Greenpeace – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 20 Oct 2024 07:58:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: โลกเดือด ธารน้ำแข็งละลาย เกาะจมน้ำ สายไปไหม? ที่จะช่วยโลก | GLOBAL FOCUS EP.95 https://thestandard.co/global-focus-ep95/ Fri, 18 Oct 2024 12:20:31 +0000 https://thestandard.co/?p=997771

คุยกับ ‘เฮตตี กีแนน’ หนึ่งในกัปตันหญิงเพียงไม่กี่คนของโ […]

The post ชมคลิป: โลกเดือด ธารน้ำแข็งละลาย เกาะจมน้ำ สายไปไหม? ที่จะช่วยโลก | GLOBAL FOCUS EP.95 appeared first on THE STANDARD.

]]>

คุยกับ ‘เฮตตี กีแนน’ หนึ่งในกัปตันหญิงเพียงไม่กี่คนของโลกที่เลือกจะใช้ความสามารถในการเดินเรือเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงทำงานกับผู้คนและชุมชนทั่วโลกผ่านการแล่นเรือ ‘Rainbow Warrior’ เรือพิทักษ์โลกของกรีนพีซ

 

กัปตันเรือหญิงคนนี้ยังถ่ายทอดมุมมองและบอกเล่าประสบการณ์การทำงานกับกรีนพีซในช่วงระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา พร้อมส่งต่อข้อคิดและแรงบันดาลใจในการ ‘เริ่มต้นลงมือทำ’ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ร่วมกัน

The post ชมคลิป: โลกเดือด ธารน้ำแข็งละลาย เกาะจมน้ำ สายไปไหม? ที่จะช่วยโลก | GLOBAL FOCUS EP.95 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน https://thestandard.co/bangkok-air-quality-problem/ Fri, 27 Jan 2023 10:30:46 +0000 https://thestandard.co/?p=742899 PM2.5

ทีมข่าว THE STANDARD อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาสถิติเว็บไ […]

The post ‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
PM2.5

ทีมข่าว THE STANDARD อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาสถิติเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project และค่าระดับคุณภาพอากาศของค่า PM2.5 จากข้อเสนอของ Greenpeace ของ Rocket Media Lab พบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนสามารถประกอบกิจกรรมได้ตามปกติ จำนวน 49 วัน คิดเป็น 13.42% ของทั้งปี 

 

เกณฑ์สีเหลือง (คุณภาพอากาศปานกลาง) อาจมีผลกระทบต่อคนที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษและอาจต้องพิจารณาจำกัดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 261 วัน หรือคิดเป็น 71.51% ของทั้งปี

 

เกณฑ์สีส้ม (คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ) เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด ต้องจำกัดการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย มีจำนวน 52 วัน หรือคิดเป็น 14.25% ของทั้งปี

 

และเกณฑ์สีแดง (คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ) มี 3 วัน หรือคิดเป็น 0.82% ของทั้งปี

 

ในปี 2565 พบว่า เดือนที่กรุงเทพฯ อากาศแย่มากที่สุดคือเดือนเมษายน อากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3 วัน, อากาศดี 2 วัน, อากาศปานกลาง 19 วัน และอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ 6 วัน

 

📍 อุปมา ‘ฝุ่น PM2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร’ เท่ากับ ‘บุหรี่ 1 มวน’ 

อ้างอิงงานของ ริชาร์ด เอ. มุลเลอร์ นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้คำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน 

 

ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้รับฝุ่นละออง PM2.5 เท่ากับบุหรี่ 1,224.77 มวน เดือนเมษายนที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุด ฝุ่น PM2.5 ปริมาณเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 127.77 มวนเฉลี่ยวันละ 4.26 มวน

 

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่มีส่วนดูแลแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 จำนวน 78,979,446,500 บาท แบ่งไว้แก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ภายใต้การทำงานของสำนักสิ่งแวดล้อม จำนวน 6,845,454,756 บาท คิดเป็น 8.67% 

 

โดยสำนักสิ่งแวดล้อมมีรายการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยตรง 2 รายการ รวม 58,726,956 คิดเป็น 0.74% คือโครงการจ้างเหมาเอกชนเดินระบบและซ่อมบำรุงเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและระบบข้อมูลคุณภาพอากาศ 58,647,556 บาท และค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนจากรถราชการในสังกัด กทม. 79,400 บาท 

 

สำหรับโครงการการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อื่นๆ ที่ไม่ใช้งบประมาณในการดำเนินการ เช่น

 

  • โครงการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและเสียงจากการก่อสร้าง
  • โครงการด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
  • โครงการตรวจวัดรถยนต์ควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
  • โครงการอากาศสะอาดเพื่อเราทุกคน 
  • โครงการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร 
  • โครงการศึกษาการจัดการปัญหาการเผาในที่โล่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

📍 ‘แผนระดับชาติ’ ในการจัดการ ‘ฝุ่นระดับจิ๋ว’

ย้อนกลับไปวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  มีมติให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2567 

 

  • ภาคการขนส่งทางถนน มีการออกประกาศกำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 13 เมษายน 2565, มาตรการการตรวจควันดำ และมาตรการนําน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกํามะถันไม่เกิน 10 มิลลิลิตรต่อลูกบาศก์เมตร (ppm) (มีกำมะถันน้อยกว่า 5 เท่า) มาใช้ หรือการปรับปรุงน้ำมันให้มีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 

 

  • ภาคอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ ให้โรงงานประเภทต่างๆ ติดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ครอบคลุมโรงงานที่เข้าข่ายทั่วประเทศ โดยสั่งติดเครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่องฯ แบบอัตโนมัติ พร้อมรายงานผล 24 ชั่วโมง

 

  • ภาคการเกษตรออกระเบียบกำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยไฟไหม้เข้าหีบในฤดูการผลิตปี 2564/65 ไม่เกิน 10% ฤดูการผลิตปี 2565/66 ไม่เกิน 5% และฤดูการผลิตปี 2566/67 เป็นศูนย์ เพื่อลดการเผาในที่โล่งแจ้ง และออกมาตรการส่งเสริมการตัดอ้อยสดผ่านการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย เพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดโดยไม่ต้องเผาอ้อยสำหรับฤดูการผลิต 2565/66 

 

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 โดยเป็นการถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง จากปี 2565 นำมาปรับปรุงและยกระดับความเข้มงวดมาตรการต่างๆ เป็น 7 แนวทาง ภายใต้กรอบ ‘สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการ สร้างการมีส่วนร่วม’ ประกอบด้วย

 

  1. เร่งรัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกและแจ้งเตือนล่วงหน้า 7 วันทุกพื้นที่ สร้างความเชื่อมั่นและลดความสับสนของประชาชน รวมทั้งสื่อสารผ่านสื่อใหม่มากขึ้น เช่น Tiktok เพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชน

 

  1. ยกระดับมาตรการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ‘การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง’ และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เพิ่มความเข้มงวด ควบคุมฝุ่นละอองในช่วงวิกฤตในพื้นที่ป่า เตรียมความพร้อมบุคลากรและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ควบคุมฝุ่นละอองจากยานพาหนะและภาคอุตสาหกรรม นำน้ำมันกำมะถันต่ำมาจำหน่ายในช่วงวิกฤต เป็นต้น

 

  1. ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร (ชิงเก็บ ลดเผา และระบบบริการการเผาในที่โล่ง) เช่น จัดเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรนำตอซัง ฟางข้าว และใบอ้อย ไปใช้ประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่า เพื่อลดการเผา

 

  1. กำกับดูแลการดำเนินการในทุกระดับ ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงจัดให้มีแพลตฟอร์มหรือช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือแจ้งเหตุด้านมลพิษ และติดตามการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

 

  1. ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ พัฒนาระบบพยากรณ์ความรุนแรงและอันตรายของไฟ จัดทำฐานข้อมูลสำหรับการป้องกัน และควบคุมการเกิดไฟ

 

  1. ผลักดันกลไกระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดทำโรดแมปและกำหนดเป้าหมายลดจำนวนจุดความร้อน / พื้นที่เผาไหม้ในภูมิภาคอาเซียน

 

  1. ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการป้องกัน แก้ไข ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละออง

 

อ้างอิง: 

The post ‘แก้ฝุ่นจิ๋วด้วยงบจิ๋ว’ ปี 2565 คนกรุงเทพฯ ได้สัมผัสอากาศดีแค่ 49 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ฝรั่งเศส’ กลายเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอสซิล https://thestandard.co/france-to-ban-fossil-fuel-ads/ Fri, 26 Aug 2022 09:33:12 +0000 https://thestandard.co/?p=672442

ฝรั่งเศสประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับ […]

The post ‘ฝรั่งเศส’ กลายเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอสซิล appeared first on THE STANDARD.

]]>

ฝรั่งเศสประกาศเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับกฎหมายใหม่ที่ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์พลังงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ‘เชื้อเพลิงฟอสซิล’ เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำมัน พลังงานจากการเผาไหม้ของเหมืองถ่านหิน และคาร์บอนที่มีไฮโดรเจน

 

ปัจจุบันการโฆษณาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอสซิลยังดำเนินไปตามปกติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในเดือนมิถุนายน ปี 2023 โดยมีบทลงโทษรวมถึงค่าปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 ยูโร สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน

 

กฎหมายฉบับใหม่มีขึ้นหลังจากนักรณรงค์ รวมถึงกรีนพีซ (Greenpeace) เรียกร้องให้สหภาพยุโรปห้ามโฆษณาเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดอุตสาหกรรมยาสูบ

 

ในขณะเดียวกัน นักวิจารณ์กรีนพีซกล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวไม่เพียงพอ เพราะยังคงอนุญาตให้โฆษณาก๊าซธรรมชาติและสถานการณ์ที่ลดหย่อนโทษบางอย่าง ในทางกลับกัน ซูเปอร์มาร์เก็ตกล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวเข้มงวดมากเกินไป พวกเขาไม่สามารถแจ้งเตือนผู้บริโภคในกรณีที่ราคาพลังงานตกต่ำได้

 

แม้ฝรั่งเศสจะเป็นประเทศแรกในยุโรปที่มีกฎหมายไม่ให้โฆษณาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็มีการออกกฎระเบียบที่คล้ายกันใน ‘อัมสเตอร์ดัม’ เมื่อปีที่แล้ว

 

เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์กลายเป็นเมืองแรกในโลกที่ห้ามโฆษณาจากบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและจากอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งแปลว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น รถยนต์ที่ใช้น้ำมันและเที่ยวบิน ไม่สามารถโฆษณาในสถานีรถไฟใต้ดินอัมสเตอร์ดัมหรือบริเวณใจกลางเมืองได้อีกต่อไป

 

ในที่สุดการตัดสินใจยกเลิกโฆษณาเชื้อเพลิงฟอสซิลออกจากเมืองก็เกิดขึ้น หลังเกิดขบวนการมวลชนในเมืองหลวงที่นำโดยโครงการ Reclame Fossielvrij (Fossil Free Advertising) ซึ่งในอนาคตจะมีประเทศไหนยกกฎหมายนี้มาใช้หรือไม่ ก็ต้องติดตามชมกันต่อไป

 

อ้างอิง:

The post ‘ฝรั่งเศส’ กลายเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงฟอสซิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. ร่วมหารือกรีนพีซ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม PM2.5-ขยะ ย้ำต้องร่วมมือภาคีเครือข่ายแก้ตั้งแต่ต้นทาง เห็นผลรูปธรรมสิ้นปีนี้ https://thestandard.co/bangkok-meet-up-with-greenpeace-solving-pm2-5/ Tue, 26 Jul 2022 09:50:54 +0000 https://thestandard.co/?p=659134 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (26 กรกฎาคม) ที่ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหา […]

The post กทม. ร่วมหารือกรีนพีซ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม PM2.5-ขยะ ย้ำต้องร่วมมือภาคีเครือข่ายแก้ตั้งแต่ต้นทาง เห็นผลรูปธรรมสิ้นปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

วันนี้ (26 กรกฎาคม) ที่ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) พร้อมด้วย พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม ประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการลดฝุ่น PM2.5 รวมถึงการดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) กับผู้แทนกรีนพีซ (Greenpeace) นำโดย สมบัติ เหสกุล 

 

ชัชชาติกล่าวภายหลังการประชุมว่า มีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะทำอย่างไรให้สภาพสิ่งแวดล้อมใน กทม. ดีขึ้น แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักคือ เรื่องฝุ่น PM2.5 กรีนพีซเน้นเรื่องการปรับมาตรฐานให้เข้มข้นตามองค์การอนามัยโลก (WHO) หาพื้นที่ Sandbox ที่จะทำต้นแบบการจำกัดเรื่องฝุ่น PM2.5 ซึ่งสอดคล้องกับ 16 แผนปฏิบัติการของ กทม. ที่เริ่มเดินหน้าการตรวจฝุ่น ควันพิษ การติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นเพิ่ม ออกมาตรการเข้มข้นกับสถานประกอบการต่างๆ 

 

ส่วนประเด็นที่ 2 การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาจเริ่มจากหน่วยงาน กทม. ก่อน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลาว่าการ กทม. หรือสวนสาธารณะ ซึ่งมีอยู่ในแนวคิดอยู่แล้วแต่จะดูเรื่องการลงทุน ความคุ้มทุน ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนร่วมกับเอกชน แต่คงไม่ได้หยุดแค่ Solar Rooftop ยังพูดถึงเรื่องพาหนะไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ด้วย

 

ชัชชาติกล่าวต่ออีกว่า การประชุมครั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องการกำจัดขยะ หลายอย่างคิดตรงกัน การกำจัดขยะต้นทุนสูงมาก หัวใจหลักคือการลดต้นทุนในการกำจัดขยะ ถ้าลดตั้งแต่ต้นทางได้ทั้งกระบวนการก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีหลายมิติในการจัดการ เป็นแนวทางในการหาเครือข่ายขยายตัวขึ้นการทำงานจะเป็นรูปธรรมขึ้น

 

“สิ่งแวดล้อม กทม. ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย มีหลายจุดเริ่มต้นแล้ว มีการพบกับกระทรวงพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงทรัพยากรฯ กับปลัด กทม. ต้องให้มีผลเป็นรูปธรรมในสิ้นปีนี้ มีการไปดูการจัดการขยะของมูลนิธิกระจกเงา พบกรีนพีซ ลงไปดูการกำจัดขยะจริงๆ ในพื้นที่” ชัชชาติกล่าว 

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า ต้องมีการทำแผนระยะยาวซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้วันที่ PM2.5 ยังไม่วิกฤต เพราะถ้าถึงฤดูกาลก็จะหนักขึ้น สิ่งที่จะนำร่องเป็นรูปธรรมและทำร่วมกับกรีนพีซได้ก่อนคือเรือง Sandbox และ Solar Rooftop ดูความเป็นไปได้ว่า กทม. จะลดค่าไฟโดยใช้โซลาร์เซลล์ได้มากน้อยแค่ไหน หาอันที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญ หลายอย่างสามารถเริ่มได้เลย

 

ด้านสมบัติกล่าวว่า เมื่อพูดถึงขยะคนจะคิดถึงการกำจัดขยะ ตอนนี้งบประมาณในการจัดการขยะของ กทม. จริงๆ อยู่ที่ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ไม่ใช่ 7-8 พันล้านบาท กทม. จัดเก็บรายได้ได้ 1 หมื่นกว่าล้านบาท เงินของ กทม. มีจำกัด หากเอามาจัดการขยะอย่างเดียวคงไม่พอ วันนี้ กทม. เก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะได้ต่ำมากเพียง 500-800 ล้านบาท ทำอย่างไรจะลดต้นทุนการจัดการขยะแล้วสร้างระบบการจัดการขยะจากทุกภาคส่วน ต้องมีแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพระดับเขตที่เป็นเส้นเลือดฝอยจริงๆ ยกระดับคนทำงานในพื้นที่อย่างซาเล้งให้เป็นเส้นเลือดฝอยที่สำคัญของ กทม. ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการจัดการขยะได้มากขึ้น 

 

ขณะที่พรพรหมกล่าวว่า นอกเหนือจากการเสนอของกรีนพีซในเรื่อง PM2.5 แล้ว กทม. ได้เสนอ 16 แผนปฏิบัติการ เช่น นักสืบฝุ่นในการหาต้นตอฝุ่น พื้นที่ปลอดฝุ่น การติดเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าฝุ่นเพิ่ม รวมถึงการทำอย่างไรกับรถควันดำเข้ามาในพื้นที่โดยเฉพาะรถบรรทุก ซึ่ง กทม. เองมีมาตรการดูตั้งแต่ต้นทาง ให้ไซต์ก่อสร้างพิจารณา กรีนพีซช่วยแชร์ข้อมูลการตรวจวัดฝุ่นจากสถานีตรวจวัดฝุ่นของ กทม. ที่มีอยู่ 70 แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปลายปี

The post กทม. ร่วมหารือกรีนพีซ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม PM2.5-ขยะ ย้ำต้องร่วมมือภาคีเครือข่ายแก้ตั้งแต่ต้นทาง เห็นผลรูปธรรมสิ้นปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Greenpeace เผย มีน้ำมันจากรัสเซียเกือบ 2 ล้านบาร์เรลนำเข้าสู่สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนเปิดฉาก https://thestandard.co/russia-ukraine-crisis-28042022/ Thu, 28 Apr 2022 05:38:20 +0000 https://thestandard.co/?p=622457 Greenpeace

วานนี้ (27 เมษายน) องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง […]

The post Greenpeace เผย มีน้ำมันจากรัสเซียเกือบ 2 ล้านบาร์เรลนำเข้าสู่สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนเปิดฉาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Greenpeace

วานนี้ (27 เมษายน) องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Greenpeace เผยว่า มีน้ำมันจากรัสเซียเกือบ 2 ล้านบาร์เรลนำเข้าสู่สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนเปิดฉากราว 2 เดือนก่อน ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.5 พันล้านบาท) ท่ามกลางการประกาศจุดยืนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียของหลายประเทศในประชาคมโลก เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงที่จะนำไปใช้ส่งเสริมกิจการทหารและด้านความมั่นคง

 

โดยสหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกาศจุดยืนร่วมคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย พร้อมประกาศห้ามเรือบรรทุกสินค้าสัญชาติรัสเซียและติดรัสเซียเข้าเขตน่านน้ำของสหราชอาณาจักร แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัสเซียยังคงสามารถผ่านเข้ามายังประเทศสหราชอาณาจักรได้ ผ่านช่องทางเรือที่ไม่ได้มีสัญชาติรัสเซียและติดธงประเทศอื่นเอาไว้ 

 

ทางด้านรัฐบาลสหราชอาณาจักรชี้แจงว่า ระยะเวลาการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียจะยุติภายใต้สิ้นปีนี้ หลังจากนั้นจะยุติการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากรัสเซียโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งชี้ว่า สหราชอาณาจักรไม่ได้มีปัญหาเรื่องจัดซื้อจัดหาเชื้อเพลิง ไม่ได้พึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียเหมือนหลายประเทศในยุโรป 

 

ขณะที่ จอร์เจีย วิทเทเกอร์ ผู้ติดตามประเด็นด้านน้ำมันและก๊าซประจำ Greenpeace ระบุว่า แม้จำนวนผู้เสียชีวิตจากไฟแห่งสงครามจะเพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็ยังประวิงเวลาให้ตัวเองถึงสิ้นปีนี้ ก่อนที่จะยกเลิกการนำเข้าเชื้อเพลิงจากรัสเซียในที่สุด

 

วิทเทเกอร์มองว่ามาตรการคว่ำบาตรจะใช้ไม่ได้ผลจนกว่ามันจะได้ปรับใช้ ได้รับการนำไปปฏิบัติ การนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียอีก 8 เดือนนับจากนี้นานเกินไป สิ่งที่ประชาคมโลกควรจะรีบลงมือทำคือ แบนการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัสเซียทั้งหมดในทันที เพื่อกดดันให้กองทัพรัสเซียยุติการก่อสงครามโดยเร็ว

 

ภาพ: Hannah McKay / Reuters 

อ้างอิง:

The post Greenpeace เผย มีน้ำมันจากรัสเซียเกือบ 2 ล้านบาร์เรลนำเข้าสู่สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่สงครามรุกรานยูเครนเปิดฉาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซและเครือข่าย รวมตัวฟ้องผู้มีส่วนกับการแก้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ชี้ดำเนินงานช้า ทำประชาชนประสบปัญหาสุขภาพ https://thestandard.co/greenpeace-and-network-sue-those-involved-in-solving-the-problem-of-pm2-5-dust/ Tue, 22 Mar 2022 07:14:19 +0000 https://thestandard.co/?p=608401 กรีนพีซ

วันนี้ (22 มีนาคม) ผู้แทนมูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (Gre […]

The post กรีนพีซและเครือข่าย รวมตัวฟ้องผู้มีส่วนกับการแก้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ชี้ดำเนินงานช้า ทำประชาชนประสบปัญหาสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซ

วันนี้ (22 มีนาคม) ผู้แทนมูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (Greenpeace Thailand), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH), สภาลมหายใจเชียงใหม่, สภาลมหายใจภาคเหนือ, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ และ นันทิชา โอเจริญชัย นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Climate Strike Thailand ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมและประชาชนที่ติดตามและผลักดันรณรงค์การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง ได้เดินทางมายังอาคารศาลปกครอง เพื่อยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.), วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อศาลปกครองกลาง 

 

โดยตัวแทนระบุว่า ผู้ที่มีหน้าที่ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฝุ่นละออง PM2.5 ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ล่าช้าเกินสมควร ส่งผลให้พื้นที่ กทม. และพื้นที่ภาคเหนือมีค่าฝุ่นละออง PM2.5 สูงกว่ามาตรฐาน และทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรงมายาวนาน 

 

นอกจากนี้กรีนพีซและเครือข่ายทั้ง 7 ราย ได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ กก.วล. ออกประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และให้ กก.วล. กับวราวุธ ออกประกาศค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียประเภทฝุ่นละออง PM2.5 จากโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการประเภทอื่นๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM2.5 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

 

รวมทั้งให้สุริยะออกประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายอยู่ในสิ่งแวดล้อมให้มีค่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด และเทียบเท่ามาตรฐานสากล พร้อมกับออกประกาศกำหนดประเภทสารมลพิษหรือสารเคมีที่โรงงานต้องจัดทำรายงานข้อมูล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยมีการรายงานฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในบัญชีมลพิษและสารเคมีเป้าหมาย และจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ รวมถึงมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนภาคประชาสังคมสามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

 

ด้าน อัลลิยา เหมือนอบ ผู้ประสานงานรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหา PM2.5 ให้ได้ผลนั้น ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ต้องกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด เพราะการป้องกันไม่ให้ปลดปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดย่อมจัดการง่ายและใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า

 

ขณะที่การจัดการที่ปลายเหตุ นับเป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันผลกระทบต่อประชาชนทุกคนได้มีประสิทธิภาพ แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามมติที่คณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2562 กลับดำเนินการล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผน

 

ด้าน สุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวเสริมว่า เมื่อความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังดำรงอยู่ สิ่งนี้จึงไปกระทบต่อสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน ซึ่งการลุกขึ้นมาตรวจสอบอำนาจรัฐให้ปฏิบัติตามหน้าที่ครั้งนี้จึงเป็นภารกิจของประชาชนทุกคน และการฟ้องร้องคดีนี้มุ่งหวังให้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายรับรองและคุ้มครองไว้

The post กรีนพีซและเครือข่าย รวมตัวฟ้องผู้มีส่วนกับการแก้ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ชี้ดำเนินงานช้า ทำประชาชนประสบปัญหาสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซวิเคราะห์หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียในยูเครน ชี้ทางออกเดียวคือ ยุติสงครามทันที https://thestandard.co/ukraines-zaporizhzhya-nuclear-power-plant/ Fri, 04 Mar 2022 11:57:36 +0000 https://thestandard.co/?p=601869 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

วันนี้ (4 มีนาคม) การรุกรานยูเครนโดยกองทัพของ วลาดิเมีย […]

The post กรีนพีซวิเคราะห์หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียในยูเครน ชี้ทางออกเดียวคือ ยุติสงครามทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

วันนี้ (4 มีนาคม) การรุกรานยูเครนโดยกองทัพของ วลาดิเมียร์ ปูติน ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางนิวเคลียร์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ 15 เครื่อง รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปของยูเครนนั้น เสี่ยงต่อการเกิดหายนะ ซึ่งอาจทำให้ภูมิภาคอันกว้างใหญ่ของทวีปยุโรป รวมถึงรัสเซีย ไม่อาจอยู่อาศัยได้นับทศวรรษ จากการวิเคราะห์ล่าสุดของกรีนพีซ [1]

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย ผลิตไฟฟ้า 19% ให้แก่ยูเครนในปี 2563 และเป็นพื้นที่ที่มีกองทหารและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียอยู่ในรัศมีไม่กี่กิโลเมตร [2] ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ 6 เครื่อง และบ่อน้ำหล่อเย็น 6 แห่ง ที่หล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์กัมมันตภาพรังสีสูงหลายร้อยตัน ปัจจุบันมีเตาปฏิกรณ์ที่ทำงาน 3 เครื่อง และอีก 3 เครื่องหยุดทำงานนับตั้งแต่เริ่มสงคราม

 

งานวิจัยที่รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญของกรีนพีซสากลสรุปว่า ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากสงคราม ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากมีการระเบิดที่ทำลายอาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และระบบหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารกัมมันตภาพรังสีจากทั้งแกนเตาปฏิกรณ์และและบ่อน้ำหล่อเย็นที่เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วจะรั่วไหลออกสู่ชั้นบรรยากาศ และสร้างหายนะที่เลวร้ายยิ่งกว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิที่เกิดขึ้นในปี 2554 กระทบพื้นที่หลายร้อยกิโลเมตรจากจุดที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และอาจมีรังสีปนเปื้อนได้นานถึงหลายทศวรรษ แม้ว่าจะไม่มีความเสียหายโดยตรงต่อโรงไฟฟ้า แต่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องพึ่งพาทั้งไฟฟ้า ากโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว ความพร้อมของช่างเทคนิคและบุคลากรด้านนิวเคลียร์ และการเข้าถึงอุปกรณ์และการขนส่ง

 

Jan Vande Putte ผู้ร่วมทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [3] กล่าวว่า

 

“ความน่ากลัวอีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือความเสี่ยงด้านนิวเคลียร์ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดสงครามขึ้นในประเทศที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายเครื่อง และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วและมีกัมมันตภาพรังสีสูงหลายพันตัน สงครามในทางตอนใต้ของยูเครนรอบๆ เมืองซาปอริซเซีย ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุร้ายแรง ตราบใดที่สงครามนี้ยังคงดำเนินต่อไป ภัยคุกคามทางทหารต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเครนจะยังคงอยู่ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งในบรรดาเหตุผลมากมายที่ปูตินจะต้องยุติการทำสงครามในทันที”

 

นับตั้งแต่เริ่มสงครามในยูเครน กรีนพีซสากลได้เฝ้าติดตามการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนอย่างใกล้ชิด วันนี้กรีนพีซสากลได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญบางประการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย ทางตอนใต้ของยูเครน

 

อุบัติเหตุจากการทิ้งระเบิดและการตั้งใจโจมตีของรัสเซียอาจทำให้เกิดหายนะครั้งใหญ่กว่าหายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิในปี 2554 เนื่องจากความเปราะบางของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ที่ความซับซ้อนของระบบ และการใช้ระยะเวลานานในการดึงระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลับสู่โหมดระดับความปลอดภัย การยุติสงครามจึงเป็นทางออกเดียวที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้น

 

กรีนพีซขอแสดงความนับถืออย่างสุดซึ้ง และขอบคุณต่อคนงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน รวมทั้งเชอร์โนบิลที่ทำงานภายใต้สภาวะสุดขีดเพื่อรักษาเสถียรภาพของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [4] พวกเขาไม่เพียงแต่ปกป้องความปลอดภัยของยูเครน แต่ยังรวมถึงส่วนใหญ่ของยุโรปด้วย

 

คณะกรรมการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้จัดการประชุมฉุกเฉินในวันพุธที่ 2 มีนาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ในยูเครน [5]

 

  • หมายเหตุ:

[1] “ความเปราะบางของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงความขัดแย้งทางทหาร Lessons from Fukushima Daiichi Focus on Zaporizhzhia, Ukraine”, Jan Vande Putte (ที่ปรึกษาการป้องกันรังสีและผู้รณรงค์ด้านนิวเคลียร์, กรีนพีซเอเชียตะวันออก และกรีนพีซเบลเยียม) และ Shaun Burnie (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์อาวุโส, กรีนพีซ เอเชียตะวันออก) https://www.greenpeace.org/international/nuclear-power-plant-vulnerability-during-military-conflict-ukraine-technical-briefing/ – ข้อค้นพบหลักอยู่ด้านล่าง

 

[2] รายงานท้องถิ่นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ชี้ให้เห็นว่าพลเรือนหลายพันคนใน Enerhodar เมืองหลักที่เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียกำลังพยายามสกัดกั้นการรุกของกองทัพรัสเซียไปยังโรงไฟฟ้าดังกล่าว วิดีโอจากนายกเทศมนตรีเมือง: https://twitter.com/ignis_fatum/status/1498939204948144128?s=21

 

[3] Jan Vande Putte เป็นที่ปรึกษาด้านการป้องกันรังสี และนักรณรงค์ด้านนิวเคลียร์ที่กรีนพีซเอเชียตะวันออก และกรีนพีซเบลเยียม

 

[4] Chornobyl เป็นการสะกดภาษายูเครนของ Chernobyl

 

[5] IAEA ได้รับแจ้งจากรัฐบาลรัสเซียเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 ว่ากองกำลังทหารของรัสเซียเข้าควบคุมอาณาเขตรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย – https://www.iaea.org/newscenter/pressreleases/update-6-iaea -อธิบดี-ทั่วไป-ถ้อยแถลงสถานการณ์ในยูเครน

 

ภาพ: Joe Klamar / AFP

The post กรีนพีซวิเคราะห์หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียในยูเครน ชี้ทางออกเดียวคือ ยุติสงครามทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซยื่น 400,000 รายชื่อ เปิดปราศรัยผ่าน ‘ครม.ทิพย์’ เรียกร้องรัฐบาลยุติเข้าร่วมความตกลง CPTPP https://thestandard.co/greenpeace-nocptpp/ Tue, 22 Jun 2021 05:43:14 +0000 https://thestandard.co/?p=503194 กรีนพีซ

วันนี้ (22 มิถุนายน) นักกิจกรรมและอาสาสมัครกรีนพีซถือบอ […]

The post กรีนพีซยื่น 400,000 รายชื่อ เปิดปราศรัยผ่าน ‘ครม.ทิพย์’ เรียกร้องรัฐบาลยุติเข้าร่วมความตกลง CPTPP appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซ

วันนี้ (22 มิถุนายน) นักกิจกรรมและอาสาสมัครกรีนพีซถือบอลลูนเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร ที่มีรายชื่อของประชาชนกว่า 400,000 คน ที่ร่วมลงชื่อรณรงค์ออนไลน์ #NoCPTPP ไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุติการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

 

กรีนพีซ ประเทศไทย ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมข้อเรียกร้องที่ชัดเจนจากประชาชนต่อรัฐบาลในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ โดยนายกรัฐมนตรีต้องยุติการเข้าร่วม CPTPP เพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกร สิทธิของผู้บริโภค ความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของไทย ตลอดจนการเข้าถึงยา การสาธารณสุข และระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ

 

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยกเลิกการเข้าร่วม CPTPP อย่างถาวรในทันที เพราะได้ไม่คุ้มเสีย คนไทยต้องแบกต้นทุนสูง ความตกลง CPTPP เป็นเพียงแผนยุทธศาสตร์ที่ขยายอำนาจของบรรษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่แลกกับการล่มสลายของวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชนในประเทศไทย

 

หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจาก Trans Pacific Partnership (TPP) ในปี 2560 มีการรีแบรนด์ TPP ภายใต้ชื่อ CPTPP โดยรัฐภาคีที่เหลืออีก 11 ประเทศ (TPP-11) และเจรจากันใหม่นานกว่าหนึ่งปี ขณะนี้มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่ให้สัตยาบัน ในที่สุดความตกลง CPTPP มีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2561 รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมความตกลงนี้ แต่วิกฤตแห่งความชอบธรรมของการบริหารงานซึ่งขยายเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามว่า ผู้นำของไทยจะแลกผลกระทบอย่างมากและกว้างขวางที่จะตกอยู่กับประชาชนเพียงเพื่อเข้าร่วมความตกลงทางการค้านี้หรือ

 

แม้รัฐบาลไทยตระหนักถึงเสียงต่อต้านของประชาชนในเรื่องนี้ ในเดือนมิถุนายน 2563 กระทรวงพาณิชย์ได้ถอดถอนข้อเสนอการเข้าร่วมความตกลง CPTPP ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลังจากมีความเคลื่อนไหวของสาธารณชน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 หลังจากที่มีข่าวแพร่กระจายผ่านช่องทางออนไลน์ว่าข้อเสนอเข้าร่วม CPTPP ถูกนำกลับมาพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ปฏิกิริยาตอบกลับและเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนยิ่งมีมากขึ้น ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง แฮชแท็ก #NoCPTPP มีผู้แชร์ออกไปมากกว่า 1 ล้าน และมีประชาชนร่วมลงชื่อคัดค้านผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Greenpeace Thailand และ Change.org รวมกันกว่า 400,000 รายชื่อ

 

กรีนพีซ ประเทศไทย ทำงานรณรงค์ #NoCPTPP ในปี 2563 โดยหยิบยกประเด็นความมั่นคงทางอาหาร-การเก็บและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ไม่ใช่อาชญากรรม ข้อมูลโดยมูลนิธิชีววิถี (BioThai) ระบุว่า การเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP คือการยอมรับข้อตกลงที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

 

ด้าน รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์คือทรัพยากรธรรมชาติไม่ควรเป็นทรัพย์สินของบริษัท และการยอมรับ CPTPP คือการยอมให้อาหารของเราถูกยึดกุมโดยบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่เพียงหยิบมือ”

 

กรีนพีซ กรีนพีซ กรีนพีซ กรีนพีซ กรีนพีซ

 

 

พิสูจน์อักษร: นัฐฐา สอนกลิ่น

The post กรีนพีซยื่น 400,000 รายชื่อ เปิดปราศรัยผ่าน ‘ครม.ทิพย์’ เรียกร้องรัฐบาลยุติเข้าร่วมความตกลง CPTPP appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซย้ำ รัฐต้องแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ติงนำขยะไปเผาเป็นพลังงาน เพิ่มก๊าซเรือนกระจก https://thestandard.co/greenpeace-recommendations-for-thailands/ Wed, 17 Feb 2021 09:43:17 +0000 https://thestandard.co/?p=455612 กรีนพีซ ขยะพลาสติก

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์) กรีนพีซ ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ระ […]

The post กรีนพีซย้ำ รัฐต้องแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ติงนำขยะไปเผาเป็นพลังงาน เพิ่มก๊าซเรือนกระจก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซ ขยะพลาสติก

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์) กรีนพีซ ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) โดยมี 2 เป้าหมาย คือ เป้าหมายที่ 1 ให้ลดและเลิกใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง 4 ชนิด คือ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม แก้วพลาสติกความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก ซึ่งมีข้อยกเว้นสำหรับการใช้ในกรณีจำเป็น ได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา และผู้ป่วย เป็นต้น

และเป้าหมายที่ 2 การนำพลาสติกเป้าหมายกลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพลาสติกเป้าหมายภายใน พ.ศ. 2565 

 

พิชามญชุ์ รักรอด หัวหน้าโครงการยุติมลพิษพลาสติก กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า มติ ครม. นี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเป้าหมายที่อยู่ในโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2563-2573 ซึ่ง ครม. มีมติเห็นชอบในเดือนเมษายน 2563 ไปแล้ว จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า จากการดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมา สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสด ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อได้ประมาณ 1,524 ล้านใบ หรือประมาณ 4,385 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตาม ภายใต้แผนปฏิบัติการระยะที่ 1 ซึ่งพิจารณาถึงผู้ผลิตมีส่วนร่วมในการจัดการขยะพลาสติกโดยใช้แนวทาง Responsible Consumption and Production นั้นสามารถทำให้ชัดเจนขึ้นโดยประยุกต์หลักการการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ให้เป็นกรอบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้

 

พิชามญชุ์กล่าวต่อไปว่า ตามแผนโรดแมป การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2563-2573 ในทุกระยะ ก็ยังมีข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการในการจัดการมลพิษพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความจำเป็นในการทบทวนแนวคิดและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่อยู่บนฐานของการนำเอาขยะพลาสติกไปเผาเป็นพลังงาน 

 

โดยมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) คือส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกมาผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) ระบุเพียงว่า จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ 0.78 ล้านตันต่อปี และการคัดแยกและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตัน แต่ไม่ได้คำนึงถึงการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาขยะพลาสติกเลยแม้แต่น้อย ซึ่งหากนำขยะพลาสติก 0.78 ล้านตันไปเผา จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 22.83 ล้านตัน

 

พิชามญชุ์ย้ำว่า รัฐบาลต้องผลักดันให้มีกรอบกฎหมายว่าด้วยการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ซึ่งทำให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำหน่ายเร็ว (Fast Moving Consumer Goods) มีแนวทางและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการขยายความรับผิดชอบของตนไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวทางให้ผู้ผลิตคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ, กระจายสินค้า, การรับคืน, การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัด 

 

“ทั้งนี้ ภาครัฐต้องขับเคลื่อนการแก้ปัญหาขยะพลาสติก โดยมุ่งเน้นไปที่การลด (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และการเติม (Refill) และหยุดสนับสนุนวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง อันเป็นหนทางในการแก้ไขวิกฤตมลพิษพลาสติกอย่างยั่งยืน” พิชามญชุ์กล่าวในที่สุด

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post กรีนพีซย้ำ รัฐต้องแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ติงนำขยะไปเผาเป็นพลังงาน เพิ่มก๊าซเรือนกระจก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซเตือน น้ำปนเปื้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะอาจมีสารกัมมันตรังสีที่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์ https://thestandard.co/greenpeace-warned/ Tue, 27 Oct 2020 02:23:52 +0000 https://thestandard.co/?p=412870 กรีนพีซเตือน น้ำปนเปื้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะอาจมีสารกัมมันตรังสีที่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์

องค์กรกรีนพีซเปิดเผยรายงานเตือนว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนปร […]

The post กรีนพีซเตือน น้ำปนเปื้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะอาจมีสารกัมมันตรังสีที่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรีนพีซเตือน น้ำปนเปื้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะอาจมีสารกัมมันตรังสีที่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์

องค์กรกรีนพีซเปิดเผยรายงานเตือนว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนปริมาณ 1.23 ล้านเมตริกตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิลงสู่ทะเลในเร็วๆ นี้ อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อดีเอ็นเอของมนุษย์

รายงานดังกล่าวระบุว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่เคยประสบเหตุกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลในปี 2011 ยังมีระดับสารกัมมันตรังสี ไอโซโทป คาร์บอน-14 และนิวไคลด์กัมมันตรังสีในระดับอันตราย ซึ่งคาดว่าการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกจะส่งผลกระทบร้ายแรงในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนหลายแห่ง

สำหรับน้ำปนเปื้อนดังกล่าวถูกใช้เพื่อหล่อเย็นแกนกลางเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งบริษัท TEPCO ผู้ดูแลโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ใช้วิธีสูบน้ำเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ และน้ำที่ใช้แล้วจะถูกเก็บไว้ในคลังของโรงไฟฟ้า

แต่ระยะเวลาที่ผ่านมานานกว่า 9 ปีทำให้พื้นที่กักเก็บน้ำปนเปื้อนดังกล่าวมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อน้ำปนเปื้อนเหล่านี้

หลายหน่วยงานรวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นชี้ว่าทางออกเดียวของปัญหานี้คือการปล่อยน้ำปนเปื้อนลงสู่ทะเล แม้จะเผชิญกระแสคัดค้านจากนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมและตัวแทนจากอุตสาหกรรมประมง

ขณะเดียวกัน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (23 ตุลาคม) รัฐบาลญี่ปุ่นได้เลื่อนการตัดสินใจในการดำเนินการต่อน้ำปนเปื้นดังกล่าว ซึ่ง ฮิโรชิ คาจิยามะ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น กล่าวว่ารัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจในการรับมือกับน้ำปนเปื้อนที่ถูกปล่อยออกมามากขึ้นทุกวัน

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

The post กรีนพีซเตือน น้ำปนเปื้อนที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะอาจมีสารกัมมันตรังสีที่เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอมนุษย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>