Yoon Suk Yeol – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 26 Jan 2024 11:05:18 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 Dior ใบเดียว สะเทือนทั้งรัฐบาล สรุปคดีภริยาประธานาธิบดีเกาหลีใต้แอบรับกระเป๋าหรู https://thestandard.co/key-messages-dior-bag-scandal/ Fri, 26 Jan 2024 11:05:18 +0000 https://thestandard.co/?p=892635 ภริยา ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุนซอกยอล

เชื่อว่าในตอนนี้ประธานาธิบดียุนซอกยอลแห่งเกาหลีใต้อาจจะ […]

The post Dior ใบเดียว สะเทือนทั้งรัฐบาล สรุปคดีภริยาประธานาธิบดีเกาหลีใต้แอบรับกระเป๋าหรู appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภริยา ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุนซอกยอล

เชื่อว่าในตอนนี้ประธานาธิบดียุนซอกยอลแห่งเกาหลีใต้อาจจะอยู่ในอาการนั่งไม่ติด หลังเกิดข่าวฉาวขึ้นว่า คิมกอนฮี ภริยาของเขา แอบรับของขวัญเป็นกระเป๋า Dior สุดหรูมูลค่าเฉียดแสน 

 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเกาหลีใต้ เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่คู่สมรสของเจ้าหน้าที่รัฐพึงกระทำ อีกทั้งยังสั่นคลอนสถานะของพรรครัฐบาลในช่วงที่เกาหลีใต้เตรียมจะเปิดศึกเลือกตั้งในเดือนเมษายนนี้แล้ว

 

คดี Dior ใบเดียวพาเสียวทั้งรัฐบาล ที่มาที่ไปจะเป็นอย่างไร THE STANDARD สรุปให้ม้วนเดียวจบ

 

📍 เปิดภาพลับ! ภริยาผู้นำเกาหลีใต้รับกระเป๋าหรู

 

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 หลังช่อง YouTube ที่มีชื่อว่า Voice of Seoul เผยแพร่คลิปวิดีโอสุดฉาวออกมา โดยภาพที่ปรากฏนั้นเป็นบาทหลวงชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีคนหนึ่งมอบกระเป๋ายี่ห้อ Dior ให้คิมกอนฮี ภริยาของยุนซอกยอล และสตรีหมายเลข 1 ของเกาหลีใต้ 

 

และคนที่ถ่ายทำคลิปนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือตัวบาทหลวงเองที่แอบซ่อนกล้องไว้อย่างลับๆ ที่นาฬิกาข้อมือ

 

คลิปเริ่มจากภาพบาทหลวงที่เข้าไปซื้อกระเป๋า Dior หนังลูกวัวสีเทาอมฟ้า โดยมีป้ายราคาระบุไว้ชัดเจนที่ 3 ล้านวอน หรือตีเป็นเงินไทยที่ประมาณ 80,000 บาท หลังจากนั้นเขาก็เดินทางไปมอบให้กับคิมกอนฮี โดยที่ตัวเธอเองพูดด้วยว่า “ทำไมสาธุคุณถึงชอบนำของขวัญเหล่านี้มาให้กับฉัน” ขณะสื่อท้องถิ่นรายงานว่า กระเป๋าใบฉาวดังกล่าวถูกส่งมอบให้กับคิมกอนฮีในช่วงเดือนกันยายน 2022 

 

ทั้งนี้ กฎหมายของเกาหลีใต้กำหนดไว้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่รัฐและคู่สมรสจะรับของขวัญได้ในมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านวอนต่อครั้ง และตลอดทั้งปีงบประมาณจะรับของขวัญได้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านวอน มิเช่นนั้นจะผิดกฎหมาย

 

พอเรื่องแดงขึ้นสื่อก็คุ้ยกันลงไปอีกว่า บาทหลวงคนดังกล่าวชื่อ อับราฮัม ชเว เขามีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือในด้านการแลกเปลี่ยนทางศาสนา อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกาหลีใต้ประสานรอยร้าวและมาร่วมมือกับเกาหลีเหนือ

 

สำนักข่าว Reuters ได้ติดต่อสัมภาษณ์บาทหลวงชเว ซึ่งเขาบอกว่า ในตอนแรกนั้นเขาพยายามจะเข้าหาคิมกอนฮี เนื่องจากเขาค่อนข้างกังวลที่ยุนซอกยอลใช้นโยบายที่แข็งกร้าวกับเกาหลีเหนือ 

 

บาทหลวงผู้นี้ใช้ประโยชน์จากการที่คิมกอนฮีเป็นคนรู้จักของครอบครัวตนเอง ค่อยๆ เข้าหาเธอโดยใช้ของขวัญหรูหราเป็นเสมือนบัตรผ่านในการเข้าพบ โดยนอกจากกระเป๋า Dior แล้ว ก่อนหน้านี้เขาอ้างว่าเขาเคยให้เครื่องสำอางยี่ห้อ CHANEL แก่เธอในครั้งแรกที่พบกันด้วย

 

แต่หลังจากการพบปะกันครั้งแรก บาทหลวงชเวกล่าวว่า เขากังวลเกี่ยวกับบทบาทของคิมกอนฮีในรัฐบาลนี้ เขาเลยไปติดต่อกับนักข่าวที่ทำช่อง YouTube ซึ่งเน้นเผยแพร่ข่าวการเมืองฝ่ายซ้ายโดยเฉพาะ เพื่อขอให้ช่วยในการถ่ายทำคลิปคิมกอนฮีตอนรับกระเป๋าราคาแพงในระหว่างที่พบกันครั้งที่ 2

 

บาทหลวงชเวยังกล่าวด้วยว่า ถ้าเป็นคนปกติอื่นๆ ก็น่าจะพูดว่า “ดิฉันไม่สามารถมาพบคุณได้อีกหากยังทำเช่นนี้” แต่สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของเกาหลีใต้กลับให้ที่อยู่พร้อมเวลานัดมาเสร็จสรรพ

 

แม้ในคลิปจะไม่ได้มีช็อตที่แสดงชัดเจนว่าท้ายที่สุดคิมกอนฮีตัดสินใจรับกระเป๋าไป แต่เจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่ไม่เปิดเผยตัวตนคนหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Yonhap เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า บาทหลวงชเวเข้าหาคิมกอนฮีด้วยเจตนาที่ไม่ซื่อ เขาจงใจที่จะถ่ายคลิปวิดีโอที่ผิดกฎหมายนั้นโดยใช้สายสัมพันธ์ของครอบครัวเป็นเครื่องมือ และของขวัญที่คิมกอนฮีได้ถูกเก็บไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐตามระเบียบแล้ว

 

คดี Dior ฉาวไม่ใช่เรื่องเดียวที่ภริยาผู้นำเกาหลีใต้เผชิญ แต่เธอยังมีชนักติดหลังเป็นข้อกล่าวหาเรื่องมีส่วนในการปั่นราคาหุ้นเมื่อ 12 ปีก่อน ซึ่งรัฐสภาเกาหลีใต้เพิ่งจะลงมติแต่งตั้งอัยการพิเศษเพื่อรื้อคดีขึ้นมาสอบสวนเมื่อเดือนที่ผ่านมา รวมถึงกรณีของปี 2021 ที่เธอเคยออกมาขอโทษสังคมจากข้อกล่าวหาที่ว่าเธอปลอมแปลงเอกสารด้านวิชาชีพ และวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอก็มีการลอกมาจากที่อื่น ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้การหาเสียงของสามีระส่ำอยู่เช่นกัน

 

📍 คนในพรรคเรียกร้องยุนซอกยอลขอโทษสังคม

 

หลังจากที่ภาพดังกล่าวหลุดออกมา สื่อในประเทศก็เล่นข่าว ‘กระเป๋า Dior ฉาว’ กันเป็นวาระใหญ่ กระแสข่าวดังกล่าวส่งผลให้สมาชิกพรรคพลังประชาชนเกาหลีใต้ (PPP) ซึ่งเป็นพรรคที่ยุนซอกยอลสังกัดอยู่ ออกมาเรียกร้องให้ทั้งตัวผู้นำและภริยาออกมาขอโทษสังคม โดยหวังว่าอย่างน้อยที่สุดทั้งคู่จะออกมายอมรับแบบตรงๆ ว่าการรับกระเป๋าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมจริง ซึ่งนั่นอาจช่วยลดแรงเสียดทานและกระแสความเกรี้ยวกราดของสังคมลงได้บ้าง

 

แต่กลับกลายเป็นว่ายุนซอกยอลและภริยาก็ยังนิ่งเงียบ ขณะที่สำนักประธานาธิบดีเกาหลีใต้ก็ไม่ได้ให้คำตอบอะไรเช่นกัน

 

📍 ราคาที่ต้องจ่าย

 

แม้สุภาษิตไทยจะกล่าวไว้ว่า ‘พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง’ แต่การนิ่งเงียบของยุนซอกยอลอาจไม่เข้าตำรานี้ เพราะมันมีราคาที่ต้องจ่าย และราคานั้นอาจเป็นความพ่ายแพ้ของพรรค PPP ในศึกเลือกตั้งสภานิติบัญญัติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2024 ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ชี้ชะตากรรมของฝ่ายบริหารภายใต้การนำของยุนซอกยอล

 

ย้อนกลับไปในปี 2022 แม้ตอนนั้นยุนซอกยอลจะครองเก้าอี้ประธานาธิบดีได้สำเร็จ แต่หากมาดูคะแนนกันจริงๆ แล้ว ส่วนต่างที่เฉือนเอาชนะคู่แข่งไปกลับมีเพียงไม่ถึง 1% โดยยุนซอกยอลได้รับคะแนนเสียงไป 48.56% ขณะที่ อีแจมยอง จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ได้คะแนนเสียง 47.83% หรือห่างเพียง 0.73% และในปัจจุบันพรรค PPP ก็เป็นเสียงข้างน้อยในสภา

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้สมาชิกพรรค PPP เริ่มวิตกกังวล เพราะพวกเขารู้สึกว่าสาธารณชนมุ่งเป้าความโกรธไปที่คิมกอนฮี น้อยคนนักที่จะสนใจกรณีเรื่องกล้องแอบถ่าย ซึ่งแน่นอนว่าชาวเน็ตทั้งหลายก็คือคนที่มีสิทธิเลือกตั้งและจะไปเข้าคูหาในเดือนเมษายนนี้ เท่ากับว่าข่าวฉาวที่ออกมาได้สร้างความรู้สึกลบต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเสียแล้ว

 

ด้านผลสำรวจจากสถานีโทรทัศน์ YTN ของเกาหลีใต้ที่จัดทำในสัปดาห์นี้ระบุว่า ประชาชน 69% ต้องการให้ยุนซอกยอลออกมาอธิบายต่อสังคมว่าเขามีจุดยืนอย่างไรต่อข่าวฉาวของภริยา ขณะโพลจากสำนักข่าว Tomato News ที่จัดทำขึ้นในเดือนธันวาคมออกมาว่า  53% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า การกระทำของคิมกอนฮีไม่เหมาะสม 

 

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สนับสนุนของยุนซอกยอลมองว่า คิมกอนฮีคือเหยื่อที่ถูกใส่ร้ายป้ายสี เพื่อหวังทำลายชื่อเสียงของผู้นำเกาหลีใต้ ขณะที่พรรคฝ่ายตรงข้ามเองก็พยายามใช้จุดนี้โจมตียุนซอกยอลด้วยเช่นกัน โดย ฮงอิกพโย ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า “มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่สำนักประธานาธิบดีและพรรครัฐบาลจะเพิกเฉยต่อสิ่งนี้ และพูดราวกับว่าแค่คำขอโทษจะทำให้เรื่องนี้ยุติลงง่ายๆ”

 

แต่ความจริงจะเป็นเช่นไร คงต้องรอติดตามกันต่อไป

 

อ้างอิง:

The post Dior ใบเดียว สะเทือนทั้งรัฐบาล สรุปคดีภริยาประธานาธิบดีเกาหลีใต้แอบรับกระเป๋าหรู appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตา! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้จ่อประกาศพัฒนาไฮโดรเจนและแอมโมเนียครั้งใหญ่ หลัง Mitsubishi-LOTTE Chemical รุกลงทุนผลิตดักจับคาร์บอนและแอมโมเนียถึง 10 ล้านตันต่อปีในสหรัฐฯ https://thestandard.co/japan-south-korea-have-a-big-cooperation/ Sat, 11 Nov 2023 08:45:41 +0000 https://thestandard.co/?p=864673

วาระแห่งชาติ!    ขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใ […]

The post จับตา! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้จ่อประกาศพัฒนาไฮโดรเจนและแอมโมเนียครั้งใหญ่ หลัง Mitsubishi-LOTTE Chemical รุกลงทุนผลิตดักจับคาร์บอนและแอมโมเนียถึง 10 ล้านตันต่อปีในสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วาระแห่งชาติ! 

 

ขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ผู้นำเทคโนโลยี โดยเฉพาะญี่ปุ่นเองที่เป็นผู้พัฒนาไฮโดรเจนมานานหลายปี กำลังจะร่วมสร้างห่วงโซ่อุปทานสำหรับการพัฒนาไฮโดรเจนและแอมโมเนียกับเกาหลีใต้ เพื่อสร้างแต้มต่ออุตสาหกรรมพลังงานใหม่และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งจะเชื่อมไปถึงการลงทุนร่วมกับพันธมิตรอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์กับสหรัฐอเมริกาด้วย

 

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น และ ยุนซอกยอล ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ เตรียมประกาศสร้างห่วงโซ่อุปทานด้านพลังงานไฮโดรเจนและแอมโมเนียร่วมกัน โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือก่อนที่ทั้งสองประเทศจะเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ส่วนความชัดเจนนั้นคาดว่าจะหารือทันทีที่เดินทางถึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แคลิฟอร์เนีย พร้อมกันในวันที่ 17 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้

 

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านราคาและเพื่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานใหม่ในตลาดโลกให้มีเสถียรภาพ  และวางบทบาทของประเทศในการลดการปล่อยคาร์บอน 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ขณะที่การระดมทุนเบื้องต้นจะมาจากสถาบันการเงินในเครือของรัฐบาล ที่พร้อมสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในโครงการผลิตไฮโดรเจนและแอมโมเนียนอกประเทศ เช่น ตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา

 

บิ๊กคอร์ปเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น รุกลงทุนไฮโดรเจน

 

ตามรายงานข่าวยังระบุอีกว่า ก่อนหน้าที่บริษัทรายใหญ่ของทั้งสองประเทศ ได้แก่ บริษัท Mitsubishi ของญี่ปุ่น และ LOTTE Chemical ของเกาหลีใต้ ร่วมกับ RWE บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี มีแผนที่จะผลิตแอมโมเนีย 10 ล้านตันต่อปีในสหรัฐฯ และเริ่มทำตลาดปี 2029 นอกจากนี้ยังพัฒนานำเอาแอมโมเนียสีน้ำเงินมาสร้างเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน 

 

รวมไปถึงบริษัท Mitsui & Co. ของญี่ปุ่น และ GS Energy ของเกาหลีใต้ อยู่ระหว่างเจรจาร่วมทุนโครงการในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนำโดย Abu Dhabi National Oil Co. ที่คาดว่าจะผลิตแอมโมเนียได้ 1 ล้านตันต่อปี และจะเริ่มเชิงพาณิชย์ในปี 2026 

 

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยังวางแนวคิดขยายธุรกิจใหม่ในตะวันออกกลาง อินเดีย และอเมริกาใต้ ร่วมกันด้วย

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทั้งสองประเทศจะกระชับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีควอนตัมให้มากขึ้น โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติ 2 แห่ง ได้แก่ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งชาติของญี่ปุ่นและสถาบันวิจัยมาตรฐานและวิทยาศาสตร์แห่งเกาหลีใต้ จะลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียวและมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล รวมไปถึงมหาวิทยาลัยชิคาโกก็จะมีการประกาศตามมาอีกเช่นกัน

 

นอกจากนี้ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา อยู่ระหว่างวางแนวทางการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมกันอีกด้วย 

 

อ้างอิง: 

The post จับตา! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้จ่อประกาศพัฒนาไฮโดรเจนและแอมโมเนียครั้งใหญ่ หลัง Mitsubishi-LOTTE Chemical รุกลงทุนผลิตดักจับคาร์บอนและแอมโมเนียถึง 10 ล้านตันต่อปีในสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชาวเกาหลีใต้จะเด็กลง 1-2 ปี หลังรัฐบาลประกาศใช้กฎหมายใหม่ ยกเลิกการนับอายุแบบดั้งเดิม https://thestandard.co/south-koreans-become-year-or-two-younger-traditional-way-counting/ Wed, 28 Jun 2023 08:14:56 +0000 https://thestandard.co/?p=808803 เกาหลีใต้

พลเมืองชาวเกาหลีใต้จะมีอายุเด็กลง 1-2 ปี หลังรัฐบาลชุดป […]

The post ชาวเกาหลีใต้จะเด็กลง 1-2 ปี หลังรัฐบาลประกาศใช้กฎหมายใหม่ ยกเลิกการนับอายุแบบดั้งเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีใต้

พลเมืองชาวเกาหลีใต้จะมีอายุเด็กลง 1-2 ปี หลังรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของประธานาธิบดียุนซอกยอลประกาศใช้กฎหมายใหม่ ยกเลิกการนับอายุแบบดั้งเดิม และจะหันมาใช้เฉพาะการนับอายุตามหลักสากลเท่านั้น

 

รัฐสภาเกาหลีใต้ได้ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกการนับอายุ ‘แบบเกาหลี’ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป ระบบการนับอายุแบบเกาหลีจะถูกยกเลิกการใช้งานในเอกสารสำคัญต่างๆ ของทางการเกาหลีใต้ 

 

หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ผู้นำเกาหลีใต้คนปัจจุบันเคยชี้แจงไว้คือ การนับอายุเกาหลีแบบดั้งเดิมนั้นก่อให้เกิดความสับสนไม่น้อย จึงเห็นชอบที่จะเปลี่ยนระบบการนับอายุดังกล่าวมาเป็นการนับตามหลักสากลเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในประชาคมโลก

 

ที่ผ่านมาวิธีการนับอายุแบบเกาหลีได้รับความนิยมอย่างมาก เมื่อทารกแรกเกิดคลอดออกมาจะถือว่ามีอายุ 1 ปี โดยเริ่มนับอายุตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ และเด็กทารกจะอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีโดยอัตโนมัติเมื่อข้ามเข้าสู่ปีใหม่ ไม่ว่าเด็กคนดังกล่าวจะคลอดในช่วงไหนของปีก็ตาม 

 

ตัวอย่างเช่น หากเด็กเกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2022 จะถือว่ามีอายุ 1 ปีทันที และเมื่อก้าวเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม 2023 เด็กคนดังกล่าวจะมีอายุ 2 ปีโดยอัตโนมัติตามการนับอายุแบบเกาหลี

 

นอกจากวิธีการนับอายุแบบเกาหลีแล้ว สังคมเกาหลีใต้ยังมีวิธีการนับอายุอีก 2 วิธี นั่นคือ ‘วิธีนับตามอายุ’ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กทารกเกิดมาในช่วงไหนของปีก็ตามจะยังไม่ถือว่ามีอายุ 1 ปี เหมือนกับวิธีการนับอายุแบบเกาหลี แต่เมื่อข้ามเข้าสู่ปีใหม่ ถึงจะเริ่มนับอายุ 1 ปีนับจากนั้น มักเป็นวิธีการนับอายุที่ใช้คำนวณอายุตามหลักกฎหมายของเกาหลี เช่น การคำนวณอายุขั้นต่ำเพื่อที่จะสามารถสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้

 

อีกหนึ่งวิธีที่เหลือคือ ‘การนับอายุตามหลักสากล’ โดยกำหนดให้เด็กทารกที่เกิดมาจะอายุครบ 1 ปี เมื่อวันเกิดของตนเองวนกลับมาอีกรอบ (หลังผ่านไปราว 365-366 วันนับตั้งแต่วันเกิด) ซึ่งชาวเกาหลีใต้มักจะฉลองวันเกิดตามการนับอายุแบบสากล

 

โดยระบบการนับอายุแบบเกาหลีนี้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการยอมรับสถานะของความเป็นมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ อีกทั้งระบบการนับเลขแบบโบราณยังไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับเลข 0

 

ผลสำรวจความคิดเห็นของพลเมืองโดยรัฐบาลเกาหลีใต้เมื่อเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ชี้ว่า 86% ของพลเมืองที่ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยและพร้อมที่จะใช้วิธีการนับอายุตามหลักสากลในชีวิตประจำวันเมื่อกฎหมายใหม่นี้ประกาศบังคับใช้

 

แฟ้มภาพ: Sanjay JS / Shutterstock

อ้างอิง:

The post ชาวเกาหลีใต้จะเด็กลง 1-2 ปี หลังรัฐบาลประกาศใช้กฎหมายใหม่ ยกเลิกการนับอายุแบบดั้งเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ ญี่ปุ่นเยือนเกาหลีใต้ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เห็นพ้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ 2 ประเทศ https://thestandard.co/fumio-visited-south-korea/ Mon, 08 May 2023 05:26:03 +0000 https://thestandard.co/?p=786871 ฟูมิโอะ คิชิดะ

นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น ร่วมประชุมทวิภาคี […]

The post นายกฯ ญี่ปุ่นเยือนเกาหลีใต้ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เห็นพ้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ 2 ประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟูมิโอะ คิชิดะ

นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น ร่วมประชุมทวิภาคีกับประธานาธิบดียุนซอกยอล ของเกาหลีใต้ ที่กรุงโซลวานนี้ (7 พฤษภาคม) โดยถือเป็นการเยือนเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำญี่ปุ่นในรอบ 12 ปี และเป็นการฟื้นการทูตแบบกระสวย (Shuttle Diplomacy) หรือการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ หลังจากที่ประธานาธิบดียุนได้เดินทางไปเยือนกรุงโตเกียวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

ในการหารือทั้งสองผู้นำเห็นพ้องที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ให้กลับมาอยู่ในแนวทางที่ควรจะเป็น พร้อมทั้งยืนยันว่าจะกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงทวิภาคีและไตรภาคี ระหว่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดจากโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

 

ในการแถลงข่าวร่วมหลังการประชุม คิชิดะยังได้กล่าวถึงประเด็นการใช้แรงงานในช่วงสงคราม โดยบอกกับผู้นำเกาหลีใต้ว่ารัฐบาลของเขายังคงไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนและมุมมองทางประวัติศาสตร์จากรัฐบาลก่อนหน้า แม้ว่าผู้นำรัฐบาลบางส่วนจะมีการออกมาแสดงความขอโทษแล้วก็ตาม

 

ขณะที่เขาแสดงความขอโทษอย่างเป็นทางการต่อประชาชนเกาหลีใต้ สำหรับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกาหลีใต้ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของญี่ปุ่นระหว่างปี 1910-1945 โดยเขาแสดงความเสียใจและกล่าวว่า “หัวใจของผมเจ็บปวดเมื่อนึกถึงผู้คนมากมายที่ต้องทนทุกข์ทรมานและโศกเศร้าอย่างแสนสาหัส ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากในเวลานั้น”

 

ด้านยุนกล่าวว่า ปัญหาทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้รับการแก้ไขไม่ควรหมายความว่าจะไม่มีการก้าวไปข้างหน้า เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเมื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศที่กำลังเติบโต และเขาต้องการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

 

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสในรัฐบาลเกาหลีใต้เผยว่าคำกล่าวขอโทษของคิชิดะไม่มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า โดยยุนได้ขอบคุณเขาสำหรับ “การแสดงจุดยืนที่จริงใจ แม้ว่าจะไม่มีการร้องขอก็ตาม” และกล่าวว่าสิ่งนี้จะ “เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในอนาคต”

 

นอกจากนี้ ผู้นำญี่ปุ่นยังมีความพยายามที่จะแก้ไขและพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับเกาหลีใต้ผ่านการประชุมสุดยอดและการเจรจารูปแบบอื่นๆ 

 

โดยคิชิดะยังได้เชิญยุนเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G7 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ ขณะที่ยุนเผยว่าเขาจะได้พบปะหารือกับผู้นำญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ในการประชุมไตรภาคีนอกรอบการประชุม G7 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามประสานความร่วมมือไตรภาคี เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

 

ภาพ: Jung Yeon Je – Pool / Getty Images

อ้างอิง:

The post นายกฯ ญี่ปุ่นเยือนเกาหลีใต้ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เห็นพ้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ 2 ประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไบเดน-ยุนซอกยอลบรรลุข้อตกลงใหม่ เกาหลีใต้จะไม่ติดตั้งและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ https://thestandard.co/biden-yoon-suk-yeol-reaches-new-deal/ Thu, 27 Apr 2023 04:19:59 +0000 https://thestandard.co/?p=782022 ไบเดน ยุนซอกยอล

เมื่อวานนี้ (26 เมษายน) โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริ […]

The post ไบเดน-ยุนซอกยอลบรรลุข้อตกลงใหม่ เกาหลีใต้จะไม่ติดตั้งและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไบเดน ยุนซอกยอล

เมื่อวานนี้ (26 เมษายน) โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และยุนซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ บรรลุข้อตกลงใหม่ร่วมกันว่า เกาหลีใต้จะไม่ติดตั้งและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แลกกับแผนงานการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่สหรัฐฯ นำเสนอไว้ เพื่อรับมือกับการโจมตีและการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ 

 

การบรรลุข้อตกลงครั้งใหม่นี้มีขึ้นขณะที่ยุนซอกยอล พร้อมด้วยคิมคอนฮี สตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีใต้ เดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 70 ปีของความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้

 

ทางการสหรัฐฯ เผยว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ปฏิญญาวอชิงตัน’ (Washington Declaration) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมงานด้านหน่วยข่าวกรองและข้อมูลเชิงลึกให้กับทางการเกาหลีใต้ พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านหน่วยงานอย่าง U.S.-Republic of Korea Nuclear Consultative Group (NCG) ที่จะมีบทบาทสำคัญในการประชุมหารือระหว่างกัน หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลีในอนาคต

 

นอกจากนี้ไบเดนยังกล่าวถึงพันธกรณีที่ทางการสหรัฐฯ เคยให้ไว้กับเกาหลีใต้ในช่วงสิ้นสุดสงครามเกาหลีเมื่อปี 1953 ที่มีเนื้อหาระบุว่า สหรัฐฯ จะร่วมสนับสนุนเกาหลีใต้ในการปกป้องตนเอง โดยเฉพาะจากการโจมตีของเกาหลีเหนือ 

 

แม้ในข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ได้มีการระบุชัดว่า สหรัฐฯ จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการปกป้องเกาหลีใต้หากถูกเกาหลีเหนือโจมตี แต่ไบเดนก็ยังได้เน้นย้ำว่า “การที่เกาหลีเหนือโจมตีสหรัฐฯ รวมถึงบรรดาชาติพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญต่างๆ ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ และจะส่งผลให้ระบอบการปกครองใดๆ ก็ตามที่ดำเนินการดังกล่าวต้องยุติลง”

 

ทั้งนี้ไบเดนยังเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยังคงเป็นรัฐที่ไม่เป็นรัฐนิวเคลียร์ และเป็นผู้สนับสนุนต่อหลักการ ‘การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์’ โดยสหรัฐฯ มองว่าการโน้มน้าวให้เกาหลีใต้ไม่ติดตั้งหรือพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากว่าล้มเหลว มีโอกาสที่อีกหลายประเทศจะดำเนินรอยตาม และประชาคมโลกอาจตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของความตึงเครียดและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันกันด้านอาวุธนิวเคลียร์ได้อีกในอนาคต

 

ภาพ: Jim Watson / AFP

อ้างอิง:

The post ไบเดน-ยุนซอกยอลบรรลุข้อตกลงใหม่ เกาหลีใต้จะไม่ติดตั้งและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้นำเกาหลีใต้เผยความเป็นไปได้ในการส่งความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน https://thestandard.co/south-korea-possible-military-aid-ukraine/ Wed, 19 Apr 2023 08:20:32 +0000 https://thestandard.co/?p=778549 เกาหลีใต้ ยูเครน

ประธานาธิบดียุนซอกยอลของเกาหลีใต้ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว […]

The post ผู้นำเกาหลีใต้เผยความเป็นไปได้ในการส่งความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีใต้ ยูเครน

ประธานาธิบดียุนซอกยอลของเกาหลีใต้ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว Reuters โดยเปิดเผยว่า เกาหลีใต้อาจขยายการสนับสนุนยูเครน นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและเศรษฐกิจ หากเกิดกรณีการโจมตีพลเรือนยูเครนในวงกว้าง

 

“หากมีสถานการณ์ที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่สามารถเอาผิดได้ เช่น การโจมตีพลเรือนครั้งใหญ่ การสังหารหมู่ หรือการละเมิดกฎของสงครามอย่างร้ายแรง ฯลฯ อาจเป็นการยากสำหรับเราที่จะยืนหยัดในการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมหรือทางการเงินเท่านั้น” ยุนกล่าว

 

ความเห็นของผู้นำเกาหลีใต้มีขึ้นก่อนที่เขาจะเดินทางเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า ซึ่งเขาระบุว่า รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังมองหาแนวทางที่จะช่วยเหลือด้านการป้องกันและฟื้นฟูยูเครน เช่นเดียวกับที่เกาหลีใต้เคยได้รับจากนานาชาติในช่วงสงครามเกาหลี

 

การแสดงท่าทีดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลโซลเสนอความเต็มใจที่จะจัดหาอาวุธให้แก่ยูเครน หลังยืนกรานปฏิเสธที่จะจัดส่งความช่วยเหลือที่อันตรายแก่ยูเครนตลอดระยะเวลาที่เกิดสงครามกว่า 1 ปีที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ เกาหลีใต้ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญของสหรัฐฯ และเป็นผู้ผลิตกระสุนปืนใหญ่รายใหญ่ พยายามหลีกเลี่ยงการเป็นปรปักษ์โดยตรงกับรัสเซีย แม้จะเผชิญแรงกดดันจากชาติตะวันตกที่ต้องการให้เกาหลีใต้จัดส่งอาวุธให้แก่ยูเครน เนื่องจากหลายบริษัทเอกชนเกาหลีใต้ยังคงดำเนินกิจการในรัสเซีย อีกทั้งรัฐบาลเครมลินเองก็ยังมีอิทธิพลต่อเกาหลีเหนือ 

 

ขณะที่ยุนเชื่อว่า จะไม่มีข้อจำกัดในขอบเขตของการสนับสนุน เพื่อปกป้องและฟื้นฟูประเทศที่ถูกรุกรานอย่างผิดกฎหมาย ทั้งภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ แต่ยืนยันว่าจะใช้มาตรการที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสงคราม และการพัฒนาของสถานการณ์ในสนามรบ

 

ยุนมีกำหนดเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในสัปดาห์หน้า เพื่อร่วมการประชุมกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ในโอกาสฉลองครบรอบ 70 ปีการเป็นพันธมิตรของทั้งสองประเทศ

 

โดยในระหว่างการประชุมสุดยอด ยุนเผยว่า เขาจะแสวงหาผลลัพธ์ที่จับต้องได้ จากความพยายามของชาติพันธมิตรในการปรับปรุงการรับมือต่อภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีการเพิ่มการทดสอบทางทหาร และเปิดตัวขีปนาวุธข้ามทวีปที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งรุ่นแรกไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

ภาพ: Kiyoshi Ota / pool / Bloomberg / Anadolu Agency via Getty Images

อ้างอิง

The post ผู้นำเกาหลีใต้เผยความเป็นไปได้ในการส่งความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเห็นพ้องฟื้นข้อตกลงแชร์ข้อมูลข่าวกรองทางทหารอีกครั้ง https://thestandard.co/gsomia-south-korea-japan-restored/ Wed, 22 Mar 2023 03:04:28 +0000 https://thestandard.co/?p=766563 เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

ทางการเกาหลีใต้ตัดสินใจที่จะฟื้นข้อตกลง General Securit […]

The post เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเห็นพ้องฟื้นข้อตกลงแชร์ข้อมูลข่าวกรองทางทหารอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

ทางการเกาหลีใต้ตัดสินใจที่จะฟื้นข้อตกลง General Security of Military Information Agreement (GSOMIA) อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองทางทหารกับญี่ปุ่นอีกครั้ง และได้มีการส่งจดหมายเพื่อแจ้งความประสงค์ดังกล่าวกับฝั่งของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้ว

 

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดียุนซอกยอลของเกาหลีใต้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่นำญี่ปุ่นกลับมาอยู่ใน White List อีกครั้ง หรือเป็นบัญชีของประเทศคู่ค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านการส่งออก หลังจากที่เกาหลีใต้ได้ถอดญี่ปุ่นออกจากบัญชีดังกล่าวเมื่อปี 2019 ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติถดถอยลงอย่างหนัก

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลง GSOMIA โดยข้อตกลงนี้ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสองชาติที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ต่อมาในยุคของอดีตประธานาธิบดีมุนแจอิน เขาได้เรียกร้องให้มีการยุติข้อตกลงดังกล่าวในปี 2019 เนื่องจากไม่พอใจที่ญี่ปุ่นออกข้อจำกัดการส่งออกต่อเกาหลีใต้

 

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วเกาหลีใต้ไม่ได้ระงับข้อตกลงนี้อย่างเต็มรูปแบบ แต่การแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศก็ได้ลดน้อยลงอย่างมากนับตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากในเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังคงตึงเครียดจากปมปัญหาทางประวัติศาสตร์

 

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่ายุนซอกยอลตั้งใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่างจริงจัง หลังจากที่เขาสร้างทริปประวัติศาสตร์ด้วยการเดินทางเข้าพบกับ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของเกาหลีใต้เดินทางเยือนญี่ปุ่นเพื่อเจรจากับผู้นำ หลังจากที่ทั้งสองชาติระงับภารกิจเดินทางเยือนกันและกันไปถึง 12 ปี

 

ยุนซอกยอลได้กล่าวกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยว่า ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ควรจะต้องทิ้งอดีตไว้เบื้องหลัง และพยายามเรียกร้องให้ทุกๆ ฝ่ายเข้าใจถึงการตัดสินใจของเขาในการยุติข้อพิพาทด้านแรงงานในช่วงสงคราม หลังเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมเกาหลีใต้ประกาศว่าจะชดเชยเงินให้กับเหยื่อชาวเกาหลีใต้ที่ถูกบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามระหว่างปี 1941-1943 ด้วยตนเอง ผ่านมูลนิธิต่างๆ ของรัฐ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นย่ำแย่อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติและตัวประชาชนทุกคนเอง

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เห็นด้วยได้โจมตียุนซอกยอลอย่างหนัก เพราะไม่เห็นด้วยที่ผู้นำเกาหลีใต้ตัดสินใจยอมชดใช้แทนญี่ปุ่น แถมไม่มีคำขอโทษออกมาจากฝั่งญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีนี้ยุนซอกยอลกล่าวว่า ญี่ปุ่นได้แสดงความเสียใจและได้กล่าวขอโทษหลายครั้งแล้วสำหรับประเด็นทางประวัติศาสตร์

 

ภาพ: Kim Jae-Hwan / SOPA Images / LightRocket via Getty Images

 

อ้างอิง:

The post เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเห็นพ้องฟื้นข้อตกลงแชร์ข้อมูลข่าวกรองทางทหารอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้นำเกาหลีใต้เยือนญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 12 ปี สองชาติจะก้าวข้ามความบาดหมางในอดีตได้หรือไม่ https://thestandard.co/yoon-suk-yeol-visit-japan/ Fri, 17 Mar 2023 09:05:54 +0000 https://thestandard.co/?p=764566 ผู้นำเกาหลีใต้เยือนญี่ปุ่น

ยุนซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ บินตรงสู่กรุงโตเกียว เม […]

The post ผู้นำเกาหลีใต้เยือนญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 12 ปี สองชาติจะก้าวข้ามความบาดหมางในอดีตได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้นำเกาหลีใต้เยือนญี่ปุ่น

ยุนซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ บินตรงสู่กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 16 มีนาคม เพื่อร่วมประชุมกับ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดประวัติศาสตร์ เพราะเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่ผู้นำของเกาหลีใต้เดินทางเยือนญี่ปุ่นเพื่อเจรจากับผู้นำ โดยผลลัพธ์สูงสุดที่หลายฝ่ายคาดหวังจากประชุมครั้งนี้ คือการกลับมาประสานรอยร้าวของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ คู่ปรับไม้เบื่อไม้เมาที่มีความบาดหมางกันมานมนาน ท่ามกลางภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือที่กำลังสั่นคลอนความมั่นคงของทั้งสองชาติ

 

THE STANDARD ชวน ผศ.นิมิต อังก์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มาร่วมพูดคุยกันว่า การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของยุนซอกยอลครั้งนี้มีนัยสำคัญอย่างไร ทำไมเกาหลีใต้จึงเลือกกลับมากระชับมิตรกับญี่ปุ่นในเวลานี้ ตลอดจนคำถามสำคัญที่ว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยพาทั้งสองชาติก้าวข้ามความขัดแย้งได้จริงหรือไม่

 

การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของยุนซอกยอลมีนัยสำคัญอย่างไร 

 

ในประเด็นนี้ ผศ.นิมิตวิเคราะห์ว่า มีหลากหลายประเด็นด้วยกันในการอธิบายถึงนัยสำคัญของทริปการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งประวัติศาสตร์ของผู้นำเกาหลีใต้ 

 

ประการแรกเลยคือ นี่เป็นความพยายามของยุนซอกยอลที่จะส่งสัญญาณอันแข็งกร้าวไปถึงเกาหลีเหนือ โดยยุนซอกยอลเป็นผู้นำฝ่ายขวาที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า ในยุคของเขาจะไม่ใช้นโยบายที่จะหันไปผูกมิตรกับเกาหลีเหนืออย่างเช่นความพยายามของผู้นำในอดีต แต่จะเปลี่ยนมาใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม 

 

ต้องเท้าความกลับไปก่อนว่า ก่อนที่จะก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีนั้น ยุนซอกยอลประกาศมาตั้งแต่ช่วงหาเสียงแล้วว่า เขาจะเป็นผู้นำที่เข้ามาซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่เคยแตกหักกับญี่ปุ่น ผ่านนโยบายต่างประเทศในยุคของตนเอง เหตุผลสำคัญประการหนึ่งอาจเป็นเพราะเขาคือผู้นำที่ต้องการหันไปใช้ ‘ไม้แข็ง’ กับเกาหลีเหนือ เพราะในช่วงเวลาที่เกาหลีเหนือมีพฤติกรรมยั่วยุมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น การแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับญี่ปุ่นและการประสานความร่วมมือด้านกองทัพก็ดูจะเป็นผลดีกับเกาหลีใต้อย่างมาก

 

และแล้วเขาก็สามารถทำได้สำเร็จ โดยเมื่อวานนี้ผู้นำทั้งสองตกลงที่จะกลับมาฟื้นฟูภารกิจการเดินทางเยือนกันและกันอีกครั้ง หลังจากที่ระงับไปเมื่อ 12 ปีก่อน ขณะที่คิชิดะเปิดเผยหลังเสร็จสิ้นการประชุมด้วยว่า ญี่ปุ่นเห็นพ้องที่จะกลับมาฟื้นฟูข้อตกลง GSOMIA รอบใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยขีปนาวุธและทดลองนิวเคลียร์ หลังจากที่เคยระงับไปในปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ถดถอยหนักถึงขีดสุด

 

ประการที่สองคือ เกาหลีใต้หวังที่จะแสดงความเป็นมิตรไมตรีกับญี่ปุ่นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โดยหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น จะเห็นได้ว่าเกาหลีใต้และญี่ปุ่นถือเป็นชาติที่เป็นศัตรูกันมาอย่างยาวนาน หรือถ้าจะเป็นพันธมิตรกันก็จะอยู่แค่ในขอบเขตที่มีความจำเป็นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นต่างเป็นชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงมีส่วนที่ตกอยู่ในภาวะ ‘จำยอม’ ที่จะต้องร่วมผนึกกำลังกันในบางภาคส่วน

 

สถานการณ์ที่ชัดเจนที่สุดคือ หากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นสามารถคืนดีกันได้ (แม้จะบางส่วน) ก็จะช่วยผนึกกำลังกันต้านอำนาจจีน สิ่งนี้นอกจากจะเป็นผลดีกับญี่ปุ่นเองที่กำลังมองว่าจีนเป็น ‘ภัยคุกคามระยะยาว’ ก็ยังเป็นผลดีกับอีกหนึ่งตัวละครสำคัญอย่างสหรัฐฯ ชาติมหาอำนาจจากอีกซีกโลกที่อยากจะต้านอิทธิพลจีนมากที่สุด และนี่ก็เป็นสิ่งที่จีนไม่อยากเห็น เพราะจะทำให้ตนตกที่นั่งลำบากได้ 

 

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์จากต่างประเทศมองว่า ยุนซอกยอลเองก็ดูเหมือนจะต้องการเอาใจพันธมิตรคนสำคัญอย่างสหรัฐฯ ที่เวลานี้ก็พยายามรุกคืบเข้ามาในเอเชียเพื่อหาพรรคพวกต่อกรกับอิทธิพลจีน โดย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวชื่นชมข้อตกลงของเกาหลีใต้ที่จะชดเชยแก่แรงงานทาสแทนญี่ปุ่นของยุนซอกยอลว่าเป็น ‘การเริ่มต้นบทใหม่ที่สำคัญ’ ของพันธมิตรทั้งสองของสหรัฐฯ รวมถึงเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างอนาคตที่ปลอดภัยกว่า มั่นคงกว่า และเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าสำหรับพลเมืองของทั้งสองชาติ และในวันต่อมา ไบเดนก็ได้ส่งคำเชิญให้ยุนซอกยอลมาเยือนทำเนียบขาวในวันที่ 26 เมษายน ในโอกาสฉลองครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งนั่นก็อาจเป็นโอกาสใหม่ที่ผลักดันให้เกาหลีใต้มีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น แทนที่จะโฟกัสอยู่แต่กับประเด็นเกาหลีเหนือ ยุนซอกยอลได้มองไปไกลกว่านั้น หรือมองไปถึงภาพใหญ่คืออินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกาหลีใต้จะมีบทบาทเด่นได้มากขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยในปี 2019 อันเป็นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติอยู่ในช่วงถดถอยนั้น ญี่ปุ่นได้ออกข้อจำกัดควบคุมการส่งออกสารเคมีหลายชนิดที่เกาหลีใต้ต้องการ ซึ่งล้วนแต่เป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อตอบโต้ที่เกาหลีใต้ยังคงรื้อฟื้นเรื่องของสงครามโลกอย่างไม่ลดละ ฉะนั้น ประเด็นดังกล่าวก็เป็นอีกหนึ่งเหตุเร่งด่วนที่เกาหลีใต้อยากแก้ไขให้ได้เร็วที่สุดเช่นกัน 

 

ด้วยเหตุนี้ เกาหลีใต้ที่ตกอยู่ในภาวะเสียแต้มให้กับญี่ปุ่นมายาวนาน จึงเริ่มเปิดฟลอร์ด้วยการออกสเต็ปเต้นรำก่อน ท่ามกลางสปอตไลต์ที่สาดส่องมายังเวทีแห่งนี้ และทุกสายตาที่คอยจับจ้องว่า ในเมื่อเกาหลีใต้ได้ยื่นมือเชื้อเชิญให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาบนเวทีนี้ด้วยกัน แล้วญี่ปุ่นจะยอมเดินร่วมไปเต้นรำในจังหวะเดียวกันด้วยหรือไม่

 

และยุนซอกยอลก็ทำมันได้สำเร็จ เพราะในที่สุดญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกเรียบร้อยแล้ว ส่วนเกาหลีใต้เองก็ตกลงที่ถอนคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวต่อองค์การการค้าโลก (WTO)

 

แต่หากถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปแล้ว ผศ.นิมิตกล่าวว่า คนในประเทศจะไม่ค่อยสนับสนุนให้เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกันสักเท่าไร เพราะปมความขัดแย้งที่ฝังรากลึก แต่ถึงเช่นนั้น ก็ดูเหมือนว่าในเวลานี้ผู้นำเกาหลีใต้จะพยายามใช้กลยุทธ์การยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจากที่เคยย่ำแย่มาเป็นสิบๆ ปี

 

ทำไมเกาหลีใต้จึงเลือกกลับมาประสานรอยร้าวกับญี่ปุ่นเอาเวลานี้

 

ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนว่า ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นมีการกระทบกระทั่งกันมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากว่าในอดีตนั้น เกาหลีใต้เคยเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นมาก่อนตั้งแต่ปี 1910 จนถึงช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงเวลาดังกล่าวทหารญี่ปุ่นได้บังคับให้ชาวเกาหลีใต้หลายแสนคนใช้แรงงานอย่างหนักในเหมืองและโรงงานหลายแห่ง ที่เลวร้ายกว่านั้นคือมีผู้หญิงหลายคนต้องพลีกายเป็นทาสบำเรอกามให้กับทหารญี่ปุ่นให้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

วันเวลาผ่านไป แผลที่เคยสดและเจ็บปวดก็แห้งลง แต่กลับกลายเป็น ‘แผลเป็น’ ที่ถึงแม้จะไม่เจ็บ แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจที่คอยย้ำให้ชาวเกาหลีใต้จดจำว่า ญี่ปุ่นเคยทำอะไรกับพวกเขาไว้บ้าง ทำให้ไม่ใช่แค่ในระดับรัฐบาลที่มีความขัดแย้ง เพราะก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงมองญี่ปุ่นในแง่ลบ แม้ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากจะผ่านพ้นมานานแล้ว

 

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ตกต่ำลงอย่างหนักในสมัยของอดีตประธานาธิบดีมุนแจอิน หลังจากที่เมื่อปี 2018 ศาลฎีกาของเกาหลีใต้มีคำสั่งให้บริษัทญี่ปุ่น 2 แห่ง ซึ่งได้แก่ Mitsubishi Heavy Industries และ Nippon Steel ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้ที่ถูกบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามระหว่างปี 1941-1943 คำตัดสินดังกล่าวสร้างความโกรธแค้นให้กับฝั่งของญี่ปุ่นอย่างมาก จน ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีผู้ล่วงลับ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวถึงลั่นวาจาว่ารัฐบาลจะหาวิธีตอบโต้อย่างเด็ดขาด เพราะคำพิพากษาของศาลสูงเกาหลีใต้ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 

 

แต่มาในสมัยของยุนซอกยอล ท่าทีของเกาหลีใต้ที่มีต่อญี่ปุ่นนั้นกลับมีความนุ่มนวลมากกว่าสมัยของมุนแจอินอยู่หลายขุม โดยหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งสำคัญในเดือนพฤษภาคม 2022 ยุนซอกยอลก็พยายามผลักดันให้เกาหลีใต้กลับมาฟื้นสัมพันธ์กับญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการยกระดับความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในด้านปฏิบัติการทางทหาร เพื่อป้องปรามเกาหลีเหนือที่นับวันจะยิ่งก่อการยั่วยุด้วยการกระหน่ำทดสอบยิงขีปนาวุธมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

ล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม เกาหลีใต้ประกาศว่าจะชดเชยเงินให้กับเหยื่อที่ถูกบังคับใช้แรงงานด้วยตนเอง ผ่านมูลนิธิต่างๆ ของรัฐซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นย่ำแย่อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติและตัวประชาชนทุกคนเอง ขณะที่พรรคฝ่ายค้านก็จวกกลับหนักว่า การที่ผู้นำเกาหลีใต้ตัดสินใจยอมชดใช้แทนญี่ปุ่น แถมไม่มีคำขอโทษออกมาจากปากฝั่งนั้น ถือเป็นเรื่องอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ แต่คำพูดดังกล่าวก็ไม่อาจหยุดยั้งความพยายามของยุนซอกยอลได้

 

สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ยุนซอกยอลเอาจริงกับการฟื้นสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็เกิดคำถามว่า เหตุใดเกาหลีใต้ที่มีความสัมพันธ์รสขมกับญี่ปุ่นมานาน ถึงจะมาพยายามสร้างสัมพันธ์หวานชื่นเอาในวันนี้

 

สำหรับประเด็นนี้ ผศ.นิมิตแสดงความคิดเห็นว่า ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ทะเลาะกันมานมนาน เปรียบเทียบคงคล้ายๆ กับไทยที่ทะเลาะกับพม่าตั้งแต่สมัยอยุธยา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้อาจไม่ใช่การคืนดีกัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศมากกว่า เพราะตัวยุนซอกยอลมองว่าการทำเช่นนี้จะทำให้เขาได้ผลงานทางการเมือง ได้ภาพลักษณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนนโยบายที่นำพาเกาหลีใต้ไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงมากขึ้น และนโยบายเด่นของยุนซอกยอลก็คือการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นนั่นเอง 

 

“แต่จะสำเร็จหรือไม่นั้นจะต้องรอดูกันต่อไป” ผศ.นิมิตกล่าว

 

หากให้อ่านใจฝั่งของญี่ปุ่นบ้าง ผศ.นิมิตกล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่น่าจะคาดหวังผลลัพธ์อะไรมากเท่ากับฝั่งของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นอาจจะมองแค่ว่า ‘ถ้าได้เกาหลีใต้มาเป็นเพื่อนอีกชาติหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี’ แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่า ทางญี่ปุ่นคงไม่ขอโทษเกาหลีใต้แน่นอน ฉะนั้น ความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้คงไม่ออกมาในลักษณะการคืนดีกันอย่างสนิทใจแบบที่ฝรั่งเศสและอังกฤษเป็น แต่จะออกมาในรูปแบบของ ‘เพื่อนกันในยามจำเป็น’ ไม่ใช่ ‘เพื่อนแท้ในยามยาก’

 

“สำหรับตัวญี่ปุ่นเองผมมองว่า เขาไม่ได้แคร์เกาหลีใต้ในเชิงที่ว่าฉันจะต้องไปขอโทษเธอนะ เพราะญี่ปุ่นมองว่ามันจบไปตั้งแต่ที่ทำสนธิสัญญาตอนนั้นแล้ว ตอนนี้มันก็มีกลุ่มล็อบบี้ภายในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่จะมาร่วมมือกันเพื่อตั้งเป็นองค์กรการกุศล และเอาเงินของเกาหลีใต้ไปบริจาคให้เหยื่อที่ถูกบังคับใช้แรงงานแทน จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วก็มีความพยายามอยู่เบื้องหลัง และเป็นเกาหลีใต้ที่ออกหน้าแทน ทั้งๆ ที่ประชาชนในประเทศก็ไม่ได้เห็นด้วย” ผศ.นิมิตกล่าว

 

การประชุมที่เกิดขึ้นจะช่วยฟื้นความสัมพันธ์ที่บาดหมางระหว่างสองชาติได้มากน้อยแค่ไหน

 

“ผมว่าได้ไม่มาก” นี่คือประโยคแรกที่ ผศ.นิมิตตอบคำถามกับ THE STANDARD ในประเด็นนี้ 

 

ผศ.นิมิตให้เหตุผลต่อไปว่า “เพราะว่ารัฐบาลญี่ปุ่นแทบไม่เคยเปลี่ยนขั้วอำนาจ และหากมองย้อนกลับไปญี่ปุ่นได้ยืนยันหนักแน่นมาตลอดว่าการชดเชยแก่ชาวเกาหลีใต้ตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกนั้นมันจบลงไปนานแล้ว แต่กลับกันคือในฝั่งเกาหลีใต้จะมีการหมุนเวียนรัฐบาลกันบ่อย ทำให้นโยบายต่างประเทศนั้นไม่นิ่ง บางคนก็อยากกระชับสัมพันธ์ บางคนก็อยากโจมตี เปลี่ยนไปตามแต่ว่าใครจะได้เป็นผู้กำหนดนโยบาย”

 

เป้าหมายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ต้องดูในหลายปัจจัยด้วยกัน ที่ชัดเจนสุดคือปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจ จะเห็นว่าจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลเลยทีเดียว 

 

เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 และ 4 ของจีน สำหรับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น จีนก็ต่างเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของทั้งคู่ ส่วนญี่ปุ่นเองนั้นก็มีเกาหลีใต้เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 เส้นใยที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนนี้ทำให้เห็นว่าในทางเศรษฐกิจชาติเหล่านี้แยกกันไม่ขาด

 

“หากเจาะเฉพาะเกาหลีใต้ จะเห็นว่าเกาหลีใต้ยังคงต้องพึ่งพาตลาดจีนอย่างมหาศาล เพราะเกาหลีใต้ประเทศเล็กนิดเดียว คนไม่กี่สิบล้านคน ฉะนั้น ตลาดที่สำคัญของเกาหลีใต้คือจีนที่มีประชาชนหลักพันล้านคน”

 

ถ้าไม่มีจีน เกาหลีใต้อยู่ไม่ได้ ถึงแม้จะบอกว่าเกาหลีใต้จะหันกลับไปเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น แต่อย่างไรเสียก็เป็นพันธมิตรที่ทำได้แบบจำกัด เพราะเกาหลีใต้เองยังต้องพึ่งพาจีนอยู่ไม่น้อย

 

“ถามว่าความบาดหมางจะดีขึ้นได้แค่ไหน ก็คงดีได้แค่ถึงจุดจุดหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมันผูกกันไว้กับจีนมาก ถ้าจีนรู้สึกว่าทั้งสองประเทศนี้ร่วมมือกันก่อหวอดเป็นภัยกับตัวเอง จีนก็อาจใช้นโยบายเศรษฐกิจมาเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าได้ อย่างเช่นที่คนจีนพากันแบนสินค้าของ H&M อย่างหนัก ฉะนั้นเกาหลีใต้จึงต้องระมัดระวังในการเดินเกมว่า ตนเองจะเข้ากับญี่ปุ่นหรือสหรัฐฯ ได้มากน้อยแค่ไหน”

 

อ้างอิง:

The post ผู้นำเกาหลีใต้เยือนญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 12 ปี สองชาติจะก้าวข้ามความบาดหมางในอดีตได้หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ ICBM เช้านี้ ก่อนผู้นำเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเปิดฉากการประชุม https://thestandard.co/north-korea-fires-icbm-missiles/ Thu, 16 Mar 2023 03:42:38 +0000 https://thestandard.co/?p=763737 เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ ICBM

เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) อีกค […]

The post เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ ICBM เช้านี้ ก่อนผู้นำเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเปิดฉากการประชุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ ICBM

เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) อีกครั้งในวันนี้ (16 มีนาคม) ซึ่งเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ประธานาธิบดียุนซอกยอล แห่งเกาหลีใต้ จะเดินทางไปยังกรุงโตเกียวเพื่อร่วมประชุมกับ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยคาดว่าทั้งคู่จะหารือถึงแนวทางตอบโต้ภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ

 

ตลอดสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธหลายต่อหลายครั้ง ในช่วงเวลาที่เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาได้จัดการซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งเกาหลีเหนือประณามว่า ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์กับเกาหลีเหนืออย่างชัดแจ้ง

 

เสนาธิการร่วมของเกาหลีใต้ระบุว่า ขีปนาวุธ ICBM ถูกยิงขึ้นจากกรุงเปียงยางเมื่อเวลาประมาณ 07.10 น. ของวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น (หรือ 05.10 น. ตามเวลาประเทศไทย) ขีปนาวุธร่อนได้ไกลราว 1,000 กิโลเมตรในวิถีโคจรสูง ส่วนกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุว่า ขีปนาวุธดังกล่าวมีแนวโน้มบินได้ไกลกว่า 6,000 กิโลเมตร เป็นเวลาประมาณ 70 นาทีด้วยกัน และตกลงนอกพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่น

 

ฮิโรคาซุ มัตสึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า “การยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ซึ่งมุ่งยกระดับการยั่วยุของตนเองไปสู่สังคมโลก เรายืนยันที่จะประสานความร่วมมือกับเกาหลีใต้และสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือโดยสมบูรณ์ ในการประชุมญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ที่จะเกิดขึ้นในวันนี้”

 

ด้านเกาหลีใต้ได้จัดการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้น และ ‘ประณามอย่างรุนแรง’ ต่อการยิงขีปนาวุธดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการยั่วยุอย่างร้ายแรงที่คุกคามสันติภาพในระดับโลก ขณะที่ประธานาธิบดียุนซอกยอลยังคงสั่งการให้กองทัพเกาหลีใต้จัดการซ้อมรบกับสหรัฐฯ ตามเดิม พร้อมกล่าวว่า เกาหลีเหนือจะต้องจ่ายคืนให้กับ ‘การยั่วยุโดยประมาท’

 

ทั้งนี้ ยุนซอกยอลกำลังเดินทางไปยังญี่ปุ่นเพื่อร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกับคิชิดะ โดยการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะลดความขัดแย้งในแง่ของประวัติศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจของทั้งสองชาติ เพื่อให้สามารถประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และเอาชนะภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ รวมถึงความท้าทายในมิติอื่นๆ

 

ภาพ: Kim Jae-Hwan / SOPA Images / LightRocket via Getty Images

อ้างอิง:

The post เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ ICBM เช้านี้ ก่อนผู้นำเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเปิดฉากการประชุม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เหยื่อบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีใต้ปฏิเสธความช่วยเหลือจากรัฐบาล ยันต้องการคำขอโทษ-ค่าชดเชยจากญี่ปุ่นเท่านั้น https://thestandard.co/south-korean-labor-refuse-help/ Wed, 08 Mar 2023 09:53:19 +0000 https://thestandard.co/?p=760067

บรรดาเหยื่อชาวเกาหลีใต้ที่ถูกบังคับใช้แรงงานช่วงสงครามโ […]

The post เหยื่อบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีใต้ปฏิเสธความช่วยเหลือจากรัฐบาล ยันต้องการคำขอโทษ-ค่าชดเชยจากญี่ปุ่นเท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

บรรดาเหยื่อชาวเกาหลีใต้ที่ถูกบังคับใช้แรงงานช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเกาหลีใต้ โดยระบุว่า พวกเขาต้องการคำขอโทษและค่าชดเชยจากรัฐบาลญี่ปุ่นเท่านั้น ขณะร่วมขบวนประท้วงต่อต้านข้อตกลงดังกล่าวระหว่าง 2 รัฐบาล เมื่อวานที่ผ่านมา (7 มีนาคม)

 

ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดียุนซอกยอลของเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีใต้จะจ่ายค่าชดเชยให้กับเหยื่อที่ถูกบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามโลก ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชนในเกาหลีใต้ แทนที่จะเรียกรับเงินค่าชดเชยจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ที่บังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีใต้อย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ยังกึมด็อก และ คิมซังโจ วัย 95 ปี ทั้งคู่ต่างเคยมีประสบการณ์อันเลวร้าย ถูกบังคับใช้แรงงานอย่างหนักที่โรงงานผลิตเครื่องบิน Mitsubishi Heavy ในเมืองนาโกย่าของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ทั้งยังกึมด็อกและคิมซังโจ รวมถึงผู้สนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งร่วมชุมนุมประท้วง เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์บาดแผลที่เกิดขึ้น โดยคิมซังโจระบุว่า “เราให้อภัยได้ถ้าหากญี่ปุ่นพูดมาเพียงแค่ว่าเราขอโทษและเราได้ทำผิดพลาดไป แต่นี่กลับไม่มีคำพูดเหล่านี้เลย”

 

โดยผู้นำเกาหลีใต้ระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นผลมาจากการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งประเด็นนี้เคยทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำถึงขีดสุด เมื่อศาลสูงสุดของเกาหลีใต้ มีคำสั่งตัดสินให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายค่าชดเชดให้กับเหยื่อที่ถูกบังคับใช้แรงงาน เมื่อปี 2018 แต่กลับไม่มีเหยื่อรายใดได้รับเงินชดเชยดังกล่าวเลย

 

ขณะที่ทางการญี่ปุ่นชี้แจงว่า ประเด็นปัญหานี้เคยได้รับการตกลงกันและยุติลงไปแล้วในสนธิสัญญาปี 1965 ซึ่งได้รวมถึงประเด็นการจ่ายเงินค่าชดเชยกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย โดย โยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันของญี่ปุ่นเองก็ยืนยันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ปรับเปลี่ยนจุดยืนและจะไม่ดำเนินการใดๆ ต่อประเด็นนี้อีก

 

ทางการเกาหลีใต้ระบุว่า ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 เหยื่อผู้ถูกบังคับใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยต่างทยอยเดินทางกลับบ้าน หลังจากถูกบังคับใช้แรงงานยาวนานกว่า 17 เดือน พร้อมระบุว่า มีเหยื่อผู้ถูกบังคับใช้แรงงานอยู่ในเกาหลีใต้ 1,815 ราย

 

ด้านกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิผู้ถูกบังคับใช้แรงงานช่วงสงครามโลกคาดการณ์ว่า แรงงานผู้หญิงชาวเกาหลีใต้แต่ละรายจะได้รับเงินค่าชดเชยราว 210 ล้านวอน (ราว 5.6 ล้านบาท)

 

ยังกึมด็อกระบุว่า “มันไม่ยุติธรรม ฉันไม่รู้ว่ายุนซอกยอลมาจากไหน เขาเป็นคนเกาหลีใต้จริงไหม แต่ฉันจะไม่รับเงินพวกนี้แม้ฉันจะต้องอดตายก็ตาม” พร้อมตะโกนขับไล่ผู้นำเกาหลีใต้ให้พ้นออกจากตำแหน่งผู้นำของประเทศนี้

 

ภาพ: Jung Yeon-je / AFP

อ้างอิง:

The post เหยื่อบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีใต้ปฏิเสธความช่วยเหลือจากรัฐบาล ยันต้องการคำขอโทษ-ค่าชดเชยจากญี่ปุ่นเท่านั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>