THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

จับตาจีนดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ‘1 ล้านล้านหยวน’ หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเปราะบาง

... • 17 มิ.ย. 2024

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา S&P 500 และ Nasdaq ยังเดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่ จากแรงหนุนของหุ้นเทคที่เกี่ยวข้องกับ AI
  • ตลาดหุ้น EM ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย นำโดยหุ้นเกาหลีและไต้หวันที่เพิ่มขึ้นตามธีมเทค ขณะที่ตลาดหุ้นจีนอ่อนตัวลง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลง สะท้อนความกังวลด้านการเมือง
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสถานการณ์ Soft Landing โดยตลาดแรงงานลดความร้อนแรงลง เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงมากกว่าที่คาดเล็กน้อย
  • เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างเปราะบาง จึงต้องติดตามมาตรการการคลังต่างๆ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านหยวน และมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านการสนับสนุนให้เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ ซึ่งเป็นมาตรการของรัฐบาลท้องถิ่น ว่าจะได้ผลหรือไม่

สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวขึ้นได้ นำโดยสหรัฐอเมริกา ที่ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ยังเดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่ จากแรงหนุนของหุ้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI แม้ตัวเลขจ้างงานที่ประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนดีกว่าคาด แต่หักล้างจากเงินเฟ้อ ทั้ง CPI และ PPI ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดยังมองโอกาสลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้ผลประชุม Fed ที่คงดอกเบี้ยตามคาด แต่ปรับคาดการณ์ลดดอกเบี้ยเหลือเพียงครั้งเดียวจากหนก่อน 3 ครั้ง ในการประชุมเดือนมีนาคม และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแถลงข่าว ประธาน Fed ส่งสัญญาณว่า คาดการณ์ Dot Plot เป็นการคาดการณ์ส่วนบุคคลของคณะกรรมการ

 

ฝั่งตลาดหุ้นยุโรปปรับลดลง จากแรงกดดันด้านการเมืองในฝรั่งเศส หลังประธานาธิบดีประกาศยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ หลังจากที่พรรคพันธมิตรสายกลางพ่ายแพ้ให้กับพรรคขวาจัดในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป อีกทั้งยังมีความกังวลประเด็นสงครามการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น หลัง EU เตรียมขึ้นภาษีนำเข้า EV จากจีน ขณะที่จีนประกาศ เตรียมตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากยุโรป เช่น เกษตร อากาศยาน และรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป

 

ตลาดหุ้น EM ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย นำโดยหุ้นเกาหลีและไต้หวันที่เพิ่มขึ้นตามธีมเทคโนโลยี ขณะที่ตลาดหุ้นจีนอ่อนตัวลง แม้ตัวเลขการส่งออกจะขยายตัวในเดือนพฤษภาคมกว่าที่คาด แต่ยอดใช้จ่ายในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างยังชะลอ ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงเช่นกัน สะท้อนความกังวลด้านการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจากมุมมองของเจ้าหน้าที่ OPEC+ หลายรายที่ออกมาให้ความเห็นว่า การปรับเพิ่มการผลิตใน 4Q24 อาจยังไม่เกิดขึ้น หลังราคาน้ำมันอ่อนตัวแรงหลังการประชุม

 

สหรัฐฯ Soft Landing ส่วนจีน ‘ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง’

 

ในประเด็นที่ FOMC ส่งสัญญาณ Hawkish โดยปรับคาดการณ์ลดดอกเบี้ย (Dot Plot) เหลือเพียงครั้งเดียวในปีนี้ และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ แต่คง GDP และว่างงาน

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ เห็นด้วยกับประธาน Fed ที่ว่า

 

1. Dot Plot คือการคาดการณ์ของคณะกรรมการรายบุคคล ไม่ใช่การส่งสัญญาณดอกเบี้ยของ Fed

 

2. โดยแท้จริงแล้วเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการที่ให้ลด 2 ครั้งมีมากที่สุด (8 ใน 19 คน) นอกจากนั้นเรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสถานการณ์ Soft Landing ในปัจจุบัน โดยตลาดแรงงานลดความร้อนแรงลง เงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงมากกว่าที่เราคาดเล็กน้อย (โดยเงินเฟ้อล่าสุดที่ชะลอลงเป็นผลจาก Cost-Push Inflation ที่ลดลง ขณะที่ Demand-Pull Inflation ทรงตัว)

 

3. ภาคการผลิตชะลอตัวค่อนข้างแรงและน่ากังวล (พิจารณาจาก ISM ภาคการผลิต) ทำให้เราจึงยังคงการคาดการณ์ว่า Fed จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยจะลดในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และต้องจับตาพัฒนาการทางเศรษฐกิจใกล้ชิด

 

ในประเด็นเงินเฟ้อผู้บริโภคจีนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าคาด ขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตหดตัวต่อเนื่อง 18 เดือนนั้น บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า บ่งชี้ถึงเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง โดยแม้ภาคการส่งออกและภาคการผลิตจะฟื้นตัวขึ้น แต่รายได้ประชาชนยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ทำให้การใช้จ่ายจะยังคงซึมเซาอยู่อีกระยะหนึ่ง จึงต้องติดตามมาตรการการคลังต่างๆ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านหยวน และมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านการสนับสนุนให้เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ ซึ่งเป็นมาตรการของรัฐบาลท้องถิ่น ว่าจะได้ผลหรือไม่

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

1. หุ้นที่คาด 2Q24 กำไรจะยังสามารถเติบโตทั้ง YoY และ QoQ อีกทั้ง Valuation ยังไม่แพง เลือก ICT (ADVANC), TOURISM (MINT) และ FOOD (TU, BTG, OSP)

 

2. หุ้นที่คาดได้อานิสงส์บวกจากการเข้าสู่บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2024) ในช่วงวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม 2024 เลือก ADVANC, TRUE, CPALL, MINT และ TU

 

3. หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการผลิต (โดยเฉพาะจีน) และผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เลือก KCE, SCGP และ PTTGC

 

หุ้นที่สามารถลดความผันผวนและเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีความไม่สงบในตะวันออกกลาง เลือกหุ้นน้ำมันขั้นต้นอย่าง PTTEP

 

“ช่วงสั้นมองดัชนี SET ยังผันผวนและเปราะบาง จากความกังวลความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศ ที่ยังมีแนวโน้มกดดันให้ดัชนี SET ยัง Underperform ตลาดหุ้นในภูมิภาค ท่ามกลางตัวเลขยอดการผลิตรถยนต์และการส่งออกของไทยที่คาดว่าจะยังอ่อนแอ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนและสหรัฐฯ คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนธนาคารกลางอังกฤษ คาดว่าจะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% แต่จะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินใน 3Q24”

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของจีนในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (+6.7% เดือนเมษายน), ยอดค้าปลีก (+2.3% เดือนเมษายน) และการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (+4.2% เดือนเมษายน) 

 

2. ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ (ตลาดคาด +2.8%YoY จาก +3.0% เดือนเมษายน)

 

3. Composite Flash PMI ของเศรษฐกิจสำคัญเดือนมิถุนายน ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ตลาดคาดลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวดีมาก

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BDMS - Defensive ในช่วงตลาด Risk Off

 

แนะนำ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BDMS เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีเครือข่ายมากสุดในไทย (โรงพยาบาล 57 แห่ง รวมกว่า 8,500 เตียง) และติดอันดับ 1 ใน 5 ของโรงพยาบาลเอกชนทั่วโลก ในด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ซึ่งคาดได้ประโยชน์จากอุปสงค์ทางการแพทย์ที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว

 

  • 2Q24 คาดกำไรปกติจะลดลง QoQ ตามผลฤดูกาล แต่จะยังเติบโตดี YoY จากรายได้ที่แข็งแกร่ง ขณะที่ทั้งปี 2024 คาดมีกำไรปกติ 1.62 หมื่นล้านบาท เติบโต 12.6%YoY และเพิ่มเป็น 1.75 หมื่นล้านบาท เติบโต 8%YoY ในปี 2025 แรงหนุนจากรายได้และ EBITDA Margin ที่เพิ่มขึ้น หลักๆ จากการให้บริการผู้ป่วยต่างชาติมากขึ้น

 

  • เป็นหุ้น Defensive ซึ่งเหมาะกับสภาวะตลาด Risk Off และ Valuation ไม่แพง โดยปัจจุบันซื้อขายที่ PER 2024F ที่ 27 เท่า ต่ำกว่าระดับ -2SD ของ PER เฉลี่ยในอดีตที่ 32 เท่า และราคาหุ้นยังมีความผันผวนต่ำ สะท้อนได้จากราคาหุ้น BDMS ปรับตัวลดลง -1.8%YTD ดีกว่า SET ที่ปรับตัวลดลง -7.0%YTD

 

  • เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2024 ที่หุ้นละ 36 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2024 หุ้นละ 0.79 บาท

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราเห็นภาพความเสี่ยงจาก Geopolitical Risk ที่เพิ่มขึ้น หลัง 1. รัฐบาลสหรัฐฯ พิจารณาเพิ่มข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี AI จีน โดยมุ่งไปที่ชิปประเภท Gate-All-Around (GAA) 2. สหภาพยุโรปเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีน 3. โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

 

ด้วยภาพนี้ทำให้เรามองว่าการลงทุนในช่วงนี้ยังคงมีความผันผวน และแนะเพิ่มกลุ่มเชิงรับเพื่อลดความเสี่ยง

 

  • รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเพิ่มข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีชิป AI ของจีน โดยมีเป้าหมายไปที่ชิปประเภท GAA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกแบบชิปขั้นสูง ที่จะช่วยให้ประมวลผลได้เร็วและแรงยิ่งขึ้น ซึ่งเรามองว่าเป้าหมายของสหรัฐฯ คือการจำกัดความสามารถทางการแข่งขันของจีน และยกระดับการเข้าถึงชิปขั้นสูง

 

  • สหภาพยุโรปเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมประมาณ 20% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีน นอกเหนือจากภาษี 10% ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถึงแม้มาตรการนี้อาจดูเหมือนการทำสงครามการค้า แต่อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปทำเพื่อปกป้องความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาค รวมถึงหวังว่ามาตรการนี้จะจูงใจให้บริษัทรถยนต์ย้ายฐานการผลิตรถไฟฟ้ามายังยุโรปเพิ่ม

 

  • ทรัมป์เสนอแนวคิด 1. การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อชดเชยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางส่วน 2. ปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลจากปัจจุบันที่ 21% เหลือ 20% 3. การต่ออายุภาษีที่ปรับลดไปแล้ว

 

เราประเมินว่า 1. กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับผลกระทบจำกัดจากการที่ทางการสหรัฐฯ ควบคุมการส่งออก GAA หลังธุรกิจนี้ยังมีสัดส่วนไม่เยอะมาก รวมถึงอุปสงค์ AI นั้นไม่ได้มาจากจีนประเทศเดียว ทำให้ในภาพรวมกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ยังคงมีการเติบโตจากธุรกิจอื่นได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเยียวยาภาพการจำกัดการเข้าถึงชิป GAA 2. เรามองว่าผลกระทบอัตราภาษีต่อกลุ่ม EV จีนนั้นแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบริษัท โดย BYD มีผลกระทบจำกัดสุดในกลุ่ม และคาดว่าจีนจะตอบโต้ด้วยมาตรการสมดุล 3. มองข้อเสนอของทรัมป์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชนะการเลือกตั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้น เราประเมินกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากประเด็นนี้คือ HD, V, CMG, COST และ WMT

 

ขณะที่หากมองในภาพรวมนี้สะท้อนได้ว่า ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ยังปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การลงทุนยังคงมีความผันผวน เราจึงแนะมองกลุ่มเชิงรับอย่างกลุ่มการแพทย์ PFE และกลุ่มสินค้าจำเป็น WMT, COST เพื่อลดความเสี่ยงและความผันผวนพอร์ต

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด/สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์เงินสด/สภาพคล่อง มีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ หลัง Fed ส่งสัญญาณยังไม่ลดดอกเบี้ยจนกว่าจะแน่ใจว่าเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าที่ 2% นอกจากนี้เงินสด/สภาพคล่อง มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีอยู่ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ (ทั้งกับสหรัฐฯ และยุโรป) และข้อพิพาทบริเวณช่องแคบไต้หวัน


ตราสารหนี้/เงินฝากระยะยาว

 

คณะกรรมการ FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนมิถุนายน เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยส่งสัญญาณยังไม่ลดดอกเบี้ยจนกว่าจะแน่ใจว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืน โดย Dot Plot ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพียง 1 ครั้งในปี 2024 แม้ว่าการประชุม FOMC จะมีโทนที่ Hawkish ขึ้นจากการประชุมในเดือนมีนาคม แต่ตลาดได้ปรับความคาดหวังส่วนนี้ไปล่วงหน้าแล้ว โดย 10Y UST Yield น่าจะให้น้ำหนักกับ CPI ที่ต่ำกว่าคาดมากกว่า โดยปรับตัวลงกว่า 17 bps ในสัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับ 4.27%

 

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ในการประชุมล่าสุด โดย 10Y TGB Yield ยังไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แกว่งตัวแคบในกรอบ 2.7-2.8%/Real Yield ในปัจจุบันมีความน่าสนใจในการถือเพื่อรับ Income และมีความคุ้มค่าที่จะถือ เพื่อ Hedge ในกรณีที่เกิด Growth Shock (เศรษฐกิจโตต่ำกว่าคาด)

 

US Treasury & IG

 

Yield ตัวยาวปรับตัวลงแรงกว่าตัวสั้น ทำให้ Yield Curve พันธบัตรรัฐบาลปรับลดความชันลง, TGB Yield Curve ทรงตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติด, Spread ของ IG ยังทรงตัวตามคาด หลัง Supply ใหม่ยังชะลอตัว ด้านอัตราผลตอบแทนยังน่าสนใจ โดยเราชอบทั้ง US Treasury และ IG Bond Duration อายุ 2-4 ปี จากการที่ Fed อาจลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด และ Inverted Yield Curve

 

นอกจากนี้ผลตอบแทนเฉลี่ยยังอยู่ใกล้ 4.5-5.5% สูงกว่าที่ Fed ประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติระยะยาว (Long Run Normal Policy Rate) ที่ 2.6%

 

High Yield Bond

 

US HY Yield-to-Worst และ HY Spreads ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก และยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2023 เราคาดการณ์ว่า Spread ของ HY จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น และซัพพลายของการรีไฟแนนซ์ที่จะเริ่มออกมาในช่วงปลายปี 2024

 

สินทรัพย์ผสม/กึ่งหนี้กึ่งทุน/REIT

 

ในสภาวะที่ Spread ของ Public Credit (อย่างเช่น IG และ HY) ค่อนข้างแคบ การเพิ่ม REIT จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงิน (Income Return) ให้กับ Portfolio ได้ในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ/สินทรัพย์ผสม ช่วยลดความผันผวน เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ US REITs จาก

 

1. Valuation ที่ไม่แพง โดยมี P/BV ที่บริเวณ 2.0x ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่บริเวณ 2.3x

 

2. ดอกเบี้ยนโยบาย Fed ที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และมีแนวโน้มเริ่มปรับตัวลงในปีนี้

 

3. ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยบวกต่ออัตราการเช่าและแนวโน้มค่าเช่าของ REIT

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นยังมีปัจจัยกดดันจาก Yield Spread ที่แคบ

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

การกระจุกตัวของหุ้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังหุ้นกลุ่ม Quality Growth กลับมา Outperform ขณะที่ตลาดโดยรวมได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจาก Bond Yield ที่ปรับลงแรง

 

กลุ่มสาธารณูปโภคเป็นกลุ่มล่าสุดที่ได้รับประโยชน์จากกระแส AI

 

ตลาดกลับมาให้น้ำหนักการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในเดือนกันยายนอีกครั้ง หลังเคยมองว่าจะเป็นเดือนธันวาคม

 

ภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปใน 1Q24 ออกมาดีกว่าที่คาดค่อนข้างมาก ขณะที่จำนวนบริษัทที่ให้ Positive Guidance เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 1Q24 และกำไรของตลาดหุ้นในยุโรปกลับมาเป็นบวก QoQ ครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส

 

นโยบายการเงินของ BOJ ถึงแม้จะตึงตัวมากขึ้น แต่ยังน้อยกว่าตลาดคาด การกลับมาของเงินเฟ้อในญี่ปุ่นสนับสนุนการเติบโตของกำไรในระยะกลางถึงยาว

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

วัฏจักรของกำไรบริษัทจดทะเบียนกำลังเข้าสู่ช่วงเร่งตัวขึ้น และเริ่มเห็นการขยายตัวของกำไรกระจายตัวสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ จากที่เคยกระจุกตัวอยู่ใน IT, Consumer Service และ Consumer Discretionary โดยคาดการณ์ล่าสุด EPS (Earnings per Share) ในปี 2024 อยู่ที่ $250 (+13%YoY) และ ในปี 2025 อยู่ที่ $275 (+10%YoY)

 

การเร่งตัวของกำไรรายไตรมาส และ Financial Condition ที่ยังอยู่ในภาวะผ่อนคลาย จะเป็นตัวประคอง Valuation ของตลาด

 

หุ้นยุโรป

 

ตลาดหุ้นยุโรปมี Valuation ที่ไม่แพง และได้แรงหนุนจากทยอยลดดอกเบี้ยของ ECB ขณะที่ EPS มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น ตามโมเมนตัมเศรษฐกิจยุโรปที่ยังดี และเงินยูโรที่มีแนวโน้มอ่อนค่า โดยเราเน้นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงและมีงบดุลแข็งแกร่ง แม้ว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีน บนความเสี่ยงที่จีนอาจขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อตอบโต้ที่ทางยุโรปเตรียมเก็บภาษีนำเข้ารถ EV จากจีนเพิ่มเติม อาจกดดัน Sentiment ตลาดโดยรวมก็ตาม

 

หุ้นญี่ปุ่น

 

เราคาดกลุ่ม Value ญี่ปุ่นมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการปฏิรูปธรรมาภิบาลในญี่ปุ่น ที่จะหนุนการเพิ่มการซื้อหุ้นคืนและเพิ่มอัตราปันผล แล้วนำไปสู่ ROE กับ P/BV ที่ดีขึ้นตาม นอกจากนี้กลุ่ม Value ญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากการลดการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นของ BOJ ทั้งการทยอยขึ้นดอกเบี้ยต่อ และการลดการเข้าซื้อ JGB ลง ในระยะถัดไป

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

การเติบโตของ Global GDP ในปี 2024 ถูกปรับประมาณการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี สนับสนุนการขยายตัวของการค้าโลก และส่งผลให้หุ้น Value ที่มีอยู่มากในหุ้นกลุ่ม EM มีความน่าสนใจมากขึ้น โดย Valuation ของกลุ่ม EM ส่วนใหญ่ถูกกว่า DM ทั้งในแง่ของ FWD P/E และ P/BV และกำไรเติบโตมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ PMI และ GDP ของฝั่งตลาด EM มีภาพของการขยายตัวที่สูงกว่าตลาด DM

 

หุ้นอินเดีย

 

ในระยะสั้นตลาดอาจผันผวนจากการที่พรรคร่วมรัฐบาล NDA ได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งน้อยกว่าที่คาด (293 ที่นั่ง จากที่คาดไว้ 350-400 ที่นั่ง) ได้สร้างความกังวลต่อตลาด เรื่องความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการผ่านร่างนโยบายต่างๆ และอาจกระทบต่อความต่อเนื่องของนโยบายหลักที่สำคัญ อย่างไรก็ดี นโยบายภาคการลงทุนที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอินเดียจะดำเนินต่อไป แต่อาจมีนโยบายประชานิยมที่สนับสนุนภาคการบริโภคมากขึ้น

 

เราชอบหุ้นขนาดใหญ่มากกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง Valuation ที่ถูกกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กมาก และได้แรงหนุนจากเงินทุนจากต่างประเทศที่ฟื้นตัว บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ทำผลงานได้ดีกว่าเมื่อปีที่แล้วมีความเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไร เนื่องจากการประเมินมูลค่าที่สูง และการถูกตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นจาก ก.ล.ต. อินเดีย

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงพักฐานในระยะสั้น หลังปรับขึ้นมารวดเร็วบนความกังวลของสงคราม อย่างไรก็ดี ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนการถือครองทองคำในพอร์ตระยะยาว เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้ ประกอบกับเริ่มมีความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งประเทศหลักๆ ที่มีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ได้กระจายความเสี่ยง ลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองระหว่างประเทศ และมีความต้องการสะสมทองคำมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะกลางถึงยาว

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 17 มิ.ย. 2024

READ MORE



Latest Stories