THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ตลาดการลงทุน
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

สัญญาณบวกตลาดการลงทุน แรงกดดันเงินเฟ้อเริ่มลด คาดหวัง Fed ผ่อนคันเร่งขึ้นดอกเบี้ย

... • 15 ส.ค. 2022

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • เงินเฟ้อสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัว ตลาดเงินเริ่มคาดหวัง Fed ผ่อนคันเร่งการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
  • ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ขยายตัวดีเกินคาด ขณะที่อัตราว่างงานลดลงแตะ 3.5% ดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ บ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังร้อนแรง 
  • สภาสูงสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act และกำลังเข้าสู่สภาล่างก่อนประธานาธิบดีลงนาม เชื่อให้ประโยชน์เชิงการเมืองมากกว่าจะช่วยลดเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ 
  • SCBS ยกให้หุ้น CPF เป็นหุ้นเด่นประจำสัปดาห์ หลังราคาสัตว์บกดีขึ้น ขณะที่ต้นทุนเริ่มปรับลดลง

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นจาก 1. ตัวเลขความคาดหวังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลง โดยผลสำรวจการคาดการณ์เงินเฟ้อใน 1 ปีข้างหน้าของ New York Fed ลดลงจาก 6.8% เป็น 6.2% ขณะที่ 3 ปีข้างหน้าลดลงจาก 3.6% เหลือ 3.2% ซึ่งบ่งชี้ว่านโยบายการเงินที่ตึงตัวเริ่มทำให้ประชาชนลดระดับความคาดหวังเงินเฟ้อลงบ้างแล้ว และ 2. เงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชะลอลง โดยขยายตัว 8.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 8.7% ทำให้ตลาดคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจเริ่มลดระดับการขึ้นดอกเบี้ยลง 

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนยังได้รับปัจจัยเสี่ยงจาก 1. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ดีเกินคาด โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึง 5.28 แสนตำแหน่ง สูงกว่าคาดที่ 2.58 แสนตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานลดลงที่ 3.5% ดีกว่าคาดเช่นกัน 2. ตัวเลขเงินเฟ้อจีนขยายตัวในระดับสูง 3. สภาสูงสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act และกำลังเข้าสู่สภาล่างก่อนประธานาธิบดีลงนาม โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น ให้ผู้อยู่ในประกันสังคมสามารถเจรจาด้านราคายาได้ สนับสนุนพลังงานทางเลือก และขึ้นภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% และเก็บภาษีซื้อหุ้นขึ้น 1% ซึ่งอาจให้ประโยชน์เชิงการเมืองมากกว่าจะช่วยลดเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลบวกและลบให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ 

 

ตลาดจ้างงานขยายตัวดีเกินคาด บ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังร้อนแรง

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเคลื่อนไหวในแดนบวกหลังจากตัวเลขเงินเฟ้อปรับตัวลดลงแรง ขณะที่ปัจจัยบวกด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ จากการจ้างงานสหรัฐฯ ขยายตัวดีเกินคาด บ่งชี้เศรษฐกิจยังร้อนแรง ขณะที่มาตรการด้านการคลังสหรัฐฯ เป็นทั้งปัจจัยบวกและลบต่อการลงทุน ด้านทิศทางนโยบายการเงินไทยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ระดับ 0.75% ตามคาด

 

ฝ่ายวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) มองว่า เงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวลดลงสอดคล้องกับความคาดหวังเงินเฟ้อเป็นผลจากราคาพลังงานที่เริ่มลดลง และแนวนโยบายการเงินที่เข้มงวด ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เริ่มลดลง เป็นไปได้ที่การขึ้นดอกเบี้ยจะเริ่มลดทอนระดับการขึ้นอย่างรุนแรงลง 

 

ขณะที่การจ้างงานที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งอาจเป็นเพราะตลาดแรงงานเป็น Lagging Indicator ของเศรษฐกิจ โดยถึงแม้เศรษฐกิจจะชะลอลงบ้าง แต่บางธุรกิจยังรู้สึกว่ายอดขายยังเติบโต จึงจ้างงานมากขึ้น ดังนั้นตลาดแรงงานอาจไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งเสมอไป  

 

ในฝั่งของร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่ผ่านสภาสูง และกำลังจะผ่านสภาล่างนั้น เรามีมุมมองดังนี้ 

 

  1. การผลักดันกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง Mid-Term ในเดือนพฤศจิกายนมากขึ้น เนื่องจาก Inflation Reduction Act เป็นการปรับจากร่างกฎหมาย American Families Plan ที่เป็นการลงทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

  1. รายละเอียดหลักจะเป็นการสนับสนุนด้าน Medicare ให้ผู้อยู่ในประกันสังคมสามารถเจรจาด้านราคายาได้, การสนับสนุนด้านพลังงานทางเลือกวงเงิน 3.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น การต่ออายุ Tax Credit สำหรับผู้ซื้อ EV และการขึ้นภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% กับธุรกิจขนาดใหญ่ และเก็บภาษีซื้อหุ้นขึ้น 1% ซึ่งภาพเหล่านี้อาจช่วยลดเงินเฟ้อในระยะยาวได้เล็กน้อย ขณะที่ในระยะสั้นอาจกระทบต่อการขาดดุลการคลังมากขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม เรามองว่ากฎหมายดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อ Sentiment ในการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบเล็กน้อย 

 

ระดับความเสี่ยงด้าน Market Risk เริ่มลดลง หลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีสัญญาณชะลอตัว รวมถึงผลสำรวจการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตปรับตัวลดลงเช่นกัน ปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้ Fed ไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับ 0.75% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ตลาดแรงงานยังคงร้อนแรง แต่การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลงมีส่วนช่วยลดระดับของเงินเฟ้อ 

 

ยังต้องเฝ้าระวังเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ภาวะถดถอย

จากสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงพันธบัตรระยะยาว แต่ปัจจัยความเสี่ยงสงครามรัสเซีย-ยูเครน และเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปยังคงต้องระมัดระวังต่อไป ดังนั้นเรายังคงแนะนำให้เน้นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีเป็นหลัก โดยความเสี่ยงสำคัญหลังจากนี้คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร การจ่ายดอกเบี้ย และเงินปันผล ในอนาคต

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.6% แบ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง 0.6% ตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 1.9% โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัวลงและทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทำให้คาดการณ์ว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับ 75% ของบริษัทในสหรัฐฯ ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ออกมาดีกว่าที่คาด 4-5% นอกจากนั้นจีนประกาศสิ้นสุดการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPF - ราคาสัตว์บกดีขึ้น ต้นทุนลดลง

สัปดาห์นี้ SCBS เลือกแนะนำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของไทย ซึ่งมีฐานการผลิตและตลาดในหลายประเทศ รวมทั้งมีสินค้าจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพในการทำกำไรที่สูง 
  • 2Q22 คาดกำไรสุทธิ 4.5 พันล้านบาท แต่หากตัดกำไรพิเศษ 1.5 พันล้านบาท คาดมีกำไรปกติ 3 พันล้านบาท เติบโต 300%QoQ สะท้อนธุรกิจสัตว์บกในไทยที่ดีขึ้น และธุรกิจสุกรในจีนและเวียดนามที่ดีขึ้น ส่วน 2H22 คาดกำไรจะดีขึ้น จากมีผลขาดทุนใน 2H21 เพราะราคาสัตว์บกอยู่ในระดับที่ทำกำไรได้ทั้งในไทย เวียดนาม และจีน หนุนให้ปี 2022 คาดมีกำไรปกติสู่ระดับ 1 หมื่นล้านบาท
  • ช่วงสั้นมองราคาหุ้นจะได้รับผลบวกจากต้นทุนอาหารสัตว์ (ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง) ที่ปรับลงหลังปัญหาอุปทานขาดแคลนคลี่คลายจากการที่ยูเครนเริ่มส่งออกธัญพืชสู่ตลาดโลกได้ ขณะที่ราคาสัตว์บกยังเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในไทย จีน และเวียดนาม รวมทั้งตลาดส่งออกที่ปรับดีขึ้น 
  • ราคาหุ้น CPF ปรับขึ้น 2.9%YTD ซึ่งมองยังไม่ได้สะท้อนผลประกอบการที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 1Q22 และจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2Q22 จากมาร์จิ้นที่จะกว้างขึ้นหลังราคาเนื้อสัตว์ดีขึ้นและต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง  
  • เราประเมินราคาเป้าหมายหุ้นละ 32 บาท (วิธี SOTP) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2022 ที่หุ้นละ 0.65 บาท คิดเป็น Div. Yield 2.4%

 

เงินทุนเคลื่อนย้ายสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า  

 

  1. มีกระแสเงินไหลเข้าตราสารหนี้ภาคเอกชนคุณภาพดีและพันธบัตรรัฐบาล อาจจะบ่งชี้ว่านักลงทุนเริ่มกังวลกับความผันผวนในสินทรัพย์เสี่ยง 

 

  1. เห็นเงินไหลเข้าหุ้นธีม Growth ต่อเนื่อง ส่วนหุ้นธีม Value มีเงินไหลเข้าแต่ไม่สูงมากนัก 

 

  1. นอกจากนั้นนักลงทุนเริ่มกังวลกับเงินเฟ้อน้อยลง ทำให้ความกังวลบนกำลังซื้อลดน้อยลง สะท้อนจากเงินไหลเข้า Consumer Staple และ Consumer Discretionary 

 

  1. เงินไหลออกจากหุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นขนาดเล็ก รวมถึง Materials บ่งชี้ว่านักลงทุนยังกังวลกับภาพความเสี่ยง เศรษฐกิจถดถอย 

 

  1. มีแรงขายในตลาดยุโรปอย่างต่อเนื่องจากความเสี่ยงด้านพลังงาน รวมถึงตลาดหุ้นจีนจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ 

 

  1. เงินยังไหลออกจากโลหะมีค่า เงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังแข็งค่ากดดันต่อเนื่อง

 

ประเด็นเงินเฟ้อเป็นประเด็นร้อนในช่วงเวลานี้ เพราะส่งผลต่อทั้งนโยบายการเงินที่ตึงตัวกระทบกับกำลังซื้อ ทำให้หลายประเทศเริ่มมีมาตรการและมาช่วยให้เงินเฟ้อลดลง โดยสหรัฐฯ นำเสนอร่างแผน Inflation Reduction Act มูลค่า 4.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป้าหมายคือการปรับลดเงินเฟ้อในประเทศเป็นสำคัญ

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักที่ต่างๆ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัว อย่างไรก็ดี การเปิดเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม DM และผลประกอบการ บจ. DM ใน 2Q22 ที่ยังมีแนวโน้มดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ จะสามารถช่วยประคองให้ตลาด DM มีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวขึ้นบางส่วน

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปัจจัยหนุนจาก Valuation ที่มีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับตัวดีขึ้น ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ใน 2Q22 ที่มีแนวโน้มดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ แนวโน้มการซื้อหุ้นคืนและจ่ายเงินปันผลของ บจ.สหรัฐฯ ที่ยังดำเนินต่อ แนวโน้มการพักฐานของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ในระยะถัดไป และ Sentiment ของนักลงทุนบนหุ้นสหรัฐฯ ที่เริ่มกลับมาดีขึ้น รวมทั้งการที่ตลาดสหรัฐฯ มีสัดส่วนกลุ่ม Growth ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาด DM อื่น จะทำให้ได้อานิสงส์จากแรงซื้อนักลงทุน หากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

ตลาดหุ้นยุโรป ภาพเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวยังไม่ได้ถูกสะท้อนผ่านกำไรของบริษัทจดทะเบียน จากแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาด จากปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะเห็นผลกระทบเป็นรูปธรรมขึ้นในช่วง 4Q22 ในขณะที่นโยบายทางการเงินของ ECB ถูกกดดันจากภาพเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลง อีกทั้งปัญหา Fragmentation และการเมืองภายในภูมิภาคยังเป็นตัวสร้างความผันผวนต่อการลงทุน

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

แม้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก จากปัญหาซัพพลายเชนที่คลี่คลายลงตามการเปิดเมืองของจีน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดโควิดที่กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แนวโน้มการเปิดประเทศล่าช้าออกไปกว่าที่เคยประเมินไว้ ในขณะที่ค่าเงินเยนที่อ่อนค่านั้นจะส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจะเป็นปัจจัยกดดัน อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ในระดับที่ต่ำเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

หุ้นจีน H-Share ดัชนียังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และจากการออกมาส่งสัญญาณผ่อนคลายด้านนโยบายที่ต่อเนื่องของทางการ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังมีอยู่ ทั้งเรื่องการกีดกันการค้า ความเสี่ยง Delisting หุ้นจีน ADRs การคว่ำบาตรทางอ้อมจากสหรัฐฯ ในประเด็นที่เกี่ยวกับรัสเซีย ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับประเด็นไต้หวัน และความกังวลบนภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคธนาคารของจีน สืบเนื่องจากการที่ผู้ซื้อบ้านหยุดจ่ายเงินจำนองที่ยังมีอยู่ ประกอบกับการที่ EPS บจ.ในกลุ่ม Platform ที่มีแนวโน้มชะลอลงทำจุดต่ำสุดช่วง 2Q22 จะยังกดดัน Upside ของดัชนี 

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 4 

หุ้นจีน A-Share ดัชนีมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มจะต้องเร่งนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรพิเศษไปใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้หมดภายในเดือนสิงหาคมนี้ รวมทั้งผลประชุม Politburo รอบล่าสุด ได้เน้นย้ำว่าท่าทีการดำเนินนโยบายควรยังผ่อนคลายต่อ เพื่อสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย แม้ว่าการที่ทางการจีนมีแนวโน้มจะคงนโยบาย Zero-COVID โดยรวมที่ยาวนานขึ้น และปัญหาภาคอสังหาจีนที่ยังมีอยู่ อาจกดดัน Sentiment ตลาดโดยรวมอยู่ก็ตาม

 

กองทุนแนะนำ:

 

SCB Global Experts Fund

 

SCB China A Shares Active Equity

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Schroder International Selection Fund China A กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของทรัพย์สินกองทุน ในตราสารทุนและตราสารที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนและซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีน

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

หุ้นไทยยังมีแนวโน้มที่ได้รับปัจจัยบวกภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวเร่งขึ้นตามตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการใช้จ่ายในประเทศที่กลับมาในระดับก่อนโควิด ช่วยหนุนให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังเติบโตได้ใน 2H22 

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อาจได้รับปัจจัยกดดันจากเงินบาทที่กลับมาแข็งค่า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากการซ้อมรบในพื้นที่รอบเกาะไต้หวันของจีนและไต้หวันที่มีโอกาสยืดเยื้อ ส่งผลต่อการขนส่งสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้นในเดือนนี้จะส่งผลดีต่อกลุ่มประกันและธนาคารขนาดใหญ่ แต่ผลบวกอาจถูกลดทอนด้วยคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในกลุ่มที่อ่อนไหวต่อดอกเบี้ย เช่น SMEs และครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง 

 

กองทุนแนะนำ:

 

SCB Global Experts Fund

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงปรับเพิ่มขึ้นจำกัดตามปัจจัยเฉพาะตัวในประเทศที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการคุมเข้มในตลาดหุ้นกู้และตลาดอสังหาของทางการ แต่เรามองความกังวลดังกล่าวนี้อาจจำกัด Upside ของตลาด แต่เพียงช่วงสั้นเท่านั้น ขณะที่ Downside ตลาดเริ่มมีจำกัดตาม Valuation ตลาดที่ลดลงมามาก ดังนั้นเราจึงมองเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสมหุ้นเวียดนาม โดยตลาดได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ตามการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม จากผลประกอบการ บจ.เวียดนามที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และจาก Sentiment ของนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่เริ่มกลับมาดีขึ้น

 

กองทุนแนะนำ:

 

SCB Global Experts Fund

 

SCB Vietnam Equity Fund

  • กองทุน SCB Vietnam ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ผลประกอบการ 2Q22 มีทิศทางขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด นำโดยหุ้นกลุ่มถ่านหินและธนาคาร ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดี (2Q22 GDP ขยายตัวดีกว่าคาด และคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นใน 3Q22) ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก ทำให้การเติบโตของ Earning ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่อง 

 

ขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่น่าลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร (ได้รับประโยชน์จาก NIM ที่ดีขึ้นตามดอกเบี้ยขาขึ้นและการขยายตัวสินเชื่อ), กลุ่มพลังงาน (ยังได้ประโยชน์ระยะสั้นจากการส่งออกถ่านหิน), กลุ่ม Consumer Staple (ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อที่ยังสูงต่อเนื่อง) และกลุ่ม Consumer Discretionary (ได้แรงหนุนจากชนชั้นกลางที่เติบโต)

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ระยะสั้นราคาทองคำจะยังคงถูกกดดันจากทิศทาง Bond Yield ที่ยังคงปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และค่าเงินสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อกำลังซื้อในเงินสกุลอื่น (Denomination Effect) อย่างไรก็ดี ราคาทองคำยังมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ความต้องการจากธนาคารกลางเพื่อเป็นทุนสำรอง และการฟื้นตัวของอุปสงค์ทองในฐานะเครื่องประดับ

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

น้ำมัน / อาหาร

ความน่าสนใจระดับ 4

ภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวจะคงอยู่จนถึงสิ้นปี 2022 โดยอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการที่ยุโรปคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ในขณะที่การเพิ่มกำลังการของกลุ่ม OPEC ยังถูกจำกัดด้วยกำลังการผลิตสำรองที่อยู่ในระดับต่ำ ฝั่งอุปสงค์นั้นยังคงได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง ประกอบกับคลังสินค้าน้ำมันและปิโตรเลียมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย และข่าวการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน เป็นปัจจัยกดดันในระยะสั้น

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากการเปิดเมืองและการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่มากขึ้น ปัจจัยลบจาก Government Bond Yield ที่เร่งตัวขึ้นได้บรรเทาลง และกลุ่มที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ยังได้ประโยชน์จากอุปสงค์ที่มีมากขึ้น จากความสามารถในการซื้อบ้านลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวัง REITs ใน 1. กลุ่มที่มี High Gearing & High Floating-Rate Debts ที่จะถูกกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น และ 2. การชะลอตัวในสหรัฐฯ และยุโรป ที่กระทบรายได้ของ REITs กลุ่มที่มี Recurring Income ต่ำ

 

ตลาดการลงทุน RANGE

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 3

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ตลาดได้รับผลบวกอย่างเต็มที่จากการเปิดเมืองและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ REITs ในกลุ่มค้าปลีกและโรงแรมในสิงคโปร์ ที่ดัชนีค้าปลีกกลับมาในระดับก่อนโควิด ท่ามกลางสัดส่วนการซื้อของผ่านหน้าร้าน (Physical Stores) มีมากขึ้น และรายได้ต่อห้องพักว่าง (RevPar) ของโรงแรมโดยภาพรวมฟื้นตัวกลับมาที่ 95% ของระดับก่อนโควิดแล้ว ขณะที่ปัจจัยลบจาก Government Bond Yield ได้ลดลงเช่นเดียวกันกับตลาดประเทศพัฒนา อย่างไรก็ตาม ยังต้องระมัดระวัง REITs ในกลุ่มที่มี High Gearing & High Floating-Rate Debts ที่จะถูกกระทบจากดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้น

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 15 ส.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories