- สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเงินตลาดทุนเข้าสู่โหมด Risk-Off มากขึ้น หลังจากตลาดรับรู้ตัวเลขจากงานนอกภาคเกษตรออกมาดีเกินคาด กดให้อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 53 ปี
- ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลง 1.1% โดยตลาด EM -1.4% และตลาด DM -1.1% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ยังดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าที่ตลาดคาดการณ์
- การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเกินคาดมาก ขณะที่อัตราว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 53 ปี ด้านรายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนมกราคมจากปีก่อนหน้า เร่งตัวจาก 3.6%
- ขณะเดียวกัน ประธาน Fed ยังคงมองว่าเงินเฟ้อเร่ิมลดลงแล้ว (Disinflationary process has begun) แต่จะใช้เวลายาวนาน เพราะ Disinflation เกิดในตลาดสินค้า ซึ่งเป็น 25% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- เชื่อว่า Fed จะข้ึนดอกเบี้ยถึงระดับ 5-5.25% หรือสูงกว่านั้น และมองว่าในระยะต่อไป ความผันผวนในตลาดจะมีมากขึ้นจากความเสี่ยงเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และต้นทุนการเงินที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงผลประกอบการที่อาจเริ่มแย่ลงมากขึ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเงินปรับตัวลดลงจากกระแส Risk-Off ที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยต่างๆ กล่าวคือ
1. การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาดมาก โดยเพิ่มข้ึน 5.17 แสนตำแหน่งในเดือนมกราคม สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ 1.85 แสนตำแหน่ง อัตราว่างงานลดลงเหลือ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 53 ปี ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 4.4% ในเดือนมกราคมจากปีก่อนหน้า ลดลงจาก 4.8% ในเดือนธันวาคม แต่รายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์พุ่งสูงขึ้นรุนแรงที่ 4.7% สูงสุดในรอบ 10 เดือน ทำให้ความกังวลในเงินเฟ้อเริ่มมีมากขึ้น
2. ประธาน Fed และสมาชิก FOMC ท่านอื่นๆ เช่น คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ และ จอห์น วิลเลียมส์ ท่ียังคงยืนยันว่ากระบวนการทำให้เงินเฟ้อลดลง (Disinflationary Process) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่ยังยืนยันว่าจะคงดอกเบี้ยสูงต่อไปจนความเสี่ยงเงินเฟ้อหมดไป
3. เศรษฐกิจโลกมีทิศทางท่ีดีข้ึน โดยดัชนี Global Composite PMI เข้าใกล้ระดับ 50 จุด ขณะที่ภาคบริการขึ้นเกิน 50 จุดแล้ว
4. ตัวเลขตลาดอสังหาสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้างจากจุดต่ำสุด ทั้งการขอสินเช่ือที่อยู่อาศัยและราคาบ้านคงคลังที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น หลังจากที่ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ลดลงทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน 30 ปีที่ลดลงในช่วงหลัง ทำให้ตลาดมองว่า Fed ข้ึนดอกเบี้ยยาวนานขึ้น จึงเริ่มเกิดกระแส Risk-Off จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และผลตอบแทนพันธบัตรที่เริ่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระยะสั้น จนทำให้ภาวะ Inverted Yield Curve รุนแรงขึ้น
ด้านสัญญาณอื่นๆ ยังคงบ่งชี้ถึงความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก โดย
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีตกต่ำกว่าคาด โดยหดตัว -3.1% จากที่หลายฝ่ายคาดว่าจะหดตัว -0.7%
2. ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์รุนแรงขึ้น หลังกองทัพอากาศสหรัฐฯ ยิงบอลลูนสอดแนมของจีนตกนอกชายฝั่งสหรัฐฯ ขณะที่ทางจีนกล่าวว่าเป็นเพียงบอลลูนเพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ ทำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยกเลิกการเข้าพบประธานาธิบดีสีจิ้นผิง หลังจากนั้นท้ังสองฝ่ายต่างตอบโต้ในเชิงวาจามากข้ึน
3. เยนเร่ิมอ่อนค่าลงหลังจากรัฐบาลเตรียมประกาศผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นท่านใหม่ท่ีตลาดมองว่าค่อนข้าง Dovish
4. ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่าสหรัฐฯ จะไม่มีทางผิดนัดชำระหนี้เมื่อครบกำหนด อย่างไรก็ตาม พรรคเดโมแครตยังไม่เสนอหนทางแก้ปัญหาเพดานหนี้สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม
5. ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน เดินทางไปยังอังกฤษและยุโรปโดยไม่เปิดเผยมาก่อน เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการทหารเพิ่มเติม
6. เกิดแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนและบ้านเรือนเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมถึงทำให้ท่าเรือของตุรกีที่ใช้ส่งน้ำมันให้ยุโรปต้องถูกปิดชั่วคราว ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 1.1% (EM -1.4%, DM -1.1%) โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากท่าทีของ Fed ที่ยังดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ประกอบกับตัวเลขผลประกอบการในภาพรวมออกมาต่ำกว่าที่คาด และมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลง
หุ้นกลุ่ม Value (-0.9%) ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นกลุ่ม Growth (-1.4%) หุ้นขนาดใหญ่ (-1%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (-2.1%) โดยกลุ่มที่ผันผวนต่อการเพิ่มข้ึนของดอกเบี้ยอย่างกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มสาธารณูปโภคปรับตัวลดลง 2% ส่วนกลุ่มสื่อสารได้รับแรงกดดันจากหุ้น Alphabet ท่ีได้รับแรงกดดันจากความผิดพลาดของ OpenAI ในขณะที่กลุ่มพลังงานปรับเพิ่มข้ึน 1.7% ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันท่ี 6%
ตลาดแรงงานยังมีอิทธิพลต่อเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย
InnovestX มองว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเกินคาดมาก ขณะที่อัตราว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 53 ปี ด้านรายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนมกราคมจากปีก่อนหน้า เร่งตัวจาก 3.6% ในเดือนธันวาคม บ่งชี้ว่าภาพตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะภาคบริการ ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อจากค่าจ้างเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น
โดยตัวเลขการจ้างงาน Non-Farm ที่เพิ่มขึ้นมากและขัดแย้งกับตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ที่ชะลอแรงกว่าคาด (1.1 แสนตำแหน่ง จากคาดที่ 1.7 แสนตำแหน่ง) บ่งชี้ว่าธุรกิจที่จ้างงานมากน่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจบริการมากกว่า ซึ่งในระยะสั้นยังได้รับประโยชน์จากเงินออมส่วนเกินที่ยังมีอยู่ และผู้คนอาจจะออกมาจับจ่ายในช่วงต้นปี ทำให้มีดีมานด์ของแรงงาน Unskilled Worker ภาคบริการ แต่ระยะต่อไปเมื่อเศรษฐกิจชะลอมากขึ้น ก็อาจนำมาสู่การปลดคนงานได้เช่นเดียวกัน
ในส่วนของมุมมองจากประธาน Fed ยังคงมองว่าเงินเฟ้อเร่ิมลดลงแล้ว (Disinflationary process has begun) แต่จะใช้เวลายาวนาน เพราะ Disinflation เกิดในตลาดสินค้า ซึ่งเป็น 25% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (แต่อีก 75% เป็น Service ซึ่งยังมีเงินเฟ้ออยู่) ดังนั้นถ้าข้อมูลยังดีต่อเนื่อง เช่น ตัวเลขตลาดแรงงาน และ/หรือ เงินเฟ้อยังสูงอยู่ ก็มีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยสูงเกินกว่าคาด ซึ่ง InnovestX มองว่า การที่ประธาน Fed เน้นว่าเงินเฟ้อเริ่มลง แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะหมดนั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งภาพเงินเฟ้อจะอยู่ระดับสูงยาวนานขึ้น ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวท่ีดูแข็งแกร่งขึ้น ทำให้ Fed ต้องคงดอกเบี้ยสูงมากขึ้น และ/หรือ ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
“ภาพดังกล่าวทำให้เราเชื่อว่า Fed จะข้ึนดอกเบี้ยถึงระดับ 5-5.25% หรือสูงกว่านั้น และมองว่าในระยะต่อไป ความผันผวนในตลาดจะมีมากขึ้นจากความเสี่ยงเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และต้นทุนการเงินที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงผลประกอบการที่อาจเริ่มแย่ลงมากขึ้น”
กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย
ช่วงสั้นมอง SET จะยัง Sideway ในกรอบระหว่างรอปัจจัยใหม่และดูผลประกอบการ 4Q65 ของ Real Sector ท่ีกำลังจะทยอยออกมา กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังนี้
1. หุ้นที่มองไม่ต้องระวังแรงขายจากต่างชาติ (ปี 2565 ต่างชาติขายสุทธิหรือซื้อสุทธิน้อย) ขณะท่ีปี 2566 (YTD) ต่างชาติเริ่มพลิกซื้อสุทธิหรือซื้อต่อเนื่อง เลือก SCC, AMATA, ERW
2. หุ้นที่ราคายัง Laggard โดยมี P/BV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและปี 2566 คาดกำไรเติบโตดี YoY อีกท้ัง Valuation ยังน่าสนใจ เลือก CPF, GPSC, SCGP, HMPRO
3. สำหรับนักลงทุนท่ีชอบหุ้นปันผล แนะนำหุ้นที่คาดหลังรายงานงบปี 2565 จะประกาศจ่ายปันผล โดยให้ Div. Yield ปี 2565 (หักที่จ่ายระหว่างกาลไปแล้ว) สูงเกิน 4% และคาดข้ึน XD แล้ว ราคาหุ้นจะยังปรับขึ้นต่อได้จากผลการดำเนินงานที่เติบโตดีในปี 2566 เลือก TISCO, SAT, KTB, SCCC
ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นที่แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากคาดจะเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ KBANK, BANPU, PTTEP, EA, BH
เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
1. อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) เดือนมกราคมว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนท่ี 6.5% หรือไม่ (ตลาดและเราคาด 6.3%)
2. ยอดค้าปลีกรายเดือนว่าจะหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หรือไม่ ขณะท่ีรายปีตลาดคาดขยายตัวชะลอลงเหลือ 4.5% จาก 6%
3. การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ว่าจะหดตัวต่อเนื่องหรือไม่
4. การขยายตัวของ GDP 4Q65 ประกาศครั้งที่ 2 ของยูโรโซน ว่าจะยังเป็นบวกอยู่หรือไม่
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: ADVANC - กำไรเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว
สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้
- เป็นผู้นำธุรกิจให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมในไทย มีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนท่ีในด้านจำนวนผู้ใช้บริการสูง 45% อีกท้ังยังมีจำนวนคลื่นในมือมากที่สุดในกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้บริการลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตได้ดีในระยะยาว
- พยายามหาแหล่งรายได้ใหม่ เช่น ธุรกิจท่ีไม่ใช่โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มลูกค้าองค์กร และธุรกิจบริการทางการเงิน (เซ็น MOU กับ KTB เพื่อศึกษาร่วมกันจัดตั้ง Virtual Bank) ซึ่งมองจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรในระ ยะยาว แม้อาจสร้างส่วนแบ่งกำไรเล็กน้อยในระยะแรก
- 1Q66 คาดกำไรจะเติบโต QoQ และ YoY แรงหนุนจากการใช้มาตรการควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง และรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงเติบโตดีตามรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเท่ียวที่ปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งธุรกิจ FBB คาดเติบโตต่อเนื่องจากส่วนแบ่งตลาดท่ีเพิ่มข้ึน
- ปี 2566 มองเป็นปีแห่งการฟื้นตัว โดยคาดมีกำไรปกติ 2.74 หมื่นล้านบาท กลับมาโต 5.1%YoY จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ซึ่งจะหนุนรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ซึ่งคิดเป็น 3-5% ของรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
- เราประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 225 บาท และล่าสุดบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2565 ในอัตรา 4.24 บาทต่อหุ้น (ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้)
มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO
สภาพคล่อง / เงินสด
ความน่าสนใจระดับ 3
เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยท่ีลดลง และธนาคารกลางหลายแห่งเร่ิมขึ้นดอกเบี้ยช้าลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังถูกปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ดอกเบี้ยที่อยู่สูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
10y UST Yield อาจเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น หลังถ้อยแถลงของ Fed Hawkish ขึ้น แต่คาดว่าจะเริ่มลดลงชัดเจนหลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย และจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ในส่วน 10y TH Yield เคลื่อนไหวตาม US แต่ YTD ยังคงลดลง โดยมีแรงซื้อจาก บลจ. และบริษัทประกัน ขณะที่ MTD ต่างชาติขายออก
กองทุนแนะนำ
Krungsri Yenjai Fund
- กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว
หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง ตามความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่ลดลงสำหรับ IG TH Yield ยังคงอยู่ในระดับต่ำตาม Gov’t Yield และ Corporate Spread ที่ต่ำเมื่อเทียบ YTD โดยเฉพาะอายุ < 3 ปี นอกจากนี้ Spread กลุ่ม BBB ก็ปรับลดลงมาใกล้เคียงก่อนโควิดด้วย
แม้แนวโน้ม LT Yield จะลดแรงกดดันลง และ Financial Condition ดีขึ้น (จากค่าเงินใน EM ที่กลับมาแข็งค่า) ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่อัตราดอกเบี้ยที่สูงและเศรษฐกิจโลกท่ีมีแนวโน้มชะลอตัว จะยังกดดันความสามารถในการชำระหน้ีของกลุ่ม HY โดยเฉพาะในบางกลุ่ม เช่น อสังหาในเวียดนาม เป็นต้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดฯ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2566 ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลง ในช่วงรายงานงบฯ ประจำ 4Q65 ท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ยและค่าจ้างที่ยังสูง รวมท้ังความกังวลแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ที่ยังมีอยู่ แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลง
ตลาดหุ้นยุโรป
ความน่าสนใจระดับ 3
เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจล่วงหน้าที่กลับมาปรับตัวดีขึ้น จากการที่ความเสี่ยงของวิกฤตพลังงานในปีนี้ลดลง จากระดับของก๊าซธรรมชาติสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ Valuation เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วยังอยู่ระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินยังคงมีแนวโน้มตึงตัวเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโต
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ความน่าสนใจระดับ 3
ทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว และค่าเงินเยนที่แข็งค่า มีแนวโน้มกดดันผลประกอบการในช่วงครึ่งแรกของปี และยังคงมีความผันผวนจากการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ อย่างไรก็ดี ด้วย Valuation อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประกอบกับการฟื้นตัวตามการเปิดเมือง จะช่วยลดผลกระทบต่อตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นจีน A-Share
ความน่าสนใจระดับ 5
ดัชนีฯ มีแนวโน้มรับแรงหนุนจากมาตรการเปิดเมือง มาตรการผ่อนคลายทางการเงินการคลัง และมาตรการเยียวยาภาคอสังหา ประกอบกับดัชนีฯ ยัง Laggard เมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นจีน Offshore แม้การเร่งเปิดเมืองที่เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดอาจนำไปสู่การระบาดที่เร่งตัวข้ึน และจะกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจจีนในช่วงสั้นก็ตาม
ตลาดหุ้นจีน H-Share
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีน จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงจากข้อพิพาทเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ รวมทั้งจากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังน่ากังวล
ตลาดหุ้นไทย
ความน่าสนใจระดับ 4
ท่องเที่ยวท่ีฟื้นตัวหนุนการจ้างงานและรายได้แรงงาน รวมถึง SME ส่งผลดีต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ผลักดันเศรษฐกิจฟื้นตัวตาม เป็นปัจจัยบวกต่อ Earning ของบริษัทฯ ที่เน้นตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังต้องระวังกลุ่มท่ีเน้นส่งออก ซึ่งจะถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและค่าเงินผันผวน
กองทุนแนะนำ
SCB Dividend Stock Open End Fund
- กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ความน่าสนใจระดับ 3
แม้ว่าในระยะกลางตลาดฯ จะได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจท่ียังขยายตัวได้ดี แรงกระตุ้นทางการคลังท่ีมีอยู่ และ Valuation ที่ไม่แพง แต่ด้วยความกังวลการผิดนัดชำระหน้ีหุ้นกู้ของภาคอสังหา การดำเนินนโยบายการเงินท่ีตึงตัว ผลประกอบการ บจ. ที่ชะลอลง และการปราบปรามการทุจริตที่มีอยู่ จึงทำให้ Upside ตลาดฯ ถูกจำกัด
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความน่าสนใจระดับ 3
เราปรับมุมมองบนตลาดหุ้นอินโดนีเซียจาก Slightly Positive เป็น Neutral เนื่องจากตลาดฯ เริ่มมีแรงกดดันจากการขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มถ่านหิน เม็ดเงินลงทุนต่างชาติเริ่มไหลออก รวมไปถึงการคาดการณ์ EPS Growth ในปีนี้ที่ไม่ได้น่าดึงดูดเท่ากลุ่ม ASEAN โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้ประโยชน์จากจีนเปิดเมืองท่ีน้อยกว่า
กองทุนแนะนำ
SCB Indonesia Equity Fund
- กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย
ทองคำ
ความน่าสนใจระดับ 3
ราคาทองคำมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น จากทิศทางของธนาคารกลางที่ยังคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ในขณะที่ Upside ของราคาทองคำอาจเริ่มถูกจำกัดได้ หากเศรษฐกิจยังคงมีพัฒนาการท่ีดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการของสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง
น้ำมัน
ความน่าสนใจระดับ 4
อุปทานจากรัสเซียที่ลดลงช้ากว่าคาด เป็นปัจจัยกดดันสมดุลตลาดน้ำมันให้มีแนวโน้มเป็นอุปทานส่วนเกินช่วง 1H66 อย่างไรก็ตาม เรามองว่าน้ำมันยังฟื้นตัวได้จากอุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีน นอกจากนี้ น้ำมันสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกลับมาตึงเครียดได้อีกครั้ง
REITs ประเทศพัฒนาแล้ว
ความน่าสนใจระดับ 3
ดัชนีฯ ได้แรงหนุนจากแรงกดดันของ Bond Yield ท่ีลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ แต่ในญี่ปุ่นกลับถูกกดดันจากความผันผวนจากการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ที่กระทบ Bond Yield ขณะที่ยุโรปยังเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจที่อ่อนแอและ Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งกดดัน Earning และ Div. Yield
REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ความน่าสนใจระดับ 4
การเปิดประเทศของจีนหนุนท่องเท่ียวและการใช้จ่ายในประเทศ EM เป็นปัจจัยบวกต่อรายได้ Retail และโรงแรม ขณะที่อัตราเงินปันผลอยู่ในระดับท่ีน่าสนใจ ท่ามกลางแรงฉุดจาก Bond Yield ลดลง (โดยเฉพาะช่วง Fed Pause ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะส่งผลบวกต่อตลาดสิงคโปร์) แต่กลุ่มสำนักงานยังต้องระวัง Oversupply
Private Asset
ความน่าสนใจระดับ 2
Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูง มีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วท่ีจะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- คัด 10 หุ้นราคาต่ำ 10 บาท P/E ต่ำ ปันผลสูง ราคา YTD ยังบวก
- ทองคำ กำลังไหลเข้าเอเชีย ท่ามกลางดอกเบี้ยโลกที่กำลังขึ้นต่อเนื่อง
- เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์เป็นที่เรียบร้อย ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 16 ปี