THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

สัญญาณบวก ‘เศรษฐกิจ-หุ้นไทย’ เริ่มมา SCB ปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนระยะสั้น เน้นกลุ่ม Domestic Plays

... • 8 พ.ย. 2021

HIGHLIGHTS

7 Mins. Read
  • ผลประชุม Fed เป็นไปตามคาด เริ่มลดขนาด QE เดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เริ่มเดือนพฤศจิกายนนี้ ย้ำยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย
  • ด้าน Fed Fund Futures ล่าสุด สะท้อนว่า โอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเริ่มขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายน 2022
  • ปัญหาห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลาย หนุนทิศทางตลาดหุ้นโลกปรับตัวดีขึ้น ทั้งยังได้แรงหนุนจากท่าทีที่ผ่อนคลายของ Fed และ ECB
  • SCB ปรับเพิ่มระดับความน่าสนใจในตลาดหุ้นไทย หลังสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น แนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณเชิงบวก

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน เป็นไปตามที่ตลาดได้คาดการณ์เอาไว้ โดยในส่วนของการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ (QE) เดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เริ่มเดือนพฤศจิกายน 2021 ไปสิ้นสุดกลางปี 2022 รวมถึงส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลง หลังการขาดแคลนสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นกลางปี 2022   

 

สำหรับภาวะตลาดการเงินเริ่มผ่อนคลายขึ้นหลังผลการประชุมมีความชัดเจน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงทั้งอายุ 2 ปี และ 10 ปี สะท้อนว่า ตลาดลดความกังวลเรื่องที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว 

 

ด้าน Fed Fund Futures ล่าสุด สะท้อนว่า โอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเริ่มขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายน 2022 ขณะที่โอกาสในการคงอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับก่อนการประชุม เราเชื่อว่าตลาดพันธบัตรยังคงมีความผันผวนต่อไปจากทั้งปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ในส่วนของการลดวงเงิน QE คาดว่าตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว 

 

การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนตุลาคม (10 พฤศจิกายน) โดยตลาดคาดว่าจะขยายตัวที่ 5.5% ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วที่ 5.4% ซึ่งต้องจับตาว่าองค์ประกอบ เช่น ค่าจ้างและค่าเช่า จะยังคงปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ 

 

นอกจากนี้การประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เดือนตุลาคม ในคืนวันศุกร์ (5 พฤศจิกายน) ก็ถือว่าสำคัญ เพราะเป็นเดือนแรกที่ไม่มีเงินชดเชยจากรัฐบาล โดยตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.5 แสนตำแหน่ง หากตัวเลขประกาศออกมาสูงเกินคาด จะทำให้ตลาดประเมินว่าเศรษฐกิจจะเติบโตดี ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 

 

ปัญหาห่วงโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลาย หนุนทิศทางตลาดหุ้นโลก

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 1.4% แบ่งเป็น ตลาดเกิดใหม่ (EM) เพิ่มขึ้น 0.3% และตลาดพัฒนาแล้ว (DM) เพิ่มขึ้น 1.6% โดยได้รับแรงหนุนจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป ที่ผ่อนคลายกว่าที่ตลาดคาดการณ์ นอกจากนั้นผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ออกมาเติบโตดีกว่าที่คาด และแนวโน้มของปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่คลี่คลายมากขึ้น 

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงเทขายในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงก่อนหน้านี้ แต่มีแรงซื้อกลับในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ผลประกอบการออกมาดีกว่าที่คาด และผลของปัญหาห่วงโซ่อุปทานไม่สูงมากนัก 

 

แนวโน้มตลาดหุ้นโลกในระยะสั้นคาดว่าจะเคลื่อนไหวไปตามการประกาศผลการดำเนินงานเป็นหลัก หลังจากมีความชัดเจนเรื่องการชะลอ QE และทิศทางดอกเบี้ยแล้ว (ติดตามการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 อย่าง Adidas, Allianz, Berkshire Hathaway, Coinbase, Infineon, PayPal, SoftBank, Disney)   

 

จับตาประชุม กนง. คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.5% 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยคาด SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามทิศทางของตลาดหุ้นโลก รวมถึงเริ่มเห็นปัญหาห่วงโซ่อุปทานคลี่คลาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนของผู้ประกอบการในอนาคต สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 10 พฤศจิกายน คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50%

 

แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในระยะสั้น โดยเน้นลงทุนในหุ้น Domestic Plays ที่ราคายังไม่แพง เช่น BEM, BDMS และ ADVANC เป็นต้น สำหรับการเก็งกำไรผลประกอบการแนะนำ LH, SPALI และ BDMS เป็นต้น  

 

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  • การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 10 พฤศจิกายน คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50%
  • การประชุมผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 8-11 พฤศจิกายน ซึ่งต้องติดตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างไต้หวัน 
  • การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหภาพยุโรป

 

BDMS หุ้นเด่นประจำสัปดาห์

สัปดาห์นี้แนะนำบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เนื่องจากเหตุผลหลักดังนี้

 

  • 3Q21 คาดกำไรปกติ 1.95 พันล้านบาท เติบโต 9%YoY และ 34%QoQ จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น 19%YoY และ 16%QoQ แบ่งเป็น รายได้ไม่รวมบริการที่เกี่ยวกับโควิดที่คาดเติบโต 2%YoY และ 9%QoQ รวมทั้งรับรู้รายได้เพิ่มจากค่าบริการที่เกี่ยวกับโควิดอีก 3 พันล้านบาท
  • ปี 2022 กำไรมีโมเมนตัมฟื้นตัว หลังมองการคลายข้อจำกัดการเดินทางจะทำให้มีผู้ป่วยต่างชาติมารักษาในไทยมากขึ้น (ก่อนโควิดมีรายได้จากต่างชาติราว 30%) และหากทั่วโลกกระจายการวัคซีนมากขึ้นจนไม่มีข้อจำกัดการเดินทางจะทำให้ตลาดต่างชาติกลับมาเร็วขึ้นอีก  
  • ราคาหุ้น Laggard โดยตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้น BDMS ปรับขึ้น 13.5%YTD ช้ากว่า BH ที่เป็นคู่แข่งตรงซึ่งปรับขึ้นแล้ว 27.5%YTD อีกทั้งเราประเมินราคาเป้าหมายที่ 28 บาท ซึ่งมีผลตอบแทนน่าสนใจ

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และการทยอยเปิดเมือง ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 3Q21 มีแนวโน้มออกมาดี 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้น จากความกังวลผลกระทบการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาต่อเศรษฐกิจ แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาอุปทานขาดแคลน และแนวโน้มการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่ม Value / Cyclical เช่น Financials, Energy, Industrials มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม  Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ความคืบหน้าในแผนลงทุนระยะยาว Build Back Better และแนวโน้มการทยอยเปิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

 

ส่วนหุ้นกลุ่ม Growth มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากผลประกอบการ บจ. ใน 3Q21 ที่ออกมาดีกว่าคาด ประกอบกับผลกระทบทางลบทั้งจากการเพิ่มขึ้นของ Bond Yield และจากข้อเสนอการจัดเก็บภาษีใหม่กับภาคธุรกิจ ภายใต้แผน Build Back Better อาจไม่มากนัก ทั้งนี้ เราแนะนําสัดส่วนการถือครองหุ้นสไตล์ Growth และ Value / Defensive อยู่ที่ 70:30

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Global Experts Fund

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นยุโรป เรามองผลประกอบการ บจ. ในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มออกมาดี การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่และแผนการเปิดประเทศจะช่วยหนุน Sentiment ตลาดได้ต่อ ECB มีแนวโน้มยังไม่ส่งสัญญาณ QE Taper ชัดเท่า Fed และ EU Bond Yield ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยบวก ผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติและเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมีทั้งผลกระทบเชิงลบ (ต้นทุนสูงขึ้น) และเชิงบวก (ผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้) แต่ภาพรวมหุ้นกลุ่ม Value / Cyclicals ของยุโรปยังมีแนวโน้มได้รับผลบวกมากกว่าผลลบ

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมี Valuation ที่ยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น DM อื่นๆ (Laggard Play) และ EPS Growth ยังมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ผลประกอบการ บจ. ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดดเด่นมากกว่าหรือเท่ากับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในระยะต่อไป ผลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 31 ตุลาคม มีแนวโน้มสนับสนุน Fund Flow นักลงทุนต่างชาติจากธีม Election Rally จากการที่พรรค LDP (นำโดยนายกฯ ฟูมิโอะ คิชิดะ) ยังครองเสียงข้างมาก และสานต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • Krungsri Japan Hedged Dividend Fund

กองทุน KF-HJAPAND ลงทุนในกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น คัดเลือกธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว และเฟ้นหาหลักทรัพย์รายตัวที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงและปัจจัย

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PIPL) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ไม่ได้มีผลกดดันต่อราคาหุ้นของกลุ่มแพลตฟอร์มรายใหญ่ในตลาดหุ้นจีน H-Share มากนัก รวมทั้งการที่ Valuation ของกลุ่มฯ ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี จึงส่งผลกลุ่มฯ มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงขาลงที่จำกัด แม้ว่าล่าสุดทางการจีนจะมีการเปิดเผยร่างกฎระเบียบเพิ่มเติม 2 ฉบับเกี่ยวกับการกำกับดูแลกลุ่มแพลตฟอร์มรายใหญ่ก็ตาม 

 

อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของ บจ. ในดัชนีหุ้นจีน Offshore ใน 3Q21 ที่ขยายตัวปานกลาง และส่วนใหญ่ออกมาสอดคล้องกับที่ตลาดคาด อาจส่งผลให้ดัชนีฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อย่างจำกัด

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีหุ้นจีน Onshore มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ PBoC อาจจะออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้อยู่ระดับที่เหมาะสมในช่วงที่เหลือของปี และคงต้นทุนทางการเงินสำหรับ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมายให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป 

 

ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นจีนมีแนวโน้มเร่งใช้โควตาในออกพันธบัตรท้องถิ่นพิเศษ เพื่อนำมาใช้จ่ายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มที่สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของทางการจีน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ในจีน ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดในรอบ 3 เดือน อาจกดดัน Risk Sentiment ในช่วงสั้น 

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 3

SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น 1 ระดับ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดที่ดีขึ้นและอานิสงส์จากการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเรามองแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าจะเริ่มดีขึ้น แม้ Valuation หุ้นไทยยังคงตึงตัว (P/E เทรดที่ราว +1SD) แต่เรามองมาตรการกระตุ้นช่วงหลังเปิดประเทศที่จะตามมา การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ยังมี Pent-up Demand อีกมาก และการฟื้นตัวของภาคการส่งออกโลกที่จะช่วยหนุนภาคการส่งออกไทยจะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดฯ แม้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาก็ตาม

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 4

ตลาดหุ้นเวียดนาม แม้คาดการณ์ GDP จะได้รับผลกระทบมากในปีนี้ และการเติบโตมีแนวโน้มลดลงเหลือราว 3-4% แต่คาดว่า GDP จะเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ราว 6% ในปี 2022 ด้านผลประกอบการ บจ. แม้จะเห็นการชะลอลงใน 3Q21 แต่สถานะการลงทุนของต่างชาติยังไม่สูง และ Valuation ยังไม่แพง (P/E เทรดอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 5 ปี) เมื่อเทียบตลาดอื่นในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ประกอบกับความเชื่อมั่นนักลงทุนรายย่อยที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจะเป็นแรงหนุนต่อตลาดฯ ในช่วงที่เหลือของปี

 

กองทุนแนะนำ 

 

 

  • Principal Vietnam Equity Fund

กองทุนลงทุนในหุ้นเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตสูงในอนาคต โดยทางผู้จัดการกองทุนคัดสรรหุ้นเวียดนามด้วยตนเอง และคาดหวังผลตอบแทนระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี VN30 Total Return

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 2

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และ Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น หลัง Fed ประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แม้ระยะสั้นตลาดจะยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ตาม

 

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากโควิด รวมทั้งประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการการเดินทางมากขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ขณะที่ OPEC+ ยังคงเพิ่มปริมาณการผลิตอยู่ที่ 4 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแทรกแซงราคาถ่านหินของจีน

 

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 4 

SCB CIO ได้เพิ่มความน่าสนใจใน REITs ประเทศพัฒนาแล้วขึ้น 1 ระดับ  เนื่องจาก DM REITs มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการทยอยเปิดเมืองตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ REITs ที่เกี่ยวข้องกับ Re-opening Theme ที่มีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เช่น กลุ่ม Residential, Retail, Office หลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ประกอบกับพื้นฐานเดิมกลุ่ม Industrials, Cell Towers, Data Centers ที่ดี และผลประกอบการใน 3Q21 ส่วนใหญ่ออกมาแข็งแกร่ง ทำให้ DM REITs น่าสนใจเข้าลงทุน

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  •  TMB Global Property Fund

กองทุน TMBGPROP ลงทุนในกองทุน Brookfield Global Listed Real Estate UCITS Fund โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างผลตอบแทนโดยรวมจากการเติบโตของมูลค่าสินทรัพย์และกระแสรายได้ โดยเน้นลงทุนในหน่วยทรัสต์ของทรัพย์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ทั่วโลก 

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 3 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงมี Sentiment เชิงบวก จากการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน ส่งผลให้ Downside ค่อนข้างจำกัด แม้ผลประกอบการ REITs ไทยใน 3Q21 จะมีแนวโน้มออกมาแย่กว่าคาด 

 

ด้าน REITs สิงคโปร์ แม้สิงคโปร์จะมีการฉีดวัคซีนในอัตราการที่สูง แต่นโยบายอยู่ร่วมกับโควิดและโครงการ Vaccinated Travel Lanes อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เรามองว่า REITs สิงคโปร์ มี Asset Quality ที่ดี แต่ช่วงสั้นยังมี Upside จำกัด 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 8 พ.ย. 2021

READ MORE



Latest Stories