สมาคมผู้ค้าปลีกไทย – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 16 Feb 2024 05:59:53 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ค้าปลีกไทย 4.1 ล้านล้านบาทสะเทือน สินค้าจีนราคาถูกกว่าตีตลาด https://thestandard.co/thai-retail-industry-chinese-price-war-products/ Thu, 15 Feb 2024 11:42:27 +0000 https://thestandard.co/?p=900439 อุตสาหกรรมค้าปลีกไทย

อุตสาหกรรมค้าปลีกไทยสะเทือน ถูกสินค้าจีนที่ราคาถูกกว่าเ […]

The post ค้าปลีกไทย 4.1 ล้านล้านบาทสะเทือน สินค้าจีนราคาถูกกว่าตีตลาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรมค้าปลีกไทย

อุตสาหกรรมค้าปลีกไทยสะเทือน ถูกสินค้าจีนที่ราคาถูกกว่าเข้าตีตลาด โดยในปี 2566 นำเข้าเฉียด 4.7 แสนล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ค้าปลีกไทยปี 2567 โตแค่ 3% หรือมีมูลค่าราว 4.1 ล้านล้านบาท 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2567 เติบโตชะลอตัวลงจากปีก่อน หรืออยู่ที่ราว 3.0%YoY มีมูลค่าประมาณ 4.1 ล้านล้านบาท โดยยังคงมีแรงหนุนมาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับผลของราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะราคาสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัวที่น่าจะยังปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจผู้ประกอบการค้าปลีก พบว่า กว่า 60% ของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า (การสำรวจ Retailer Sentiment Index: RSI เดือนมกราคม 2567 ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและธนาคารแห่งประเทศไทย) 

 

ยอดขายค้าปลีกในไทยเติบโต แต่ผู้ผลิตสินค้าไทยต้องแข่งขันรุนแรงกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทย ซึ่งในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8%YoY หรือมีสัดส่วนราว 41% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด 

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง​: 

 


 

โดยสินค้าที่จีนเข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มที่เป็นของกินและของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนมูลค่าประมาณ 43.3% ของมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดจากจีน รองลงมา ได้แก่ ผักผลไม้สดและปรุงแต่ง 10.0% เสื้อผ้าและรองเท้า 9.3% รวมถึงเครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่ง 9.1% เป็นต้น 

 

 

การเข้ามาตีตลาดของสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนกดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าในไทย จากการแข่งขันของจีนส่งผลให้ผู้ผลิตไทยในหมวดสินค้าเหล่านี้เผชิญกับการแข่งขันที่ลำบากขึ้น โดยจะเห็นได้จากสินค้านำเข้าจากจีนบางรายการมีราคาถูกกว่าไทย เช่น สินค้าแฟชั่น (รองเท้า กระเป๋า) และผักผลไม้สดและปรุงแต่ง เป็นต้น

 

 

นอกจากนี้ กำลังการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ถูกสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่ของกิน (Non-Food) ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่น (รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย) และเฟอร์นิเจอร์ อยู่ที่เพียง 30-45% 

 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ตลาดค้าปลีกในภาพรวมจะยังเติบโต แต่การแข่งขันสูงจากสินค้านำเข้าทำให้ผู้ผลิตสินค้าไทยจะยังอยู่ในสถานการณ์การดำเนินธุรกิจที่ยากลำบาก

 

ภาพ: adventtr/Getty Images, omersukrugoksu/Getty Images

The post ค้าปลีกไทย 4.1 ล้านล้านบาทสะเทือน สินค้าจีนราคาถูกกว่าตีตลาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ต้องมีเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้จริง ถึงจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระยะยาว https://thestandard.co/digital-wallet-project-must-have-conditions/ Mon, 13 Nov 2023 11:44:58 +0000 https://thestandard.co/?p=865288 ญนน์ โภคทรัพย์

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะรัฐบาลถึงโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ […]

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ต้องมีเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้จริง ถึงจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ญนน์ โภคทรัพย์

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะรัฐบาลถึงโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ และ e-Refund ต้องมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้จริง ถึงจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระยะยาว

 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ทางสมาคมมองว่าเงื่อนไขโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล เป็นนโยบายที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้โตได้ในระยะสั้น ทั้งยังช่วยในการอัดฉีดเม็ดเงินให้เข้าถึงทุกพื้นที่ เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินอย่างมีศักยภาพ ช่วยบรรเทาภาระ ค่าครองชีพ ส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการทุกระดับ 

 

ทั้งนี้ ยังต้องมีความชัดเจนในการออกมาตรการและเงื่อนไขมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะร้านค้ารายย่อย ร้านสตรีทฟู้ด โชห่วย หาบเร่ แผงลอย รวมถึงคำนึงถึงการพิจารณาปรับหลักเกณฑ์อย่างรัดกุมให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ที่สำคัญต้องสอดคล้องกับความต้องการ ความสะดวกในการใช้งาน และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนและผู้ประกอบการ โดยขอเสนอแนะให้ขยับเวลาประกาศใช้ในเดือนเมษายนแทนพฤษภาคม จะเป็นการสร้างอิมแพ็กต์ให้โครงการนี้มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับภูมิลำเนา 

 

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังสร้างส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ SMEs ในภาคค้าปลีกและบริการทั่วประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีมากกว่า 2.4 ล้านราย คิดเป็น 80% ของ SMEs ทั้งประเทศ จะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากโครงการนี้ รวมถึงร้านค้าย่อยในชุมชนต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งหากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ จะนับได้ว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

 

อีกทั้งรัฐบาลยังมีโครงการ e-Refund ที่จะมากระตุ้นการจับจ่ายของกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ ให้สามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลจากการซื้อสินค้าและบริการ โดยให้วงเงิน 50,000 บาท ซึ่งหวังว่ารัฐบาลจะเร่งอนุมัติและเพิ่มระยะเวลาใช้จ่ายให้มากกว่าที่ผ่านมา เพื่อช่วยกระตุ้นโครงการ e-Refund ให้มีประสิทธิภาพ

 

อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน สมาคมพร้อมสนับสนุนภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตในระยะยาว

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย แนะโครงการ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ต้องมีเงื่อนไขที่ปฏิบัติได้จริง ถึงจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ดัชนีค้าปลีก’ เดือน มิ.ย. ทรุดต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ https://thestandard.co/junes-retail-index-continued-to-decline/ Wed, 06 Jul 2022 05:49:46 +0000 https://thestandard.co/?p=650699 ดัชนีค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผย ดัชนีค้าปลีกเดือนมิถุนายนยังแผ่วล […]

The post ‘ดัชนีค้าปลีก’ เดือน มิ.ย. ทรุดต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดัชนีค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผย ดัชนีค้าปลีกเดือนมิถุนายนยังแผ่วลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม สะท้อนความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่ลง ผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นซ้ำเติมกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ แนะรัฐอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเพิ่มเพื่อพยุงเศรษฐกิจ

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่น (Retail Sentiment Index) ของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนมิถุนายน 2565 ในภาพรวมพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก Retail Sentiment Index (RSI) เดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 48.9 ปรับลดลง 4.4 จุด เมื่อเทียบกับดัชนีเดือนพฤษภาคมที่ 53.3 จุด ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม สะท้อนความเชื่อมั่นที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากภาวะค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นซ้ำเติมกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ ผู้ประกอบการไม่มีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ แม้ว่ามีแนวโน้มสัญญาณที่ดีในการออกไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น แต่ความถี่ในการจับจ่ายกลับลดลง 

 

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลง 4.4 จุดเช่นกัน จากระดับ 58.7 จุดในเดือนพฤษภาคม มาที่ 54.3 จุดในเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นถึงความกังวลต่อแนวโน้มต้นทุนการดำเนินธุรกิจและราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่คาดการณ์ว่าจะถูกปรับลดลง ภาวะเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะดีดตัวเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

 

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ผลการสำรวจรอบนี้พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ (Spending per Bill) 6.5 จุด อยู่ที่ระดับ 52.2 เป็นการเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ไม่ได้เกิดจากการจับจ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น 7% 

 

ในขณะที่การทำกิจกรรมนอกบ้านมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่การเปิดโรงเรียน การกลับเข้าสู่สถานที่ทำงานของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ แต่ความถี่ในการจับจ่าย (Frequency on Shopping) กลับลดลง 5 จุด อยู่ที่ระดับ 50.0 และยอดขายสาขาเดิม Same Store Sales Growth (SSSG-YoY) ปรับลดลง 6.5 จุด และอยู่เหนือค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 เพียงเล็กน้อย บ่งบอกถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชะลอการจับจ่าย พร้อมทั้งกำลังซื้อที่อ่อนแอ ทำให้การจับจ่ายโดยรวมไม่เติบโต ผู้บริโภคมุ่งเน้นซื้อสินค้าที่จำเป็น ลดการบริโภค ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยอย่างเร่งด่วน

 

สำหรับภาคค้าปลีกและบริการของไทย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนโดยตรงน้อยมาก แต่ได้รับผลกระทบโดยอ้อมผ่านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นที่กระทบกับเงินเฟ้อ ราคาสินค้า และค่าครองชีพ อีกทั้งการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศก็ยังไม่เข้มแข็ง และยังต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง 

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากมาย แต่ก็ยังมีปัจจัยบวก นับตั้งแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการที่ผ่อนคลายมากขึ้น การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงสิ้นปีอยู่ที่ 7.5-10 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะมาเติมกำลังซื้อ รวมถึงดึงศักยภาพการจับจ่ายของกลุ่มผู้บริโภคบางส่วนมาชดเชยปัจจัยลบได้บ้าง

 

นอกจากนี้ มีบทสรุปประเด็นสำคัญของ ‘การประเมินกำลังซื้อ และการฟื้นตัวของธุรกิจในภาคการค้า’ ที่สำรวจระหว่างวันที่ 18-25 มิถุนายน 2565 ดังนี้

 

  • 92% มีความพร้อมด้านแรงงาน สินค้า และเงินทุน เพื่อรองรับธุรกิจเติบโตตามนโยบายเปิดประเทศ
  • 58% ระบุว่า ธุรกิจในไตรมาสสองของปีนี้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • 44% ระบุว่า ธุรกิจในไตรมาสสองของปีนี้แย่ลง เมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่งของปีนี้

 

ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอย้ำ 4 ข้อเสนอต่อภาครัฐ

 

  1. นโยบายกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตรงเป้า และโดยเร็ว ภาครัฐยังคงต้องรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน (Local Consumption) ไว้อย่างต่อเนื่องตลอดปี โครงการต่างๆ ต้องมุ่งเน้นไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ ที่สามารถสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจได้เร็ว ได้แก่ โครงการช้อปดีมีคืน และโครงการริเริ่มสร้างเมืองปลอดภาษีให้ผู้มีกำลังซื้อจับจ่ายในประเทศ แทนที่จะนำเงินไปจับจ่ายต่างประเทศ

 

  1. รัฐต้องกำกับดูแลกลไกตลาด เพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต หากสินค้าปรับราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นภาระต่อค่าครองชีพที่สูงต่อประชาชน แต่ถ้าไม่อนุญาตให้ปรับราคา ผู้ผลิตก็จะเลี่ยงไม่ขึ้นราคา แต่ไปปรับลดไซส์-ปริมาณสินค้า เพราะทนต่อการแบกต้นทุนไม่ไหว

 

  1. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐ ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม-กันยายน) ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ ภาครัฐต้องเร่งรัดการดำเนินการโครงการทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อเร่งสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการจัดจ้างการดำเนินงาน และสนับสนุนให้ SMEs เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมากขึ้น

 

  1. สนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการอย่างต่อเนื่อง ยกระดับศักยภาพภาคการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง รวมถึงพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่

 

“สรุปภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกไทยในเดือนมิถุนายน 2565 ยังคงน่ากังวล ปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก ซึ่งช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของภาครัฐ ต้องใส่เกียร์เดินหน้าเต็มกำลังในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น ผ่านกลุ่มผู้บริโภคที่ยังคงมีกำลังซื้ออยู่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นการบริโภคผ่านนโยบายของภาครัฐ ยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการเดินหน้าประเทศไทย พร้อมกับการกำกับดูแลกลไกตลาดเพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐได้ดำเนินการมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว และควรผลักดันให้มีมาตรการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศไทย” ฉัตรชัยกล่าวทิ้งท้าย

The post ‘ดัชนีค้าปลีก’ เดือน มิ.ย. ทรุดต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังอ่อนแอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตรึงราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน 500 รายการ ช่วยลดภาระให้ประชาชน พร้อมเสนอ 3 มาตรการร่วมกับภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาปากท้อง https://thestandard.co/thairetailer-froze-essential-product-prices-to-500-lists/ Mon, 07 Mar 2022 08:34:41 +0000 https://thestandard.co/?p=602649 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตรึงราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน 500 รายการ ช่วยลดภาระให้ประชาชน พร้อมเสนอ 3 มาตรการร่วมกับภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาปากท้อง

สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าอย่างต่ […]

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตรึงราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน 500 รายการ ช่วยลดภาระให้ประชาชน พร้อมเสนอ 3 มาตรการร่วมกับภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาปากท้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตรึงราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน 500 รายการ ช่วยลดภาระให้ประชาชน พร้อมเสนอ 3 มาตรการร่วมกับภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาปากท้อง

สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อค่าครองชีพของประชาชน ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากวิกฤตโควิด เป็นเหตุผลที่ทำให้สมาคมผู้ค้าปลีกไทยและภาคีเครือข่ายเริ่มตรึงราคาในหมวดสินค้าจำเป็น

 

โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 จากนั้นในเดือนมกราคม 2565 จึงขยายสู่หมวดอาหารสด, เนื้อหมู, เนื้อไก่ และไข่ไก่ ตลอดเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์รายใหญ่กว่า 30 ราย เพื่อตรึงราคาให้ครอบคลุมสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันกว่า 500 รายการ จนถึงจบไตรมาส 1/65

 

“ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคนและทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยที่เจอผลกระทบสองเด้ง ทั้งในเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้น และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุด” ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทยกล่าว 

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ต้องประเมินเป็นรายไตรมาส โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสดซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในขณะนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทยจึงขอนำเสนอมาตรการเพื่อที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูง และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ดังนี้

 

มาตรการในส่วนของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และซัพพลายเออร์ในภาคีเครือข่าย

  • ตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น ซึ่งสมาคมฯ และซัพพลายเออร์ในภาคีเครือข่ายยืนยันที่จะตรึงราคาสินค้าจนถึงจบไตรมาส 1/65 ทั้งนี้ นโยบายการตรึงราคาจะมีการประเมินเป็นรายไตรมาส
  • เตรียมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้กับประชาชน สมาคมฯ ได้หารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเตรียมสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
  • ช่วยฟื้นฟู SMEs ไทย สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายจะเร่งขยายในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs ไทยผ่านโครงการ Digital Supplychain Finance ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งการขยายและเพิ่มช่องทางการขายให้กับ SMEs เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังคงยืนยันที่จะพยุงการจ้างงานในระบบค้าปลีกให้ อยู่ที่ 1.1 ล้านอัตรา

 

มาตรการในส่วนของภาครัฐ

  • เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีวงเงินงบประมาณถึง 3.1 ล้านล้านบาท ให้มีการอนุมัติและดำเนินการเพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว 
  • การพยุงราคาพลังงานให้คงที่ โดยการใช้ทุกมาตรการเพื่อพยุงราคาพลังงานให้นานที่สุด ถึงแม้รัฐบาลได้มีมาตรการพยุงราคาน้ำมัน ปรับลดภาษีอัตราน้ำมันดีเซลสรรพสามิตและน้ำมันอื่นๆ 3 บาทต่อลิตรเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงควรพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการออกมาตรการควบคุมราคาค่าขนส่ง ซึ่งค่าขนส่งถือว่ามีสัดส่วนถึง 8-10% ของต้นทุนสินค้า  
  • กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน โดยคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่งและโครงการช้อปดีมีคืน ที่ภาครัฐดำเนินการได้ดีอยู่แล้วในการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน และเพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบจากผู้ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโครงการช้อปดีมีคืนเฟส 2 เพิ่มเติม และให้ยืดทั้งระยะเวลาโครงการ รวมถึงวงเงินที่สามารถใช้จ่าย โดยเพิ่มจาก 30,000 บาท เป็น 1 แสนบาท ทั้ง 2 โครงการจะเป็นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ (Local Consumption) ถือเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ และ SMEs ไทยให้สามารถประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ต่อไป  

 

ล่าสุดได้มีการเผยสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีก (Retail Sentiment Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในภาพรวมพบว่า แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอนจะพบผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 20,000 รายต่อวัน และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการผู้ค้าปลีกไทยโดยภาพรวมปรับเพิ่มขึ้น 9.3 จุด และอีก 3 เดือนข้างหน้ายังคงปรับดีขึ้นเล็กน้อยอีก 5.6 จุด

 

ทั้งนี้ ยังมีบทสรุปประเด็นสำคัญของ ‘การประเมินกำลังซื้อและแนวโน้มการแพร่ระบาดของโอมิครอนจากมุมมองผู้ประกอบการ’ ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่สำรวจระหว่างวันที่ 17-24 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้

 

  1. แนวโน้มการพิจารณาปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ
  • 44% อาจจะพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างไม่เกิน 5%
  • 33% รอการประกาศค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเป็นทางการ

 

  1. ผลกระทบต่อธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโอมิครอนเมื่อเทียบกับเดลตา
  • 63% ผลกระทบโอมิครอนน้อยกว่าเดลตา
  • 33% ผลกระทบโอมิครอนใกล้เคียงกับเดลตา
  • 4% ผลกระทบโอมิครอนมากกว่าเดลตา

 

  1. ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการต่อโครงการช้อปดีมีคืน 2565

3.1 จำนวนลูกค้าเมื่อเทียบเดือนมกราคม 2565 กับเดือนธันวาคม 2564

    • 59.5% จำนวนลูกค้ามาจับจ่ายมากขึ้น
    • 20.1% จำนวนลูกค้ามาจับจ่ายเท่าเดิม
    • 20.4% จำนวนลูกค้ามาจับจ่ายน้อยลง

3.2 จำนวนใบกำกับภาษี

    • 82.7% จำนวนใบกำกับภาษีเพิ่มขึ้น 1-5%
    • 11.4% จำนวนใบกำกับภาษีเพิ่มขึ้น 6-10%

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ตรึงราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน 500 รายการ ช่วยลดภาระให้ประชาชน พร้อมเสนอ 3 มาตรการร่วมกับภาครัฐ เร่งแก้ปัญหาปากท้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยผลสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรม พบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว พร้อมขอนำ ‘ช้อปดีมีคืน’ กลับมาอีกครั้ง https://thestandard.co/tra-poll-result-wanted-opening-country-with-shopping-campaign/ Tue, 19 Oct 2021 04:12:00 +0000 https://thestandard.co/?p=549694 การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยผลการสำรวจ TRA Poll ในหัวข้อ ‘ภาคก […]

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยผลสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรม พบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว พร้อมขอนำ ‘ช้อปดีมีคืน’ กลับมาอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยผลการสำรวจ TRA Poll ในหัวข้อ ‘ภาคการค้าปลีกและบริการพร้อมเปิดประเทศ ภายใต้เงื่อนไขมิติเศรษฐกิจและสาธารณสุข’ จากการสำรวจผู้บริหารกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ จำนวน 283 ราย คลอบคลุมทุกภาคของประเทศ พบว่า ด้วยมาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้น และจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ค่อยๆ ลดลง ส่วนใหญ่จึงเห็นควรสนับสนุนให้ภาครัฐเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ นับจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า นโยบายการเตรียมเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ของภาครัฐ ถือเป็นสัญญาณที่ดี เป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติให้เข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องขอเน้นย้ำรัฐบาลในเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิดอย่างจริงจังและเข้มข้น 

 

พร้อมทั้งเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศภายในปี 2564 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ รวมทั้งต้องจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ และมีจำนวนที่เพียงพอจนถึงปี 2565 และการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงชุดตรวจ ATK ที่สะดวกและราคารับได้

 

สำหรับผลการสำรวจมีดังนี้ 

 

  1. การเปิดประเทศ รัฐบาลควรเตรียมความพร้อมในเรื่องใดบ้าง

 

ด้านสาธารณสุข

  • 80.5% ให้ความสำคัญกับเรื่องการกระจายฉีดวัคซีนให้ได้ตามเกณฑ์ 70% ของประชากร   
  • 74.8% ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการการคัดกรองที่เข้มข้น และแผนการเตรียมวัคซีนพร้อมถึงปี 2565
  • 64.2% ให้ความสำคัญกับเรื่องการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงชุดตรวจ ATK ที่สะดวกและราคารับได้  

 

ด้านเศรษฐกิจ

  • 68.6% ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการการเพิ่มกำลังซื้อแก่ผู้บริโภคที่ตรงเป้าและมีประสิทธิภาพ 
  • 65.7% ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อกระจายรายได้ 
  • 62.1% ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการลดค่าครองชีพ ลดค่าน้ำ ค่าไฟ และอินเทอร์เน็ต 
  • 52.1% ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการเสริมสภาพคล่องธุรกิจด้วยการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

 

ความกังวลต่อความพร้อมในการเปิดประเทศ

  • 73.2% กังวลเรื่องการที่ประชาชนยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์มากเพียงพอ 
  • 60.9% กังวลเรื่องอัตราการติดเชื้อของประชาชนยังอยู่ในเกณฑ์สูง 
  • 56.8% กังวลเรื่องมาตรการการควบคุมการระบาดยังไม่เข้มข้นเพียงพอ 
  • 36.1% กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขค่อนข้างสูง 

 

ผู้บริหารกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ มีความพร้อมในการเตรียมตัวเปิดประเทศในเรื่องใดบ้าง

  • 77.3% มีความพร้อมเรื่องการที่พนักงานทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ 
  • 57.6% มีความพร้อมเรื่องการเปิดธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้เป็นปกติ 
  • 47.1% มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการ COVID-FREE Setting ได้ครบถ้วน
  • 39.2% มีความพร้อมเรื่องกระบวนการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่เข้มข้น

 

รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านใด เพื่อที่ให้ประเทศฟื้นตัวได้รวดเร็วเข้มแข็งและยั่งยืน

  • 70.7% เน้นเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยว 
  • 60.7% เน้นเรื่องส่งเสริมให้เกิดการลงทุน 
  • 56.8% เน้นเรื่องส่งเสริมโครงสร้าง เพื่อรองรับ New Economy 
  • 44.6% มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของประชากร 
  • 44.3% มุ่งให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม  

 

“อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการเปิดประเทศครั้งนี้ นอกเหนือจากการผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุขแล้ว สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง โดยการนำโครงการ ‘ช้อปดีมีคืน’ กลับมาอีกครั้งหนึ่ง และเพิ่มวงเงินเป็น 200,000 บาท เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเร็ว สำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ให้จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และเป็นแต้มต่อให้ SMEs ไทยสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป” ญนน์กล่าวปิดท้าย

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยผลสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรม พบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว พร้อมขอนำ ‘ช้อปดีมีคืน’ กลับมาอีกครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอ ‘7 มาตรการ’ เตรียมความพร้อมเปิดเมือง 1 กันยายน https://thestandard.co/thai-retailer-propose-measures-to-prepare-to-open-the-city/ Wed, 25 Aug 2021 08:20:19 +0000 https://thestandard.co/?p=528993 Business open the city

ตามที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการก […]

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอ ‘7 มาตรการ’ เตรียมความพร้อมเปิดเมือง 1 กันยายน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Business open the city

ตามที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการกลุ่มการค้าปลีกและบริการ หอการค้าไทย หารือเรื่องการเตรียมเปิดธุรกิจอย่างปลอดภัยเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการของสาธารณสุข โดยการประชุมในวันที่ 20 สิงหาคม 2564 มีกรรมการเข้าร่วมประชุมครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มธุรกิจค้าปลีก, ศูนย์การค้า, ร้านอาหาร, ร้านจำหน่ายเครื่องอุปโภคและบริโภค, ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้าง, แพลตฟอร์มออนไลน์ และโลจิสติกส์ 

 

นอกจากนี้ยังได้รับความคิดเห็นโดยตรงจากกรมอนามัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาข้อสรุปเป็นแนวทางในการเตรียมเปิดเมืองเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยร่วมกัน และในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 สมาคมยังได้เข้าร่วมหารือเพิ่มเติมกับคณะกรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในเรื่องการเตรียมเปิดเมืองอย่างปลอดภัย และได้สรุปเป็นมาตรการเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของ ศบค. ต่อไป

 

“การประชุมดังกล่าวเป็นการร่วมมือร่วมใจของภาครัฐและภาคธุรกิจในการระดมความคิดเห็นและหารือในรายละเอียดของการเตรียมเปิดเมืองอย่างปลอดภัย โดยได้กำหนดมาตรการและข้อปฏิบัติร่วมกัน พร้อมยกมาตรการขั้นสูงสุดเพื่อทำให้การเปิดธุรกิจเกิดขึ้นได้จริง” ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าว 

 

สมาคมจึงขอนำเสนอมาตรการผ่อนผันเร่งด่วนให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านค้าต่างๆ สามารถเปิดบริการแก่ประชาชนเป็นปกติได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 โดยมีเงื่อนไขและเกณฑ์ในการปฏิบัติเข้มข้นในการเปิดเมืองอย่างปลอดภัย ดังนี้

 

  1. คัดกรองพนักงานโดยแพลตฟอร์ม Thai Safe Thai (TST) ทุกวัน หากพบว่ามีอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด และมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อให้ตรวจด้วย Antigen Test Kit (ATK) ทันที
  2. ให้ร้านค้าประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ของ Thai Stop COVID+ (TSC+) ทุกเดือน และติดใบรับรอง Certificate ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการสามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบได้
  3. ผู้เข้ามาใช้บริการปฏิบัติตาม D-M-H-T-T พร้อมคัดกรองตัวเองผ่าน TST และแสดงให้ผู้รับบริการก่อนเข้าสถานประกอบการ 
  4. ควบคุมจำนวนพนักงานและลูกค้า 1 คนต่อ 5 ตารางเมตร ในสถานประกอบการ (กรมอนามัยใช้หลักเกณฑ์ 1 ต่อ 4 ตารางเมตร)
  5. กำหนดให้มีการจองการเข้ารับบริการผ่านทางแอปพลิเคชันหรือโทรศัพท์ หรือรับบัตรคิวล่วงหน้าในทุกธุรกิจของการบริการ
  6. เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสสูง High Touch Area อย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง (กรมอนามัยใช้หลักเกณฑ์ทุกๆ 2 ชั่วโมง) 
  7. ตรวจวัดค่าปริมาณคลอรีนในน้ำคงเหลือไม่ต่ำกว่า 0.5 ppm ในช่วงก่อนเปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านค้าต่างๆ 

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และภาคีเครือข่าย ยินดีที่จะสนับสนุนรัฐบาลและขานรับมาตรการต่างๆ ของทาง ศบค. และพร้อมที่จะยกระดับการฏิบัติการเข้มข้นขั้นสูงสุด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมฝ่าฟันวิกฤตโควิดในครั้งนี้ เพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022


📌
เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง
📌
ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก
📌
เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด
📌
เคสจริงจากผู้บริหาร

 

พิเศษ! บัตร Early Bird 999 บาท วันนี้ถึง 27 สิงหาคมนี้เท่านั้น

 

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอ ‘7 มาตรการ’ เตรียมความพร้อมเปิดเมือง 1 กันยายน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ถล่ม ‘ค้าปลีก’ เสียหาย 2.7 แสนล้านบาท จับตาร้านค้ากว่า 1 แสนราย จ่อ ‘ปิดกิจการ’ ทำคนตกงานเป็นล้าน https://thestandard.co/lockdown-curfew-destroyed-retail/ Fri, 06 Aug 2021 04:14:37 +0000 https://thestandard.co/?p=522125 ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ถล่ม ‘ค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยสถานการณ์ค้าปลีกวิกฤตหนัก ดัชนีควา […]

The post ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ถล่ม ‘ค้าปลีก’ เสียหาย 2.7 แสนล้านบาท จับตาร้านค้ากว่า 1 แสนราย จ่อ ‘ปิดกิจการ’ ทำคนตกงานเป็นล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ถล่ม ‘ค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผยสถานการณ์ค้าปลีกวิกฤตหนัก ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนกรกฎาคม 2564 ดิ่งจุดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบถึง 70% คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 2.7 แสนล้านบาท ทำให้กว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน

 

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาน่าเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์เดลตารุนแรงกว่าระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ มาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวในเดือนสิงหาคมที่ปัจจุบันได้ขยายจังหวัดคุมเข้มสูงสุดเป็น 29 จังหวัด ส่งผลให้ภาคค้าปลีกต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวสู่ระดับปกติ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงกลางปี 2566

 

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก Retail Sentiment Index (RSI) อยู่ที่ระดับ 16.4 ลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน คิดเป็นความเชื่อมั่นติดลบ 70% และการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ Same Store Sale Growth (SSSG) เกิดจากทั้ง Spending Per Bill หรือ Per Basket Size และความถี่ในการจับจ่าย (Frequency on Shopping) ลดลงพร้อมกันทั้งคู่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก สะท้อนถึงการฟื้นตัวต้องใช้เวลา 

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยคาดว่าภาคการค้าปลีกและบริการครึ่งปีหลังจะทรุดหนัก การเติบโตโดยรวมปีนี้มีแนวโน้มจะติดลบทั้งปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก RSI ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยืนอยู่ที่ระดับ 27.6 ต่ำกว่าดัชนีเดือนเมษายนปี 2563 ที่ระดับ 32.1 สะท้อนถึงความวิตกกังวลในความไม่ชัดเจนต่อแนวทางการกระจายการฉีดวัคซีนที่ภาครัฐยังมีความล่าช้า และมาตรการการเยียวยาที่ไม่เข้มข้นมากพอ รวมทั้งการกระตุ้นกำลังซื้อที่ภาครัฐประกาศที่จะอัดฉีดเพิ่มเติมไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

นอกจากนี้ยังมีดัชนีความเชื่อมั่นในประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

 

  • ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามภูมิภาค ปรากฏว่าลดลงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 อย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด โดยเฉพาะภาคกลางที่ลดลงอย่างชัดเจนกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีคลัสเตอร์การแพร่ระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้าก็ลดลงในทุกภูมิภาคอย่างชัดเจน แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 ค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิดครั้งนี้ ผู้ประกอบการประเมินว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยืดเยื้อ ไม่จบง่ายๆ ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอ การฟื้นตัวต้องใช้เวลานาน
  • ดัชนีความเชื่อมั่น RSI แยกตามประเภทร้านค้าปลีก จากผลการสำรวจพบว่าดัชนีปรับลดลงมากอย่างชัดเจนและต่ำลงในทุกประเภท โดยเฉพาะร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกประเภทร้านอาหารได้รับผลกระทบโดยตรงและหนักสุดจากมาตรการการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ยอดขายลดลงกว่า 80-90% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ส่วนร้านค้าประเภทสะดวกซื้อก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่กำหนดให้ปิดบริการตั้งแต่เวลา 21.00-04.00 น. มีผลต่อยอดขายหดหายกว่า 20-25% จากรายได้ในรอบดึกที่เป็นส่วนหนึ่งของ Peak Hour หายไป และจำนวนสาขาของร้านค้าสะดวกซื้อกว่า 40% ตั้งอยู่ในเขตสีแดงเข้มที่เป็นเขตควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด

 

บทสรุปประเด็นสำคัญของ ‘การประเมินผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อและการจ้างงานต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิดระลอกใหม่ จากมุมมองผู้ประกอบการ’ ในเดือนกรกฎาคม

 

  • ผู้ประกอบการกว่า 90% เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคมีสัญญาณปรับตัวแย่กว่าเดือนมิถุนายนค่อนข้างมาก เพราะมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของแผนการฉีดและกระจายวัคซีนของภาครัฐ
  • ผู้ประกอบกว่า 63% ประเมินว่ายอดการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และไม่มีพฤติกรรมในการกักตุน Stock Up เพราะกำลังซื้อของประชาชนที่อ่อนตัวลง
  • ผู้ประกอบการ 61% ยอมรับว่าการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% เป็นผลจากมาตรการเคอร์ฟิว
  • ผู้ประกอบการกว่า 41% มีการปรับลดการจ้างงาน หรือปรับลดชั่วโมงการทำงาน เพราะธุรกิจมียอดขายและค่าธรรมเนียนการขายที่ลดลง
  • ผู้ประกอบการ 53% มีสภาพคล่องทางการเงินไม่ถึง 6 เดือน สะท้อนถึงภาวะธุรกิจที่ฝืดเคือง และการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการได้รับการแก้ไข
  • ผู้ประกอบการ 42% คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3/64 จะหดตัว 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/63
  • ผู้ประกอบการ 90% ประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเข้าสู่ระดับปกติในช่วงกลางปี 2566 หรืออาจจะนานกว่านั้น

 

4 ข้อเสนอต่อภาครัฐ

  • ภาครัฐต้องมีมาตรการเยียวยานายจ้างช่วยจ่ายค่าเช่าและค่าแรงพนักงาน 50% เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • ภาครัฐต้องช่วยผู้ประกอบการด้วยการลดค่าสาธารณูปโภค 50% เป็นเวลา 6 เดือน
  • ภาครัฐต้องเร่งสถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้ Soft Loan ให้ผู้ประกอบการที่ยื่นขอเงินกู้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วภายใน 30 วัน (ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติเงินกู้เพียง 10% ของจำนวนที่ยื่นขอสินเชื่อไปแล้วกว่า 30,000 ราย) หากการอนุมัติยังล่าช้าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเลิกกิจการกว่าแสนรายอย่างแน่นอน
  • ขอให้พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้ปัจจุบันกับสถาบันการเงิน

 

“ทั้ง 4 ข้อเสนอต่อภาครัฐนี้ ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยขอให้ภาครัฐพิจารณาและให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพราะภาคค้าปลีกและบริการกำลังทรุดหนัก และมีแนวโน้มที่อาจจะต้องปิดกิจการอีกกว่าแสนราย ซึ่งจะกระทบการเลิกจ้างงานกว่าล้านคน รัฐบาลควรเร่งเรียกความเชื่อมั่นกลับมาโดยเร็วที่สุด” ฉัตรชัยกล่าวทิ้งทาย

The post ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ถล่ม ‘ค้าปลีก’ เสียหาย 2.7 แสนล้านบาท จับตาร้านค้ากว่า 1 แสนราย จ่อ ‘ปิดกิจการ’ ทำคนตกงานเป็นล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิษโควิด-19 รอบ 3 ฉุดความเชื่อมั่นค้าปลีกวูบต่อเนื่อง! ร้านค้าแบกต้นทุนไม่ไหว ส่วนใหญ่ลดลูกจ้างแล้ว 25% แถมมีเงินทุนอยู่ได้อีกเพียง 6 เดือน https://thestandard.co/confidence-survey-of-retail-operators/ Sat, 05 Jun 2021 07:30:01 +0000 https://thestandard.co/?p=496795 ผู้ประกอบการค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจ […]

The post พิษโควิด-19 รอบ 3 ฉุดความเชื่อมั่นค้าปลีกวูบต่อเนื่อง! ร้านค้าแบกต้นทุนไม่ไหว ส่วนใหญ่ลดลูกจ้างแล้ว 25% แถมมีเงินทุนอยู่ได้อีกเพียง 6 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้ประกอบการค้าปลีก

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีกและการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคไทยประจำเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า แนวโน้มผู้บริโภคไทยยังคงระมัดระวังการจับจ่าย มีผลต่อยอดซื้อต่อบิล (Purchasing per Basket) และความถี่ในการจับจ่าย (Frequency Visit) ลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาคและเกือบทุกช่องทางประเภทร้านค้าปลีก

 

โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกรวม (Retail Sentiment Index) เดือนพฤษภาคม ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนเมษายน และยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 มาก สอดคล้องกับภาวะการค้าปลีกที่แย่ลงตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่รุนแรงขึ้น สะท้อนถึงความกังวลต่อแผนการกระจายวัคซีนและมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อที่ภาครัฐประกาศที่จะอัดฉีดเพิ่มเติมที่ยังไม่ชัดเจน

 

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อการเติบโตยอดขายสาขาเดิม เดือนพฤษภาคมมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลยอดขายสาขาเดิมเดือนพฤษภาคมลดลงมากกว่า 30-50% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนและมีนาคม ตามลำดับ โดยผู้ประกอบการกังวลถึงกำลังซื้อที่ลดลงและยังไม่ฟื้นตัวดี รวมถึงมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการไปจับจ่ายที่ร้านค้า

 

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมเมื่อจำแนกตามรายภูมิภาค ปรากฏว่าปรับลดลงต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ในทุกภูมิภาค สะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลง โดยเฉพาะภูมิภาคกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคเหนือ และภาคใต้ ที่ลดลงอย่างชัดเจน

 

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการจำแนกตามประเภทร้านค้าปลีกลดลงอย่างชัดเจน และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 ในทุกประเภทร้านค้าปลีก โดยเฉพาะลดลงอย่างชัดเจนในร้านค้าประเภทสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้า 

 

ด้านร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์ต ดัชนีความเชื่อมั่นดีขึ้นเล็กน้อย สะท้อนถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ผู้บริโภคมีความกังวลที่จะยืดเยื้อส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อเป็นแบบกักตุนสินค้ามากขึ้น และมุ่งใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้มูลค่าการซื้อต่อครั้ง Per Spending หรือ Per Basket เพิ่มขึ้น แต่ความถี่ในการจับจ่ายกลับลดลง

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังได้สำรวจผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อ การจ้างงาน และสภาพคล่องต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จากมุมมองผู้ประกอบการ พบว่า 

 

  1. ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 29 ระบุว่า ยอดการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% การบริหารจัดการต้องปรับลดการจ้างงานหรือปรับลดชั่วโมงการทำงาน รวมถึงลดค่าธรรมเนียมการขาย เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด

 

  1. ผู้ประกอบการร้อยละ 41 ระบุว่า มีการลดการจ้างงานมากกว่า 25% แล้ว ส่วนอีกร้อยละ 38 บอกว่าจะพยายามคงสภาวะการจ้างงานเดิม แต่คงไม่ได้นาน

 

  1. ผู้ประกอบการร้อยละ 39 ระบุว่า มีสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนบริหารจัดการได้ไม่เกิน 6 เดือน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 8 บอกว่ามีสภาพคล่องเหลือเพียงแค่ 1-3 เดือน

 

  1. มาตรการกระตุ้นการจับจ่าย ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ ผู้ประกอบการร้อยละ 56 คาดหมายว่าอาจจะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 38 คาดหมายว่ายอดขายคงเดิม เพราะกลไกการใช้จ่ายซับซ้อน ไม่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่นิยมจับจ่ายด้วยเครดิตการ์ดได้ใช้เพิ่มเติมจาก G-Wallet

 

นอกจากนี้สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังได้ออกข้อเสนอต่อภาครัฐทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่

 

  1. เร่งรัดแผนกระจายการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในการจับจ่ายผู้บริโภค

 

  1. เร่งรัดมาตรการเยียวยาช่วยจ่ายค่าแรงพนักงาน 50% แก่ร้านค้าที่ได้รับผลกระทบจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามประกาศภาครัฐ

 

  1. เร่งรัดธนาคารพาณิชย์ประสานงานกับห้างค้าปลีกพิจารณาสินเชื่อ Soft Loan แก่คู่ค้า-ซัพพลายเออร์ระดับ Micro SMEs ตามโมเดล Sand Box สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

 

  1. เสนอให้ปรับแต่งกลไกเอื้อให้ผู้ที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์ ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ สามารถใช้เครดิตการ์ดจับจ่ายเพิ่มเติมจาก G-Wallet ทั้งนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้นิยมที่จะจับจ่ายสินค้าด้วยเครดิตการ์ดมากกว่าเงินสด

 

The post พิษโควิด-19 รอบ 3 ฉุดความเชื่อมั่นค้าปลีกวูบต่อเนื่อง! ร้านค้าแบกต้นทุนไม่ไหว ส่วนใหญ่ลดลูกจ้างแล้ว 25% แถมมีเงินทุนอยู่ได้อีกเพียง 6 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทยประกาศความสำเร็จเฟสแรก ร่วมมือธนาคารพาณิชย์ปล่อย Soft Loan กว่า 5 พันล้าน ช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 https://thestandard.co/thai-retailer-cooperate-with-commercial-banks-to-release-soft-loan/ Thu, 27 May 2021 04:31:09 +0000 https://thestandard.co/?p=493236 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า วันน […]

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทยประกาศความสำเร็จเฟสแรก ร่วมมือธนาคารพาณิชย์ปล่อย Soft Loan กว่า 5 พันล้าน ช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (27พฤษภาคม) ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ประชุมกับสมาชิกสมาคมและภาคีเครือข่ายกว่า 70 บริษัท ซึ่งมีผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่การค้ามากกว่า 1 แสนราย นับเป็น 40% ของมูลค่าการบริโภคค้าปลีกทั้งประเทศ หรือคิดเป็น 12% ของ GDP ร่วมกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 5 รายในเฟสแรก คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน เพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Soft Loan) ผ่าน Digital Factoring Platform 

 

โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อข้อมูลของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย เพื่อช่วยให้การพิจารณาสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกร ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ SMEs ทั่วประเทศขาดสภาพคล่องเป็นอย่างมาก และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

 

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้เริ่มโครงการแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเซ็นทรัล รีเทล (CRC) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) โดยการนำข้อมูลการทำธุรกิจระหว่างบริษัทฯ และซัพพลายเออร์ หรือคู่ค้าเบื้องต้นกว่า 4,000 รายของเซ็นทรัล รีเทล เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยผ่านแพลตฟอร์มฯ และได้อนุมัติสินเชื่อกลุ่มแรกให้กับ SMEs มากกว่า 1,000 ราย ในวงเงินรวม 5 พันล้านบาท ซึ่งกว่า 70% ของ SMEs เหล่านี้ยังไม่เคยเข้าถึงแหล่งเงินทุน Soft Loan มาก่อน 

 

“แพลตฟอร์มนี้ทำให้ธนาคารฯ สามารถพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นบนต้นทุนและความเสี่ยงที่ต่ำ และ SMEs สามารถชำระหนี้แบบอัตโนมัติผ่านช่องทางดิจิทัล เพราะฉะนั้นธนาคารจึงสามารถเสนอสินเชื่อวงเงินที่สูงและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ” 

 

ความสำเร็จของโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะนำต้นแบบนี้ขยายไปสู่ SMEs มากกว่า 1 แสนรายทั่วประเทศของสมาชิกสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและภาคีเครือข่ายภายในสิ้นปี 2564 

 

และในเฟสต่อไปจะขยายผลไปถึงสมาชิกของทุกสมาคมฯ ตั้งแต่สมาคมศูนย์การค้าไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับการร่วมมืออย่างเต็มที่จากธนาคารพาณิชย์ของรัฐและเอกชน เพื่อช่วยให้ SMEs ไทยสามารถพลิกฟื้น เสริมสภาพคล่อง และได้แต้มต่อในการดำเนินธุรกิจ

 

The post สมาคมผู้ค้าปลีกไทยประกาศความสำเร็จเฟสแรก ร่วมมือธนาคารพาณิชย์ปล่อย Soft Loan กว่า 5 พันล้าน ช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ห้างในพื้นที่ 18 จังหวัดสีแดง เลื่อนปิดเป็นเวลา 20.00 น. ตั้งแต่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. นี้ https://thestandard.co/malls-in-red-area-18-provinces-postpone-close-time/ Sat, 24 Apr 2021 03:53:40 +0000 https://thestandard.co/?p=479552 ห้างในพื้นที่ 18 จังหวัดสีแดง เลื่อนปิดเป็นเวลา 20.00 น. ตั้งแต่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. นี้

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมศูนย์การค้าไทย ประกาศเพิ่มมา […]

The post ห้างในพื้นที่ 18 จังหวัดสีแดง เลื่อนปิดเป็นเวลา 20.00 น. ตั้งแต่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ห้างในพื้นที่ 18 จังหวัดสีแดง เลื่อนปิดเป็นเวลา 20.00 น. ตั้งแต่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. นี้

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และสมาคมศูนย์การค้าไทย ประกาศเพิ่มมาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 โดยสมาชิกสมาคมทั้งสองแห่งและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ จะเพิ่มมาตรการเข้มข้นในการคัดกรองผู้บริโภคเข้าศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าในระดับสูงสุด โดยประกาศเลื่อนการเปิด-ปิดศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศเป็นเวลา 11.00-20.00 น. ยกเว้นซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ต และร้านอาหารที่ตั้งในศูนย์การค้า จะยังคงให้บริการถึงเวลา 21.00 น. ส่วนร้านค้าสะดวกซื้อจะให้บริการตามเวลา 05.00-22.00 น.

 

ทั้งนี้มีผลครอบคลุมเฉพาะพื้นที่สีแดง 18 จังหวัดเท่านั้น ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน จนถึงวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 (ยกเว้นจะมีประกาศของจังหวัด ระบุอื่นใดนอกเหนือจากนี้)

 

ประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในวันนี้มีอัตราการติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 8 แสนคน และมีแนวโน้มยังคงอยู่ในอัตราที่สูง ขณะเดียวกันในวันเสาร์ที่ 24 เมษายน ประเทศไทยมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,839 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่เคยปรากฏมานับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดเมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดมีความรุนแรงและเป็นวงกว้างกว่าระลอกที่ผ่านๆ มา จากข้อมูลการแพร่ระบาด สัปดาห์หน้า (25 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม) จะเป็นช่วงพีกของความเสี่ยงสูงสุดแล้ว สองสัปดาห์หลังจากนั้นเป็นช่วงที่จะเห็นกราฟชัดเจนว่าจะชี้ขึ้นหรือชี้ลง

The post ห้างในพื้นที่ 18 จังหวัดสีแดง เลื่อนปิดเป็นเวลา 20.00 น. ตั้งแต่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>