THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

เตรียมรับมือ Risk Off Mode หลังเศรษฐกิจจีนจ่อเผชิญวิกฤตเงินฝืด

... • 22 ม.ค. 2024

HIGHLIGHTS

8 MIN READ
  • เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณเสี่ยงเงินฝืดมากขึ้น โดยตัวเลขเงินเฟ้อจีนเลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี และลดลงติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต่างลดราคาขายของตนลง และคนงานระดับล่างถูกลดค่าจ้างเพื่อให้บริษัทยังคงแข่งขันได้ 
  • GDP จีนที่อยู่ที่ 5.2% ทั้งในไตรมาส 4/23 และทั้งปี ขณะที่ Nominal GDP (รวมเงินเฟ้อ) ขยายตัว 4.6% ทำให้ดัชนีราคาของ GDP หรือ GDP Deflator อยู่ในระดับต่ำเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ 0.1% บ่งชี้ว่าจีนกำลังส่งออกเงินฝืดสู่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีน เช่น ประเทศไทย
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เตือนว่าตลาดเริ่มเข้าสู่ Risk Off Mode พร้อมแนะนักลงทุนสะสมหุ้นปันผลดี

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลงจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด โดยยอดค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น 5.6% ต่อปี และ 0.6% ต่อเดือนจากเดือนก่อนที่ 4% ต่อปี และ 0.3% ต่อเดือนตามลำดับ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และตลาดแรงงานที่ยังดีต่อเนื่อง ทำให้ความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะเริ่มลดดอกเบี้ยผ่าน CME FedWatch Tool ในเดือนมีนาคมลดลงจากประมาณ 70% ในช่วงต้นปีเหลือ 57% 

 

ขณะที่ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลง จาก 0.2% ต่อเดือน ในเดือนพฤศจิกายน สู่ 0.1% ในเดือนธันวาคม ขณะที่รายปีขยายตัว 1.2% 

 

เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณเสี่ยงเงินฝืดมากขึ้น โดยตัวเลขเงินเฟ้อจีนเลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี โดยลดลง 0.3% ในเดือนธันวาคมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และลดลงติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต่างลดราคาขายของตนลง และคนงานระดับล่างถูกลดค่าจ้างเพื่อให้บริษัทยังคงแข่งขันได้ 

 

ทั้งนี้ การส่งออกของจีนรายปีลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกและราคาสินค้าลดลง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกของจีนในปี 2023 อยู่ที่ 3.38 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลง 4.6% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขการส่งออกเดือนธันวาคมขยายตัวเล็กน้อยที่ 2.3% ต่อปี ส่วนนำเข้าขยายตัว 0.2% ทำให้เกินดุลการค้า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์  

 

GDP จีนที่อยู่ที่ 5.2% ทั้งในไตรมาส 4/23 และทั้งปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด ขณะที่ Nominal GDP (รวมเงินเฟ้อ) ขยายตัว 4.6% ทำให้ดัชนีราคาของ GDP หรือ GDP Deflator อยู่ในระดับต่ำเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ 0.1% ภาพดังกล่าวทำให้จีนส่งออกเงินฝืดสู่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีน เช่น ประเทศไทย มากขึ้น 

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนขยายตัว 6.8% สูงกว่าตลาดคาดและเดือนก่อนที่ 6.6% (7) ยอดค้าปลีก ขยายตัว 7.4% ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ 10.1% และคาดการณ์ที่ 8.0% และ (8) ยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวรที่ขยายตัว 3% ฟื้นจากเดือนก่อนและคาดการณ์ที่ 2.9% 

 

“สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลงจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด โดยยอดค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น 5.6% ต่อปี จากเดือนก่อนที่ 4% ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และตลาดแรงงานที่ยังดีต่อเนื่อง ทำให้ตลาดมองว่าโอกาสที่ Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมลดลง จากประมาณ 70% ในช่วงต้นปีเหลือ 57% ด้านเศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณเสี่ยงเงินฝืดมากขึ้น ทั้งตัวเลขเงินเฟ้อจีนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี ส่งออกของจีนรายปีลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 และ GDP จีนที่อยู่ที่ 5.2% ทั้งในไตรมาส 4/23 และทั้งปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด แต่ GDP Deflator หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ทำให้จีนส่งออกเงินฝืดสู่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีน เช่น ประเทศไทย”

 

เตรียมรับมือโหมด Risk Off

 

ปัจจุบันตลาดเริ่มเข้าสู่ Risk Off Mode ผลจากการปรับความคาดหวังในมุมมองทิศทางเศรษฐกิจและนโยบายการเงินสหรัฐฯ โดยล่าสุดตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมขยายตัวเกินคาด ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นในเกือบทุกกลุ่ม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจับจ่ายช่วงเทศกาล ท่ามกลางการใช้บัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงเป็นประวัติการณ์ และการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ดีเกินคาดขณะที่เงินเฟ้อยังไม่ปรับลดลงจะเป็นผลให้ Fed อาจต้องเริ่มส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรเร่งตัวขึ้น ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น นำไปสู่ภาวะตลาดที่ผันผวนได้

 

ในส่วนของเศรษฐกิจจีน เผชิญกับปัจจัยลบที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็น 1. ตัวเลขเงินเฟ้อจีนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ลดราคาขายของตนลง และคนงานระดับล่างถูกลดค่าจ้างเพื่อให้บริษัทยังคงแข่งขันได้ 

 

2. ส่งออกของจีนรายปีลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 และ 3. ตัวเลขการขยายตัว GDP ที่อยู่ที่ 5.2% ทั้งในไตรมาส 4/23 และทั้งปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด แต่ GDP Deflator หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนซึมเซา และวิกฤตเงินฝืดยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ทางการจีนส่งสัญญาณว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น 

 

ทั้งนี้ บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าจีนกำลังส่งออกเงินฝืดจากการที่จีนส่งออกได้น้อยลง จีนจึงลดราคาสินค้าส่งออกเพื่อจะทำให้ขายปริมาณได้มากขึ้น ทำให้ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีนมาก และเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเช่น ประเทศไทย เผชิญภาวะเงินฝืดตามไปด้วย โดยการส่งออกของจีนมาไทยเพิ่มขึ้นจากระดับประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปี 2021 เป็นระดับ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่นำเข้าจากไทยน้อยลงจาก 5 พันล้านดอลลาร์ เป็น 4.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน ทำให้จีนเกินดุลการค้าไทยมากขึ้นสู่ระดับประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ ผลจากสงครามการค้ากับสหรัฐฯ และการเปิดเสรีตามกรอบ RCEP

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี เลือก AP, BCP และ KTB โดยใช้หลักเกณฑ์คือ มีสถิติจ่ายปันผลต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป, มี SET ESG Rating ระดับ AAA/AA, คาด Div. Yield ที่เหลือหลังหักที่จ่ายระหว่างกาลไปในระหว่างปี 2566 สูงเกิน 5% และปี 2567 ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโต YoY 

 

2. นักลงทุนระยะยาวแนะนำลงทุนสะสมแบบ DCA เนื่องจากมองเป็นจังหวะที่ดีที่สุด หลัง SET ปรับลงแรงจนความเสี่ยงลดลงไปมาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL, BDMS, BEM, CPALL, PTT และ SCC ซึ่งเป็นหุ้น SET100 ซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม และมี ESG Rating ระดับ AAA/AA, Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และผลการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง

 

3. ระยะกลางแนะนำระมัดระวังหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญที่จะกระทบต่อกำลังซื้อภาคเกษตรลดลง ได้แก่ กลุ่มสินเชื่อ (MTC, SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG จากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF, GFPT, BTG)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. การประชุมนโยบายการเงินของ BoJ วันที่ 22-23 มกราคม ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และติดตามการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 

 

2. การประชุมนโยบายการเงินของ ECB วันที่ 25 มกราคม ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.00% และติดตามการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการดำเนินอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ 

 

3. ตัวเลข GDP 4Q23 ที่รายงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ตลาดคาดขยายตัว 2.3%QoQ ชะลอลงจาก 3Q23 ที่ขยายตัว 4.9%

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BEM - กำไรดี...ปีนี้มีลุ้น 3 โครงการใหญ่

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำการให้บริการทางด่วน และระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ซึ่งมีกระแสเงินสดเข้าอย่างต่อเนื่องและฐานะการเงินแข็งแกร่ง 
  • แนวโน้มกำไรแข็งแกร่ง โดยแม้ 4Q23 คาดกำไรลดลง QoQ เพราะไม่มีรายได้เงินปันผลเหมือนไตรมาสก่อนหน้า แต่น่าจะยังคงเติบโต YoY จากปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนและจำนวนผู้โดยสาร MRT ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ทั้งปี 2023 คาดว่าจะมีกำไรปกติ 3.5 พันล้านบาท เติบโต 45%YoY และโตอีก 27%YoY ในปี 2024 ตามปริมาณรถที่ใช้ทางด่วนและจำนวนผู้โดยสาร MRT ที่เพิ่มต่อเนื่อง
  • ปี 2024 มีปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นหลังมีโอกาสลุ้น 3 โครงการใหญ่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก, Double Deck ในส่วนทางด่วน และประมูลงานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 
  • ราคาหุ้น BEM ปรับลง 3.8%YTD จนซื้อขายที่ PER 2024F ต่ำกว่า -2S.D. และยังเทรดต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดอยู่ 27.5% ซึ่งมองว่ายังไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่กลับมาแข็งแกร่ง 
  • เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 9.00 บาท (อิงวิธี SOTP) ทั้งนี้ ยังไม่รวม Upside อีก 1.5 บาทต่อหุ้น จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกเข้ามา ขณะที่คาดว่าจะมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2023 หุ้นละ 0.14 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1.85% 

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

สภาพคล่อง/เงินสด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบาย รวมทั้งความหวัง Soft Landing ในสหรัฐฯ ที่มีอยู่ หลังยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด ขณะที่สภาพคล่องยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ หลังสหรัฐฯ และอังกฤษใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตีกลุ่มกบฏฮูตี

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

Bond Yield ของ UST/TGB ปรับตัวลงค่อนข้างเร็ว อาจทำให้ Upside ของ Bond ตัวยาวในระยะสั้นมีค่อนข้างจำกัด และโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน Digital Wallet ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แรงกดดันต่อราคา TGB ลดลง และ TGB Yield มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงสั้น

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

หุ้นกู้ IG ยังได้แรงหนุนจาก 1. เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวจำกัด 2. Yield ยังสูงเมื่อเทียบกับอดีต และ 3. เงินเฟ้อปรับลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของ Yield ที่ซึมซับข่าวไปมากอาจทำให้ Upside ในระยะสั้นมีจำกัด เราจึงแนะนำให้เน้นเลือกลงทุนในกองทุนที่มีการ Manage Duration หรือ Selective Bond รายตัว 

 

US HY OAS Spread ยังค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต 10 ปี โดยเรามองว่ากิจกรรมการ Refinance ที่จะเริ่มเร่งตัวขึ้นในครึ่งปีหลังของปี 2567 มีโอกาสที่ Supply Bond ของ HY เพิ่มขึ้น และ Spread ปรับเพิ่มขึ้นได้ และ Interest Coverage Ratio อ่อนตัวลง 4 ไตรมาสติดต่อกัน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

Valuation ของดัชนีฯ ตึงตัวมากขึ้น และเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงเข้าสู่ ‘Soft Landing’ แต่การที่ตลาดคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว อาจเผชิญความเสี่ยงการปรับฐานได้ หาก Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายไม่เป็นไปตามคาด โดยล่าสุดตัวเลขค้าปลีกที่ออกมาดีกว่าคาด ลดโอกาสการลดดอกเบี้ยเดือนมีนาคมลง

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

Consensus ยังคาด EPS ของดัชนี STOXX600 ยังมีแนวโน้มหดตัว YoY จนถึง 1Q2567 อย่างไรก็ดี ความคาดหวังที่มากขึ้นของตลาดต่อการลดดอกเบี้ยของ ECB (ล่าสุดตลาดคาด ECB จะลดดอกเบี้ยรวม 1.5% ในปี 2567) จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของ Valuation ดัชนีฯ ผ่าน Bond Yield ยุโรปที่มีแนวโน้มพักฐานถึงลดลง

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 4

บจ.ญี่ปุ่น มีแนวโน้มออกมาตรการหนุน ROE และ P/BV หลัง TSE ทยอยเผยรายชื่อบริษัทที่สามารถทำตามข้อเรียกร้องของตนเป็นรายเดือนหลังจากนี้ ขณะที่รายย่อยมีแนวโน้มเพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นมากขึ้น ตามการเริ่มโครงการ New NISA ด้าน BoJ มีแนวโน้มชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินออกไป หลังเหตุแผ่นดินไหวต้นปี

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมของทางการ หลัง GDP ใน 4Q2566 และยอดค้าปลีกในเดือนธันวาคมออกมาต่ำกว่าคาด โดยล่าสุดรัฐบาลจีนอยู่ระหว่างพิจารณาออกพันธบัตรพิเศษเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านหยวน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอยู่จะยังกดดันดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัว ขณะที่ Valuation ไม่แพง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ในภาคอสังหา ความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ กับจีน และการกลับมาคุมเข้มของทางการกับกลุ่ม Online Gaming จะสร้างความผันผวน และจำกัดการฟื้นตัวของดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีฯ เผชิญแรงกดดันระยะสั้นจาก Sentiment เชิงลบบนความไม่แน่นอนของนโยบาย Digital Wallet อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวแรงในเดือนธันวาคม (3.26 ล้านคน เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ 2.6 ล้านคน) และการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวจะส่งผลบวกต่อภาคบริโภคในประเทศ ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีฯ ยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนชัดเจน โดยแม้เราเริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจเวียดนามเพิ่มขึ้น จากการส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เรายังมีความกังวลบนหุ้นกู้ภาคอสังหาที่จะครบกำหนดชำระหนี้ในปี 2567 ท่ามกลางแผนเพิ่มทุนบนตลาดหุ้นของผู้ประกอบการอสังหาที่มีแนวโน้มมากเป็นประวัติการณ์

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นจากเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่หุ้นขนาดใหญ่ โดยเรามีมุมมองเป็นบวกจากภาพการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ที่มีแนวโน้มราบรื่นมากขึ้น โดย Prabowo Subianto ได้รับคะแนนนิยมทิ้งห่างจากพรรคคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม การคงดอกเบี้ยของ BI เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน จะยังกดดันภาคการบริโภคและการลงทุน

 

ตลาดหุ้นอินเดีย

ความน่าสนใจระดับ 4

เงินเฟ้อในเดือนธันวาคมสูงขึ้นเล็กน้อยแตะระดับ 5.7%YoY เทียบ 5.6%YoY ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานลดลงสู่ระดับ 3.9%YoY ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางอินเดีย (4%YoY) และเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 เพิ่มโอกาสให้ธนาคารกลางอินเดียสามารถดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายได้เพิ่มขึ้นในปี 2567

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาทองคำได้รับอานิสงส์เชิงบวกตามแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2567 ส่งผล 10Y UST Real Yield มีโอกาสปรับตัวลดลง และค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า อีกทั้งยังมีความต้องการซื้อทองคำของธนาคารกลางประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ที่ลดลง อาจทำให้ Upside ราคาทองคำค่อนข้างจำกัด

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนระยะสั้นจากความกังวลเรื่องกลุ่มกบฏในเยเมนก่อเหตุโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในทะเลแดง และการลดกำลังการผลิตบางส่วนของลิเบีย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากความกังวลด้านอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง และอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากประเทศกลุ่ม Non-OPEC นำโดยสหรัฐฯ เป็นหลัก ขณะที่กลุ่ม OPEC+ ยังไม่สามารถกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันอย่างเป็นทางการใน 1Q24

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

DM REITs ชะลอความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นแรงจาก Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ Demand Indicators เมื่อพิจารณาจาก Net Absorption และ Occupancy Rate นั้นอ่อนแอลงเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจที่เข้าสู่ช่วง Soft Landing ขณะที่ในเชิง Valuation เมื่อพิจารณาจาก P/BV อาจดูน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ส่วน Dividend Yield Spread ยังไม่น่าสนใจ

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3

EM REITs ชะลอความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นแรงจาก Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับมี Valuation และเงินปันผลอยู่ในระดับน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อีกทั้งสภาพคล่องของ REITs ไทยที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับมีการกระจุกตัวของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน คู่สัญญา และ Sponsor ที่ค่อนข้างสูง

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 3

ปรับมุมมอง Private Credit เป็น Slightly Positive จากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority) Private Equity เป็น Neutral อัตราดอกเบี้ยที่ผ่านจุดสูงสุดและมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้แรงกดดันด้าน Discount Rate ที่มีต่อ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity ลดลง แต่ยังคงมุมมอง Private Real Estate ที่ Slightly Negative เนื่องจากหลายกองทุนยังมีการบังคับใช้การระงับการไถ่ถอนกองทุนอยู่

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 22 ม.ค. 2024

READ MORE




Latest Stories