THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ค่าเงินเยน
EXCLUSIVE CONTENT

‘เงินเยน’ อ่อนต่อเนื่อง อาจผลักดัน BOJ ขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น

... • 1 เม.ย. 2024

HIGHLIGHTS

5 min read
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะฝั่ง DM ยังแกร่งกว่าฝั่ง EM นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ได้ผลบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี 
  • PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคบริการชะลอลงนั้น สะท้อนถึงวัฏจักรภาคการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น 
  • กรณีค่าเงินเยนอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลายฝ่ายมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ BOJ เป็นการขึ้นครั้งเดียวและไม่ขึ้นต่อ (One and Done) ทำให้ปริมาณการเก็งกำไรด้วยการ Short ค่าเงินเยนอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี 
  • อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า หากเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่องทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อญี่ปุ่นสูงขึ้น อาจมีความเป็นไปได้ที่ BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกได้

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะฝั่ง DM ยังแกร่งกว่าฝั่ง EM นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ได้ผลบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี แม้กรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) บางรายจะให้มุมมองว่าการลดดอกเบี้ยอาจช้าและน้อยกว่าคาดการณ์ของตลาด 

 

กลุ่มที่อ้างอิงกับเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นได้ดี เช่น กลุ่มธนาคาร และพลังงาน ขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีมีแรงขายทำกำไรหลังปรับขึ้นแรง และความกังวลในประเด็นการตอบโต้จากฝั่งจีน ทั้งนี้ สำหรับ 1Q24 ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 10% และทำจุดสูงสุดใหม่ และปรับขึ้นดีกว่าดัชนี Nasdaq ส่งสัญญาณว่าตลาดเริ่มหันไปมองในหุ้นกลุ่มอื่นนอกเหนือจากกลุ่มเทคโนโลยี 

 

ด้านตลาดหุ้น EM ค่อนข้างทรงตัว โดยตลาดหุ้นเกาหลีและไต้หวันยังปรับตัวขึ้น แต่ถูกชดเชยจากตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงที่ลดลง ท่ามกลางค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่ที่อ่อนค่า ส่งผลให้เงินไหลออกจากภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมา 

 

ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงเล็กน้อย หลังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ ตลาดน้ำมันปรับตัวได้ดีในสัปดาห์นี้ ปัจจัยบวกยังมาจากความกังวลอุปสงค์ชะลอตัวที่ผ่อนคลายลงทั้งจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง และฝั่งอุปทานยังได้ผลบวกจากการปรับลดการผลิตของ OPEC+ ต่อเนื่องไปถึง 2Q24 อีกทั้งยังมีปัจจัยด้านสงคราม ทำให้ IEA ประเมินตลาดน้ำมันกลับเป็นขาดแคลนในช่วงที่เหลือของปี 

 

ภาคการผลิตสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว สวนทางภาคการบริโภค

 

ในประเด็นด้านดัชนี Composite Flash PMI นั้น บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคบริการชะลอลงนั้น สะท้อนถึงวัฏจักรภาคการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคบริการและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเริ่มชะลอลงในระยะต่อไป สวนทางกับยุโรปที่ PMI ภาคการผลิตยังลดลง แต่ภาคบริการฟื้นตัว บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อที่ลดลงเร็วทำให้ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น ดังนั้นดัชนีย่อยด้านราคาที่เพิ่มขึ้นจึงยังต้องติดตามปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด

 

ในประเด็นค่าเงินเยนอ่อนค่าต่อเนื่องนั้น เราวิเคราะห์ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลายฝ่ายมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นการขึ้นครั้งเดียวและไม่ขึ้นต่อ (One and Done) และทำให้ปริมาณการเก็งกำไรด้วยการ Short ค่าเงินเยนอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี 

 

อย่างไรก็ตาม เรามองว่าหากเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่องทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อญี่ปุ่นสูงขึ้น อาจมีความเป็นไปได้ที่ BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกได้ 

 

ในส่วนการส่งออกไทยที่ขยายตัวชะลอลงนั้น บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า 

 

  1. การส่งออกสินค้าสำคัญที่เราเคยเป็น Product Champion หดตัว เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ บ่งชี้ถึงความสามารถในการผลิตของไทยที่อาจไม่ตอบสนองต่อความต้องการของโลกที่เปลี่ยนไป 
  2. สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่กลับมาหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผลไม้สดและแช่แข็ง 
  3. การตีตลาดจากจีน 

 

“ภาพดังกล่าวทำให้เรายังคงประมาณการการส่งออกทั้งปีที่ -0.10%” 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้นเก็งกำไรหลังราคาน้ำมันดิบ Brent ที่จะปรับเพิ่มขึ้น แนะนำ Trading PTTEP และ TOP 
  2. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เลือก GFPT, KCE, SCGP, IVL และ PTTGC
  3. หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่จะดีขึ้นตามผลฤดูกาล เนื่องจากกำลังเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย ซึ่งในปีนี้รัฐบาลประกาศจัด 21 วัน เริ่มวันที่ 1-21 เมษายนนี้ (ทั้งนี้ จากข้อมูลในอดีต 13 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือนเมษายน เฉลี่ยราว 2.50%MoM) เลือก AOT, ERW และ CPALL
  4. หุ้นเก็งกำไรจากภาวะดอกเบี้ยที่จะกำลังปรับตัวลง โดยเฉพาะหากอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนมีนาคมยังรายงานมาอยู่ในระดับต่ำ เลือกกลุ่มไฟแนนซ์ (TIDLOR), กลุ่มสาธารณูปโภค (GULF) และกลุ่มขนส่ง (AOT)

 

“ช่วงสั้นมองตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสฟื้นตัวได้ จากความคาดหวังเชิงบวกที่มีต่อดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนและสหรัฐฯ จะฟื้นตัว รวมทั้งคาดว่าการส่งออกของไทยจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง นอกจากนั้นเงินเฟ้อของไทยคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่จะคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ กลยุทธ์การลงทุนจึงเน้นไปที่ Macro Play”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. อัตราเงินเฟ้อของไทย 
  2. อัตราเงินเฟ้อขั้นต้นของยูโรโซน 
  3. ตัวเลขแรงงานของสหรัฐฯ
  4. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการโดย ISM ของสหรัฐฯ เดือนมีนาคม ตลาดคาดว่าส่วนของภาคการผลิตจะดีขึ้น ขณะที่ภาคบริการชะลอลง

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: AOT - รับผลบวกเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ไทย

แนะนำ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ประกอบธุรกิจท่าอากาศยานรายใหญ่ที่สุดในไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 90% ของจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั้งหมด โดยมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศสูงสุดในกลุ่ม จึงคาดว่าการฟื้นตัวที่ชัดเจนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะช่วยหนุนผลการดำเนินงานให้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 
  • กำไรปกติ 2QFY24 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2024) คาดว่าจะเติบโต YoY และ QoQ เพราะเข้าสู่ High Season ของธุรกิจท่องเที่ยวไทย ขณะที่ในเดือนเมษายนมองว่ามีปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นจากบรรยากาศท่องเที่ยวไทยที่คาดว่าจะกลับมาคึกคักมากขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย ซึ่งในปีนี้รัฐบาลประกาศจัด 21 วัน เริ่มวันที่ 1-21 เม.ย. นี้ 
  • มองกำไรกำลังกลับคืนสู่แนวโน้มขาขึ้น โดยปี FY2024 คาดว่ากำไรปกติจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสู่ 2.3 หมื่นล้านบาท อ้างอิงจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศที่ 75.6 ล้านคน (90% ของระดับก่อนเกิดโควิด-19) 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 80 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.20% และอัตราเติบโตระยะยาว 2%) และคาดว่ามีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี FY2024 หุ้นละ 0.82 บาท คิดเป็น Dividend Yield 1.30%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณฟื้นตัวในระยะสั้น สะท้อนจากตัวเลขกำไรและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ล่าสุดทางการจีนจำกัดการนำเข้าชิป PC จากสหรัฐฯ สนับสนุนการผลิตในประเทศ แต่ขณะเดียวกันกลับเพิ่ม Geopolitical Risk กดดันการฟื้นตัวระยะยาว รวมถึงพิจารณาร่วมกับความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การลงทุนในจีนอาจผันผวนได้

 

  • กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมจีนในช่วง 2M24 ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี โดยขยายตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ 10.20%YoY และมีการขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 ซึ่ง 29 อุตสาหกรรม จาก 41 อุตสาหกรรมในจีนมีกำไรเพิ่มขึ้น นำโดยกลุ่ม Automotive เสื้อผ้า อาหาร และการสื่อสาร 
  • ในทิศทางเดียวกัน การผลิตในจีนช่วง 2M24 มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น 15%YoY ซึ่งเรามองว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์ที่ล่าสุดทางการจีนได้ออกมาตรการจำกัดการนำเข้าชิป PC ที่ผลิตในสหรัฐฯ สำหรับการใช้ในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล ซึ่งเป็นภาพคล้ายกันกับมาตรการก่อนหน้าที่ภาครัฐของจีนมีการจำกัดการใช้งานสมาร์ทโฟนจาก Apple และให้หันไปใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศแทน
  • ภาพรวมนี้ทำให้เราประเมินได้ว่าเศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีในระยะสั้น ขณะที่มองว่าปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวคือ 1. ภาพ Geopolitical Risk ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ยังคงดำเนินต่อเนื่อง, 2. ความเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์จีน ซึ่งทำให้เรามองว่าการลงทุนในจีนยังคงมีความผันผวนอยู่ ประกอบกับหากมองในเชิงมาตรการจำกัดการนำเข้าชิปของจีนนั้น เรามองว่าอาจจะต้องระมัดระวังหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ผลิตชิปสำหรับ PC และมียอดขายที่มาจากจีนเยอะ อย่างเช่น Intel, AMD, IBM, DELL, HP

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สภาพคล่องหรือเงินสดมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่สูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ หลัง Composite PMI ของสหรัฐฯ ยังอยู่เหนือ 50 นอกจากนี้ สภาพคล่องยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอยู่ หลังรัสเซียได้ถล่มขีปนาวุธใส่โครงสร้างพื้นฐานพลังงานของยูเครน

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ค่าเงินเยน

 

เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าคาดว่าจะทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงยังคงยืดระยะออกไป ‘Higher for Longer’ และ Yield ระยะยาวน่าจะยืนอยู่ระดับที่สูงอีกสักระยะ ทั้งนี้ เราชอบ Carry Trade ใน Treasuries ระยะสั้น โดยเฉพาะระยะ 2-4 ปี จาก Carry Yield ที่สูงกว่าตัวยาวจากภาวะ Inverted Yield Curve ส่วน TGB Yield Curve ยังคง Flattening ต่อเนื่อง โดย 2-10 Spread ลดลงเหลือเพียง 36 จุด

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

US IG Spread ยังทรงตัวในระดับต่ำมาก (บ่งชี้ถึงระดับราคาที่แพง) แต่ YTW ยังยืนอยู่ระดับ 5.28-5.48% ซึ่งเป็นระดับที่ยังดึงดูดให้บริษัทประกันชีวิตและกองทุนบำเหน็จบำนาญเพิ่มน้ำหนักการลงทุน และสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนใน IG ยังคงเพิ่มขึ้น ส่วน Interest Coverage Ratio ทรงตัวในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และตัวเลขหลังประกาศงบ 4Q2023 บ่งชี้ถึง Balance Sheet ที่ยังแข็งแกร่งในกลุ่ม IG Issuers 

 

OAS Spread ตึงตัวขึ้นมาก แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขาลงช่วยลดแรงกดดันต่อกระแสเงินสด และลดความตึงตัวในงบดุลของกิจการ ทำให้ราคาสินทรัพย์มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ Valuation ที่ตึงตัวจะเพิ่มความเสี่ยงที่ราคาจะผันผวนในระยะกลาง ทั้งนี้ แม้ Default Rate จะยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่กำหนดการครบกำหนดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปลายปี 2024 และจะเร่งตัวตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

สามปัจจัยที่ยังส่งแรงบวกต่อตลาดหุ้น 1. การคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2024-2026 ที่ปรับประมาณการขึ้นอย่างต่อเนื่อง, 2. ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และ Wage Growth เริ่มเข้าสู่สมดุล และ 3. กำไรกิจการในหุ้นกลุ่ม Quality อย่าง Tech, Communication Service และ Consumer Discretionary ยังดี แต่ Valuation (NTM P/E = 21.2x) เทียบคาดการณ์ EPS Growth ยังดูไม่คุ้มความเสี่ยง (10.60%YoY สิ้นปี 2024) 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Consensus คาด STOXX 600 EPS ปี 2024 จะขยายตัว 6.60%YoY (โดยที่มีแนวโน้มขยายตัวดีในช่วง 2H2024) ขณะที่ Valuation ยังไม่แพง และมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ รวมทั้งโมเมนตัมเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงลดลง แม้ว่าความไม่แน่นอนด้านนโยบายจากการเลือกตั้งในยุโรปยังมีอยู่ก็ตาม

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ค่าเงินเยน

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นมามากในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ Valuation ตึงตัวมากขึ้น ขณะที่ BOJ ได้ทยอยลดการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้เงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่า และ JGB Yield เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การที่ BOJ ยุติการเข้าซื้อ ETF จะเพิ่มความกังวลให้นักลงทุนเกี่ยวกับแนวโน้มการทยอยขาย ETF ออกมาของ BOJ ตามมา

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เราคาดว่าทางการจีนอาจยังไม่รีบเร่งออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมอย่างมีนัยในการประชุม Politburo เดือนเมษายน ตามที่ GDP ใน 1Q2024 ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี และแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมา ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ยังดำเนินต่อ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคง อาจจำกัดการเพิ่มขึ้นต่อของดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวจากโมเมนตัมเศรษฐกิจในภาคการลงทุนและการผลิตที่เริ่มดีขึ้น จากเงินเฟ้อจีนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และจากการซื้อหุ้นคืนที่มากขึ้น ขณะที่ Valuation ที่ยังน่าสนใจ จึงทำให้ความเสี่ยงขาลงจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาททางเทคโนโลยีที่ยังมีอยู่อาจจำกัด Upside ของดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ค่าเงินเยน

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนตามแนวโน้มการส่งออกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการธุรกิจในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่คิดเป็นน้ำหนัก 39% บนดัชนีฯ ได้รับอานิสงส์ แม้ในระยะสั้นดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป (10 เมษายน 2024) ที่อาจส่งผลถึงความไม่แน่นอนบนการผลักดันนโยบาย Corporate Value Up หลังพรรคฝ่ายค้านกลับขึ้นมามีคะแนนนิยมแซงหน้าอีกครั้ง

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ค่าเงินเยน

 

ดัชนีฯ ยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบ เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่เข้ามาหนุนในระยะสั้น กอปรกับหุ้นกลุ่มพลังงานยังได้รับปัจจัยกดดันระยะสั้นจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด อย่างไรก็ตาม เรามองเชิงบวกต่อดัชนีฯ ในระยะยาว จากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนเมษายนนี้ จะช่วยหนุนเงินทุนไหลเข้า การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่จะเริ่มเดือนพฤษภาคม

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ ได้รับปัจจัยกดดันจากค่าเงินรูเปียห์ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากภาคการส่งออกที่หดตัวลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ในช่วง 2M2024 ยอดเกินดุลการค้าของอินโดนีเซียหดตัวลงราว 70%YoY มาที่ระดับ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจที่เติบโตดีในระยะยาว การเติบโตของสินเชื่อที่ยังแข็งแกร่ง กอปรกับความต้องการจัดหาเงินทุนที่เพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคาร

 

ตลาดหุ้นอินเดีย

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ค่าเงินเยน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี แต่ Valuation แพงเมื่อเทียบกับอดีตและเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค ดัชนีฯ สะท้อนข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งไปพอสมควร และตามสถิติในอดีตบ่งชี้ว่าดัชนีฯ มักจะพักฐานในช่วง 1-2 เดือนก่อนการเลือกตั้ง เพื่อรอความชัดเจน

 

ก.ล.ต.อินเดียคุมเข้มการซื้อขายหุ้นขนาดกลางและเล็ก กดดัน Sentiment การลงทุน เราแนะนำให้ ‘ทยอยขายทำกำไร’ และรอหาจังหวะเข้าสะสมหลังการเลือกตั้งผ่านพ้น

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ค่าเงินเยน

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะการส่งออก นอกจากนี้ แนวโน้มการไหลเข้าของ FDI ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคมพบว่า ในช่วง 1Q2024 เพิ่มขึ้น +13.40%YoY อย่างไรก็ตาม จับตาความเสี่ยงบนการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ที่กระจุกตัวค่อนข้างมากใน 2Q2024 นอกจากนี้ ดัชนีฯ อาจเผชิญความผันผวนในระยะสั้น ท่ามกลางการซื้อขายบน Margin โดยนักลงทุนรายย่อยที่เพิ่มขึ้น

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ว่า IEA ปรับการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้น แต่เราคาดว่าจะเห็นภาวะอุปทานตึงตัวขึ้นใน 2Q2024 ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันสามารถปรับตัวขึ้นได้ในช่วงสั้น โดยเรามองกรอบของราคาน้ำมัน WTI อยู่ที่ระดับ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐ (ราคา WTI ณ วันที่ 28 มีนาคม 2024 อยู่ที่ 82 ดอลลาร์สหรัฐ โดย Upside จะถูกจำกัดจาก Spare Capacity ที่อยู่ในระดับสูง และมีโอกาสจะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ Supply Shock)

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

การเติบโตทางเศรษฐกิจในรายงาน SEP ของ FOMC ที่ออกมาดีกว่าที่ก่อนหน้านี้ตลาดคาดการณ์มาก อาจทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ถูกเลื่อนออกไปหรือช้ากว่าที่ก่อนหน้านี้คาดไว้ กดดันต่อราคาทองคำในระยะสั้น เราแนะนำให้ถือทองคำในฐานะสินทรัพย์ในการกระจายความเสี่ยง และไว้ป้องกันความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่คาดว่าจะสูงขึ้นในปีนี้ ที่มีการเลือกตั้งในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

DM REITs ปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากมุมมองเชิงบวกต่อการลดดอกเบี้ยของ Fed ในช่วง 2H2024 อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ออกมาต่ำกว่าคาด และปรับตัวลงต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ยังเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนในระยะสั้น กอปรกับเมื่อพิจารณาจาก Dividend Yield Spread ของ US REITs ที่ยังแคบ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง จึงยังไม่น่าสนใจลงทุน

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

REITs ไทยมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบแคบ และมีมูลค่าการซื้อขายที่ต่ำ จึงยังไม่น่าสนใจลงทุน แม้ว่าจะมี Dividend Yield Spread ที่กว้างขึ้นจาก Thailand 10-Year Bond Yield ที่ปรับตัวลง ขณะที่ REITs สิงคโปร์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากงบดุลและคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่งขึ้น กอปรกับภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลบวกต่อการปรับขึ้นค่าเช่า โดยเฉพาะภาค Shopping Mall ที่มีอัตราการเช่าและค่าเช่าที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามีมุมมอง Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหน้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

มีมุมมองบน Private Equity เป็น Neutral อัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดและมีแนวโน้มลดลงส่งผลให้แรงกดดันด้าน Discount Rate ที่มีต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ลดลง 

ขณะที่มีมุมมอง Private Real Estate เป็น Slightly Negative เนื่องจากหลายกองทุนยังมีการบังคับใช้การระงับการไถ่ถอนกองทุนอยู่

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 1 เม.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories