วันเลือกตั้ง

โพลพระปกเกล้าชี้ New Voter จะไปเลือกตั้งมากสุด เผยชื่อนายกฯ มีผลต่อการกาบัตร

10.12.2018
  • LOADING...

เช้าวันนี้ (10 ธ.ค.) ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญ สถาบันพระปกเกล้าได้จัดกิจกรรม ‘แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง’ ภายใต้โครงการ ‘จับตาการเลือกตั้ง 62 (Election’ 62 Watch)’ โดย ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า

 

สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง ‘ประชาชนพร้อมหรือยังกับการ เลือกตั้ง’ โดยกำหนดให้มีการสำรวจความคิดเห็นรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง จำแนกเป็นในเดือนธันวาคม 2561 จำนวน 1 ครั้ง เดือนมกราคม 2562 จำนวน 2 ครั้ง และเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อีกจำนวน 2 ครั้ง

 

ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งที่ 1 ได้สำรวจระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม 2561 โดยการสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้

 

– ความรู้ความเข้าใจต่อระบบเลือกตั้งใหม่ พบว่า ประชาชนจำนวนมากยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ส.ส. และการเลือกตั้งระบบใหม่ เพราะเมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับจำนวน ส.ส. ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 59.1 ทราบว่า ส.ส. แบบแบ่งเขตมีจำนวน 350 คน ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 70.5 ทราบว่า ส.ส. บัญชีรายชื่อมีจำนวน 150 คน

 

ขณะที่เมื่อพิจารณาจำแนกตามภาค แยกกรุงเทพมหานครออกจากภาคกลาง พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครร้อยละ 84.8 มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อสูงกว่าภาคอื่น ในขณะที่ประชาชนจากภาคกลางและภาคตะวันออกถึงจำนวนร้อยละ 34.2 ยังไม่ทราบเกี่ยวกับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อตามระบบเลือกตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญ

 

กรณีของจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตนั้น ผลการสำรวจไม่แตกต่างกันกับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครร้อยละ 90.2 มีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นเรื่องจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตสูงกว่าภาคอื่น และประชาชนในภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวนร้อยละ 50.0 ยังไม่ทราบเกี่ยวกับจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งตามระบบเลือกตั้งใหม่ ประชาชนร้อยละ 55.2 ยังเข้าใจว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะจัดขึ้นในปี 2562 ต้องกาบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเช่นเดิม โดยเมื่อแยกพิจารณารายภาคจะเห็นว่า ประชาชนในทุกภาคเกินร้อยละ 50 ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่จะใช้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ยกเว้นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนร้อยละ 75.0 ที่เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงเก่ียวกับจำนวนบัตรเลือกตั้งในการเลือกต้ังระบบใหม่

 

– พฤติกรรมการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และการตัดสินใจเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต โดยสรุปคือ การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 ประชาชนเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากนโยบายพรรคที่ใช้หาเสียง

 

เมื่อถามถึงประสบการณ์การออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประชาชนร้อยละ 83.5 ระบุว่า ได้ออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนในการเลือกตั้งดังกล่าว และเมื่อสอบถามต่อไปถึงปัจจัยที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขต ร้อยละ 41.9 ตอบว่า ดูจากนโยบายพรรคที่ใช้หาเสียง ร้อยละ 30.7 ดูจากตัวผู้สมัคร ร้อยละ 19.4 ดูจากพรรคท่ีผู้สมัครสังกัด และร้อยละ 8 ดูจากชื่อผู้นำที่พรรคของผู้สมัครคนนั้นชูเป็นนายกรัฐมนตรี

 

– เกณฑ์การตัดสินใจเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และเจตจำนงในการไปใช้สิทธิ์เลือกต้ังครั้งหน้า โดยสรุปคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก (18-24 ปี) ตั้งใจไปเลือกตั้งไม่น้อยหน้าคนวัยอื่นถึงร้อยละ 90

 

เมื่อถามว่า หากมีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ท่านจะออกไปใช้สิทธิ์หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 90.8 ตอบว่า จะออกไปใช้สิทธิ์อย่างแน่นอน ร้อยละ 7.6 ตอบว่า ยังไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้น ที่ตอบว่า จะไม่ไปใช้สิทธิ์อย่างแน่นอน ผลสำรวจชี้ว่า คนใต้ร้อยละ 94.1 กับคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 94.7 ตั้งใจจะไปเลือกตั้งมากกว่าคนภาคอื่นๆ

 

และชื่อนายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอ จะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ของประชาชน โดยประชาชนร้อยละ 53.8 ตอบว่า มีผลอย่างมาก ร้อยละ 29.9 ตอบว่า มีผล ร้อยละ 11.1 ตอบว่า ไม่ค่อยมีผล และร้อยละ 5.2 ตอบว่า ไม่มีผลเลย

 

ขณะที่ชื่อนายกรัฐมนตรีท่ีพรรคการเมืองเสนอมีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ของผู้มีสิทธิ์เลือกต้ังคร้ังแรก (18-24 ปี) มากกว่าผู้มีสิทธิ์เลือกต้ังวัยอื่นๆ ถึงร้อยละ 85.4

 

อ่านรายละเอียดผลสำรวจทั้งหมดได้ที่ www.kpi-corner.com

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising