World – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 27 Apr 2024 11:57:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ใครเป็นใครในการสู้รบเมียวดี ชายแดนไทย-เมียนมา https://thestandard.co/whos-who-in-the-myawaddy-battle/ Sat, 27 Apr 2024 12:00:41 +0000 https://thestandard.co/?p=927481

ตัวละครสำคัญในการสู้รบที่เมียวดี รัฐกะเหรี่ยงของเมียนมา […]

The post ใครเป็นใครในการสู้รบเมียวดี ชายแดนไทย-เมียนมา appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตัวละครสำคัญในการสู้รบที่เมียวดี รัฐกะเหรี่ยงของเมียนมา ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทย บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยขณะนี้การสู้รบเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ระหว่าง ‘กองทัพเมียนมา’ และ ‘กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์’ ที่นำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และพันธมิตรฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ แม้มีรายงานว่าบางจุดอย่างเมืองเมียวดีที่เคยเป็นพื้นที่สู้รบได้กลับมาสงบลงแล้วก็ตาม

 

และดูเหมือนว่า พ.อ. ชิต ตู่ ผู้นำกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) จะหันกลับไปจับมือกับกองทัพเมียนมาอีกครั้ง ด้วยการคุ้มกันและช่วยเปิดทางให้ทหารเมียนมากลับเข้าค่ายผาซอง หรือกองพันทหารราบที่ 275 ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของกองทัพในเมียวดีได้เมื่อช่วงกลางสัปดาห์นี้

 

การเลือกข้างของ พ.อ. ชิต ตู่ และกลุ่ม KNA จึงอาจเป็น ‘จุดเปลี่ยนสำคัญ’ ที่จะส่งผลต่อการสู้รบในเมียวดี รวมถึงสงครามกลางเมืองในเมียนมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

(ฝ่ายกองทัพเมียนมา)

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย

ผู้นำกองทัพและรัฐบาลทหารเมียนมา

ภาพ: STR / AFP

 

(ฝ่ายกองทัพเมียนมา)

กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF)

ภาพ: STR / AFP

 

(ฝ่ายกองทัพ หรือฝ่ายต่อต้าน?)

พ.อ. ชิต ตู่

ผู้นำกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA)

(กลุ่มกะเหรี่ยง BGF เดิม)

ภาพ: Karen Information Center 

 

ทุนจีนสีเทา

ใกล้ชิด พ.อ. ชิต ตู่

ภาพ: The Irrawaddy

 

(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)

พะโด ซอ กวยทูวิน

ผู้นำสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU)

ภาพ: The Irrawaddy

 

(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)

กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA)

ปีกทหารของ KNU

ภาพ: Karen National Union (KNU) / AFP

 

(ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร)

กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF)

ภายใต้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG)

ภาพ: Thierry Falise / LightRocket via Getty Images

 

The post ใครเป็นใครในการสู้รบเมียวดี ชายแดนไทย-เมียนมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
สหรัฐฯ เตรียมส่งขีปนาวุธ Patriot ให้ยูเครน ตามแพ็กเกจสนับสนุนด้านอาวุธที่เพิ่งอนุมัติ https://thestandard.co/us-prepares-to-send-patriot-missiles-to-ukraine/ Sat, 27 Apr 2024 08:22:59 +0000 https://thestandard.co/?p=927437

เพนตากอน หรือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา เร่งจัดส่งขีปนา […]

The post สหรัฐฯ เตรียมส่งขีปนาวุธ Patriot ให้ยูเครน ตามแพ็กเกจสนับสนุนด้านอาวุธที่เพิ่งอนุมัติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เพนตากอน หรือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา เร่งจัดส่งขีปนาวุธ Patriot มูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 แสนล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือยูเครนในยามขาดแคลนอาวุธและระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศ อย่างไรก็ตามขีปนาวุธที่เตรียมส่งมอบนี้จะไม่รวมระบบยิงขีปนาวุธด้วย

 

โดยขีปนาวุธดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจช่วยเหลือทางด้านการทหาร มูลค่ากว่า 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 ล้านล้านบาท) ที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพิ่งลงนามรับรองในร่างกฎหมายช่วยเหลือพันธมิตร เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา

 

ด้าน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ระบุว่า Patriot มีความจำเป็นอย่างมากต่อยูเครน ท่ามกลางภัยคุกคามทางอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศนี้จะมีส่วนสำคัญในการช่วยชีวิตผู้คนในยูเครนขณะนี้

 

ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เผยว่า ขีปนาวุธ Patriot อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ป้องกันการโจมตีทางอากาศ รวมถึงระบบต่อต้านโดรนและกระสุนปืนใหญ่จะถูกจัดส่งไปยังยูเครนในอนาคตอันใกล้นี้ 

 

นอกจากนี้งบประมาณบางส่วนที่ได้รับจากแพ็กเกจช่วยเหลือนี้จะถูกนำไปพัฒนาและเสริมสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของยูเครน เพื่อให้ยูเครนสามารถผลิตกระสุนปืนได้ตามต้องการมากยิ่งขึ้น 

 

โดยออสตินระบุว่า รัสเซียได้สั่งเพิ่มกำลังการผลิตอาวุธและกระสุนปืนภายในประเทศแล้ว อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านและเกาหลีเหนืออีกด้วย ซึ่งเขายืนยันว่า คำมั่นสัญญาที่สหรัฐฯ จะช่วยเหลือยูเครนนั้นเป็นเรื่องจริงและจะเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใดเลยก็ตาม

 

เวลานี้ยูเครนมีระบบขีปนาวุธ Patriot และ S-300 ซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ใช้มาตั้งแต่สมัยยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โดยระบบ Patriot แต่ละระบบมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.7 หมื่นล้านบาท) และขีปนาวุธแต่ละลูกมีมูลค่าเกือบ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 148 ล้านบาท) 

 

ช่วงตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ยูเครนเรียกร้องให้สหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกเร่งส่งความช่วยเหลือทางทหารให้แก่ยูเครนมากขึ้น หลังกระสุนสำรองของยูเครนใกล้จะหมด พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า ความล่าช้าในการช่วยเหลืออาจหมายถึงการเสียชีวิตและสูญเสียดินแดนของผู้คนจำนวนมากในยูเครน หลังสงครามครั้งนี้ดำเนินมานานกว่า 2 ปีกับอีก 2 เดือน

 

แฟ้มภาพ: Sgt. Alexandra Shea / U.S. Army Europe and Africa

อ้างอิง:

The post สหรัฐฯ เตรียมส่งขีปนาวุธ Patriot ให้ยูเครน ตามแพ็กเกจสนับสนุนด้านอาวุธที่เพิ่งอนุมัติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บลิงเคนเผย สหรัฐฯ พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าจีนอาจพยายามแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ https://thestandard.co/antony-blinken-beijing-visiit-china-us-relations-foreign-minister/ Sat, 27 Apr 2024 04:03:49 +0000 https://thestandard.co/?p=927364

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ […]

The post บลิงเคนเผย สหรัฐฯ พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าจีนอาจพยายามแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศอย่าง CNN ว่า สหรัฐฯ พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าจีนอาจพยายามที่จะมีอิทธิพลและแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้

 

บลิงเคนเผยข้อมูลดังกล่าว ก่อนเสร็จสิ้นภารกิจเดินทางเยือนจีนเพื่อเข้าพบเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมถึงสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เมื่อวานนี้ (26 เมษายน) ซึ่งนับเป็นการเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 ในรอบไม่ถึง 1 ปี ท่ามกลางความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองประเทศ

 

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ยังได้เน้นย้ำถึงข้อความที่โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสีจิ้นผิง ได้พูดคุยกันระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่ซานฟรานซิสโกเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาว่า จีนตกลงจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยสีจิ้นผิงให้คำมั่นว่าจะไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากจีนไม่สนับสนุนการแทรกแซงกิจการภายในประเทศต่างๆ

 

บลิงเคนระบุว่า “การแทรกแซงใดๆ ของจีนต่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างเด็ดขาด เราต้องการให้แน่ใจว่าความพยายามดังกล่าวจะยุติลงโดยเร็วที่สุด”

 

นอกจากนี้ บลิงเคนยังเรียกร้องให้จีนยุติการสนับสนุนรัสเซียในสงครามยูเครน และร่วมหาทางออกเพื่อช่วยยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา ขณะที่ทางการจีนยืนยันว่า จีนรักษาความเป็นกลางในสงครามรัสเซีย-ยูเครนมาโดยตลอด อีกทั้งยังแสดงบทบาทนำที่จะเสนอตัวเป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพอีกด้วย แม้ว่าจีนจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และการทูตกับรัสเซียมากยิ่งขึ้นในระยะหลังก็ตาม

 

ภาพ: Mark Schiefelbein / Pool via Reuters

อ้างอิง:

 

The post บลิงเคนเผย สหรัฐฯ พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าจีนอาจพยายามแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี พลังอำนาจทางทะเลของโลก เรือแต่ละลำสำคัญอย่างไร มีหน้าที่อะไร https://thestandard.co/uss-theodore-roosevelt/ Sat, 27 Apr 2024 02:49:20 +0000 https://thestandard.co/?p=927321 USS Theodore Roosevelt

“เมื่อข้อความแห่งวิกฤตเข้ามาในวอชิงตัน มันไม่ใช่เรื่องบ […]

The post กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี พลังอำนาจทางทะเลของโลก เรือแต่ละลำสำคัญอย่างไร มีหน้าที่อะไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
USS Theodore Roosevelt

“เมื่อข้อความแห่งวิกฤตเข้ามาในวอชิงตัน มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คำถามแรกที่ออกมาจากปากของทุกคนคือ เรือบรรทุกเครื่องบินที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน”

 

คำพูดนี้สะท้อนความสำคัญและพลานุภาพของมันได้เป็นอย่างดี เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดีบิล คลินตัน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1993 บนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt (CVN 71) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz ของกองทัพเรือสหรัฐฯ 

 

เรือลำเดียวกันนี้เองเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อแวะพักพร้อมกับเรือลำอื่นในกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 9 อีก 4 ลำ คือ USS Russell, USS Daniel K. Inouye, USS Halsey และ USS Howard เพื่อให้ทหารเรือกว่า 6,000 คนพักผ่อนและรับการส่งกำลังบำรุงที่ท่าเรือแหลมฉบังในจังหวัดชลบุรี

 

USS Theodore Roosevelt เป็นหนึ่งในเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz จำนวน 10 ลำที่ประจำการอยู่ในกองทัพเรือสหรัฐฯ และยังมีเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นใหม่ที่มาทดแทนคือ เรือ USS Gerald R. Ford เข้าประจำการแล้วเป็นลำแรก และจะต่อเข้าประจำการให้ครบ 10 ลำเพื่อทดแทนเรือชั้น Nimitz ทั้งหมด

 

เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นองค์ประกอบสำคัญของกองทัพเรือสหรัฐฯ และเป็นเครื่องมือทางทหารที่ทรงอานุภาพที่สุดที่มีแต่ประเทศมหาอำนาจเท่านั้นที่จะสามารถมีได้

 

สาเหตุง่ายๆ เลยคือเพราะมันแพง มันแพงไปหมดตั้งแต่ขั้นตอนสร้างไปจนถึงตอนใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เรือ USS Gerald R. Ford ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้งบประมาณในการต่อสูงถึง 1.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.7 แสนล้านบาท และจ่ายค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานปีละกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3.7 หมื่นล้านบาท ถือเป็นเรือรบที่แพงที่สุดเท่าที่เคยถูกต่อออกมา 

 

นี่ยังไม่นับเครื่องบินรบ เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน เครื่องบินลำเลียง และเฮลิคอปเตอร์ อีกเกือบ 80 ลำที่ต้องใช้เงินอีกเกือบ 4 แสนล้านบาท แม้แต่จีนเองที่เชื่อว่าทำอะไรได้ถูกกว่าคนอื่นทุกอย่างยังเชื่อกันว่าต้องจ่ายถึงเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

 

ดังนั้นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ถือเป็นเรือรบที่มีพลังอำนาจในการรบสูงสุดในทะเลจึงต้องได้รับการคุ้มกันอย่างดี จึงเป็นที่มาของการที่ต้องมีกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี ซึ่งประกอบกำลังจากเรือหลายชนิด เพื่อให้เรือบรรทุกเครื่องบินสามารถปฏิบัติงานได้ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด

 

กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี หรือ Carrier Strike Group ของสหรัฐอเมริกาจะประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ พร้อมฝูงบินแบบต่างๆ อีกสูงสุด 9 ฝูงบิน พร้อมเรือผิวน้ำที่ทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศและผิวน้ำให้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งอาจจะเป็นเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga หรือเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke รวม 3-5 ลำ ซึ่งเป็นเรือที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis และมีขีดความสามารถในการยิงจรวด ทั้งจรวดต่อสู้อากาศยานอย่าง ESSM และจรวดที่มีขีดความสามารถในการต่อต้านขีปนาวุธ เช่น SM-2ER, SM-3, SM-6 หรือแม้แต่จรวดร่อนอย่าง Tomahawk อย่างเช่น ในกรณีของเรือ USS Theodore Roosevelt ที่มาแวะพักในประเทศไทยในครั้งนี้ก็มาพร้อมเรือคุ้มกัน 4 ลำเช่นกัน

 

เรือคุ้มกันมีหน้าที่ทำการรบเสริมกับอากาศยานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน เช่น การปราบเรือดำน้ำ การต่อสู้กับเรือผิวน้ำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือในการยิงสกัดจรวดต่างๆ ที่หลุดรอดเข้ามาในกองเรือ ยิ่งหลักการโจมตีเรือรบในสมัยนี้จะใช้การยิงจรวดจำนวนมากๆ เพื่อทำให้ระบบป้องกันภัยของเรือไม่สามารถรับมือได้อยู่ (Saturation Attack) เรือคุ้มกันเหล่านี้จึงต้องยิงจรวดเพื่อสกัดให้ได้ทีละหลายๆ นัด

 

นอกจากนั้นยังมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ราว 1-2 ลำในภารกิจ ทั้งการต่อต้านเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ แต่การเดินทางมักจะเป็นความลับ ไปจนถึงเรือส่งกำลังบำรุงสำหรับเพิ่มเติมน้ำมัน อาวุธ กระสุน และสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่เรือและเครื่องบินในกองเรือจำเป็นต้องใช้งานอีกด้วย

 

ในการปฏิบัติงานจริง เรือคุ้มกันจะไม่ได้อยู่ข้างเรือบรรทุกเครื่องบินทุกลำ แต่จะมีบางลำเดินทางห่างออกไปจากกองเรือหลัก เพื่อทำหน้าที่เป็นฉากแรกในการสกรีนการบุกของฝ่ายตรงข้ามด้วย

 

ในสงครามขนาดใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการบุก สหรัฐอเมริกามักจะใช้กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีหลายกองเรือเข้าไปลอยลำในน่านน้ำของประเทศเป้าหมาย เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นเสมือนฐานบินลอยน้ำที่สามารถเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก และใช้เครื่องบินรบในการเริ่มปฏิบัติการและเข้าครองอากาศตามหลักการสงครามที่ว่า การที่ผู้ใดครองอากาศได้จะมีความได้เปรียบในการทำสงคราม โดยเครื่องบินขับไล่บนเรือบรรทุกเครื่องบินจะประกอบไปด้วยเครื่องบิน F/A-18E/F และ F-35C ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ นอกจากนั้นยังมี F/A-18G ทำหน้าที่เป็นเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์และกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินควบคุมและสั่งการ E-2D ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนควอเตอร์แบ็กในการควบคุมสงครามทางอากาศจากเรือบรรทุกเครื่องบิน

 

ถ้าถามว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี 1 กองเรือนั้นมีศักยภาพมากขนาดไหน อยากให้ลองหลับตานึกถึงกองทัพอากาศและกองทัพเรือไทยเราจะพบว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ บรรทุกเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์ที่มีจำนวนมากพอๆ กับกองทัพอากาศไทยทั้งกองทัพ ส่วนเรือผิวน้ำที่ทำหน้าที่คุ้มกันจำนวน 3-5 ลำนั้นมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือหลวงจักรีนฤเบศรหรือใหญ่เป็น 2 เท่าของเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นเรือฟริเกตที่ดีที่สุดของไทย รวมถึงเรือดำน้ำที่กองทัพเรือไทยก็ไม่มี ยังไม่นับว่าทั้งเรือและอากาศยานของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีมีความทันสมัยกว่าเรือและอากาศยานของไทยแบบเทียบกันไม่ได้

 

จึงไม่น่าแปลกที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีจะต้องมีนายทหารยศพลเรือตรีเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งจะเดินทางไปกับกองเรือตลอดเวลา โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีจะขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการกองทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 9 ของ USS Theodore Roosevelt นี้ขึ้นการบังคับบัญชากับผู้บัญชาการกองทัพเรือที่ 7 ยศพลเรือโท ซึ่งดูแลน่านน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียทั้งหมด

 

เรือบรรทุกเครื่องบินจึงเป็นพลังอำนาจขั้นสูงสุดที่ยากจะมีใครต้านทาน โดยมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่แบบนี้ประจำการ และถ้าเรายังเชื่อทฤษฎีที่ว่า ผู้ที่ควบคุมทะเลคือผู้ที่ควบคุมโลก เรือบรรทุกเครื่องบินจึงยังเป็นเครื่องมือสำคัญของประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในการเสริมสร้างพลังอำนาจและแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติตนไปอีกนาน

 

ภาพ: Anthony J. Rivera / US NAVY / AFP

The post กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี พลังอำนาจทางทะเลของโลก เรือแต่ละลำสำคัญอย่างไร มีหน้าที่อะไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
สงครามกลางเมืองเมียนมา ตรงไหนยังเป็นจุดสู้รบเดือด อนาคตที่ยังมืดมน? https://thestandard.co/ongoing-clashes-in-myanmar/ Fri, 26 Apr 2024 10:55:45 +0000 https://thestandard.co/?p=927200 สงครามกลางเมือง เมียนมา

การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมา และกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบ […]

The post สงครามกลางเมืองเมียนมา ตรงไหนยังเป็นจุดสู้รบเดือด อนาคตที่ยังมืดมน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
สงครามกลางเมือง เมียนมา

การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมา และกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ แม้มีรายงานว่าบางจุดอย่างเมืองเมียวดีที่เคยเป็นพื้นที่สู้รบได้กลับมาสงบลงแล้วก็ตาม

 

รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมา กล่าวกับ THE STANDARD ว่า การสู้รบส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ของรัฐชาติพันธุ์ ได้แก่ รัฐกะฉิ่น, รัฐชิน, รัฐอาระกัน (ยะไข่), รัฐฉาน, รัฐกะยา, รัฐกะเหรี่ยง และกระจัดกระจายในบางพื้นที่ของรัฐมอญ รวมถึงภาคพะโคและภาคตะนาวศรี ซึ่งมีชาวเมียนมาอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

 

โดยพื้นที่ที่มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดในช่วงเวลานี้คือ รัฐยะไข่ รัฐกะฉิ่น และแถบจังหวัดเมียวดี ในรัฐกะเหรี่ยง 

 

รัฐยะไข่

 

สื่อท้องถิ่นเมียนมาอย่าง The Irrawaddy รายงานว่า กองทัพอาระกัน (AA) เคลื่อนพลไปทั่วรัฐยะไข่ นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวอย่างไม่เป็นทางการกับกองทัพเมียนมายุติลง เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 

 

โฆษกกองทัพชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่เผยว่า ขณะนี้การสู้รบระหว่างกลุ่มต่อต้านและกองทัพเมียนมาเป็นไปอย่างดุเดือด พร้อมกับยอมรับว่า “นี่เป็นช่วงเวลาวิกฤต” ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จะกำหนดอนาคตของรัฐยะไข่

 

จากกลุ่มกองกำลังที่ฝึกกำลังพลบนยอดเขาในรัฐกะฉิ่น ได้พัฒนาเป็นหนึ่งในกองทัพชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดของเมียนมา โดยกองทัพ AA ได้เข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 ด้วยความมุ่งหวังที่อยากจะผลักดันให้ (อย่างน้อยที่สุด) รัฐยะไข่ได้กลายเป็น ‘สมาพันธรัฐ’ (Confederation State)

 

ขณะนี้กองทัพ AA และพันธมิตรฝ่ายต่อต้านมีอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในรัฐยะไข่ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนเหนือ รวมถึงบางเมือง บางหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในรัฐข้างเคียงอย่างรัฐชิน ขณะที่กองกำลังทหารเมียนมากระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ของรัฐยะไข่เท่านั้น

 

รัฐกะฉิ่น

 

กองทัพเอกราชกะฉิ่น (KIA) และกองกำลัง PDF (ปีกทหารของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติหรือ NUG) ยึดด่านหน้าและเส้นทางเข้าด่านของรัฐบาลทหารเมียนมา ที่ตั้งอยู่ในเมืองพะกัน (Hpakant) รัฐกะฉิ่นได้ หลังปะทะกันต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์ โดยสื่อท้องถิ่นเมียนมารายงานว่า กองทัพเมียนมาจัดส่งโดรนและกระสุนปืนผ่านการขนส่งทางอากาศ เพื่อช่วยเหลือทหารเมียนมาซึ่งประจำอยู่ที่ด่านดังกล่าว ก่อนที่ทหารเมียนมาจำนวนมากจะหลบหนีออกจากด่าน หลังต้านกองกำลังฝ่ายต่อต้านไม่ไหว

 

ขณะนี้เส้นทางสัญจรที่สำคัญในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกับแหล่งแร่หยกของเมืองพะกัน ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้าน โดยการปะทะกันยังคงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ รัฐบาลทหารยังคงโจมตีทางอากาศ และวางเพลิงหมู่บ้านที่เชื่อว่า เป็นฐานที่มั่นของกองกำลังชาติพันธ์ุ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่น้อย

 

รัฐกะเหรี่ยง

 

วิโรจน์ เลิศจิตต์ธรรม ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พรมแดนไทย-เมียนมา เผยว่า ในฝั่งเมียวดีของรัฐกะเหรี่ยงขณะนี้ กองกำลัง KNU และ PDF ได้ถอนกำลังออกจากตัวเมืองเมียวดีแล้ว แต่ยังคงปักหลักอยู่ในพื้นที่รอบนอก ขณะที่บรรดาผู้อพยพชาวเมียนมาที่หนีภัยมายังแม่สอดทั้งหมดเดินทางกลับไปยังฝั่งเมียนมา ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา 

 

แม้ช่วงกลางดึกจะมีเสียงระเบิดดังขึ้นเป็นระยะ โดยคนในพื้นที่ระบุว่า เกิดจากเครื่องบินกองทัพโจมตีทางอากาศถล่มฐานที่มั่นของกลุ่มต่อต้านนอกเมืองเมียวดี แต่สถานการณ์โดยรวมบริเวณพรมแดนทั้งสองประเทศยังเป็นไปด้วยความสงบ และมีความพยายามที่จะเจรจาต่อรองเพื่อเปิดพื้นที่การค้าตามแนวชายแดนอีกครั้ง โดยเฉพาะด่านการค้าฝั่งเมียนมา บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปะทะกันเมื่อหลายวันก่อน 

 

เมียวดียังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ พ.อ. ชิต ตู่ ผู้นำกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) สังกัดกองทัพเมียนมา และหวนกลับมาจับมือกับกองทัพอีกครั้ง หลังเคยประกาศตัดสัมพันธ์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย KNA ช่วยคุ้มกันและเปิดทางให้ทหารเมียนมากลับเข้ากองพัน 275 ได้อีกครั้ง เพราะถูกกองทัพขู่จะถล่มเมืองชเวโก๊กโก่ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้และผลประโยชน์ที่สำคัญของ พ.อ. ชิต ตู่ และกลุ่ม KNA ที่ได้จากการร่วมลงทุนกับทุนจีนสีเทา โดย รศ.ดร.ดุลยภาค เชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็น ‘จุดเปลี่ยน’ ของการสู้รบในเมียวดี

 

พื้นที่สู้รบอื่นๆ 

 

สื่อท้องถิ่นเมียนมายังรายงานว่า กองกำลังฝ่ายต่อต้านในรัฐกะยาหรือรัฐกะเหรี่ยงแดงควบคุมพื้นที่ของรัฐได้มากกว่า 90% โดยผู้แทนสภาบริหารชั่วคราวแห่งรัฐกะยา (IEC) ได้ประกาศว่า 2024 เป็นปีที่นักรบฝ่ายต่อต้านจะได้กลับบ้านเกิด พร้อมตั้งเป้าเอาชนะฐานที่มั่นของรัฐบาลทหารเมียนมาในเมืองพะซอง (Hpasawng) และเมือง Moebye รวมถึงฐานที่มั่นอื่นๆ อีก 6 แห่ง เพื่อขยายเขตอิทธิพลให้ครอบคลุมทั่วทั้งรัฐกะยา

 

ฝ่ายกองทัพเมียนมายังสูญเสียฐานที่มั่นอีกหนึ่งแห่งในภาคตะนาวศรี ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศไทย ให้กับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร หลังกลุ่มต่อต้านและกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) เปิดฉากโจมตีที่มอทา (Maw Hta) ในเมืองทวาย เขตตะนาวศรี ทางตอนใต้สุดของเมียนมา และสามารถยึดฐานทัพดังกล่าวได้สำเร็จเมื่อช่วงกลางสัปดาห์นี้ 

 

แฟ้มภาพ: V-Victory / Shutterstock 

อ้างอิง:

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post สงครามกลางเมืองเมียนมา ตรงไหนยังเป็นจุดสู้รบเดือด อนาคตที่ยังมืดมน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
รายงานชี้ สมาชิกรัฐสภาอาเซียนตกเป็นเป้าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายรูปแบบ https://thestandard.co/violating-human-rights-of-politicians/ Fri, 26 Apr 2024 04:56:56 +0000 https://thestandard.co/?p=926993

รายงานล่าสุดว่าด้วยสมาชิกรัฐสภาที่มีความเสี่ยง (Parliam […]

The post รายงานชี้ สมาชิกรัฐสภาอาเซียนตกเป็นเป้าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

รายงานล่าสุดว่าด้วยสมาชิกรัฐสภาที่มีความเสี่ยง (Parliamentarians at Risk) โดยสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR) ชี้ว่า หลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน โดยเฉพาะเมียนมา สมาชิกและอดีตสมาชิกรัฐสภายังคงตกเป็นเป้าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายรูปแบบ

 

เมอร์ซี บาเรนดส์ ประธาน APHR และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ระบุว่า “ความสามารถของสมาชิกรัฐสภาที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนแสดงความคิดเห็นและกระทำการใดๆ ตามสิทธิที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการตรวจสอบอำนาจและเสริมสร้างประชาธิปไตย” พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนกลุ่มนี้

 

ในปี 2023 สมาชิกรัฐสภาในอาเซียนยังคงเผชิญกับภัยคุกคามทางการเมือง โดยเมียนมาเป็นประเทศที่สมาชิกรัฐสภาถูกคุกคามอย่างเลวร้ายที่สุด สมาชิกรัฐสภาจำนวน 74 คนยังคงถูกควบคุมตัว หลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหาร ซึ่งในจำนวนนี้ 73 คน เป็นสมาชิกรัฐบาลพลเรือนที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 จากพรรค NLD ภายใต้การนำของ ออง ซาน ซูจี

 

นอกจากเมียนมาแล้ว รัฐบาลในหลายชาติอาเซียนยังคงใช้ช่องโหว่ของกระบวนการยุติธรรมคุกคามสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ ที่มักจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม บางคนถึงกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์

 

ขณะที่ไทยและกัมพูชา เป็นสองประเทศที่จัดการเลือกตั้งครั้งสำคัญขึ้นในปีที่แล้ว แต่พลเรือนของทั้งสองประเทศกลับไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิของพวกเขาได้อย่างเสรี เพื่อเลือกผู้นำทางการเมืองคนใหม่ที่พวกเขาต้องการได้ ทั้งจากการข่มขู่ทางร่างกาย การใช้อำนาจศาลหรือกลไกของรัฐที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งขัดขวางไม่ให้เจตจำนงของประชาชนบรรลุผล

 

รายงานฉบับนี้ระบุว่า ในการเลือกตั้งกัมพูชาเมื่อปี 2023 การลงคะแนนเสียงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบการปกครองของฮุน เซน ที่ครองอำนาจนำในการเมืองกัมพูชามานานเกือบ 4 ทศวรรษ โดยพรรคแสงเทียน พรรคฝ่ายค้านที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาถูกตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่ายื่นเอกสารที่จำเป็นไม่ครบถ้วน นอกจากนี้รัฐบาลฮุน เซน ยังได้โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและพรรคฝ่ายค้านอย่างต่อเนื่อง

 

ขณะที่ในประเทศไทย พรรคก้าวไกลถูกสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ขัดขวางไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล แม้พรรคก้าวไกลจะชนะการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 และครองที่นั่งในสมาชิกมากที่สุดในช่วงเวลานั้น อีกทั้ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกลที่ได้รับเสียงสนับสนุนถล่มทลายจากประชาชน ยังถูกขัดขวางไม่ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีความพยายามที่จะใช้กระบวนการทางกฎหมายจัดการกับนักการเมืองหัวก้าวหน้าจากพรรคก้าวไกล เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับสมาชิกพรรคอนาคตใหม่

 

ส่วนในมาเลเซีย APHR ก็มีความกังวลต่อความพยายามลิดรอนสิทธิของสมาชิกรัฐสภาผ่านกลไกทางศาลและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด โดยเฉพาะพระราชบัญญัติยุยงปลุกปั่น ซึ่งอาจต้องโทษจำคุก 3-7 ปี สำหรับความผิดที่ใช้ถ้อยคำคลุมเครือ รวมถึงการกระทำที่มีแนวโน้มยุยงปลุกปั่นต่อรัฐบาลมาเลเซีย 

 

APHR จึงเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหุ้นส่วนระหว่างประเทศเพิ่มความพยายามร่วมกันในการปกป้องสมาชิกรัฐสภาชาติอาเซียนที่ตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะ APHR เชื่อว่ารัฐสภามีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงมีความสำคัญสูงสุดที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตอบโต้จากรัฐบาล

 

แฟ้มภาพ: APHR

อ้างอิง:

The post รายงานชี้ สมาชิกรัฐสภาอาเซียนตกเป็นเป้าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แอนโทนี บลิงเคน เยือนจีน เรียกร้องเปิดพื้นที่ให้ธุรกิจอเมริกันแข่งขันเท่าเทียม คาดพบสีจิ้นผิงวันนี้ https://thestandard.co/anthony-blinken-visit-china/ Fri, 26 Apr 2024 04:36:23 +0000 https://thestandard.co/?p=926935 แอนโทนี บลิงเคน

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ […]

The post แอนโทนี บลิงเคน เยือนจีน เรียกร้องเปิดพื้นที่ให้ธุรกิจอเมริกันแข่งขันเท่าเทียม คาดพบสีจิ้นผิงวันนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แอนโทนี บลิงเคน

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่างทริปเยือนจีน ได้ออกมาเรียกร้องให้จีนจัดพื้นที่แข่งขันที่เท่าเทียมกันสำหรับแรงงานและธุรกิจของชาวอเมริกัน ก่อนที่จะร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนในลำดับต่อไป รวมถึง สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการพบปะกันในช่วงบ่ายวันนี้ (26 เมษายน) 

 

โดยวานนี้ (25 เมษายน) บลิงเคนได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง หลังจากที่เข้าหารือกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในย่านการเงินของนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีบริษัทสัญชาติอเมริกันกว่า 1,000 แห่งลงหลักปักฐานอยู่ที่นี่ ขณะที่ แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ระหว่างที่บลิงเคนประชุมกับ เฉินจีหนิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเซี่ยงไฮ้ บลิงเคนได้ออกตัวสนับสนุนให้บริษัทอเมริกันได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม

 

“ในการแลกเปลี่ยนที่สร้างสรรค์และตรงไปตรงมา ท่านรัฐมนตรีได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับนโยบายการค้าของจีนและแนวปฏิบัติทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ตลาด (Non-market Economic Practices) และย้ำว่า สหรัฐฯ แสวงหาการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ดีกับจีนและพื้นที่แข่งขันที่เท่าเทียมกันสำหรับแรงงานและบริษัทของสหรัฐฯ ที่ดำเนินงานในจีน” มิลเลอร์ระบุ

 

ภายหลังจากที่มีคำกล่าวของบลิงเคนออกมา หวังเหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ก็ได้ออกมาตอบโต้ผ่านผู้สื่อข่าวว่า ฝั่งจีนได้ดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าตามหลักการของตลาดมาโดยตลอด

 

ขณะที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา บลิงเคนได้หารือกับ หวังอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน โดยเป็นการหารือแบบปิด ซึ่งทั้งสองจะพูดคุยกันในหลายประเด็นที่มีความซับซ้อน รวมถึงประเด็นที่จีนสนับสนุนรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครนด้วย

 

ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจในช่วงเช้า คาดว่าบลิงเคนจะเดินทางไปพบสีจิ้นผิง ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับสหรัฐฯ ในช่วงเย็นวันนี้ อย่างไรก็ตาม ทางการของทั้งสองประเทศยังไม่มีรายงานยืนยันที่แน่ชัด

 

ถึงแม้สหรัฐอเมริกาและจีนจะมีประเด็นที่ขัดแย้งกันอยู่ในหลายมิติ แต่บลิงเคนก็ได้เปิดฉากทริปเยือนจีนในสัปดาห์นี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมโดยตรงกับจีน ซึ่งเขามองว่าเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับประเด็นต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งสองชาติ รวมถึงนานาประเทศทั่วโลก

 

ภาพ: Mark Schiefelbein / Pool via Reuters

อ้างอิง:

The post แอนโทนี บลิงเคน เยือนจีน เรียกร้องเปิดพื้นที่ให้ธุรกิจอเมริกันแข่งขันเท่าเทียม คาดพบสีจิ้นผิงวันนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล https://thestandard.co/on-this-day-26041986/ Fri, 26 Apr 2024 03:23:52 +0000 https://thestandard.co/?p=926913 เชอร์โนบิล

26 เมษายน 1986 คือวันที่หายนะใหญ่คืบคลานมาสู่สหภาพโซเวี […]

The post ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชอร์โนบิล

26 เมษายน 1986 คือวันที่หายนะใหญ่คืบคลานมาสู่สหภาพโซเวียต มันคือวันที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด กลายเป็นอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1977 ท่ามกลางช่วงเวลาที่รัฐบาลโซเวียตทุ่มเงินมหาศาลเพื่อพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์หลังผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองพริเพียตของสหภาพโซเวียต หรือปัจจุบันคือทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส โดยมีเตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องด้วยกัน 

 

25 เมษายน 1986 พนักงานดำเนินการทดสอบเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ตามกำหนดการซ่อมบำรุงปกติ เพื่อทดสอบว่าระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่หากระบบไฟฟ้าถูกตัด อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการทดสอบ พนักงานฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย ทำให้ไม่สามารถควบคุมกำลังของเครื่องปฏิกรณ์ได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากข้อผิดพลาดทางเทคนิคในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน เมื่อเกิดความร้อนและแรงดันสูงจนเครื่องปฏิกรณ์รับไม่ได้ ในที่สุดแกนเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ก็หลอมละลาย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ภายใน และระเบิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน 1986 ปลดปล่อยกัมมันตรังสีออกสู่ชั้นบรรยากาศ และตกลงในหลายพื้นที่ของสหภาพโซเวียต รวมถึง รัสเซีย เบลารุส และทางเหนือของยุโรป

 

เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตทันที 31 คน และบาดเจ็บมากกว่า 100 คน แต่ในระหว่างเกิดเหตุรัฐบาลโซเวียตยังไม่ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนในเมืองพริเพียต เมืองต้นแบบที่รัฐบาลโซเวียตสร้างขึ้นในปี 1970 สำหรับบุคลากรชั้นนำกว่า 50,000 คนที่ทำงานในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร กระทั่ง 36 ชั่วโมงต่อมาจึงออกประกาศให้ประชาชนนับหมื่นคนอพยพ โดยให้นำข้าวของที่จำเป็นเท่านั้นติดตัวไป และไม่มีใครได้กลับมาอีกเลย

 

ในช่วงแรกนั้น สหภาพโซเวียตปิดเรื่องนี้เป็นความลับ แต่ฝุ่นกัมมันตรังสีที่พวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศถูกกระแสลมพัดพาไปบริเวณกว้าง และลอยไปไกลจนถึงสวีเดน ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบระดับรังสีที่สูงผิดปกติ กดดันให้รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมออกมาอธิบายเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 1986 

 

ตัวเลขอย่างเป็นทางการของผู้ได้สัมผัสกับรังสีปริมาณสูงมีอย่างน้อย 600,000 คน รวมถึงนักดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาเก็บกวาดดูแลหลังเกิดเหตุ นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีกเกือบ 8.4 ล้านคนในเบลารุส รัสเซีย และยูเครน ที่ได้รับรังสีด้วย

 

หนึ่งในผลกระทบสืบเนื่องคือ ปัญหาสุขภาพของประชาชนในระยะยาว โดยเฉพาะมะเร็งไทรอยด์ การที่รัฐบาลไม่เปิดเผยสถานการณ์จริงในทันที ทำให้ผู้คนหายใจเอาอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นกัมมันตภาพรังสีเข้าไปนานกว่าสัปดาห์ ส่งผลให้ลูกของคนที่ประสบกับเหตุการณ์ตรง ซึ่งจะมีอายุราว 30 ปีในปัจจุบัน มีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งไทรอยด์สูงผิดปกติ 

 

การระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลทำให้เกิดการแพร่กระจายของรังสีที่มีอนุภาคมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 100 เท่า นับเป็นหายนะจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงมากที่สุดในโลก และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การอพยพย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อม รวมถึงการตั้งคำถามต่อการใช้พลังงานนิวเคลียร์

 

เชอร์โนบิล เชอร์โนบิล

 

อ้างอิง:

The post ON THIS DAY: 26 เมษายน 1986 หายนะเชอร์โนบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทหารยังคุมเข้มชายแดนแม่สอด แม้การสู้รบเมียวดีจะสงบ https://thestandard.co/soldier-still-in-charge-mae-sot-boarder/ Fri, 26 Apr 2024 02:27:49 +0000 https://thestandard.co/?p=926860 แม่สอด

ทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ยังคงประจำการดูแ […]

The post ทหารยังคุมเข้มชายแดนแม่สอด แม้การสู้รบเมียวดีจะสงบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แม่สอด

ทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ยังคงประจำการดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แม้การสู้รบในฝั่งเมืองเมียวดีที่อยู่ตรงข้ามจะสงบลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

 

โดยสถานการณ์ล่าสุดยังปรากฏความเคลื่อนไหวที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะจากท่าทีของกลุ่มกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังทหารเมียนมา ที่อาจมีการสู้รบปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ

 

แม่สอด แม่สอด

The post ทหารยังคุมเข้มชายแดนแม่สอด แม้การสู้รบเมียวดีจะสงบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองกำลัง KNA หวนจับมือกองทัพเมียนมา อนาคตเมียวดีจะเป็นอย่างไร? https://thestandard.co/kna-returns-to-join-with-myanmar-army/ Thu, 25 Apr 2024 09:51:11 +0000 https://thestandard.co/?p=926716

หลังจากที่ปรากฏภาพว่า กองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) ภ […]

The post กองกำลัง KNA หวนจับมือกองทัพเมียนมา อนาคตเมียวดีจะเป็นอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่ปรากฏภาพว่า กองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNA) ภายใต้การนำของ พ.อ. ชิต ตู่ ได้ช่วยเปิดทางให้กองทัพเมียนมากลับมาคุมกองพันทหารราบ 275 ในจังหวัดเมียวดี ใกล้กับชายแดนไทยได้อีกครั้ง ได้สร้างความไม่พอใจให้กับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) รวมถึงกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งเป็นปีกกองทัพของ KNU และพันธมิตรฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาเป็นอย่างมาก

 

เดิมทีกองกำลัง KNA คือกองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยง (Karen BGF) ที่เคยสังกัดกองทัพเมียนมา แต่ในเดือนมีนาคม KNA ได้ประกาศตัดสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารเมียนมา จัดตั้งกลุ่ม KNA ขึ้นแทนกลุ่ม BGF 

 

KNA หวนจับมือกองทัพเมียนมา

 

รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเมียนมา กล่าวกับ THE STANDARD ว่า ทหารเมียนมาใช้กลยุทธ์ใหม่ นั่นคือ ข่มขู่จะทำลายล้างเมืองชเวโก๊กโก่ ซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลประโยชน์และแหล่งรายได้ของ พ.อ. ชิต ตู่ และกลุ่ม KNA ที่ร่วมลงทุนกับกลุ่มทุนจีนสีเทา

 

สิ่งที่เกิดขึ้น ‘ไม่ใช่เรื่องใหม่’ ในการสู้รบในเมียนมา ทั้งหมดเป็นเรื่องของพัฒนาการการสู้รบและการต่อรองผลประโยชน์ ที่ผ่านมากองทัพเมียนมาเสียเปรียบ ค่าน้ำหนักในการต่อรองของฝ่าย KNU และพันธมิตรจึงพุ่งสูงขึ้น แต่เมื่อรัฐบาลทหารขู่ที่จะทำลายผลประโยชน์ของกลุ่ม KNA จึงอาจเกิดการเจรจาต่อรองใหม่ เพื่อให้กลุ่ม KNA เอนกลับมาหากองทัพเมียนมาอีกครั้ง

 

โดย รศ.ดร.ดุลยภาค เชื่อว่า จุดนี้จะเป็น ‘จุดเปลี่ยนที่สำคัญ’ สำหรับการสู้รบในเมียวดี

 

ตัวละครสำคัญในรัฐกะเหรี่ยง

 

ฝ่ายกองทัพเมียนมา

  • มีแม่ทัพภาคอยู่ที่มะละแหม่ง (รัฐมอญ) และมีผู้บังคับบัญชากองพล 22 และ 44
  • กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ซึ่งมีหลายกลุ่มมากตามแนวชายแดน โดยหนึ่งในนั้นแถวเมียวดี เป็นอดีตกลุ่ม BGF ที่นำโดย พ.อ. ชิต ตู่ ซึ่งมีกำลัง 6,000-8,000 คน จึงทำให้การเลือกข้างของ พ.อ. ชิต ตู่ มีผลอย่างมากต่อการสู้รบในเมียวดี

 

กลุ่มทุนจีนสีเทา 

  • เข้าไปลงทุนในเมืองชเวโก๊กโก่และเคเคพาร์ก มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม พ.อ. ชิต ตู่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุนตัวเอง

 

ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา

  • สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) โดยมีปีกการเมืองคือ กลุ่มผู้นำและเลขาธิการ KNU และมีปีกการทหารคือ กองกำลัง KNLA 
  • กองกำลังปกป้องประชาชน (PDF) ในนามของรัฐบาล NUG ก็มาร่วมรบกับกลุ่ม KNU เพื่อขับไล่ทหารเมียนมาในพื้นที่แถบนี้ 

 

เป้าหมายของกองกำลังชาติพันธุ์ในรัฐกะเหรี่ยง

 

รศ.ดร.ดุลยภาค อธิบายว่า พวกเขามีความต้องการตรงกัน นั่นคือ การเปลี่ยนให้รัฐกะเหรี่ยงเป็น ‘สหพันธรัฐประชาธิปไตย’ มีอำนาจของรัฐบาลรัฐกะเหรี่ยง บริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างอิสระมากยิ่งขึ้น อนุรักษ์อัตลักษณ์และวัฒนธรรมได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล NUG จึงนำไปสู่การร่วมมือกัน

 

แต่กลุ่ม KNA ภายใต้การนำของ พ.อ. ชิต ตู่ มีลักษณะเป็นกลุ่มเฉพาะ เพราะถึงแม้ว่าจะมีเรือธงอยากได้รูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐประชาธิปไตย และลดอำนาจทหารเมียนมาลง แต่ผลประโยชน์ในพื้นที่ของพวกเขาจะต้องมาเป็นอันดับแรก ถ้าผลประโยชน์ของกลุ่ม KNA ได้รับผลกระทบ พ.อ. ชิต ตู่ อาจเลือกเจรจาต่อรองและให้กองทัพเมียนมาคุ้มครองผลประโยชน์ของพวกเขา

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.ดุลยภาค ยังระบุอีกว่า ในปีกนักรบของกลุ่ม KNU ลึกๆ แล้วต้องการก่อตั้ง ‘รัฐอิสระ’ โดยมีกลุ่มที่ต้องการสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตย และยังอยู่ในเมียนมา กับกลุ่มที่ต้องการแยกประเทศขึ้นใหม่ โดยปกครองด้วยระบอบสหพันธรัฐประชาธิปไตย ภายใต้ชื่อ ‘ประเทศกอทูเล’

 

สถานการณ์ล่าสุดในเมียวดี

 

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมียวดียังคงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่ม KNU และกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา แม้ในขณะนี้ กองกำลัง KNA ของ พ.อ. ชิต ตู่ จะช่วยคุ้มกันและเปิดทางให้กองทัพเมียนมากลับเข้าสู่กองพัน 275 และชักธงชาติเมียนมาขึ้นสู่ยอดเสาได้อีกครั้งก็ตาม 

 

โดย รศ.ดร.ดุลยภาค เน้นย้ำว่า สมรภูมิรบไม่ได้อยู่ที่ตัวเมืองเมียวดีอย่างเดียว แต่ยังกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ แถบแม่น้ำเมยด้วยเช่นกัน โดยพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐก็ยังคงสู้รบและชิงความได้เปรียบกันอยู่

 

ทุนจีนในสงครามกลางเมืองเมียนมา

 

อิทธิพลของกลุ่มทุนจีนสีเทาเข้มข้นขึ้นอย่างมาก บรรดาเมืองสำคัญอย่างชเวโก๊กโก่ ทางตอนเหนือของเมียวดี รวมถึงเคเคพาร์ก ทางตอนใต้ของเมียวดี ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนของกลุ่มทุนจีนเหล่านี้ แทบไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมืองในเมียนมา โดยเฉพาะในรัฐกะเหรี่ยงแต่อย่างใด สะท้อนถึงอิทธิพลและอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์ที่มีสูงมาก 

 

รศ.ดร.ดุลยภาค ตั้งข้อสังเกตว่า ทุนจีนสีเทาไม่ได้พยายามแผ่อิทธิพลเพื่อควบคุมลุ่มน้ำโขงแต่เพียงอย่างเดียว แต่ขณะนี้อิทธิพลได้แผ่ปกคลุมเมียวดี เคเคพาร์ก และชเวโก๊กโก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำเมย ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสาละวินแล้ว ขณะนี้มีเพียงรัฐกะยา ใกล้ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย ที่จีนพยายามจะเข้าไปลงทุนในเขื่อนพลังน้ำ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การสู้รบที่เป็นไปอย่างดุเดือด และวัฒนธรรมพื้นถิ่นในรัฐกะยา ทำให้กลุ่มทุนจีนยังไม่สามารถเจาะพื้นที่ตรงจุดนี้ได้ 

 

หากในอนาคตกลุ่มทุนจีนเหล่านี้สามารถควบคุมการพัฒนาเมืองเศรษฐกิจในรัฐกะยา อิทธิพลของจีนจะไหลจากรัฐฉานใต้ ผ่านรัฐกะยา มาจนถึงรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งจะคุมชายแดนไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นจุดที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในทางภูมิรัฐศาสตร์ 

 

แฟ้มภาพ: Karen Information Center

The post กองกำลัง KNA หวนจับมือกองทัพเมียนมา อนาคตเมียวดีจะเป็นอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>