THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT

จับตา IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลงอีกครั้ง หลังผลกระทบจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ รุนแรงกว่าที่คาด

... • 28 เม.ย. 2025

HIGHLIGHTS

8 MIN READ
  •  IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโต GDP โลกปี 2025 เป็น 2.8% (ลดลง 0.5 จุด) เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ขณะที่ Fed Beige Book บ่งชี้ธุรกิจกังวลมากขึ้น โดยเฉพาะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ 
  • จากประวัติในอดีต IMF มักประเมินความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจขาลงต่ำกว่าความเป็นจริง จึงเป็นไปได้สูงที่ผลกระทบที่แท้จริงอาจรุนแรงกว่าตัวเลขคาดการณ์ปัจจุบัน
  • ทำให้เป็นไปได้สูงที่ IMF อาจต้องปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลงอีกในอนาคต ขณะที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้
  • สำหรับหุ้นไทย SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความคาดหวังเชิงบวกที่มีต่อผลประชุม กนง. ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายลง และ ปธน. ทรัมป์ น่าจะมีท่าทีผ่อนคลายลงเกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าสินค้า อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนของนโยบายภาษีของสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจโลก อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการในช่วง 2Q68 และทำให้ SET ปรับขึ้นได้จำกัด

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวต่อ ท่ามกลางความผันผวนที่ยังคงมีอยู่ จากแนวคิดการปลดประธาน Fed ก่อนที่จะครบวาระใน พ.ค. 69 โดย ปธน. ทรัมป์ออกมาแก้ข่าวว่าไม่มีเป้าหมายดังกล่าว สงครามการค้ายังมีทิศทางคลี่คลายลงต่อเนื่อง หลัง ทรัมป์และรมว. คลังสหรัฐ ออกมาพูดว่าจะลดภาษีจีนลงมาก แต่ไม่ถึงระดับ 0% แต่จีนต้องเข้ามาเจรจา นอกจากนั้นยังมีการลดภาษีบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ หลังสัปดาห์ก่อนยกเว้นพวกสินค้า IT บางประเภทไปแล้ว 

 

ในส่วนการเจรจาเริ่มมีพัฒนาการเชิงบวกเพิ่มขึ้น ล่าสุดการเจรจาเริ่มมีความคืบหน้าไปอีกขั้น หลัง รอง ปธน. สหรัฐเดินทางไปอินเดีย และได้รับความร่วมมือที่ดีจากทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม จีนยังไม่ตอบรับการเจรจา แต่เริ่มเปิดโอกาสสินภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าบางประเภทเช่นกัน 

 

ด้านเศรษฐกิจ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโต GDP โลกปี 2025 เป็น 2.8% (ลดลง 0.5 จุด) เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ขณะที่ Fed Beige Book บ่งชี้ธุรกิจกังวลมากขึ้น โดยเฉพาะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ 

 

ด้านตลาด EM ฟื้นตัวได้เช่นกัน นำโดยฮ่องกง อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ จากทิศทางการเจรจาที่เริ่มคลี่คลายไปในเชิงบวกมากขึ้น ตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากความคาดหวังสงครามการค้าผ่อนคลายลง และการเจรจาของหลายประเทศมีความคืบหน้ามากขึ้น แม้ว่าการเจรจาของไทยจะถูกเลื่อนออกไป แต่รัฐบาลเตรียมเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจ 5 แสนลบ. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และลดผลกระทบ 

 

ส่วนราคาน้ำมันอ่อนตัวลงหลังสมาชิก OPEC+ เรียกร้องให้เพิ่มการผลิตในเดือน มิ.ย. เร็วขึ้นต่อเนื่องจาก พ.ค.

 

IMF อาจหั่น GDP โลกอีกครั้ง 

 

บล.อินโนเวสท์ วิเคราะห์ว่า 1. IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2025 เหลือ 2.8% (ลดลง 0.5 จุด) ใกล้เคียงกับเรา แต่ดีกว่าเราที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% เล็กน้อย ซึ่งจากประวัติในอดีต IMF มักประเมินความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจขาลงต่ำกว่าความเป็นจริง จึงเป็นไปได้สูงที่ผลกระทบที่แท้จริงอาจรุนแรงกว่าตัวเลขคาดการณ์ปัจจุบัน โดยประเทศพึ่งพาการส่งออก เช่น ไทย ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยถูกปรับลดเหลือ 1.8% (ลดลง 1.1 จุด เท่าเรา) 

 

  1. สถานการณ์จำลองของ IMF แสดงถึงความไม่แน่นอนสูง ผลจากสงครามการค้าที่ไม่แน่นอนและส่งผลต่อการบริโภค ลงทุน และส่งออกทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกถูกปรับลดอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเพียง 1.7% และ 2.5% ในปี 2025-2026 ตามลำดับ ปรับลดที่รุนแรงถึง 1.5 และ 0.8 จุด 

 

  1. ความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมเงินเฟ้อสูง (stagflation) สูงขึ้น โดยประมาณการเงินเฟ้อโลกถูกปรับเพิ่มเป็น 4.3% โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นถึง 3% จาก 2% ทำให้เป็นไปได้สูงที่ IMF อาจต้องปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลงอีกในอนาคต ขณะที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจไม่

สามารถลดดอกเบี้ยได้

 

ด้านดัชนี PMI ที่ปรับลดลง บ่งชี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน โดยเกือบทุกประเทศหลักมีดัชนีปรับตัวลดลง โดยแม้ภาคการผลิตจะฟื้นตัวเล็กน้อย แต่ภาคบริการกลับทรุดแรงในเกือบทุกประเทศ สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้าและมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่เริ่มส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจและการตัดสินใจลงทุน 

 

ขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นจากทั้งภาษีนำเข้าและค่าจ้างแรงงาน กดดันราคาขายปรับขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิตสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นแรงสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง ทำให้เราคาดการณ์ว่า Fed อาจเลือกที่จะตอบสนองต่อความเสี่ยงเงินเฟ้อและคงดอกเบี้ยที่ระดับ 4.4% ตลอดทั้งปี

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้น Earning Play ซึ่งโมเมนตัมกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง โดย 1Q68-2Q68 คาดกำไรปกติจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ เลือก ADVANC TRUE BTG CPF CPALL
  2. หุ้น Undervalued สำหรับลงทุน แนะ-นำ GULF MTC CBG SPRC
  3. หุ้นที่คาดเป็นเป้าหมาย ThaiESGX สำหรับ SET50 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ADVANC BBL BDMS CPALL PTT ส่วนหุ้น SET100 ที่น่าสนใจ ได้แก่ BCH BTG
  4. หุ้น Undervalued สำหรับลงทุน แนะ-นำ BJC CPF AP HMPRO OR
  5. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการเก็งกำไร แนะนำ 1. หุ้นที่คาดได้อานิสงส์บวกหาก กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แนะนำ กลุ่ม REITs (DIF), กลุ่มค้าปลีก (CPALL) กลุ่มอสังหาฯ (AP SIRI), กลุ่มเช่าซื้อ (MTC TIDLOR) และกลุ่มไฟฟ้า (GULF GPSC) และ 2. หุ้นปลอดภัยที่คาดต้านทานความเสี่ยงจากสงครามการค้าหากมีสัญญาณรุนแรงหรือยืดเยื้อมากขึ้น แนะนำ BCH

 

“ประเมิน SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความคาดหวังเชิงบวกที่มีต่อ 1. กนง. จะมีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps และ 2. ปธน. ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐจะมีท่าทีผ่อนคลายลงเกี่ยวกับมาตรการภาษีนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะจากจีน อีกทั้งยังมีความคืบหน้าการเจรจาการค้าอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนของนโยบายภาษีของสหรัฐที่มีต่อเศรษฐกิจโลก อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการในช่วง 2Q68 ส่งผลให้บรรยากาศลงทุนจะยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและทำให้ SET ปรับขึ้นได้จำกัด” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ

 

สัปดาห์นี้ต้องติดตาม

 

  1. การเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า 
  2. ประมาณการ1Q25 GDP สหรัฐฯ, PCE สหรัฐฯ มี.ค., JOLTS และ Nonfarm Payroll มี.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ โดย CB มี.ค. 
  3. BoJ Meeting 
  4. PMI การผลิตและบริการจีน โดย Caixin เม.ย.
  5. การประชุม กนง. ครั้งที่ 2/2568 ในวันที่ 30 เม.ย.

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CBG - แนวโน้มกำไร 1H25 แข็งแกร่ง

 

แนะนำ บมจ. คาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังรายใหญ่อันดับ 2 ของไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดราว 25% ซึ่งมีแรงหนุนจากเครือข่ายจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์อื่นภายใต้ตราสินค้าคาราบาว ได้แก่ น้ำดื่ม กาแฟ และเครื่องดื่มเกลือแร่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์กลุ่ม functional drink (WOODY C+ Lock)
  • 1H25 แนวโน้มกำไรแข็งแกร่ง โดย 1Q25 คาดกำไรจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบหลัก เช่น เศษแก้ว ที่ลดลง และเกิดการประหยัดต่อขนาด ส่วน 2Q25 มองจะยังเติบโตต่อเนื่องทั้ง YoY และ QoQ จากต้นทุนน้ำตาลที่ลดลงและผลของฤดูกาล
  • เป็นหุ้น Undervalued โดยราคาหุ้นปรับลง 19%YTD ซึ่งมองสะท้อนภาวะตลาดโดยรวมและความกังวลภาวะแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดเครื่องดื่มชูกำลังแล้ว จนทำให้ปัจจุบันซื้อขาย PER 25F ที่ 18.7 เท่า คิดเป็น -2SD สวนทางกำไรที่ยังเติบโตดี
  • เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 99 บาท (อ้างอิง -0.5SD PER ที่ 30 เท่า) และคาดมีเงินปันผลจ่ายปี 2025 หุ้นละ 1.49 บาท คิดเป็น Div. Yield ราว 2.4%

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก


บริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯเผยงบ 1Q25 ออกมาในทิศทางผสม อย่างไรก็ดี ตลาดในภาพรวมดูเหมือนจะตอบสนองเชิงบวกต่อการประกาศงบ 1Q25 มากซึ่งเรามองว่าเป็นผลจาก 1) ความคาดหวังต่อกลุ่มหุ้นสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำมาก 2) งบใน 1Q25 ออกมาดีเป็นเพราะภาพยังไม่ได้สะท้อนผลกระทบ Tariff และนโยบายภาษีของทรัมป์เต็มที่ ขณะที่เรายังกังวลและมองว่าแนวโน้มยังคงมีความเสี่ยงสะท้อนผ่านการปรับประมาณการณ์ลงและหลายบริษัทไม่สามารถประเมินผลกระทบจาก Tariff ได้ ด้วยภาพนี้ทำให้เรายังคงเน้นตั้งรับ

 

  • กลุ่มสื่อสาร: รายได้และกำไรของ AT&T VZ และ T-mobile ดีกว่าคาด โดยมีเพียงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่ได้รับผลกระทบโดยบริษัทเตรียมขึ้นราคาเพื่อผลักภาระให้ผู้บริโภคแทน อย่างไรก็ดีเรากังวลต่อภาพการแข่งขันในอุตฯ ที่เพิ่มขึ้นทำให้เห็นการชะลอตัวลงของ Users ขณะที่มอง AT&T มีผลประกอบการที่ดีสุดใน 1Q25 นอกจากนี้หากเทียบกลุ่มอื่น เรายังเชื่อว่ากลุ่มนี้มีผลกระทบที่จำกัดจาก Tariff ที่สุดทำให้เชื่อว่ายังคงลงทุนได้ในช่วงที่ตลาดผันผวน
  • กลุ่มเซมิฯ: หากตัดความคาดหวังตลาดออก เรามองว่าภาพรวมงบ 1Q25 ของ TXN LRCX INTC ฟื้นตัวได้ในภาพรวม โดย LRCX และ INTC มีแรงหนุนจากอุปสงค์ AI เป็นสำคัญ ด้าน TXN อุปสงค์สินค้าอุตฯ และรถยนต์ฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ดี 1) งบ 1Q25 เป็นภาพก่อนเกิด Tariff 2) แนวโน้มของกลุ่มเซมิฯมีความไม่แน่นอนสูงมากจากความเสี่ยงนโยบายภาษีกลุ่มเซมิฯที่ทรัมป์ยังคงเล็งเก็บเพิ่ม รวมถึงกฎการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐฯที่เข้มงวดขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจซบเซา ซึ่งทำให้ในภาพรวม Guidance ออกมาไม่ดีบริษัทและมีความน่ากังวลเพิ่มขึ้น ด้วยภาพนี้ทำให้เรายังคงแนะหลีกเลี่ยงอยู่
  • กลุ่มซอฟต์แวร์: งบค่อนข้างผสม โดย ServiceNow และ CheckPoint ออกมาดีกว่าที่คาด ในขณะที่ IBM ออกมาต่ำกว่าที่คาดหลังได้รับผลกระทบจากการยกเลิกสัญญาของรัฐบาลสหรัฐฯหลังทรัมป์มีการลดงบประมาณ ขณะที่หากตัดความคาดหวังออก เราประเมินว่าการเติบโตในไตรมาสนี้ของกลุ่มมีแรงหนุนความต้องการซอฟต์แวร์ที่เติบโตดีหลังมีการ Monetzation AI ทำให้รายได้และคำสั่งซื้อโตได้ แม้ว่าจะมีภาพของการชะลอตัวในระดับหนึ่ง
  • กลุ่ม Consumer Staples: งบ PG CMG ULVR PEP NESN อ่อนแอในทิศทางเดียวกัน โดย 1) การเติบโตรายได้และกำไรเริ่มหดตัวลงผลจากแรงซื้อผู้บริโภค และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง 2) มีการปรับประมาณการณ์การเติบโต FY25 ลง โดยเฉพาะในส่วนกำไร ซึ่งเราประเมินว่าเป็นผลกระทบมาจากประเด็น Tariff ที่ทำให้ต้นทุนเพิ่ม เช่น PG ประเมินทำให้ต้นทุนเพิ่มราว $1.5bn ต่อปี ซึ่งทำให้ในภาพรวมบริษัทมีแนวโน้มปรับราคาขายขึ้นเพื่อรับมือกับต้นทุนที่เพิ่ม ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่ากลุ่มนี้ไม่มีภูมิคุ้มกันจาก Tariff และแนะมองกลุ่มเชิงรับอื่น
  • กลุ่มการแพทย์: ภาพงบ Sanofi Roche Merck โตได้ใน 1Q25 หนุนจากยอดขายยาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการพัฒนา pipeline ที่น่าสนใจในโรคเรื้อรังและโรคระบบประสาท อย่างไรก็ดีเรามองว่ากลุ่มกำลังเผชิญความท้าทายในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่ไม่แน่นอน ทั้งจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ การแข่งขันในจีนและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้แนวโน้ม Pharma ยังมีความเสี่ยง เราจึงแนะนำไปลงทุนในกลุ่ม Healthcare Services

 

ภาพรวม เราประเมินว่าทุกกลุ่มได้รับผลกระทบจาก Tariff ที่จะส่งผลต่อแนวโน้มการดำเนินงานทั้งหมด โดย 1. กลุ่มที่เราแนะหลีกเลี่ยง: กลุ่มที่มีความผันผวนต่อตลาดในภาพรวมมากอย่างกลุ่ม เทคฯ เซมิฯและซอฟต์แวร์ รวมถึงกลุ่มยาที่มีแนวโน้มการเก็บภาษีของทรัมป์ 2. กลุ่มที่เรามองว่ามีผลกระทบจากภาษีที่น้อยกว่ากลุ่มอื่น: กลุ่มเหล่านี้เราแนะนำลงทุนในหุ้นธีม 3D (Domestic, Defensive, Dividend) เช่น Verizon, CVS, UnitedHealth, Costco, Pepsico, Colgate Palmolive

 

ตลาดหุ้นยุโรปแนะนำ Siemens, Carrefour, Metro, Deutsche Telekom, BNP Paribas, Enel, Iberdrola, ตลาดหุ้นจีนแนะนำ Xiaomi, JD.com, Hong Kong Exchange, Trip.com, China Mobile, Tencent, Alibaba

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด / สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้าที่ยังดำเนินต่อ รวมทั้ง ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ เช่น ข้อพิพาทในช่องแคบไต้หวัน ความขัดแย้งภายในตะวันออกกลาง และสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยล่าสุด ประธานาธิบดี Trump ได้ตำหนิประธานาธิบดี Putin หลังรัสเซียได้ยิงขีปนาวุธโจมตีกรุงเคียฟของยูเครน จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

 

ตราสารหนี้ / เงินฝากระยะยาว

 

แม้การที่ประธาน Fed สาขา Cleveland ระบุว่า การลดดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในเดือน มิ.ย. หากมีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ และ Waller หนึ่งในคณะผู้ว่าการ Fed กล่าวว่า จะหนุนให้ Fed ลดดอกเบี้ย หากพบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ได้ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของ UST yield แต่เราคาดว่า UST yield ตัวยาว ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้จากการขาดดุลการคลังสหรัฐฯ ที่แย่ลง และความเสี่ยงเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังหนืด ดังนั้น เราจึงยังคงแนะนำลงทุน Bond ตัวสั้นถึงกลาง ที่มีความเสี่ยง duration ต่ำ

 

U.S. Treasury & IG

 

แม้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนเม.ย. ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 32 เดือน และ IMF ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ปี 2568-2569 ลง อาจช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของ UST yield แต่เราคาด UST Yield ตัวยาว ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน จากการที่ Trump ก่อให้เกิดสงครามการค้าโลกรอบใหม่ และสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐฯ ทั้งนี้ แนะนำลงทุน UST และ US IG bond โดยเน้นลงทุน duration ระยะสั้นถึงกลาง ที่ยังให้ yield สูง และช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุน

 

High Yield Bond

 

การที่  Trump ยังดำเนินสงครามการค้ารอบใหม่ที่เป็นวงกว้าง อาจเพิ่มความเสี่ยงขาลงมากขึ้นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทำให้ US HY default rate และ HY spread มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับ UST Yield ตัวยาว ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ยังสูง และปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังน่ากังวล อาจจำกัด upside ของ US HY แม้ว่า การ leverage (Net debt to EBITDA) ของ US HY ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้ง หุ้นกู้ US HY ที่จะครบกำหนดในปี 2568 ไม่ได้สูงมากนัก ก็ตาม

 

สินทรัพย์ผสมกึ่งหนี้กึ่งทุนและ REITs

 

REITs เป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ ทั้งในระยะกลางถึงระยะยาว และเป็นการเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ

 

สินทรัพย์ผสม (Ready Mixed - Asset Allocation) ช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs *สำหรับนักลงทุน Ultra High Networth เท่านั้น

 

เรามองว่า การลงทุนใน US REITs จะช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุน ท่ามกลางสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ด้วยภาพรวมปัจจัยพื้นฐานที่ดี ได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง โดย US REIT มี Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 93% และ กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม US REITs อาจได้รับปัจจัยกดดันในระยะสั้น จากมาตรการภาษีของ Trump ซึ่งกดดันภาค Industrial และ Retail กอปรกับ 10 UST Yield ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

Private Credit

 

เรายังมีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit Asset จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่ออย่างจำกัด ตามที่ Fed ยังมีท่าทีระมัดระวังบนความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ยังหนืด ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังเติบโตได้ แม้โมเมนตัมตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ soft data มีสัญญาณที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี เรายังเน้นการลงทุนใน Private credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหน้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (first lien seniority)

 

หุ้นไทย

 

ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนในระยะสั้น จาก 1) มาตรการ Reciprocal Tariffs จะส่งผลกดดันภาพรวมเศรษฐกิจ 2) ความกังวลบนประเด็นด้านความเชื่อมั่นในตลาดทุน และ 3) EPS ดัชนีฯ ในปี 2568 ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลงต่อ จากการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น 

 

อย่างไรก็ดี เราคาดว่า ในระยะกลาง-ยาว ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่าจะมีวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท และ แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของกนง.ในปีนี้ อีก 3 ครั้ง ซึ่งจะช่วยหนุน EPS ของหุ้นขนาดใหญ่ ท่ามกลาง Valuation ที่ไม่แพง ทั้งนี้ การเจรจาภาษีไทย-สหรัฐฯ ในระยะถัดไป จะช่วยหนุนเงินลงทุนไหลเข้าไทย หลังมีการปรับฐานไปมากแล้ว

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของผลกระทบจากสงครามการค้ารอบใหม่ ซึ่งส่งผลกดดันแนวโน้ม EPS และ Valuation ของตลาดฯ ในส่วนหุ้นยุโรป ก็ได้รับผลกระทบจาก Reciprocal Tariff เช่นกัน ซึ่งเราคาดว่า EU จะตอบโต้กลับอย่างระมัดระวัง ขณะที่ เศรษฐกิจยุโรปยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ ECB และแนวโน้มการใช้จ่ายด้านการทหารกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในเยอรมนี 

 

ด้านหุ้นญี่ปุ่น มีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของค่าจ้าง และความคืบหน้าการปฏิรูปบรรษัทภิบาล แม้ความไม่แน่นอนของผลกระทบจากสงครามการค้า และเงินเยนที่แข็งค่า อาจกระทบโมเมนตัม EPS ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็ตาม  

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

เรามอง ความไม่แน่นอนสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ มีแนวโน้มทำให้ Consensus ปรับลดคาดการณ์ EPS ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทำให้ตลาดฯ ยังผันผวนในระยะสั้น ขณะที่ การฟื้นตัวของตลาดฯ จะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้าต่างๆ รวมถึงจีน ซึ่งล่าสุด จีนได้ยกเว้นภาษีนำเข้า 125% สำหรับสินค้าจากสหรัฐฯ บางรายการ นอกจากนี้ เรามอง กำไรบจ.สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มเติบโต และกระจายตัวเป็นวงกว้าง โดยได้อานิสงส์จากกระแส AI และการผ่อนคลายกฎระเบียบ ควบคู่กับ แผนลดภาษีเงินได้

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรป มีแนวโน้มเผชิญความผันผวนในระยะสั้น จากความไม่แน่นอนด้านนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยในการประชุมล่าสุด ECB ได้แสดงถึงความกังวลบนเศรษฐกิจในภายภาคหน้า ซึ่งเรามองว่า อาจส่งผลให้คาดการณ์ earnings สำหรับ FY2568 ถูกปรับประมาณการลงเพิ่มเติม  อย่างไรก็ดี วัฏจักรการลดดอกเบี้ยของ ECB สู่ระดับ 2% ภายในปี 2568 และ แผนเพิ่มการขาดดุลการคลัง เพื่อเพิ่มงบป้องกันประเทศ และ การจัดตั้งกองทุน เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตลอด 10 ปี ของรัฐบาลเยอรมนี มีแนวโน้มส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ และ sentiment การลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคาร ผ่านการเติบโตของสินเชื่อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความไม่แน่นอนด้านนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จากเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น และจากการที่บจ.ญี่ปุ่นมีแนวโน้มให้ EPS guidance ที่ระมัดระวังขึ้น อย่างไรก็ดี ในระยะกลาง-ยาว ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจาก 

  1. การปฏิรูปบรรษัทภิบาลในญี่ปุ่นที่ยังดำเนินต่อ 
  2. เงินเฟ้อญี่ปุ่นที่กลับมา สอดคล้องกับการเติบโตของค่าจ้าง 
  3. ญี่ปุ่นมีแนวโน้มเดินหน้าเจรจากับสหรัฐฯ โดยล่าสุด ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาขยายโควตานำเข้าข้าวปลอดภาษีจากสหรัฐฯ หวังต่อรองให้ยกเว้นภาษี

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

แม้ Trump เลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้เต็มรูปแบบออกไปอีก 90 วัน แต่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชีย มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่ยังมีอยู่  ผ่านการค้า และการลงทุน ที่มีแนวโน้มอ่อนชะลอลง อย่างไรก็ดี เราคาด จะเริ่มเห็นหลายประเทศรีบเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งแม้ อาจต้องใช้เวลาในการเจรจา แต่คาดว่าจะมีความคืบหน้า รวมทั้ง ยังคาดว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชีย มีแนวโน้มออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลัง เพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้า

 

หุ้นอินเดีย

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มผันผวน จากความไม่แน่นอนในการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ท่ามกลาง ความตึงเครียดบริเวณชายแดนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาล่าสุดที่รองประธานาธิบดี Vance ของสหรัฐฯ เยือนอินเดีย และ มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

โดยตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนระยะยาว จาก 

  1. การเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่แข็งแกร่ง 
  2. แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ RBI บนประมาณการเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเป้า 4% และ 
  3. อินเดียส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วนน้อย 2% ของ GDP
  4. หุ้นกลุ่ม consumers ที่มีสัดส่วนราว 20% ของดัชนี Nifty50 มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากบริโภคในประเทศ

 

หุ้นจีน

 

แม้ระยะสั้น ตลาดหุ้นจีน A-share มีแนวโน้มผันผวน และอาจเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่ยังน่ากังวล และจากการกีดกันด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ต่อจีน อย่างไรก็ดี เราคาด ทางการจีนอาจออกมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 

 

โดยล่าสุด รัฐมนตรีคลังจีน กล่าวว่า แม้มีปัญหาความตึงเครียดด้านการค้า แต่จีนยังคงตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2568 ที่ 5% และจะใช้นโยบายเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ทองคำมีแนวโน้มได้รับปัจจัยหนุนจาก 

  1. ความไม่แน่นอนจากสงครามทางการค้า รวมทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ยังมีอยู่ 
  2. ความกังวลต่อหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง สนับสนุนการถือครองทองคำ ในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ โดย PBoC ได้ซื้อทองคำในเดือน มี.ค. เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน 
  3. ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุนได้ดี ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวชะลอลง และ 4) Fund Flow ของ ETF ที่ซื้อสุทธิทองคำ 4 เดือนติดต่อกัน โดยเดือน มี.ค.ซื้อสุทธิ 92 ตัน 

 

อย่างไรก็ตาม 10Y UST Yield ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และ แรงขายทำกำไร หลังสหรัฐฯ เริ่มมีท่าทีทางการค้าอ่อนลงต่อจีน อาจกดดันทองคำในระยะสั้น

 

ภาพ: Kayla Bartkowski / Getty Images

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 28 เม.ย. 2025

READ MORE



Latest Stories