Environment – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 25 Apr 2024 07:13:49 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 โลกรวนทำทะเลเดือด ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตาย เต่ามีแต่ตัวเมีย https://thestandard.co/global-chaos/ Thu, 18 Apr 2024 11:50:49 +0000 https://thestandard.co/?p=924246 ภาวะโลกรวน

ไม่ใช่แค่มนุษย์เดินดินที่เป็นประจักษ์พยานต่อสภาพอากาศร้ […]

The post โลกรวนทำทะเลเดือด ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตาย เต่ามีแต่ตัวเมีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาวะโลกรวน

ไม่ใช่แค่มนุษย์เดินดินที่เป็นประจักษ์พยานต่อสภาพอากาศร้อนระอุจนแทบจะอยู่ไม่ไหว แต่สัตว์น้ำในโลกใต้ทะเลก็กำลังประสบเคราะห์กรรมจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทะเลอันกว้างใหญ่ซึ่งเคยเป็นบ้านอันฉ่ำเย็นของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ บัดนี้กำลังร้อนขึ้นทุกขณะ 

 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก เปิดเผยข้อมูลที่น่ากังวลว่า ระบบนิเวศทางทะเลกำลังเผชิญกับผลกระทบหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหญ้าทะเลเกิดความเสื่อมโทรมและตายลง อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นผิดปกติจนทำให้เกิดสถานการณ์ปะการังฟอกขาว รวมถึงเต่าทะเลที่ปัจจุบันเป็นเพศเมียมากกว่าเพศผู้

 

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลพวงจากภาวะโลกรวนที่มนุษย์ก่อขึ้นทั้งสิ้น 

 

  • ปะการังฟอกขาว

 

โดยปกติแล้วปะการังในทะเลจะมีสีสันที่หลากหลาย ดึงดูดให้บรรดานักท่องเที่ยวและนักดำน้ำลงไปแหวกว่ายเพื่อชื่นชมความงาม แต่เมื่อเกิดภาวะที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 31 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่อง (ประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน) จะทำให้ปะการังเครียด จนเนื้อเยื่อของมันมีสีจางลงจนกลายเป็นสีขาว ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ‘ปะการังฟอกขาว’ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม

 

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดี ทช. กล่าวว่า ปีนี้คาดการณ์ว่าจะเกิดปะการังฟอกขาวใหญ่เป็นวิกฤตโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง โดยปกติกว่าปะการังจะกลับคืนมาสภาพเดิมได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 ปีขึ้นไป 

 

ทั้งนี้ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเคยเกิดสถานการณ์ปะการังฟอกขาวขนานใหญ่ 2 ครั้ง ทำให้ปะการังเติบโตไม่ทัน ผลพวงที่ตามมาจะทำให้สัตว์น้ำขาดแหล่งที่อยู่อาศัย วางไข่ และหลบภัย ขณะที่นักท่องเที่ยวเองก็อาจไม่อยากไปเที่ยวชมอีก ทำให้กระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมด้วย โดยปะการังฟอกขาวมักเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในเวลาใกล้เคียงกัน

 

ขณะเดียวกัน รายงานขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NOAA เผยถึงภาวะปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่รอบที่ 4 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และส่งผลต่อแนวปะการังทั่วโลก 

 

  • หญ้าทะเลเสื่อมโทรม

 

ไม่เพียงแค่ปะการังเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ภาวะโลกเดือดยังสร้างความเสียหายต่อหญ้าทะเล ทำให้หญ้าทะเลเกิดความเสื่อมโทรมและตายในที่สุด ซึ่งเมื่อหญ้าทะเลตาย สัตว์น้อยใหญ่ก็จะขาดแหล่งอาหาร รวมถึงพะยูนและเต่าทะเลซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้วด้วย 

 

โดยปกติหญ้าทะเลที่ตายลง ใบจะร่วงแล้วงอกขึ้นมาใหม่ แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ปีนี้นับเป็นปีแรกที่สถานการณ์โลกเดือดทำให้เหง้าของหญ้าทะเลเกิดการเน่าเปื่อย เนื่องจากดินมีความร้อนสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลให้หญ้าทะเลเกิดการอืดแห้งนาน แต่ส่วนหนึ่งก็เกิดจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปกติ 30-50 เซนติเมตร ทำให้หญ้าทะเลอืดแห้งนานกว่าปกติมากกว่าหนึ่งชั่วโมง 

 

ทช. ได้ส่งทีมนักวิชาการ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานและสถาบันการศึกษา ดำเนินการค้นคว้าและวิจัยหาสาเหตุการตายของหญ้าทะเล ปรากฏว่าภาวะโลกเดือดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรมลง ซึ่ง ทช. ได้ดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการในการแก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม เพื่อเร่งฟื้นฟูสภาพแหล่งหญ้าทะเลให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม 

 

  • โลกเดือดกระทบเพศเต่าทะเล

 

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกเดือด นั่นก็คือการขาดความสมดุลเพศของเต่าทะเล เนื่องจากอุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเพศของเต่าทะเล 

 

รายงานของ National Ocean Service ระบุว่า หากไข่เต่าฟักตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 27.7 องศาเซลเซียส ลูกเต่าส่วนใหญ่จะออกมาเป็นตัวผู้ แต่หากไข่เต่าฟักตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ลูกเต่าจะเป็นตัวเมีย นักวิจัยยังพบด้วยว่า ยิ่งทรายมีอุณหภูมิอุ่นมากขึ้นเท่าไร สัดส่วนของลูกเต่าเพศเมียก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น 

 

ในอดีตโลกเคยสามารถรักษาสมดุลให้เต่ามีเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่ง แต่ปรากฏว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกรวนทำให้เต่าเพศเมียเยอะขึ้น ส่วนเพศผู้ลดลง ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อเต่าเพศผู้ลดน้อยลงก็ไม่เกิดการผสมพันธุ์ ทำให้ไข่ของแม่เต่าเป็นไข่ลมและเน่าเสียได้ 

  • ภาครัฐดำเนินการอะไรแล้วบ้าง

 

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สิ่งที่ระบบนิเวศทางทะเลกำลังเผชิญกับผลกระทบหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหญ้าทะเลเกิดความเสื่อมโทรม อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นผิดปกติ และการเกิดสถานการณ์ปะการังฟอกขาว นับว่าเป็นสัญญาณเตือนของวิกฤตทะเลเดือด จากปัญหาที่เกิดขึ้น ตนในฐานะผู้นำของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้หารือกับ จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเร่งหาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการจัดการและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามที่ได้ประกาศไว้ พร้อมทั้งมอบหมายให้ ทช. เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ปะการังฟอกขาวที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน

 

ส่วน ทช. ได้ติดตามสถานการณ์โลกเดือดอย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับให้หน่วยงานในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการรับมือ และดำเนินการวางแผนเฝ้าระวังสถานการณ์ปะการังฟอกขาว โดยมีการร่วมมือกับเครือข่ายอนุรักษ์ปะการัง รวมถึงกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาว มีระบบติดตาม เฝ้าระวัง การตรวจวัดอุณหภูมิใต้ทะเล หากพบน้ำทะเลสูงขึ้นผิดปกติจะดำเนินการตามกฎระเบียบและข้อบังคับที่กำหนด โดยการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดปัญหาต่อปะการัง รวมถึงลดภัยคุกคามต่างๆ ที่ทำให้ปะการังเครียด เช่น กิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล กิจกรรมดำน้ำดูปะการัง และการปล่อยน้ำเสียลงในทะเล  

 

นอกจากนี้ ทช. ได้เปิดโอกาสให้เครือข่ายชุมชนชายฝั่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เมื่อพบจุดปะการังฟอกขาวที่รุนแรง หรือมีแนวโน้มที่กำลังจะตาย ให้รีบแจ้งเบาะแสไปยังสำนักงานภายในพื้นที่สังกัด ทช. ทั้ง 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล หรือโทรไปที่เบอร์ 1362 สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อที่ ทช. จะดำเนินการประเมินและพิจารณาในการตัดสินใจย้ายปะการังไปไว้ในที่ปลอดภัยบริเวณพื้นที่ทะเลที่มีอุณหภูมิเย็น เพื่อปะการังจะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมอีกครั้ง

 

ดร.ปิ่นสักก์ กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกเดือดที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเกิดความวุ่นวายกลายเป็นทะเลเดือด สร้างความเสียหายแก่พี่น้องชุมชนชายฝั่ง ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังคงต้องจับตามองและให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด 

 

“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มันเกิดขึ้นจริง ถ้าหากเราไม่ช่วยกัน เราก็อาจไม่มีทรัพยากรทางทะเลที่สวยงามหลงเหลือให้ลูกหลานได้เห็น ฉะนั้น ความร่วมมือคือสิ่งสำคัญ มาร่วมกันปกป้องทรัพยากรทางทะเลไม่ให้เสียสมดุลจากภาวะโลกเดือด เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยกันกอบกู้โลกใบนี้ให้กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง” ดร.ปิ่นสักก์ กล่าว

 

ภาพ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

อ้างอิง:

  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

The post โลกรวนทำทะเลเดือด ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตาย เต่ามีแต่ตัวเมีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมดูไบเจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 75 ปี https://thestandard.co/dubai-heaviest-rainfall-75-years/ Thu, 18 Apr 2024 09:21:50 +0000 https://thestandard.co/?p=924188 ทำไม ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 75 ปี

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจอพายุใหญ่ถล่ม อิทธิพลพายุส่งผลให้ […]

The post ทำไมดูไบเจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 75 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไม ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 75 ปี

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจอพายุใหญ่ถล่ม อิทธิพลพายุส่งผลให้เกิดปริมาณน้ำฝนสูงสุดในรอบ 75 ปี น้ำท่วมเจิ่งนองไปแทบทุกที่จนการจราจรเป็นอัมพาต โรงเรียนและสถานที่ราชการต้องปิดทำการ อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตด้วย 1 คน ขณะเพื่อนบ้านอย่างโอมานก็เผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายไม่ต่างกัน โดยสำนักข่าว Reuters รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 คนจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้

 

เกิดอะไรขึ้น ทำไมดินแดนที่ปกติแทบจะไม่มีฝนจึงเจอฝนถล่มหนักสุดในรอบหลายทศวรรษ THE STANDARD จะสรุปให้ฟัง

 

เกิดอะไรขึ้นในโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 

ขณะที่คนไทยกำลังเล่นน้ำสงกรานต์อย่างชุ่มฉ่ำ ในอีกซีกโลกหนึ่งพายุลูกใหญ่ได้โหมกระหน่ำเข้าสู่โอมานเมื่อวันอาทิตย์ (14 เมษายน) ก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้าพัดถล่มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในวันอังคาร (16 เมษายน) ส่งผลให้หลายพื้นที่ไฟฟ้าดับ ภาคการบินปั่นป่วนหนัก เพราะรันเวย์กลายสภาพเป็นเหมือนแม่น้ำสายย่อมๆ

 

ในเมืองอัลอินของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งมีพรมแดนติดกับโอมาน ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 254 มิลลิเมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำฝนในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1949 หรือในรอบ 75 ปี 

 

ภาพจากโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นน้ำท่วมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หลายคนต้องติดอยู่ในรถนานหลายชั่วโมง ผู้โดยสารที่เตรียมเดินทางด้วยเครื่องบินจำนวนมากได้รับแจ้งว่าเครื่องบินดีเลย์เกือบทุกเที่ยว จนเกิดเหตุโกลาหลที่สนามบิน โรงเรียนหลายแห่งปิดทำการจนถึงสัปดาห์หน้า

 

การทำฝนเทียม (Cloud Seeding) เป็นสาเหตุให้เกิดพายุหรือไม่

 

ต้องอธิบายแบบนี้ว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และดินแดนบนคาบสมุทรอาระเบียขึ้นชื่ออยู่แล้วว่ามีสภาพอากาศแบบทะเลทรายอันแห้งแล้ง แทบจะไม่เจอฝน โดยอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนสามารถทะยานทะลุ 50 องศาเซลเซียส 

 

โดยปกติแล้วสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีไม่ถึง 200 มิลลิเมตร ส่งผลให้ในช่วงทศวรรษ 1990 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทุ่มงบประมาณทำฝนเทียมหรือ Cloud Seeding เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในดินแดนที่ได้ชื่อว่าร้อนที่สุด และแห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เกิดเหตุฝนตกหนักเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ก็มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า การทำฝนเทียมซึ่งเป็นกระบวนการปกติที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักจะดำเนินการอยู่เป็นประจำนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝนตกหนักหรือไม่

 

แต่สำนักข่าว Reuters ส่งคำถามไปยังกรมอุตุนิยมวิทยาของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งพวกเขายืนยันว่าไม่ได้มีการทำฝนเทียมก่อนที่พายุใหญ่จะมา

 

โลกรวนคือตัวการ?

 

เอสรา อัลนักบี นักพยากรณ์อาวุโสประจำศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝนที่สูงเป็นประวัติการณ์นี้น่าจะมีสาเหตุมาจากภาวะโลกรวน ที่ทำให้ระบบสภาพอากาศปกติเลวร้ายลงไปจากเดิม

 

ระบบความกดอากาศต่ำในชั้นบรรยากาศชั้นบน ประกอบกับความกดอากาศต่ำที่พื้นผิวทำหน้าที่เหมือนเป็นการ ‘บีบ’ ความกดอากาศ โดยการบีบดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่อุ่นกว่าที่ระดับพื้นผิวกับอุณหภูมิที่เย็นกว่าที่อยู่สูงขึ้นไป จนทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงในที่สุด

 

อัลนักบียังกล่าวด้วยว่า ‘สภาพปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ’ สามารถเกิดขึ้นได้ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนฤดูกาลที่ความกดอากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมเสริมว่าภาวะโลกรวนก็มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดพายุด้วย 

 

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศหลายคนยังกล่าวด้วยว่า การที่อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลพวงจากภาวะโลกรวน ก็ส่งผลให้เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเกิดถี่ขึ้นทั่วโลก รวมถึงเหตุฝนถล่มด้วยเช่นกัน

 

ฟรีเดอริก ออตโต อาจารย์อาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศแห่ง Imperial College London กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เนื่องจากโลกมีสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น โดยบรรยากาศที่อุ่นขึ้นจะสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้นนั่นเอง

 

ภาพ: Amr Alfiky / Reuters

อ้างอิง:

The post ทำไมดูไบเจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 75 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกยังคงสูญเสียป่าฝนต่อไปในอัตราเร็ว​ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที https://thestandard.co/global-rainforest-loss-continues-at-rate-of-10-football-pitches-a-minute/ Wed, 10 Apr 2024 06:55:25 +0000 https://thestandard.co/?p=921474

ตัวเลขล่าสุดที่รวบรวมโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) และมหาว […]

The post โลกยังคงสูญเสียป่าฝนต่อไปในอัตราเร็ว​ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตัวเลขล่าสุดที่รวบรวมโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) และมหาวิทยาลัยแมริแลนด์เผยให้เห็นว่า พื้นที่ป่าฝนทั่วโลกยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่องในอัตราเร็วที่น่าเป็นห่วง

 

การเข้ามาสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดี ลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา แห่งบราซิล และประธานาธิบดี กุสตาโว เปโตร แห่งโคลอมเบีย ได้พลิกฟื้นชะตาของผืนป่าแอมะซอนไปโดยสิ้นเชิง ทั้งสองประเทศสามารถชะลอการตัดไม้ทำลายป่าลงไปได้อย่างมากถึง 36% และ 49% ตามลำดับ โดยเฉพาะบราซิลนั้น อัตราการตัดไม้ทำลายป่าในปี 2023 ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี

 

แต่โลกเรายังไม่พ้นเคราะห์ แม้ประเทศบราซิลและโคลอมเบียจะลดการทำลายป่าลงไปแล้ว แต่กลับมีประเทศอื่นๆ เช่น โบลิเวีย นิการากัว คองโก อินโดนีเซีย เปรู หรือแม้แต่ สปป.ลาว ที่เพิ่มอัตราเร็วในการทำลายป่าขึ้นมาแทน ตัวเลขที่บันทึกไว้ระบุว่า ในปี 2023 เพียงปีเดียว มีป่าฝนเก่าแก่ที่ไม่เคยมีมนุษย์เข้าไปรบกวนถูกแผ้วถางทำลายเป็นพื้นที่กว้างถึง 37,000 กิโลเมตร หรือประมาณแล้วเท่ากับ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที

 

นั่นคือป่าฝนที่ถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ ยังมีป่าฝนที่ต้องสูญเสียไปกับไฟป่าอีกหลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น ป่าในประเทศแคนาดาในปี 2023 ที่ถูกไฟป่าเผาทำลายไปมากกว่า 8 ล้านเฮกตาร์ (20 ล้านเอเคอร์) “โลกก้าวไปข้างหน้าสองก้าว แล้วก็ต้องถอยหลังไปสองก้าว เมื่อพูดถึงการสูญเสียป่าฝนในปีที่ผ่านมา” มิคาเอลา ไวส์เซ ผู้อำนวยการ Global Forest Watch ของ WRI กล่าว

 

“การทำลายป่าแอมะซอนที่ลดลงอย่างชัดเจนในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าที่เป็นไปได้จริงในการป้องกันรักษาป่าฝนของโลกเราเอาไว้ แต่การสูญเสียป่าฝนที่กลับไปเพิ่มขึ้นในประเทศอื่นๆ นั่นเท่ากับความคืบหน้านี้ถูกขัดขวางไปเสียเฉยๆ” เธอกล่าว “เราต้องเรียนรู้และเผยแพร่วิธีการที่ได้ผลจากบราซิลและโคลอมเบีย รวมถึงประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการชะลอการตัดไม้ทำลายป่าไปสู่ประเทศที่มีปัญหาเหล่านั้น” 

 

ป่าฝนทั่วโลกที่ถูกทำลายไปนำมาสู่ความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ยกตัวอย่างเช่น ป่าฝนแอมะซอนแห่งเดียวก็เป็นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ต่างๆ ที่เรารู้จักบนโลกอย่างน้อยถึง 10% นอกจากนี้ป่าฝนเขตร้อนยังเต็มไปด้วยพืชพรรณอันเขียวชอุ่มที่เก็บกักปริมาณคาร์บอนเอาไว้อย่างมหาศาล 

 

“การสูญเสียป่าปฐมภูมิเขตร้อนในปี 2023 ปีเดียว ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโลกเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซของสหรัฐอเมริกาที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกปี” มิคาเอลา ไวส์เซ กล่าว “การอนุรักษ์ป่าฝนเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับวิกฤตโลกร้อน ในการพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม”

 

ในการประชุมสภาพภูมิอากาศ COP28 ที่ดูไบเมื่อปี 2021 รัฐบาลประเทศต่างๆ เห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องหยุดการทำลายป่าทั่วโลก รวมทั้งต้องร่วมมือกันฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้ได้ผลภายในปี 2030 แต่ตัวเลขที่ได้มาล่าสุดกลับบอกเราว่า โลกยังอยู่อีกยาวไกลจากการบรรลุเป้าหมายนี้ 

 

บราซิล คองโก และโบลิเวีย ติดอันดับ 3 ประเทศเขตร้อนที่มีการสูญเสียป่าไม้มากที่สุด แม้ว่าความเสียหายในบราซิลจะลดลงไปแล้ว แต่อันดับ 2 อย่างคองโกก็ยังคงมีระดับการทำลายป่าฝนที่สูงแตะ 5,000 ตารางกิโลเมตร และอันดับ 3 อย่างโบลิเวียนั่นก็มีอัตราการสูญเสียป่าฝนเพิ่มขึ้นถึง 27% ทั้งการตัดไม้และการถูกเผาโดยไฟป่า โดยรวมแล้วในปี 2023 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีอัตราการทำลายป่าฝนเพิ่มขึ้น 3.2% 

 

เหตุผลเบื้องหลังการทำลายป่าฝนก็คือเรื่องของเงิน ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีทางแก้ไขได้ง่ายๆ “ผมเชื่อจริงๆ ว่าวิธีเดียวที่จะรักษาป่ายืนต้นได้คือ ประเทศร่ำรวยตั้งกองทุนชดเชยสำหรับการอนุรักษ์ป่าฝนขึ้นมา” ศ.แมทธิว แฮนเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจระยะไกลจากแผนกภูมิศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ กล่าว 

 

บางประเทศในยุโรป อย่างเช่น ประเทศเยอรมนี ได้เริ่มทดลองทำข้อตกลงในการอุดหนุนเงินทุนให้กับประเทศป่าฝนเพื่อลดการทำลายป่าลง ทางประเทศนอร์เวย์ก็ได้มีแนวทางคล้ายกันนี้คือ การวางแนวทางร่วมกับสาธารณรัฐกาบองในแอฟริกาเพื่อลดการทำลายป่า โดยใช้ตัวเลขการกักเก็บคาร์บอนเป็นตัววัดค่า คู่กับการกำกับดูแลที่เข้มงวด “แนวทางแบบนี้รวมทั้งส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในภาคประชาสังคมอาจจะได้ผล” ศ.แมทธิว แฮนเซน กล่าวทิ้งท้าย

 

ภาพ: Per-Anders Pettersson / Getty Images

อ้างอิง:

 

The post โลกยังคงสูญเสียป่าฝนต่อไปในอัตราเร็ว​ 10 สนามฟุตบอลต่อนาที appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมผลงานภาพถ่ายธรรมชาติโลกปี 2024 คนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ https://thestandard.co/wnpa-2024/ Sun, 07 Apr 2024 07:28:47 +0000 https://thestandard.co/?p=920454 World Nature Photography Awards: WNPA

การประกวด ‘ภาพถ่ายธรรมชาติโลก’ (World Nature Photograph […]

The post ชมผลงานภาพถ่ายธรรมชาติโลกปี 2024 คนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
World Nature Photography Awards: WNPA

การประกวด ‘ภาพถ่ายธรรมชาติโลก’ (World Nature Photography Awards: WNPA) ประจำปี 2024 ประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย ชาตรี เลิศสินธนากร ช่างภาพชาวไทย คว้ารางวัลชนะเลิศในประเภท ‘พืชและเชื้อรา’ (Plants and Fungi) มาครองได้สำเร็จ จากผลงาน ‘พิศวงตานกฮูก’ พืชล้มลุกชนิดใหม่ของโลก พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

 

ขณะที่ภาพฝูงนกแกนเน็ตกำลังดำน้ำจับปลาที่เชตแลนด์ หมู่เกาะนอกชายฝั่งสกอตแลนด์ โดย เทรซี ลุนด์ ช่างภาพจากเกาะอังกฤษ คว้ารางวัลชนะเลิศในประเภท Behaviour – Birds และคว้ารางวัลชนะเลิศภาพถ่ายธรรมชาติโลกแห่งปี 2024

 

นอกจากนี้ THE STANDARD ยังได้เลือกสรรภาพถ่ายที่ชนะรางวัลในปีนี้บางส่วนมาให้ทุกคนได้ชมกัน

 

World Nature Photography Awards: WNPA

พิศวงตานกฮูก

ภาพ: Chatree Lertsintanakorn (Thailand) / WNPA2024 – Plants and Fungi

 

World Nature Photography Awards: WNPA

ฝูงนกแกนเน็ตดำน้ำจับปลาบริเวณเชตแลนด์ นอกชายฝั่งสกอตแลนด์

ภาพ: Tracey Lund (UK) / WNPA2024 – Behaviour – Birds

 

วาฬออร์กาว่ายน้ำท่ามกลางฝูงปลาแฮร์ริงขนาดใหญ่ บริเวณทางตอนเหนือของนอร์เวย์

ภาพ: Andy Schmid (Switzerland) / WNPA2024 – Underwater

 

World Nature Photography Awards: WNPA

ฤดูหนาวที่เมืองสตอกส์เนส ประเทศไอซ์แลนด์

ภาพ: Ivan Pedretti (Italy) / WNPA2024 – Planet Earth’s Landscapes and Environments

 

สิงโตทะเลได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกใต้ท้องทะเล แถบรัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก

ภาพ: Celia Kujala (USA) / WNPA2024 – Nature Photojournalism

 

อ้างอิง:

The post ชมผลงานภาพถ่ายธรรมชาติโลกปี 2024 คนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผย พะยูนในตรังมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา https://thestandard.co/trang-dugong-decrease/ Wed, 03 Apr 2024 06:41:03 +0000 https://thestandard.co/?p=918792 พะยูน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผย พะยูนในทะเลตรังม […]

The post กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผย พะยูนในตรังมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
พะยูน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผย พะยูนในทะเลตรังมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา และกระจายตัวในพื้นที่กว้างมากขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าพะยูนมีการอพยพย้ายถิ่นไปยังแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ใกล้เคียง 

 

เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลและอากาศยาน ลงพื้นที่ออกสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายากบริเวณจังหวัดตรัง ด้วยวิธีการบินสำรวจโดยใช้อากาศยานปีกตรึง 9 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line Transect และ Hot Spot ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่การสำรวจได้มากขึ้น ถึงบริเวณเกาะลิบง เกาะมุก เกาะสุกร แหลมไทร และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง 

 

ผลการสำรวจในครั้งนี้พบพะยูนประมาณ 86-121 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่-ลูกอย่างน้อยประมาณ 3 คู่ เต่าตนุจำนวน 107-152 ตัว และโลมาจำนวน 13 ตัว (ซึ่งมีโลมาคู่แม่-ลูก จำนวน 4 คู่) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2566 จะพบว่าพะยูนมีแนวโน้มจำนวนประชากรลดลง และกระจายตัวในพื้นที่กว้างมากขึ้น ซึ่งข้อสันนิษฐานการลดลงของพะยูนในพื้นที่เกาะมุกและเกาะลิบง เป็นไปได้ว่ามีการอพยพย้ายถิ่นไปยังแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ใกล้เคียง จากการสำรวจพะยูนบริเวณเกาะศรีบอยาและบริเวณเกาะสุกรนั้น พบพะยูนมีจำนวนเพิ่มขึ้น 

 

ทั้งนี้ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เร่งดำเนินการส่งนักวิชาการ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่กรม ทช. ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเฝ้าระวัง และเร่งดำเนินการสำรวจประชากรพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก รวมถึงแหล่งหญ้าทะเลตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามันเพิ่มเติม เพื่อติดตามข้อมูลในภาพรวมของจำนวนประชากรและการแพร่กระจายของพะยูนทั้งหมดอีกครั้ง พร้อมนำเรือตรวจการณ์และเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลและกำหนดแนวทางการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก 

 

นอกจากนี้ ทช. ขอความร่วมมือเรือนำเที่ยวและเรือประมงในพื้นที่ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับเรือ ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับสัตว์ทะเลดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ สามารถแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทะเลชายฝั่ง รวมถึงสัตว์ทะเลหายากได้ตลอดที่สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร. 1362

 

ภาพ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

อ้างอิง: 

  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

The post กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผย พะยูนในตรังมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) กำลังหมุนกลับด้าน กระทบโลกอย่างไร https://thestandard.co/polar-vortex-3/ Fri, 22 Mar 2024 09:59:39 +0000 https://thestandard.co/?p=914401

    หลายคนอาจยังไม่ลืมปรากฏการณ์แปลกๆ เมื่อวั […]

The post กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) กำลังหมุนกลับด้าน กระทบโลกอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

 

หลายคนอาจยังไม่ลืมปรากฏการณ์แปลกๆ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 ที่จู่ๆ ตื่นเช้ามากลางฤดูร้อน อากาศก็หนาวเย็นลงฉับพลัน อุณหภูมิในกรุงเทพมหานครเช้าวันนั้นอยู่ที่ 18 องศาเซลเซียส ต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือยิ่งหนาวกว่านั้น ต่ำสุดคือ 12.0 องศาเซลเซียส ที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เรียกว่าทำเอางงกันไปทั้งประเทศ

 

นั่นคือครั้งแรกๆ ที่เราได้ยินคำว่า ‘โพลาร์วอร์เท็กซ์’ (Polar Vortex) จากสื่อสำนักต่างๆ โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศ เพราะปรากฏการณ์หนาวเย็นฉับพลันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ไทย แต่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

 

‘โพลาร์วอร์เท็กซ์’ คืออะไร

 

โพลาร์วอร์เท็กซ์หรือกระแสลมวนขั้วโลกนั้น คือกระแสลมความเร็วสูงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) หรือที่ความสูงประมาณ 50 กิโลเมตรจากผิวโลก กระแสลมนี้จะพัดวนรอบขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว โดยในขั้วโลกเหนือ กระแสลมนี้จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา 

 

โดยปกติแล้ว โพลาร์วอร์เท็กซ์มีบทบาทในการเก็บรักษาอากาศหนาวเย็นเอาไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติกไม่ให้ไหลออก รวมทั้งไม่ให้ความร้อนจากภายนอกไหลเข้าไปเมื่อกระแสลมนี้พัดเสถียร แต่หากปีใดกระแสลมโพลาร์วอร์เท็กซ์อ่อนแรงลงดังเช่นในปี 2554 ก็จะเกิดสภาพอากาศหนาวเย็นในละติจูดต่ำ เนื่องจากอากาศหนาวเย็นที่เก็บกักไว้ได้รั่วไหลลงมาจนทำให้เกิดอากาศหนาวในฤดูร้อนขึ้นกับหลายประเทศ (รูปด้านบนคือ ‘โพลาร์วอร์เท็กซ์’ ในสภาพปกติ)

 

ล่าสุดเกิดอะไรขึ้น

 

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือโนอา (NOAA) ตรวจพบเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ทิศทางของกระแสลมวนบริเวณขั้วโลกเหนือหรือโพลาร์วอร์เท็กซ์ เกิดการหมุนกลับด้าน นั่นคือเปลี่ยนจากการหมุนทวนเข็มไปเป็นการหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยปรากฏการณ์นี้ค่อยๆ เกิดขึ้นจากการที่ความเร็วของกระแสลมโพลาร์วอร์เท็กซ์เริ่มลดต่ำลงจนเกือบหยุดนิ่งในช่วงหนึ่ง จากนั้นเครื่องมือของโนอาก็ตรวจพบในเวลาต่อมาว่า ความเร็วที่ลดลงนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่เป็นทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางปกติ โดยสามารถวัดค่าความเร็วได้สูงสุดถึง -20.5 เมตรต่อวินาที (เครื่องหมายลบหมายถึงหมุนถอยหลัง)

 

 

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น

 

ดร.เอมี บัตเลอร์ ผู้นำทีมวิจัยโพลาร์วอร์เท็กซ์ของโนอา กล่าวถึงที่มาของปรากฏการณ์นี้ว่า เกิดจากการที่คลื่นรอสส์บี (Rossby Wave) ซึ่งเป็นคลื่นที่วนอยู่รอบโลกจากความแตกต่างของอุณหภูมิที่โดยปกติคลื่นนี้จะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เกิดการหยุดชะงักลงที่ระดับความสูงระดับสตราโตสเฟียร์ ทำให้ชั้นบรรยากาศที่เป็นที่ตั้งเดียวกันกับกระแสลมโพลาร์วอร์เท็กซ์เกิดความอบอุ่นขึ้นกว่าปกติ ลักษณะดังกล่าวทำให้การหมุนวนของโพลาร์วอร์เท็กซ์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือพัดย้อนกลับในทิศตรงกันข้าม ส่วนสาเหตุที่คลื่นรอสส์บีที่ระดับสตราโตสเฟียร์เกิดการหยุดชะงัก อาจเนื่องมาจากอุณหภูมิที่ผิวมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน อาจเข้ากันได้กับสภาพเอลนีโญรุนแรงที่เกิดในปีนี้ด้วย

 

ผลของการหมุนกลับด้านคืออะไร

 

โชคดีที่แม้หมุนกลับด้าน แต่กระแสลมวนขั้วโลกหรือโพลาร์วอร์เท็กซ์ยังมีความเร็วลมค่อนข้างสูง รวมทั้งมีการหมุนอย่างเสถียร ทำให้บทบาทของการเป็นกำแพงกั้นความเย็นจากขั้วโลกไม่ให้รั่วไหลลงมายังคงไม่เปลี่ยนแปลง แต่ที่เพิ่มมาคือเกิดการเคลื่อนย้ายโมเลกุลของก๊าซโอโซนจากแถบศูนย์สูตรไปสู่ขั้วโลก ทำให้บริเวณขั้วโลกมีโอโซนสูงกว่าปกติ โดยในขณะนี้ การเพิ่มขึ้นของโอโซนขั้วโลกหรือ ‘Ozone Spike’ มาถึงจุดสูงสุดนับย้อนไปถึงปี 1979

 

ฟังดูก็เป็นเรื่องดี เพราะโอโซนมีหน้าที่ป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศ ปัญหาคือการเคลื่อนย้ายในลักษณะนี้ อาจทำให้ปริมาณของโอโซนในแถบศูนย์สูตรที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าขั้วโลกลดปริมาณลง 

 

“ปรากฏการณ์นี้จะเกิดไม่นาน” ดร.บัตเลอร์ อธิบาย “เวลานี้ค่าความเร็วของการหมุนของโพลาร์วอร์เท็กซ์กำลังลดลง ทีมงานเราคาดว่ามันจะกลับไปหมุนตามทิศทางเดิมใน 10 วันนับจากนี้ และหากเป็นตามที่คาด การเกิด Ozone Spike ของขั้วโลกก็จะกลับสู่สภาพปกติ”

 

ที่ควรกังวลไม่ใช่เรื่องของการเคลื่อนย้ายโอโซนไปมา ที่แม้จะเกิดขึ้นแล้วแต่ก็คงอยู่ไม่นานและยังไม่ส่งผลกระทบชัดเจน แต่ที่ต้องใส่ใจคือสภาวะโลกร้อนไปเร่งสภาพเอลนีโญจนทำให้ธรรมชาติของลมขั้วโลกเปลี่ยนแปลงไปได้ สิ่งนี้บอกเราว่ามนุษย์ทุกคนยังคงต้องใส่ใจในการลดต้นเหตุของโลกร้อนให้ได้ผลในเร็ววัน ก่อนที่มันจะส่งผลลามไปถึงระบบอากาศกว้างขึ้นหรือมากขึ้นกว่านี้

 

ภาพ: Scott Olson / Getty Images

อ้างอิง: 

The post กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) กำลังหมุนกลับด้าน กระทบโลกอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
พัชรวาทส่งผู้ช่วย รมว.ทส. ลงพื้นที่ตรัง แก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม https://thestandard.co/the-problem-of-seagrass-degradation/ Wed, 20 Mar 2024 06:28:12 +0000 https://thestandard.co/?p=913260

วานนี้ (19 มีนาคม) เจ้าหน้าที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาต […]

The post พัชรวาทส่งผู้ช่วย รมว.ทส. ลงพื้นที่ตรัง แก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (19 มีนาคม) เจ้าหน้าที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบปัญหาหญ้าทะเลตายเป็นจำนวนมากจนกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่จังหวัดตรังอีกครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบริเวณเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รวมถึงตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ภาคสนาม ร่วมกับ นิติพล ผิวเหมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล, ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ ทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้า 

 

โดยในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ร่วมกันเร่งหาสาเหตุที่ชัดเจนของความเสื่อมโทรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหญ้าทะเล และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงระบบนิเวศและทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเร่งการศึกษาวิจัยด้านการฟื้นฟูและเสริมความแข็งแรงของหญ้าทะเลให้ได้มีโอกาสฟื้นฟูตัวเองโดยธรรมชาติ แต่ระหว่างการพักฟื้นนี้ ทุกภาคส่วนก็สามารถช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวได้โดยไม่สร้างมลพิษหรือภัยคุกคามเพิ่มเติมได้

 

ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงขอความร่วมมือไปยังชาวบ้านในพื้นที่ ประมงชายฝั่ง ผู้ประกอบการเดินเรือและโรงแรม ให้เดินเรือหรือสัญจรทางน้ำอย่างระมัดระวัง ไม่ทำประมงในแหล่งหญ้าทะเล งดปล่อยน้ำเสียลงในทะเล และไม่ทำการก่อสร้างที่จะก่อให้เกิดตะกอนชะล้างลงสู่ทะเล 

 

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ตนในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมเป็นการเร่งด่วน พร้อมทั้งประชุมหารือและลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เบื้องต้นพบการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในจังหวัดตรังที่เกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน ได้แก่ ระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หญ้าทะเลอ่อนแอลงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อเนื่องต่อสภาพอากาศที่รุนแรงและแปรปรวนมากขึ้น แน่นอนว่าหญ้าทะเลซึ่งเป็นระบบนิเวศหนึ่งในทะเลย่อมได้รับผลกระทบ การทับถมและการเปลี่ยนสภาพของตะกอนในแหล่งหญ้าทะเล จากการศึกษาตะกอนบริเวณท่าเทียบเรือเกาะมุก ในเบื้องต้นพบว่า ลักษณะตะกอนชั้นบนเป็นทรายละเอียดปนเลนและเปลือกหอย มีสีขาวปนเทา มีลักษณะอัดแน่นทำให้พื้นค่อนข้างแน่นแข็งไม่มีการจมตัว ตะกอนชั้นกลางเป็นชั้นทรายละเอียดอัดแน่น มีสีดำเล็กน้อยของไฮโดรเจนซัลไฟด์ พบเศษเหง้าหญ้าทะเลตายเล็กน้อย ตะกอนชั้นล่างเป็นทรายละเอียดอัดแน่น คล้ายกับตะกอนดินที่พบหญ้าทะเลตายที่เกาะลิบง 

 

ทั้งนี้ การระบาดของโรคในหญ้าทะเล หรือปัจจัยอื่นๆ ทางทีมวิจัยมีการศึกษาโรคระบาดในหญ้าทะเล หรือประเด็นเรื่องสารพิษ จากการศึกษาด้านโรคในหญ้าทะเล มุ่งเน้นการตรวจหาโรคที่เกิดจากเชื้อราเมือก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หญ้าทะเลตายเป็นบริเวณกว้างในหลายประเทศ ตัวอย่างหญ้าคาทะเลที่มีลักษณะใบกุดจากจังหวัดกระบี่ และเกาะมุก จังหวัดตรัง พบเชื้อราแท้จริงที่พบได้ทั่วไปในแหล่งหญ้าทะเลและบนใบหญ้าทะเล เนื่องจากเชื้อราที่พบมีหน้าที่สลายใบที่เน่าเสียรวมถึงซากพืชซากสัตว์ในแหล่งหญ้าทะเลตามธรรมชาติอยู่แล้ว 

 

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมถึงแม้จะพบว่ามีราเมือก แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการตายของหญ้าทะเลเป็นบริเวณกว้างนี้เกิดจากเชื้อรา ทั้งนี้ อาจมาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้หญ้าทะเลอ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น การผึ่งแห้งนานขึ้นในขณะน้ำลง จึงอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของวิกฤตดังกล่าว ด้านประเด็นเรื่องสารพิษ มีการตรวจสอบแหล่งมลพิษแล้วพบว่าไม่มีการทิ้งลงแหล่งน้ำทะเล

 

นอกจากนี้ กรมฯ ได้กำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม โดยจำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ชัดเจนก่อน หากเป็นเรื่องของการทับถมของตะกอนจากการขุดลอกร่องน้ำ ก็ต้องมีแนวทางลดผลกระทบจากการขุดลอกให้ได้ก่อนทั้งในระยะดำเนินการ และการป้องกันผลกระทบในระยะยาว อย่างไรก็ตาม จากสภาพปัญหาที่แผ่ขยายเป็นพื้นที่กว้าง โดยเริ่มมีรายงานพบหญ้าทะเลที่ใบขาดในประเทศอื่นๆ ทำให้สมมติฐานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความเป็นไปได้สูง ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาระยะแรกอาจจะเป็นการคัดเลือกและสะสมพันธุ์หญ้าทะเลที่มีความทนทานสูง โดยรวบรวมจากหลายพื้นที่ เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมของหญ้าทะเล การพัฒนาเทคนิคการลงปลูกในแหล่งธรรมชาติ เพื่อสร้างความพร้อมในการนำไปปลูกเสริมในสภาพธรรมชาติต่อไป 

 

ด้าน นิติพล ผิวเหมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมในวันนี้นับเป็นครั้งแรกที่ สส. ฝ่ายค้านพูดในสภาแล้วมีการตอบรับจากฝ่ายรัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนได้มีส่วนร่วมในวันนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายค้านได้ร่วมลงพื้นที่กับฝ่ายรัฐบาล นำโดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่เรามีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย และหลังจากนี้ตนจะนำข้อมูลในการลงพื้นที่ครั้งนี้ไปสื่อสารกับฝ่ายค้านถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่ามีความก้าวหน้าไปไกลมากแล้ว

 

 

อ้างอิง: 

  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

The post พัชรวาทส่งผู้ช่วย รมว.ทส. ลงพื้นที่ตรัง แก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวอนนักท่องเที่ยวไม่ควรเข้าใกล้กัลปังหาแดง เกาะสุกร ชี้รบกวนธรรมชาติ https://thestandard.co/dmcr-warned-avoid-red-sea-fan/ Mon, 18 Mar 2024 12:26:23 +0000 https://thestandard.co/?p=912512 กัลปังหาแดง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) แจ้งเตือนประชาชนไม่ค […]

The post กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวอนนักท่องเที่ยวไม่ควรเข้าใกล้กัลปังหาแดง เกาะสุกร ชี้รบกวนธรรมชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กัลปังหาแดง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) แจ้งเตือนประชาชนไม่ควรเข้าใกล้หรือสัมผัสกัลปังหาแดง (Sea Fan) บนเกาะสุกร เนื่องจากเป็นการรบกวนธรรมชาติ หลังมีสำนักข่าวและเพจ Facebook หลายแห่งรายงานเกี่ยวกับกลุ่มกัลปังหาแดงที่โผล่พ้นน้ำบริเวณเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง หลังน้ำทะเลลดลงต่ำสุด ซึ่งใน 1 ปีจะมีให้เห็นแค่ไม่กี่ครั้ง จนกลายเป็นอันซีนแห่งใหม่ของเกาะสุกร ซึ่งนักท่องเที่ยวได้แห่ชมความสวยงามกันเป็นจำนวนมาก

  • หวั่นการท่องเที่ยวกระทบชีวิตกัลปังหา

 

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบายว่า การที่นักท่องเที่ยวเข้าใกล้กลุ่มกัลปังหานี้โดยมีการเข้าไปสัมผัสหรือเหยียบย่ำจะทำให้เกิดการฟุ้งของตะกอน ซึ่งจะไปรบกวนการหาอาหารและการดำรงชีวิตของกัลปังหาได้ ด้วยเหตุนี้ ทช. จึงขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้ประกอบการนำเที่ยว ไม่ควรเข้าใกล้กัลปังหาแดง อันจะเป็นการรบกวนและทำลายธรรมชาติ พร้อมขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เก็บความประทับใจกลับบ้าน รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สืบไป

  • กัลปังหาคืออะไร

 

กัลปังหาคือสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง กัลปังหาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวกัลปังหา (Polyp) ที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวน 8 เส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างของกัลปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวีแล้วแต่ชนิด กิ่งโครงสร้างนี้ตัวกัลปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารจำพวกเขาสัตว์ (Keratin) ชอบอาศัยอยู่ตามที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากกระแสน้ำจะช่วยพัดพาอาหารมาให้ และจะช่วยพัดพาของเสียที่ถูกปล่อยออกจากกัลปังหาออกไป โดยกัลปังหาจะใช้หนวดในการดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเพื่อนำมาเป็นอาหาร ส่วนเข็มพิษที่หนวดจะช่วยในการจับพวกแพลงก์ตอน

  • ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับกัลปังหา

 

กัลปังหามีประโยชน์โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็กหลายชนิด โดยสัตว์เหล่านี้จะเกาะตามกิ่งก้าน แต่ด้วยการที่กัลปังหามีรูปร่างและสีสันที่สวยงามจึงเกิดค่านิยมผิดๆ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์นำมาประดับตู้ปลา นำมาใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน หรือแม้แต่นำส่วนที่เป็นแกนในสีดำมาทำเป็นเครื่องรางของขลัง เครื่องประดับ 

 

ชาวจีนโบราณมีความเชื่อว่ากัลปังหาเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่สามารถรับรองได้เลยว่ากัลปังหามีสรรพคุณที่ใช้ในการรักษาโรคได้จริงตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ 

 

อีกทั้งในระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้น สิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การทำลายหรือย้ายกัลปังหาจากแหล่งที่อยู่เดิมถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เพราะเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้สัตว์น้ำขนาดเล็กไม่มีที่หลบสัตว์นักล่า จึงไม่สามารถเจริญเติบโตและอาจสูญพันธุ์ได้ 

 

นอกจากนี้ กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลที่เจริญเติบโตค่อนข้างช้า บางชนิดอาจใช้เวลาเป็นร้อยปีในการเติบโตเพียงแค่ 1 ฟุต และในหนึ่งต้นนั้นมีตัวกัลปังหาอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการทำลายกัลปังหาหนึ่งต้นเท่ากับทำลายตัวกัลปังหาหลายหมื่นหลายแสนตัว และเป็นการทำลายระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วย

  • กัลปังหาเป็นสัตว์คุ้มครอง ครอบครอง-ค้าขาย ถึงติดคุก

 

กัลปังหาเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง ทำการค้าขาย หรือนำเขา-ส่งออกโดยเด็ดขาด (ทั้งที่ยังมีชีวิตหรือเป็นซาก) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงห้ามครอบครอง เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครอง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท

 

ภาพ: มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

อ้างอิง: 

  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

The post กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวอนนักท่องเที่ยวไม่ควรเข้าใกล้กัลปังหาแดง เกาะสุกร ชี้รบกวนธรรมชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
NOAA เตือนโลกจ่อเจอปะการังฟอกขาวครั้งมโหฬารรอบที่ 4 https://thestandard.co/noaa-warn-massive-coral-bleaching/ Fri, 15 Mar 2024 09:38:10 +0000 https://thestandard.co/?p=911610

หน่วยงานองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหร […]

The post NOAA เตือนโลกจ่อเจอปะการังฟอกขาวครั้งมโหฬารรอบที่ 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>

หน่วยงานองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ชี้ โลกเสี่ยงที่จะเจอกับเหตุปะการังฟอกขาวครั้งมโหฬารรอบที่ 4 ซึ่งเป็นหายนะที่อาจทำให้แนวปะการังเขตร้อนตายเป็นวงกว้าง รวมถึงแนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลียด้วย

 

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลต่างจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์ที่อาจสร้างหายนะให้กับโลกใต้ทะเล หลังช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีการตรวจพบว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลพวงจากภาวะโลกรวนและปรากฏการณ์เอลนีโญ

 

เดเร็ก แมนเซลโล นักนิเวศวิทยาและผู้ประสานงานประจำองค์กร Coral Reef Watch ภายใต้สังกัดของ NOAA กล่าวว่า “ดูเหมือนว่าซีกโลกใต้ทั้งหมดมีแนวโน้มที่จะเผชิญเหตุปะการังฟอกขาวในปีนี้” และย้ำด้วยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นการฟอกขาวครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

 

บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าสังเกตการณ์ต่างกังวลว่า เหตุปะการังฟอกขาวที่จ่อเกิดขึ้นในปี 2024 จะเลวร้ายกว่าสถานการณ์ครั้งก่อนหน้า โดยเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ทั่วโลกครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นระหว่างปี 2014-2017 ในขณะนั้นแนวปะการัง Great Barrier Reef สูญเสียปะการังไปเกือบ 1 ใน 3 และหากดูในภาพรวมแล้ว โลกสูญเสียปะการังไปถึง 15% จากเหตุการณ์ครั้งนั้น

 

สำหรับสถานการณ์ในไทยนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) คาดการณ์ว่า อาจเกิดปะการังฟอกขาวในประเทศไทยในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2024 โดยระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งขอความร่วมมือไปยังประชาชนให้ช่วยแจ้งข่าวหากพบเห็นการเกิดปะการังฟอกขาว ผ่านเว็บไซต์ https://thailandcoralbleaching.dmcr.go.th/th ซึ่ง ทช. จะติดตามและแจ้งข่าวสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

ภาพ: Alexis Rosenfeld / Getty Images

อ้างอิง:

The post NOAA เตือนโลกจ่อเจอปะการังฟอกขาวครั้งมโหฬารรอบที่ 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องแผนหยุดการละลาย​ของ ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้น​โลก​’ ด้วยงบ​ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ https://thestandard.co/saving-doomsday-glacier/ Sun, 10 Mar 2024 05:08:57 +0000 https://thestandard.co/?p=909346 ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก

คำว่า ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้นโลก’ หรือ Doomsday Glacier เป็ […]

The post ส่องแผนหยุดการละลาย​ของ ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้น​โลก​’ ด้วยงบ​ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก

คำว่า ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้นโลก’ หรือ Doomsday Glacier เป็นฉายาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเรียก ‘ธารน้ำแข็ง​ทเวตส์’ (Thwaites Glacier) ที่ขั้วโลก​ใต้ เพื่อเน้นย้ำให้ผู้คนหันมาสนใจ

 

ธารน้ำแข็งทเวตส์นี้กำลังละลายอย่างรวดเร็ว​จากน้ำทะเลที่เริ่มอุ่นขึ้น ซึ่งเป็น​ผลมาจากวิกฤต​โลก​ร้อน​

 

ด้วยปริมาณน้ำแข็ง​ที่มีพื้นที่กว้างเท่าเกาะอังกฤษ​ของ ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้นโลก’ นี้ เมื่อละลายหมดน้ำทะเล​ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 65 เซนติเมตร​

 

 

65 เซนติเมตรก็มากเพียงพอที่จะท่วมมหานครริมชายฝั่งเกือบทั่วโลกแล้ว ส่งผลให้ผู้คนกว่า 97 ล้านคนต้องเดือดร้อน และที่ร้ายแรงกว่านั้น เมื่อธารน้ำแข็ง​ทเวตส์ละลายหมด จะเปิดทางให้น้ำอุ่นในทะเลไหลเข้าไปก่อปัญหาให้ธารน้ำแข็งอื่นๆ บริเวณใกล้เคียงละลายตาม และเมื่อเป็นแบบนั้น น้ำทะเลทั่วโลกอาจจะเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 3 เมตร นี่คือหายนะวันสิ้นโลกอย่างแท้จริง ตามฉายาที่ตั้งไว้เรียกธารน้ำแข็งที่เป็นกุญแจสำคัญนี้

 

ไอเดียในการแก้ปัญหา

 

จอห์น มัวร์ (John Moore) นักธรณีวิทยาและนักวิจัยวิศวกรรมธรณีวิทยาที่มหาวิทยาลัยแลปแลนด์ และทีมงาน แนะนำไอเดียที่ค่อนข้างฟังดูแปลก นั่นคือเราต้องลงทุนสร้าง ‘ม่านใต้ทะเล’ ยาวไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร เพื่อปกป้อง ‘ธารน้ำแข็ง​ทเวตส์’ จากกระแสน้ำอุ่น

 

นี่คือการแก้ปัญหาเชิงรุก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ โดยโต้แย้งว่า มีเพียงการลดการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นวิธีตั้งรับวิธีเดียวที่จะชะลอการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกได้

 

 

แต่ทีมงานของมัวร์เชื่อว่า มนุษย์ไม่มีทางลดการปล่อยคาร์บอนได้ทันการละลายของธารน้ำแข็ง ตั้งแต่ปี 2000 ที่ผ่านมา ธารน้ำแข็ง​ทเวตส์ละลายปล่อยน้ำออกสู่ทะเลแล้วกว่า 1,000 ล้านตัน และอัตราการละลายก็เร็วขึ้นเรื่อยๆ

 

เราต้องทำงานแข่งกับเวลา

 

ข้อมูลที่เชื่อถือได้บอกเราว่า น้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลายในอัตราเร็วที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากพวกเราจะมามัวแต่หาข้อมูลว่าน้ำแข็งในแหล่งต่างๆ จะละลายหมดในปีไหนเป็นที่แน่นอนนั้น ทีมงานของมัวร์เชื่อว่า คงเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไปในหมู่นักธารน้ำแข็งวิทยา แต่สำหรับทีมงานของเขา แน่นอนว่าการเสนอวิธีแก้ปัญหาเชิงรุกคือทางออกที่เหมาะสมกว่าในเวลาที่เหลือน้อยลงเรื่อยๆ

 

แนวคิดการสร้าง ‘ม่านใต้ทะเล’ ของ จอห์น มัวร์ ไม่ใช่ของใหม่ เคยมีไอเดียแปลกเมื่อหลายปีก่อนที่จะสร้าง ‘เขื่อน’ ใต้ทะเลในการป้องกันกระแสน้ำอุ่นไม่ให้ไปก่อปัญหากับธารน้ำแข็ง แต่ ‘ม่านใต้ทะเล’ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่นี้ ทีมงานของมัวร์เชื่อว่าน่าจะดีกว่ากำแพงหินแข็งในทุกๆ ด้าน

 

“ม่านใต้ทะเลมีประสิทธิภาพในการปิดกั้นกระแสน้ำอุ่นพอๆ กับกำแพง แต่จะง่ายกว่ามากในการรื้อออกไปหากจำเป็น ตัวอย่างเช่น หากม่านส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างไม่คาดคิด เราก็สามารถรื้อมันออกได้ทันที” มัวร์อธิบาย

 

“เรากำลังเร่งมืออย่างเต็มที่ ระบบต้นแบบกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและทดสอบจากทีมงานในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เราจะเร่งสู่ขั้นตอนต่อไปประมาณกลางปีหน้า

 

“เราทดสอบต้นแบบในแท็งก์น้ำขนาดเล็กในมหาวิทยาลัย จากนั้นหากเราพบว่ามันทำงานได้ตามที่เราคิด ก็จะเอาลงไปติดตั้งไว้ที่ก้นแม่น้ำแคม (River Cam) โดยเราจะทดสอบทั้งในแบบติดตั้งอยู่นิ่งๆ กับที่ และเราจะลาก ‘ม่าน’ นี้ไปกับเรือ

 

“แนวคิดคือการค่อยๆ ขยายขนาดต้นแบบจนกว่าหลักฐานจะบ่งชี้ว่าเทคโนโลยีมีความเสถียรเพียงพอที่จะติดตั้งในแอนตาร์กติก” มัวร์กล่าวถึงขั้นตอนการทดสอบ

 

ต้นแบบในการทดลองนี้มีมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ และการขยายขนาดเพื่อไปถึงจุดที่ทีมงานของมัวร์กล้าที่จะยืนยันว่าเทคโนโลยีทำงานได้จริง ก็ต้องใช้งบ 10 ล้านดอลลาร์ ส่วนเวอร์ชันติดตั้งจริงที่ก้นทะเลขั้วโลกใต้ในอนาคตต้องการงบประมาณมหาศาลถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ 

 

“ฟังดูอาจคิดว่าแพง” จอห์น มัวร์ กล่าว “แต่หากเราไม่ทำอะไร ต้นทุนในการรักษาชายฝั่งทั่วโลกก็คือ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีต่อเมตรของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น”

 

ก็ดูเป็นแนวคิดล้ำหน้าสุดโต่งของทีมนักวิทยาศาสตร์ทีมนี้ แต่เชื่อว่าแนวคิดในการแก้ปัญหาเชิงรุกแบบนี้ก็เป็นเหตุผลที่ดีที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ จะหันมาให้ความสนใจ เพื่อเมื่อถึงเวลาที่สภาพโลกร้อนถึงขั้นเลวร้ายจริง งบประมาณที่ทุกประเทศต้องใช้ในการแก้ปัญหาของตัวเองรวมแล้วน่าจะมากเกินไปกว่านี้มาก

 

ภาพ: Reuters

อ้างอิง:

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post ส่องแผนหยุดการละลาย​ของ ‘ธารน้ำแข็ง​วันสิ้น​โลก​’ ด้วยงบ​ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>