THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

คาด Fed ลดดอกเบี้ย 18 ก.ย. นี้ ครั้งแรกของปี หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวแรง

... • 16 ก.ย. 2024

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวแรงเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง ขณะที่เงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ ได้แก่ ค่าเช่าและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่มีนัยสำคัญต่อทิศทางเงินเฟ้อภาพรวมมากนัก
  • ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงอยู่ระดับเดิมที่ 3.2% ต่อปี บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ จึงมองว่า Fed สามารถลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ในการประชุมวันที่ 18 กันยายน 2024
  • การส่งออกจีนขยายตัวแข็งแกร่ง เป็นผลจากมาตรการรัฐที่ให้เงินอุดหนุนภาคการผลิตต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนลดลงและส่งออกได้มากขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ความเสี่ยงสงครามการค้ารุนแรงขึ้น
  • สำหรับตลาดหุ้น ต้องจับตาความแตกต่างด้านการดำเนินนโยบายของ BOJ ซึ่งอาจส่งผลต่อ Yen Carry Trade ที่อาจกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกได้ ท่ามกลางกระแสเงินในตลาด EM ที่ไม่ชัดเจน

สัปดาห์นี้หุ้นโลกปรับตัวขึ้นได้ดี โดยเฉพาะในฝั่งของ DM ได้รับแรงหนุนจากการลดดอกเบี้ยของ ECB และการประชุม FOMC กลางสัปดาห์นี้ที่คาดว่าจะลดในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้น ยังได้ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีที่อ่อนตัวลงมาแรงก่อนหน้า และตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวตามคาด แต่เงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงกว่าคาดทำให้ตลาดลดความคาดหวังการปรับลดโอกาสลดดอกเบี้ย 50 bps ในสัปดาห์นี้ลง

 

การโต้วาทีระหว่างสองผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตลาดมองว่าแฮร์ริสทำได้ดีกว่าทรัมป์เล็กน้อย กลุ่มเทคโนโลยีฟื้นตัวแรง 6.5% จากท่าทีของซีอีโอ NVIDIA ออกมายืนยันว่าชิป AI ยังมีความต้องการสูง และยอดขาย TSMC เพิ่มขึ้น 33%YoY กลุ่มที่อิงเศรษฐกิจอย่างพลังงานและธนาคาร รับแรงกดดันจากภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและผลประกอบการที่อาจต่ำกว่าคาด ในขณะที่กลุ่ม Utilities ได้รับแรงหนุนจาก Yield ที่ลดลง กลุ่มเชิงรับอย่าง Consumer Staples และ Healthcare ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2-0.5% จากภาพปัจจัยภายนอกที่ผันผวน

 

ด้านตลาด EM ปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย แม้จะมีแรงกดดันจากตลาดหุ้นจีนที่อ่อนตัวลง แต่ชดเชยจากตลาดหุ้นในอาเซียนและอินเดียที่ยังปรับตัวขึ้น

 

ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นได้ต่อ การแถลงนโยบายรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า จุดผลักดันหลักยังเป็นการแจกเงินเฟสแรกให้กลุ่มเปราะบางภายในเดือนนี้ที่จะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 4Q24

 

ตลาดน้ำมันสัปดาห์นี้อ่อนตัวเล็กน้อย แรงกดดันมาจากอุปสงค์อ่อนแอซึ่งทำให้ตลาดกังวลต่อภาวะอุปทานส่วนเกิน ก่อนจะฟื้นตัวได้ปลายสัปดาห์จากอุปทานสหรัฐฯ ที่ลดลงหลังเฮอริเคน Francine เข้าสู่แหล่งผลิตตามแนวอ่าวเม็กซิโก

 

เงินเฟ้อชะลอตัวแรง เปิดทาง Fed ทยอยลดดอกเบี้ย

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวแรงเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง ขณะที่เงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ ได้แก่ ค่าเช่าและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่มีนัยสำคัญต่อทิศทางเงินเฟ้อภาพรวมมากนัก โดยเงินเฟ้อจากอาหารและการเดินทางลดลงอย่างรุนแรง จาก 0.49% p.p. สู่ 0.18% p.p. สอดคล้องกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลงเหลือ 3.36 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 3.94 ดอลลาร์ที่ 17.3% ขณะที่องค์ประกอบเงินเฟ้อฝั่งค่าเช่าและค่าจ้างเพิ่มขึ้น 1 bp

 

ทั้งนี้ หากพิจารณาเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงอยู่ระดับเดิมที่ 3.2% ต่อปี ทำให้เรามองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สามารถลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ในการประชุมวันที่ 18 กันยายน

 

ในส่วนของการส่งออก จีนขยายตัวแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรัฐที่ให้เงินอุดหนุนภาคการผลิตต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนลดลงและส่งออกได้มากขึ้น โดยการส่งออกเหล็กสูงถึง 9.5 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 3 เดือน ขณะที่การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ราคาสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกจีนลดลง 2.7% ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ทำให้ความเสี่ยงสงครามการค้ารุนแรงขึ้น

 

ในส่วนของการโต้วาทีระหว่างทรัมป์และแฮร์ริส เรามองว่าแนวทางที่แฮร์ริสทำให้ทรัมป์ต้องปกป้องผลงานของตน ทำให้แฮร์ริสเป็นต่อในการโต้วาทีครั้งนี้ และทำให้โอกาสชนะการเลือกตั้งมีมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นใหญ่ที่แฮร์ริสต้องทำให้ได้คือ การชนะใจสุภาพบุรุษผิวขาวชนชั้นแรงงานในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเลือกทรัมป์ ขณะที่ทรัมป์ก็ต้องดึงคะแนนของสุภาพสตรีและชาวผิวดำ โดยเฉพาะในมลรัฐที่คะแนนก้ำกึ่ง เช่น วิสคอนซิน เพนซิลเวเนีย และมิชิแกน

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นเก็งกำไรซึ่งเทคนิคมีสัญญาณกลับตัว และ Valuation ยังไม่แพง โดยซื้อขายที่ PER และ PBV ต่ำกว่า -1SD แนะนำ AP, GPSC, MTC และ AMATA

2. หุ้นเก็งกำไรซึ่งคาดได้อานิสงส์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง แนะนำกลุ่มเช่าซื้อ (MTC), กลุ่มอสังหา (AP), กลุ่มค้าปลีก (CPALL, CPAXT), กลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF) และกลุ่ม REITs (LHHOTEL, DIF)

3. หุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง รอบใหม่ เลือก KTB, BBL, BCP, ADVANC และ HMPRO

 

ในช่วงสั้น SET ยังอยู่ในช่วงของการพักตัวและมี Upside จำกัด แต่อาจมีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ซึ่งจะช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ดี ต้องจับตาความแตกต่างด้านการดำเนินนโยบายของ BOJ ซึ่งอาจส่งผลต่อ Yen Carry Trade ที่อาจกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกได้ ท่ามกลางกระแสเงินในตลาด EM ที่ไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดหุ้นไทยมองจะมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าในกลุ่ม Defensive อย่างกลุ่มค้าปลีก กลุ่มการแพทย์ และกลุ่มโรงไฟฟ้า

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การประชุมนโยบายการเงินของ Fed (วันที่ 18 กันยายน ซึ่งเราคาดว่าจะลด 25 bps), BOE (วันที่ 19 กันยายน) และ BOJ (วันที่ 20 กันยายน ซึ่งเราคาดว่าจะคง)

2. เงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือนสิงหาคม (ตลาดคาด 3.0% จากเดือนกรกฎาคมที่ 2.8%)

3. ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม (ตลาดคาด +2.2% จากเดือนกรกฎาคมที่ +2.7%) และการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม (ตลาดคาด +0.3% ต่อปีจากเดือนกรกฎาคม +0.1% ต่อปี)

4. การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 กันยายน คาดว่าจะอนุมัติดิจิทัลวอลเล็ตเฟสแรก

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BBL และ Valuation ยังถูกสุดในกลุ่มธนาคาร

 

แนะนำ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในไทยเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์รวม อีกทั้งมีเครือข่ายในต่างประเทศมากที่สุด ทำให้มองอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะได้โอกาสขยายสินเชื่อจากการย้ายฐานธุรกิจมายังอาเซียน
  • 3Q24 คาดกำไรเพิ่มขึ้น YoY จาก Credit Cost ลดลง สินเชื่อเติบโตเพิ่มขึ้น และ NIM อยู่ในระดับทรงตัว ขณะที่ทั้งปี 2024 คาดกำไรเติบโต 5%YoY และเติบโตต่อ 6%YoY ในปี 2025 แรงหนุนจาก Credit Cost ลดลง, NIM และสินเชื่อขยายตัวดี รวมทั้งมีอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลง
  • มองเป็นหุ้นใน SETESG Index ที่น่าสนใจ ซึ่งได้ Rating ‘AA’ ขณะที่ Valuation ยังถูกสุดในกลุ่มธนาคาร โดยซื้อขายด้วย PBV ปี 2024F ที่ 0.53x เทียบกับ ROE ที่ 8.0% อีกทั้งยังมีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำสุดในกลุ่มธนาคาร
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 180 บาท (อิง PBV 0.58 เท่า หรือ PER 7.5 เท่า) และคาดว่าจะมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 ที่หุ้นละ 8.00 บาท คิดเป็น Dividend Yield ปีละ 5.8%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ทรัมป์และแฮร์ริส โต้วาทีในหลายประเด็น ซึ่งภาพรวมดูเหมือนแฮร์ริสทำได้ดีกว่าทรัมป์ในเชิงการมีจุดยืนที่ชัดเจนเรื่องนโยบายและการตอบโต้ ซึ่งหลังจากการโต้วาที โพลเฉลี่ยตลาดให้น้ำหนักไปทางแฮร์ริสชนะเพิ่มขึ้น ซึ่งระยะถัดไปหากแฮร์ริสชนะการเลือกตั้งจริง เรามองว่าจะส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานสะอาด และ Housing จะได้รับอานิสงส์บวก อย่าง LOW, HD, TSLA, ENPH และ SEDG

 

  • การโต้วาทีระหว่างทรัมป์และแฮร์ริสเกี่ยวข้องในเรื่องเศรษฐกิจและภาษี, การตรวจคนเข้าเมือง, นโยบายต่างประเทศ, การทำแท้ง, การเข้าเมือง, พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
  • ในภาพรวมมองประเด็นสำคัญได้แก่ 1. ส่วนเศรษฐกิจและภาษี: แฮร์ริสเผยว่าจะลดภาษีสำหรับครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก ส่วนทรัมป์ปฏิเสธว่าไม่มีแผนเก็บภาษีขาย แต่จะใช้ภาษีศุลกากรกับสินค้าต่างประเทศ 2. แฮร์ริสจุดยืนชัด: สนับสนุนลงทุนในพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานสะอาด
  • ภาพรวมดูเหมือนแฮร์ริสทำได้ดีกว่าทรัมป์ในเชิงการมีจุดยืนที่ชัดเจนเรื่องนโยบายและการตอบโต้ ซึ่งทำให้ตอนนี้โพลเฉลี่ยตลาดที่ออกมาให้น้ำหนักว่าแฮร์ริสจะชนะราว 57%
  • หากแฮร์ริสชนะจริง เรามองว่ากลุ่มตลาดอาจมีแรงกดดันจากการจัดเก็บภาษีในกลุ่มบริษัทใหญ่ อย่างไรก็ดี สิ่งที่แน่ชัดคือหุ้นกลุ่มพลังงานสะอาดและ Housing จะได้รับอานิสงส์บวกจากนโยบายแฮร์ริสที่สนับสนุนภาคส่วนเหล่านี้ โดยมองหุ้นในกลุ่ม อย่าง LOW, HD, TSLA, ENPH และ SEDG จะฟื้นตัวดีขึ้นได้
  • หากทรัมป์ชนะ เรามองว่าภาพรวมตลาดจะปรับตัวขึ้นดีจากบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ที่จะได้ประโยชน์โดยรวมจากนโยบายกีดกันการค้าต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ความผันผวนในตลาดจะมีอยู่มากจากความเสี่ยง Geopolitical Risk ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเทคและเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น หลังมีการกีดกันการค้าและท่าทีที่รุนแรงกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสัดส่วนสินค้าที่ส่งออกไปจีน

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้ สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ข้อพิพาทการค้าระหว่างจีน-คู่ค้าต่างๆ, ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง, ความไม่แน่นอนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยล่าสุดปูตินเผยว่า รัสเซียควรพิจารณาจำกัดการส่งออกยูเรเนียม ไทเทเนียม และนิกเกิล เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก


ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

10Y UST Yield แตะระดับต่ำสุดใหม่ที่ 3.65% ปรับตัวลง 25 bps นับตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม จากสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวน้อยลงและความคาดหวังของตลาดที่ให้ความน่าจะเป็นที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps เพิ่มสูงขึ้น

 

ตราสารหนี้ยังมีความน่าสนใจในการถือเพื่อรับ Income และคุ้มที่จะถือเพื่อ Hedge กรณีที่เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด

 

เราคาดว่าความผันผวนของ Bond จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้ช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ โดย Bond ตัวยาว (> 7 ปีขึ้นไป) มีความเสี่ยงจากนโยบายการคลังหลังเลือกตั้ง ขณะที่ Bond ช่วงอายุ 2-4 ปี มีความเสี่ยง Duration ที่น้อยกว่า และ Coupon ยังเพียงพอที่จะลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

US Treasury & IG

 

Yield Curve ในปัจจุบันปรับตัวจาก ‘Inverted’ สู่ภาพของ ‘Normal Curve’ แล้ว YTW ของ IG ปรับตัวลงตาม UST แต่ Spread ค่อนข้างทรงตัว ตลอดเดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับ 10Y TGB Yield ที่ยังคงทรงตัว แนะนำลงทุนทั้ง US Treasury และ IG Bond โดยยังแนะนำให้ลงทุนใน Duration ประมาณ 2-4 ปี เพื่อ Lock Rate ในช่วงของ Curve Steepening โดยผลตอบแทนเฉลี่ยยังอยู่ใกล้ 3.5-4.8% ซึ่งสูงกว่าที่ Fed ประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติ ‘ระยะยาว’ ที่ 2.8%

 

High Yield Bond

 

ภาพรวมของตลาด HY ปรับตัวดีขึ้น จาก 1. Default Rates ปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 2. สัดส่วนของการ Upgrade จาก HY ขึ้นสู่ IG สูงกว่าการ Downgrade IG ลงมา HY โดย BB Rating มีการปรับมุมมองดีขึ้น 3. ประเด็นเรื่อง Maturity Wall ที่เรากังวลว่าจะเห็นการเร่งตัวในปี 2025 ถูกปรับโครงสร้าง จนการเร่งตัวอาจเลื่อนออกไปเป็นปี 2026

 

สินทรัพย์ผสม / กึ่งหนี้กึ่งทุน / REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ

 

สินทรัพย์ผสมช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก

  1. Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลง จากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเราคาดว่าจะปรับลด 3 ครั้ง ครั้งละ 25 bps รวม 75 bps ในปีนี้
  2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93.6% ในช่วง 2Q24
  3. กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง
  4. งบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต
  5. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพง

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนระยะยาวจาก

  1. เศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H67 จากนโยบาย Digital Wallet การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐฯ และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว
  2. Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง โดย SET Index ซื้อขายอยู่บนระดับ Valuation ที่น่าสนใจ โดย 12M Forward P/E อยู่ที่ 14.4x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ประมาณ -1.0 s.d.
  3. ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
  4. ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ของสหรัฐฯ ที่มากกว่าของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

เรากำลังเข้าสู่ช่วง

  1. เดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนที่มีผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกสินทรัพย์ตามสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
  2. เดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนที่มีความผันผวนสูงที่สุดตามสถิติในอดีต โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีการเก็บสถิตินับตั้งแต่ปี 1984
  3. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากเงินเยนที่ยังน่าจะแข็งค่าขึ้นต่อเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ และ JGB Yield ที่มีแนวโน้มจะเป็นขาขึ้น ตามที่ BOJ มีแนวโน้มทยอยใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินเพิ่มเติมสวนทางกับ Fed

 

ทั้งนี้ เรายังคงมีมุมมองว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสในการสะสม โดยยังเน้นการลงทุนหุ้นในกลุ่ม Quality Growth และกลุ่ม Defensive ที่จะยังให้ผลตอบแทนที่ดีในสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็น Soft Landing

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

หุ้นในกลุ่ม Defensive (Utilities, Health Care และ Consumer Staple) ที่ได้รับแรงหนุนจากการปรับลดดอกเบี้ย และกำไรจากกิจการมีเสถียรภาพมากกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ยังคง Outperform ต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นสุดวันที่ 13 กันยายน แสดงถึงแรงส่งของ Sector Rotation ที่ยังมีโมเมนตัมสนับสนุน ขณะที่กลุ่ม Technology ฟื้นตัวได้บ้าง และกลุ่มพลังงานยังเป็นตัวฉุดตลาด เรายังเน้นกลยุทธ์ลงทุนแบบ Barbell Strategy ซึ่งมีสัดส่วนของหุ้นกลุ้ม Quality Growth ผสมผสานกับหุ้นกลุ่ม Defensive

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของ ECB และ BOE โดยเราคาดว่า ECB และ BOE จะลดดอกเบี้ยครั้งถัดไปในเดือนธันวาคมและเดือนพฤศจิกายนนี้ตามลำดับ โดยเราเน้นหุ้นกลุ่ม Quality Growth ยุโรปที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงและมีงบดุลแข็งแกร่ง แม้ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปและความเสี่ยงข้อพิพาทการค้ากับจีน (ประเทศใน EU จะต้องตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเดือนตุลาคม เกี่ยวกับการเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้ารถ EV จากจีน) ซึ่งอาจสร้างความผันผวนและกดดัน Sentiment ดัชนีฯ อยู่ก็ตาม

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

การบรรลุเป้าหมายการเติบโต GDP ที่ 5% ในปี 2024 ของจีนดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยวงจรการส่งออกและการค้าโลกเริ่มอ่อนกำลังลงในปีหน้า ตลาดอสังหาและอุปสงค์ภายในประเทศของจีนยังคงอ่อนแอ ตลาดฯ ยังคงคาดหวังการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีนัยจากทางการจีน

กำไรบริษัทจดทะเบียนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดีย เริ่มส่งสัญญาณเติบโตชะลอตัวลงจากฐานที่สูง การปล่อยสินเชื่อที่เติบโตช้า รวมถึงการรัดเข็มขัดทางการคลังที่จะเริ่มส่งผลในช่วง 2H67

 

กำไรบริษัทจดทะเบียนในอินโดนีเซียมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วง 2H67 และแรงกดดันจากเงินที่อ่อนค่าเริ่มผ่อนคลายลง

 

หุ้นอินเดีย

 

ประมาณการ EPS ในปี 2024 ของ MSCI India ถูกปรับลดลงหลังการประกาศงบ 2Q24 ถึงแม้กำไรจะดีกว่าคาดก็ตาม แต่ก็บ่งชี้ถึงความกังวลบน Forward Guidance

 

การบริโภคในเขตเมืองเริ่มเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัวจากฐานที่สูง ขณะที่การบริโภคในต่างจังหวัดเริ่มเห็นภาพของการฟื้นตัวจากปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว เราคาดว่าจะเห็นแนวโน้มนี้ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2024

 

มาตรการควบคุมสินเชื่อของภาคครัวเรือนและมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง เป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถึงแม้จะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ตาม

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

เรามีมุมมองระมัดระวังต่อตลาดหุ้นอินเดียในระยะสั้นจากการขยายตัวของ GDP ที่มีทิศทางชะลอตัวลง โดย GDP ใน CY2Q24 ขยายตัว +6.7%YoY ชะลอตัวลงจาก +7.8%YoY ใน CY1Q24 ขณะที่กำไรของ บจ. ถูกปรับประมาณการลง โดยได้รับแรงกดดันจากกำไรที่ตกต่ำในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์

 

นอกจากนี้ 12M FWD P/E ของดัชนี MSCI India ยังคงอยู่ที่ 24.5 เท่า (+2.4 S.D.) สูงที่สุดในรอบ 10 ปี และสูงกว่าตลาด MSCI ASIA ex Japan ราว 92% (เทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 54%)

 

นอกจากนี้ 7 ใน 17 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมี Valuation ที่สูงกว่า +2.0 S.D. อย่างไรก็ดี โครงสร้างการเติบโตในระยะยาวแข็งแกร่ง เหมาะแก่การทยอยสะสมเมื่อดัชนีฯ มีการอ่อนตัว

 

หุ้นจีน

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS Growth ที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว และจากความคาดหวังการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มจากทางการในช่วงที่เหลือของปี หลัง GDP ในปีนี้เสี่ยงขยายต่ำกว่าเป้าที่ราว 5% มีมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานนี้ PBOC เผยว่า จีนยังคงมองเห็นโอกาสที่จะปรับลด RRR ลง

 

นอกจากนี้ เราคาดว่าบริษัทจดทะเบียนจีนใน A-Share มีแนวโน้มเพิ่มผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ผ่านการซื้อหุ้นคืนและจ่ายปันผลมากขึ้น รวมทั้งทางการจีนยังมีแนวโน้มเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงขาลงและช่วยรักษาเสถียรภาพตลาดฯ

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานของทองคำยังคงสนับสนุนการถือครองไว้ในพอร์ตระยะยาว เนื่องจาก

1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้

2. เริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์

3. ประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยง ลดการถือเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ และมีความต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลาง-ยาว

4. เงิน Fund Flow ของ ETF ทองคำ เริ่มกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ หลังจากเทขายมาตั้งแต่ต้นปี 2024 จนถึงกลางเดือนกรกฎาคม

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 16 ก.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories