THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

การลดดอกเบี้ยของ Fed เสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังตัวเลขจ้างงาน-เงินเฟ้อยังร้อนแรง

... • 17 เม.ย. 2024

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • ตลาดหุ้นฝั่ง DM ยังอ่อนแอกว่าฝั่ง EM ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยรับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมีนาคม ออกมาสูงกว่าคาด
  • ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค เพราะมีปัจจัยบวกภายในประเทศช่วยกระตุ้นบรรยากาศการลงทุน และ Fund Flow ไหลเข้า
  • จากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ และเงินเฟ้อที่ยังดูร้อนแรงกว่าคาด การลดดอกเบี้ยของ Fed อาจดูมีความเสี่ยงมากขึ้น 
  • ส่วนมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าจะทำให้ GDP ปี 2024 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.2% จาก 3.0% และปี 2025 จาก 3.0% เป็น 3.5% และอาจทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี เพิ่มขึ้น 3.0% ในปี 2025

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง โดยตลาดหุ้นฝั่ง DM ยังอ่อนแอกว่าฝั่ง EM ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมีนาคม ออกมาสูงกว่าคาด ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ขณะที่ตลาดหุ้นฝั่ง EM ได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค เนื่องจากมีปัจจัยบวกภายในประเทศช่วยกระตุ้นบรรยากาศการลงทุน และทำให้มีแรงซื้อกลับจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow ไหลเข้า) หลัง ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งบอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่ยังมีการเปิดเผยความชัดเจนมากขึ้นสำหรับแหล่งเงินที่จะใช้และแผนการดำเนินงานในโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของ GDP เพิ่มขึ้นได้ ขณะที่ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ตามตลาดคาด  

 

การลดดอกเบี้ย Fed เสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังตัวเลขจ้างงาน-เงินเฟ้อยังร้อนแรง 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าในภาพใหญ่ การลดดอกเบี้ยของ Fed อาจดูมีความเสี่ยงมากขึ้นจากตัวเลขการจ้างงานและเงินเฟ้อที่ยังดูร้อนแรงกว่าคาด อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดที่ต้องจับตา กล่าวคือ ในส่วนของตลาดแรงงาน หากนำตำแหน่งงานเปิดใหม่มาเปรียบเทียบกับอัตราว่างงาน พบว่าความสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2023 ถึงปัจจุบัน ตำแหน่งงานเปิดใหม่ลดลง พร้อมๆ กับการว่างงานที่เริ่มเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจเริ่มชะลอการจ้างงานเพิ่ม พร้อมๆ กับคนตกงานที่เริ่มเพิ่มขึ้น 

 

โดยหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป การจ้างงานจะตกลง ขณะที่ในส่วนของเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 90-95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน ทำให้เงินเฟ้อในหมวดอาหารและการเดินทางเพิ่มขึ้น ซึ่งในมุมมองของเรา หากราคาเริ่มลดลงจะทำให้เงินเฟ้อชะลอลงได้ โดยในระยะต่อไปต้องจับตากลุ่ม OPEC โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบียว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อทำให้ราคามีเสถียรภาพได้หรือไม่

 

ในส่วนของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต เรามองว่า 

 

1. จะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.0% เป็น 3.2% ในปี 2024 และจาก 3.0% เป็น 3.5% ในปี 2025

 

2. จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจาก 0.8% เป็น 1.0% ในปี 2024 และ 1.5% ในปี 2025

 

3. อาจทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (10 ปี) เพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 3.0% ในปี 2025 จากปัจจุบันที่ประมาณ 2.7%

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นเก็งกำไรหาก SET ฟื้นตัวทะลุ 1,400 จุด ซึ่งคาดว่าจะมีแรงซื้อกลับจากทำ Cover Short และ Fund Flow ไหลกลับ ขณะที่พื้นฐานยังแข็งแกร่ง เลือก HANA, KCE, KBANK, PTT และ AOT

 

2. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เลือก GFPT, KCE, SCGP และ IVL

 

3. หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่จะดีขึ้นตามผลฤดูกาล เนื่องจากกำลังเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย ซึ่งในปีนี้รัฐบาลประกาศจัด 21 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายนนี้ (ข้อมูลในอดีต 13 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือนเมษายน เฉลี่ยราว 2.5%MoM) เลือก AOT, ERW, MINT และ CPALL

 

4. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เลือก CPALL, CPAXT, BJC, HTC และ SNNP

 

“ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่อง หลัง SET Index สามารถกลับมายืนเหนือ 1,400 จุดได้อีกครั้ง โดยมองตลาดจะตอบสนองเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ รวมทั้งคาดตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ และจีนจะยังมีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้” 

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (ตลาดคาด 2.5% จากเดือนกุมภาพันธ์ที่ 1.5%)

2. GDP 1Q24 ของจีน ตลาดคาดขยายตัว 5.0% จาก 4Q23 ที่ 5.2% 

3. ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญจีน อันได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม (คาด 5.3% จาก 7%) ยอดค้าปลีก (3.4% จาก 5.5%) และการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (คาด 4.3% จาก 4.2%) 

4. การประชุม IMF และ World Bank ที่จะมีการฉายภาพเศรษฐกิจใหม่

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: HANA - ปีนี้คาดกำไรโตดีและยังมี Upside 

 

แนะนำ บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส หรือ HANA  เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ‘Electronic Manufacturing Service’ โดยปี 2023 มีรายได้รับจ้างประกอบชุดแผงวงจรพิมพ์ 61%, วงจรรวม 31%, ไมโครดิสเพลย์ 6 % และซิลิคอน/ซิลิคอนคาร์ไบด์ 2% ของรายได้รวม
  • 1Q24 เบื้องต้นคาดกำไรปกติทรงตัว QoQ โดยแม้การอ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลดีต่ออัตรากำไรขั้นต้น แต่ธุรกิจ IC อ่อนแอและเป็นโลว์ซีซันของผลิตภัณฑ์อื่นๆ แต่ 2Q24 คาดกำไรจะปรับตัวดีขึ้น แรงหนุนจากวงจรการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน AI ทดแทนสมาร์ทโฟนเครื่องเก่า ซึ่งจะกระตุ้นให้อุปสงค์สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 
  • Risk/Reward น่าสนใจ หลังราคาหุ้นปรับลง 25.4%YTD สะท้อนประเด็นลบไปแล้ว ขณะที่ปี 2024 คาดกำไรปกติจะเติบโต 11.4%YoY จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ SiC ขณะที่โมเมนตัมเชิงบวกของธุรกิจ RFID จะเป็น Upside ต่อกำไรปีนี้  
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 42 บาท อิง P/E Mean ที่ 19 เท่า และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 หุ้นละ 1.55 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 3%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ตลาดอยู่ในช่วงปรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่อาจช้ากว่าคาด หลังตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด ประกอบกับแนวโน้มผลประกอบการ 1Q24 ยังคงอ่อนแอในบางอุตสาหกรรม ด้วยภาพนี้อาจทำให้ตลาดมีความผันผวนและปรับฐานได้ในระยะสั้น ซึ่งเรายังคงเน้นตั้งรับภาพตลาด โดยอยู่ในกลุ่มเชิงรับและเน้นกลุ่มเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ที่มีภาพฟื้นตัวดี

 

  • ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาดและเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดย CPI เพิ่มขึ้น 3.5%YoY และ Core CPI ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 3.8%YoY ภาพนี้ส่งผลให้ตลาดในช่วงคืนวานนี้ปรับตัวลงหลังมีความกังวลว่า Fed จะตรึงดอกเบี้ยที่ระดับสูงนานกว่าคาด
  • เรามองว่าตลาดยังคงอยู่ในช่วงปรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่อาจช้ากว่าที่คาด สืบเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจในภาพรวมออกไปในทิศทางที่ดี และเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าคาด นอกจากนี้ ผลประกอบการ 1Q24 ที่จะประกาศออกมาในช่วงนี้ยังคงมีแนวโน้มอ่อนแอในบางอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เราอาจเห็นตลาดการเงินค่อนข้างมีความผันผวนและปรับฐานได้ในระยะสั้น 
  • ด้วยภาพนี้ ทำให้เราแนะนำ 1. เน้นตั้งรับตลาดที่มีความผันผวนในระยะสั้น: แนะมองกลุ่มค้าปลีกที่เป็นกลุ่มเชิงรับ สามารถลดความผันผวนของพอร์ต รวมถึงยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี สะท้อนได้จากยอดขาย COST เดือนมีนาคมที่ดีกว่าคาด ซึ่งในกลุ่มนี้เราชอบ WMT และ COST 2. เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาพการฟื้นตัวและแนวโน้มการเติบโตดีในช่วง 2H24: แนะกลุ่มเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแรงหนุนจากอุปสงค์ AI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีการออกสินค้าใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มแหล่งรายได้และการเติบโตในอนาคต โดยในกลุ่มนี้เราชอบ TSM, AMD, NVDA, MSFT, GOOGL และ PANW

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวสูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ นอกจากนี้ สภาพคล่องมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่ยังดำเนินต่อ จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์อิหร่านโจมตีอิสราเอลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

10Yr UST ทะลุระดับ 4.64% สูงสุดในรอบ 4 เดือนจาก 1. เงินเฟ้อเดือนมีนาคมที่ยังสูงกว่าคาด 2. ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมีนาคมที่แข็งแกร่งกว่าคาด และ 3. ตัวเลขค้าปลีกที่ขยายตัวมากกว่าคาด ทั้งนี้ เราชอบ Carry Trade ใน Treasuries ระยะสั้น โดยเฉพาะระยะ 1-3 ปี จาก Carry Yield ที่สูงกว่าตัวยาว จากภาวะ Inverted Yield Curve/TGB Yield ปรับตัวขึ้นแรง หลังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความชัดเจน

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

US IG Spread ยังทรงตัวในระดับต่ำมาก (บ่งชี้ถึงระดับราคาที่แพง) แต่ Yield to Worst เร่งตัวขึ้นตาม UST Yield ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งดึงดูดให้บริษัทประกันชีวิตและกองทุนบำเหน็จบำนาญเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และสัดส่วนลงทุนบน IG ของนักลงทุนต่างชาติยังเพิ่มขึ้น / Interest Coverage Ratio ทรงตัวในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด และตัวเลขหลังประกาศงบ 4Q23 บ่งชี้ถึง Balance Sheet ที่ยังแข็งแกร่งในกลุ่ม IG Issuers 

 

OAS Spread ยังอยู่ระดับต่ำ ทำให้ Valuation อยู่ในระดับที่ตึงตัวมาก จะเพิ่มความเสี่ยงที่ราคาจะผันผวนในระยะกลาง ทั้งนี้ แม้ Default Rate จะยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่กำหนดการครบกำหนดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปลายปี 2024 และจะเร่งตัวตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

การปรับตัวขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ เริ่มกระจายตัวไปยังเซ็กเตอร์พลังงานและอุตสาหกรรม จากราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และ ISM Manufacturing ที่เข้าสู่ระดับขยายตัว / Position ของนักลงทุนเริ่มมีความระมัดระวังต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะในช่วงที่มีความกังวลว่า Fed ไม่รีบลดดอกเบี้ย UST Yield ปรับเพิ่มขึ้น/ Valuation (NTM P/E = 21.2x) เทียบคาดการณ์ EPS Growth ไม่คุ้มความเสี่ยง (10.6%YoY สิ้นปีนี้) 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ Consensus คาด STOXX 600 EPS ใน 1Q24 จะ -11.2%YoY แต่ด้วย Valuation ที่มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก ECB ที่มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยในปีนี้ (ล่าสุด ECB ส่งสัญญาณว่าจะลดดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ขณะที่เราคาด ECB มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนนี้เป็นอย่างเร็ว) แม้ว่าความไม่แน่นอนบนการเลือกตั้งในยุโรป และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง (อาจหนุนต้นทุนพลังงาน) ยังมีอยู่ก็ตาม

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาทำให้ Valuation ตึงตัวขึ้น ขณะที่กระทรวงการคลังมีโอกาสเข้าแทรกแซงเงินเยนให้แข็งค่าขึ้นเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ และ BOJ มีแนวโน้มส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงินมากยิ่งขึ้นในการประชุมเดือนเมษายนนี้ หลังจากที่เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี เมื่อเทียบกับเงินเยน 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เราคาดว่าทางการจีนอาจยังไม่รีบเร่งออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมอย่างมีนัยในการประชุมโปลิตบูโรปลายเดือนนี้ หลัง GDP จีนใน 1Q24 ออกมาดีกว่าคาด และดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะด้านความมั่นคง และการแข่งขันทางเทคโนโลยี อาจสร้างความผันผวนให้แก่ดัชนี

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก EPS ใน 1Q24 โดยเฉพาะในกลุ่มอินเทอร์เน็ตที่มีแนวโน้มขยายตัวดี และจากแนวโน้มการออกมาตรการหนุนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (การเพิ่มซื้อหุ้นคืน และเพิ่มเงินปันผล) ของ บจ. ที่มากขึ้น ขณะที่ Valuation ยังน่าสนใจ 

 

อย่างไรก็ตาม ความกังวลบนการบริโภคที่ยังอ่อนแอ และปัญหาในภาคอสังหา รวมทั้งการกีดกันจากสหรัฐฯ ด้านตลาดทุน จะจำกัด Upside ของดัชนี

 

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนตามแนวโน้มการส่งออกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการธุรกิจในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่คิดเป็นน้ำหนัก 39% บนดัชนี แม้ในระยะสั้นดัชนีอาจเผชิญความผันผวนบนความไม่แน่นอนในการผลักดันนโยบาย Corporate Value Up จากผลการเลือกตั้งที่พรรคฝ่ายค้านครองที่นั่งส่วนมากในสภาอีกครั้ง ทั้งนี้ ต้องรอการประกาศนโยบาย CVP เพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เห็นความชัดเจนมากขึ้น เช่น มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาปี 2024 และโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่จะเริ่มใช้จ่ายครั้งแรกในช่วง 4Q24 ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ โดยในช่วง 1Q24 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสะสม 9.37 ล้านคน (+44%YoY) 

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับปัจจัยกดดันจากค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง จากการขาดดุลทางการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2024 จากการเพิ่มขึ้นของเงินสวัสดิการสังคม และเงินอุดหนุนปุ๋ย ประกอบกับภาคการส่งออกที่ยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการธนาคารและภาคการบริโภคในระยะยาว

 

ตลาดหุ้นอินเดีย

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

ตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี แต่ Valuation แพงเมื่อเทียบกับอดีตและตลาดอื่นในภูมิภาค โดย MSCI India มี NTM P/E อยู่ที่ระดับ 22.2 เท่า (+1.6 sd) และแพงกว่า MSCI Asia ex Japan 66% (ค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 50%) เทียบกับคาดการณ์ EPS Growth 2024E/2025E ที่ระดับ 15-16% ทั้งนี้ ดัชนีอาจเผชิญความผันผวนในช่วงเลือกตั้ง (19 เมษายน - 1 มิถุนายน) แนะนำรอหาจังหวะเข้าสะสมหลังการเลือกตั้งผ่านพ้น

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะจากภาคการส่งออกที่ฟื้นตัว +17% ใน 1Q24 ขณะที่ FDI ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วง 1Q24 เพิ่มขึ้น +13.4%YoY 

 

อย่างไรก็ตาม จับตาความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ที่กระจุกตัวค่อนข้างมากใน 2Q24 นอกจากนี้ ดัชนีอาจเผชิญความผันผวนในระยะสั้นบนราคาที่ปรับขึ้นมาเร็ว (+12%YTD) ท่ามกลางการซื้อขายบน Margin โดยนักลงทุนรายย่อยที่เพิ่มขึ้น

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาน้ำมันได้แรงหนุนระยะสั้นจากประเด็นความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ท่ามกลางอุปสงค์น้ำมันในจีนช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ยังเติบโต YoY โดยอุปสงค์หลักยังเป็นการสะสมน้ำมันสำรองคงคลังของรัฐบาลจีน/อุปทานของ US Shale Oil เริ่มทรงตัว โดยหลุม Permian มีอุปทานลดลงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อผนวกกับการ Cut Run ของกลุ่ม OPEC+ เราคาดว่าจะเห็นอุปทานตึงตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ Driving Season ของสหรัฐฯ และยุโรป 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคำในระยะสั้นมีโอกาสถูกกดดันจาก Real UST Yield ที่เร่งตัวขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง นอกจากนี้ หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอล-อิหร่านคลี่คลายอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ราคาทองคำระยะสั้นมีโอกาสพักฐาน แนะนำถือทองคำในฐานะสินทรัพย์กระจายความเสี่ยง ป้องกันความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่คาดว่าจะสูงขึ้นในปีนี้ รวมทั้งจะมีการเลือกตั้งในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ภาพรวม US REITs มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) ที่ดี และกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2022 โดยในช่วง 4Q23 มี CFO และ NOI เติบโต 1.6%YoY และ 2.4%YoY ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมที่เร่งตัวขึ้น เป็นปัจจัยกดดันให้ US REITs มี Dividend Yield Spread ที่แคบและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี จึงยังไม่น่าสนใจลงทุน

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

REITs สิงคโปร์มีแนวโน้มได้รับปัจจัยกดดันจาก Singapore 10Y Bond Yield ที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวเรามองว่า REITs สิงคโปร์มีความน่าสนใจจากกระแสเงินสดที่มีความมั่นคงตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2024-2025 ทางด้าน REITs ไทยยังมีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ เราจึงแนะนำลงทุนเป็นรายเซ็กเตอร์ เช่น Retail REITs ที่ได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตของภาครัฐ

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามีมุมมอง Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

มีมุมมองบน Private Equity เป็น Neutral อัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดและมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้แรงกดดันด้าน Discount Rate ที่มีต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ลดลง 

 

ขณะที่มีมุมมอง Private Real Estate เป็น Slightly Negative เนื่องจากหลายกองทุนยังมีการบังคับใช้การระงับการไถ่ถอนกองทุนอยู่

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 17 เม.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories