THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เอเชียเหนือ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

กระแสเงินทุนจ่อไหลเข้าตลาดหุ้น ‘เอเชียเหนือ’ ปีหน้า ดักอานิสงส์จีนเปิดประเทศ

... • 6 ธ.ค. 2022

HIGHLIGHTS

3 mins. read
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นขานรับถ้อยแถลง Fed ที่ส่งสัญญาณการชะลอขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้
  • InnovestX เชื่อว่า ในการประชุม FOMC เดือนธันวาคม อาจเห็นการส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยจาก Dot Plot ในปี 2023 สูงกว่าที่เคยให้ที่ 4.63%
  • อย่างไรก็ตาม Fed ยังคงต้องส่งสัญญาณ Hawkish ต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจเริ่มชะลอแล้วก็ตาม อาจทำให้ตลาดปรับตัวลดลง และกระแส Risk-On ในปัจจุบันชะลอลงได้
  • ในปี 2023 ตลาดหรือภูมิภาคที่น่าสนใจแห่งหนึ่งที่น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีคือกลุ่มเอเชียเหนือ

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% (EM +3.3%, DM +0.6%) โดยตลาดได้รับแรงหนุนถ้อยแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม และความคาดหวังเชิงบวกต่อการคลายมาตรการ Zero-COVID ของจีน แม้ว่าหลายบริษัทในสหรัฐฯ ให้แนวโน้มของผลประกอบการ 4Q22 และ 2023 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์

 

หุ้นกลุ่ม Growth (+1.3%) ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นกลุ่ม Value (+0.5%) หุ้นขนาดใหญ่ (+1%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (+0.1%) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เคลื่อนไหวผกผันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร อย่างเช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับเพิ่มขึ้น 1-2% หุ้นกลุ่มเชิงรับอย่าง Healthcare และ Staples ปรับเพิ่มขึ้น 0.5-1% และหุ้นอิงเศรษฐกิจปรับลดลง 0.2-1%

 

ตลาดส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ชะลอลงชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ประธาน Fed กล่าวเน้นว่า อาจลดระดับการขึ้นลงในเดือนธันวาคม ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจและตลาดแรงงานต่างๆ เริ่มชะลอลง ทั้งการจ้างงาน ADP ตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLTs) รวมถึงการใช้จ่ายในช่วง Black Friday ที่ผ่านมา ภาพดังกล่าวทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรทั้งสั้นและยาวลดลงเล็กน้อย แต่ Inverted Yield Curve ยังคงรุนแรง ขณะที่ กนง. ของไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาดไปอยู่ที่ 1.25% ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ชะลอลง โดย กนง. ปรับประมาณการเศรษฐกิจลงบ้างแต่ยังอยู่ในระดับสูง

 

InnovestX มองว่า สัญญาณที่ประธาน Fed ส่งมี 4 ประเด็นหลัก คือ

 

  1. การขึ้นดอกเบี้ยเริ่มทำให้เศรษฐกิจชะลอลง แต่ยังต้องใช้เวลากว่าที่ผลของดอกเบี้ยจะส่งเข้าสู่เศรษฐกิจจริง ดังนั้นจึงสมควรที่เริ่มจะลดระดับการขึ้นดอกเบี้ยได้ โดยอาจเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป

 

  1. การที่เงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ได้นั้น ตลาดแรงงานและค่าจ้างต้องชะลอความร้อนแรงลง ซึ่งในปัจจุบันตลาดแรงงานยังคงร้อนแรงเกินไป ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้สูงอายุที่เกษียณก่อนกำหนดในช่วงโควิด ทำให้แรงงานจึงยังตึงตัว แม้ขึ้นดอกเบี้ยแรง 

 

  1. เนื่องจาก Fed ไม่สามารถเพิ่มกำลังแรงงานได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดความต้องการแรงงานโดยการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจและการขยายตัวของค่าจ้างชะลอลง 

 

  1. อย่างไรก็ตาม Fed ไม่ต้องการที่จะทำให้นโยบายการเงินตึงตัวเกินไป หรือ Overtightening เพราะไม่อยากที่จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วเกินไป 

 

จาก 4 สัญญาณดังกล่าวทำให้เชื่อว่า ในการประชุม FOMC เดือนธันวาคม อาจเห็นการส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยจาก Dot Plot ในปี 2023 สูงกว่าที่เคยให้ที่ 4.63% เนื่องจากแม้ว่าตลาดแรงงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง แต่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ Fed ยังคงต้องส่งสัญญาณ Hawkish ต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจเริ่มชะลอแล้วก็ตาม อาจทำให้ตลาดปรับตัวลดลง และกระแส Risk-On ในปัจจุบันชะลอลงได้

 

“เชื่อว่าตลาดกำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในระยะต่อไป ได้แก่ ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่อาจมีมากขึ้นจาก Fed Hawkishness ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม InnovestX เชื่อว่า การลงทุนจะกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น โดยนักลงทุนจะลดความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยลง และหันมามุ่งเน้นในสินทรัพย์ / ตลาดที่ยังมีความแข็งแกร่งและต้านทานการขึ้นดอกเบี้ยและการชะลอลงของเศรษฐกิจได้ แต่ยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง”

 

ตลาดเอเชียเหนือ ‘น่าสนใจ’ ในปี 2023 

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กระแสเงินเริ่มไหลกลับเข้าในส่วนเอเชียเหนือมากขึ้น ประกอบกับมีหลายปัจจัยบวก ทำให้เชื่อว่าในปี 2023 ตลาดหรือภูมิภาคที่น่าสนใจแห่งหนึ่งที่น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีคือกลุ่มเอเชียเหนือ 

 

อย่างไรก็ดี มองว่าจังหวะการลงทุนก็มีความสำคัญ ซึ่งคาดว่าไตรมาส 2 น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มหันกลับมามองตลาดนี้และลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจาก

 

  1. มองว่าจีนจะเริ่มเปิดประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานคลี่คลาย และอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

 

  1. คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการใน 1Q23 จะต่ำที่สุด ทำให้ช่วง 2Q23 น่าจะมี Upside อยู่พอควร

 

  1. มีแนวโน้มที่วัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์โลกจะเริ่มฟื้นตัวกลับมาดีอีกครั้งในครึ่งปีหลังปีหน้า (2H23)

 

  1. ราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงมากว่าการปรับตัวลดลงของ Growth โดยปัจจุบัน Valuation เกาหลีและไต้หวันอยู่ที่ราว 12x 

 

ด้านหุ้นที่ InnovestX แนะนำในไต้หวันคือ TSMC, Foxconn และ Delta Electronic ในขณะที่เกาหลี InnovestX แนะ Samsung และ LG Energy Solution ส่วนทางฝั่งจีนแนะธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศอย่าง Kweichow Moutai, CATL และ Haidilao สำหรับ ETF ที่มีดัชนีอ้างอิงเอเชียเหนือที่ InnovestX แนะนำคือ iShares MSCI Taiwan ETF, iShares MSCI South Korea ETF และ Global x China Consumer Brand ETF

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะเคลื่อนไหวในกรอบ หลังตลาดยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่ กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนำ Selective Buy โดยเน้นรอจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ดังนี้

 

  • หุ้นเก็งกำไรจากความคาดหวังจีนเปิดประเทศหรือคลายมาตรการล็อกดาวน์มากขึ้น เลือก SCGP IVL และ MINT ERW 
  • หุ้นเก็งกำไรที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากการจัดงานมหกรรมยานยนต์ (Motor Expo ครั้งที่ 39 ซึ่งตลาดคาดเงินสะพัด 5.0 หมื่นล้านบาท เติบโต 16%YoY) เลือก TISCO 
  • หุ้นที่คาดว่าโมเมนตัมกำไร 4Q65 เติบโตแข็งแกร่ง YoY และ QoQ อีกทั้ง Valuation ยังน่าสนใจ เลือก BBL, GULF, SPALI, AOT, CPALL และ AU
  • ช่วงสั้นยังแนะนำให้เลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงกดดันผลประกอบการ ดังนี้

  

  • หุ้นที่คาดว่าจะถูกนำออก SET50 ซึ่งจะประกาศวันที่ 16 ธันวาคม 2565 และมีผลบังคับใช้ใน 1H66 เช่น BLA, IRPC, KCE และ SAWAD (SET100 ที่คาดว่าจะถูกนำออก MAJOR, STEC, SUPER, SYNEX, TASCO และ TTA)
  • หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง คาดว่าได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่า และผลประกอบการหุ้นเทคโนโลยีของโลกมีแนวโน้มอ่อนแอต่อใน 4Q65
  • หุ้นเดินเรือ ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากอุปทานเรือใหม่ที่เข้ามาและอุปสงค์การขนส่งสินค้าเริ่มชะลอตัวลง

 

สำหรับเหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์ถัดไป

  1. การประชุม ครม. ในวันที่ 6 ธันวาคม เพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่น โครงการ InnovestX, เที่ยวด้วยกันเฟส 5, โครงการช้อปดีมีคืน ฯลฯ
  2. การประชุม OPEC ในวันที่ 4 ธันวาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับกำลังการผลิต
  3. การประกาศหุ้นเข้า-ออกดัชนี SET50 และ SET100 รอบ 1H23

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BCP - โดดเด่นที่สุดในกลุ่มโรงกลั่น

สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้นำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทย (ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2) ที่มีการกระจายความเสี่ยงธุรกิจสู่พลังงานสะอาด ซึ่งมีศักยภาพเติบโตดี เช่น โรงไฟฟ้า, ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ, ร้านค้าปลีก และร้านกาแฟ
  • ฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยมีกระแสเงินสดสม่ำเสมอจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้า และเป็นหุ้นปันผลดี โดยมีประวัติการจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่องกว่า 17 ปี คาดว่าให้ Div. Yield ปีนี้สูงราว 8%
  • 4Q22 คาดว่ากำไรปรับตัวดีขึ้น QoQ จากค่าการกลั่น (Market GRM) ที่ดีขึ้น และขาดทุนสินค้าคงเหลือจะลดลงหลังราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับทรงตัวจาก 3Q22 อีกทั้งธุรกิจ E&P จะสร้างกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมีแรงหนุนจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันที่แข็งแกร่ง 
  • InnovestX ชอบ BCP มากกว่าผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันไทยรายอื่น เพราะมีความผันผวนต่ำกว่า เนื่องจากมีพอร์ตธุรกิจที่กระจายความเสี่ยงได้ดี โดยธุรกิจตลาดน้ำมันได้ประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจไฟฟ้าเน้นในพลังงานหมุนเวียนที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว และเป็นโรงกลั่นที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์ดีเซลสูง จึงได้ประโยชน์จากส่วนต่างดีเซลที่แข็งแกร่ง 
  •  InnovestX ประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 44 บาท ด้วยวิธี SOTP ประกอบด้วย มูลค่าธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันที่ 27 บาทต่อหุ้น และมูลค่าธุรกิจพลังงานไฟฟ้าที่ 17 บาทต่อหุ้น 

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

บรีฟอาร์ต: ระดับความน่าสนใจของตลาดต่างๆ รบกวนทำกราฟิกแถบพลังตาม Format ลิงก์นี้จ้ะ https://thestandard.co/120-days-opening-the-country-support-thai-reit-exclusive-summary/

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 4

เน้นถือครองเงินสด / สินทรัพย์สภาพคล่อง เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงเผชิญปัจจัยกดดันจาก 

 

  1. ธนาคารกลางต่างๆ ยังคงขึ้นดอกเบี้ยฯ ต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังสูง 
  2. ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย 
  3. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

10Y UST Yield มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงที่ Fed ยังทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และมีแนวโน้มลดลงหลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย รวมทั้งความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในส่วนของ 10Y TH Yield ลดลงตาม Fund Flow ที่เข้ามามากขึ้น

 

กองทุนแนะนำ

 

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้หรือกองทุนตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

หุ้นกู้ IG ไทย อุปสงค์ยังคงมีต่อเนื่อง สะท้อนจาก Bond Yield และ Corporate Spread ของไทยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะ Long-End สำหรับ IG 

 

หุ้นกู้ HY ไทยและต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงในภาวะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และ HY ใน EM บางประเทศกำลังเสี่ยงปัญหาสภาพคล่อง โดยเฉพาะจีนที่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาในจีน

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

InnovestX มีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยตลาดมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อและความกังวลเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ผลประกอบการของ บจ. ใน DM ช่วง 3Q65 ที่ส่วนใหญ่ดีกว่าคาด และ Valuation ของตลาดหุ้น DM ที่กลับมาสมเหตุสมผลจะยังช่วยพยุงตลาดโดยรวม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ Valuation ลดความตึงตัวลง และการซื้อหุ้นคืนของ บจ. ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะประคองตลาดฯ แต่คาดว่าตลาดฯ จะยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันหลักจาก Earnings ในปี 2023 ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลงท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

แม้ว่าตลาดฯ ปรับตัวดีขึ้นมามาก แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังถูกกดดันและมีความเสี่ยงที่จะเกิด Recession จากต้นทุนสินค้าและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะที่การดำเนินนโยบายที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างการคลังและการเงินอาจนำไปสู่ปัญหาเชิงโครงสร้าง อย่างเช่น หนี้สาธารณะในระยะกลางได้ 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Sentiment การลงทุนในระยะสั้นยังถูกหนุนด้วยการเปิดประเทศและ Valuation ที่ต่ำ แต่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง มีแนวโน้มกดดันการลงทุนในช่วง 1H23 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ดัชนีฯ จะได้รับแรงหนุนจากมาตรการฯ ของทางการ ที่หนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอสังหา บวกกับ Sentiment จากการเปิดเมือง แต่ดัชนีฯ ยังถูกจำกัดด้วยภาคอสังหาที่ยังคงซบเซาต่อ สถานการณ์การระบาดในจีนที่ยังน่ากังวล รวมถึงคาดว่าการยกเลิก Zero-COVID จะเกิดขึ้นในช่วง 2Q23

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ Valuation จะไม่แพง ความคาดหวังต่อการเปิดเมืองของจีน บวกกับความเสี่ยงหุ้นจีน ADRs Delisting ที่ลดลง แต่ตลาดฯ ยังเผชิญปัจจัยกดดันจาก 

 

  1. ความตึงเครียดของสหรัฐฯ-จีนที่มีอยู่ 
  2. แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 
  3. การผลักดัน Common Prosperity ทำให้ Upside ของดัชนีฯ ยังมีจำกัด 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

EPS ที่ยังโตได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้แรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ยัง Laggard กว่าภาคส่วนอื่นๆ ท่ามกลางเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยังดี ทำให้หุ้นไทยยังคงน่าสนใจเมื่อเทียบกับ EM อื่นๆ โดยให้เน้นหุ้นกลุ่ม High Quality โดยเฉพาะกลุ่ม Domestic-Related เช่น Commerce และ Transportation

 

กองทุนแนะนำ

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ในระยะกลาง-ยาว ตลาดฯ จะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจและผลประกอบการ บจ. ที่โตได้ดี ขณะที่ Valuation ที่ไม่แพง แต่ Sentiment ของรายย่อยภายในประเทศยังอ่อนแอ ตามความกังวลในประเด็นการปราบปรามการทุจริต ปัญหาสภาพคล่องตึงตัว และความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของอสังหา 

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

GDP 3Q22 เติบโตสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส สอดรับกับ EPS ที่ยังเติบโต แม้ระยะต่อไปราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลง แต่การใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุน รวมถึงกำลังซื้อของประชากรจำนวนมาก จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจและ EPS เติบโตได้ต่อเนื่อง

 

กองทุนแนะนำ 

 

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก) สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากทิศทาง Real Yield ที่ยังเพิ่มขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ทองคำยังมีแรงหนุนจาก 

 

  1. ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในภาวะที่ตลาดกังวลภาวะเศรษฐกิจ
  2. ธนาคารกลางต้องการถือครองเพื่อเป็นทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น 
  3. แนวโน้มการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

 

น้ำมัน 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

แม้ว่าราคาน้ำมันจะผันผวนตามความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่าราคายังมีโอกาสฟื้นตัวตามอุปสงค์น้ำมันและความคาดหวังต่อการเปิดเมืองของจีน ขณะที่อุปทานที่ยังคงตึงตัวจาก 

 

  1. OPEC+ ที่พยายามคุมราคาด้วยการลดกำลังการผลิต
    2. การคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียของ EU

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

การฟื้นตัวของผลตอบแทนรวมของ REITs ยังคงถูกกดดันจาก Bond Yield ระยะยาว ตามนโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัวและเงินเฟ้อที่ยังสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่ยุโรปยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอยกดดันเพิ่มเติม ซึ่งจะกระทบต่ออัตรากำไรของ DM REITs 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ว่าผลตอบแทน REITs เอเชีย จะถูกกระทบจาก Bond Yield ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่รุนแรงเท่ากับ DM REITs โดยเฉพาะ REITs ไทย ขณะที่ยังมีปัจจัยหนุนต่อเนื่องจากการเปิดเมือง (Upside Risk ที่มาจากการเปิดเมืองของจีน) และ Relocation-FDI หนุนกลุ่มโรงแรม ค้าปลีก และนิคมอุตสาหกรรม / โกดัง

 

Private Asset 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Neutral (Slightly positive: Private Equity & Debt, Neutral: Private Real Estate): ความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์และนโยบายทำให้ตลาดการเงินผันผวน Private Assets เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ลดความผันผวนของ Portfolio แต่สำหรับสกุลเงินต่างประเทศแนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทที่อาจแข็งค่าในปีหน้า

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 6 ธ.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories