเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ที่เริ่มลดลง และกระแส AI ในจีนที่ยังคืบหน้า นอกจากนี้ เราคาดว่า บริษัทในดัชนีฯ ยังสามารถเพิ่มผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ผ่านการเพิ่มอัตราเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนมากขึ้น

 

ดัชนีหุ้น Nasdaq 100

 

ดัชนี Nasdaq 100 ได้แรงหนุนจากผลการเจรจาที่ดีระหว่างสหรัฐฯ-จีน และ Nvidia ที่พยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดในจีน ประกอบกับกระแส AI จะช่วยหนุนแนวโน้ม EPS ดัชนีฯ ขณะที่บริษัทในดัชนีฯ มีความสามารถในการทำกำไรสูง และมีงบดุลแข็งแกร่ง ท่ามกลางความไม่แน่นอนนโยบายสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่

 

ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้

 

ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ ได้แรงหนุนจากการขยายเวลาเก็บภาษีนำเข้า 25% ของสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสในการเจรจาต่อรองมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแจกเงินช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นการบริโภค และแผนการปฏิรูปตลาดทุนเป็นปัจจัยบวกในระยะยาว

 

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

 

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังได้อานิสงส์จากกระแสการเติบโตของ AI โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ที่ได้แรงหนุนจากความต้องการชิปประมวลผลและหน่วยความจำสำหรับ AI ที่ยังเร่งตัวขึ้น และกลุ่มซอฟต์แวร์ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโต ตามการนำ AI มาผสาน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน และการวิเคราะห์ข้อมูล

 

ภาพ: thitivong/Getty Images, CGinspiration/Getty Images, SimpleImages/Getty Images

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 14 ก.ค. 2025

READ MORE



Latest Stories