THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘Inverted Yield Curve – Silence Bank Run’ ทางแยกวัดใจแบงก์ชาติทั่วโลก

... • 27 มี.ค. 2023

HIGHLIGHTS

9 MIN READ
  • ตลาดปรับตัวดีขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องธนาคารผ่อนคลายลง รวมถึงความคาดหวังวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้ส้ินสุด โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.7% (EM +2.8%, DM +1.5%) 
  • Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ไปสู่ 4.8% ตามคาด แต่ก็ยังคงส่งสัญญาณ Hawkish โดยปรับประมาณการเศรษฐกิจลง แต่ยังคงดอกเบี้ย ด้วยกังวลความเสี่ยงเงินเฟ้อ
  • ด้านสถานการณ์สภาพคล่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ ล่าสุดธนาคาร PacWest ที่เงินไหลออกกว่า 6 พันล้านดอลลาร์นับจากวันที่ 9 มีนาคม และได้ทำการยืมสภาพคล่องจาก Fed กว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์ แต่ รมว.คลังสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณไม่ประกาศประกันเงินฝากเต็มจำนวน 100% ทุกธนาคาร
  • InnovestX มองว่า นโยบายการเงินตึงตัวยังเป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตา และอาจกระทบต่อสถานการณ์สภาพคล่องในภาคธนาคารที่อาจจะลุกลามสู่ตลาดการเงินเป็นวงกว้างได้
  • และมองว่าท้ัง Inverted Yield Curve และ Silence Bank Run ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ไม่ชัดเจน จะกระทบความเชื่อมั่น รวมถึงแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และอาจนำไปสู่การตึงตัวของสภาพคล่องเป็นวงกว้างในระยะต่อไป

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวดีขึ้นจากปัญหาสภาพคล่องธนาคารผ่อนคลายลง รวมถึงความคาดหวังวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้ส้ินสุด โดยมีปัจจัยสำคัญได้แก่ 

 

1. การประกาศนโยบายการเงินของทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดย Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ไปสู่ 4.8% ตามคาด แต่ก็ยังคงส่งสัญญาณ Hawkish (สายเหยี่ยว) โดยปรับประมาณการเศรษฐกิจลง แต่ยังคงดอกเบี้ย โดยกังวลความเสี่ยงเงินเฟ้อ จึงคงมาตรการดูดสภาพคล่อง QT ขณะที่ระบุว่าหากเกิดความเสี่ยงสภาพคล่อง จะใช้เครื่องมือเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินอื่นๆ ทั้ง Window ปกติ และ Bank Term Funding Program ขณะที่ดอกเบี้ยจะใช้ในการดูแลเงินเฟ้อในการประมาณการดอกเบี้ยหรือ Dot Plot จะยังข้ึนดอกเบี้ยอีก 0.25% และคงยาวไปจนส้ินปีนี้ 

 

2. สถานการณ์สภาพคล่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ โดยล่าสุดธนาคาร PacWest ที่เงินไหลออกกว่า 6 พันล้านดอลลาร์นับจากวันที่ 9 มีนาคม และได้ทำการยืมสภาพคล่องจาก Fed กว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วงดังกล่าว 

 

3. ด้านธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% โดยดอกเบี้ยเงินฝากไปอยู่ที่ 3.0% ตามที่เคยส่งสัญญาณไว้ แม้ว่าจะมีวิกฤตธนาคาร Credit Suisse ก็ตาม 

 

4. สถานการณ์ธนาคาร Credit Suisse คลี่คลายระดับหนึ่ง โดยล่าสุดทางรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์จัดการให้ UBS จ่าย 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3.3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อซื้อ Credit Suisse (ท่ีราคาปัจจุบัน 7.4 พันล้านฟรังก์สวิส) ขณะที่สั่งการให้ผู้ถือหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1: AT1) มูลค่า 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส จะถูกตัดเป็นหน้ีสูญ ทำให้ความกังวลในตลาดซื้อขายตราสาร AT1 มีมากขึ้น จนทางการต่างๆ เช่น ECB ต้องออกมารับรองว่าจะให้ความสำคัญต่อผู้ถือ AT1 และไม่ตัดเป็นหน้ีสูญดังเช่นรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ 

 

5. รมว.คลังสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณไม่ประกาศประกันเงินฝากเต็มจำนวน 100% ทุกธนาคาร ต่างจากสัญญาณที่ส่งไว้ก่อนหน้าว่าจะเพิ่มระดับการประกันเงินฝากมากขึ้น ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคธนาคารที่ลดลงเช่นกัน โดยล่าสุดดัชนีความตึงตัวภาคการเงินของ Bloomberg ปรับตึงตัวมากขึ้นชัดเจน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เบื้องต้นของมหาวิทยาลัยมิชิแกนก็ปรับลดลงในรอบเกือบ 1 ปี ส่วนดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ Conference Board ยังคงหดตัวต่อเนื่องในรอบกว่า 1 ปีเช่นเดียวกัน

 

“สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวดีขึ้น แต่ปรับลดลงรุนแรงในวันพฤหัสบดี หลังการประกาศนโยบายการเงินของทาง Fed โดยแม้ว่า Fed จะข้ึนดอกเบี้ย 0.25% ไปสู่ 4.8% ตามคาด แต่ก็ยังคงส่งสัญญาณ Hawkish (สายเหยี่ยว) โดยปรับประมาณการเศรษฐกิจลง แต่ยังคงดอกเบี้ย ท่ามกลางสถานการณ์สภาพคล่องสถาบันการเงินสหรัฐฯ เช่นเดียวกับ ECB ที่ปรับข้ึนดอกเบี้ย 0.50% ตามท่ีเคยส่งสัญญาณไว้ แม้ว่าจะมีวิกฤตธนาคาร Credit Suisse ก็ตาม นอกจากน้ัน รมว.คลังสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณไม่ประกาศประกันเงินฝากเต็มจำนวน 100% ทุกธนาคาร ต่างจากสัญญาณที่ส่งไว้ก่อนหน้า ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคธนาคารที่ลดลงเช่นกัน”

 

InnovestX มองว่า นโยบายการเงินตึงตัวยังเป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตา และอาจกระทบต่อสถานการณ์สภาพคล่องในภาคธนาคารที่อาจจะลุกลามสู่ตลาดการเงินเป็นวงกว้างได้ โดยในฝั่งของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางหลักทั้ง Fed และ ECB ยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินตึงตัวขึ้นต่อเนื่องเพื่อคุมเงินเฟ้อ โดย Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 4.75-5.00% ตามที่ตลาดคาด พร้อมทั้งปรับลดประมาณการ GDP ลงเล็กน้อย ขณะที่ยังคงดอกเบี้ยขั้นสุดท้าย (Terminal Rate) ที่ 5.1% ส่วน ECB ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% ตามที่ได้ส่งสัญญาณมาตั้งแต่การประชุมในครั้งก่อนหน้า 

 

โดยทั้งสองธนาคารยังคงจุดยืนที่จะลดอัตราเงินเฟ้อให้ลงมาสู่กรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่ 4.8% สูงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว 10 ปีที่ 3.5% บ่งชี้สภาพ Inverted Yield Curve ที่รุนแรงขึ้น 

 

ด้านมาตรการรักษาเสถียรภาพภาคการเงินก็อาจมีความเสี่ยงมากขึ้น หลังจากท่ี รมว.คลังสหรัฐฯ (เจเน็ต เยลเลน) กล่าวต่อสภาว่ารัฐบาลไม่ได้ประกาศท่ีจะประกันเงินฝากเต็มจำนวน 100% ทุกธนาคาร ต่างจากสัญญาณที่ส่งไว้ก่อนหน้าที่พร้อมจะเพิ่มการประกันเงินฝากมากกว่าระดับปัจจุบัน บ่งชี้ว่าธนาคารขนาดกลางและเล็ก (Regional Bank) ยังคงเสี่ยงต่อการที่เงินฝากไหลออกอย่างต่อเนื่อง (Silence Bank Run) ซึ่งท้ัง Inverted Yield Curve และ Silence Bank Run ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ไม่ชัดเจน จะกระทบความเชื่อมั่น รวมถึงแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และอาจนำไปสู่การตึงตัวของสภาพคล่องเป็นวงกว้างในระยะต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,550-1,600 จุด โดยแม้การออกมาตรการท่ีรวดเร็วของธนาคารกลางจะช่วยลดความเสี่ยงที่วิกฤตจะลุกลามได้ดี แต่ประเมินตลาดการเงินโลกยังคงมีความเสี่ยงและเปราะบางจากผลกระทบของวิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรปที่ยังต้องติดตามต่อไป กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ ดังน้ี

 

1. หุ้น Best of the Best ภายใต้วิกฤตการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีพื้นฐานและฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกำไรในปี 2023-2024 เติบโตเฉลี่ยสูงกว่ากำไรของกลุ่มหุ้นที่เราแนะนำ Outperform และ Valuation ไม่แพง โดยซื้อขายด้วย PER และ PBV เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่บริเวณ -1.0 ถึง -2.0 S.D. ทำให้คาด Downside เริ่มจำกัด จึงมองเป็นโอกาสซื้อสะสม เลือก AU, BBL, BDMS, CPALL, GULF

 

2. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ซึ่งต้องการเก็งกำไรหุ้นท่ีคาดได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น หลังมอง กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมสัปดาห์นี้ (29 มีนาคม) เลือก KTB, KBANK

 

3. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ซึ่งเก็งกำไรในหุ้นท่ีเคยแนะนำในช่วงที่ SET หลุด 1,600 จุด ได้แก่ PTTEP, HMPRO, CPALL, SCGP, GULF แนะนำรอจังหวะขายเมื่อมีกำไร หรือ SET กลับไปบริเวณ 1,600 จุด

 

4. Trading Idea: หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งราคาหุ้นปรับตัวลงสวนทางดัชนีกลุ่ม Semiconductor ในสหรัฐฯ ขณะที่ผลประกอบการคาดจะผ่านจุดต่ำสุดใน 1Q23 เลือก KCE, HANA

 

ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงราคาปรับตัวลงหรือ Underperform ตลาด 

 

สำหรับหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 1Q23 คาดยังหดตัวต่อ YoY และ QoQ ได้แก่ GFPT, CPF, BTS, ASP

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1. การประชุมนโยบายการเงินของ ธปท. ในวันที่ 29 มีนาคม ซึ่งคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.75% 

2. ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานหรือ Core PCE ของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 4.7% หรือไม่ 

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ EU เดือนมีนาคม (ตลาดคาด 7.8% ชะลอจาก 8.5% ณ เดือนกุมภาพันธ์) 

4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือนมีนาคมจาก Conference Board ว่าจะลดลงรุนแรงหรือไม่ 

5. GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 4/22 ประกาศครั้งสุดท้ายว่าจะชะลอลงจากครั้งก่อนที่ 3.2% หรือไม่

6. ดัชนีราคาบ้าน Case-Shiller ว่าจะชะลอต่อจากเดือนก่อนที่ 4.6% ต่อปีหรือไม่

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BBL - ได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้นและโตดีสุดในกลุ่ม 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL เนื่องจาก 5 เหตุผลหลักดังนี้

  • เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์รวม อีกทั้งมีเครือข่ายในต่างประเทศมากที่สุด ทำให้มองอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดท่ีจะได้โอกาสในการขยายสินเชื่อจากการย้ายฐานธุรกิจมายังอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย
  • ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำสุดในกลุ่ม เพราะมีสัดส่วนลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 43% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่ม และ Credit Cost มีแนวโน้มลดลง เพราะมี LLR Coverage สูงถึง 261%
  • ปี 2023 คาดกำไรเติบโต 50%YoY สูงสุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Credit Cost ที่ลดลง 0.14% การเติบโตของสินเชื่อ 5% NIM ที่ปรับตัวดีขึ้น 0.41% และ Non-NII ในระดับทรงตัว และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ท่ีลดลง
  • มองได้รับประโยชน์จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น โดยคาดจะมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.43% ในปี 2023 สูงที่สุดในกลุ่มธนาคาร และ Valuation ปัจจุบันน่าสนใจ โดยซื้อขายด้วย PBV ปี 2023F ท่ี 0.54x เทียบกับ ROE ที่ 8.4% ทำให้ราคาหุ้น BBL ยัง Laggard และมองยังไม่สะท้อนแนวโน้มกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งสุดในกลุ่ม
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 197 บาท และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรช่วง 2H22 ที่หุ้นละ 3.00 บาท (XD 21 เมษายน 2023) คิดเป็น Div. Yield ราว 2.0%

 

Asset Allocation Strategy

ผลการประชุม FOMC ยังคงสะท้อนว่าการควบคุมเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับเป้าหมายยังคงเป็นหน้าที่สำคัญท่ีสุดของ Fed ท่ามกลางความเสี่ยงต่อระบบการเงินที่สูงขึ้นในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก แม้ภาครัฐจะพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง แต่เรามองว่านโยบายการเงินที่ยังคงเข้มงวดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาคเศรษฐกิจจริงมากย่ิงข้ึน และอาจส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในที่สุด 

 

เราคาดว่าวัฏจักรการข้ึนดอกเบี้ยของ Fed ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว แต่ความผันผวนในตลาดจะยังคงสูงต่อไป และยังมีความเสี่ยงในทิศทางขาลงตามการเติบโตของเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวมากย่ิงข้ึนในระยะต่อจากน้ี

 

ดังนั้นในภาพรวมเราจึงแนะนำให้ยังคงถือครองสภาพคล่องไว้ในระดับสูง และแนะนำลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพิ่มสัดส่วนการถือครองตราสารหน้ีภาครัฐ โดยกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุน เน้นการถือครองสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงตราสารหนี้ US High Yield เพื่อลดความเสี่ยงการผิดนัดชำระหน้ีท่ีอาจเกิดขึ้นได้หากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าตลาดคาด

 

สำหรับการลงทุนในหุ้น เรายังคงมีมุมมองเป็นลบต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว โดยแนะนำให้เน้นเลือกลงทุนในหุ้นคุณภาพท่ีมีศักยภาพในการรักษาระดับการทำกำไรได้ดีในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 

 

เราคงมุมมองบวกกับหุ้นเอเชียและจีน เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่าตลาดพัฒนาแล้ว โดยได้อานิสงส์หลักจากการเปิดประเทศของจีนที่จะช่วยหนุนการบริโภคและการท่องเที่ยว มองการย่อลงของตลาดเป็นโอกาสเข้าสะสมเพิ่มเติม

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT แต่มีมุมมองบวกกับ THREIT ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของทองคำเรายังคงมุมมองเป็นกลางเช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังคงถูกปัจจัยกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างช้าๆ และยังอยู่ในระดับสูง ความกังวลปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

แม้ว่า UST Yield จะปรับลดลง แต่ความกังวลบนประเด็นภาคธนาคารและเศรษฐกิจถดถอยจะยังคงทำให้มีอุปสงค์บน 10Y Gov Bond ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในส่วน TH10YY ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม หลังต่างชาติกลับเข้าซื้อ โดยเฉพาะหลังเกิดปัญหาธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ขณะที่ระยะต่อไปมีแนวโน้มลดลง

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ปัญหาภาคธนาคารส่งผลให้ Credit Spread US IG เพิ่มขึ้นมากในระยะสั้น แต่ IG ที่มีงบดุลแข็งแกร่งและความผันผวนของดอกเบี้ยที่ลดลง จะส่งผลให้ Spread กลับมาทรงตัว / ลดลง ขณะที่ UST Yield มีแนวโน้มลดลงเมื่อ Fed Pause สำหรับ IG TH Yield ลดลงตาม Gov’t Yield & Corp Spread โดยเฉพาะ AA

 

ปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป สร้างภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น แม้ว่าจะยังกระจุกอยู่ในฝั่ง Bank Lending แต่ความเสี่ยงของปัญหาที่ยังไม่จบอาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงิน เสี่ยงต่อตลาด HY เห็นได้จาก HY Spread ที่ปรับเพิ่มขึ้นช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางผลบวกจากการปรับลดลงของ Gov’t Bond Yield

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ตลาดฯ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจาก Earnings ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลดลง ท่ามกลางต้นทุนดอกเบี้ยที่ยังสูง ผลจากการขึ้นภาษีธุรกิจและกิจกรรมเศรษฐกิจที่ชะลอลง ขณะที่ Valuation ตลาดฯ ยังแพงเมื่อเทียบตลาดตราสารหนี้ และ Sentiment ยังถูกกดดันจากความกังวลเสถียรภาพระบบการเงิน

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามองว่าการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจะนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปในระยะถัดไป ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม Valuation ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ยังคงต้องระวังความผันผวนในกลุ่มธนาคารอยู่ 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ค่าเงินเยนที่กลับมาแข็งค่าและทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว มีแนวโน้มส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นผันผวนในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศตามการเปิดเมือง จะช่วยจำกัด Downside ให้กับตลาดฯ

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการเปิดเมืองและจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นได้จากการลด RRR ในรอบล่าสุด รวมถึงแรงซื้อของภาคครัวเรือนจีนบนหุ้นจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก Pent-Up Saving บนเงินฝากส่วนเกินที่ยังมีอยู่ ประกอบกับ EPS ของดัชนีฯ ในช่วงที่เหลือของปีที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ. จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง การคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง และ EPS ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทกับสหรัฐฯ และจาก Sentiment เชิงลบตามตลาดต่างประเทศ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ตลาดเคลื่อนไหวตามความกังวลในปัญหาธนาคารของ DM ซึ่งกระทบหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่พื้นฐานธนาคารที่มีทุนที่แข็งแกร่ง คาดแรงกดดันจะทยอยลดลง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นชัดเจนใน 2H23 ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อและเงินบาทที่ลดลงช่วยหนุนตลาด โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศและเกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยว 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

แม้ตลาดจะมีศักยภาพในการลงทุนระยะยาว แต่ความกังวลบนการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้อสังหา ส่งผลให้เกิด Sentiment เชิงลบต่อกลุ่มอสังหาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร และก่อสร้าง กระทบต่อเศรษฐกิจและ Earning ของ บมจ. ขณะที่ทุนสำรองฯ ยังคงกดดันตลาดเวียดนามต่อไปในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า 

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เงินเฟ้อที่ยังสูงกว่ากรอบ 2-4% และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่สูงถึง 5.75% จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคครัวเรือนให้ยังคงอ่อนแอ ขณะที่ Cycle ถ่านหินที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว กระทบการส่งออกและเศรษฐกิจ รวมถึง EPS ของบริษัทจดทะเบียน แม้ว่าในระยะยาวเศรษฐกิจจะได้รับอานิสงส์จาก FDI ในอุตสาหกรรม EV 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นกลับมาเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงสั้น สะท้อนจากราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นในช่วงหลังเกิดปัญหาในธนาคาร SVB ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เรามองว่าราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นมากแล้ว เมื่อเทียบกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และ Real Yield ที่ปรับลดลง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกลุ่มธนาคาร ส่งผลให้เกิดความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น กดดันทิศทางราคาน้ำมัน และมีแนวโน้มที่จะยังคงอ่อนแอในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากตลาดน้ำมันมีแนวโน้มที่ยังคงเป็นอุปทานส่วนเกิน อย่างไรก็ตาม การเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

UST 10Y ลดลง หลังเกิดปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ หนุน Yield Spread ของ US REITs เร่งตัวขึ้น แต่ยังไม่ใช่ปัจจัยบวกต่อ DM REITs เนื่องจากปัญหาภาคธนาคารที่เกิดขึ้น กลับสร้างความเสี่ยงภาวะการเงินที่ตึงตัวเพิ่มขึ้น กดดันต่อต้นทุนการเงินของ REITs ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะกลุ่ม High Leverage

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

Asian EM เผชิญความเสี่ยงภาวะการเงินตึงตัวที่ต่ำกว่า DM ทำให้ REITs เผชิญปัจจัยลบจากต้นทุนทางการเงินที่น้อยกว่า ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียยังคงได้แรงผลักจากการเปิดเมือง / ประเทศ หนุนรายได้ของกลุ่ม REITs ขณะที่อัตราเงินปันผลและ Yield Spread อยู่ในระดับที่น่าสนใจ

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 27 มี.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories