THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘Silence Bank Run’ ยังหลอน เหตุ Inverted Yield Curve ปั่นป่วนจากนโยบายขึ้นดอกเบี้ยแรง

... • 20 มี.ค. 2023

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวลดลงหลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตธนาคารในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยในสหรัฐฯ ธนาคาร SVB และ Signature ถูกสำนักงานประกันเงินฝากสั่งปิด ด้าน Credit Suisse ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือต่อธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ จากปัญหาขาดสภาพคล่องหลังลูกค้าถอนเงินรุนแรง 
  • ตัวเลขเศรษฐกิจชะลอลง โดยยอดค้าปลีกหดตัว -0.4% ต่อเดือน และเงินเฟ้อผู้ผลิตและผู้บริโภคชะลอชัดเจนที่ 4.6% และ 6.0% ต่อปีตามลำดับ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ขยายตัวตามคาดหรือต่ำกว่าคาดเล็กน้อย
  • สัญญาณต่างๆ บ่งชี้มากขึ้นว่าเศรษฐกิจและภาคการเงินโลกมีความเสี่ยงที่จะแตกแยกออกเป็น 2 เสี่ยง โดยฟากเศรษฐกิจ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ธนาคารกลางยังต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อที่จะคุมเงินเฟ้อ 
  • ส่วนภาคการเงิน แม้สถานการณ์การเทขายหุ้นธนาคารในกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาได้บรรเทาลงแล้ว แต่สถานการณ์การเทขายหุ้นธนาคารแสดงให้เห็นว่าวิกฤตศรัทธาของระบบการเงินในปัจจุบันกำลังเริ่มต้นขึ้น 
  • การแก้ปัญหาของหน่วยงานทางการจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ไม่สามารถหยุดความไม่เชื่อมั่นในระบบการเงินได้ เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างร่วมกันของธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรปคือ Inverted Yield Curve จากการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงเกินไปของ Fed และ ECB เพื่อคุมเงินเฟ้อ

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดผันผวน ก่อนจะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายสัปดาห์ จากเหตุการณ์สำคัญดังนี้  

 

1. วิกฤตธนาคารในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยในสหรัฐฯ Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ถูกสำนักงานประกันเงินฝาก (Federal Deposit Insurance Corp.: FDIC) สั่งปิด ขณะที่ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนเท่ากับ 2.5 แสนดอลลาร์ต่อบัญชี แต่ภายหลังทางการสหรัฐฯ ที่ประกอบด้วย Fed, กระทรวงการคลัง (Treasury) และ FDIC ประกาศเข้าคุ้มครองเงินฝาก SVB และ Signature Bank เต็ม 100% 

 

นอกจากนั้นภาครัฐยังจัดตั้ง Bank Term Funding Program (BTFP) โดยเป็นเครื่องมือให้ยืมเงินไม่จำกัดจำนวนแก่ธนาคารเป็นระยะเวลา 1 ปี ใช้พันธบัตรเป็นสินทรัพย์ค้าประกัน โดยใช้วงเงินจำนวน 2.5 หมื่นล้านจากกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตาม แม้มีการประกาศแล้ว หุ้นกลุ่มธนาคารโดยเฉพาะ Regional Bank ก็ยังปรับตัวลดลงรุนแรงก่อนจะฟื้นข้ึนได้บ้างในวันถัดมา 

 

2. ธนาคาร Credit Suisse ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือต่อธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ จากปัญหาการขาดสภาพคล่องหลังลูกค้าถอนเงินกว่า 1.1 แสนล้านฟรังก์สวิส ขณะที่ปี 2022 ขาดทุนสุทธิ 7.3 พันล้านฟรังก์สวิส นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ Saudi National Bank ประกาศไม่สามารถถือหุ้นเพิ่มเพราะเกิน 10% ผิดกฎธนาคาร ส่งผลราคาหุ้นปรับลดลง 14% ภายในวันเดียว ภาพดังกล่าวทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปีปรับลดลงกว่า 1% หลังตลาดคาดว่า Fed จะชะลอขึ้นดอกเบี้ยและลดภายในปีนี้ 

 

3. ตัวเลขเศรษฐกิจชะลอลง โดยยอดค้าปลีกหดตัว -0.4% ต่อเดือน และเงินเฟ้อผู้ผลิตและผู้บริโภคชะลอชัดเจนที่ 4.6% และ 6.0% ต่อปีตามลำดับ 

 

4. ตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ขยายตัวตามคาดหรือต่ำกว่าคาดเล็กน้อย โดยยอดค้าปลีกขยายตัว 3.5% ตามคาด, ยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 2.4% ต่ำกว่าคาดท่ี 2.6% ส่วนยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวรขยายตัว 5.5% แต่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังหดตัวถึงกว่า -5.7% 

 

5. ECB ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก 0.50% ไปอยู่ที่ 3% ตามที่ตลาดคาด ท่ามกลางเงินเฟ้อท่ีสูง แม้ว่าจะยังมีวิกฤตธนาคารในยุโรปก็ตาม

 

“สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลง หลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป โดยในสหรัฐฯ ธนาคาร SVB และ Signature ถูกสำนักงานประกันเงินฝากสั่งปิด ด้าน Credit Suisse ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือต่อธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ จากปัญหาขาดสภาพคล่องหลังลูกค้าถอนเงินรุนแรง นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่เพิ่มทุนให้ ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปีปรับลดลงกว่า 1% หลังตลาดคาดว่า Fed จะชะลอขึ้นดอกเบี้ยและลดภายในปีนี้ ด้านตัวเลขเศรษฐกิจชะลอลง โดยยอดค้าปลีกหดตัว -0.4% ต่อเดือน และเงินเฟ้อผู้ผลิตและผู้บริโภคชะลอชัดเจนที่ 4.6% และ 6.0% ต่อปีตามลำดับ” 

 

สัญญาณความเสี่ยงเศรษฐกิจ-การเงินโลก ‘ชัดขึ้น’

ปัจจุบันสัญญาณต่างๆ บ่งชี้มากขึ้นว่าเศรษฐกิจและภาคการเงินโลกมีความเสี่ยงที่จะแตกแยกออกเป็น 2 เสี่ยง ในฟากเศรษฐกิจ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ธนาคารกลางยังต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อที่จะคุมเงินเฟ้อ 

 

แต่ในภาคการเงิน แม้สถานการณ์การเทขายหุ้นธนาคารในกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา (คืนวันพุธที่ 15 มีนาคม) ได้บรรเทาลงแล้ว แต่สถานการณ์การเทขายหุ้นธนาคาร ทั้งกลุ่ม US Regional Bank และ Credit Suisse ที่ลามไปสู่ธนาคารยุโรปอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าวิกฤตศรัทธาของระบบการเงินในปัจจุบันกำลังเริ่มต้นขึ้น 

 

ปัญหาเชิงโครงสร้างยังป่วนตลาด 

โดยการแก้ปัญหาของหน่วยงานทางการจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เห็นได้จากกองทุน Bank Term Funding Program (BTFP) ที่ทางการสหรัฐฯ ตั้งขึ้นเพื่อหยุด Bank Run ในกรณีของ SVB นั้นไม่สามารถหยุดความไม่เชื่อมั่นในระบบการเงินได้ สถานการณ์ Silence Bank Run จึงยังเกิดขึ้นในธนาคาร Regional Bank อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารในยุโรปหลังจาก Credit Suisse มีปัญหา ไม่สามารถหา Funding ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเฉพาะตัว แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างร่วมกันของธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรปคือ Inverted Yield Curve จากการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงเกินไปของ Fed และ ECB เพื่อคุมเงินเฟ้อ 

 

ทั้งนี้ มาตรการต่างๆ ของหน่วยงานทางการ (ล่าสุดคือธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ หรือ SNB ท่ีให้เงิน CS ยืมเพื่อเพิ่มสภาพคล่องจำนวน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์) ก็น่าจะช่วยได้เพียงชั่วคราว แต่ในที่สุดปัญหาเชิงโครงสร้าง (ก็คือ Inverted Yield Curve) ก็จะทำให้ระบบธนาคารมีความเสี่ยงจาก Silence Bank Run อย่างต่อเนื่อง เราจึงมองว่าการลงทุนในระยะสั้นต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างย่ิง เพราะสถานการณ์กำลังอยู่ในจุดเปราะบางสูง

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะยังผันผวนในกรอบ 1500-1550 จุด และยากจะฟื้นตัวได้แรง หลังนักลงทุนยังระมัดระวังและรอประเมินผลกระทบวิกฤตภาคธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรปที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมท้ังจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ในวันที่ 22-23 มีนาคม

 

กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ดังนี้

 

1. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ และต้องการเก็งกำไร กรณี Fed มีมติปรับข้ึนดอกเบี้ยนโยบาย 25bps ซึ่งจะทำให้ Bond Yield ปรับขึ้นต่อ กดดันให้ตลาดจะเพิ่มความกังวลที่มีต่อภาคธนาคารและภาวะเศรษฐกิจ แนะนำกลุ่ม Defensive เลือก BDMS, ADVANC

 

2. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ และต้องการเก็งกำไร กรณี Fed มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความช่วยเหลือต่อภาคสถาบันการเงิน แนะนำกลุ่มธนาคาร เลือก BBL, KBANK

 

3. สำหรับนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ และต้องการเก็งกำไรหลัง SET หลุด 1,600 แนะนำหุ้นท่ีมีพื้นฐานแกร่ง อีกทั้งราคาหุ้นปรับลงแรง YTD และแย่กว่า SET เลือก PTTEP, HMPRO, CPALL, SCGP, GULF ขณะที่ผู้ที่มีหุ้นชุดนี้แล้วแนะนำรอจังหวะขายเมื่อมีกำไร หรือ SET กลับไปบริเวณ 1,600

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงราคาปรับตัวตัวลง หรือ Underperform ตลาด สำหรับ

 

1. หุ้นที่โดนปรับลดประมาณการกำไรหรือ Downgrade/ราคามี Downside/มีปัจจัยเสี่ยงรออยู่ ได้แก่ AEONTS, BEM, SAWAD, TCAP, TIDLOR, TLI, TTB, MST, MTC, TQM

 

2. หุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 1Q23 คาดยังหดตัวต่อ YoY และ QoQ ได้แก่ GFPT, CPF, BTS, ASP

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ โดยต้องติดตาม

 

1.1 จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.88% หรือไม่ 

1.2 อัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Terminal Rate) จะเป็นเท่าไร (เดิมอยู่ที่ 5.13%) 

1.3 ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อเป็นเช่นไร (ในเดือนธันวาคมให้เศรษฐกิจและ Core PCE โตที่ 0.5% และ 3.1% ตามลำดับ) 

1.4 มีมุมมองต่อวิกฤตธนาคารล่าสุดเป็นเช่นไร

 

2. วิกฤตภาคธนาคารทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ติดตามว่าปัญหาจะลุกลามขยายวงกว้าง และสร้างความเสียหายมากน้อยเท่าไร

 

3. ความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราผลตอบแทนพันธบัตร และราคาทองคำ ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ความกังวลของนักลงทุนต่อวิกฤตภาคธนาคาร

 

4. ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ และยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ

 

5. ตัวเลขเงินเฟ้อ และการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BDMS - ปี 2023 จะเติบโตดีสุดในกลุ่ม

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BDMS เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • ผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีเครือข่ายมากสุดในไทย (โรงพยาบาล 57 แห่ง รวมกว่า 8,500 เตียง) และติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนของโลกในด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ซึ่งคาดได้ประโยชน์จากอุปสงค์การแพทย์ในไทยและต่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว
  • 1Q23 คาดกำไรปกติจะดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ปัจจัยขับเคลื่อนจากการบริการที่ไม่เกี่ยวกับโควิดที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ป่วยไทย และมีจำนวนผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารักษาเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังไทยเปิดประเทศเต็มรูปแบบ โดยในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์มีรายได้เติบโต ~6%YoY และ EBITDA Margin แข็งแกร่งจากมีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Fly-in Patient) มากขึ้น
  • ปี 2023 คาดมีกำไรปกติ 1.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 12%YoY แรงหนุนจากการบริการที่ไม่เกี่ยวกับโควิดที่เติบโตดีขึ้น ซึ่งจะชดเชยบริการโควิดท่ีชะลอตัว ขณะที่ความร่วมมือกับ Ping An Health คาดจะชัดเจนมากข้ึนใน 3Q23 ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยจีนเพิ่มขึ้น
  • จัดเป็นหุ้นปลอดภัย (Defensive) ภายใต้ภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูง โดยตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้น BDMS ปรับลง 2.6%YTD น้อยกว่า SET ที่ปรับลง 6.8%YTD ขณะที่กำไรปี 2023 คาดจะเติบโตสูงสุดในกลุ่มการแพทย์ จึงมองการอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นโอกาสเข้าซื้อลงทุน
  • เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่หุ้นละ 34 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 1.8%

 

Asset Allocation Strategy

การเร่งข้ึนดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางอย่าง Fed และ ECB เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของฝั่งประเทศท่ีพัฒนาแล้ว วิกฤตท่ีกลุ่มการเงินกำลังเผชิญได้ส่งผลให้ตลาดสูญเสียความเชื่อมั่น โดย Fed กำลังเผชิญความยากลำบากในการดำเนินนโยบายให้สอดคล้องไปกับความพยายามในการควบคุมเงินเฟ้อในสภาวะท่ีความมั่นคงของภาคเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก 

 

“เราจึงคาดว่าตลาดจะมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้นต่อเนื่อง”

 

ดังน้ันในภาพรวมเราจึงแนะนำให้ยังคงถือครองสภาพคล่องไว้ในระดับสูง และแนะนำลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพิ่มสัดส่วนการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐ โดยกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุน เน้นการถือครองสินทรัพย์ท่ีมีคุณภาพ หลีกเลี่ยงตราสารหนี้ US High Yield เพื่อลดความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้หากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าตลาดคาด

 

สำหรับการลงทุนในหุ้น เรายังคงมีมุมมองเป็นลบต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยแนะนำให้เน้นเลือกลงทุนในหุ้นคุณภาพท่ีมีศักยภาพในการรักษาระดับการทำกำไรได้ดีในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 

 

เราคงมุมมองบวกกับหุ้นเอเชียและจีน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้ว โดยได้อานิสงส์หลักจากการเปิดประเทศของจีนที่จะช่วยหนุนการบริโภคและการท่องเที่ยว มองการย่อลงของตลาดเป็นโอกาสเข้าสะสมเพิ่มเติม

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์และ REIT แต่มีมุมมองบวกกับ TH REIT ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีข้ึนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของทองคำ เรายังคงมุมมองเป็นกลาง โดยมองว่ามีแนวโน้มถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่อาจจะแข็งค่าขึ้นจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เราคงมุมมองเป็นกลาง มองราคาพลังงานเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังคงถูกปัจจัยกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างช้าๆ และยังอยู่ในระดับสูง ความกังวลปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

UST Yield มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มข้ึนตามแนวโน้มการปรับ Dot Plot ขึ้นในการประชุม Fed เดือนนี้ แต่เราคาด Yield จะเริ่มลดลงหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ในส่วน TH10YY ลดลงหลังต่างชาติกลับเข้าซื้อต้ังแต่ต้นเดือนมีนาคม และหลังเกิดปัญหา SVB ในสหรัฐฯ ทั้งน้ีความผันผวนของพันธบัตรไทย ยังมีต่ำกว่า US

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

เราคาดว่า Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวตามโมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดี แม้ว่าความผันผวนของดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม สําหรับ IG TH Yield ปรับลดลงตาม Gov’t Yield และ Corporate Spread ที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่ม AAA และ AA ขณะท่ี BBB Spread มีทิศทางดีข้ึน โดยลดลงมาใกล้ก่อนโควิดแล้ว

 

ปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป สร้างภาวะการเงินที่ตึงตัวมากข้ึน แม้ว่าจะยังกระจุกอยู่ในฝั่ง Bank Lending แต่ความเสี่ยงของปัญหาที่ยังไม่จบอาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงิน เสี่ยงต่อตลาด HY แม้ว่าขณะนี้ HY Spread ยังไม่ได้รับผลกระทบ ท่ามกลางผลบวกจากการปรับลดลงของ Gov’t Bond Yield

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลดลง ท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ยท่ีสูงขึ้น และผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีธุรกิจ ขณะที่ Valuation ตลาดยังตึงตัว และ Sentiment ตลาดยังถูกกดดันความกังวลเสถียรภาพทางการเงิน

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นยุโรปมีความผันผวนเพิ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์ SVB ในสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดความกังวลในหุ้นกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตาม พื้นฐานในด้านฐานทุนและสภาพคล่องของธนาคารในยุโรปนั้นยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม เรามองว่าการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อท่ีเพิ่มข้ึนจะนําไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจได้

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

แนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ และทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวมีแนวโน้มส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นผันผวนในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศตามการเปิดเมืองจะช่วยจํากัด Downside ให้กับตลาด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการเปิดเมือง มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน/การคลัง มาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงแรงซื้อของรายย่อยจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม Pent Up Saving บนเงินฝากส่วนเกินที่ยังอยู่ ประกอบกับ EPS ของดัชนีฯ ในช่วงที่เหลือของปีที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทกับสหรัฐฯ ท่ียังมีอยู่ และจาก Sentiment เชิงลบตามตลาดหุ้นในต่างประเทศ

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดเผชิญแรงขายจากความกังวลในปัญหา SVB ของสหรัฐฯ ที่กระทบธนาคารไทย แต่พื้นฐานธนาคารที่มีทุนที่แข็งแกร่งคาดแรงกดดันจะทยอยลดลง ท่ามกลางเศรษฐกิจท่ีดีขึ้นชัดใน 2H23 จากท่องเที่ยวที่หนุนกําลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภค หนุน EPS และหุ้นในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศและเกี่ยวข้องภาคท่องเท่ียว

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่สดใส และการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง ทําให้ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Discount Rate) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ด้วยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายเทียบกับประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น อาจเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดองและเงินเฟ้อ ทําให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจํากัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ดุลการค้าเกินดุลมากกว่าตลาดคาด ช่วยสนับสนุนค่าเงินรูเปียห์ให้แข็งค่าขึ้น ซึ่งช่วยลดความกังวลบนเงินเฟ้อที่ยังอยู่สูงกว่ากรอบท่ีธนาคารกลางอินโดนีเซียต้ังไว้ท่ี 4% อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวภาคการใช้จ่ายครัวเรือนที่ยังอ่อนแอ รวมไปถึงการคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.75% ทําให้ปัจจัยการกระตุ้นเศรษฐกิจน้ันมีจํากัด

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

เหตุการณ์ในหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้เกิดความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มข้ึน กดดันราคาน้ํามันให้ปรับตัวลง และมีแนวโน้มท่ีจะยังคงอ่อนแอในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากตลาดน้ํามันมีแนวโน้มที่ยังคงเป็นอุปทานส่วนเกิน อย่างไรก็ตาม การเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาน้ํามันฟื้นตัว

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาทองคํายังคงมีแนวโน้มผันผวนหลังจากเหตุการณ์ SVB ส่งผลให้ตลาดปรับลดคาดการณ์ Terminal Rate ของอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นกลับมาเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงสั้น

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ปัญหาภาคธนาคารใน DM ส่งผลให้ Gov 10YY ลดลง หนุน Yield Spread ของ REITs เร่งตัวขึ้น แต่ยังไม่ใช่ปัจจัยบวกต่อ DM REITs เนื่องจากปัญหาภาคธนาคารของกลุ่ม DM ท่ีเกิดขึ้นกลับสร้างความเสี่ยงภาวะการเงินที่ตึงตัวเพิ่มขึ้น กดดันต่อต้นทุนการเงินของ REITs โดยเฉพาะกลุ่ม High Leverage เช่น ในภูมิภาค EU

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียยังคงได้แรงผลักจากการเปิดเมือง/ประเทศ หนุนรายได้ของกลุ่ม REITs โดยเฉพาะค้าปลีกและโรงแรม ขณะที่อัตราเงินปันผลและ Yield Spread อยู่ในระดับที่น่าสนใจ ท่ามกลางความเสี่ยงภาวะการเงินตึงตัวที่ต่ำกว่ากลุ่ม DM ทําให้ REITs เผชิญปัจจัยลบจากต้นทุนทางการเงินที่น้อยกว่า

 

Private Asset

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สําหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศแนะนําให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 20 มี.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories