THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
FED
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เงามืดปกคลุมตลาดเงิน หลัง ‘Fed’ ส่งสัญญาณชัด ทำ QT เดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์

... • 11 เม.ย. 2022

HIGHLIGHTS

  • ตลาดเงินยังคงถูกกดดันจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรง และการทำ QT ในวงเงิน 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน คาดเริ่มเดือนพฤษภาคมนี้ 
  • ตลาดหุ้นโลกเดือนเมษายนยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ขณะที่ฤดูประกาศผลดำเนินงานเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดอาจผันผวนมากขึ้น 
  • แนวโน้มหุ้นไทยช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้ายังไม่สดใส หลังดัชนีไม่สามารถผ่านแนวต้านระดับ 1,700 จุดได้ แนะนำรอยซื้อที่บริเวณ 1,650-1,600 จุด
  • จับตากลุ่มเดินเรือ เหมืองถ่านหิน หากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังคงยืดเยื้อ อาจส่งผลดีต่อหุ้นทั้ง 2 กลุ่มนี้

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) ประเมินว่า ตลาดการเงินในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้าจะยังคงถูกกดดันจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรง และการทำ QT ในวงเงิน 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (คาดว่าจะเริ่มเดือนพฤษภาคมนี้) ซึ่งคาดว่าผลของนโยบายดังกล่าวจะสะท้อนไปที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาวให้ปรับตัวขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อราคาสินทรัพย์และเศรษฐกิจที่แท้จริงในที่สุด ทำให้ความเสี่ยง Stagflation ชัดเจนขึ้น 

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้า 

 

  1. นโยบายการเงินฝั่งยุโรป จากประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งเศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อเช่นกัน 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ เช่น ตัวเลข CPI เดือนมีนาคมที่ตลาดคาดว่าจะ +8.3% ซึ่งสูงกว่าเดือนกุมภาพันธ์ที่ 7.9% และตัวเลข GDP งวด 1Q22 ของจีนที่คาดไว้ที่ระดับต่ำเพียง 3.6%

 

แนวโน้มตลาดหุ้นโลกคาดว่าในช่วงเดือนเมษายนยังคงไม่เปลี่ยนเป็น Uptrend เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อและนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ในขณะที่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการกำลังจะเริ่มขึ้น จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความผันผวนเพิ่มขึ้น 

 

ประเด็นที่อาจช่วยหนุนตลาดในช่วงนี้ ได้แก่ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน หากจบลงอย่างน้อยจะลดความเสี่ยงด้านราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ สัปดาห์นี้แนะนำรอซื้อเก็งกำไรหุ้นพลังงานต้นน้ำ จากมุมมองที่ว่าภาวะตึงตัวของอุปทานน้ำมันดิบในระยะสั้นจะยังคงมีต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนระยะยาวยังคงแนะนำลงทุนหุ้น Defensive เช่น Healthcare และ Consumer Staples เช่นเดิม 

 

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ยังไม่ผ่าน 1,700 จุด ตามที่ได้คาดไว้ ส่งผลให้แนวโน้มในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้ายังไม่สดใส ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอกจากเรื่องนโยบายการเงินตึงตัวของสหรัฐฯ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน และปัจจัยภายในได้แก่ภาวะเงินเฟ้อ ที่กระทบกำลังซื้อและส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนปี 2022 ลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ แนะนำรอซื้อบริเวณ 1,650-1,600 จุด โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่มีอำนาจในการกำหนดราคา เช่น ADVANC, BDMS, CPALL, GULF เป็นต้น 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: GULF - เติบโตอย่างมีคุณภาพ

 

สัปดาห์นี้ SCBS เลือกแนะนำบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชั้นนำของไทย โดยมีแผนขยายไปสู่ธุรกิจก๊าซ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีสัมปทานกับรัฐบาล เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว  

 

  • มีแผนเพิ่มกำลังผลิตต่อเนื่อง หนุนให้ GULF จะเป็นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP รายใหญ่สุดในไทย และช่วยหนุนการเติบโตของกำไรในช่วง 5-7 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันมีกำลังผลิตติดตั้ง 7,903MW ซึ่งคาดจะเพิ่มเฉลี่ยปีละราว 10% สู่ 14,486MW ภายในปี 2027 ซึ่งธุรกิจ IPP จะมีสัดส่วนกำลังผลิตติดตั้งที่ 77%

 

  • ปี 2022 คาดกำไรจะเติบโต 44%YoY จากรับรู้กำไรที่เพิ่มขึ้นจาก GSRC หลังโรงไฟฟ้าอีก 2 หน่วย (1,325MW) จะเริ่มดำเนินงานในเดือนมีนาคมและตุลาคม 2022 อีกทั้งนี้จะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเต็มปีจากโรงฟฟ้าในโอมานที่ดำเนินงานเมื่อเดือนธันวาคม 2021 และส่วนแบ่งกำไรจาก INTUCH ราวปีละ 4-5 พันล้านบาท หลังเข้าถือหุ้น 42.25%

 

  • เรายังเห็นความเสี่ยง ความผันผวน และ Downside ของตลาดหุ้นในระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงมีแนวโน้มแย่ลงหรือไม่ชัดเจน โดยบทสรุปการลงทุน 1. มองว่าตลาดมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนไม่สูง 2. เน้นที่หุ้นที่มีอำนาจในการกำหนดราคาสูงและอัตราการทำกำไรดี และ 3. หาแนวทางการป้องกันความเสี่ยงผ่านการกระจายความเสี่ยงและ Hedging มากขึ้น 

 

กลุ่มเดินเรือ-เหมืองถ่านหินเริ่มน่าสนใจหากสงครามยืดเยื้อ

 

สหภาพยุโรปจะมีการแบนการนำเข้าถ่านหินจากรัสเซีย ซึ่งจะเริ่มในเดือนสิงหาคม ดังนั้นอาจจะพิจารณาหลังจบไตรมาสที่ 2 เพื่อประเมินทิศทางของความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน หากยืดเยื้อกลุ่มเหมืองถ่านหินและกลุ่มเดินเรืออาจจะมีความน่าสนใจมากขึ้น

 

การทดแทนน้ำมันรัสเซียไม่ใช่เรื่องง่าย IEA จะปล่อยสต๊อกน้ำมันเพื่อตอบโต้รัสเซียรวมทั้งสิ้น 240 ล้านบาร์เรลในอีก 6 เดือนข้างหน้า หรือคิดเป็น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่มองว่าช่วยในระดับหนึ่งแต่ไม่สามารถทดแทนได้ ทำให้เรามองว่าตลาดน้ำมันยังตึงตัวอยู่

 

ดังนั้นจึงมองว่ากลุ่มพลังงานในส่วนของ Exploration & Production มีความน่าสนใจ มีแนวโน้มฟื้นตัว ทั้งจากผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องและสถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ เราชอบ BP, XOM, SLB, PTTEP และ ETF อย่าง XOP และ IEO

 

เรามองว่า Backwardation ของราคาน้ำมันปรับลดลงมาถึงระดับก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครน ทำให้เรามองว่ากลุ่มพลังงานต้นน้ำเริ่มมีความน่าสนใจ ในขณะที่กลุ่มโรงกลั่นมีข้อเสียจากการปรับเพิ่มราคาน้ำมันในฝั่งเอเชียขึ้น

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) ยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งยังกดดันต่อ Sentiment ตลาด นอกจากนี้ ตลาดยังคงเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มการเร่งลดการผ่อนคลายทางการเงินลงของธนาคารกลางหลักใน DM โดยเฉพาะ Fed หลังเงินเฟ้อยังเร่งตัวขึ้นต่อ 

 

อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดเศรษฐกิจมากขึ้นบนประเทศกลุ่ม DM รวมทั้งผลประกอบการของ บจ. ในกลุ่ม DM ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อ จะสามารถช่วยประคองการฟื้นตัวของตลาดหุ้น DM 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากความกังวลวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และจากการที่ Fed มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ย 0.50% พร้อมเริ่มทำ QT ในเดือนพฤษภาคม และขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% ในเดือนมิถุนายน รวมทั้งความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ หลังส่วนต่างระหว่าง Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 2 ปี ติดลบในช่วงสั้นๆ 

 

อย่างไรก็ดี ความกังวลบนผลกระทบจากการระบาดของโควิดที่ลดลงไปมาก และผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ใน 1Q22 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด (เริ่มรายงานตั้งแต่กลางเดือนนี้) จะช่วยประคองตลาดได้ ทั้งนี้ เราแนะนำสัดส่วนการลงทุนกลุ่ม Growth ต่อ Value อยู่ที่ 60:40

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เนื่องจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของยุโรป โดยยุโรปพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นระดับราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกดดันอำนาจซื้อของประชาชนและต้นทุนการผลิต ปัญหาด้านอุปทานคอขวดมีแนวโน้มแย่ลงจากปัญหาความขัดแย้งในยูเครน และผลประกอบการ บจ. ในยุโรปมีแนวโน้มถูกกดดันจากผลการล็อกดาวน์ในจีน อย่างไรก็ดี Valuation หุ้นยุโรปที่ลดลงมามาก จะช่วยจำกัด Downside ตลาด

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยดัชนี TOPIX และ Nikkei 225 มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed 

 

อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นมีการยกเลิกภาวะกึ่งฉุกเฉินทั่วประเทศ และกำลังจะพิจารณากลับมาใช้โครงการ Go To Travel นอกจากนี้เริ่มมีสัญญาณถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ด้าน BOJ ยังมีแนวโน้มที่จะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน H-share ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และการออกกฎระเบียบที่รุนแรงกับกลุ่ม Internet Platform มีโอกาสเกิดลดลง อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มีอยู่ ทั้งเรื่องรัสเซีย และไต้หวัน รวมทั้งยังมีความเสี่ยงเรื่อง Delisting ของหุ้นจีน ADRs 

 

นอกจากนี้ผลประกอบการของ บจ.จีน ที่ยังมีแนวโน้มชะลอลงถึงขยายตัวปานกลางในช่วง 1H2022 ประกอบกับ Sentiment เชิงลบ จากแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะยังกดดันการฟื้นตัวของตลาดโดยรวม

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน A-Share ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในการประชุม Politburo ในช่วงปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม การระบาดรอบใหม่ในจีนที่ยังมีอยู่ จะทำให้ทางการจีนจำเป็นต้องคงมาตรการ Zero-COVID Policy ยาวนานขึ้น ซึ่งจะยังกดดันแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการบริโภคและภาคบริการ นอกจากนี้ข้อพิพาทสหรัฐฯ-จีนที่มีอยู่ จะยังกดดัน Sentiment การลงทุนในช่วงสั้น

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการเปิดเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเราคาดว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 0.5% ในปีนี้ 

 

อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจากผลของสงครามยูเครน จะกระทบต้นทุนการผลิตและการปรับประมาณการกำไรของ บจ.ไทยลง ขณะที่ Valuation หุ้นไทยเริ่มตึงตัว นอกจากนี้การเข้าใกล้ช่วงวันหยุดสงกรานต์ และการผ่านพ้น Dividend Season ทำให้ดัชนีหุ้นไทยอาจซึมลง

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

 

ตลาดหุ้นเวียดนามได้รับแรงหนุนจากการที่เวียดนามมีแนวโน้มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับรัฐบาลเวียดนามมีแนวโน้มเร่งเพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และออกมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานที่เร่งตัวสูงขึ้น 

 

นอกจากนี้ Consensus มีแนวโน้มทยอยปรับประมาณการ EPS ของ VN-Index ดีขึ้น หลังในช่วงการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บริษัทเวียดนามส่วนใหญ่ให้ Guidance ปีนี้ที่ดี ทั้งแผนธุรกิจ แผนจ่ายปันผล และแนวโน้มกำไร ขณะที่ผลกระทบทางตรงจากวิกฤตในยูเครนต่อเศรษฐกิจและภาคธนาคารเวียดนามค่อนข้างต่ำมาก

 

กองทุนแนะนำ

  ​​

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ทองคำมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อท่ามกลางสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม การที่ Fed เตรียมปรับลดขนาดงบดุล และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนพฤษภาคมนี้ รวมทั้งหากมีความคืบหน้าการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลกดดันต่อราคาทองคำ

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

น้ำมันถูกกดดัน หลังมีความกังวลเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันอาจชะลอตัวลงหลังจีนขยายมาตรการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนี้ตลาดยังถูกกดดันจากประเทศสมาชิก IEA และสหรัฐฯ ประกาศระบายน้ำมันจากคลังสำรอง SPR เพื่อรับมือกับภาวะอุปทานตึงตัว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนยังไม่คลี่คลาย และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับจำกัด

 

REITs ประเทศพัฒนา

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากการทยอยเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed และการระบาดในบางประเทศที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงถูกกดดัน และ Upside ของตลาดถูกจำกัด

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

 

REITs ไทย และสิงคโปร์ยังคง Laggard เมื่อเทียบกับ DM REITs และมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ตามการผ่อนคลายมาตรการคุมการระบาดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ที่มีการเปิดประเทศมากขึ้นหลังการระบาดผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว โดยสิงคโปร์อนุญาตให้นักเดินทางต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว และเริ่มให้พนักงานสามารถมาทำงานที่ออฟฟิศได้แล้วในอัตรา 75% รวมทั้งเร่งส่งเสริมการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวมากขึ้น

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Property and Infrastructure Flexible Fund

กองทุน SCBPINA ลงทุนในหน่วยลงทุน REITs และ Infrastructure Fund ของไทยและสิงคโปร์ โดยลงทุนในต่างประเทศโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 11 เม.ย. 2022

READ MORE



Latest Stories