THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
จีน-สหรัฐ
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘เงินเฟ้อ-ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ’ ปมชี้ชะตาตลาดหุ้นโลก

... • 6 มี.ค. 2023

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินตลาดทุนฟื้นตัวเล็กน้อย หลังจากสหรัฐอเมริการายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ซึ่งสะท้อนถึงเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น
  • ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ทำให้ตลาดหันกลับมากังวลทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม
  • ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจส่อเค้ารุนแรงขึ้น หลังรัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมออกกฎห้ามบริษัทผลิตชิปอเมริกันที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ขยายหรือลงทุนใหม่ในจีนเป็นเวลานาน 10 ปี
  • InnovestX ยังคงจับตาแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง หากมีแรงที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าเงินเฟ้อจากภาคความต้องการซื้อมีมากขึ้น อาจทำให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงและยาวนานขึ้น
  • กลยุทธ์การลงทุน แนะนำใช้จังหวะที่ SET หลุด 1,600 จุด โดยแนะนำหุ้นพื้นฐานยังแข็งแกร่ง ราคาหุ้นปรับลงแรง YTD และแย่กว่า SET

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดฟื้นตัวเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน จากเหตุการณ์สำคัญดังนี้ 

  1. ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (PCE) และพื้นฐานสหรัฐอเมริกา เร่งตัวขึ้นที่ 5.4% จาก 5.3% ต่อปี และเพิ่มขึ้น 4.7% จาก 4.6% ในเดือนก่อน ขณะที่รายได้และการใช้จ่ายพุ่งขึ้นเช่นกัน โดยรายได้เพิ่มขึ้น 0.6% เร็วกว่า 0.3% ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราเงินเฟ้อในเช็คประกันสังคมเมื่อต้นปีรวมเพิ่มขึ้น 9% ในเดือนมกราคม ขณะที่การใช้จ่ายพุ่งขึ้น 1.8% จากการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ รวมถึงใช้จ่ายที่ร้านอาหารและโรงแรมมากขึ้น 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจ ISM PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ดูดีขึ้น โดยปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.7 จากระดับ 47.4 ในเดือนมกราคม และถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ทำให้ตลาดหันกลับมากังวลทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม ภาพเช่นนี้ทำให้ตลาดกังวล ผลักดันดอกเบี้ยพันธบัตรเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4% และเกิดการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง 

 

  1. สหรัฐฯ หยั่งเสียงชาติพันธมิตรเกี่ยวความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรจีนรอบใหม่ หากว่าจีนสนับสนุนด้านการทหารแก่รัสเซียในสงครามยูเครน 

 

  1. รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมออกกฎห้ามบริษัทผลิตชิปอเมริกันที่ได้รับเงินสนับสนุนผ่านโครงการ CHIPS and Science Act ขยายหรือลงทุนใหม่ในจีนเป็นเวลานาน 10 ปี 

 

  1. ดัชนี CPI ของยูโรโซนชะลอตัวสู่ระดับ 8.5% ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 8.6% ในเดือนมกราคม แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.2% จากการดีดตัวขึ้นของราคาอาหาร ขณะที่ราคาพลังงานปรับตัวลง 

 

  1. อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของทางการจีน (Official PMI) ภาคการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 52.6 สูงสุดในรอบ 11 ปี สอดรับไปกับ Caixin Manufacturing PMI ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เร่งตัวขึ้นมาก อยู่ที่ 51.6 จากเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ 49.2 โดยได้แรงหนุนจากผู้บริโภคที่เชื่อมั่นมากขึ้นหลังจากรัฐบาลจีนประกาศยกเลิกการใช้นโยบาย Zero-COVID ทำให้ตลาดจีนและเอเชียปรับตัวดีขึ้นกลางสัปดาห์

 

เงินเฟ้อปรับขึ้น มาจากปัจจัยชั่วคราว

เงินเฟ้อ PCE เดือนมกราคมที่เพิ่มขึ้นบางส่วนเป็นปัจจัยชั่วคราว ทั้งจากการเปิดประเทศของจีน ทำให้แรงกดดันราคาโภคภัณฑ์สูงขึ้น แต่ในปัจจุบันราคาโภคภัณฑ์เริ่มลดลงแรงมากขึ้น ซึ่งช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อ

 

การที่ต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้น จะทำให้ต้นทุนทางการเงินภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น กดดันเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจจริงของสหรัฐฯ ชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งปัจจัยเรื่องฐานที่สูงในเดือนมีนาคม 2565 ทำให้เงินเฟ้อในเดือนมีนาคมเป็นต้นไปไม่สูงมากนัก 

 

ยังต้องจับตา ‘แรงกดดัน’ เงินเฟ้อต่อ 

อย่างไรก็ตาม InnovestX ยังคงจับตาแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง หากมีแรงที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าเงินเฟ้อจากภาคความต้องการซื้อมีมากขึ้น อาจทำให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงและยาวนานขึ้น

 

ในส่วนของดัชนี PMI ต่างๆ เรามองว่า ณ ปัจจุบัน ภาพเศรษฐกิจโลกรวม ถึงสหรัฐฯ จะแบ่งแยกเป็น 2 ขั้วมากขึ้น โดยขั้วภาคการผลิตยังจะคงชะลอตัวอยู่ต่อเนื่อง จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น กดดันความต้องการสินค้าโลกชะลอลง อย่างไรก็ตาม ในฝั่งการผลิตของจีนที่วัดจาก PMI ของทางการที่ปรับตัวสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี สู่ระดับ 52.6 นั้น เป็นเพราะการเปิดประเทศหลังยกเลิก Zero-COVID ซึ่ง InnovestX เชื่อว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปัญหาซัพพลายเชนที่หายไป แต่ก็จะมีแนวโน้มที่จะชะลอลงในระยะต่อไป ขณะที่ภาคบริการทั่วโลกจะยังคงขยายตัวได้จากการเปิดประเทศ 

 

“เชื่อว่าในระยะต่อไป ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และเงินออมของประชาชนที่เริ่มหมดลง จะเป็นตัวฉุดรั้งภาคบริการโลกในระยะต่อไป” 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัว Sideway Down โดยตลาดจะกลับไปโฟกัสที่เศรษฐกิจมหภาค ซึ่งน่าจะยังกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 

 

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ดังนี้

  1. หุ้นที่น่าสนใจลงทุน หาก SET หลุด 1,600 จุด โดยในแง่พื้นฐานยังแข็งแกร่ง อีกทั้งราคาหุ้นปรับลงแรง YTD และแย่กว่า SET เลือก PTTEP, HMPRO, CPALL, SCGP และ GULF
  2. หุ้นที่คาดผลบวกเชิงจิตวิทยาและอานิสงส์จากเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงเลือกตั้ง เลือกกลุ่มสื่อ BEC, MAJOR และกลุ่มค้าปลีก CPN
  3. หุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี โดยเน้นจ่ายปันผลต่อเนื่อง 20 ปีขึ้นไป คาดให้ Div. Yield (หลังหักจ่ายระหว่างกาลไปแล้ว) ปี 2565 สูงเกิน 4% และปี 2566 คาด Div. Yield ดีขึ้นหรือใกล้เคียงเดิม อีกทั้งปี 2566 ผลประกอบการยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งราคาหุ้นยังมี Upside เกิน 15% เลือก KTB, KKP และ AP

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงราคาปรับตัวลง หรือ Underperform ตลาดจากการปรับประมาณการลงและแนวโน้มที่อ่อนแอ ดังนี้

  1. หุ้นที่โดนปรับลดประมาณการกำไรหรือ Downgrade / ราคามี Downside / มีปัจจัยเสี่ยงรออยู่ ได้แก่ AEONTS, BEM, SAWAD, TCAP, TIDLOR, TLI, TTB, MST, MTC และ TQM
  2. หุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 คาดยังหดตัวต่อ YoY และ QoQ ได้แก่ GFPT, CPF, BTS และ ASP

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  1. การส่งออก-นำเข้า และดุลการค้าของจีน ว่าจะขยายตัวดีขึ้นหรือไม่ ท่ามกลาง PMI ที่ดีขึ้น แต่ความต้องการโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ 
  2. เงินเฟ้อไทยว่าจะเร่งตัวขึ้นหรือไม่ หลังจากลดลงจาก 5.02% ในเดือนมกราคม (InnovestX คาด 4.8%)
  3. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้งการจ้างงานภาคเอกชน ADP, ตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLT), การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-Farm Payroll) ว่าจะชะลอลงหรือไม่ หลังจากที่ขยายตัวดีมากในเดือนก่อน
  4. ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มตึงเครียดขึ้นในช่วงครบรอบ 1 ปีสงครามรัสเซีย-ยูเครน, สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีสัญญาณรุนแรงขึ้น 
  5. ความชัดเจนของไทม์ไลน์การยุบสภาและการเลือกตั้ง, นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองต่างๆ, ตัวเต็งผู้สมัครชิงตาแหน่งนายกฯ และผลสำรวจความนิยม

 

“อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในหลายภูมิภาคทั่วโลก แต่ InnovestX ยังเชื่อว่าเป็นการเร่งตัวเพียงชั่วคราว จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงต้นปีด้วยแรงส่งจากการเปิดเมืองของจีน อย่างไรก็ตาม แม้จะมองว่าเงินเฟ้อจะกลับมาชะลอตัว แต่การชะลอตัวจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อจากตลาดบ้านและภาคบริการยังปรับตัวลงค่อนข้างช้า ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายทางการเงินมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตลาดคาดเดิม จึงมองว่าเศรษฐกิจโลกที่ดูมีแนวโน้มฟื้นตัวยังมีความเปราะบางอยู่ และต้นทุนทางการเงินที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและผลกำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า”

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CPALL - 1Q66 แนวโน้มกำไรจะดูดีขึ้น 

สัปดาห์นี้ InnovestX เลือกแนะนำ บมจ.ซีพี ออลล์ หรือ CPALL เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้นาธุรกิจร้านค้าปลีกค้าส่งในไทย ซึ่งมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง อีกทั้งยังสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ดีภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและชะลอตัว
  • มองได้อานิสงส์บวกชัดเจนจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และการกลับมาเดินทางเข้าไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะช่วยหนุนยอดขายสาขาเดิมและผลการดำเนินงานให้ปรับตัวดีขึ้น
  • 1Q66 คาดกำไรปกติจะเติบโต QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากยอดขายที่ดีขึ้นทั้งธุรกิจ CVS และ MAKRO ขณะที่ทั้งปี 2566 คาดกำไรโต 29%YoY แรงหนุนจากธุรกิจ CVS ที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของยอดขายและมาร์จิ้น รวมทั้งรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่ดีขึ้นจาก MAKRO และ Lotus’s ตามการผนึกกำลังทางธุรกิจ และยอดขายที่ปรับตัวดีขึ้น
  • ราคาหุ้น CPALL ปรับลง 10.6%YTD มองสะท้อนกำไร 4Q65 ที่แย่กว่าตลาดคาดแล้ว ขณะที่ปัจจุบัน Valuation ไม่แพง หลังซื้อขายต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดอยู่ถึง 15.6% ซึ่งมองยังไม่สะท้อนผลการดำเนินงานปีนี้ที่จะกลับมาสู่ภาวะปกติ โดยเห็นการเติบโตที่ดี YoY
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 78 บาท (อิงวิธี DCF) และมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2565 หุ้นละ 0.75 บาท (XD 2 พฤษภาคม 2566) คิดเป็น Div. Yield ปีละ 1.2%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังคงถูกปัจจัยกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง Bond Yield ที่ยังคงปรับเพิ่มสูงขึ้น และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังน่ากังวล

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

UST Yield มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น หลังตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดยังสูง และถ้อยแถลงสมาชิก Fed ที่ Hawkish แต่คาดว่าจะเริ่มลดลงหลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ในส่วน 10y TH Yield เร่งตัวไปกับ 10y UST แต่ YTD ยังลดลง โดยมีแรงซื้อจาก บ.ประกัน และ บลจ. เข้ามาชดเชยการขายออกของต่างชาติ และแรงขายเริ่มชะลอลง

 

กองทุนแนะนำ

 

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

เราคาดว่า Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย ตามการจ้างงาน ภาคบริการ และการบริโภคล่าสุดที่ดีขึ้น สําหรับ IG TH Yield เร่งขึ้นตาม Gov’t Yield โดยเฉพาะอายุ < 10y ขณะที่ Corporate Spread ยังทรงตัวต่ำ โดยเฉพาะอายุ < 3y นอกจากนี้กลุ่ม BBB Spread ปรับลดลงมาใกล้ก่อนโควิด

 

แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลง ผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่ความผันผวนของตลาด การเงิน และค่าเงิน ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันตลาดพันธบัตรและหุ้นกู้ โดยเฉพาะ HY ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงและยาวนานส่งผลลบต่อความสามารถในการชําระหนี้ของกลุ่ม HY ในบางกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2566 ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลงต่อ ท่ามกลางต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนแรงงานที่ยังสูง รวมทั้งผลกระทบจากการเพิ่มการเก็บภาษีธุรกิจ แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลง ขณะที่ Valuation ของตลาดยังค่อนข้างตึงตัว

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

Valuation ของดัชนีฯ เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม DM โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่หนุนให้มี Fund Flow ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวยังเป็นปัจจัยกดดัน ในขณะที่ยังมีความกังวลกับผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

แนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว และค่าเงินเยนที่แข็งค่า มีแนวโน้มส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นผันผวนในช่วงสั้น อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศตามการเปิดเมือง จะช่วยจํากัด Downside ให้กับตลาด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการเปิดเมือง มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน/การคลัง มาตรการเยียวยาภาคอสังหา โดยเฉพาะในช่วงการประชุม NPC ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม รวมถึง Sentiment ของรายย่อยจีนที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ประกอบกับดัชนีฯ ยังค่อนข้าง Laggard เมื่อเทียบดัชนีหุ้นจีนในฝั่ง Offshore

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง อย่างไรก็ตามดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากข้อพิพาทกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะเรื่องการแข่งขันด้านเทคโนโลยี

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

แม้ GDP และ Earning ใน 4Q65 จะออกมาต่ำกว่าคาด แต่การฟื้นตัวของท่องเที่ยวจะยังหนุนกําลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศ และสนับสนุน GDP และ EPS ให้ฟื้นตัวในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศและเกี่ยวข้องภาคท่องเที่ยว โดย EPS ไทยยังโตได้ดีหากเทียบ EM และ TIP ท่ามกลาง Valuation ที่ยังน่าลงทุน

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

ความกังวลบนสถานการณ์การผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้ โดยเฉพาะในภาคอสังหา ซึ่งส่วนใหญ่ถือโดยนักลงทุนรายย่อย แม้เรามองโอกาสที่จะลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจยังมีค่อนข้างน้อย ภาคธนาคารยังมี NPLs อยู่ต่ำ แต่ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อ GDP และยังมีความไม่แน่นอนในการแก้กฎหมาย Decree 65 กดดัน Sentiment ลงทุน

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

แม้อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์กลับมาสูงขึ้นก่อนเข้าเทศกาลศีลอด แต่เรายังคงมอง BI คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.75% โดยดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากการขายทํากําไรในหุ้นกลุ่มถ่านหิน รวมถึงการคาดการณ์ EPS Growth ในปีนี้ที่ไม่น่าดึงดูดเท่ากลุ่มอาเซียน โดยเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับประโยชน์จากจีนเปิดเมืองที่น้อยกว่า

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาทองคํายังคงมีแนวโน้มผันผวน หลังจากที่ตลาดเริ่มปรับคาดการณ์ Terminal Rate ของอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ สูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่า ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมีแนวโน้มส่งผลให้ความต้องการทองคําในฐานสินทรัพย์ปลอดภัยปรับลดลง

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

แนวโน้มเป็นอุปทานส่วนเกินช่วง 1H66 เป็นปัจจัยสร้างความผันผวนแก่ราคาน้ำมันในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้ไปพอสมควรแล้ว ในขณะที่อุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยหนุนในช่วง 2H66 นอกจากนี้น้ำมันยังสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์

 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

แรงกดดันจาก Bond Yield คาดว่าลดลง หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่ US REITs ที่ฟื้นมาใกล้เคียง Pre-COVID ทําให้ความน่าสนใจลดลง ขณะที่ญี่ปุ่นคงถูกกดดันจากนโยบายการเงินของ BOJ ที่กระทบ Bond Yield และ EU ยังถูกกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวและ Leverage ที่สูงกว่าที่อื่น แม้แรงกดดันจะผ่อนคลายลง

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

จีนเปิดเมืองและประเทศ หนุนท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในอาเซียน ดีต่อรายได้ของกลุ่มรีเทลและโรงแรม ซึ่ง REITs Asian มีอัตราเงินปันผลที่ดีขึ้นและสูงกว่า DM ขณะที่ในระยะข้างหน้าแรงฉุดจาก Bond Yield ลดลง (โดยเฉพาะช่วง Fed Pause ที่กําลังจะเกิดขึ้น) จึงเป็นจังหวะเข้าสะสมช่วง Bond Yield เร่งตัวในระยะสั้น

 

Private Asset

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหา โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สําหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนําให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 6 มี.ค. 2023

READ MORE




Latest Stories