Science – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 30 Apr 2024 11:49:55 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 โลกกำลังเข้าสู่​สภาพอากาศ​แบบลานีญา​ กระทบไทยอย่างไร https://thestandard.co/how-does-la-nina-affect-thailand/ Wed, 01 May 2024 01:00:19 +0000 https://thestandard.co/?p=928630

ฤดูร้อน​ปี 2567 ที่กำลังจะ​ผ่านพ้น​ไป​นี้ เชื่อว่าคนไทย […]

The post โลกกำลังเข้าสู่​สภาพอากาศ​แบบลานีญา​ กระทบไทยอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ฤดูร้อน​ปี 2567 ที่กำลังจะ​ผ่านพ้น​ไป​นี้ เชื่อว่าคนไทยทุกคนต่างก็ได้รับรู้​ผลกระทบของสภาพ​อากาศ​แบบเอลนีโญ​ไปไม่มากก็น้อย ด้วยอุณหภูมิ​ตอนกลางวันที่ร้อนจนแทบจะดำเนินชีวิต​ตามปกติ​ไม่ไหวกันเลยทีเดียว

 

แต่ทุกอย่างย่อมมีที่สิ้นสุด ตามข้อมูลล่าสุด​ของสถาบันวิจัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย​โคลัมเบีย​ สภาพอากาศ​โลกจะเปลี่ยนจากลักษณะแบบเอลนีโญ​ ไปสู่สภาพอากาศโลกแบบนิวทรัล หรือสภาพเป็นกลาง ในเดือนพฤษภา​คมที่จะถึง​นี้ สภาพนิวทรัลจะคงอยู่ประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนไปสู่สภาพอากาศ​แบบลานีญาแบบอ่อน​ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป 

 

 

ลานีญา​เป็นสภาพอากาศ​ด้านตรงข้ามกับเอลนีโญ​ ผลที่เกิดขึ้นก็จะตรงข้ามกันไปด้วย นั่นคือพื้นที่ไหนที่เคยมีความร้อนแล้งก็จะกลับไปมีฝนตกชุก ส่วนพื้นที่ไหนที่มีฝนตกมากผิดปกติในปีเอลนีโญ เมื่อเข้าสู่สภาพอากาศแบบลานีญาก็จะกลายเป็นพื้นที่ร้อนแล้งแทน

 

 

แต่สภาพอากาศแบบลานีญาในช่วงหน้าฝนของปีนี้มีสิ่งที่ต้องสังเกตเพิ่มเติม เนื่องจากตามรายงานของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย จะเกิดสภาพอากาศ IOD แบบ Positive ผสมด้วย โดยจะเกิดสูงสุดในเดือนกรกฎาคม

 

สภาพอากาศ IOD คืออะไร

 

IOD ย่อมาจากคำว่า Indian Ocean Dipole ซึ่งก็คือความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากอุณหภูมิของผิวน้ำในมหาสมุทรอินเดีย คล้ายปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญาของมหาสมุทรแปซิฟิก แต่การที่มาเกิดในมหาสมุทรอินเดียบางครั้งก็มีคนเรียกสภาพอากาศนี้ว่า ‘อินเดียนนีโญ’ (Indian Niño)

 

IOD นั้นมี 3 เฟส เฟสแรกคือเฟสเป็นกลาง ฝนจะตกตามปกติทางอาเซียนและออสเตรเลีย เฟสต่อมาคือ Positive หรือเฟสบวก ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนแล้งทางอาเซียนและออสเตรเลีย แล้วฝนไปตกชุกฝั่งอินเดียและแอฟริกา สุดท้ายคือ Negative​ ฝนจะตกหนักมากทางอาเซียนและออสเตรเลีย และฝนแล้งทางฝั่งอินเดียและแอฟริกา 

 

การหนุนเสริมหรือหักล้างกันของสภาพอากาศทั้งสองแบบ

 

ประเทศฝั่งเอเชีย เช่น ไทย และอาเซียน รวมทั้งออสเตรเลีย ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรทั้งสองคือ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แน่นอนว่าต้องนำสภาพอากาศทั้ง Niño (เอลนีโญ-ลานีญา) และ IOD มาประเมินผลร่วมกัน เพราะในบางปีจะเกิดการหนุนเสริมกันอย่างรุนแรง เช่น สภาพอากาศแบบลานีญาแบบเข้มที่หนุนเสริมด้วย IOD เฟสลบแบบเข้มในปี 2010 ส่งผลให้ฝนหนักถล่มต่อเนื่องจนเกิดน้ำท่วม

 

ในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ผลนี้ยังส่งต่อมาถึงปี 2011 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในไทย หรือในปีที่เอลนีโญแบบเข้มหนุนเสริมด้วย IOD เฟสบวกแบบเข้ม ก็จะเกิดอากาศร้อนแล้งผิดปกติในแถบอาเซียน ตลอดจนเกิดไฟป่านานหลายเดือนในออสเตรเลีย เป็นต้น 

 

 

ตรงกันข้ามกับการหนุนเสริมกัน การหักล้างกันของสภาพอากาศจากทั้งสองมหาสมุทรก็เกิดขึ้นได้ นักวิชาการประเมินว่า การเกิดลานีญาแบบอ่อนหลังเดือนสิงหาคมของปีนี้อาจถูกหักล้างจาก IOD เฟสบวกแบบอ่อน ทำให้ผลของสภาพอากาศแบบลานีญาไม่ปรากฏชัดเจนอย่างที่ควรจะเป็น เช่น จำนวนพายุหมุนเขตร้อนที่จะนำฝนมาเติมเขื่อนในไทย หรือปริมาณเฉลี่ยของฝนจากมรสุม อาจน้อยกว่าปีที่ไม่มีการหักล้างกัน 

 

อย่างไรก็ตาม การศึกษา IOD ไปจนถึงการสร้างแบบจำลองยังเป็นของใหม่ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี ข้อมูลจากการสังเกตการณ์อาจต้องการเวลาปรับปรุงอีกสักระยะจึงจะเกิดความแม่นยำ

 

จากสิ่งที่กล่าวมาอย่างน้อยก็ทำให้เราทราบว่า ความร้อนแล้งจากสภาพอากาศแบบเอลนีโญในไทย แม้จะไม่จากไปในทันที แต่ก็จะเบาบางลงจนหายไปในที่สุด ผลต่อเนื่องของความร้อนอาจยังคงอยู่อีกระยะ อย่างน้อยก็คงไม่ร้อนจัดอย่างที่เป็นอยู่ในเดือนเมษายนปีนี้

 

ภาพ: Chaiwat Subprasom / SOPA Images / LightRocket via Getty Images

อ้างอิง:  

The post โลกกำลังเข้าสู่​สภาพอากาศ​แบบลานีญา​ กระทบไทยอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักบินอวกาศเสินโจว-17 เตรียมกลับโลก หลังสิ้นสุดภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง https://thestandard.co/shenzhou-17-astronauts-to-return/ Mon, 29 Apr 2024 14:00:15 +0000 https://thestandard.co/?p=928176

3 นักบินอวกาศจีนของภารกิจเสินโจว-17 ได้ทำพิธีส่งมอบ ‘กุ […]

The post นักบินอวกาศเสินโจว-17 เตรียมกลับโลก หลังสิ้นสุดภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง appeared first on THE STANDARD.

]]>

3 นักบินอวกาศจีนของภารกิจเสินโจว-17 ได้ทำพิธีส่งมอบ ‘กุญแจ’ ของสถานีอวกาศเทียนกงให้กับลูกเรือเสินโจว-18 เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา

 

ถังหงโป ถังเซิ่งเจี๋ย และ เจียงซินหลิน ออกเดินทางไปประจำการบนสถานีอวกาศเทียนกงตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2023 ก่อนจะมีส่วนปฏิบัติการทดลอง ออกไปซ่อมบำรุงภายนอกสถานีอวกาศ เช่นเดียวกับมีส่วนร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนจากนอกโลก ตลอดช่วงเวลากว่า 184 วันในวงโคจร

 

หลังจากภารกิจเสินโจว-18 ที่ประกอบด้วย เยี่ยกวงฟู่ หลี่ชง และ หลี่กวงซู่ ได้เดินทางขึ้นมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนลูกเรือเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ทางศูนย์ควบคุมภารกิจวางแผนให้นักบินอวกาศทั้ง 3 ของเสินโจว-17 เดินทางกลับโลกในวันที่ 30 เมษายนนี้ โดยมีเป้าหมายเป็นจุดลงจอดตงเฟิง ในบริเวณทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศ

 

สถานีอวกาศเทียนกงเป็นสถานีอวกาศของประเทศจีน มีโมดูลรวม 3 โมดูล สำหรับอยู่อาศัย ให้พลังงาน และทดลอง เป็นแหล่งพลังงานและระบบดำรงชีพของนักบินอวกาศได้พร้อมกันมากสุด 6 คน โดยสถานีเทียนกงได้รองรับการอยู่อาศัยของนักบินอวกาศจีนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ภารกิจเสินโจว-12 เมื่อปี 2021

 

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายของสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในปี 2011 ทำให้หน่วยงานอวกาศจีน (CMSA) ไม่สามารถร่วมมือกับหน่วยงานอวกาศของสหรัฐฯ (NASA) ได้โดยตรง ส่งผลให้นักบินอวกาศและพลเรือนชาวจีนไม่สามารถเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในสถานการณ์ปกติได้

 

ภาพ: Xinhua / Jin Liangkuai

อ้างอิง:

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post นักบินอวกาศเสินโจว-17 เตรียมกลับโลก หลังสิ้นสุดภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง appeared first on THE STANDARD.

]]>
SpaceX ส่งดาวเทียมนำทาง Galileo 2 ดวงของยุโรปขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ https://thestandard.co/spacex-launches-galileo-2-navigation-satellite/ Mon, 29 Apr 2024 11:50:02 +0000 https://thestandard.co/?p=928162

SpaceX นำส่งดาวเทียมระบบนำทาง Galileo L12 ของคณะกรรมาธิ […]

The post SpaceX ส่งดาวเทียมนำทาง Galileo 2 ดวงของยุโรปขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>

SpaceX นำส่งดาวเทียมระบบนำทาง Galileo L12 ของคณะกรรมาธิการยุโรปรวม 2 ดวง เดินทางขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ

 

เมื่อเช้าวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 07.34 น. ตามเวลาประเทศไทย จรวด Falcon 9 ทะยานขึ้นจากฐานปล่อย 39A ณ​ ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ก่อนนำส่งเข้าสู่วงโคจรเบื้องต้นของภารกิจ เพื่อให้ทีมงานภาคพื้นได้ตรวจสอบระบบและสุขภาพของดาวเทียมทั้งสองดวง ก่อนปรับเข้าสู่วงโคจรที่มีความสูง 23,220 กิโลเมตรจากพื้นดินในภายหลัง

 

ดาวเทียม Galileo 2 ดวงล่าสุด ทำให้ยุโรปมีเครือข่ายดาวเทียมนำทางรวมในปัจจุบัน 30 ดวง โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง EUSPA (หน่วยงานด้านโครงการอวกาศของสหภาพยุโรป​) กับคณะกรรมาธิการยุโรป และองค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA เพื่อพัฒนาความแม่นยำและศักยภาพของระบบนำทางดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

การนำปล่อยดาวเทียม Galileo เที่ยวบินนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการปล่อยจากจรวดและฐานปล่อยของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทางยุโรปได้ประกาศสิ้นสุดให้บริการจรวด Ariane 5 ไปก่อนหน้านี้ และยังไม่สามารถใช้งานจรวด Ariane 6 หรือจรวด Soyuz ของรัสเซียได้ จึงเป็นครั้งแรกที่ยุโรปได้เลือกให้จรวด Falcon 9 นำส่งเครือข่ายดาวเทียมนำทางของพวกเขา

 

อย่างไรก็ตาม EUSPA ค่อนข้างระมัดระวังในการกล่าวถึงการนำส่งดาวเทียม Galileo ครั้งนี้ โดยไม่มีการระบุถึงชื่อของจรวด Falcon 9 ในข่าวการปล่อยยาน และในสัญญาณถ่ายทอดสดการนำปล่อยจรวด Falcon 9 พบว่า SpaceX ได้สิ้นสุดการเผยแพร่ภาพเพียงไม่นานหลังการแยกตัวของบูสเตอร์ส่วนแรกกับจรวดส่วนที่ 2 ซึ่งอาจเกิดจากความต้องการของลูกค้าในภารกิจนั้นๆ ไม่ให้เผยแพร่ภาพของดาวเทียมที่ร่วมเดินทางไปด้วย

 

เนื่องจากดาวเทียมดังกล่าวต้องเดินทางเข้าสู่วงโคจร Medium Earth Orbit (MEO) ทำให้ SpaceX ตัดสินใจใช้เชื้อเพลิงกับบูสเตอร์ B1060 ในส่วนแรกของจรวด Falcon 9 เพิ่มเติม และไม่มีแผนเก็บกู้บูสเตอร์ดังกล่าวกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง เป็นการปิดฉากบูสเตอร์ B1060 ที่เคยขึ้นบินมาแล้ว 20 ครั้ง และนำส่งมวลมากกว่า 228 ตันขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก

 

ภาพ: SpaceX

อ้างอิง:

The post SpaceX ส่งดาวเทียมนำทาง Galileo 2 ดวงของยุโรปขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กล้องฮับเบิลหยุดทำงานชั่วคราว หลังพบปัญหากับระบบไจโรสโคปบนยาน https://thestandard.co/hubble-space-telescope-stops-working/ Mon, 29 Apr 2024 11:42:12 +0000 https://thestandard.co/?p=928159

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลหยุดปฏิบัติภารกิจสำรวจวิทยาศา […]

The post กล้องฮับเบิลหยุดทำงานชั่วคราว หลังพบปัญหากับระบบไจโรสโคปบนยาน appeared first on THE STANDARD.

]]>

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลหยุดปฏิบัติภารกิจสำรวจวิทยาศาสตร์ชั่วคราว หลังประสบปัญหากับระบบไจโรสโคป (Gyroscope) ซ้ำอีกครั้ง

 

เมื่อวันที่ 23 เมษายน กล้องฮับเบิลถูกส่งเข้าสู่ Safe Mode โดยอัตโนมัติ เมื่อหนึ่งในไจโรสโคป 3 ตัวบนกล้องเกิดทำงานผิดพลาด ทำให้กล้องไม่สามารถหันปรับทิศไปยังตำแหน่งตามที่ควรเป็นได้ จึงต้องหยุดปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพและการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในทันที

 

ไจโรสโคปดังกล่าวเคยเกิดปัญหาขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 ทำให้กล้องฮับเบิลต้องหยุดทำงานนานกว่า 15 วัน โดยทีมภารกิจของ NASA กำลังวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และหากไจโรสโคปตัวนี้ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ พวกเขาสามารถปรับค่าให้กล้องฮับเบิลทำงานโดยอาศัยไจโรสโคปเพียงตัวเดียวเพื่อปรับทิศทาง และใช้อีกหนึ่งตัวทำหน้าที่เป็นระบบสำรองได้

 

NASA ระบุว่า กล้องฮับเบิลยังสามารถปฏิบัติการไปได้ถึงปี 2030 และอาจยืดอายุไปได้ถึงปี 2040 หากไม่มีข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่กระทบต่อภารกิจเกิดขึ้น

 

กล้องฮับเบิลมีไจโรสโคปรวม 6 ตัว ที่ถูกนำไปติดตั้งในภารกิจซ่อมบำรุงครั้งที่ 5 กับกระสวยอวกาศแอตแลนติส STS-125 เมื่อปี 2009 โดยมี 3 ตัวที่หมดอายุการใช้งานไปก่อนหน้านี้ ทำให้เหลือไจโคสโคป 3 ตัวสำหรับใช้งานภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน รวมถึงหนึ่งตัวที่มีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง

 

นับตั้งแต่เริ่มต้นภารกิจเมื่อ 34 ปีที่แล้ว กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์ นำไปสู่การค้นพบต่างๆ ตลอดช่วงเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ และยังคงร่วมสำรวจจักรวาลควบคู่ไปกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ที่เดินทางไปสู่วงโคจร L2 เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา

 

ภาพ: NASA

อ้างอิง:

The post กล้องฮับเบิลหยุดทำงานชั่วคราว หลังพบปัญหากับระบบไจโรสโคปบนยาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
NASA เผยภาพเนบิวลา Little Dumbbell ฉลอง 34 ปีกล้องฮับเบิล https://thestandard.co/nasa-releases-images-of-the-little-dumbbell-nebula/ Wed, 24 Apr 2024 05:17:02 +0000 https://thestandard.co/?p=926055

NASA เผยภาพเนบิวลา Little Dumbbell สุดตระการตาจากกล้องฮ […]

The post NASA เผยภาพเนบิวลา Little Dumbbell ฉลอง 34 ปีกล้องฮับเบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>

NASA เผยภาพเนบิวลา Little Dumbbell สุดตระการตาจากกล้องฮับเบิล เนื่องในโอกาสครบรอบ 34 ปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศลำนี้

 

เนบิวลา Little Dumbbell หรือวัตถุ Messier 76 และ NGC 650 เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ (Planetary Nebula) ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 3,400 ปีแสงในทิศของกลุ่มดาวกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส

 

เนบิวลาดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับดาวเคราะห์ แต่เกิดจากฝุ่นก๊าซที่พวยพุ่งออกจากดาวยักษ์แดง ดาวฤกษ์ที่กำลังสิ้นอายุขัยก่อนยุบตัวลงเป็นดาวแคระขาว โดยภาพจากกล้องฮับเบิลเผยให้เห็นลักษณะคล้ายชั้นวงแหวนที่แกนกลาง ซึ่งอาจเกิดจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่คู่กัน แต่ในภาพถ่ายนี้ไม่ปรากฏให้เห็นดาวฤกษ์อีกดวง โดยอาจเป็นเพราะมันถูกแรงโน้มถ่วงของดาวแคระขาวกลืนกินไปเสียแล้ว

 

ดาวแคระขาวปรากฏเป็นจุดสว่างสีขาวเล็กๆ บริเวณกลางภาพ และห้อมล้อมไปด้วยฝุ่นก๊าซที่เรืองแสงจากรังสีอัลตราไวโอเลตอันรุนแรงจากซากดาวฤกษ์สิ้นอายุขัย ซึ่งมีอุณหภูมิร้อนกว่า 138,000 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่าชั้น ‘พื้นผิว’ ของดวงอาทิตย์ประมาณ 24 เท่า โดยสีแดงในภาพแทนก๊าซไฮโดรเจน และสีน้ำเงินแทนก๊าซออกซิเจนที่พวยพุ่งออกมา

 

นักดาราศาสตร์คาดว่า ฝุ่นก๊าซที่สวยงามของวัตถุ Messier 76 จะคงอยู่ให้เห็นได้อีกราว 15,000 ปีต่อจากนี้ก่อนจะจางหายไปในที่สุด ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับอายุของระบบสุริยะ (4,600 ล้านปี) หรือเอกภพทั้งหมด (13,700 ล้านปี)

 

สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เริ่มออกเดินทางสู่อวกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายน 1990 และปฏิบัติภารกิจสำรวจจักรวาลไม่น้อยกว่า 1.6 ล้านครั้ง กับวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้าประมาณ 53,000 แห่ง โดยยังร่วมมือกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศยุคใหม่อย่างเจมส์ เว็บบ์ และหอดูดาวภาคพื้น เพื่อนำพาการค้นพบสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในขวบปีที่ 34 ของภารกิจ

 

ภาพ: NASA, ESA, STScI

อ้างอิง:

 

The post NASA เผยภาพเนบิวลา Little Dumbbell ฉลอง 34 ปีกล้องฮับเบิล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ครั้งแรกของปี 2567 ชาวกรุงเตรียมไร้เงา 26 เมษายนนี้ https://thestandard.co/the-sun-set-90-degree-to-bangkok/ Wed, 24 Apr 2024 04:08:47 +0000 https://thestandard.co/?p=926020 ดวงอาทิตย์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษ […]

The post ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ครั้งแรกของปี 2567 ชาวกรุงเตรียมไร้เงา 26 เมษายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดวงอาทิตย์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกของปี 2567 ในวันที่ 26 เมษายนนี้ เวลาประมาณ 12.16 น. โดยในเวลาดังกล่าวหากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี

 

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย โดยเริ่มจากพื้นที่ภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา จากนั้นไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ ก่อนจะสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 22 พฤษภาคม

 

สำหรับกรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากเหนือศีรษะพอดีในวันที่ 26 เมษายน เวลาประมาณ 12.16 น. ขณะดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกจะไม่มีเงาทอดออกมา ทั้งนี้ วันดังกล่าวจะเป็นวันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม และความร้อนสะสม ฯลฯ จึงอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดของปี

 

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเมษายน-พฤษภาคม และกรกฎาคม-กันยายน โดยมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไป แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกัน

 

สำหรับดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งต่อไปจะตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม เวลาประมาณ 12.22 น.

 

ภาพ: Ed Connor / Shutterstock

อ้างอิง:

  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

The post ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ครั้งแรกของปี 2567 ชาวกรุงเตรียมไร้เงา 26 เมษายนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สโลวีเนีย ร่วมลงนามข้อตกลง Artemis Accords กับ NASA https://thestandard.co/switzerland-sweden-slovenia-nasa-artemis-accords/ Wed, 24 Apr 2024 01:16:14 +0000 https://thestandard.co/?p=925951 Artemis Accords

สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และสโลวีเนีย เป็น 3 ประเทศล่าสุดท […]

The post สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สโลวีเนีย ร่วมลงนามข้อตกลง Artemis Accords กับ NASA appeared first on THE STANDARD.

]]>
Artemis Accords

สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และสโลวีเนีย เป็น 3 ประเทศล่าสุดที่ร่วมลงนามข้อตกลง Artemis Accords กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ NASA

 

ข้อตกลง Artemis Accords ริเริ่มจากความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และ 7 ประเทศพันธมิตร ในปี 2020 เพื่อการสำรวจและใช้งานอวกาศอย่างเป็นระเบียบ ยั่งยืน และเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทุกคน รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือนานาประเทศในโครงการอาร์ทีมิส ที่มีแผนส่งมนุษย์และการทดลองกลับไปดวงจันทร์อย่างยั่งยืนในเร็วๆ นี้

 

เมื่อวันที่ 15 เมษายน สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นประเทศที่ 37 ของข้อตกลง Artemis Accords ตามมาด้วยการลงนามของตัวแทนจากสวีเดนในวันที่ 16 เมษายน และสโลวีเนียเมื่อวันที่ 19 เมษายน ทำให้ ณ ตอนนี้มีทั้งสิ้น 39 ประเทศทั่วโลกที่ได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวกับ NASA

 

ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมลงนามใน Artemis Accords ด้านประเทศไทยเป็นประเทศที่ 9 ที่ได้เข้าร่วมโครงการสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ หรือ ILRS นำโดย CNSA (จีน) และ ROSCOSMOS (รัสเซีย) เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา

 

สำหรับโครงการอาร์ทีมิสเป็นแผนการส่งมนุษย์เดินทางกลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง นำโดย NASA ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานอวกาศพันธมิตร เช่น ESA (ยุโรป), JAXA (ญี่ปุ่น), MBRSC (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และ CSA (แคนาดา) เป็นต้น โดยมีแผนส่งมนุษย์เดินทางไปบินผ่านดวงจันทร์กับภารกิจอาร์ทีมิส 2 ในเดือนกันยายน 2025 พร้อมกับมีโครงการแยกย่อยเพื่อสนับสนุนภารกิจของภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานนานาประเทศ

 

ภาพ: NASA

อ้างอิง:

The post สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สโลวีเนีย ร่วมลงนามข้อตกลง Artemis Accords กับ NASA appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยาน Voyager 1 ส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะ ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน https://thestandard.co/voyager-1-sending-solar-system-update/ Wed, 24 Apr 2024 01:09:08 +0000 https://thestandard.co/?p=925945 Voyager 1

NASA ก็พาเธอกลับมาได้… ยาน Voyager 1 ส่งข้อมูลกลั […]

The post ยาน Voyager 1 ส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะ ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Voyager 1

NASA ก็พาเธอกลับมาได้… ยาน Voyager 1 ส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะได้ตามปกติอีกครั้ง หลังประสบปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์บนยานมานานกว่า 5 เดือน

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 ข้อมูลด้านวิศวกรรมและอุปกรณ์สำรวจวิทยาศาสตร์ที่ยาน Voyager 1 ส่งกลับโลก ไม่สามารถถอดค่าเป็นข้อมูลที่ใช้งานได้ จากปัญหากับ 1 ใน 3 ของคอมพิวเตอร์บนยาน หรือระบบ Flight Data System

 

แม้ยานยังสามารถรับข้อมูลและคำสั่งจากโลกได้ตามปกติ แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ทีมภารกิจบนโลกไม่สามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับสถานะความเป็นอยู่ของยาน เช่นเดียวกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์จากอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากปัญหาครั้งนี้ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Telemetry Modulation Unit ที่แปลงข้อมูลดังกล่าวให้อยู่ในรหัสไบนารี เพื่อส่งกลับโลกผ่านเครือข่ายจานรับสัญญาณ Deep Space Network ของ NASA

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ทีมภารกิจได้เริ่มส่งคำสั่ง ‘สะกิด’ ไปยังระบบ Flight Data System ให้ลองเปลี่ยนลำดับการส่งข้อมูลกลับโลก และเมื่อวันที่ 18 เมษายน ทีมภารกิจได้ส่งคำสั่งชุดล่าสุดที่เปลี่ยนตำแหน่งการจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์บนยาน เดินทางไกลกว่า 24,000 ล้านกิโลเมตร หรือใช้เวลานานกว่า 22.5 ชั่วโมง เพื่อเดินทางไปถึงยานด้วยความเร็วแสง

 

และหลังการรอคอยไป-กลับนานกว่า 45 ชั่วโมง ทีมภารกิจพบว่าข้อมูลที่ Voyager 1 ส่งกลับโลกเมื่อวันที่ 20 เมษายน เป็นข้อมูลที่สามารถอ่านค่า และบอกถึงสุขภาพกับสถานะของยานอวกาศลำนี้อีกครั้ง

 

ในช่วงสัปดาห์ต่อจากนี้ ทีมภารกิจยานจะตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อส่วนอื่นของระบบ Flight Data System รวมถึงส่วนที่บันทึกข้อมูลจากอุปกรณ์สำรวจวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถอ่านค่าการตรวจวัดอนุภาคจากบริเวณช่องว่างระหว่างดาวฤกษ์ได้อีกครั้ง

 

Voyager 1 ออกเดินทางจากโลกเมื่อ 46 ปีที่แล้ว และเป็นยานอวกาศที่อยู่ไกลจากโลกที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีความเร็วมากพอจะหลุดพ้นจากระบบสุริยะไปตลอดกาล เช่นกันกับยานฝาแฝดอย่าง Voyager 2 ที่ยังคงทำงานและรับส่งข้อมูลกลับโลกอยู่จวบจนปัจจุบัน

 

ภาพ: NASA / JPL 

อ้างอิง:

The post ยาน Voyager 1 ส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะ ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ค้นพบ Gaia BH3 หลุมดำดาวฤกษ์มวลมากที่สุดในทางช้างเผือก https://thestandard.co/the-most-massive-stellar-black-hole-in-milky-way/ Fri, 19 Apr 2024 00:40:40 +0000 https://thestandard.co/?p=924336

นักดาราศาสตร์ตรวจพบหลุมดำ Gaia BH3 หลุมดำดาวฤกษ์มวลมากท […]

The post ค้นพบ Gaia BH3 หลุมดำดาวฤกษ์มวลมากที่สุดในทางช้างเผือก appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักดาราศาสตร์ตรวจพบหลุมดำ Gaia BH3 หลุมดำดาวฤกษ์มวลมากที่สุดในทางช้างเผือก อยู่ห่างโลกไปประมาณ 2,000 ปีแสง

 

หลุมดำดาวฤกษ์ หรือ Stellar Black Hole เป็นหลุมดำที่เกิดจากการยุบตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ โดยมักพบว่ามีมวลระหว่าง 5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม Gaia BH3 มีมวลมากถึง 33 มวลดวงอาทิตย์ ทำลายสถิติเดิมของหลุมดำ Cygnus X-1 ที่มีมวลประมาณ 21 มวลดวงอาทิตย์ลงเป็นที่เรียบร้อย

 

นอกจากเป็นหลุมดำดาวฤกษ์ที่มีมวลมากแล้ว Gaia BH3 ยังอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 2,000 ปีแสง ในทิศของกลุ่มดาวนกอินทรี ที่แม้ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อชีวิตบนโลกหรือระบบสุริยะ แต่ถือเป็นหลุมดำแห่งที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นรองเพียงหลุมดำ Gaia BH1 ที่ห่างออกไปราว 1,500 ปีแสง

 

ปาสกาล ปานุซโซ นักดาราศาสตร์จาก CNRS ของฝรั่งเศส หนึ่งในคณะทำงานของการตรวจพบหลุมดำแห่งนี้ ให้ความเห็นว่า “ไม่มีใครคาดคิดว่าเราจะเจอหลุมดำมวลมากอยู่ใกล้โลกเพียงนี้ โดยที่มันหลบซ่อนการตรวจพบต่างๆ มาได้นานขนาดนี้ นี่คือการค้นพบแบบเพียงหนึ่งครั้งในชีวิตการเป็นนักวิจัยเลย”

 

หลุมดำ Gaia BH3 ถูกพบจากยาน Gaia ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ที่ตรวจพบการส่ายไปมาอย่างผิดปกติของดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่คู่กัน ก่อนที่ข้อมูลเพิ่มเติมจากกล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope บนภาคพื้นโลกของ ESO จะช่วยยืนยันการค้นพบ เช่นเดียวกับการวัดค่ามวลของหลุมดำอย่างแม่นยำ

 

หลุมดำแห่งนี้เป็นดั่งการยืนยันว่าดาวฤกษ์ที่มีธาตุหนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมอยู่น้อยจะสูญเสียมวลในตลอดวัฏจักรชีวิตของมันน้อยกว่าดาวฤกษ์ที่มีธาตุหนักกว่า ทำให้หลงเหลือมวลสารมากพอให้ยุบตัวกลายเป็นหลุมดำมวลมากได้ โดยนักดาราศาสตร์อาศัยการศึกษาองค์ประกอบของดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่คู่กับหลุมดำ Gaia BH3 พบว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีธาตุหนักอยู่น้อย และดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่คู่กันมักมีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน

 

อย่างไรก็ตาม Gaia BH3 เป็นเพียงหลุมดำดาวฤกษ์ที่มีมวลมากสุดในทางช้างเผือกเท่านั้น สำหรับตำแหน่งหลุมดำมวลมากที่สุดในกาแล็กซีของเราตกเป็นของ Sagittarius A* หลุมดำมวลยิ่งยวดที่ใจกลางดาราจักร ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 4 ล้านเท่าด้วยกัน

 

ภาพ: ESO / L. Calçada

อ้างอิง:

The post ค้นพบ Gaia BH3 หลุมดำดาวฤกษ์มวลมากที่สุดในทางช้างเผือก appeared first on THE STANDARD.

]]>
NASA ยืนยันภารกิจส่งโดรน Dragonfly สำรวจดวงจันทร์ไททัน https://thestandard.co/nasa-dragonfly-drone-mission-to-explore-titan/ Fri, 19 Apr 2024 00:38:33 +0000 https://thestandard.co/?p=924333

NASA ยืนยันภารกิจโดรน Dragonfly ได้รับอนุมัติงบประมาณ 3 […]

The post NASA ยืนยันภารกิจส่งโดรน Dragonfly สำรวจดวงจันทร์ไททัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

NASA ยืนยันภารกิจโดรน Dragonfly ได้รับอนุมัติงบประมาณ 3,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับพัฒนา ก่อสร้าง และออกเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ไททันเป็นที่เรียบร้อย

 

ภารกิจของโดรน Dragonfly ประกอบด้วยการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิวดวงจันทร์ไททัน และอาศัยประโยชน์จากบรรยากาศที่หนาแน่น แต่มีแรงโน้มถ่วงต่ำกว่าโลก เพื่อให้ Dragonfly สามารถเดินทางไปสำรวจพื้นผิวบริเวณต่างๆ ได้ไกลกว่า 160 กิโลเมตรต่อการขึ้นบิน 1 ครั้ง และมีกำหนดขึ้นบินสำรวจรวมไม่น้อยกว่า 12 เป้าหมายตลอดช่วงเวลาภารกิจเบื้องต้นประมาณ 2 ปีบนโลก

 

ไททันเป็นดวงจันทร์บริวารดวงใหญ่ที่สุดในวงโคจรรอบดาวเสาร์ และยังเป็นดาวดวงเดียวที่นักดาราศาสตร์ตรวจพบการมีของเหลวอยู่บนพื้นผิวในปัจจุบัน ทำให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่หน่วยงานอวกาศต้องการศึกษาอย่างใกล้ชิด โดยสานต่อข้อมูลจากยาน Voyager 1 และ 2 ที่บินผ่านในปี 1979 และ 1980 เช่นเดียวกับยานลงจอด Huygens ที่เดินทางไปถึงพื้นผิวไททันในปี 2005 ได้เป็นครั้งแรก

 

Dragonfly ประกอบด้วยใบพัด 8 ใบ และมีขนาดใหญ่พอกับรถยนต์ 1 คัน มีกำหนดออกเดินทางจากโลกในเดือนกรกฎาคม 2028 และจะเดินทางไปถึงดวงจันทร์ไททันในปี 2034 เพื่อไขปริศนาของหนึ่งในดวงจันทร์ที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งในระบบสุริยะ อันรวมถึงโอกาสในการตรวจเจอร่องรอยของชีวิต องค์ประกอบทางเคมีที่นำไปสู่ชีวิต จากการลงสำรวจพื้นผิวบริเวณต่างๆ ของดวงจันทร์ที่มีสายธารแห่งอีเทนและมีเทน

 

นิกกี ฟอกซ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายภารกิจสำรวจวิทยาศาสตร์ NASA ระบุว่า “Dragonfly เป็นภารกิจทางวิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่งมาก และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มันน่าตื่นเต้นมากที่เราสามารถพาภารกิจนี้ไปสู่ขั้นถัดไปได้ เพราะการสำรวจดวงจันทร์ไททันจะช่วยผลักดันขีดจำกัดสิ่งที่เราสามารถทำได้กับการใช้โดรนสำรวจดาวดวงอื่นนอกจากบนโลก”

 

ขั้นตอนถัดไปของทีมภารกิจ Dragonfly ภายใต้การดูแลของ Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory (APL) คือการออกแบบยานขั้นสุดท้าย ก่อนนำไปสู่กระบวนการสร้างจริง เพื่อให้พร้อมสำหรับทดสอบและกำหนดส่งในอีกประมาณ 4 ปีต่อจากนี้

 

ภาพ: NASA / Johns Hopkins APL / Steve Gribben 

อ้างอิง:

The post NASA ยืนยันภารกิจส่งโดรน Dragonfly สำรวจดวงจันทร์ไททัน appeared first on THE STANDARD.

]]>