- สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเงินตลาดทุนปรับตัวดีขึ้น ตอบรับปัจจัยบวก Fed ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้
- แม้ประธาน Fed จะส่งสัญญาณว่ายังคงกังวลเงินเฟ้อ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง และกระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
- ขณะที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง
- อย่างไรก็ตาม InnovestX มองว่าเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง สะท้อนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำระดับเดียวกับช่วง 4 วิกฤตก่อนหน้า รวมถึงเงินเฟ้อ Core PCE ชะลอลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายแล้ว บ่งชี้ว่าในระยะต่อไปนโยบายการเงินจะเข้าสู่ Restrictive Zone และสัญญาณการเกิด Earning Recession ในสหรัฐฯ ท่ีจะทำให้ภาคธุรกิจปลดคนงาน และยอดขายตก
- ส่วนความเคลื่อนไหว SET สัปดาห์นี้ยังอยู่ในกรอบจำกัด เพื่อรอปัจจัยใหม่ และดูผลประกอบการ 4/22 ของ Real Sector ที่กำลังจะทยอยออกมา
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินปรับตัวดีข้ึน ส่วนตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% (EM -0.5%, DM +2.2%) สาเหตุหลักมาจาก
- Fed ท่ีส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้ตลาดมองว่า Fed ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการขึ้นดอกเบี้ย
- IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง
- PMI ของทางการจีนที่ปรับดีขึ้นมาก ทั้งภาคการผลิต และภาคบริการและก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลจากการเปิดเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
- ราคาบ้านสหรัฐฯ ตกต่ำต่อเนื่อง โดยดัชนี Case-Shiller Index หดตัว 0.6% ต่อเดือน 5 เดือนติด ขณะที่ขยายตัว 7.7% ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงจากระดับสูงสุดที่กว่า 20% ในปีก่อน บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วงต่อไป
- เศรษฐกิจยุโรปที่ฟื้นตัวดีเกินคาดในไตรมาส 4 โดย GDP ของยูโรโซนขยายตัว 0.1% ต่อไตรมาส และ 1.9% ต่อปี เมื่อพิจารณาตลอดทั้งปี 2022 ยูโรโซนมีการขยายตัว 3.5% แข็งแกร่งกว่าสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวที่ดีในไตรมาส 4/22 ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก GDP ไอร์แลนด์ท่ีขยายตัวดี ขณะท่ีภาพของเศรษฐกิจหลัก เช่น เยอรมนี เริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมหดตัวมากขึ้นที่ -6.4% ขณะท่ี GDP เยอรมนีและอิตาลีหดตัวในไตรมาส 4/22
ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ส่งสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งจาก
- การจ้างงานภาคเอกชน ADP ของสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาดในเดือนมกราคม โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.06 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดที่ 1.78 แสนตำแหน่ง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากอากาศแปรปรวนในสหรัฐฯ ท้ังพายุหิมะในภาคกลาง และอุทกภัยในแคลิฟอร์เนีย
- ดัชนีภาคการผลิต ISM ของสหรัฐฯ หดตัวเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับ 47.4 ในเดือนมกราคม จาก 48.4 ในเดือนธันวาคม จากคำสั่งซื้อที่ลดลง
- ที่ประชุม OPEC+ มีมติคงนโยบายปรับลดกำลังการผลิตลงที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงสิ้นปี
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 2.5% และ 4.0% ตามลาดับ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง แต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 9.2% และ 10.5% ตามลำดับ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เตรียมลงนามคำสั่งห้ามผู้ผลิตสหรัฐฯ ขายสินค้าทุกชนิดให้ Huawei ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง
“สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวข้ึนได้ในช่วงท้ายสัปดาห์จาก Fed ที่ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ ส่งสัญญาณว่ากระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลง (Disinflationary Process) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และไม่ได้ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้ตลาดมองว่า Fed ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการข้ึนดอกเบี้ย ด้าน IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีข้ึนของจีน ยุโรป และสหรัฐฯ ภาพต่างๆ ทำให้เกิดกระแส Risk On และทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง”
InnovestX มองว่าสถานการณ์ Risk On ที่กลับมาในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นผลจาก
- Fed ที่ลดระดับการขึ้นดอกเบี้ยลง และไม่ปิดประตูการลดดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง
- การคาดการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นของ IMF
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน อันเป็นผลจากการเปิดเมือง
โดยในประเด็นแรก ในการแถลงข่าวหลังการประชุม แม้ประธาน Fed จะส่งสัญญาณว่ายังคงกังวลเงินเฟ้อ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่าเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง และกระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลงได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว (Disinflationary Process has started) รวมถึงไม่ได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนในประเด็นที่อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยในช่วงปลายปี ตลาดจึงตอบรับในเชิงบวกมาก โดยคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% ในการประชุมครั้งหน้า (16 มีนาคม) และลด 0.50% ณ สิ้นปี
ขณะที่ในประเด็น IMF ได้มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าเมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศที่ดีเกินคาด เช่น ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง การจัดการวิกฤตพลังงานในยุโรป และการเปิดประเทศของจีน ทำให้ IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจาก 2.7% เป็น 2.9% ด้าน PMI ของทางการจีนที่ปรับดีขึ้นมาก ท้ังภาคการผลิตที่ 50.1 จาก 47 และภาคบริการและก่อสร้างที่ข้ึนเป็น 54.4 จาก 41.6 ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดปรับตัวเชิงบวกเช่นกัน
เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง แม้ IMF เพิ่มคาดการณ์
อย่างไรก็ตาม InnovestX มองว่าเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงจาก
- ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำระดับเดียวกับช่วง 4 วิกฤตก่อนหน้า
- เงินเฟ้อ Core PCE ชะลอลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายแล้ว บ่งชี้ว่าในระยะต่อไปนโยบายการเงินจะเข้าสู่ Restrictive Zone
- ปัจจุบันกำลังเกิด Earning Recession ในสหรัฐฯ ท่ีจะทำให้ภาคธุรกิจปลดคนงาน และยอดขายตกในระยะต่อไป
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะทำให้ความต้องการโภคภัณฑ์เพิ่มข้ึน กดดันเงินเฟ้อ และทำให้ธนาคารกลางอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าที่ควรจะเป็น
กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย
ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งในกรอบและยังคงมี Upside จำกัด ระหว่างรอปัจจัยใหม่ และดูผลประกอบการ 4/22 ของ Real Sector ที่กำลังจะทยอยออกมา
กลยุทธ์การลงทุนแนะนา ‘Selective Buy’ ในธีมท่ีมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังน้ี
- หุ้นท่ีราคายัง Laggard โดยมี P/BV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และปี 2023 คาดกำไรเติบโตดี YoY อีกทั้ง Valuation ยังน่าสนใจ เลือก CPF, GPSC, SCGP และ HMPRO
- หุ้นท่ีคาดได้รับอานิสงส์เม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากการเข้าใกล้สู่ช่วงการเลือกต้ังของไทย เลือก BEC, CENTEL, CPN และ MAJOR
- หุ้นที่คาดผลประกอบการ 4/22-1/23 มีแนวโน้มเติบโตดี YoY เลือก MINT, CRC และ CPALL
เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
- ความคาดหวังเงินเฟ้อของมหาวิทยาลัยมิชิแกนว่าจะลดลงต่อเนื่องหรือไม่
- ตัวเลขเงินเฟ้อของจีนว่าจะเพิ่มขึ้นไปสู่ 2% หรือไม่ รวมถึงตัวเลขภาคการเงินจีน โดยเฉพาะยอดการปล่อยสินเชื่อความหมายกว้าง (Total Social Financing) ว่าจะขยายตัวเพียงใด หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดคาดว่าอาจเพิ่มจาก 1.3 ล้านล้านหยวนไปถึง 3.1 ล้านล้านหยวน
- เงินเฟ้อไทยว่าจะเร่ิมลดลงจากเดือนก่อนที่ 5.9% หรือไม่
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CRC - อยู่บนเส้นทางการฟื้นตัว
สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้
- เป็น Holding Company ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายผ่านรูปแบบและช่องทางท่ีหลากหลาย โดยจัดเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่สุดในไทย และอันดับ 3 ในเวียดนาม รวมท้ังเป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่สุดในอิตาลี
- มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะกลาง-ยาว จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการมีฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและเวียดนาม อีกทั้งมีแผนขยายแพลตฟอร์ม Omni-Channel และผนึกกำลังจากธุรกิจในเครือเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพทำกำไร รวมทั้งยังมองหาโอกาสทำดีล M&A
- 4/22 คาดผลประกอบการเพิ่มขึ้น YoY แรงหนุนจากยอดขายปลีก (ยอดขายสาขาเดิมคาดจะเติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง YoY โดยเพิ่มขึ้นทุกประเทศ ทั้งไทย เวียดนาม และอิตาลี) รายได้จากการให้เช่าที่ฟื้นตัว และมาร์จิ้นที่กว้างข้ึน ขณะที่เพิ่มข้ึน QoQ จากปัจจัยฤดูกาล
- ปี 2022 คาดมีกำไรปกติแตะ 6.68 พันล้านบาท เพิ่มจากปี 2021 ที่ทำได้ 190 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตดีสุดในกลุ่มพาณิชย์ และจะเติบโตอีก 25.5%YoY ในปี 2023 จากยอดขายที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่า และมาร์จิ้นที่กว้างขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
- เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 50 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2022 อีกหุ้นละ 0.44 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1%
เงินไหลออกจาก ‘ตราสารหนี้’
ในสัปดาห์ท่ีผ่านมา กระแสเงินเราพบว่าเร่ิมมีแรงขายในตราสารหนี้ แม้ว่าตลาดจะเริ่มมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในช่วง 2H23 ทั้งน้ีมองว่าเป็นการขายทำกำไร หลังจากท่ีตราสารหน้ีปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจจะลดความเสี่ยงจากความไม่ชัดเจนในนโยบายการเงิน รวมถึงมีแรงขายในตราสารหนี้ป้องกันเงินเฟ้อตามแนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง โดยหุ้นธีม Growth และกลุ่มเทคโนโลยีมีเงินไหลออก ยังสะท้อนว่าหุ้นในธีมนี้ยังมีความเสี่ยงในช่วงเวลาประกาศผลประกอบการที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม มีแรงซื้อในตลาดหุ้นจีนและตลาด EM ต่อเนื่องจากประเด็นการเปิดประเทศของจีนเป็นสำคัญ รวมถึงมีแรงซื้อในหุ้นขนาดเล็กและหุ้นกลุ่ม Value สะท้อนความ Risk On ของนักลงทุน รวมถึงมีแรงซื้อในกลุ่มการเงิน กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและ Materials บ่งชี้ว่านักลงทุนคลายความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระดับหน่ึง
มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO
สภาพคล่อง/เงินสด
ความน่าสนใจระดับ 3
เราปรับการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดเป็น Neutral เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยลดลง และธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังถูกปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ดอกเบี้ยที่อยู่สูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
10y UST Yield เริ่มพักฐาน หลังถ้อยแถลงของ Fed ล่าสุดที่ค่อนข้าง Dovish และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเริ่มลดลงอย่างชัดเจน หลังจาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย และจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในส่วนของ 10y TH Yield ลดลงตามสหรัฐฯ แม้ต่างชาติขายออก แต่ยังมีแรงซื้อจากในประเทศ โดยเฉพาะบริษัทประกัน
กองทุนแนะนำ
Krungsri Yenjai Fund
- กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว
หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวตามความไม่แน่นอนที่ลดลงเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย สำหรับ IG TH Yield ลดลงตาม LT Gov’t Bond Yield ที่ลดลง และ Corporate Spread ที่ยังทรงตัวต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่ Spread ปรับตัวลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี
แม้ LT Yield ลดลง และ Financial Condition ดีขึ้น (จากค่าเงินใน EM ที่กลับมาแข็งค่า) ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่อัตราดอกเบี้ยที่อยู่สูงยาวนาน และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว จะยังคงกดดันความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่ม HY โดยเฉพาะในบางกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม เป็นต้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2023 ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ในช่วงรายงานงบฯ ประจำ 4/22 ท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ย และค่าจ้างที่ยังสูง รวมทั้งความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่ แม้ตลาดจะได้แรงหนุนจาก 10y UST Yield ที่พักฐาน
ตลาดหุ้นยุโรป
ความน่าสนใจระดับ 3
เราปรับมุมมองบนตลาดหุ้นยุโรปจาก Slightly Negative เป็น Neutral เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มดีกว่าที่คาด จากการที่ผลกระทบของวิกฤตพลังงานลดลงตามราคาพลังงานที่ปรับตัวลง รวมถึงนโยบายการคลังที่ออกมาช่วยลดผลกระทบ ในขณะที่ Valuation เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วยังอยู่ระดับต่ำ
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงมีความผันผวนจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว ประกอบกับแนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ อย่างไรก็ดี การที่ Valuation ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบกับการฟื้นตัวตามการเปิดเมือง จะช่วยลดผลกระทบต่อตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นจีน A-Share
ความน่าสนใจระดับ 5
ดัชนีฯ มีแนวโน้มรับแรงหนุนจากมาตการการเปิดเมือง มาตรการผ่อนคลายทางการเงินการคลัง และมาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับดัชนีฯ ยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาไม่มากนักเมื่อเทียบกับหุ้นจีนฝั่ง Offshore แม้การเปิดเมืองที่เร็วกว่าคาดอาจนำไปสู่การระบาดที่เร่งตัวขึ้น และจะกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจจีนในช่วงสั้นก็ตาม
ตลาดหุ้นจีน H-Share
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการผ่อนคลายด้านกฎระเบียบของทางการจีน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเผชิญความเสี่ยงจากประเด็นข้อพิพาทเทคโนโลยีระหว่างจีน-คู่ค้า รวมทั้งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงมีอยู่
ตลาดหุ้นไทย
ความน่าสนใจระดับ 4
เศรษฐกิจฟื้นตัวจากกำลังซื้อในประเทศที่ได้แรงหนุนจากท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่อการจ้างงาน รายได้ของ Self Employed และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุน Earning ของบริษัทที่เน้นตลาดในประเทศ ขณะที่ยังต้องระวังกลุ่มที่เน้นตลาดส่งออก ซึ่งจะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และเงินบาทแข็งค่า
กองทุนแนะนำ
SCB Dividend Stock Open End Fund
- กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ความน่าสนใจระดับ 3
แม้ว่าในระยะกลางตลาดจะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวดี แรงกระตุ้นทางการคลังที่ยังมีอยู่ และ Valuation ที่ไม่แพง แต่ด้วยความกังวลสภาพคล่องตึงตัวบนภาคอสังหาริมทรัพย์, การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว, ผลประกอบการ บจ. ที่ชะลอลง และแนวโน้มการปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ จึงทำให้ Upside ตลาดถูกจำกัด
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความน่าสนใจระดับ 4
ตลาดเริ่มมีแรงกดดันจากการขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มที่เป็น Commodities Supercycle รวมไปถึง EPS Growth Forecast สำหรับปีนี้ไม่ได้น่าดึงดูดหากเทียบกับกลุ่มอาเซียน อย่างไรก็ดี ยังคงมุมมองบวกต่อการใช้จ่ายในประเทศจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และการใช้จ่ายก่อนเลือกตั้ง รวมไปถึง FDI ที่ทยอยลงทุนใน EV
กองทุนแนะนำ
SCB Indonesia Equity Fund
- กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย
ทองคำ
ความน่าสนใจระดับ 3
เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และความคาดหวังต่อการชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่างๆ ยังคงเป็นปัจจัยที่หนุนราคาทองคำ อย่างไรก็ตาม Upside ของราคาทองคำอาจเริ่มถูกจำกัดได้หากเศรษฐกิจยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการของสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง
น้ำมัน
ความน่าสนใจระดับ 4
ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวยังคงเป็นปัจจัยกดดัน Sentiment ของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เรามองว่าน้ำมันยังสามารถฟื้นตัวได้จากอุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีน นอกจากนี้น้ำมันสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกลับมาตึงเครียดได้อีกครั้ง
REITs ประเทศพัฒนาแล้ว
ความน่าสนใจระดับ 3
ดัชนีฯ ดีขึ้นตาม LT Bond Yield ที่ลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ แต่ REITs ญี่ปุ่นกลับถูกกดดันจากแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ได้ส่งผลให้ 10YJGB Yield ปรับตัวสูงขึ้น กดดันดัชนีฯ ขณะที่ยุโรปยังเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และ Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งกดดัน Earning และ Div. yield
REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ความน่าสนใจระดับ 4
เราปรับมุมมองบน REITS เอเชีย จาก Neutral เป็น Slightly Positive เนื่องจากการเปิดประเทศของจีนจะสนับสนุนรายได้กลุ่ม Retail และโรงแรมให้ฟื้นตัว ขณะที่อัตราเงินปันผลอยู่ในระดับที่น่าสนใจ Bond Yield ที่มีแนวโน้มปรับลดลงจะส่งบวกต่อดัชนีฯ โดยเฉพาะสิงคโปร์ แต่กลุ่มสำนักงานยังต้องระวัง Oversupply
Private Asset
ความน่าสนใจระดับ 2
Slightly Negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ผู้นำ IMF เตือนปี 2023 เศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับ ‘ความยากลำบาก’ มากขึ้น
- IMF เตือนการแยกส่วนของเศรษฐกิจโลก อาจสร้างความเสียหายมากถึง 7% ของ GDP โลก
- คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้นำ IMF ชี้ การเปิดประเทศของจีนจะเป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้