THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เศรษฐกิจ การลงทุนโลก
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘เศรษฐกิจ-การลงทุนโลก’ เสี่ยงหนัก วิกฤตหนี้สหรัฐฯ ยืดเยื้อ

... • 15 พ.ค. 2023

HIGHLIGHTS

  • ความเสี่ยงภาคการเงิน ทั้งที่เกิดกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในสหรัฐฯ กดดันตลาดเงินตลาดทุนมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้เกิดความเสี่ยง  Credit Crunch และกระทบเศรษฐกิจในระยะต่อไป 
  • ตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวทั้งในสหรัฐฯ และจีน ทำให้ตลาดเชื่อว่า Fed น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ และจะเริ่มปรับลดในเดือนกันยายน จนถึงระดับ 4.4% ณ สิ้นปี 
  • วิกฤตเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่ยังไม่คืบหน้า หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ​ ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ผลักให้สหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงมากขึ้น 
  • ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังต้องติดตามผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะประกาศในต้นสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดปรับตัวลดลงจากปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามามากขึ้น ทั้งจาก 

  1. ความเสี่ยงภาคการเงินที่มีแนวโน้มกระทบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยรายงาน Senior Loan Officer Survey ของ Fed ระบุมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของธนาคารสหรัฐฯ เข้มงวดใกล้เคียงระดับวิกฤต ขณะที่รายงาน Financial Stability Report ระบุว่าสถานการณ์ Silent Bank Run ทำให้เกิดวิกฤตสภาพคล่องธนาคาร Regional Bank ต่อเนื่อง ทำให้เจ้าหน้าที่ธนาคารคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อยากขึ้น เกิดความเสี่ยง Credit Crunch และกระทบเศรษฐกิจในระยะต่อไป 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอลง โดยเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ และจีนต่ำกว่าคาด โดยเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ เดือนเมษายนปรับขึ้นมา 4.9%YoY (+0.4%MoM) ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดและตัวเลขเดือนมีนาคมที่ 5.0%YoY ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 5.5%YoY (+0.4%MoM) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด ทั้งนี้ ราคาที่อยู่อาศัย น้ำมันเบนซิน และยานพาหนะมือสองเป็นปัจจัยหลักของเงินเฟ้อในเดือนเมษายน ซึ่งเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด ทำให้ FedWatch Tool มองว่ามีโอกาส 93% ที่ Fed จะคงดอกเบี้ย และจะเริ่มลดลงในเดือนกันยายน จนถึงระดับ 4.4% ณ สิ้นปี 

 

  1. เงินเฟ้อจีนชะลอตัวเช่นกัน โดยอยู่ที่ 0.1%YoY ต่ำกว่าคาดที่ 0.4% ด้านส่งออกและนำเข้าจีนหดตัวเกินคาดมาก โดยนำเข้าหดตัวถึงกว่า -7.9% จากคาดว่าจะอยู่ที่ +1.1% 

 

  1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนี ที่หดตัว -3.4% เทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ชะลอเช่นกัน 

 

  1. การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ไม่คืบหน้า หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากไบเดนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอจากทางฝั่งพรรครีพับลิกันที่ต้องการให้ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางในช่วงหลายปีข้างหน้า ถึงอย่างนั้น ทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นว่าจะไม่ให้เกิดการผิดชำระหนี้อย่างแน่นอน และจะกลับมาเจรจาร่วมกันอีกครั้งในวันศุกร์ (12 พฤษภาคม) ขณะที่เหลือเวลาอีก 3 สัปดาห์ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ อาจจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ โดยปัจจุบันเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์

 

“ตลาดปรับตัวลดลงจากปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามามากขึ้น ทั้งจากความเสี่ยงภาคการเงินที่มีแนวโน้มกระทบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยรายงาน Senior Loan Officer Survey ของ Fed ระบุมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของธนาคารสหรัฐฯ เข้มงวดใกล้เคียงระดับวิกฤต ตามมาด้วยตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอลง โดยเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐฯ และจีนต่ำกว่าคาด และเป็นทิศทางที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีหดตัวมากขึ้น และการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ไม่คืบหน้า ส่งผลให้ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น” 

 

เปิด 3 ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจและการลงทุนโลก 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ วิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงเศรษฐกิจและการลงทุนโลกมีมากขึ้นในระยะต่อไปจาก 3 ปัจจัย คือ 

 

  1. ภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากขึ้น โดยในสหรัฐฯ แม้การจ้างงานยังแข็งแกร่ง เดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 2.53 แสนตำแหน่ง สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนตำแหน่ง แต่หากหักตัวเลขที่ปรับลดลง (Revise Down) รวม 1.49 แสนตำแหน่งแล้ว จะเหลือจ้างงานเพิ่มเพียงแค่ 1.04 แสนตำแหน่งเท่านั้น ขณะที่หากพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะพบว่าขยายตัวต่ำกว่าคาด และหากพิจารณาองค์ประกอบที่ประธาน Fed จับตา อันได้แก่ เงินเฟ้อพื้นฐาน เงินเฟ้อในหมวดบ้าน และเงินเฟ้อหมวดบริการที่ไม่ใช่บ้าน (ค่าจ้าง) พบว่าลดลงทั้ง 3 หมวด เช่นเดียวกับเงินเฟ้อจีนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีที่ชะลอลงมาก อย่างไรก็ตาม แม้เงินเฟ้อจะเริ่มมีแนวโน้มลดลงแต่ยังอยู่ระดับสูง ทำให้ธนาคารกลางยังต้องคงนโยบายดอกเบี้ยสูงต่อเนื่อง 

 

  1. ความเสี่ยงภาคการเงินที่มีแนวโน้มกระทบเศรษฐกิจมากขึ้น ตามรายงาน 2 ฉบับของ Fed ที่ระบุว่าความตึงตัวภาคการเงินมีมากขึ้นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารที่คุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อยากขึ้นหลังวิกฤตธนาคาร ทำให้เกิดความเสี่ยง Credit Crunch และกระทบเศรษฐกิจในระยะต่อไป 

 

  1. ความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดเร็วขึ้น จากการเก็บภาษีที่น้อยลง ขณะที่รายจ่ายมีมากขึ้น ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า เพดานหนี้สาธารณะอาจครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน ขณะที่ทั้งสองพรรคยังไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ​ เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ และถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

  1. หุ้น Best of the Best มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีกำไรในปี 2023-2024 เติบโตเฉลี่ยสูงกว่ากำไรของกลุ่มหุ้นที่เราแนะนำ Outperform และ Valuation ไม่แพง โดยซื้อขายด้วย PER และ PBV เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่บริเวณ -1.0 ถึง -2.0 S.D. จึงมองเป็นโอกาสซื้อสะสม เลือก AU, BBL, BDMS, CPALL, GULF ส่วนนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่แล้วแนะนำ Let Profit Run  

 

  1. หุ้นที่คาดได้รับอานิสงส์จาก Fund Flow ไหลเข้า เนื่องจากรับรู้ผลการเลือกตั้งและค่าเงินบาทแข็ง เลือก BBL, KBANK, ADVANC

 

  1. หุ้นที่คาดผลการดำเนินงาน 2Q23 เติบโตดี และคาดหวังจะได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ เลือก HMPRO, MAKRO, MINT, AP 

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

  1. ติดตามผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยครั้งที่ 27 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้
  2. สภาพัฒน์ประกาศ GDP 1Q23 ของไทย ซึ่งตลาดคาดขยายตัว 3.5%YoY เร่งขึ้นจาก 4Q22 ที่ขยายตัว 1.4%YoY

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: CRC - แนวโน้มกำไรฟื้นตัวเด่น

สัปดาห์นี้ บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เลือกแนะนำ บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

  • เป็น Holding Company ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย โดยจัดเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่สุดในไทยและอันดับ 3 ในเวียดนาม รวมทั้งเป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่สุดในอิตาลี
  • มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะกลาง-ยาว จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการมีฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและเวียดนาม อีกทั้งมีแผนขยายแพลตฟอร์ม Omnichannel และผนึกกำลังจากธุรกิจในเครือเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพทำกำไร รวมทั้งยังมองหาโอกาสทำดีล M&A
  • 1Q23 คาดมีกำไรปกติ 1.85 พันล้านบาท เติบโต 68%YoY เนื่องจากมองว่ายอดขายปลีกและรายได้จากการให้เช่าที่ดีขึ้น และอัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น จะมากเกินพอชดเชยสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่จะลดลง 31%QoQ จากปัจจัยฤดูกาล (บริษัทจะประกาศผลประกอบการ 1Q23 ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้)
  • 2Q23 คาดกำไรจะเติบโตต่อเนื่อง YoY จากยอดขายสาขาเดิมที่คาดจะเติบโตใกล้เคียง 1Q23 ที่ระดับสูงกว่า 10%YoY ซึ่งเป็นการเติบโตดีที่สุดในกลุ่มพาณิชย์ อีกทั้งจะมีมาร์จิ้นที่กว้างขึ้นจากมีสัดส่วนยอดขายกลุ่มแฟชั่นที่ให้มาร์จิ้นสูงเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
  • กำไรอยู่ในทิศทางฟื้นตัวโดดเด่น และเราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 52 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7.1% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) อีกทั้งคาดให้ Div. Yield ราวปีละ 1.3%  

 

Asset Allocation Strategy

ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังคงถูกกดดันจากปัจจัยลบเดิมต่อเนื่อง คือความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง อัตราดอกเบี้ยระดับสูงของธนาคารกลาง ที่ต้องการกดให้อัตราเงินเฟ้อลดลงสู่กรอบเป้าหมาย และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่จะเข้มงวดมากขึ้น หลังเกิดปัญหาธนาคารล้มในช่วงที่ผ่านมา มีเพียงภาคบริการของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานเท่านั้นที่ยังคงแข็งแรง


ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความเสี่ยงระยะสั้นจากปัญหาทางการเมืองระหว่างพรรคที่จะต้องเจรจาเพื่อผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานการกู้เงินให้ทัน ก่อนที่เงินในคลังจะหมดลง จนไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือชำระหนี้ของรัฐบาลได้ ถึงแม้เรามองว่าโอกาสเกิดการผิดนัดชำระหนี้จะต่ำมาก และการเจรจาจะสำเร็จได้ก่อนที่เงินในคลังฉุกเฉินจะหมดลง แต่ระหว่างการเจรจาก็อาจสร้างความผันผวนให้กับทั้งตลาดหุ้นและพันธบัตรได้ จึงยังเน้นการถือสภาพคล่องในระดับสูงต่อไป เพื่อรอเข้าซื้อหลังตลาดปรับฐาน

 

ด้านตลาดหุ้นเอเชียอยู่ระหว่างการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยข่าวดีจากการเปิดประเทศของจีนเริ่มมีผลต่อตลาดน้อยลง เหลือเพียงปัจจัยบวกจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตลาดประเทศพัฒนาแล้ว โดยความเสี่ยงที่ต้องระวังคือปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นและสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ กับจีน ที่แข่งขันด้านเทคโนโลยีรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน จำเป็นต้องเรียกคะแนนเสียงเพื่อเตรียมตัวลงเลือกตั้งในปี 2024 จึงอาจเห็นข้อพิพาทกับจีนหรือรัสเซียที่เป็นมหาอำนาจอื่นมากขึ้น

 

ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ (REIT) ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ตเพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

สภาพคล่อง/เงินสด

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด โดยเศรษฐกิจโลกได้รับแรงส่งจากการเปิดประเทศของจีนและเอเชีย แต่ถูกกดดันด้วย Recession Risks ใน DMs ที่รวมถึงภาวะสินเชื่อตึงตัว ส่วนหนึ่งจากปัญหาภาคธนาคาร นอกจากนี้ ความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังส่งสัญญาณเชิงลบอยู่เป็นระยะๆ

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

US Bond Yields เป็นขาลง จาก Recession Risks, เงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงต่อเนื่อง และการจ้างงานลดความตึงตัว ทั้งนี้ Yields มีโอกาสปรับขึ้นบ้าง จากเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงช้า ภาคแรงงานและผู้บริโภคที่แข็งแรง และ Fed ยืนยันไม่รีบลดดอกเบี้ย สำหรับ TH Bonds เคลื่อนไหวสอดคล้อง US, ต่างชาติเป็น Net Buy 

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

US IG (Yields = Govt Bond Yields + Spreads) ได้รับแรงหนุนหลักจาก Govt Bond Yields ที่มีแนวโน้มเป็นขาลง และมี Buffer จากงบดุลที่ค่อนข้างแข็งแรง อย่างไรก็ตาม IG Spreads มีความน่าจะเป็น Widening อยู่บ้าง จากเศรษฐกิจขาลงและความเสี่ยง Recession ในขณะที่ TH IG Spreads ยังคงทรงตัว

 

US HY Spreads มีความเสี่ยง Widening มากกว่า IG Spreads เหตุจาก Recession Risks โดยเฉพาะจากความตึงตัวในภาวะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งถูกกดดันเพิ่มเติมจากวิกฤตธนาคารภูมิภาคในสหรัฐฯ ที่ถึงแม้ว่าจะผ่อนคลายลง แต่ยังคงสร้างความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินจากความเสี่ยงสภาพคล่อง

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ดัชนีฯ ยังได้รับแรงกดดันจากความเสี่ยงเศรษฐกิจหดตัว ภาวะสินเชื่อที่ตึงตัว ความกังวลสภาพคล่องของภาคธนาคารภูมิภาค และปัญหา Debt Ceiling อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานและผู้บริโภคที่แข็งแรง ภาคบริการที่ฟื้นตัว Bond Yields ขาลง และ Earnings ที่ดีกว่าคาดของ Mega Tech จะช่วยจำกัด Downside ของดัชนีฯ 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

Valuation ของตลาดหุ้นยุโรป ยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต แต่ดัชนีฯ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และตลาดเริ่มรับรู้พัฒนาการเชิงบวกของเศรษฐกิจไปพอสมควร เริ่มทำให้ Upside จำกัด ประกอบกับ ECB ยังมีแนวโน้มใช้นโยบายเงินตึงตัวเพื่อสกัดเงินเฟ้อต่อไป โดยยังไม่มีท่าทีผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะอันใกล้

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มีอยู่ JGB Yields ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามความเป็นไปได้ในการปรับ YCC ในปีนี้ และผลประกอบการใน FY นี้ ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลดลง อย่างไรก็ดี Valuation ที่ยังไม่แพง และการซื้อหุ้นคืน-การจ่ายปันผลที่มากขึ้น จะช่วยจำกัด Downside ตลาดฯ

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

 

 

ความน่าสนใจระดับ 5

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากโมเมนตัมเศรษฐกิจจีนที่ยังดี นำโดยภาคการบริโภคและบริการตามเงินออมส่วนเกินที่ยังสูง และจาก EPS ดัชนีฯ ในปีนี้ ที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการขึ้น และจากแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายจากทางการที่ยังมีอยู่ แม้ว่าโมเมนตัมของภาคส่งออกจีนในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มชะลอลงก็ตาม

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

 

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีน และจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะกลุ่ม Platform อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ มีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสหรัฐฯ เตรียมเผยมาตรการกีดกันจีนเพิ่มเติมในการประชุม G7 วันที่ 19-21 พฤษภาคม

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

ทิศทางการรายงานผลประกอบการในช่วง 1Q23 มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด เรายังคงมองว่าพัฒนาการด้านการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ตามการฟื้นตัวของนักเที่ยวที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี จะเป็นปัจจัยหนุนในช่วง 2H23 แม้ในระยะสั้น ปัจจัยด้านการเมืองในประเทศอาจเป็นตัวสร้างความผวนได้เล็กน้อย

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

ความท้าทายเศรษฐกิจจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ส่งผลให้รัฐบาลพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แต่อาจใช้เวลากว่าจะส่งผลสู่เศรษฐกิจจริง อีกทั้งสภาพคล่องบนธุรกิจภาคอสังหายังตึงตัว ประกอบกับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ส่วนใหญ่อยู่ในไตรมาส 2 และ 3 ทำให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจำกัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนใน 1Q23 ขยายตัว +4.5%YoY ได้อานิสงส์จากหมวดสินค้าจำเป็น ขณะที่ Cycle ถ่านหินผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้ Upside ในระยะสั้นมีจำกัด อย่างไรก็ดี ให้จับตามอง FDI ที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนใน EV Value Chain ในระยะยาว และแนวโน้มการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศในช่วง 2H23

 

ทองคำ

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ราคาทองคำได้แรงหนุนจาก US Bond Yields ขาลง ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยและเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมี Upside จำกัด เนื่องจากอาจมีแรงขายทำกำไร และ Fed ยืนยันท่าทีไม่รีบลดดอกเบี้ยเร็วเกินไป สำหรับการทยอยเข้าซื้อ ควรรอให้ราคาปรับลดลงในระดับเหมาะสมก่อน

 

น้ำมัน

 

 

ความน่าสนใจระดับ 3

ในระยะข้างหน้า อุปสงค์โลกเป็นตัวแปรที่สำคัญ กล่าวคือชะลอตัวลงในกลุ่ม DMs โดยเฉพาะจากภาวะสินเชื่อตึงตัว แต่ภาคบริการฟื้นตัวได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม อุปสงค์กำลังทยอยฟื้นตัวในเศรษฐกิจจีนและเอเชีย แต่ไม่ร้อนแรง นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตที่อาจมากเกินไป กดดันเงินเฟ้อและการบริโภคครัวเรือนในอนาคต

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

แนวโน้ม Hybrid Working และ E-Commerce สินเชื่อ Commercial RE ตึงตัวมากขึ้น และเศรษฐกิจขาลงท่ามกลางดอกเบี้ยที่อยู่สูงสะท้อนใน Office Vacancy Rate ที่สูงขึ้น และ Mortgage Defaults ที่เพิ่มมากขึ้น โดยรวมส่งผลลบต่อมูลค่า DM REITs แม้ว่า Bond Yield ขาลงจะส่งผลดีต่อ REIT-Govt Yield Spreads

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

 

 

ความน่าสนใจระดับ 4

REITs เอเชียได้รับแรงหนุนจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับแรงกดดันจากการปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ เริ่มจำกัด เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียยังคงได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง/ประเทศ ส่งผลให้รายได้ของกลุ่ม REITs ยังคงมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

 

Private Asset

 

 

ความน่าสนใจระดับ 2

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศแนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2023


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 15 พ.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories