THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เศรษฐกิจโลกเสี่ยงชะลอตัวรอบใหม่ โอกาสเกิด Stagflation เริ่มสูงขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

... • 14 มี.ค. 2022

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • โอกาสเกิด Stagflation กับเศรษฐกิจโลกในช่วง 6 เดือนข้างหน้าเริ่มมีมากขึ้น
  • IMF เตรียมปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลง ขณะที่ ECB ปรับ GDP ปีนี้ลงเหลือ 3.7% จากเดิม 4.2% แต่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มเป็น 5.1% จากเดิม 3.2%
  • ตลาดหุ้นไทยแนวโน้มยังผันผวนตาม Sentiment หุ้นโลก ต้องติดตามราคาน้ำมันดิบอย่างใกล้ชิด ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,600-1,670 จุด โดยมี BBL เป็นหุ้นเด่นประจำสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาสินทรัพย์เสี่ยงยังคงปรับตัวลดลง แต่ปลายสัปดาห์เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากมีความเป็นไปได้ในการเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงเงินเฟ้อ

 

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) ประเมินว่า เริ่มกลับมามีความเสี่ยงชะลอตัวรอบใหม่ โดยโอกาสเกิด Stagflation หรือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอเงินเฟ้อสูงในช่วง 6 เดือนข้างหน้าเริ่มมีมากขึ้น

 

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาเตือนว่าจะมีการปรับลด GDP ปี 2022 ลง ในขณะที่ล่าสุดธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2022 ลงเหลือ 3.7% (เดิม 4.2%) แต่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อขึ้นเป็น 5.1% (เดิม 3.2%)

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่มี 4 ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ

 

  1. การคาดการณ์ดอกเบี้ยของ FOMC (หรือ Dot Plot) ว่าจะมีโอกาสปรับขึ้นมากกว่า 3 ครั้งหรือไม่

 

  1. การคาดการณ์เงินเฟ้อและ GDP ว่าจะมีการปรับขึ้นมากน้อยเพียงใด

 

  1. ประเด็นด้านการทำ QT ว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นหรือไม่ และ

 

  1. มีมุมมองต่อความเสี่ยงเงินเฟ้อจากสถานการณ์ยูเครนอย่างไร

 

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นโลกคาดว่าจะอยู่ในลักษณะผันผวนสลับกับการฟื้นตัวตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มมีความพยายามในการเจรจามากขึ้น ในขณะที่ปัจจัยชี้นำสำคัญคือ ทิศทางราคาน้ำมันดิบหลังจากชาติตะวันตก Sanction รัสเซีย ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางพลังงาน, ความเสี่ยงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และผลการประชุม FOMC เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยคาดว่ายังคงผันผวนตาม Sentiment หุ้นโลก ทั้งนี้ ต้องติดตามราคาน้ำมันดิบอย่างใกล้ชิด รวมถึงสถานการณ์ของโควิดที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประเมินกรอบ SET Index ที่ 1,600-1,670 จุด โดยหากผ่านกรอบบนได้จะเป็นสัญญาณการฟื้นตัว

 

กลยุทธ์การลงทุนในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า คาดว่าเงินเฟ้อยังคงสูง แนะนำหุ้นที่มีลักษณะเชิงรับ ได้ประโยชน์จากกระแสเงินไหลเข้าและมีอำนาจการกำหนดราคาสูงอย่าง BDMS, BJC, ADVANC, CPALL

 

ส่วนตลาดหุ้นโลกแนะนำธีมการลงทุน Cyber Security สำหรับระยะสั้น-กลาง ส่วนระยะกลาง-ยาว แนะนำธีมพลังงานสะอาด และ EV Car ต่อไป

 

ชู BBL หุ้นแนะนำประจำสัปดาห์นี้

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เนื่องจาก 3 เหตุผลหลัก ดังนี้

  1. BBL อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะได้โอกาสในการขยายสินเชื่อจากการย้ายฐานธุรกิจมายังอาเซียน และการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธนาคารที่ใหญ่สุดในไทยและมีเครือข่ายในต่างประเทศมากที่สุด
  2. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำสุดในกลุ่ม เนื่องจากมีสัดส่วนของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่สูงที่สุดในกลุ่ม โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่ำที่สุดคือ 11% และมี LLR Coverage สูงถึง 217%
  3. ปี 2022 คาดกำไรเติบโต 24%YoY สูงสุดในกลุ่ม โดยมีแรงหนุนจาก Credit Cost ที่จะลดลง 38bps หลังเร่งตั้งสำรองล่วงหน้าในปี 2019-2021 แล้ว และคาดสินเชื่อเติบโต 6% ขณะที่ NIM ทรงตัว และ Non-NII คาดลดลง 12% เพราะการลดลงของกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) ยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งกดดันต่อ Sentiment ตลาดฯ และทำให้ต้นทุนด้านพลังงานปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วยังคงเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มการทยอยลดการผ่อนคลายทางการเงินของ Fed และ BOE

 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยเรื่องผลกระทบของโอมิครอนไม่ได้รุนแรงเท่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของกลุ่ม DM โดยรวมที่ยังขยายตัวได้ดี จะยังสามารถช่วยประคองตลาดหุ้น DM ได้

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และจากการที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 15-16 มีนาคม รวมทั้งอาจมีการปรับประมาณการ GDP ในปีนี้ลง แต่ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ขึ้น 

 

อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโควิดที่ลดลงไปค่อนข้างมาก และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) สหรัฐฯ ที่ยังขยายตัวดี จะยังสามารถช่วยประคองตลาดฯ ทั้งนี้ เราคงคำแนะนำสัดส่วนการลงทุนหุ้นกลุ่ม Growth ต่อกลุ่ม Value อยู่ที่ 50:50

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของยุโรป โดยยุโรปพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นระดับราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกดดันอำนาจซื้อของประชาชนและต้นทุนการผลิต ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มการใช้จ่ายลงทุนของบริษัทต่อไป 

 

อย่างไรก็ดี Valuation หุ้นยุโรปที่ลดลงมามาก และผลกระทบทางตรงของรายได้ บจ. ยุโรป ในดัชนี Eurostoxx 600 ที่มาจากรัสเซียอยู่ต่ำ จะช่วยจำกัด Downside ตลาดยุโรป

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับ Sentiment เชิงลบจากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ และดัชนี TOPIX และ Nikkei 225 มีแนวโน้มผันผวน ในช่วงที่ตลาดการเงินยังเผชิญความไม่แน่นอน 

 

อย่างไรก็ดี Valuation ของหุ้นญี่ปุ่นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่น ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ขณะที่ BOJ ยังมีท่าที Dovish แต่เริ่มชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ในส่วนของ Commercial Paper และ Corporate

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share ยังมี Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก นอกจากนี้ทางการจีนยังมีแนวโน้มออกมาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบที่รุนแรงลดลงจากในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับท่าทีของจีนบนวิกฤตยูเครน ประกอบกับผลประกอบการ บจ. จีน ใน 4Q2021 และ 1Q2022 ที่มีแนวโน้มขยายตัวปานกลาง จะยังกดดันการฟื้นตัวของดัชนีฯ โดยรวม

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share โดยดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อหนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และบรรลุเป้าหมายการเติบโต GDP ในปีนี้ที่ราว 5.5% เช่น เพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับลดภาษีและค่าธรรมเนียมให้กับ SMEs และกลุ่มเป้าหมาย 

 

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดในฮ่องกงที่น่ากังวลมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทางการจีนอาจคงมาตรการ Zero-Covid Policy ไว้นานขึ้น ซึ่งจะส่งผลกดดันการฟื้นตัวของภาคการบริโภคและภาคบริการ นอกจากนี้ข้อพิพาทสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงมีอยู่อาจกดดัน Sentiment การลงทุนในช่วงสั้น

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ได้อานิสงส์จากการเปิดเศรษฐกิจ ขณะที่ผลกระทบทางตรงจากวิกฤตยูเครนต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยมีจำกัด 

 

อย่างไรก็ตาม หากวิกฤตยูเครนยืดเยื้ออาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อระดับราคาพลังงานให้ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกำไรตลาดหุ้นไทย ทั้งนี้ เราแนะนำการลงทุนในหุ้น Domestic Play เป็นหลัก

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  •  SCB Selected Equity Fund

กองทุน SCBSEA เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 หลักทรัพย์ ซึ่งมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการลงทุนโดยผู้จัดการในแต่ละสภาวะตลาด 

 

 

  • TISCO Strategic Fund

กองทุน TSF-A ลงทุนในหุ้นไทยที่เน้นการคัดเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี โดยลงทุนในหุ้นประมาณ 10-15 บริษัท รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นเวียดนามได้รับแรงหนุนจากการที่เวียดนามมีแนวโน้มเปิดเศรษฐกิจมากขึ้น และจากแนวโน้มการทยอยเบิกจ่ายมาตรการแพ็กเกจกระตุ้นวงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ประกอบกับ Consensus มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มประมาณการ EPS ของ VN-Index ในปี 2022 และปี 2023 ขณะที่ผลกระทบทางตรงจากวิกฤตยูเครนต่อเวียดนาม ทั้งในแง่ทางการค้าและการเงินมีค่อนข้างจำกัด

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ทองคำได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการถือครองในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนรุนแรงมากขึ้น และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากการที่ Fed ยังคงส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้

 

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และอุปทานน้ำมันยังคงตึงตัว อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ออกมาสนับสนุนให้สมาชิก OPEC พิจารณาปรับเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาอุปทานน้ำมันขาดแคลน หลังประเทศต่างๆ ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย นอกจากนี้หากการเจรจาทางการทูตระหว่างรัสเซียและยูเครนมีแนวโน้มไปทางที่ดีขึ้นก็จะเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน

 

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed และการระบาดในบางประเทศที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงถูกกดดัน และ Upside ของตลาดยังถูกจำกัด

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

แม้ REITs ไทย ยังคง Laggard และได้รับประโยชน์จากการกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงยังคงเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของ REITs ไทยอยู่ ขณะที่สิงคโปร์มีแนวโน้มผ่อนคลายมาตรการลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มทยอยกลับมาใช้โครงการ Vaccinated Travel Lane อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อในสิงคโปร์ที่ยังคงสูงอยู่อาจเป็นปัจจัยกดดันต่อ REITs สิงคโปร์ในระยะข้างหน้า

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 14 มี.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories