ธัญญนิตย์ นิยมการ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 30 Mar 2022 05:42:08 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 แบงก์ชาติออก 6 เกณฑ์คุม ‘ดอกเบี้ย-ค่าบริการ-เบี้ยปรับ’ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีผล 1 เม.ย. นี้ https://thestandard.co/bank-of-thailand-launched-6-measures/ Wed, 30 Mar 2022 05:42:08 +0000 https://thestandard.co/?p=612074 แบงก์ชาติออก 6 เกณฑ์คุม ‘ดอกเบี้ย-ค่าบริการ-เบี้ยปรับ’ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีผล 1 เม.ย. นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก 6 หลักเกณฑ์การปฏิบัติและ […]

The post แบงก์ชาติออก 6 เกณฑ์คุม ‘ดอกเบี้ย-ค่าบริการ-เบี้ยปรับ’ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีผล 1 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติออก 6 เกณฑ์คุม ‘ดอกเบี้ย-ค่าบริการ-เบี้ยปรับ’ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีผล 1 เม.ย. นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก 6 หลักเกณฑ์การปฏิบัติและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับ สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เพื่อควบคุมการคิดค่าธรรมเนียมอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 เมษายนนี้

 

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแล โดยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับ สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ซึ่งได้กำหนดกรอบหลักการสำคัญ 6 ประการ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ เพื่อใช้เป็นแนวนโยบายในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์และบริการ สำหรับประกาศนี้ให้บังคับใช้กับผู้ให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป โดยครอบคลุมสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนแต่ยังมีผลผูกพันอยู่ และสัญญาตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ สำหรับสาระสำคัญของกรอบหลักการ 6 ประการ มีดังนี้

 

  1. ต้องสะท้อนต้นทุนจริงจากการให้บริการ และไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน โดยต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับอย่างเหมาะสม เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบ ไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน คำนึงถึงต้นทุนในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ให้บริการได้สำรองจ่ายไป มารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก

 

  1. ต้องใช้ฐานในการคำนวณค่าบริการและเบี้ยปรับที่เหมาะสม โดยสมเหตุสมผลและสอดคล้องกับปัจจัยที่ทำให้เกิดต้นทุน เช่น ค่าประเมินราคาหลักประกัน ต้องไม่กำหนดเป็นสัดส่วนร้อยละของวงเงินสินเชื่อ เนื่องจากปัจจัยหลักที่มีผลต่อต้นทุนมักขึ้นอยู่กับความยาก-ง่ายในการประเมินราคา ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามประเภท สถานที่ตั้ง และขนาดของหลักประกัน สำหรับเบี้ยปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด ต้องคำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือ ณ วันที่ไถ่ถอนสินเชื่อ ไม่คำนวณจากจำนวนวงเงินตามสัญญา

 

  1. ต้องคืนค่าบริการในส่วนที่ลูกค้าไม่ได้ใช้ ตามสัดส่วนของระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการ รวมถึงแจ้งเงื่อนไขและช่องทางการคืนค่าบริการให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน

 

  1. ต้องไม่ผลักภาระให้กับลูกค้า หรือไม่สร้างภาระจนเกินสมควร และคำนึงถึงความสามารถในการชำระของลูกค้า ผู้ให้บริการต้องไม่เรียกเก็บค่าบริการที่เกิดจากการดำเนินการตามปกติ และไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมแก่ลูกค้า เช่น ไม่เรียกเก็บค่าประเมินราคาหลักประกันในกรณีทบทวนราคาหลักประกันเพื่อการจัดชั้น การกันสำรอง และ/หรือการบริหารความเสี่ยงของผู้ให้บริการเอง

 

  1. ต้องเปิดเผยข้อมูลดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับ อย่างชัดเจน โปร่งใส และเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจการเลือกใช้บริการได้อย่างถูกต้อง 

 

  1. ต้องควบคุมดูแลและสื่อสารกับพันธมิตรทางธุรกิจที่ดำเนินการแทนให้ทราบถึงเจตนารมณ์ของกรอบหลักการข้างต้น โดยผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcer) หรือตัวแทนทางการเงิน (Agent) ต้องกำหนดอัตราค่าบริการที่จะเรียกเก็บกับลูกค้าอย่างเป็นธรรม ไม่เอาเปรียบ ไม่ทำให้คุณภาพการให้บริการที่ลูกค้าได้รับด้อยลงหรือผลักภาระไปให้ลูกค้า และดูแลให้เปิดเผยข้อมูลค่าบริการต่างๆ ให้ลูกค้าทราบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน 

 

สำหรับผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยังต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับฝากเงิน การเรียกเก็บค่ารักษาบัญชีเงินฝาก รวมถึงการให้สินเชื่อหรือการให้กู้ยืมเงินเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Loan) และเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial Loan) ด้วย ที่ผ่านมา ธปท. ได้สื่อสารกรอบหลักการกับผู้ให้บริการมาเป็นระยะๆ แล้ว อย่างไรก็ดี ธปท. จะดูแลผู้ให้บริการถือปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อร่วมกันช่วยประชาชนให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นธรรม 

 

ทั้งนี้หากประชาชนท่านใดได้รับบริการที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งมาที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของ ธปท. โทร. 1213 ได้ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หรือส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ www.1213.or.th ตลอด 24 ชั่วโมง

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post แบงก์ชาติออก 6 เกณฑ์คุม ‘ดอกเบี้ย-ค่าบริการ-เบี้ยปรับ’ ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีผล 1 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. จับมือคลัง บสย. สงร. และสมาคมธนาคารไทย จัดโครงการ ‘หมอหนี้’ ลุยให้คำปรึกษาลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดแบบครบวงจร https://thestandard.co/debtor-assistance-program/ Mon, 30 Aug 2021 08:47:53 +0000 https://thestandard.co/?p=530831 หมอหนี้

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิ […]

The post ธปท. จับมือคลัง บสย. สงร. และสมาคมธนาคารไทย จัดโครงการ ‘หมอหนี้’ ลุยให้คำปรึกษาลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดแบบครบวงจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอหนี้

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีความยากลำบากในการชำระหนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ทำให้รายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการหายไปหรือลดลงมาก ธปท. กระทรวงการคลัง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) และสมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันจัดตั้ง ‘โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน’ เพื่อเป็นช่องทางให้คำแนะนำ ความรู้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างครบวงจรให้กับลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่การวิเคราะห์สถานะหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ การเตรียมตัวเจรจาแก้ไขหนี้ การให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อเสริมสภาพคล่องหรือลงทุนปรับปรุงกิจการ 

 

ธัญญนิตย์ กล่าวว่า ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับความรู้และความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาหนี้ ได้แก่ วิธีการเตรียมข้อมูลสำหรับเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ อาทิ การจัดทำแผนธุรกิจ ข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สิน ข้อมูลรายรับรายจ่าย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งแนวทางการพูดคุยกับเจ้าหนี้ ตลอดจนข้อมูลมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินต่างๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง 

 

นอกจากนี้ความพิเศษของโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน คือ ลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดต่อขอคำแนะนำเชิงลึกเพิ่มเติมจากทีมหมอหนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย. (บสย. FA Center) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

 

ขณะเดียวกันลูกหนี้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษากับหมอหนี้ผ่านเว็บไซต์ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน หรือติดต่อสอบถามได้ทั้งที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ และสำนักงานภาคของ ธปท. ทั้ง 3 แห่งที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา 

 

“โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนเกิดจากการลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะรายย่อยหรือคนตัวเล็ก ส่วนใหญ่ประสบภาวะการเป็นหนี้และยังไม่มีวิธีแก้ไข ผลสุดท้ายอาจกลายเป็นหนี้เสีย ทำให้การกู้เงินครั้งต่อไปประสบปัญหามากยิ่งขึ้น ในขณะที่การแก้ไขปัญหาหนี้ต้องใช้ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เราจึงอาสาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ หมอหนี้ ที่จะตรวจอาการคนไข้ เช็กสุขภาพ วินิจฉัยโรค ก่อนจะทำการรักษาโดยให้ยาหรือผ่าตัดจนหายดี และสุดท้ายฉีดวัคซีนทางการเงินให้พวกเขาไม่กลับมาป่วยอีก ตามเจตนารมณ์ที่จะแก้ปัญหาที่ฐานรากก่อนการอัดฉีดเงินทุนเข้าระบบ เพื่อให้ลูกหนี้มีช่องทางปลดภาระหนี้สิน และพร้อมทำมาหากินเพื่อสร้างรายได้ ตลอดจนสามารถปรับธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้อย่างมั่นคง” ธัญญนิตย์ กล่าว

 

วสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานการเงิน รักษาการผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการหมอหนี้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีประสบการณ์สูงและคร่ำหวอดที่พร้อมให้คำปรึกษาเชิงลึกเรื่องหนี้อยู่มากกว่า 200 ราย โดยนับจากต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงทดลองของโครงการ ได้ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องหนี้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดไปแล้ว 940 ราย

 

ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า “สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 8 แห่งพร้อมให้ความร่วมมือกับ ธปท. ในการส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละสถาบันการเงินของรัฐเข้าร่วมทีมหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง รวมถึงให้ข้อมูลการแก้ไขปัญหาหนี้ในรูปแบบต่างๆ แก่ลูกหนี้ทุกรายอย่างเต็มที่ เพื่อมุ่งช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ไม่กลายเป็นหนี้เสีย (NPL) หรือช่วยให้ลูกหนี้ NPL ที่มีการค้างชำระหนี้สามารถกลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติต่อไป

 

ขณะที่ กอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยได้ส่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างครบวงจรในโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ตั้งแต่การประเมินและสำรวจภาระหนี้ การเตรียมตัวเจรจาแก้ไขหนี้ การวางแผนชำระคืนหนี้ รวมถึงแนวทางการปรับตัวในอนาคตเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย โดยจะเริ่มจากลูกค้าของแต่ละธนาคาร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการช่วยเหลือของภาคธนาคารนอกจากมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของลูกหนี้

 

ทั้งนี้ ธปท. กระทรวงการคลัง บสย. สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย มุ่งหวังให้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อให้สามารถก้าวผ่านช่วงวิกฤตและกลับมาฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน โดยผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือลงทะเบียนเพื่อรับคำปรึกษาเชิงลึกได้ทางเว็บไซต์ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน (www.bot.or.th/app/doctordebt/) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 และสำนักงานของ ธปท. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

The post ธปท. จับมือคลัง บสย. สงร. และสมาคมธนาคารไทย จัดโครงการ ‘หมอหนี้’ ลุยให้คำปรึกษาลูกหนี้รายย่อยและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดแบบครบวงจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. เตรียมออกประกาศให้สถาบันการเงินทบทวนการคิดค่าธรรมเนียม 300 รายการในไตรมาสนี้ เผยปัจจุบันมีลูกหนี้ขอรับความช่วยเหลือแล้ว 4.9 ล้านบัญชี https://thestandard.co/bot-prepare-to-issue-announcements-for-financial-institutions-to-review-the-fee-charge/ Wed, 21 Jul 2021 07:56:06 +0000 https://thestandard.co/?p=515385 Bank of Thailand

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน […]

The post ธปท. เตรียมออกประกาศให้สถาบันการเงินทบทวนการคิดค่าธรรมเนียม 300 รายการในไตรมาสนี้ เผยปัจจุบันมีลูกหนี้ขอรับความช่วยเหลือแล้ว 4.9 ล้านบัญชี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bank of Thailand

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. จะมีการออกประกาศแนวปฏิบัติการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงินทั้งระบบภายในไตรมาสที่ 3 นี้ เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินใช้ทบทวนสำหรับการกำหนดค่าธรรมเนียมกับผู้ใช้บริการให้สมเหตุสมผลและเป็นธรรมมากขึ้น

 

โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวจะครอบคลุมค่าธรรมเนียมราว 300 รายการ ในทุกกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงิน ทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย

 

“ประกาศของ ธปท. จะไม่กำหนดว่ารายการ A จะต้องคิดค่าธรรมเนียมเท่าไรแบบตายตัว แต่เราจะมีหลักการให้สถาบันการเงิน 7-8 ข้อ คล้ายๆ เป็น Market Conduct เพราะต้นทุนของธนาคารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน แต่เราจะกำหนดให้ทุกสถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลค่าธรรมเนียมบนเว็บไซต์ของ ธปท. เพื่อให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบได้ ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็น Peer Pressure กดดันให้สถาบันการเงินควบคุมตัวเองจากการแข่งขัน” ธัญญนิตย์กล่าว

 

อย่างไรก็ดี ธัญญนิตย์กล่าวว่า มีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกันที่ค่าธรรมเนียมในบางรายการอาจถูกกำหนดในอัตราที่ตายตัวหาก ธปท. เล็งเห็นว่าสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีขั้นตอนการดำเนินการที่ไม่แตกต่างกันและต้นทุนการดำเนินงานไม่มีผลกระทบ

 

“การนำข้อมูลค่าธรรมเนียมขึ้นบนเว็บไซต์ของ ธปท. ทยอยขึ้นเป็นเฟสๆ ช่วงแรกอาจจะโฟกัสที่ค่าธรรมเนียม 20 รายการ ที่เป็น Pain Point ซึ่งถูกผู้ใช้บริการร้องเรียนบ่อยๆ ก่อน” ธัญญนิตย์กล่าว

 

นอกจากนี้ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ยังเปิดเผยความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการต่างๆ ของ ธปท. โดยข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า มีลูกหนี้ที่ขอรับความช่วยเหลือแล้ว 4.9 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินหนี้รวม 3.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อรายใหญ่ 2,060 ราย คิดเป็นวงเงินหนี้ 6 แสนล้านบาท สินเชื่อเอสเอ็มอี 5 แสนบัญชี คิดเป็นวงเงินหนี้รวม 1 ล้านล้านบาท และสินเชื่อรายย่อย 4.4 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินหนี้รวม 1.6 ล้านล้านบาท

 

โดยในส่วนของสินเชื่อรายย่อยสามารถแยกย่อยได้เป็นสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล 3.4 ล้านบัญชี วงเงินหนี้รวม 8 แสนล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงินหนี้รวม 6 แสนล้านบาท และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 4 แสนบัญชี วงเงินหนี้รวม 2 แสนล้านบาท

 

ธัญญนิตย์ระบุว่า ธปท. มีความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นของไทยจนขึ้นไปแตะระดับ 90.5 ของจีดีพีในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิดที่ทำให้คนมีรายได้ลดลง โดยในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีตั้งแต่การลดเพดานดอกเบี้ย มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 1-2-3 การเร่งรัดให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถการชำระของลูกหนี้ การลดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการปรับวิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ไปจนถึงการหาช่องทางไกล่เกลี่ยให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหาค้างชำระผ่านคลินิกแก้หนี้และมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้

 

“แต่เราจะไม่หยุดแค่นี้ ในอนาคตเรายังมีแผนจะทำอีก 4 เรื่อง คือ

  1. ทำโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลเครดิตที่ครอบคลุมเจ้าหนี้ที่อยู่นอกเหนือเครดิตบูโรเข้ามาด้วย อาทิ กลุ่มสหกรณ์
  2. ผลักดันให้สถาบันการเงินและเจ้าหนี้ปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ส่งเสริมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เกินตัว
  3. ให้ความรู้และคำแนะนำการบริหารหนี้แบบครบวงจรกับผู้บริโภค และ
  4. ส่งเสริมให้เกิดช่องทางการกู้ยืมรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมในระบบ อาทิ P2P Lending” ธัญญนิตย์กล่าว

 

สำหรับความเป็นไปได้ที่ ธปท. จะขยายระยะเวลามาตรการพักชำระหนี้ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ออกไปเกินกว่า 2 เดือนนั้น ธัญญนิตย์กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่มาตรการดังกล่าวอาจถูกขยายออกไปเช่นกัน อย่างไรก็ดี อยากเน้นย้ำว่าวัตถุประสงค์ของการพักชำระหนี้นั้นเป็นการให้ความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนชั่วคราวและไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในระยะยาว เพราะดอกเบี้ยปกติและดอกเบี้ยพักชำระยังเดินต่อ

 

“การแก้ปัญหาระยะยาวแบบยั่งยืน ธปท. ต้องการเร่งให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมกับลูกหนี้แต่ละรายมากกว่า อาทิ การปรับหนี้บัตรเครดิตมาอยู่ในรูปแบบ Term Loan ที่ดอกเบี้ยถูกกว่า เพราะโควิดจะอยู่กับเราไปอีกนาน สิ่งที่ถูกต้องและควรทำคือการปรับโครงสร้างหนี้ ให้ความรู้ทางการเงินกับประชาชน” ธัญญนิตย์กล่าว

The post ธปท. เตรียมออกประกาศให้สถาบันการเงินทบทวนการคิดค่าธรรมเนียม 300 รายการในไตรมาสนี้ เผยปัจจุบันมีลูกหนี้ขอรับความช่วยเหลือแล้ว 4.9 ล้านบัญชี appeared first on THE STANDARD.

]]>
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้กระหึ่ม! ลูกหนี้กว่า 2 แสนรายร่วมวงเจรจา ธปท. ขยายเวลาจัดงานถึง 30 มิ.ย. นี้ https://thestandard.co/debt-negotiation-started/ Wed, 14 Apr 2021 11:17:30 +0000 https://thestandard.co/?p=475972 มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้กระหึ่ม! ลูกหนี้กว่า 2 แสนรายร่วมวงเจรจา ธปท. ขยายเวลาจัดงานถึง 30 มิ.ย. นี้

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิ […]

The post มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้กระหึ่ม! ลูกหนี้กว่า 2 แสนรายร่วมวงเจรจา ธปท. ขยายเวลาจัดงานถึง 30 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้กระหึ่ม! ลูกหนี้กว่า 2 แสนรายร่วมวงเจรจา ธปท. ขยายเวลาจัดงานถึง 30 มิ.ย. นี้

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภายหลังการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่ง ธปท. ได้ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมและกรมบังคับคดี โดยกำหนดช่วงเวลาไว้ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์-14เมษายน 2564 พบว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีประชาชนมากกว่า 2 แสนคนให้ความสนใจ และได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้เกือบ 5 แสนบัญชี 

 

ทั้งนี้เมื่อใกล้ครบช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีข้อเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้ขยายระยะเวลาที่จัดงานออกไป ซึ่ง ธปท. ได้หารือเรื่องดังกล่าวกับผู้ให้บริการทางการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นร่วมกันให้ขยายระยะเวลาจัดงานออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น ธปท. เห็นว่าแม้เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวจะมีทิศทางดีขึ้นและเริ่มมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ความเสี่ยงที่อาจจะมีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ยังมีอยู่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน 

 

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 12 เมษายน 2564 ประชาชนให้ความสนใจเข้ามาลงทะเบียนจำนวน 234,906 คน หรือ 481,936 บัญชี ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการอยู่ระหว่างเร่งติดต่อ รวมทั้งตรวจสอบสถานะและทยอยแจ้งผลเข้ามาต่อเนื่อง 

 

โดยภาพรวมการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นพบว่า กลุ่มลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไข ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีอยู่จำนวน 110,956 บัญชี (ระหว่างนี้ยอดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามการพิจารณาของผู้ให้บริการที่ทยอยรายงานเข้ามา) โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ประมาณร้อยละ 63 ส่วนกรณีที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป บางส่วนอยู่ระหว่างกำลังตรวจสอบเอกสาร และเป็นผลจากลูกหนี้ยื่นขอไกล่เกลี่ยเข้ามาผิดกลุ่ม เช่น สถานะยังผ่อนชำระดี แต่ยื่นขอไกล่เกลี่ยในช่องทางของกลุ่มที่มีคำพิพากษาแล้ว เป็นต้น

 

รวมทั้งบางกรณีลูกหนี้ยังไม่พร้อมที่จะผ่อนชำระตามแผน และบางรายต้องการข้อเสนอที่แตกต่างจากข้อตกลงของงานมหกรรมในครั้งนี้ โดยในช่วงที่ต่อเวลาคาดว่าสัดส่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถไกล่เกลี่ยกันได้จะเพิ่มสูงขึ้น

 

ธัญญนิตย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ธปท. ได้รับแจ้งมาว่าประชาชนในหลายกลุ่มยังไม่ทราบเกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ จึงต้องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรในครั้งนี้ให้ประชาชนทราบมากขึ้นในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนที่มีหนี้บัตรใช้โอกาสที่มีการจัดงานในครั้งนี้แก้ปัญหาหนี้ที่มีอยู่ โดยความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ข้อเสนอการผ่อนชำระหนี้จะมีความผ่อนปรนและอยู่ในวิสัยที่ลูกหนี้จะสามารถปฏิบัติได้ ให้เวลาผ่อนชำระยาวเพียงพอ

 

นอกจากนี้งานมหกรรมครั้งนี้จะมีข้อเสนอสำหรับลูกหนี้ทุกกลุ่มสถานะ กล่าวคือ

 

กลุ่มแรกเป็นหนี้บัตรที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่รู้สึกฝืดเคือง หรือหนี้บัตรดีที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ท่านสามารถลดภาระดอกเบี้ยได้ โดยหยุดการจ่ายขั้นต่ำ ซึ่งใช้เวลานานกว่าหนี้จะลด และขอเปลี่ยนวงเงินสินเชื่อบัตรมาเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดเวลา ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยถูกลงจาก 16% เหลือ 12% สำหรับบัตรเครดิต โดยสามารถคงวงเงินที่เหลือไว้ใช้ได้ และประวัติเครดิตบูโรจะไม่เสีย

 

กลุ่มที่สอง เป็นหนี้บัตรที่เป็นหนี้เสียแล้ว ยังไม่ฟ้อง หรือฟ้องแล้วแต่ยังไม่พิพากษา สามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 10 ปี ดอกเบี้ยต่ำเพียง 4-7% ตามเงื่อนไขของคลินิกแก้หนี้

 

กลุ่มที่สาม เป็นหนี้บัตร เป็นคดีมีคำพิพากษาแล้ว ไปจนถึงบังคับคดียึดทรัพย์แต่ยังไม่ขายทอดตลาด ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ และถือเป็นความพิเศษของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ คือปกติเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้ เจ้าหนี้มักจะไม่ยินยอมให้ผ่อนยาว แต่ผู้ให้บริการทางการเงินจำนวน 23 แห่งที่ร่วมโครงการเห็นความจำเป็นที่ต้องผ่อนปรนเงื่อนไขให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้ โดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในชั้นบังคับคดีเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้อีกครั้งหนึ่ง โดยลูกหนี้จะผ่อนชำระเฉพาะเงินต้นนานสูงสุด 5 ปี และยกดอกเบี้ยที่ค้างให้หากลูกหนี้จ่ายชำระตามแผนได้สำเร็จ

 

ทั้งนี้สำหรับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร 1213 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. กรณีนอกเวลาทำการ สามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออีเมลมาที่ [email protected] เพื่อที่เจ้าหน้าที่ของ ธปท. จะได้ติดต่อกลับไป

 

ธัญญนิตย์กล่าวทิ้งท้ายว่า ธปท. ได้รับข้อแนะนำจากหลายภาคส่วนให้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับสินเชื่อประเภทอื่นเพิ่มเติม ปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะเริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เมื่อรายละเอียดต่างๆ มีความชัดเจนแล้วจะชี้แจงให้ทราบต่อไป 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้กระหึ่ม! ลูกหนี้กว่า 2 แสนรายร่วมวงเจรจา ธปท. ขยายเวลาจัดงานถึง 30 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. แจง การลดดอกเบี้ยผิดสัญญาเงินกู้-ผิดนัดชำระหนี้เหลือ 5% หวังลดผลกระทบโควิด-19 https://thestandard.co/interest-reduction-in-breach-of-the-loan-agreement/ Wed, 10 Mar 2021 08:25:17 +0000 https://thestandard.co/?p=463479 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน […]

The post ธปท. แจง การลดดอกเบี้ยผิดสัญญาเงินกู้-ผิดนัดชำระหนี้เหลือ 5% หวังลดผลกระทบโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดสัญญาเงินกู้และกรณีผิดนัดชำระหนี้จากเดิม 7.5% เหลือ 5% ซึ่งเตรียมเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

 

ทั้งนี้ ธปท. มองว่า การปรับลดดอกเบี้ยผิดนัดชำระทั้ง 2 กรณี เพื่อลดภาระของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเดิมแนวคิดในการตั้งอัตราดอกเบี้ยปรับไว้สูง เพื่อให้ประชาชนไม่ผิดนัดชำระหนี้

 

นอกจากนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 กรณี สอดคล้องกับประกาศของ ธปท. ที่ออกไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักคิดใน 3 เรื่องหลัก แบ่งเป็น

  1. การคำนวณกรณีผิดสัญญาเงินกู้และกรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดเฉพาะงวดที่ผิดนัดจริง ไม่ให้รวมงวดในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง 

 

  1. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระที่ให้บวกเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาได้ไม่เกิน 3%  

 

  1. การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้ให้มีโอกาสตัดเงินต้นได้มากขึ้น

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post ธปท. แจง การลดดอกเบี้ยผิดสัญญาเงินกู้-ผิดนัดชำระหนี้เหลือ 5% หวังลดผลกระทบโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. เผยยอดลงทะเบียน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตฯ’ วันแรกพุ่ง 2 หมื่นราย https://thestandard.co/bot-credit-card-debt-mediation-festival/ Mon, 15 Feb 2021 09:31:02 +0000 https://thestandard.co/?p=454676 ธปท. เผยยอดลงทะเบียน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตฯ’ วันแรกพุ่ง 2 หมื่นราย

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิ […]

The post ธปท. เผยยอดลงทะเบียน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตฯ’ วันแรกพุ่ง 2 หมื่นราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. เผยยอดลงทะเบียน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตฯ’ วันแรกพุ่ง 2 หมื่นราย

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์สำหรับบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งเริ่มเปิดลงทะเบียนวันแรก 14 กุมภาพันธ์ 2564 มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 2 หมื่นราย คิดเป็นจำนวนกว่า 4 หมื่นบัญชี 

 

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป ธปท. จะส่งข้อมูลคำขอไกล่เกลี่ยไปยังผู้ให้บริการทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรวมถึงสถานะของลูกหนี้ จากนั้นเจ้าหนี้จะติดต่อลูกหนี้กลับไปเพื่อนัดลงนามในสัญญา ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน จากการที่มีผู้ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ถึง 14 เมษายน 2564  

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post ธปท. เผยยอดลงทะเบียน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตฯ’ วันแรกพุ่ง 2 หมื่นราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. รวมเจ้าหนี้ 21 แห่ง เปิดแก้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ 14 ก.พ.-14 เม.ย. 2564 https://thestandard.co/bank-of-thailand-solve-credit-card-debt/ Wed, 10 Feb 2021 12:37:28 +0000 https://thestandard.co/?p=452956 ธปท. รวมเจ้าหนี้ 21 แห่ง เปิดแก้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ 14 ก.พ.-14 เม.ย. 2564

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิ […]

The post ธปท. รวมเจ้าหนี้ 21 แห่ง เปิดแก้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ 14 ก.พ.-14 เม.ย. 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. รวมเจ้าหนี้ 21 แห่ง เปิดแก้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ 14 ก.พ.-14 เม.ย. 2564

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หากลูกหนี้มีสินเชื่อกับหลายสถาบันการเงิน ยิ่งบริหารจัดการยาก ส่งผลให้ทาง ธปท. เปิดตัว ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล’ เพื่อเป็นช่องทางให้ลูกหนี้และสถาบันการเงินสามารถเจรจาหนี้ในภาพรวมได้ง่ายขึ้น 

 

ทั้งนี้ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลจะจัดในรูปแบบออนไลน์ผ่านการกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยมีกำหนดระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 14 เมษายน 2564 เพื่อให้กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ที่มีประสิทธิภาพ และลูกหนี้มีทางเลือกในการผ่อนชำระที่ดีขึ้น รวมถึงลดกรณีฟ้องร้องบังคับคดีในชั้นศาล

 

มหกรรมฯ ดังกล่าวจะเปิดให้ลูกหนี้ทุกสถานะ (1) หนี้ดีที่ยังผ่อนชำระปกติ แต่เริ่มขาดสภาพคล่องชั่วคราว (2) หนี้ NPL ทั้งที่ยังไม่มีการฟ้อง อยู่ระหว่างฟ้อง หรือที่มีคำพิพากษาแล้ว สามารถใช้ช่องทางนี้ในการไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของสำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 21 แห่ง (คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของตลาด) และ ธปท. 

 

“ลูกหนี้ที่สถานะเป็น NPL ทั้งที่ยังไม่ถูกฟ้องหรือถูกฟ้องแล้ว สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้สมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ได้เลย และเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาลไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากศาลรับข้อเสนอของคลินิกแก้หนี้เป็นหนึ่งข้อเสนอที่ใช้ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล” 


นอกจากนี้ ธปท. ยังปรับเกณฑ์คลินิกแก้หนี้ โดยปรับเกณฑ์คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการจากเดิมที่จะต้องเป็นหนี้ NPL ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็น NPL ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้ครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตโควิด-19 

The post ธปท. รวมเจ้าหนี้ 21 แห่ง เปิดแก้หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ 14 ก.พ.-14 เม.ย. 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. ออก 3 แนวปฏิบัติการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการตัดชำระหนี้ หวังลดหนี้เสียระบบ https://thestandard.co/bank-of-thailand-launched-3-interest-analyst/ Wed, 28 Oct 2020 12:41:26 +0000 https://thestandard.co/?p=413668 ธปท. ออก 3 แนวปฏิบัติการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการตัดชำระหนี้ หวังลดหนี้เสียระบบ

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิ […]

The post ธปท. ออก 3 แนวปฏิบัติการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการตัดชำระหนี้ หวังลดหนี้เสียระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธปท. ออก 3 แนวปฏิบัติการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการตัดชำระหนี้ หวังลดหนี้เสียระบบ

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. ออกแนวปฏิบัติสำคัญในหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ให้กับผู้ให้บริการทางเงิน โดยแบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

 

1. การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ ‘เงินต้นที่ผิดนัดจริง’ เท่านั้น คือเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้บริการจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ (ดอกเบี้ยผิดนัดฯ) ได้เฉพาะเงินต้นงวดที่ผิดนัดจริง เช่น ผิดนัดชำระ 1 งวด จ่ายดอกเบี้ยผิดนัดเฉพาะงวดนั้นๆ ซึ่งจะแตกต่างกับวิธีเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดฯ จากเงินต้นคงค้างทั้งหมด ทำให้ดอกเบี้ยผิดนัดสูง  

 

2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ ‘อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%’ เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดฯ ได้ไม่เกิน 11% และต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ผ่านมา ซึ่งจะแตกต่างจากวิธีเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง เช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15% บางกรณีสูงถึง 22%


3. การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ ‘ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก’ เพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่าย ‘ค่าธรรมเนียม’ ‘ดอกเบี้ย’ และ ‘เงินต้น’ ของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัด ‘ค่าธรรมเนียม’ ทั้งหมด ตามด้วย ‘ดอกเบี้ย’ ทั้งหมด แล้วจึงนำเงินส่วนที่เหลือมาตัด ‘เงินต้น’ 

 

 

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ธปท. ส่งหนังสือเวียนถึงผู้ให้บริการทางการเงินเรื่องประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ขณะที่เรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป สาเหตุเพราะผู้ให้บริการทางการเงินต้องใช้เวลาในการปรับปรุงงานที่เกี่ยวข้อง 


ในกรณีการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสมควร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ลูกหนี้จำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19


ทั้งนี้การปรับเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อลดภาระหนี้สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ธปท. ออก 3 แนวปฏิบัติการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและการตัดชำระหนี้ หวังลดหนี้เสียระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘คลินิกแก้หนี้’ ปรับยา 2 สูตรใหม่ บรรเทาผลกระทบโควิด ‘ลดดอก-พักหนี้’ ใช้ถึงกลางปี 64 https://thestandard.co/debt-solving-clinic-reduce-interest-stay-debt/ Sat, 24 Oct 2020 07:34:24 +0000 https://thestandard.co/?p=411998

คลินิกแก้หนี้ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับมาตรการช่วยเ […]

The post ‘คลินิกแก้หนี้’ ปรับยา 2 สูตรใหม่ บรรเทาผลกระทบโควิด ‘ลดดอก-พักหนี้’ ใช้ถึงกลางปี 64 appeared first on THE STANDARD.

]]>

คลินิกแก้หนี้ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับมาตรการช่วยเหลือ ‘ยา 2 สูตร’ เน้นลดดอกเบี้ยและพักชำระหนี้ พร้อมขยายเวลาถึงปี 2564

 

ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ได้ประชุมเพื่อประเมินผลมาตรการช่วยเหลือที่เรียกว่า ‘ยา 2 สูตร’ คือการลดดอกเบี้ยและการพักชำระหนี้ ซึ่งได้ดำเนินการใน 6 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-กันยายน 2563) ผลที่ออกมาโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ลูกหนี้ของคลินิกแก้หนี้ส่วนใหญ่ประมาณ 94% ยังจ่ายชำระค่างวดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบและพักชำระหนี้มีเพียง 6% เท่านั้น 

 

แต่อย่างไรก็ดี มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่ไม่แจ่มใสนักและยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก คณะกรรมการฯ จึงขยายมาตรการช่วยเหลือออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 แต่ได้ปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่จะมีต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในโครงการคลินิกแก้หนี้อย่างใกล้ชิด

 

คลินิกแก้หนี้’ ปรับยา 2 สูตรใหม่ บรรเทาผลกระทบโควิด ‘ลดดอก-พักหนี้’ ใช้ถึงกลางปี 64

 

ผลของยา 2 สูตรจากคลินิกแก้หนี้ (เมษายน-กันยายน 2563)

“มาตรการช่วยเหลือที่เรียกว่า ‘ยา 2 สูตร’ หรือยาสองขนาน ที่คลินิกแก้หนี้ได้ดำเนินการไปในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน 2563 ที่ผ่านมา ผลลัพธ์ที่ออกมาถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ กล่าวคือ (รูปที่ 1)

 

“ลูกหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเลื่อนกำหนดชำระหนี้หรือเลือกที่จะใช้ ‘ยาสูตรที่ 1’ มีเพียง 6% แม้ว่าโครงการกำหนดให้เป็นสิทธิสำหรับลูกหนี้ทุกรายที่จะเลื่อนกำหนดชำระหนี้โดยไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ผลที่ออกมาชี้ว่าการลดดอกเบี้ย 2% ถือเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพไม่เลือกที่จะพักชำระหนี้ และยังคงชำระค่างวดเข้ามาตามปกติ

 

“ลูกหนี้ที่ยังคงชำระค่างวดเข้ามาต่อเนื่องหรือเลือกที่จะใช้ ‘ยาสูตรที่ 2’ มีสูงถึง 94% ซึ่งประกอบด้วยลูกหนี้ที่ชำระหนี้เข้ามาครบค่างวดทั้งหมด 74% ในขณะที่ลูกหนี้ 20% ชำระหนี้ได้บางส่วน โดยจำนวนเงินต่ำสุดที่ชำระเข้ามาคือ 100 บาท 

 

“เราประเมินว่ามาตรการช่วยเหลือยา 2 สูตรของโครงการคลินิกแก้หนี้สามารถตอบโจทย์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ไปพร้อมๆ กัน ลูกหนี้ที่ไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้รับการผ่อนปรนให้พักชำระหนี้โดยไม่ถือว่าผิดนัด ประวัติจะไม่เสีย ในขณะที่ลูกหนี้ที่ยังผ่อนชำระเข้ามาต่อเนื่องได้รับการลดดอกเบี้ยเพิ่มเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 ซึ่งในมุมนี้ถือว่าช่วยลดความกังวลด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินด้วย” ธัญญนิตย์กล่าว

 

 

ยา 2 สูตรใหม่ที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพจะช่วยรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต

ธัญญนิตย์อธิบายเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเมื่อมองไปข้างหน้าแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยยังไม่แจ่มใสนัก และอาจจะใช้เวลาอีกสักพักก่อนที่จะฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับปกติ จึงเห็นควรให้ปรับปรุงและขยายมาตรการความช่วยเหลือออกไปอีก 9 เดือนจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกหนี้ในช่วงที่ยากลำบาก

 

ทั้งนี้ การขยายมาตรการยา 2 ขนาน เนื่องจากเห็นว่ามีประสิทธิผล สามารถตอบโจทย์ทั้งฝั่งลูกหนี้และเจ้าหนี้ การดำเนินการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และแนวทางการปรับปรุงก็มาจากข้อมูลผลของมาตรการที่เราเห็น (Evidence Based) ซึ่งโครงการมีลูกหนี้ 2 กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือแตกต่างกัน (รูปที่ 2)

 

กลุ่มแรกคือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ มีรายได้และสภาพคล่องลดลง บางรายตกงาน ซึ่งหากไม่ได้รับความช่วยเหลือก็อาจต้องออกจากโครงการและกลับเข้าสู่วงจรหนี้เสียเช่นเดิม กลุ่มนี้จะได้รับยาขนานแรก ซึ่งโครงการได้ปรับปรุงแนวทางโดยลูกค้าต้องลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิตามมาตรการนี้ (Opt-in) จากเดิมให้สิทธิ์แก่ลูกหนี้ทุกรายเป็นการทั่วไป ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ง่ายๆ เพียงเข้าไปในเว็บไซต์ www.คลินิกแก้หนี้.com และกรอกข้อมูลแสดงความจำนงเข้ามา อยากจะขอย้ำว่าลูกหนี้ที่สนใจเข้ามาตรการนี้จะต้องกรอกข้อมูลขอเข้ามาตรการซึ่งไม่เหมือนช่วงแรก (โดยต้องแจ้งเข้ามาภายในเดือนพฤศจิกายน 2563)

 

กลุ่มที่สองคือลูกหนี้ที่ยังพอชำระค่างวดได้ โครงการจะกระตุ้นให้ลูกหนี้กลุ่มนี้ชำระค่างวดเข้ามาตามกำลังความสามารถ โดยจะได้รับยาขนานที่สองคือลดดอกเบี้ยให้ 1-2% หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ในช่วงนี้ แต่จะมีการแบ่งกลุ่มที่จะให้ความช่วยเหลือออกเป็นดังนี้

 

1. กลุ่มที่จ่ายค่างวดเฉลี่ยมากกว่า 80% ในช่วง 9 เดือนข้างหน้า จะได้รับการลดดอกเบี้ย 2%

 

2. กลุ่มที่จ่ายค่างวดเฉลี่ย 40-79.99% ในช่วง 9 เดือนข้างหน้า จะได้รับการลดดอกเบี้ย 1%

 

ดอกเบี้ยที่ทางคลินิกแก้หนี้ลดให้ลูกหนี้ในโครงการเพิ่มเติมจะถูกนำไปตัดเงินต้น ซึ่งจะทำให้ยอดหนี้ทั้งหมดลดลงเร็วขึ้นด้วย

 

ลูกหนี้ในอนาคตจะได้ประโยชน์

ประชาชนที่มีหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ที่สมัครเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ในช่วงนี้จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 จะได้รับสิทธิ์ลดดอกเบี้ย 1-2% จากโครงการเช่นเดียวกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายจริงอยู่ที่ 2-3% ถือว่าผ่อนปรนมากเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทั่วไป 

 

ความคืบหน้าของโครงการคลินิกแก้หนี้

ณ เดือนกันยายน 2563 โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถช่วยประชาชนแก้หนี้บัตรไปแล้วกว่า 24,000 ใบ ครอบคลุมลูกหนี้กว่า 8,300 ราย ซึ่งมีหนี้บัตรเฉลี่ยรายละ 3 ใบ มูลหนี้เฉลี่ยต่อราย 240,000 บาท และขณะนี้มีลูกหนี้ที่รอลงนามในสัญญาอีกกว่า 900 ราย และอีก 1,200 ราย อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลกับสถาบันการเงิน คาดว่าในปี 2563 ตัวเลขผู้เข้าร่วมโครงการสะสมจะเกิน 10,000 ราย

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ‘คลินิกแก้หนี้’ ปรับยา 2 สูตรใหม่ บรรเทาผลกระทบโควิด ‘ลดดอก-พักหนี้’ ใช้ถึงกลางปี 64 appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติเปิด ‘ทางด่วนแก้หนี้’ ช่วยประสานเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ให้ปรับหนี้ร่วมกัน https://thestandard.co/bank-of-thailand-open-high-way-for-paying-debt/ Mon, 13 Apr 2020 11:59:05 +0000 https://thestandard.co/?p=353601

วันนี้ (13 เมษายน) ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ส […]

The post แบงก์ชาติเปิด ‘ทางด่วนแก้หนี้’ ช่วยประสานเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ให้ปรับหนี้ร่วมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (13 เมษายน) ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางเงิน (ศคง.) ของแบงก์ชาติเปิดช่องทาง ‘ทางด่วนแก้หนี้’ เป็นช่องทางเสริมสำหรับประชาชนและธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือต้องการความช่วยเหลือ ให้สามารถแจ้งความต้องการไปที่สถาบันการเงิน 

 

ทั้งนี้ ทางด่วนแก้หนี้จะใช้ในช่วงที่มีมาตรการเว้นระยะทางสังคมเพื่อลดการแพร่กระจายของโควิด-19 อาจทำให้ลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดต่อสถาบันทางการเงินเนื่องจากมีคนติดต่อเข้าไปจำนวนมาก หรือในกรณีที่ลูกหนี้ติดต่อสถาบันทางการเงินแล้ว แต่ไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกัน เช่น คุณสมบัติไม่ผ่าน หรือแม้มีมาตรการผ่อนปรนของสถาบันทางการเงิน ลูกหนี้ก็ยังจ่ายชำระหนี้ไม่ได้ เป็นต้น 

 

โดยข้อมูลที่ได้รับผ่านช่องทางทางด่วนแก้หนี้ จะถูกส่งต่อไปยังสถาบันการเงิน ซึ่งการพิจารณาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละสถาบันการเงินเอง อย่างไรก็ดี กรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถรับข้อเสนอของลูกหนี้ ขอให้สถาบันการเงินระบุเหตุผลเพื่อแบงก์ชาติจะเข้าไปดูว่า มีอะไรที่พอจะทำได้บ้างที่จะไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายหาข้อยุติร่วมกัน และเดินต่อไปด้วยกันได้

 

ช่วงนี้ ธปท. ติดตามสถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของวิกฤตโควิดอย่างใกล้ชิด เพราะตระหนักดีว่าประชาชนโดยเฉพาะรายย่อย รวมทั้งธุรกิจ SMEs จำนวนมากกำลังเดือดร้อนจากรายได้ลดลงจากผลของมาตรการล็อกดาวน์ 

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนยังมีช่องว่าง ทั้งในส่วนที่ประชาชนติดต่อสถาบันการเงินไม่ได้ หรือกรณีที่สถาบันการเงินและลูกหนี้ยังหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ จึงเป็นที่มาของทางด่วนแก้หนี้ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น และช่วยลูกหนี้ในการเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ที่จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันทางการเงินในช่วงวิกฤตนี้

 

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนหลักยังขอให้ลูกหนี้ติดต่อสถาบันการเงินก่อนเป็นอันดับแรก เพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีมาตรการช่วยเหลือผ่อนปรน แต่ถ้าติดต่อแล้วเรื่องไม่คืบหน้า หรือข้อเสนอที่ได้รับยังไม่อาจบรรเทาภาระได้ จึงขอให้มาใช้ช่องทางทางด่วนแก้หนี้ เพื่อเป็นช่องทางเสริม และประสานความช่วยเหลือครั้งนี้ไปยังสถาบันการเงิน

 

นอกจากนี้ลูกหนี้ยังสามารถเจรจาขอให้สถาบันการเงินพิจารณาผ่อนปรนเพิ่มเติมได้ในหลายรูปแบบ ถ้าเห็นว่ายังผ่อนชำระไม่ไหว เช่น ลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม 

 

สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาการติดต่อสถาบันการเงิน หรือยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันกับศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โดยเจ้าหน้าที่ยินดีให้คำปรึกษา ท่านสามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1213

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post แบงก์ชาติเปิด ‘ทางด่วนแก้หนี้’ ช่วยประสานเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ให้ปรับหนี้ร่วมกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>