นํ้ามัน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 08 May 2023 23:59:29 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 PTT – พรีวิว 1Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นสู่ค่าเฉลี่ย 5 ปี https://thestandard.co/ptt-preview-1q66/ Mon, 08 May 2023 12:54:12 +0000 https://thestandard.co/?p=787165 หุ้น ปตท

เกิดอะไรขึ้น: InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรี […]

The post PTT – พรีวิว 1Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นสู่ค่าเฉลี่ย 5 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น ปตท

เกิดอะไรขึ้น:

InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 1Q66 ของ บมจ.ปตท. (PTT) ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลประกอบการวันที่ 11 พฤษภาคม 2566

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น PTT ปรับลดลง 0.80%MoM อยู่ที่ระดับ 31.00 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลดลง 1.76%MoM อยูที่ระดับ 1,549.31 จุด 

 

พรีวิวผลประกอบการ 1Q66:

ผลประกอบการ 1Q66 คาดว่ากำไรสุทธิของ PTT จะเติบโต 32%QoQ สู่ 2.35 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับกำไรสุทธิรายไตรมาสเฉลี่ย 5 ปีที่ 2.25 หมื่นล้านบาท แม้ว่ายังลดลง 8%YoY โดยจะได้แรงหนุนจากกำไรที่ดีขึ้นจากธุรกิจก๊าซ และธุรกิจการตลาดน้ำมันของบริษัทย่อย (OR) นอกจากนี้ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น (P&R) ก็พลิกกลับมามีกำไรเพราะ GRM แข็งแกร่งขึ้นและขาดทุนจากสินค้าคงเหลือและสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันลดลง 

 

แม้ราคาน้ำมันลดลงใน 1Q66 แต่ผลการดำเนินงานของธุรกิจ E&P จะช่วยสนับสนุนกำไรโดยรวมอย่างต่อเนื่อง โดย PTTEP รายงานกำไรเติบโต 83%YoY และ 24%QoQ เพราะต้นทุนต่อหน่วยลดลงและไม่มีขาดทุนพิเศษจำนวนมาก ผลการดำเนินงานของธุรกิจ P&R ก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน QoQ โดยได้แรงหนุนจาก Market GRM ที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 30%QoQ) 

 

และกำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน แม้ว่าจะถูกลดทอนไปบางส่วนโดยขาดทุนจากสินค้าคงเหลือ บริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมียังคงได้รับแรงกดดันจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ แม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย QoQ โดยได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน

 

ด้านปริมาณการขายก๊าซจะเพิ่มขึ้น QoQ ใน 1Q66 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.4%QoQ สู่ 4,078mmcfd แม้ว่ายังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 4,505mmcfd ค่อนข้างมาก โดยได้แรงหนุนจากความต้องการใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น (เพิ่มขึ้น 7%QoQ) เนื่องจากมีการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำลดลง ราคาก๊าซที่ลดลงเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดีเซลก็ช่วยกระตุ้นให้โรงไฟฟ้าหันกลับมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงใน 1Q66 

 

ส่วนปริมาณการขายที่โรงแยกก๊าซ (GSP) คาดว่าจะลดลง 3%QoQ โดยมีสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานโอเลฟินส์ของ PTTGC ตามแผน ทั้งนี้ก๊าซธรรมชาติมูลค่าสูงถูกส่งผ่านจาก GSP ไปยังโรงไฟฟ้าโดยตรงเพื่อลดการนำเข้า LNG ใน 1Q66 ส่วนแบ่งขาดทุนธุรกิจ NGV ที่ลดลงก็ช่วยสนับสนุนกำไรโดยรวมของธุรกิจก๊าซ โดยเกิดจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงและราคาขายที่สูงขึ้น (ปรับขึ้นในเดือนธันวาคม 2565)

 

สำหรับกำไรจากธุรกิจน้ำมันจะเพิ่มขึ้น QoQ เพราะค่าการตลาดดีขึ้น ซึ่งธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของ PTT ที่ดำเนินการผ่าน OR คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น QoQ ใน 1Q66 โดยเกิดจากค่าการตลาดที่ดีขึ้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง เมื่อรวมกับขาดทุนจากสินค้าคงเหลือที่ลดลง จึงคาดว่ากำไรขั้นต้นจะเพิ่มขึ้นจาก 0.48 บาทต่อลิตร สู่ 0.9 บาทต่อลิตร 

 

ปริมาณการขายน้ำมันเบนซินและน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนให้อัตรากำไรขั้นต้นต่อลิตรปรับตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเกิดจาก Lag Time ในการปรับราคาและการแทรกแซงที่ลดน้อยลงโดยรัฐบาล นอกจากนี้ยังคาดว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้น 0.3%QoQ สู่ระดับที่ทำสถิติสูงสุดที่ 7 พันล้านลิตรใน 1Q66 เนื่องจากปริมาณการขายน้ำมันดีเซลที่ลดลงจะถูกชดเชยโดยปริมาณการขายน้ำมันเบนซินและน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่เพิ่มขึ้น

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

InnovestX Research ปรับประมาณการกำไรปี 2566 ของ PTT ลดลง 10% เพื่อสะท้อนประมาณการที่ปรับใหม่สำหรับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมหลังจากได้ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันลดลง โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 34% ในปี 2566 โดยมีสาเหตุมาจากกำไรที่ลดลงจากธุรกิจ E&P แม้ว่าจะได้รับการชดเชยบางส่วนจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจก๊าซและธุรกิจการตลาดน้ำมัน 

 

นอกจากนี้ยังปรับราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี Sum-of-the-Parts ใหม่เป็น 45 บาทต่อหุ้น เพื่อสะท้อน Valuation ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม PTT ด้วย แม้มองว่าตลาดยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัฐบาล แต่ Valuation ไม่แพงและผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจ ดังนั้นจึงคงคำแนะนำ Outperform สำหรับหุ้น PTT

 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์พลังงานและปิโตรเคมี ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจทำให้มีขาดทุนสต๊อกมากขึ้น แต่มองว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

The post PTT – พรีวิว 1Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นสู่ค่าเฉลี่ย 5 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันร่วง 3 วันติด แตะ 68 ดอลลาร์ จ่อทำจุดต่ำใหม่รอบปี สะท้อนความเสี่ยง Recession ที่สูงขึ้น https://thestandard.co/fuel-price-dropped-reflect-recession-risk/ Thu, 04 May 2023 05:11:36 +0000 https://thestandard.co/?p=784999 ราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง 3 วันติดต่อกัน หลังจากที่ความต […]

The post ราคาน้ำมันร่วง 3 วันติด แตะ 68 ดอลลาร์ จ่อทำจุดต่ำใหม่รอบปี สะท้อนความเสี่ยง Recession ที่สูงขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง 3 วันติดต่อกัน หลังจากที่ความต้องการใช้น้ำมันจากสหรัฐฯ หดตัวลง เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่กำลังมุ่งเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)

 

การปรับตัวลดลงล่าสุดส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงมา 14% ในปีนี้ แตะระดับ 68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสะท้อนให้เห็นว่าแผนของ OPEC และกลุ่มพันธมิตรที่ประกาศลดกำลังการผลิตเพื่อต้องการกลับมาควบคุมตลาดน้ำมันอีกครั้ง ดูเหมือนจะไม่ได้ผล 

 

ขณะที่ส่วนต่างราคาของน้ำมันดิบ Brent ระหว่างเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีพรีเมียมแคบลงเหลือ 15 เซนต์ จากที่เคยสูงถึง 43 เซนต์ ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนว่านักเก็งกำไรมองว่าอุปทานน้ำมันในระยะสั้นมีมากกว่าอุปสงค์

 

Daniel Ghali นักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ของ TD Securities กล่าวว่า “นี่เป็นสถานการณ์ที่ยากสำหรับการรับมีดที่กำลังร่วงลงมาทันทีนับแต่ช่วงขาขึ้นในยุคโควิด” ขณะที่ช่วงราคาที่แคบลงของราคาน้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้าสะท้อนว่า “อุปสงค์ต่อสินค้าโภคภัณฑ์ถูกมองว่าจะลดลง ด้วยมุมมองของนักเก็งกำไรที่ว่าเราจะเผชิญกับการดิ่งลงอย่างหนักของเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่ความกังวลต่อเรื่อง Recession สะท้อนเข้ามาในราคาน้ำมัน” 

 

ขณะที่การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีก 0.25% เมื่อคืนนี้ และส่งสัญญาณว่าอาจจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่สามารถที่จะหยุดการร่วงลงของราคาน้ำมันได้

 

จากรายงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สะท้อนว่าความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ขณะที่อุปทานยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนอุปสงค์ต่อน้ำมัน Jet ลดลงเช่นกัน แต่ยังคงสูงกว่าเมื่อปีก่อนเล็กน้อย 

 

ในฝั่งของอุปทาน รัสเซียไม่มีท่าทีว่าจะลดการผลิตและส่งออกลง แม้ออกมาบอกว่าจะลดกำลังการผลิตลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน การส่งออกน้ำมันของรัสเซียพุ่งกลับไปเหนือระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดเมื่อ 28 เมษายนที่ผ่านมา 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

The post ราคาน้ำมันร่วง 3 วันติด แตะ 68 ดอลลาร์ จ่อทำจุดต่ำใหม่รอบปี สะท้อนความเสี่ยง Recession ที่สูงขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลุ่ม ‘OPEC’ ออกโรงเตือน IEA เพิ่มความระมัดระวังต่อมุมมองที่อาจบ่อนทำลายอุตสาหกรรมน้ำมัน https://thestandard.co/opec-warns-iea-careful-oil-industry/ Fri, 28 Apr 2023 03:38:39 +0000 https://thestandard.co/?p=782512 OPEC อุตสาหกรรมน้ำมัน

กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และชั้นนำของโลก หรือ OPE […]

The post กลุ่ม ‘OPEC’ ออกโรงเตือน IEA เพิ่มความระมัดระวังต่อมุมมองที่อาจบ่อนทำลายอุตสาหกรรมน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
OPEC อุตสาหกรรมน้ำมัน

กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และชั้นนำของโลก หรือ OPEC ได้ออกมาตำหนิองค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา โดย OPEC กล่าวว่าหน่วยงานด้านพลังงานชั้นนำของโลกแห่งนี้ควรจะใช้ความ “ระมัดระวังอย่างมาก” เกี่ยวกับการแสดงความเห็นต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่งจะสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายการกีดกันและการบ่อนทำลายการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าว 

 

Haitham Al Ghais เลขาธิการ OPEC กล่าวว่าการที่ IEA ชี้นิ้วและบิดเบือนการกระทำของ OPEC และ OPEC+ นั้น “เป็นการต่อต้านการผลิตน้ำมัน” ก่อนเสริมว่ากลุ่มผู้มีอิทธิพลของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 23 ประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายราคาน้ำมัน แต่มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยพื้นฐานของตลาด คือความต้องการใช้ 

 

ทั้งนี้ OPEC กล่าวว่าความคิดเห็นของตนเป็นการตอบสนองต่อคำวิจารณ์ใหม่จาก IEA โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ 

 

โดยก่อนหน้านี้ ทาง Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารของ IEA ได้ให้สัมภาษณ์ Bloomberg ทางโทรทัศน์ ซึ่งมีการเตือนกลุ่ม OPEC เกี่ยวกับการปรับเพิ่มราคาน้ำมัน 

 

Birol กล่าวว่ากลุ่มพันธมิตรด้านพลังงานอย่าง OPEC ที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ควร “ระมัดระวัง” กับนโยบายการผลิตของตน โดยเตือนว่าผลประโยชน์ระยะสั้นและระยะกลางของกลุ่มดูเหมือนจะขัดแย้งกัน อีกทั้ง Birol ยังเสริมว่าราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง โดยประเทศที่มีรายได้น้อยน่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศร่ำรวย 

 

Al Ghais เลขาธิการ OPEC กล่าวว่าทาง IEA ทราบดีว่าการกล่าวโทษน้ำมันว่าเป็นต้นเหตุของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นถือเป็นความ “ผิดพลาดและไม่ถูกต้องทางเทคนิค” เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบของโควิด, นโยบายการเงิน, ทิศทางการเคลื่อนตัวของหุ้น, การซื้อขายแบบอัลกอริทึม, แนวทางการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ และ SPR Releases (ทั้งแบบประสานหรือไม่ประสานกัน), ภูมิรัฐศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นราคาน้ำมันไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้เศรษฐกิจถดถอย และราคาน้ำมันที่ไม่แพงเกินไปหรือถูกเกินไป เป็นเป้าหมายที่ OPEC ต้องการมากกว่า 

 

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา IEA กล่าวว่าการลดกำลังการผลิตน้ำมันที่เหนือความคาดหมายจากกลุ่ม OPEC+ นั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้การขาดดุลอุปทานที่คาดการณ์ไว้รุนแรงขึ้น และอาจขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยสมาชิก OPEC+ หลายรายประกาศเมื่อวันที่ 2 เมษายนว่า แต่ละพื้นที่จะเข้มงวดกับการคงการผลิตทั่วโลกไว้ที่ 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปีนี้

 

นอกจากนี้ กลุ่ม OPEC และ IEA มีแนวทางที่แตกต่างกันในการลดปริมาณคาร์บอนทั่วโลก โดย IEA กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าเส้นทางสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้นจำเป็นต้องลดการใช้น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินลงอย่างมาก และเตือนในรายงานฉบับสำคัญในปี 2021 ว่าไม่มีที่สำหรับโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ๆ หากโลกต้องหยุดยั้งวิกฤตการณ์สภาพอากาศเลวร้ายที่เกิดขึ้น โดย IEA ปฏิเสธที่จะตอบสนองต่อความคิดเห็นของเลขาธิการ OPEC เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 

 

ทั้งนี้ ในความเห็นของหลายฝ่ายรวมถึง IEA การใช้น้ำมันถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ

 

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ของกลุ่ม OPEC+ ได้สนับสนุนกลยุทธ์การลงทุนแบบคู่ขนานในโครงการไฮโดรคาร์บอนและพลังงานหมุนเวียน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภาวะการขาดแคลนพลังงาน ในขณะที่ทรัพยากรสีเขียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างเต็มที่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง: 

The post กลุ่ม ‘OPEC’ ออกโรงเตือน IEA เพิ่มความระมัดระวังต่อมุมมองที่อาจบ่อนทำลายอุตสาหกรรมน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/offo-oil-price-reduction-policy/ Wed, 26 Apr 2023 11:21:05 +0000 https://thestandard.co/?p=781772 ราคาน้ำมันดีเซล

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สกนช. จับตา Fed ปรั […]

The post สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซล

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สกนช. จับตา Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสัปดาห์หน้าที่อาจกระทบต่อราคาน้ำมันดีเซลที่ยังตรึง 33 บาทต่อลิตร พร้อมเบรกพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงเสถียรภาพและสถานะกองทุน รวมถึงมูลค่าหนี้อีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท พร้อมเผยเงินกู้ยืมเสริมสภาพคล่องตอนนี้ถูกบรรจุเป็นหนี้สาธารณะไปแล้วกว่าแสนล้านบาท 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงครึ่งปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566) อยู่ในเกณฑ์ดี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปีงบประมาณฯ ฐานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเคยติดลบสูงสุดเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ 130,671 ล้านบาท แต่ได้ทยอยปรับลดลงมา โดยในเดือนมีนาคม 2566 ติดลบเหลือ 94,471 ล้านบาท และล่าสุด 23 เมษายน 2566 ติดลบเหลือ 85,586 ล้านบาท

 

โดยสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยรายเดือนลดลง จากช่วงต้นปีงบประมาณเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ 91.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดมาเหลือ 78.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนมีนาคม 2566 

 

ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปดีเซล (Gas Oil) เดือนตุลาคมที่เคยสูงถึง 133.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปรับลดลงมาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเหลือ 98.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

เมื่อนำมาพิจารณาภายหลังจากกระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้สามารถดำเนินการกู้ยืมเงินได้ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลดลง ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มเรียก

 

เก็บเงินเข้าและมีสภาพคล่องมากขึ้น จนสามารถลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไป 4 ครั้ง ครั้งละ 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจาก 34.94 บาทต่อลิตร เป็น 32.94 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 33 บาทต่อลิตรต่อไป

 

ส่วนความคืบหน้าของการกู้ยืมเงินเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ นั้น สกนช. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการกู้ยืมเป็นจำนวน 150,000 ล้านบาท โดยบรรจุเป็นหนี้สาธารณะของประเทศไปแล้ว 110,000 ล้านบาท ปัจจุบัน สกนช. ทำการกู้ยืมไปแล้ว 30,000 ล้านบาท และในเดือนเมษายน 2566 จะทำการกู้ยืมเงินเพิ่มอีก 20,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทยอยทำการกู้ยืมเงินตามสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม การปรับลดราคาดีเซลจะอยู่ที่ระดับใดนั้นขึ้นอยู่กับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) พิจารณาอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566 ซึ่งหากปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว มีผลต่อราคาน้ำมันโลก

 

เบรกพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการลดราคาน้ำมัน

 

วิศักดิ์กล่าวว่า กรณีที่บางพรรคการเมืองมีนโยบายหาเสียงด้วยการลดราคาน้ำมันดีเซลให้เหลือ 28 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันราคาจำหน่ายอยู่ที่ 32.94 บาทต่อลิตรนั้น โดยเบื้องต้นทราบว่าอาจจะใช้วิธีถอดภาษีและยกเลิกการจ่ายเงินเข้ากองทุนต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้ แต่จะต้องพิจารณาผลกระทบด้านรายได้รัฐและฐานะกองทุนน้ำมันฯ เพื่อใช้ดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศควบคู่ด้วย

 

ส่วนมาตรการลดภาษีดีเซลประมาณ 5 บาทต่อลิตรที่จะสิ้นสุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 นั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล สกนช. เตรียมทำแบบแนวทาง (Scenario) การปรับลดราคาดีเซลที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลใน 3 แนวทางคือ 1. กรณีกลับมาเก็บภาษีดีเซลเหมือนเดิมประมาณ 5 บาทต่อลิตร 2. การปรับขึ้นภาษีดีเซลแบบขั้นบันได และ 3. ลดภาษีดีเซลเช่นปัจจุบัน จะนำเสนอให้กับรัฐบาลใหม่พิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะตัดสินใจอย่างไร

 

“ถึงแม้ว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น แต่ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันยังติดลบอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับความผันผวนของราคาพลังงานตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลุ่ม OPEC+ ที่ลดกำลังการผลิต การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ความผันผวน

 

ของเงินดอลลาร์สหรัฐ การเปิดประเทศของจีน และความขัดแย้งจากประเทศและกลุ่มประเทศที่สนับสนุนของฝ่ายรัสเซียและยูเครน ทำให้ สกนช. ต้องเฝ้าติดตาม และคงต้องเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อนำมาชำระหนี้ อย่างไรก็ตามราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลต้องอยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนมากจนเกินไป” วิศักดิ์กล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบรกพรรคการเมืองใช้นโยบายลดราคาน้ำมัน แนะให้คำนึงถึงเงินกองทุนที่ยังติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ADB ห่วง OPEC+ หั่นกำลังผลิต ดันราคาน้ำมันดิบพุ่งทะลุ 88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กดดันสถานการณ์เงินเฟ้อประเทศในเอเชีย https://thestandard.co/adb-worried-about-opec-production/ Tue, 04 Apr 2023 11:16:45 +0000 https://thestandard.co/?p=772964

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ออกโรงเตือนว่าราคาน้ำมันที่มีแน […]

The post ADB ห่วง OPEC+ หั่นกำลังผลิต ดันราคาน้ำมันดิบพุ่งทะลุ 88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กดดันสถานการณ์เงินเฟ้อประเทศในเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ออกโรงเตือนว่าราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการที่สมาชิกของกลุ่ม OPEC+ ประกาศว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงราว 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน นำโดยผู้ผลิตรายใหญ่อย่างซาอุดีอาระเบีย ที่มีแผนจะลดกำลังการผลิตลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน อาจสร้างความท้าทายและยากลำบากมากขึ้นให้กับรัฐบาลของประเทศเอเชียในการดูแลเงินเฟ้อ

 

“ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้นแน่นอนหาก OPEC+ ปรับลดกำลังการผลิต เมื่อรวมกับอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศจีน ผลกระทบจะเกิดกับประเทศในเอเชียที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าน้ำมัน ต้นทุนการผลิตและแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศเหล่านี้จะสูงขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งขึ้นทะลุตัวเลขคาดการณ์ของเราในช่วงก่อนหน้านี้ที่ 88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล” Albert Park หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ADB ระบุ

 

Park กล่าวอีกว่า สภาวการณ์ดังกล่าวจะสร้างความยากลำบากให้กับรัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการควบคุมเงินเฟ้อและส่งเสริมให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเขาระบุว่าแม้ปัจจุบันสถานการณ์เงินเฟ้อของประเทศเอเชียส่วนใหญ่จะเริ่มทรงตัวแล้ว แต่หากดูไปที่เงินเฟ้อพื้นฐานที่ตัดราคาอาหารและพลังงานออกจากการคำนวณ จะยังพบว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในประเทศเหล่านี้ยังคงสูงกว่าภาวะปกติ

 

“หน่วยงานกำกับด้านนโยบายการเงินจะต้องไม่ชะล่าใจ เพราะเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะกลับมาปรับเพิ่มขึ้นได้อีกแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในภูมิภาคคือการเปิดประเทศของจีน” Park กล่าว

 

ทั้งนี้ รายงานภาวะเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของ ADB คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชียจะทยอยปรับลดลงจนเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดภายในปีหน้า โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปของเอเชียในปีนี้จะอยู่ที่ 4.2% ลดลงจาก 4.4% ในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะลดลงเหลือ 3.3% ในปีถัดไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

The post ADB ห่วง OPEC+ หั่นกำลังผลิต ดันราคาน้ำมันดิบพุ่งทะลุ 88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กดดันสถานการณ์เงินเฟ้อประเทศในเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต https://thestandard.co/offo-cutting-diesel-prices/ Mon, 03 Apr 2023 08:51:29 +0000 https://thestandard.co/?p=772368 ราคาน้ำมันดีเซล

กบน. เคาะลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเหลือ 33 บาทต่อลิตร หล […]

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาน้ำมันดีเซล

กบน. เคาะลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเหลือ 33 บาทต่อลิตร หลังจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลรอบเดือนมีนาคมที่ผ่านมาลดลงเกือบ 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล พร้อมจับตา OPEC+ กดดันราคาขายปลีก

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) วันนี้ (3 เมษายน) มีมติปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 0.50 บาทต่อลิตร จากราคา 33.50 บาทต่อลิตร เป็น 33.00 บาทต่อลิตร มีผลวันที่ 7 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งที่ 4 หรือรวมการปรับลงแล้ว 2 บาทต่อลิตรนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

โดยสาเหตุการปรับลดลงครั้งนี้เป็นผลมาจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 98.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 4.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยอัตราเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 5.00 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ดี สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลโลกยังคงมีความผันผวนจากวิกฤตด้านการเงิน ความผันผวนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน  

 

สำหรับฐานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มทยอยติดลบลดลง ณ วันที่ 2 เมษายน 2566 ติดลบ 91,860 ล้านบาท แบ่งเป็นติดลบจากบัญชีน้ำมัน 45,008 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG 46,860 ล้านบาท

 

พลังงานจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต

 

ด้าน วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)  กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และชาติพันธมิตร หรือ OPEC+ ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวันนั้น หากเกิดกรณีที่มีการลดกำลังการผลิตจริง จะทำให้ปริมาณน้ำมันตึงตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาน้ำมันขยับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก

 

อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจด้วยว่ากลุ่ม OPEC มักจะดำเนินการตามแนวทางนี้บ่อยครั้ง เมื่อราคาเริ่มลดลงก็จะมีกลไกหรือวิธีการทำกำไรออกมา เสมือนเป็นการพยายามดันราคาให้สูงขึ้น ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

 

โดยปัจจุบันราคาก๊าซธรรมชาติ (LNG) ปรับตัวลดลงมาก ทำให้มีการหันไปใช้ LNG มากขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า OPEC จึงมีความพยายามทำให้ซัพพลายของทั้งโลกลดลงมา

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2566 ระบุโดยอ้างอิงสมมติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าภาพรวมการใช้พลังงานในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 อยู่ที่ระดับ 2,047 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน การใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน/ลิกไนต์ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากการใช้ถ่านหินนำเข้าที่เพิ่มขึ้น การใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 

 

โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเครื่องบิน จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินจากต่างประเทศ การใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความต้องการการเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับสถานการณ์ราคาพลังงานนั้น สศช. คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 จะอยู่ที่ 80.0-90.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2566 จะอยู่ที่ 32.2-33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 และเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7-3.7 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และภาคการเกษตร

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซล เหลือ 33 บาท มีผล 7 เม.ย. นี้ ย้ำจับตา OPEC+ ลดกำลังการผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
OPEC+ กลับลำ! จับมือลดกำลังการผลิต 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หวังหนุนเสถียรภาพตลาด กูรูหวั่นทำราคาพลังงานพุ่ง https://thestandard.co/opec-oil-output-cuts/ Mon, 03 Apr 2023 03:18:04 +0000 https://thestandard.co/?p=772081 OPEC+

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ซาอุดีอาระเบียและสมาชิกกลุ่ […]

The post OPEC+ กลับลำ! จับมือลดกำลังการผลิต 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หวังหนุนเสถียรภาพตลาด กูรูหวั่นทำราคาพลังงานพุ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
OPEC+

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ซาอุดีอาระเบียและสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่กับชาติพันธมิตร (OPEC+) ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน ทางกลุ่มเห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไปและลากยาวไปจนถึงสิ้นปี

 

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์หวั่นเกรงว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวแพงขึ้น ส่วนสหรัฐอเมริกาออกโรงโต้ระบุว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ตามการคำนวณของ Reuters คำมั่นสัญญาดังกล่าวจะทำให้ปริมาณกำลังการผลิตน้ำมันทั้งหมดของกลุ่ม OPEC+ ลดลงอยู่ที่ 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก

 

การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นเพียงหนึ่งวันก่อนการประชุมออนไลน์ของ 13 คณะรัฐมนตรีชาติสมาชิก OPEC+ ซึ่งรวมถึงซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย โดยเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ทางกลุ่ม OPEC+ ได้ตกลงที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งการตัดสินใจครั้งนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากเห็นว่าปริมาณน้ำมันที่ลดลงจะยิ่งทำให้ราคาน้ำมันยิ่งสูงขึ้น จนกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ในขณะนี้

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงเรื่อยๆ โดยราคาน้ำมันในช่วงเดือนมีนาคมปรับตัวร่วงลงแตะ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ผลจากความกังวลว่าวิกฤตภาคธนาคารทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ กระนั้น การดำเนินการเพิ่มเติมโดยกลุ่ม OPEC+ เพื่อสนับสนุนตลาดโดยไม่ได้รับการคาดหมายในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวสู่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ด้านหัวหน้าบริษัทการลงทุน Pickering Energy Partners กล่าวว่าการปรับลดกำลังการผลิตครั้งล่าสุดอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่โบรกเกอร์น้ำมัน PVM คาดว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อการซื้อขายเริ่มขึ้นหลังสุดสัปดาห์ โดยประเมินว่าราคาน้ำมันมีสิทธิ์เปิดตลาดสูงขึ้นถึง 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล 

 

ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันชั้นนำกล่าวว่าจะลดกำลังการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งทางกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบียกล่าวว่าการลดกำลังการผลิตด้วยความสมัครใจเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้าที่มุ่งสนับสนุนเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน

 

Amrita Sen ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Energy Aspects เห็นว่า ความเคลื่อนไหวของ OPEC ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนล่วงหน้าในกรณีที่อุปสงค์อาจลดลง

 

การตัดสินใจล่าสุดของกลุ่ม OPEC+ ได้รับเสียงคัดค้านจากสหรัฐฯ ที่ออกมาโต้แย้งว่า ทั่วโลกขณะนี้กำลังต้องการราคาน้ำมันในระดับต่ำเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียหารายได้เพิ่มเพื่อเป็นทุนในสงครามยูเครน

 

รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ กล่าวชัดเจนว่า การเคลื่อนไหวของ OPEC+ เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดและไม่สมควรอย่างยิ่ง โดยโฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ ไม่แนะนำให้ปรับลดกำลังการผลิตในเวลานี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนของตลาด และว่าสหรัฐฯ ได้ชี้แจงเหตุผลดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว

 

แถลงการณ์ของ OPEC+ ระบุว่า การลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงสิ้นปี โดยอิรัก หนึ่งในชาติสมาชิก OPEC เปิดเผยว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตลง 211,000 บาร์เรลต่อวัน

 

ด้านสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กล่าวว่าจะลดกำลังการผลิตลง 144,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนคูเวตประกาศลดกำลังการผลิต 128,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่โอมานประกาศลดกำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน แอลจีเรียกล่าวว่าจะลดการผลิตลง 48,000 บาร์เรลต่อวัน และคาซัคสถานจะลดกำลังการผลิตลง 78,000 บาร์เรลต่อวัน

 

ส่วน Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซียกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน ว่ารัฐบาลรัสเซียจะเพิ่มการปรับลดกำลังการผลิตที่ 500,000 บาร์เรลต่อวันโดยสมัครใจจนถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ทางรัฐบาลกรุงมอสโกได้ประกาศการปรับลดกำลังการผลิตเพียงลำพังหลังจากที่ชาติตะวันตกประกาศจำกัดช่วงราคาขายของน้ำมัน

 

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่ทางรัสเซียประกาศปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของตนเองออกมา ทางการสหรัฐฯ ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ความเป็นพันธมิตรระหว่างรัสเซียกับชาติสมาชิก OPEC อื่นๆ กำลังสั่นคลอน อย่างไรก็ตาม คำประกาศล่าสุดในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของกลุ่ม OPEC+ ยังคงเหนียวแน่นเช่นเคยไม่เปลี่ยนแปลง

 

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าววงในจาก OPEC+ ระบุว่า ไม่ใช่ชาติสมาชิก OPEC+ ทั้งหมดที่จะเข้าร่วมการปรับลดกำลังการผลิตในครั้งนี้ เนื่องจากบางประเทศมีกำลังการอัดฉีดต่ำกว่าระดับที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากขาดกำลังการผลิตอยู่แล้ว

 

อ้างอิง: 

The post OPEC+ กลับลำ! จับมือลดกำลังการผลิต 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน หวังหนุนเสถียรภาพตลาด กูรูหวั่นทำราคาพลังงานพุ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต https://thestandard.co/cutting-diesel-prices-effect-24-mar/ Fri, 17 Mar 2023 12:00:34 +0000 https://thestandard.co/?p=764710

กบน. หั่นราคาดีเซล 50 สตางค์ เหลือ 33.44 บาทต่อลิตร มีผ […]

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>

กบน. หั่นราคาดีเซล 50 สตางค์ เหลือ 33.44 บาทต่อลิตร มีผลวันที่ 24 มีนาคมนี้ หลังจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง อีกทั้งรัฐต่อเวลาลดภาษีสรรพสามิตไปอีก 2 เดือน พร้อมจับตารัสเซียลดกำลังผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรล และผลกระทบแบงก์สหรัฐฯ ล้มที่อาจลามสู่ยุโรป ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทผันผวน 

 

วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ว่า กบน. เห็นชอบในการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงอีก 0.50 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลอยู่ที่ 33.44 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกดีเซลใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 หลังจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาปรับลดไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 1 บาทต่อลิตร 

 

โดยการปรับลดราคาขายปลีกดีเซลให้กับประชาชน นอกจากจะช่วยประคับประคองค่าครองชีพประชาชนแล้ว ยังมีส่วนช่วยไม่ให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม กบน. ยังเฝ้าระวังปัจจัยรุมเร้ารอบด้าน อาทิ การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของรัสเซีย การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนหลังเปิดประเทศ ความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

วิศักดิ์กล่าวว่า สาเหตุของการปรับลดราคาครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลกโดยเฉพาะน้ำมันดีเซลลด โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึง 15 มีนาคม 2566 พบว่า ราคาน้ำมันดีเซลเดือนมกราคมเฉลี่ยอยู่ที่ 113.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เดือนกุมภาพันธ์ 103.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และวันที่ 1-15 มีนาคมเฉลี่ย 102.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาทออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม – 20 กรกฎาคม 2566 และสถานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มดีขึ้น มีฐานะติดลบต่ำกว่าหลักแสนล้านบาทแล้ว

 

โดยล่าสุดฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวันที่ 12 มีนาคม 2566 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิติดลบ 99,662 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 53,290 ล้านบาท และบัญชีก๊าซแอลพีจีติดลบ 46,372 ล้านบาท โดยบัญชีน้ำมันมีรายได้จากการเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุน 5.05 บาทต่อลิตร ณ วันที่ 17 มีนาคม 2566 จากที่กองทุนเคยอุดหนุนสูงถึง 10 บาทต่อลิตร ส่วนความคืบหน้าการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กรอบวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ล่าสุดจากสถานการณ์ราคาโลกเริ่มปรับตัวลง คาดว่าอาจใช้ไม่ถึงตามกรอบ และเหลืออยู่ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท โดยกองทุนหวังว่าอาจน้อยกว่านี้หากไม่มีปัจจัยลบรุนแรง อาทิ สงคราม” วิศักดิ์กล่าว

 

“แต่ความผันผวนของราคาน้ำมันยังต้องจับตาเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงผันผวนปรับขึ้นลง อาทิ ประเทศรัสเซียปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคมนี้ หรือคิดเป็น 5% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนหลังเปิดประเทศ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก รวมทั้งกรณีวิกฤตภาคการเงินสหรัฐฯ และสถานะการเงินที่ต้องการความช่วยเหลือของธนาคารเครดิตสวิส ที่เป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งล้วนกดดันให้ค่าเงินบาทผันผวน” วิศักดิ์กล่าว

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post กบน. หั่นราคาน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 33.50 บาท มีผล 24 มี.ค. นี้ พร้อมจับตา Fed – รัสเซียลดกำลังผลิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทิ้งทวน! ครม. ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ถึง 20 ก.ค. นี้ https://thestandard.co/extend-time-reduce-diesel-tax/ Tue, 14 Mar 2023 12:25:24 +0000 https://thestandard.co/?p=762902

ครม. ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรล […]

The post ทิ้งทวน! ครม. ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ถึง 20 ก.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ครม. ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ถึงวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ อ้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ บรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนและภาคธุรกิจ กรมสรรพสามิตเผย สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 20,000 ล้านบาท

 

วันนี้ (14 มีนาคม) อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาทออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม – 20 กรกฎาคม 2566 เพื่อไม่ให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้น จนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน จากภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ผันผวน อันเนื่องมาจากวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าน้ำมันดิบ

 

ขณะที่ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพสามิตได้ดำเนินมาตรการทางภาษี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันหลายประเภทและหลายครั้งมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซล เนื่องจากถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้เป็นต้นทุนในภาคการผลิตสินค้า ไฟฟ้า และภาคการขนส่ง ในทุกอุตสาหกรรม 

 

พร้อมระบุอีกว่า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันในครั้งนี้ จะช่วยรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน และเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าโดยภาพรวมจะทำให้กรมสรรพสามิตสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประมาณ 20,000 ล้านบาทก็ตาม

 

ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ภาพรวมในทุกมิติเติบโตได้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีนักวิชาการมองว่า วิธีการอุดหนุนราคาน้ำมันแบบหว่านแห (Universal Subsidy) ซึ่งรวมไปถึงการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเช่นนี้ ไม่เป็นการดีต่อสิ่งแวดล้อมและไม่สนับสนุนความยั่งยืนทางการคลัง พร้อมทั้งแนะให้รัฐบาลใช้วิธีการอุดหนุนน้ำมันแบบตรงกลุ่มมากขึ้น (Targeted Subsidy) เพื่อให้ราคาน้ำมันสะท้อนต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การกดราคาน้ำมันดีเซลจูงใจให้คนใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไป

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post ทิ้งทวน! ครม. ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ถึง 20 ก.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน https://thestandard.co/thaioil-sees-1h-oil-at-80-85-dollar/ Wed, 08 Mar 2023 11:28:14 +0000 https://thestandard.co/?p=760136

บมจ.ไทยออยล์ มองน้ำมันครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ 80-85 ดอลล […]

The post ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.ไทยออยล์ มองน้ำมันครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชี้ราคายังผันผวนหนักจึงคาดการณ์ราคาช่วงครึ่งปีหลังได้ยาก ระบุแม้ดีมานด์ฟื้น แต่ดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งแรงกดดันต่อเนื่อง ด้านซีอีโอใหม่จ่อทุ่มลงทุน 3 ปีที่ 1 พันล้านดอลลาร์ เน้นต่อยอดธุรกิจ

 

บัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP กล่าวว่า กล่าวว่า ประเมินแนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบระยะสั้นในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ 80-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งยังมีโอกาสเห็นการเคลื่อนไหวที่ผันผวนของราคา จึงคาดการณ์ราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังปีนี้ได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้มีทั้งปัจจัยที่สนับสนุนราคาและปัจจัยที่กดดันต่อราคาน้ำมัน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การที่จีนเปิดประเทศ ทำให้มีดีมานด์น้ำมันเพิ่มขึ้น อีกทั้งกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน (OPEC) ยังคงการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับเดิมเพื่อเป็นการรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ ประกอบกับรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ จนมีการประกาศปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน (Shutdown) ทำให้มีซัพพลายน้ำมันลดลงไปในตลาดโลกประมาณ 2-3 แสนบาร์เรลต่อวัน รวมทั้งยังมีประเด็นจากความไม่แน่นอนจากประเด็นของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังประเมินสถานการณ์ได้ยาก

 

ขณะที่ปัจจัยกดดัน ได้แก่ การธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะยังเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมเงินเฟ้อซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบกำลังซื้อหรือดีมานด์น้ำมันหรือสินค้าโภคภัณฑ์ให้มีความเสี่ยงลดลง

 

ยอมรับราคาน้ำมันลงฉุดรายได้

บัณฑิตกล่าวว่า แนวโน้มรายได้ของบริษัทในปี 2566 จะปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 4 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ทำได้ประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าการกลั่น (GRM) อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ที่คาดว่าจะกลับมาสู่ระดับปกติเฉลี่ยราว 7-8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากปีก่อนที่พุ่งขึ้นไปสูงกว่าระดับปกติ 10.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดย GRM ถือว่ากลับมาสูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิดที่อยู่ราว 5-6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ขณะที่แนวโน้มปริมาณการขายน้ำมันทุกประเภทของบริษัทปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้หมดทุกประเภท โดยในส่วนของปริมาณการขายน้ำมันสำเร็จรูปคาดว่าจะโตประมาณ 4-5% และน้ำมันอากาศยานคาดว่าจะโตถึงระดับ 50-60% เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีการเดินทางกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในปีนี้บริษัทจะไม่มีแผนการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน

 

“ส่วนกรณีที่ บมจ.บางจากคอร์ปอเรชั่น หรือ BCP เข้าซื้อกิจการ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) หรือ ESSO มองว่าไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจโรงกลั่นของบริษัท เพราะกำลังการกลั่นน้ำมันทั้งระบบยังเท่าเดิม ไม่มีผลทำให้ฝั่งผู้ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นมีอำนาจต่อรอง แต่อาจทำให้การแข่งขันในฝั่งรีเทลรุนแรงขึ้น แต่การที่โรงกลั่น ESSO เปลี่ยนผู้ถือหุ้นมาเป็นคนไทยมองว่าเป็นโอกาสที่เห็นความร่วมมือกันได้มากขึ้น Synergy กันได้มากขึ้นกับบริษัท หลัง ESSO มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย เพราะโรงกลั่นน้ำมันของไทยออยล์กับ ESSO ตั้งอยู่ใกล้กันในอำเภอศรีราชา เช่น การจัดหาวัตถุดิบ หรือในเรื่องอื่นๆ”

 

แผน 3 ปีทุ่มงบลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ 

สำหรับแผนลงทุนของบริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้า ระหว่างปี 2566-2568 ตั้งงบลงทุนรวมไว้ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ โดยแบ่งสัดส่วนราว 50% หรือมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้สำหรับลงทุนต่อเนื่องในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) มูลค่ารวมทั้งโครงการรวม 1.60 แสนล้านบาท หรือ 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มทยอยสร้างตั้งแต่ปลาย 2561 ให้เสร็จตามแผนที่วางไว้ อีกทั้งแบ่งเงินลงทุนอีกประมาณ 270 ล้านดอลลาร์ ในการลงทุนธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนที่เหลืออีกราว 120 ล้านดอลลาร์  สำหรับขยายกำลังการผลิตในอินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ

 

ขณะที่หากแยกงบลงทุนของปีนี้บริษัทเตรียมไว้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นเพื่อใช้สำหรับการลงทุนในโครงการ CFP ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในส่วนที่เหลือ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวคืบหน้าไปแล้วกว่า 90% โดยบริษัทมีแผนจะเร่งการก่อสร้างให้เสร็จภายในปีนี้เพื่อให้หน่วยกลั่นผลิตน้ำมันยูโร 5 สามารถเริ่มผลิตได้ในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป และคาดว่าทุกหน่วยจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) เสร็จภายในไตรมาส 1/68 และการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้า (TOP SPP) ให้แล้วเสร็จตามแผน โดยจะเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ GRM ของบริษัทดีขึ้นจากเดิมอีกเกือบเท่าตัว จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4-5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะโครงการ CFP จะสามารถใช้น้ำมันดิบประเภทหนักที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าน้ำมันเบาได้ และสามารถกลั่นออกมาได้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

 

เล็งออกหุ้นกู้ 2 พันล้านดอลลาร์

สำหรับวงเงินลงทุนดังกล่าว บริษัทคาดว่าจะใช้การออกหุ้นกู้และเงินกู้จากสถาบันการเงินเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของปีนี้บริษัทมีแผนจะขอวงเงินออกหุ้นกู้กับที่ประชุมผู้ถือหุ้นจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการใช้เงินลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยแบ่งออกเป็นงบลงทุนประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ และที่เหลืออีก 1 พันล้านดอลลาร์ใช้สำหรับรีไฟแนนซ์หุ้นกู้ที่จะทยอยครบกำหนด

 

นอกจากนี้บริษัทยังได้ปรับเป้าหมายธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ในปี 2573 ซึ่งสัดส่วนกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจะอยู่ที่ 40%, ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต่อยอดจากปิโตรเคมี 30%, ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและธุรกิจใหม่ๆ 25% และธุรกิจไฟฟ้า 5% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

สำหรับเป้าหมายหลักในปีนี้จะเป็นการเร่งดำเนินก่อโครงการสำคัญตามแผนกลยุทธ์ เช่น โครงการพลังงานสะอาด (CFP) ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดไปต่างประเทศในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย พร้อมทั้งเร่งศึกษาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และแสวงหาโอกาสเข้าสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง 

 

อีกทั้งจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานไปสู่การใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บริษัทฯ จึงได้ปรับเป้าหมาย ธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ ในปี 2030 สัดส่วนกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงอยู่ที่ 40% ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต่อยอดจากปิโตรเคมี 30% ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและธุรกิจใหม่ๆ 25% และธุรกิจไฟฟ้า 5% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

The post ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน appeared first on THE STANDARD.

]]>