THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
china economic
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

จีนเริ่มลดระดับความเข้มงวดเชิงนโยบาย คลายกังวลโอกาสเกิด Hard Landing ทางเศรษฐกิจ

... • 18 ต.ค. 2021

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • ตลาดเงินโลกเริ่มทรงตัว แม้ความเสี่ยงจากภาวะ Stagflation และการลดขนาดมาตรการ QE มีสูงขึ้น 
  • IMF เตือนความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจลง แต่เพิ่มคาดการณ์ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อสูงขึ้น
  • เริ่มเห็นสัญญาณผ่อนคลายทางด้านนโยบายกำกับดูแลในด้านต่างๆ ของรัฐบาลจีนที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิด Hard Landing ของเศรษฐกิจจีนลงได้
  • ปรับเพิ่มความน่าสนใจลงทุนใน REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ขึ้นหนึ่งระดับ หลัง REITs ไทยได้รับ Sentiment เชิงบวกจากการเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้

ตลาดการเงินโลกทรงตัวขึ้น แม้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอเงินเฟ้อพุ่งสูง (Stagflation) และการลดขนาดของมาตรการ QE (QE Tapering) ยังคงสูง โดยตลาดการเงินโลกลดความผันผวนลงจากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดย Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปีเริ่มทรงตัวได้ โดยเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1.60% 

 

ด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ตลาดหุ้นและน้ำมันดิบปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าความเสี่ยงด้านเงินยังคงสูงและอาจทรงตัวนานเกินคาด รวมถึงการที่ Fed มีโอกาสลดทอน QE ในปี 2021 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่ตลาดคาด 

 

นอกจากนี้ ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังได้ออกมาตอกย้ำภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและปรับเพิ่ม

มุมมองความเสี่ยงเงินเฟ้อ 

 

ส่วนประเด็นที่ต้องจับตาการในระยะข้างหน้า คือการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจและท่าทีในการผ่อนคลายนโยบายเข้มงวดของจีน หลังจากที่เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับปัจจัยลบหลายประการ ทั้งวิกฤตอสังหาฯ วิกฤตพลังงาน และผลกระทบจากกฎระเบียบที่เข้มขึ้น 

 

จีนเริ่มลดระดับความเข้มงวดทางนโยบาย

 

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) เริ่มเห็นสัญญาณว่าทางการ

จีนเริ่มลดระดับความเข้มงวดของหลายๆ นโยบายลง เช่น ด้านพลังงานสะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจีนจะเกิด Hard Landing (ชะลอตัวรุนแรง) อย่างที่เรากังวลลดลง 

 

SCBS ประเมินว่า ตลาดการเงินในช่วงที่เหลือของปี 2021 ยังคงจะถูกกดดันจากประเด็นเงินเฟ้อ และความเสี่ยง Stagflation รวมถึงการเริ่มลดวงเงิน QE ของ Fed ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยกดดันหลัก ส่วนความเสี่ยงจากจีน เริ่มต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ทางการจีนจะปรับนโยบายเพื่อหันมาดูแลการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3% แบ่งเป็น ตลาดเกิดใหม่(EM) เพิ่มขึ้น 0.8% และตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 1.3% โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ออกมาดีกว่าที่คาด 

 

ทั้งนี้ การเปลี่ยนกลุ่มเล่นทำให้ภาพตลาดไม่ตอบสนองต่อข่าวลบด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรจะเป็น หุ้นกลุ่ม Growth (+1.7%), หุ้นกลุ่ม Value (+0.8%), หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและอลังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3% และ 2.9% หลังจาก Bond Yield ทรงตัว 

 

ส่วนกลุ่ม Materials และเหมืองแร่นั้นปรับตัวขึ้นโดดเด่น 3-6% จากภาพที่ไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน แนวโน้มตลาดหุ้นโลกในระยะสั้นเข้าสู่ช่วงการแกว่งตัวตามการรายงานผลการดำเนินงาน 3Q21 ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจซึ่งตลาดรับรู้ไปบ้างแล้ว เช่น เงินเฟ้อ, การลด QE ของ Fed จะมีอิทธิพลลงในระยะสั้น แต่จะกลับมาใหม่ในระยะถัดไป

 

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย คาดเริ่มมี Upside จำกัด โดยตลาดรับรู้ประเด็นการเปิดประเทศ และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ไปพอสมควรแล้ว ธีมการลงทุนในระยะถัดไปคือ เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จากคลัง การประกาศผลการดำเนินงาน 3/21 รวมถึงการเก็งกำไรในหุ้นพลังงาน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ SET Index แกว่งตัวแรงขึ้น

 

กลยุทธ์หลักคือ ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว เน้นหุ้นที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานแข็งแกร่งในสภาวะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น และได้รับประโยชน์จากการเปิดเมือง เช่น กลุ่มการแพทย์ (BDMS) ขนส่งในประแทศ (BEM) ค้าปลีก (CRC) อาหารและเครื่องดื่ม(ZEN, OSP) เป็นต้น สำหรับการเก็งกำไรระยะสั้น แนะนำหุ้นโรงกลั่น (BCP) และหุ้นปิโตรเคมี (IVL)

 

ประเด็นที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้

 

  • ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่สำคัญในเดือนกันยายน และ GDP ของจีนใน 3Q21
  • การประชุมคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ในวันที่ 21 ตุลาคม 2021
  • การประชุมผลประกอบการ 3Q21 ของหุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ ได้แก่ J&J, Procter&Gamble, Netflix, Tesla, IBM, PayPal, Intel และ American Express

 

IVL หุ้นเด่นประจำสัปดาห์

 

สัปดาห์นี้ SCBS แนะนำหุ้น บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) เป็นหุ้นเด่นประจำสัปดาห์ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตชั้นนำในธุรกิจห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ของโลก ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันจากการมีระบบการผลิตที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่ธุรกิจผลิตวัตถุดิบ (PTA, MEG) จนถึงธุรกิจผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ (PET เส้นใยและเส้นด้าย)

 

ระยะสั้นคาดได้ประโยชน์จากอุปทานวัตถุดิบขั้นกลางอย่าง PTA ที่ตึงตัวขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้ราคา PET ปรับตัวขึ้น อีกทั้งจะได้อานิสงส์จาก PX ที่ลดลงด้วย ส่วนราคาฝ้ายที่สูงขึ้นทำนิวไฮรอบ 10 ปี คาดทำให้เกิดอุปสงค์ PTA เพื่อใช้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนฝ้าย

 

SCBS ประเมินผลการดำเนินงานของ IVL ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีก่อน ขณะที่ปี 2021 กำไรมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งเราประเมินราคาเป้าหมายหุ้นละ 48 บาท (อิง PBV 1.7 เท่า) และคาดให้ Dividend Yield ปีนี้ 3.0%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และการทยอยเปิดเมือง ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 3Q2021 มีแนวโน้มออกมาดี 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบการระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาอุปทานขาดแคลน และแนวโน้มการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed 

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Global Experts Fund

 

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มที่หุ้นกลุ่ม Value/Cyclical จะปรับเพิ่มขึ้นได้ดีในระยะสั้น ตาม Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น หลังการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราวของสหรัฐฯ มีความคืบหน้ามากขึ้น และรายงานการประชุม Fed ล่าสุดชี้ว่า ที่ประชุมจะเริ่มกระบวนการ Tapering กลางเดือนหน้าเป็นอย่างเร็ว 

 

ขณะที่หุ้นกลุ่ม Growth ยังสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ต่อตาม Earnings ของกลุ่มฯ ใน 3Q2021 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทั้งนี้ ยังคงคำแนะนำสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และหุ้นสไตล์ Value/Defensive อยู่ที่ 60:40

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ผลประกอบการ บจ.ของตลาดหุ้นยุโรป ในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มออกมาดี การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่และแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาดได้ต่อ ขณะที่ ECB มีแนวโน้มยังไม่ส่งสัญญาณ QE Taper ชัดเท่า Fed และ EU Bond Yield ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยบวก เราประเมินผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติและเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น มีทั้งผลกระทบเชิงลบ (ต้นทุนสูงขึ้น) และเชิงบวก (ผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้) แต่ภาพรวมหุ้นกลุ่ม Value/Cyclicals ยังมีแนวโน้มได้รับผลบวกมากกว่าผลลบ

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมี Valuation ที่ถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดดเด่นมากกว่าหรือเท่ากับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในระยะต่อไป เรามองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเดือนตุลาคม จะสนับสนุน Fund Flow นักลงทุนต่างชาติจากธีม Election Rally และผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้น คาดพรรค LDP (นำโดยนายกฯ ท่านใหม่ ฟูมิโอะ คิชิดะ) ยังครองเสียงข้างมาก และสานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Krungsri Japan Hedged Dividend Fund

 

กองทุน KF-HJAPAND ลงทุนในกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น คัดเลือกธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และเฟ้นหาหลักทรัพย์รายตัวที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ: 2

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share ยังมีความไม่แน่นอนในการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น ของทางการจีน โดยเฉพาะด้าน Data Security Financial Markets และ Society จะยังคงกดดันราคาหุ้นในกลุ่ม Platform รายใหญ่ แม้ว่าความเสี่ยงของกฎระเบียบด้าน Antitrust เริ่มบรรเทาลงก็ตาม 

 

นอกจากนี้ วิกฤตสภาพคล่องของ Evergrande Group ยังไม่คลี่คลาย และปัญหาเริ่มลุกลามไปยังบริษัทในกลุ่มอสังหาฯ โดยล่าสุดบริษัท Sinic ระบุว่า อาจไม่สามารถชำระหุ้นกู้มูลค่า USD 250 ล้าน ที่จะครบกำหนดวันที่ 18 ตุลาคมนี้ รวมทั้งข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ยังมีอยู่ และประเด็น ADRs Delisting จะเป็นปัจจัยกดดันดัชนีหุ้นจีน Offshore

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้รับแรงหนุน จากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินและการคลังมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ และจากการที่ทางการจีนได้ทยอยออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงานขาดแคลนในจีน 

 

นอกจากนี้ กลุ่มที่สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีน เช่น ธีม New Infrastructure และธีม Green Transition ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นนำตลาดต่อ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนใน 2H2021 ที่เผชิญความเสี่ยงขาลงมากกว่าในช่วง 1H2021 อาจส่งผลให้ผลประกอบการของ บจ. ใน 3Q2021 ไม่ได้ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด มากเท่ากับในช่วง 2Q2021

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ: 2

 

ตลาดหุ้นไทย ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ที่ยังกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าแต่ยังคงห่างไกลจากการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ แม้เริ่มมีแผนการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน แต่เรามองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้ายังมีความเสี่ยงด้านต่ำอยู่มาก เห็นได้จากการปรับคาดการณ์ GDP ของไทยปีนี้ลดลงต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสสูงที่ผลประกอบการของ บจ. ในช่วง 2H2021 อาจถูกปรับประมาณการลง และมีแนวโน้มออกมาแย่กว่าที่คาดไว้เดิม

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ: 4

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม แม้ตลาดอาจยังผันผวนสูงจากความกังวลการแพร่ระบาดและการล็อกดาวน์รอบล่าสุด รวมทั้งคาดการณ์ GDP จะได้รับผลกระทบมากในปีนี้ โดยการเติบโตมีแนวโน้มลดลงเหลือราว 4% แต่เราคาดว่า GDP จะเริ่มฟื้นตัวได้ใน 4Q2021 และเติบโตได้ราว 6% ในปี 2022 ด้านผลประกอบการ บจ. แม้จะเริ่มเห็นการชะลอลงใน 3Q2021 แต่สถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง และ Valuation ยังไม่แพงเท่าตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

 

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ: 2 

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และ Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น หลังกรรมการ Fed ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรจะเริ่มปรับลดวงเงินตามมาตรการ QE ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนปีนี้ แม้ระยะสั้นตลาดจะยังคงกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงในเดือนกันยายนก็ตาม

 

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ: 3

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากวิกฤตด้านพลังงาน หลังราคาก๊าซธรรมชาติทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติบางส่วน ประกอบกับการที่ OPEC+ มีมติคงแผนการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน 400,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือนพฤศจิกายนตามแผนเดิม ส่งผลให้เกิด Sentiment เชิงบวกต่อราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากการที่หลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง

 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการทยอยเปิดเมือง ตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีน รวมถึงผลประกอบการส่วนใหญ่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาด และดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต่ำจะเป็นแรงหนุนในการลงทุน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในบางประเทศ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมทั้งการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ในระยะข้างหน้า ทำให้เรามองว่า Upside ค่อนข้างจำกัดในช่วงสั้น

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ: 3

 

SCB CIO ได้เพิ่มความน่าสนใจที่มีต่อ REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) เพิ่มเป็นระดับ 3 เนื่องจาก REITs ไทยได้รับ Sentiment เชิงบวก หลังการประกาศเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้ Downside ค่อนข้างจำกัด แม้ผลประกอบการ REITs ของไทยใน 3Q2021 จะมีแนวโน้มออกมาแย่กว่าคาด จากผลกระทบของการล็อกดาวน์ในช่วงก่อนหน้า ด้าน REITs สิงคโปร์ แม้จะเดินหน้าโครงการ Vaccinated Travel Lanes แต่มีแนวโน้มถูกกดดันจากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเรามองว่ามี Upside จำกัด 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 18 ต.ค. 2021

READ MORE




Latest Stories