THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

นานไปหรือไม่? จีนอาจใช้เวลา 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย กว่าจะรอดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์

... • 27 พ.ค. 2024

HIGHLIGHTS

  • เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกผันผวน -0.8%WoW ปัจจัยบวกยังมาจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่ง แต่ก็ถูกหักล้างจากปัจจัยลบคือ รายงานประชุม Fed ที่ Hawkish กว่าที่คาด
  • อย่างไรก็ตาม การส่งสัญญาณครั้งนี้ค่อนข้าง Hawkish โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยนั้นน่าจะเร็วเกินไป เพราะเงินเฟ้อเป็นฝั่ง Supply เป็นหลัก โอกาสขึ้นดอกเบี้ยจึง ‘ต่ำมาก’ 
  • ส่วนมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่ธนาคารกลาง (PBOC) จะจัดตั้งกองทุนเข้าซื้อบ้านคงค้างนั้น จะช่วยรับอุปทานส่วนเกินของตลาดบ้านได้บ้าง โดยอินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า จีนน่าจะต้องใช้เวลา 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย จึงจะพ้นจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ได้

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกผันผวน -0.8%WoW โดยปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยบวกยังมาจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ถูกหักล้างจากปัจจัยลบ ได้แก่ รายงานประชุม Fed ที่ Hawkish กว่าที่ตลาดประเมิน โดยส่งสัญญาณดอกเบี้ยจะสูงยาวนานขึ้น (Higher for Longer) และมีการพูดถึงสัญญาณเงินเฟ้อ หากคุมไม่อยู่อาจต้องขึ้นดอกเบี้ย ทำให้โอกาสในการลดดอกเบี้ยครั้งแรกเลื่อนเป็นเดือนพฤศจิกายน และผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ ปรับขึ้นเป็น 4.5% 

 

ด้าน ECB ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนมิถุนายน พร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อจะปรับลงสู่ระดับ 2% 

 

ด้านตลาด EM ปรับลดลง -0.8% เช่นกัน หลังขึ้นมาแรงช่วงก่อนหน้า โดยรัฐบาลจีนประกาศนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยขั้นต่ำ, ลดเงินดาวน์สินเชื่อที่อยู่อาศัย และ PBOC เตรียมตั้งกองทุนมูลค่า 3 แสนล้านหยวน หรือ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อบ้านที่ขายไม่ออก และจะถูกแปลงเป็นที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง 

 

ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงแม้ GDP 1Q24 จะออกมาสูงกว่าคาด, ผลประกอบการ 1Q24 จะส่งสัญญาณฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยกดดันมาจากความกังวลด้านการเมือง หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องวินิจฉัยสถานะนายกรัฐมนตรี ด้านราคาน้ำมันอ่อนตัวลงจากความกังวลดอกเบี้ยสูงยาวนานจะกระทบอุปสงค์ และสต็อกน้ำมันที่เพิ่มมากกว่าคาด

 

โอกาส Fed ขึ้นดอกเบี้ย ‘มีต่ำมาก’

 

ในส่วนของรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่ส่งสัญญาณดอกเบี้ยจะสูงยาวนานขึ้น (Higher for Longer) รวมถึงมีคณะกรรมการบางท่านมองว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยนั้น 

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมก่อนที่ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุด (ที่ชะลอลงหลังจากสูงเกินคาดติดต่อกันมา 3 เดือน) จะประกาศ แต่ FOMC ก็ส่งสัญญาณชัดเจนว่า FOMC กังวลความเสี่ยงเงินเฟ้อมากขึ้น และมองว่าจะต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่จะเชื่อได้ว่าเงินเฟ้อจะกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% จริง 

 

อย่างไรก็ตาม มองว่าการส่งสัญญาณครั้งนี้ค่อนข้าง Hawkish โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยนั้นน่าจะเร็วเกินไป เพราะจากการวิเคราะห์ของเรา เงินเฟ้อเป็นฝั่ง Supply เป็นหลัก ซึ่งหากไม่เกิดสงครามรุนแรงจนนำไปสู่ Demand-Pull Inflation แล้วนั้น โอกาสขึ้นดอกเบี้ย ‘ต่ำมาก’ ฉะนั้นในมุมมองของเรา ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จะสามารถลดลงได้ 2 ครั้งในปีนี้ โดยเริ่มในเดือนพฤศจิกายน ท่ามกลางเงินเฟ้อที่จะเริ่มลดลงในช่วงต้นไตรมาส 4 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่จะชะลอลงต่อเนื่อง

 

จีนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าจะรอดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ 

 

ในส่วนมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่ธนาคารกลาง (PBOC) จะจัดตั้งกองทุนเข้าซื้อบ้านคงค้าง (ซึ่งมีขนาดประมาณ 10% ของมูลค่าบ้านคงค้างทั้งประเทศ) นั้น จะช่วยรับอุปทานส่วนเกินของตลาดบ้านได้บ้าง โดยน่าจะเข้าซื้อในโครงการของผู้ประกอบการที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่รัฐบาลมีหุ้นส่วนอยู่ ซึ่งมาตรการดังกล่าวประกอบกับรูปแบบของการปรับโครงสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์จีนในอดีต (ในช่วงปี 2015-2017) ทำให้เรามองว่าจีนน่าจะต้องใช้เวลา 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย จึงจะพ้นจากวิกฤตอสังหาได้ 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เลือก KCE, SCGP และ PTTGC

 

2. หุ้นที่คาดว่า 2Q67 กำไรจะยังสามารถเติบโตทั้ง YoY และ QoQ อีกทั้ง Valuation ยังไม่แพง เลือก MINT, ADVANC, TU, BEM, CPF, BTG, OSP และ TILDOR

 

3. หุ้นที่สามารถลดความผันผวนและเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีความไม่สงบในตะวันออกกลาง เลือกหุ้นน้ำมันขั้นต้นอย่าง PTTEP

 

“ช่วงสั้นมอง SET ยังแกว่งตัวในกรอบ โดยในประเทศติดตามการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม และตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศมองว่ายังมีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ปัจจัยต่างประเทศอย่างดัชนี PCE เดือนเมษายน ของสหรัฐฯ มองว่าน่าจะสะท้อนอยู่ในราคาไปแล้ว และดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น นอกจากนั้นผลประกอบการ 1Q67 ทั่วโลกยังออกมาค่อนข้างดี ซึ่งแม้ภาพรวมผลประกอบการของ บจ.ไทย จะเติบโตได้น้อยใน 1Q67 แต่คาดว่า 2Q67 จะมีผลประกอบการที่เติบโตดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะหนุนการปรับตัวขึ้นของ SET Index ได้ตั้งแต่ 3Q67”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินของไทยเดือนเมษายนโดย ธปท. 

2. อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือนพฤษภาคม ตลาดคาดการณ์อยู่ที่ 2.5% เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเมษายนที่ 2.4% 

3. ดัชนีราคา Core PCE ของสหรัฐฯ เดือนเมษายน ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 2.7%YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนมีนาคมที่ขยายตัว 2.8% 

4. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและนอกภาคการผลิตของจีนเดือนพฤษภาคม ตลาดคาดว่าจะลดลงจากตัวเลขเดือนเมษายน

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BCH - กำไรจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 2H24 

 

แนะนำ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีความแข็งแกร่งในตลาดผู้ป่วยเงินสดที่มีรายได้ระดับกลางและตลาดผู้ป่วยประกันสังคม ซึ่งมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ตามการขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์การแพทย์ทั้งกลุ่มเงินและกลุ่มประกันสังคม
  • 2Q24 คาดว่ากำไรจะเติบโต YoY และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ ขณะที่คาดว่าจะเห็นการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 2H24 แรงหนุนจากการเปิดศูนย์การแพทย์เพิ่ม การปรับปรุงโรงพยาบาลแล้วเสร็จ และการดำเนินงานที่ดีขึ้นของ โรงพยาบาลใหม่: โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล เวียงจันทน์ 
  • Valuation ไม่แพง โดยเทรดที่ PER 24F ระดับ 28 เท่า คิดเป็น -0.5SD ของ PER เฉลี่ยในอดีตของบริษัท (ปี 2015-2019 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด) จึงเชื่อว่า Valuation ระดับต่ำจะช่วยป้องกัน Downside ของราคาหุ้น และเป็นโอกาสให้เข้าซื้อลงทุนหลังปี 2024 คาดมีกำไรเติบโต 20%YoY เติบโตดีที่สุดในกลุ่มการแพทย์
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 25 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 3%) และคาดให้ Dividend Yield ราวปีละ 2.2% 

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

เราเชื่อว่าในระยะถัดไปกลุ่มเทคยังคงมี Upside จากแนวโน้มธุรกิจที่โตหนุนจาก AI หลัง 

 

1. ภาพงบและคาดการณ์ของ NVDA, SNOW และ PANW ที่ดีกว่าคาด สะท้อนได้ว่าอุปสงค์ AI ยังคงแกร่ง 

 

2. ลูกค้าเทคลงทุนใน Infrastructure AI เพิ่ม 

 

3. สินค้า AI ที่ทำให้ความต้องการชิป ขณะที่ในระยะสั้นราคาหุ้นยังมีความผันผวนได้จากความคาดหวังสูง การแข่งขันและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ด้วยภาพนี้เราจึงแนะเก็งกำไรโดยสะสมช่วงราคาย่อตัว

 

  • NVIDIA เผยงบ 1Q25 และให้คาดการณ์ดีกว่าคาด โดยรายได้พุ่งขึ้น 262%YoY และอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นแตะ 78.9% หลังมีแรงหนุนหลักจากกลุ่ม Data Center สะท้อนได้ว่าอุปสงค์ AI ยังแกร่ง ส่วนธุรกิจอื่นมีภาพการฟื้นตัวสม่ำเสมอขึ้น เช่น Gaming +16% นอกจากนี้เพิ่มเงินปันผลขึ้น 150% เป็น 0.10 ดอลลาร์ต่อหุ้น และแบ่งหุ้นในอัตรา 10 ต่อ 1 เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
  • SNOW ปรับเพิ่มคาดการณ์ทั้งปีขึ้น อย่างไรก็ดี ภาพงบ 1Q25 ออกมาผสม โดยรายได้ดีกว่าคาดและเติบโต 33%YoY หนุนจากรายได้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ดี ภาพรวมการทำกำไรมีแรงกดดันจากต้นทุนการลงทุนในระบบ AI และฮาร์ดแวร์ GPU ที่เพิ่มขึ้นทำให้ 

1. กำไรต่อหุ้นออกมาต่ำกว่าคาดที่ 0.14 ดอลลาร์สหรัฐ

2. อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 74% จาก 75% เมื่อปีที่แล้ว

  • PANW เผยรายได้ใน 3Q24 ในภาพรวมออกมาดีกว่าคาด โดยรายได้โต 15%YoY หนุนจากรายได้ Subscription and Support +20%YoY แต่ชะลอตัวหลังการแข่งขันใน SASE และ EDR เพิ่มขึ้น ด้าน RPO โตเด่น +23%YoY สะท้อนงานในมือที่ยังคงเติบโต ขณะที่ให้คาดการณ์ FY24 โดยมองรายได้และกำไรดีกว่าคาด แต่ส่วน Billings ต่ำกว่าคาด

 

เรามองว่าภาพรวมกลุ่มเทคยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากอุปสงค์ AI ที่เพิ่มขึ้นจาก 

 

1. การลงทุนใน Infrastructure ที่เพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มคลาวด์และกลุ่มซอฟต์แวร์ 

2. ภาพความต้องการชิปประมวลผลเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ 

 

ขณะที่ในระยะสั้นอาจยังคงมีความผันผวนได้จาก

 

1. การลงทุนในสินค้า AI ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของอัตราการทำกำไรระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะส่งผลดีต่อธุรกิจ 

2. การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มคลาวด์, ชิป AI และ Cybersecurity 

3. ความคาดหวังที่สูง

 

ภาพนี้ทำให้เรามองว่ายังคงสามารถเก็งกำไรจากภาพงบและแนวโน้มที่ออกมาดีได้ โดยอาจต้องหาจังหวะสะสมในช่วงที่ราคาย่อตัวลงและคาดหวังการเติบโตต่อในครึ่งปีหลัง 2H24 ในกลุ่มเทคเราชอบ TSMC, NVDA, MSFT, GOOGL และ AMZN ที่มีสถานะที่ดีในการเติบโตของ AI

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง 

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนที่ใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มอยู่สูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ หลังรายงานผลการประชุม Fed รอบล่าสุด โดยชี้ว่า กรรมการฯ ยังไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะชะลอลงมากพอที่จะทำให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยได้ในปีนี้หรือไม่ นอกจากนี้สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดภายในตะวันออกกลาง ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน และข้อพิพาทในช่องแคบไต้หวัน


ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

2Y UST Yield ปรับเพิ่มขึ้นเหนือ 4.9% อีกครั้ง หลังจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกต่ำกว่าคาด นอกจากนี้ Flash Composite PMI ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมมีความแข็งแกร่ง โดยดีดตัวเป็น 54.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือน เมื่อรวมเข้ากับท่าที Hawkish จากรายงานการประชุม FOMC ทำให้ตลาดเลื่อนคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกเป็นเดือนธันวาคม

 

10Yr UST Yield ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 4.48% จาก 4.38% ในสัปดาห์ก่อนหน้า และ Real Yield ในปัจจุบันมีความน่าสนใจในการถือเพื่อรับ Income และมีความคุ้มค่าที่จะถือ เพื่อ Hedge ในกรณีที่เกิด ‘Growth Shock’ (เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด)

 

US Treasury & IG

 

รายงานการประชุม FOMC สอดคล้องกับความเห็นของสมาชิก Fed ที่ออกมาให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าอาจใช้เวลามากกว่าที่คาดในการที่จะยืนยันว่าเงินเฟ้อกำลังเข้าใกล้เป้าหมายของ Fed ที่ 2% อย่างมีเสถียรภาพ และยังยึดกับวิธี ‘Data Dependent’ ในการตัดสินใจว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยนโยบายเมื่อไร 

 

Yield ตัวยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าตัวสั้น ทำให้ Curve ของพันธบัตรรัฐบาลชันตัวลดลง, TGB Yield ตลอดทั้ง Curve ทรงตัวต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 6 

 

Spread ของ IG ยังทรงตัวตามคาด หลัง Supply ใหม่ยังชะลอตัว ด้านอัตราผลตอบแทนยังน่าสนใจ โดยเราชอบในส่วนของ Duration อายุ 2-4 ปี จากการที่ Fed อาจลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด และ Inverted Yield Curve 

 

High Yield Bond

 

US HY Yield-to-Worst และ HY Spreads ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักและยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เราคาดการณ์ว่า Spread ของ HY จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น และ Supply ของการ Re-Finance ที่จะเริ่มออกมาในช่วงปลายปี 2567

 

สินทรัพย์ผสม / กึ่งหนี้กึ่งทุน / REIT

 

ในสภาวะที่ Spread ของ Public Credit (อย่างเช่น IG และ HY) ค่อนข้างแคบ การเพิ่ม REIT จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงิน (Income Return) ให้กับ Portfolio ได้ในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ / สินทรัพย์ผสม ช่วยลดความผันผวน เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ US REITs มากขึ้นจาก

 

  1. Valuation ที่ไม่แพง โดยมี PBV ที่บริเวณ 2.0x ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่บริเวณ 2.3x 
  2. กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Apartment REITs ที่มีการเติบโตของ NOI เพิ่มขึ้นในช่วง 1Q67 

 

อย่างไรก็ตาม 10Y UST Yield ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลของตลาดว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้ US REITs มี Yield Spread ที่ -0.3% กดดันความน่าสนใจลงทุนในระยะสั้น 

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

Fed มีการผ่อนคลายนโยบายการเงินผ่านการชะลอการทำ QT แต่มีท่าที Hawkish บนข้อมูลของตัวเลขเงินเฟ้อ ทำให้เกิดความผันผวนต่อตลาดในช่วงสั้น

 

ภาพรวมของการประกาศกำไรใน 1Q67 ของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ค่อนข้างมาก ขณะที่จำนวนบริษัทที่ให้ Positive Guidance ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และกำไรของตลาดหุ้นในยุโรปกลับมาเป็นบวก QoQ ครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส

 

นโยบายการเงินของ BOJ ถึงแม้จะตึงตัวขึ้น แต่ยังน้อยกว่าที่ตลาดคาด การกลับมาของเงินเฟ้อในญี่ปุ่นสนับสนุนการเติบโตของกำไรในระยะกลางถึงยาว ถึงแม้ GDP ใน 1Q67 อาจหดตัวมากกว่าที่คาด 

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

กำไรในกลุ่ม Magnificent 7 โดยภาพรวมทำจุดสูงสุดใหม่ (ยกเว้น Tesla ที่กำไรลดลง) นำโดยหุ้น NVIDIA ที่เติบโตในระดับ Triple Digit ส่งผลให้ประกาศกำไรของบริษัทจดทะเบียนใน 1Q67 มีกำไรที่ดีกว่าคาดการณ์ไว้ก่อนการประกาศงบ และเริ่มเห็นการขยายตัวของกำไรกระจายตัวสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ จากที่เคยกระจุกตัวอยู่ใน IT Consumer Service และ Consumer Discretionary 

 

ความคาดหวังของ Disinflationary รวมถึงการเร่งตัวของกำไรรายไตรมาส จะเป็นตัวประคอง Valuation ของตลาดหุ้น

 

หุ้นยุโรป

 

ตลาดหุ้นยุโรปมี Valuation ที่ไม่แพง และยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ ECB ขณะที่ EPS มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น โดยกลุ่มที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูง มีงบดุลที่ดี (Leverage ที่ต่ำ และกระแสเงินสดที่สูง) แม้ว่าล่าสุดทางการจีนจะส่งสัญญาณพร้อมขึ้นภาษีนำเข้ารถเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ของยุโรปเป็น 25% ก็ตาม

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

เราคาดว่ากลุ่ม Value ญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปธรรมาภิบาลของ TSE ที่จะหนุนการซื้อหุ้นคืนและจ่ายปันผล นอกจากนี้กลุ่ม Financials (อยู่กลุ่ม Value) มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากการลดการผ่อนคลายทางการเงินของ BOJ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุด 10Y JGB Yield เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1% เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี 

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

การเติบโตของ Global GDP ในปี 2567 ถูกปรับประมาณการณ์ขึ้นทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรป จีน และ EM ex-China อย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี ทำให้ภาพการขยายตัวของการค้าโลกดูดีขึ้น และส่งผลให้หุ้น Value และหุ้นที่เกี่ยวกับ Commodity Linked ที่มีอยู่มากในหุ้นกลุ่ม EM มีความน่าสนใจมากขึ้น โดย Valuation ของกลุ่ม EM เองก็ถูกกว่าทั้งในภาพของ FWD P/E และ PBV และกำไรมีการเติบโตที่มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ PMI และ GDP ของฝั่งตลาด EM มีภาพของการขยายตัวที่สูงกว่าตลาด DM 

 

เราคาดว่าการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้สะท้อนความเสี่ยงด้านนโยบายธนาคารกลางที่อาจลดลงช้ากว่าที่ตลาดคาดไปพอสมควร โดยความเสี่ยงที่ยังต้องจับตาคือ นโยบายทางการเมืองของการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่มีการมุ่งเน้นเรื่องการตั้งกำแพงภาษี และมีแนวโน้มในการกำหนดข้อจำกัดทางการค้ากับตลาดทางฝั่ง EM Asia มากขึ้น

 

หุ้นอินเดีย

 

ปัจจัยผลักดันการเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะยาว ได้แก่ 

 

  1. รัฐบาลเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 
  2. โครงสร้างประชากรที่มีชนชั้นกลางขยายตัวอย่างรวดเร็ว 
  3. สัญญาณการฟื้นตัวของการลงทุนของภาคเอกชน

 

รวมถึงงบดุลของบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีช่องว่างให้สามารถระดมทุนได้อีกมาก หลายอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุนกำลังเข้าสู่ช่วง New S-Curve เช่น ภาคการผลิตที่ได้รับการสนับสนุนจาก PLI Scheme หรือกลุ่มอุตสาหกรรม Internet และ Technology Service ที่ได้ประโยชน์จากอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนที่สูง, ต้นทุนการใช้งานดาต้าที่ต่ำ, อัตราการใช้ Digital Payment ที่สูง รวมไปถึงระบบขนส่งและโครงสร้างทางดิจิทัลที่พัฒนาดีขึ้นอย่างรวดเร็ว สนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ และก่อให้เกิดธุรกิจที่เป็น Innovation

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงพักฐานในระยะสั้น หลังปรับขึ้นมารวดเร็วบนความกังวลของสงคราม อย่างไรก็ดี ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนการถือครองทองคำในพอร์ตระยะยาว เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้ ประกอบกับเริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยงและลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองระหว่างประเทศ รวมทั้งมีความต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลาง-ยาว

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 27 พ.ค. 2024

READ MORE



Latest Stories