THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ยูเครน-รัสเซีย
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘ยูเครน-รัสเซีย’ ความเสี่ยงใหม่ตลาดเงินโลก จับตานักลงทุนโยกเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย เลี่ยงความผันผวน

... • 31 ม.ค. 2022

HIGHLIGHTS

  • นโยบายการเงินของ Fed มีความชัดเจนขึ้นมาก โดยเฉพาะการลด QE และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม ส่วนประเด็นการลดงบดุลผ่านการทำ QT ยังคงต้องติดตามรายละเอียด
  • แนวโน้มตลาดการเงินสัปดาห์นี้ ประเด็นเศรษฐกิจจะมีน้ำหนักลดลงบ้าง ในขณะที่ประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์มีโอกาสกดดันตลาดเพิ่มขึ้น  
  • สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครน-รัสเซีย เป็นความเสี่ยงใหม่ที่ต้องติดตามมากขึ้น โดยมีโอกาสทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ดอลลาร์สหรัฐ และพันธบัตร ปรับตัวเพิ่มขึ้น  
  • SCBS ยก SPALI หุ้นเด่นประจำสัปดาห์ โดยปีนี้เปิดโครงการใหม่มูลค่าสูงที่สุด ขณะที่บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโต 16% 
  • SCB CIO ได้ปรับมุมมองความน่าสนใจที่มีต่อทองคำเพิ่มขึ้นหนึ่งระดับ เนื่องจากได้แรงหนุนจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียในประเด็นยูเครน และจากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง

นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีความชัดเจนขึ้นมาก โดยเฉพาะประเด็น QE และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนประเด็นการลดงบดุลผ่านการทำมาตรการ Quantitative Tightening (QT) ยังคงต้องติดตามรายละเอียดจากรายงานการประชุมวันที่ 17 กุมภาพันธ์ แต่เบื้องต้นไม่ได้ดูรุนแรงมาก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ทรงตัว แต่ Bond Yield อายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นแรงตามการส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย  

 

แนวโน้มตลาดการเงินในสัปดาห์นี้คาดว่าประเด็นเศรษฐกิจจะมีน้ำหนักลดลงบ้าง โดยหลักๆ เป็นเรื่องการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือน ในขณะที่ประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์มีโอกาสกดดันตลาดเพิ่มขึ้น  

 

ติดตามตัวเลขการจ้างงาน (ตลาดคาด 2.38 แสนตำแหน่ง เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วที่ 1.99 แสนตำแหน่ง) เนื่องจากมีผลต่อค่าแรงและเงินเฟ้อ

 

การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งต้องติดตามมุมมองต่อเงินเฟ้อที่ยังคงสูง รวมถึงธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่เซอร์ไพรส์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 0.25% ในเดือนธันวาคม 2021  

 

จับตาความตึงเครียดระหว่าง ‘ยูเครน-รัสเซีย’

สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครน-รัสเซีย เป็นความเสี่ยงใหม่ที่ต้องติดตามมากขึ้น โดยมีโอกาสส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ดอลลาร์สหรัฐ และพันธบัตร มีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น  

 

การประชุม OPEC+ เรื่องอุปทานน้ำมันดิบ หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว  

 

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) ประเมินว่าตลาดการเงินยังคงไม่ลดความกังวลเรื่อง QT จนกว่าจะมีความชัดเจนหลังวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ในขณะที่ความผันผวนจากเรื่องเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ คาดว่าจะลดลง หากพิจารณาจาก Bond Yield ที่สะท้อนไปพอสมควรแล้ว 

 

หลังจากนี้คาดว่าปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จะมีอิทธิต่อตลาดการเงินมากขึ้น ในขณะที่แรงกดดันจากโควิดเริ่มลดลง เช่น เรื่องการขนส่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลงได้บ้าง  

 

ไม่มี January Effect สัปดาห์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม โดยหากพิจารณาผลตอบแทนโดยภาพรวม พบว่าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงเฉลี่ย 5% แต่ตลาดหุ้น DM ลดลงแรงกว่าประมาณ 9% ส่วน EM Asia ลดลงประมาณ 2%

 

นักลงทุนรอดูรายละเอียด QT คาดลุ้นตลาด DM รีบาวด์ระยะสั้น

ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะสัปดาห์นี้ พบว่าตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง 1.6% แบ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง -2% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ลดลง -1.5% ซึ่งถือว่าลดลงน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเริ่มมีเงินทุนไหลกลับเข้าไปลงทุนในตลาด หลังการประกาศผลการดำเนินงานออกมาดี  

 

อย่างไรก็ตามมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เงินทุนเริ่มไหลเข้าไปในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น คาดว่าเป็นผลจากความตึงเครียดของยูเครน-รัสเซีย ในขณะที่เงินทุนเริ่มไหลออกจากสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อ สะท้อนว่าตลาดอาจเริ่มกังวลเงินเฟ้อลดลง 

 

ตลาดหุ้นโลกในสัปดาห์หน้าคาดว่าจะอยู่ในภาวะ Wait & See เพื่อรอดูรายละเอียดของ QT การประกาศผลประกอบการ และความตึงเครียดระหว่างยูเครน-รัสเซีย คาดว่าตลาดหุ้น DM มีโอกาสรีบาวด์ระยะสั้น  

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยมีลุ้นรีบาวด์สัปดาห์หน้า SET Index มีโอกาสฟื้นตัว หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ลดลงต่ำกว่าแนวรับสำคัญที่ให้ไว้บริเวณ 1,635/1,620 จุด คาดหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีมีโอกาสฟื้นตัว ในขณะที่หุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคและบริการในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิดเริ่มทรงตัว   

 

กลยุทธ์การลงทุนประจำสัปดาห์ แนะนำซื้อเก็งกำไร หุ้นที่ปรับตัวลงแรงเพราะ Yield แต่แนวโน้มกำไรยังดี ได้แก่ HANA, KCE, ACE, SYNEX, SINGER และหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการไตรมาสที่ 4 จะออกมาโดดเด่น ได้แก่ SPALI, IVL, BDMS และ BLA

 

ประเด็นที่ต้องจับตาดูในสัปดาห์นี้

 

  • การประชุมของกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อพิจารณานโยบายการผลิตสำหรับเดือนมีนาคม 
  • การประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)

 

SPALI หุ้นเด่นประจำสัปดาห์-ปีนี้เปิดโครงการใหม่มูลค่าสูงที่สุด

สัปดาห์นี้ SCBS เลือกแนะนำบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เนื่องจาก 3 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • 4Q21 คาดทำสถิติกำไรสูงสุดของปีที่ 2.52 พันล้านบาท เติบโต 35%YoY และ 47%QoQ จากรับรู้การโอน Backlog คอนโดมิเนียม และยังมีอัตรากำไรขั้นต้นแข็งแกร่งที่ 40% รวมทั้งรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ JV ในออสเตรเลีย ช่วยหนุนให้ปี 2021 คาดกำไรเติบโตเด่นถึง 57%YoY
  • ปี 2022 บริษัทตั้งเป้ายอดขาย 2.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 16%YoY โดย 77% เกิดจากโครงการแนวราบ และ 23% เกิดจากคอนโด พร้อมมีแผนเปิดตัว 34 โครงการใหม่ ซึ่งมีมูลค่ารวมสูงที่สุดราว 4 หมื่นล้านบาท เติบโต 61%YoY ซึ่งยังคงมุ่งเน้นตลาดระดับกลางและระดับกลาง-ล่าง 
  • ประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 26.50 บาท และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรช่วง 2H21 ราว 1.05 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div. Yield 4.7% (เงินปันผลรวมปี 2021 อยู่ที่ 1.55 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div. Yield 6.9%)

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ได้รับแรงหนุนจากการที่ผลกระทบของโอมิครอนไม่ได้รุนแรงเท่าที่คาด โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ของหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งสหรัฐฯ เริ่มปรับลดลงจากจุดสูงสุด และจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 4Q21 ยังมีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาด  

 

อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นฯ มีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีอยู่ และการเพิ่มสูงขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ ตามแนวโน้มการส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed 

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Global Experts Fund หรือ SCBGEX(A)

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน ตาม Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยเพิ่มสูงขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว จากการที่นักลงทุนรอจับตารายงานการประชุม Fed ประจำวันที่ 25-26 มกราคม ซึ่งจะถูกเปิดเผยในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ว่าจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการปรับลดขนาดงบดุลมากน้อยแค่ไหน 

 

อย่างไรก็ดี ความกังวลในผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโอมิครอนซึ่งลดลงไปค่อนข้างมาก และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ใน 4Q21 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่คาด จะยังสามารถช่วยประคองตลาดฯ ทั้งนี้เราคงคำแนะนำสัดส่วนการลงทุนหุ้นกลุ่ม Growth ต่อหุ้นกลุ่ม Value อยู่ที่ 60:40

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นยุโรปมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากการเปลี่ยนผ่านนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ดีเรามองว่าปัญหาด้านการเมืองอาจไม่บานปลาย ทำให้ความผันผวนจะสูงเพียงในระยะสั้น 

 

นอกจากนี้คาดว่า ECB จะเข้มงวดได้ช้ากว่ากลุ่มประเทศอื่น จากปัจจัยเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มที่จะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และการบรรเทาลงจากปัจจัยด้านอุปทาน แนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่ม Growth จาก EPS ที่มีแนวโน้มเติบโตได้

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Europe High Dividend Fund หรือ EHD

กองทุน EHD ลงทุนในกองทุน NN (L) European High Dividend บริหารโดยบริษัท Investment Management สำนักงานอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นยุโรปที่เน้นการจ่ายเงินปันผลสูง เน้นลงทุนในกลุ่ม Financial และ Consumer Staples ในชื่อที่ทุกคนรู้จัก เช่น Nestlé หรือ AstraZeneca 

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

แม้ Valuation ของหุ้นญี่ปุ่นยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่น แต่มองตลาดได้รับรู้ข่าวมาตรการกระตุ้นไปมากแล้ว ขณะที่ในช่วงสั้นตลาดเริ่มขาดปัจจัยสนับสนุน และดัชนี TOPIX และ Nikkei 225 ยังมีแนวโน้มผันผวนในช่วงที่ตลาดการเงินยังเผชิญความไม่แน่นอน และรัฐบาลญี่ปุ่นขยายเวลาห้ามต่างชาติเข้าประเทศจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 

 

อย่างไรก็ดี BOJ ยังมีท่าที Dovish แต่เริ่มชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ในส่วนของ Commercial Paper และ Corporate Bond แม้ยังคงวงเงินการเข้าซื้อ ETF และ J-REITs 

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน H-share โดย Valuation ของดัชนีหุ้นจีน Offshore เริ่มอยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มอินเทอร์เน็ต และทำให้ดัชนีฯ อาจได้รับผลกระทบจำกัดจาก US Bond Yield ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบที่มีความรุนแรงลดลงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ยังมีอยู่ ประกอบกับ EPS ของ บจ.จีนใน 4Q21 ที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวปานกลาง จะกดดันการฟื้นตัวของดัชนีฯ โดยรวม

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน A-share โดยดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการต่างๆ เพื่อจำกัดความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจ การเร่งการใช้จ่ายทางการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การผ่อนคลายข้อจำกัดบนภาคอสังหาริมทรัพย์ลงบางส่วน และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 

 

อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ อาจเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาบางส่วนในช่วงก่อนหยุดยาวตรุษจีน และเรายังประเมินว่าทางการจีนมีแนวโน้มคงมาตรการควบคุมการระบาดภายใต้ Zero-COVID Policy ที่ยาวนานขึ้น จะยังกดดันการฟื้นตัวของการบริโภคและเศรษฐกิจจีนโดยรวม

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ว่าแผนการเปิดประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังถูกกดดันจากการแพร่ระบาด ขณะที่ตลาดอาจผันผวนจากการเปลี่ยนผ่านนโยบายของ Fed 

 

ประกอบกับ Valuation หุ้นไทยยังคงตึงตัว ทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและ Upside ของตลาดยังถูกกดดัน อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลายต่อเนื่องและนโยบายการคลังจะสนับสนุนหุ้นในกลุ่มการบริโภคภายในประเทศ

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

 

ตลาดหุ้นเวียดนามได้แรงหนุนจากแนวโน้มทยอยเปิดเศรษฐกิจของทางเวียดนาม และจากแนวโน้มการออกมาตรกระตุ้นเศรฐกิจตามแพ็กเกจกระตุ้นสำหรับปี 2022-2023 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ประกอบกับ EPS Growth ของ VN Index ที่ยังขยายตัวโดดเด่น โดยตลาดคาด EPS ในปี 2021 และ 2022 จะขยายตัว 34% และ 27% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นตลาดฯ อาจเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาบางส่วนของนักลงทุนรายย่อย ก่อนเข้าสู่วันหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีน

 

กองทุนแนะนำ 

 

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

SCB CIO ได้ปรับมุมมองความน่าสนใจที่มีต่อทองคำเพิ่มขึ้นหนึ่งระดับ เป็นระดับ 3 โดยทองคำได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียในประเด็นยูเครน และจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ระดับสูง เป็นปัจจัยบวกต่อทองคำ อย่างไรก็ตาม ทองคำมีแนวโน้มถูกกดดัน หาก Fed มีท่าทีในการคุมเข้มนโยบายทางการเงินมากกว่าที่ตลาดคาด

 

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้น หลังความกังวลเกี่ยวกับโอมิครอนบรรเทาลง ขณะที่อุปทานน้ำมันยังคงตึงตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มได้รับผลกระทบเชิงบวก หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย มีความยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ตามเรามองว่าราคาน้ำมันมี Upside ค่อนข้างจำกัด และความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำในการหยุดส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียไปยังยุโรป นอกจากนี้แนวโน้มการกลับมาผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาน้ำมันอยู่

 

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม บางประเทศยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลจะต้องออกมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น และส่งผลกระทบเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 3

 

แม้ REITs ไทย ยังคง Laggard และได้รับประโยชน์จากการกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบ Test & Go อีกครั้ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2022 แต่ REITs ไทยยังคงมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของโอมิครอน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สิงคโปร์มีแนวโน้มผ่อนคลายมาตรการลงอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่า REITs กลุ่มออฟฟิศจะฟื้นตัวได้ โดยได้รับผลประโยชน์จากการทยอยเปิดเมือง

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 31 ม.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories