THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เศรษฐกิจโลก
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง แม้ IMF เพิ่มเป้า GDP เป็นสัญญาณว่าอาจเร็วเกินไปสำหรับโหมด Risk On

... • 6 ก.พ. 2023

HIGHLIGHTS

9 mins. read
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเงินตลาดทุนปรับตัวดีขึ้น ตอบรับปัจจัยบวก Fed ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้
  • แม้ประธาน Fed จะส่งสัญญาณว่ายังคงกังวลเงินเฟ้อ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง และกระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
  • ขณะที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง 
  • อย่างไรก็ตาม InnovestX มองว่าเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง สะท้อนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำระดับเดียวกับช่วง 4 วิกฤตก่อนหน้า รวมถึงเงินเฟ้อ Core PCE ชะลอลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายแล้ว บ่งชี้ว่าในระยะต่อไปนโยบายการเงินจะเข้าสู่ Restrictive Zone และสัญญาณการเกิด Earning Recession ในสหรัฐฯ ท่ีจะทำให้ภาคธุรกิจปลดคนงาน และยอดขายตก
  • ส่วนความเคลื่อนไหว SET สัปดาห์นี้ยังอยู่ในกรอบจำกัด เพื่อรอปัจจัยใหม่ และดูผลประกอบการ 4/22 ของ Real Sector ที่กำลังจะทยอยออกมา

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินปรับตัวดีข้ึน ส่วนตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% (EM -0.5%, DM +2.2%) สาเหตุหลักมาจาก 

 

  1. Fed ท่ีส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้ตลาดมองว่า Fed ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการขึ้นดอกเบี้ย 
  2. IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง 
  3. PMI ของทางการจีนที่ปรับดีขึ้นมาก ทั้งภาคการผลิต และภาคบริการและก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลจากการเปิดเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น 
  4. ราคาบ้านสหรัฐฯ ตกต่ำต่อเนื่อง โดยดัชนี Case-Shiller Index หดตัว 0.6% ต่อเดือน 5 เดือนติด ขณะที่ขยายตัว 7.7% ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงจากระดับสูงสุดที่กว่า 20% ในปีก่อน บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงต่อไป 
  5. เศรษฐกิจยุโรปที่ฟื้นตัวดีเกินคาดในไตรมาส 4 โดย GDP ของยูโรโซนขยายตัว 0.1% ต่อไตรมาส และ 1.9% ต่อปี เมื่อพิจารณาตลอดทั้งปี 2022 ยูโรโซนมีการขยายตัว 3.5% แข็งแกร่งกว่าสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวที่ดีในไตรมาส 4/22 ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก GDP ไอร์แลนด์ท่ีขยายตัวดี ขณะท่ีภาพของเศรษฐกิจหลัก เช่น เยอรมนี เริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมหดตัวมากขึ้นที่ -6.4% ขณะท่ี GDP เยอรมนีและอิตาลีหดตัวในไตรมาส 4/22

 

ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ส่งสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งจาก 

 

  1. การจ้างงานภาคเอกชน ADP ของสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาดในเดือนมกราคม โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.06 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดที่ 1.78 แสนตำแหน่ง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากอากาศแปรปรวนในสหรัฐฯ ท้ังพายุหิมะในภาคกลาง และอุทกภัยในแคลิฟอร์เนีย 
  2. ดัชนีภาคการผลิต ISM ของสหรัฐฯ หดตัวเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับ 47.4 ในเดือนมกราคม จาก 48.4 ในเดือนธันวาคม จากคำสั่งซื้อที่ลดลง 
  3. ที่ประชุม OPEC+ มีมติคงนโยบายปรับลดกำลังการผลิตลงที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงสิ้นปี 
  4. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 2.5% และ 4.0% ตามลาดับ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง แต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 9.2% และ 10.5% ตามลำดับ
  5. ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เตรียมลงนามคำสั่งห้ามผู้ผลิตสหรัฐฯ ขายสินค้าทุกชนิดให้ Huawei ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง 

“สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวข้ึนได้ในช่วงท้ายสัปดาห์จาก Fed ที่ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ ส่งสัญญาณว่ากระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลง (Disinflationary Process) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้ตลาดมองว่า Fed ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการข้ึนดอกเบี้ย ด้าน IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีข้ึนของจีน ยุโรป และสหรัฐฯ ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง”

 

InnovestX มองว่าสถานการณ์ Risk On ที่กลับมาในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นผลจาก 

 

  1. Fed ที่ลดระดับการขึ้นดอกเบี้ยลง และไม่ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง 
  2. การคาดการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของ IMF 
  3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน อันเป็นผลจากการเปิดเมือง 

 

โดยในประเด็นแรก ในการแถลงข่าวหลังการประชุม แม้ประธาน Fed จะส่งสัญญาณว่ายังคงกังวลเงินเฟ้อ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง และกระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว (Disinflationary Process has started) รวมถึงไม่ได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนในประเด็นที่อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยในช่วงปลายปี ตลาดจึงตอบรับในเชิงบวกมาก โดยคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% ในการประชุมครั้งหน้า (16 มีนาคม) และลด 0.50% ณ สิ้นปี 

 

ขณะที่ในประเด็น IMF ได้มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าเมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศที่ดีเกินคาด เช่น ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง การจัดการวิกฤตพลังงานในยุโรป และการเปิดประเทศของจีน ทำให้ IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจาก 2.7% เป็น 2.9% ด้าน PMI ของทางการจีนที่ปรับดีขึ้นมาก ท้ังภาคการผลิตที่ 50.1 จาก 47 และภาคบริการและก่อสร้างที่ข้ึนเป็น 54.4 จาก 41.6 ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดปรับตัวเชิงบวกเช่นกัน

 

เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง แม้ IMF เพิ่มคาดการณ์

อย่างไรก็ตาม InnovestX มองว่าเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงจาก 

  1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำระดับเดียวกับช่วง 4 วิกฤตก่อนหน้า 
  2. เงินเฟ้อ Core PCE ชะลอลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายแล้ว บ่งชี้ว่าในระยะต่อไปนโยบายการเงินจะเข้าสู่ Restrictive Zone 
  3. ปัจจุบันกำลังเกิด Earning Recession ในสหรัฐฯ ท่ีจะทำให้ภาคธุรกิจปลดคนงาน และยอดขายตกในระยะต่อไป
  4. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะทำให้ความต้องการโภคภัณฑ์เพิ่มข้ึน กดดันเงินเฟ้อ และทำให้ธนาคารกลางอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าที่ควรจะเป็น

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งในกรอบและยังคงมี Upside จำกัด ระหว่างรอปัจจัยใหม่ และดูผลประกอบการ 4/22 ของ Real Sector ที่กำลังจะทยอยออกมา 

 

กลยุทธ์การลงทุนแนะนา ‘Selective Buy’ ในธีมท่ีมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังน้ี

  1. หุ้นท่ีราคายัง Laggard โดยมี P/BV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และปี 2023 คาดกำไรเติบโตดี YoY อีกทั้ง Valuation ยังน่าสนใจ เลือก CPF, GPSC, SCGP และ HMPRO
  2. หุ้นท่ีคาดได้รับอานิสงส์เม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากการเข้าใกล้สู่ช่วงการเลือกต้ังของไทย เลือก BEC, CENTEL, CPN และ MAJOR
  3. หุ้นที่คาดผลประกอบการ 4/22-1/23 มีแนวโน้มเติบโตดี YoY เลือก MINT, CRC และ CPALL

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  1. ความคาดหวังเงินเฟ้อของมหาวิทยาลัยมิชิแกนว่าจะลดลงต่อเนื่องหรือไม่ 
  2. ตัวเลขเงินเฟ้อของจีนว่าจะเพิ่มขึ้นไปสู่ 2% หรือไม่ รวมถึงตัวเลขภาคการเงินจีน โดยเฉพาะยอดการปล่อยสินเชื่อความหมายกว้าง (Total Social Financing) ว่าจะขยายตัวเพียงใด หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดคาดว่าอาจเพิ่มจาก 1.3 ล้านล้านหยวนไปถึง 3.1 ล้านล้านหยวน 
  3. เงินเฟ้อไทยว่าจะเร่ิมลดลงจากเดือนก่อนที่ 5.9% หรือไม่

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CRC - อยู่บนเส้นทางการฟื้นตัว

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็น Holding Company ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายผ่านรูปแบบและช่องทางท่ีหลากหลาย โดยจัดเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่สุดในไทย และอันดับ 3 ในเวียดนาม รวมท้ังเป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่สุดในอิตาลี
  • มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะกลาง-ยาว จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการมีฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและเวียดนาม อีกทั้งมีแผนขยายแพลตฟอร์ม Omni-Channel และผนึกกำลังจากธุรกิจในเครือเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพทำกำไร รวมทั้งยังมองหาโอกาสทำดีล M&A
  • 4/22 คาดผลประกอบการเพิ่มขึ้น YoY แรงหนุนจากยอดขายปลีก (ยอดขายสาขาเดิมคาดจะเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง YoY โดยเพิ่มขึ้นทุกประเทศ ทั้งไทย เวียดนาม และอิตาลี) รายได้จากการให้เช่าที่ฟื้นตัว และมาร์จิ้นที่กว้างข้ึน ขณะที่เพิ่มข้ึน QoQ จากปัจจัยฤดูกาล
  • ปี 2022 คาดมีกำไรปกติแตะ 6.68 พันล้านบาท เพิ่มจากปี 2021 ที่ทำได้ 190 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตดีสุดในกลุ่มพาณิชย์ และจะเติบโตอีก 25.5%YoY ในปี 2023 จากยอดขายที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่า และมาร์จิ้นที่กว้างขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 50 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2022 อีกหุ้นละ 0.44 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1%

 

เงินไหลออกจาก ‘ตราสารหนี้’

ในสัปดาห์ท่ีผ่านมา กระแสเงินเราพบว่าเร่ิมมีแรงขายในตราสารหนี้ แม้ว่าตลาดจะเริ่มมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วง 2H23 ทั้งน้ีมองว่าเป็นการขายทำกำไร หลังจากท่ีตราสารหน้ีปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจจะลดความเสี่ยงจากความไม่ชัดเจนในนโยบายการเงิน รวมถึงมีแรงขายในตราสารหนี้ป้องกันเงินเฟ้อตามแนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง โดยหุ้นธีม Growth และกลุ่มเทคโนโลยีมีเงินไหลออก ยังสะท้อนว่าหุ้นในธีมนี้ยังมีความเสี่ยงในช่วงเวลาประกาศผลประกอบการที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

 

อย่างไรก็ตาม มีแรงซื้อในตลาดหุ้นจีนและตลาด EM ต่อเนื่องจากประเด็นการเปิดประเทศของจีนเป็นสำคัญ รวมถึงมีแรงซื้อในหุ้นขนาดเล็กและหุ้นกลุ่ม Value สะท้อนความ Risk On ของนักลงทุน รวมถึงมีแรงซื้อในกลุ่มการเงิน กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและ Materials บ่งชี้ว่านักลงทุนคลายความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระดับหน่ึง 

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

เราปรับการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดเป็น Neutral เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยลดลง และธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังถูกปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ดอกเบี้ยที่อยู่สูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

10y UST Yield เริ่มพักฐาน หลังถ้อยแถลงของ Fed ล่าสุดที่ค่อนข้าง Dovish และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเริ่มลดลงอย่างชัดเจน หลังจาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย และจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในส่วนของ 10y TH Yield ลดลงตามสหรัฐฯ แม้ต่างชาติขายออก แต่ยังมีแรงซื้อจากในประเทศ โดยเฉพาะบริษัทประกัน

 

กองทุนแนะนำ

 

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวตามความไม่แน่นอนที่ลดลงเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย สำหรับ IG TH Yield ลดลงตาม LT Gov’t Bond Yield ที่ลดลง และ Corporate Spread ที่ยังทรงตัวต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่ Spread ปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี

 

แม้ LT Yield ลดลง และ Financial Condition ดีขึ้น (จากค่าเงินใน EM ที่กลับมาแข็งค่า) ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่อัตราดอกเบี้ยที่อยู่สูงยาวนาน และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว จะยังคงกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่ม HY โดยเฉพาะในบางกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม เป็นต้น

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2023 ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ในช่วงรายงานงบฯ ประจำ 4/22 ท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ย และค่าจ้างที่ยังสูง รวมทั้งความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่ แม้ตลาดจะได้แรงหนุนจาก 10y UST Yield ที่พักฐาน

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

เราปรับมุมมองบนตลาดหุ้นยุโรปจาก Slightly Negative เป็น Neutral เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มดีกว่าที่คาด จากการที่ผลกระทบของวิกฤตพลังงานลดลงตามราคาพลังงานที่ปรับตัวลง รวมถึงนโยบายการคลังที่ออกมาช่วยลดผลกระทบ ในขณะที่ Valuation เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วยังอยู่ระดับต่ำ

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงมีความผันผวนจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว ประกอบกับแนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ อย่างไรก็ดี การที่ Valuation ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบกับการฟื้นตัวตามการเปิดเมือง จะช่วยลดผลกระทบต่อตลาดหุ้น

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มรับแรงหนุนจากมาตการการเปิดเมือง มาตรการผ่อนคลายทางการเงินการคลัง และมาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับดัชนีฯ ยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาไม่มากนักเมื่อเทียบกับหุ้นจีนฝั่ง Offshore แม้การเปิดเมืองที่เร็วกว่าคาดอาจนำไปสู่การระบาดที่เร่งตัวขึ้น และจะกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจจีนในช่วงสั้นก็ตาม 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการผ่อนคลายด้านกฎระเบียบของทางการจีน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเผชิญความเสี่ยงจากประเด็นข้อพิพาทเทคโนโลยีระหว่างจีน-คู่ค้า รวมทั้งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

เศรษฐกิจฟื้นตัวจากกำลังซื้อในประเทศที่ได้แรงหนุนจากท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่อการจ้างงาน รายได้ของ Self Employed และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุน Earning ของบริษัทที่เน้นตลาดในประเทศ ขณะที่ยังต้องระวังกลุ่มที่เน้นตลาดส่งออก ซึ่งจะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และเงินบาทแข็งค่า

 

กองทุนแนะนำ

 

เศรษฐกิจโลก

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

แม้ว่าในระยะกลางตลาดจะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวดี แรงกระตุ้นทางการคลังที่ยังมีอยู่ และ Valuation ที่ไม่แพง แต่ด้วยความกังวลสภาพคล่องตึงตัวบนภาคอสังหาริมทรัพย์, การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว, ผลประกอบการ บจ. ที่ชะลอลง และแนวโน้มการปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ จึงทำให้ Upside ตลาดถูกจำกัด 

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

ตลาดเริ่มมีแรงกดดันจากการขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มที่เป็น Commodities Supercycle รวมไปถึง EPS Growth Forecast สำหรับปีนี้ไม่ได้น่าดึงดูดหากเทียบกับกลุ่มอาเซียน อย่างไรก็ดี ยังคงมุมมองบวกต่อการใช้จ่ายในประเทศจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการใช้จ่ายก่อนเลือกตั้ง รวมไปถึง FDI ที่ทยอยลงทุนใน EV

 

กองทุนแนะนำ

 

เศรษฐกิจโลก

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และความคาดหวังต่อการชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่หนุนราคาทองคำ อย่างไรก็ตาม Upside ของราคาทองคำอาจเริ่มถูกจำกัดได้หากเศรษฐกิจยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการของสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง  

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงเป็นปัจจัยกดดัน Sentiment ของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เรามองว่าน้ำมันยังสามารถฟื้นตัวได้จากอุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีน นอกจากนี้น้ำมันสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกลับมาตึงเครียดได้อีกครั้ง

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ ดีขึ้นตาม LT Bond Yield ที่ลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ แต่ REITs ญี่ปุ่นกลับถูกกดดันจากแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ได้ส่งผลให้ 10YJGB Yield ปรับตัวสูงขึ้น กดดันดัชนีฯ ขณะที่ยุโรปยังเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และ Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งกดดัน Earning และ Div. yield 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

เราปรับมุมมองบน REITS เอเชีย จาก Neutral เป็น Slightly Positive เนื่องจากการเปิดประเทศของจีนจะสนับสนุนรายได้กลุ่ม Retail และโรงแรมให้ฟื้นตัว ขณะที่อัตราเงินปันผลอยู่ในระดับที่น่าสนใจ Bond Yield ที่มีแนวโน้มปรับลดลงจะส่งบวกต่อดัชนีฯ โดยเฉพาะสิงคโปร์ แต่กลุ่มสำนักงานยังต้องระวัง Oversupply

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 6 ก.พ. 2023

READ MORE



Latest Stories