เมธา พันธุ์วราทร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 13 Feb 2024 06:58:58 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 “ผมพร้อมจะแสดงให้โลกเห็นว่าผมมีความสามารถแค่ไหน” ย้อนอ่านจดหมายแนะนำตัวของ แพทริก มาโฮมส์ https://thestandard.co/mahomes-introductory-letter/ Tue, 13 Feb 2024 06:58:58 +0000 https://thestandard.co/?p=899106

‘Magic Mahomes’ แพทริก มาโฮมส์ พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นอี […]

The post “ผมพร้อมจะแสดงให้โลกเห็นว่าผมมีความสามารถแค่ไหน” ย้อนอ่านจดหมายแนะนำตัวของ แพทริก มาโฮมส์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘Magic Mahomes’ แพทริก มาโฮมส์ พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นอีกครั้งว่าเขาคือสุดยอดควอเตอร์แบ็กแห่งยุคสมัยใหม่ตัวจริง หลังจากที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพลิกเกมจนทำให้แคนซัส ซิตี้ ชีฟส์ ปาดหน้าซานฟรานซิสโก โฟร์ตี้ไนเนอร์ส ได้ในช่วงของการต่อเวลาพิเศษ

 

ในเกมที่สุดสูสีที่อัลลีเจียนต์สเตเดียมในลาสเวกัส ควอเตอร์แบ็กวัย 28 ปี ไม่ได้ทำเพียงแค่การขว้างบอลอย่างแม่นยำในเพลย์สำคัญ แต่ยังแสดงความครบเครื่องในแบบที่บร็อก เพอร์ดี คู่ปรับอีกฟากของสนามได้แต่อิจฉา เพราะมาโฮมส์ทั้งแข็งแรง รวดเร็ว และชาญฉลาดในการวิ่งทำระยะขึ้นมาด้วยตัวเอง

 

การวิ่งของมาโฮมส์ในช่วงควอเตอร์ที่ 4 และในช่วงของการต่อเวลาพิเศษคือหนึ่งในจุดเปลี่ยนของเกมเลยก็ว่าได้

 

ชัยชนะในเกมวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทำให้ควอเตอร์แบ็กอัจฉริยะกลายเป็นอีกหนึ่งคนที่คว้าแหวนซูเปอร์โบวล์มาครองได้เป็นวงที่ 3 ก่อนอายุจะครบ 30 ปี โดยที่เจ้าตัวให้คำมั่นว่าจะมีอีกหลายวงที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายอยู่ที่การไปให้ถึงจุดเดียวกับทอม เบรดี ตำนานตลอดกาลผู้ครอบครองแหวนซูเปอร์โบวล์ถึง 7 วง หรือไปให้ไกลยิ่งกว่า

 

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น อยากชวนให้กลับมาย้อนอ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาเขียนแนะนำตัวเองในการดราฟต์ตัวผู้เล่นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว

 

จดหมายที่จะทำให้เรามองเห็นภาพตัวตนของเขาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือในอดีตก็ตาม

 

 

จดหมายฉบับดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ทาง The Players’ Tribune เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2017 ในระหว่างที่มาโฮมส์ซึ่งอยู่กับทีมเท็กซัสเทค ฟุตบอล กำลังรอคอยโอกาสในการจะถูกดราฟต์เข้าทีม

 

โดยมีเนื้อความดังนี้

 

ถึงโค้ชใน NFL และผู้จัดการทีมทุกท่าน

 

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่ผมได้พยายามตอบคำถามของทุกท่านถึงด้านที่ดีที่สุดในความสามารถของผมผ่านเทปที่บันทึกการเล่นของผม การบรรยายจังหวะการเล่น การลงรายละเอียดถึงกระบวนการตัดสินใจของผม ไปจนถึงเวลาที่ผมเข้านอนและสิ่งที่ผมรับประทานเป็นอาหารเช้าในทุกวัน

 

คุณคงได้เห็นผมวิ่ง กระโดด ยกน้ำหนัก และการขว้างที่ไกลที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ คุณคงประหลาดใจว่าผมจะสามารถปรับเข้ากับความเร็วของเกมในระดับโปรและปรับเข้ากับความซับซ้อนของเกมบุกในระดับ NFL ได้หรือไม่

 

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้น และโดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการเล่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพียงแต่มันไม่ใช่การเล่นฟุตบอลจริงๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เหมือนกับการลงเล่นในเกมจริงๆ หรือการกอดกับเพื่อนร่วมทีมของผมเลย

 

ฟุตบอลนั้นเราเล่นกันใต้แสงไฟ เผชิญกับสิ่งต่างๆ ต่อหน้าคนกว่า 60,000 คน มันทำให้เราเกิดการตื่นตัวไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม ไปจนถึงความมุ่งมั่นที่จะพาทีมกลับมาให้ได้ในสถานการณ์ที่เหมือนเรากำลังจะแพ้แน่นอนอยู่แล้วในควอเตอร์ที่ 4

 

มันคือการทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสามารถจะทำได้เพื่อจะไปให้ถึงเรดโซน (พื้นที่ระยะ 20 หลาก่อนถึงเอนด์โซน) บางครั้งเราเสียท่าในการเล่นไปแล้ว นั่นทำให้เราต้องเล่นอย่างสร้างสรรค์

 

 

ผมไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบหรอก แต่ในอเมริกันฟุตบอลไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบเสมอไปอยู่แล้ว มันไม่มีทางที่ทุกสิ่งจะเป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ ผมรู้ว่าผมคงไม่สามารถจะให้คำตอบที่สมบูรณ์แบบต่อทุกคำถามจากพวกคุณ ในเทปวิดีโอคุณจะได้เห็นการเล่นที่ผิดพลาดของผม และผมก็พลาดการขว้างบอลมา 2-3 ครั้งในวันโปรเดย์ (วันที่ให้นักอเมริกันฟุตบอลในระดับมหาวิทยาลัยได้ลงแข่งโชว์ลีลาในการแข่งจริงๆ)

 

แต่ผมก็หวังว่าพวกคุณจะสังเกตเห็นว่าทุกคำตอบที่ผมตอบไปคือความเห็นใจ และในเวลาที่ผมทำพลาดในสนามผมจะเป็นคนที่รับผิดชอบต่อตัวเองเสมอ ผมหวังว่าคุณจะสังเกตเห็นได้ว่าผมทำอะไรได้มากกว่าแค่การขว้างบอลได้ไกล ผมไม่อยากให้คุณคิดว่าผมมีแค่แขนใหญ่ๆ เท่านั้น ผมเป็นผู้เล่น และผมก็พร้อมจะทำหน้าที่ในฐานะควอเตอร์แบ็กของพวกคุณ

 

สิ่งเดียวที่ผมคิดในใจคือการทำอย่างไรก็ได้เพื่อช่วยให้ทีมชนะ ผมคิดถึงการเล่นในลีก (NFL) มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ และตอนนี้เราก็ใกล้จะถึงวันดราฟต์ตัวของ NFL แล้ว

 

ผมพร้อมที่จะแสดงให้โลกได้เห็นแล้วว่าผมมีความสามารถแค่ไหน

 

ผมเติบโตมาโดยการดูพ่อของผม (แพท มาโฮมส์ นักเบสบอลอาชีพระดับ MLB) ลงแข่งเจอกับผู้เล่นที่เก่งที่สุดในโลกในฐานะพิชเชอร์ตัวหลักของลีก ผมดูเขาเล่นมา 11 ปี ผมคือคนรู้ว่าพ่อต้องทุ่มเทแค่ไหนในแต่ละวัน และผมต้องทำแค่ไหนถ้าคิดอยากจะประสบความสำเร็จใน NFL

 

ผมได้เห็นสายตาที่แน่วแน่ของพ่อก่อนลงแข่งทุกเกม ผมรู้ว่าพ่อใช้เวลาแค่ไหนในการพยายามฝึกและพยายามหาทางเอาชนะคู่แข่ง เขาทุ่มเททุกอย่างในทุกวันเพื่อทำให้ดีขึ้นไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม และถ้าเขาได้เห็นผู้บรรยายพูดถึงสถิติของเขาในทางลบทางโทรทัศน์ เขาจะไม่ยอมปล่อยให้มันมีผลต่อการเล่นของเขาเด็ดขาด สิ่งเดียวที่เขาจะเอาคำพูดเหล่านี้มาใช้คือใช้เป็นแรงกระตุ้นตัวเอง

 

ในตอนนี้ผมเองก็กระตุ้นตัวเองในแบบเดียวกับพ่อ ผมเคยได้ยินพวกนักวิเคราะห์ตั้งข้อสงสัยถึงสิ่งที่ผมสามารถจะทำได้ ผมจะทำแบบนั้นได้ไหมแบบนี้ได้ไหม ผมจะมีวินัยพอที่จะเป็นควอเตอร์แบ็กใน NFL ได้ไหม

 

ไม่ว่าคำวิจารณ์เหล่านั้นอยากจะเล่นงานผมแค่ไหน ผมรู้ว่าผมสามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยความตั้งใจ ผมไม่ใช่ควอเตอร์แบ็กที่อยู่ในกรอบ ผู้คนที่พูดแบบนั้นแปลว่าพวกเขาไม่เคยดูการเล่นของผมจริงๆ ผมรู้ว่าผมขว้างรูปแบบไหนก็ได้ โดยเฉพาะในเวลาที่ทีมของผมต้องการการเล่นที่พลิกเกมได้

 

 

3 ปีที่ผมอยู่กับเท็กซัสเทค ผมได้เรียนรู้มากมายในการนำเกมรุก หนึ่งในเรื่องสำคัญมากๆ คือการที่ต้องได้รับการยอมรับในห้องแต่งตัวของผม ผู้นำคือคนที่จะต้องเป็นแบบอย่างแก่ทุกคน ผมไม่ได้คาดหวังว่าผมจะเข้าทีมมาแล้วรู้ทุกอย่างตั้งแต่วันแรกในแคมป์เก็บตัวเลย แต่ผมพร้อมที่จะเริ่มต้นทุกอย่างตามกระบวนการ ถึงตอนนี้ผมคิดว่าคุณคงได้รู้แล้วว่าผมเป็นผู้เล่นแบบไหน และสิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือผมอยากจะเป็นผู้เล่นแบบไหนในทีม

 

ผมหวังอย่างยิ่งว่าสิ่งสำคัญที่คุณจะสังเกตเห็นได้จากสถิติการเล่นของผมในระดับมหาวิทยาลัยคือผมทำได้ดีขึ้นในทุกด้านในทุกฤดูกาลที่ผ่านไป นี่คือสิ่งที่ผมภูมิใจมาก ผมจะไม่ทำนายอนาคตของผมหรอก แต่ผมอยากบอกให้คุณมั่นใจได้ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้จักดี นั่นก็คือวิธีที่จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น

 

และผมรู้ว่าถ้าผมอยากจะเข้าทีมและสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ทันที ผมต้องมีความคิดก่อนว่าผมจะต้องพยายามทำทุกอย่างให้ดีขึ้นในทุกวัน ในการซ้อมทุกครั้ง ในการรับบอลทุกครั้ง และผมตั้งใจที่จะทำแบบนั้นให้ได้ด้วย

 

ผมจะไม่เป็นเด็กขี้แยที่โวยวายในระหว่างทางเหล่านั้น ผมจะไม่เสียสมาธิไม่ว่าจะเป็นเรื่องในหรือนอกสนาม

 

ผมจะใช้เวลาที่มีในการเล่นตามตำราแผน (Playbook) ให้ดีที่สุด ผมจะไม่ยอมหยุดจนกว่าผมจะทำทุกอย่างได้ถูกต้อง แม้กระทั่งในรายละเอียดเรื่องเล็กๆ

 

ผมอาจจะทำผิดพลาดบ้างระหว่างทาง และผมคงไม่ชนะทุกนัดที่ลงเล่น ผมคงไม่มีวันจะปิดฉากชีวิตการเล่นด้วยสถิติการขว้างบอลที่สมบูรณ์แบบโดยที่ไม่โดนตัดบอลเลยหรอก แต่ผมจะพยายามอย่างหนักเหมือนทุกคน

 

ผมพร้อมที่จะเริ่มต้นเส้นทางสู่การเป็นแชมเปียน และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดบนโลกใบนี้ ผมพร้อมแล้วที่จะสวมชุดและลงสนาม ยิ่งเราไปถึงจุดนั้นได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดี

 

ตอนนี้ผมจะรอจนกว่าคุณจะได้เห็นผมอยู่ในฮัดเดิลกับทีม

 

 

หลังจดหมายฉบับนี้ แพทริก มาโฮมส์ ได้ถูกดราฟต์เข้าทีมแคนซัส ซิตี้ ชีฟส์ ในอันดับที่ 10

 

และที่เหลือนับจากนี้คือประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ NFL

 

อ้างอิง:

The post “ผมพร้อมจะแสดงให้โลกเห็นว่าผมมีความสามารถแค่ไหน” ย้อนอ่านจดหมายแนะนำตัวของ แพทริก มาโฮมส์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกสูญเสียมากแค่ไหนในการจากไปของ เคลวิน คิปตัม https://thestandard.co/kelvin-kiptam-passed-away-effect/ Mon, 12 Feb 2024 10:04:33 +0000 https://thestandard.co/?p=898836 เคลวิน คิปตัม

ชายผู้ที่ฟ้าประทานทุกอย่างและมองเห็นอนาคตที่ยิ่งใหญ่รออ […]

The post โลกสูญเสียมากแค่ไหนในการจากไปของ เคลวิน คิปตัม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เคลวิน คิปตัม

ชายผู้ที่ฟ้าประทานทุกอย่างและมองเห็นอนาคตที่ยิ่งใหญ่รออยู่ในวันข้างหน้า

 

แต่สิ่งที่ฟ้าไม่ได้บอกคือ ฟ้าให้เวลาเขาเพียงแค่นี้

 

ข่าวการจากไปของ เคลวิน คิปตัม สุดยอดนักวิ่งชาวเคนยา เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นข่าวที่สะเทือนหัวใจ ไม่ใช่เพียงเฉพาะในชุมชนของเหล่านักวิ่งเท่านั้น แต่สั่นสะเทือนถึงความรู้สึกของผู้คนทั่วโลก

 

เพราะเจ้าของสถิติโลกในการวิ่งมาราธอนคนล่าสุดไม่ได้เป็นแค่นักวิ่งธรรมดา หากแต่เป็น ‘ความหวัง’ ที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติด้วย

 

เรื่องราวของ เคลวิน คิปตัม ถือเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่เหมือนเรื่องแต่งจากปลายปากกาของใครสักคน

 

นักวิ่งที่ไม่มีใครรู้จัก ไม่เคยลงแข่งขันวิ่งมาราธอนมาก่อนเลยในชีวิต จู่ๆ ก็กลายเป็นเจ้าของสถิตินักวิ่งหน้าใหม่ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกด้วยเวลาที่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง กับอีก 2 นาที ในรายการวาเลนเซียมาราธอน เมื่อปี 2022

 

 

สถิติดังกล่าวทำให้เขากลายเป็นเจ้าของสถิติอันดับ 4 ของโลก และทำให้โลกของนักวิ่งมาราธอนต้องหยุดและหันมามองนักวิ่งโนเนมคนนี้

 

เขาคือใครกันนะ?

 

เคลวิน คิปตัม เชอรูอิโยต (Kelvin Kiptum Cheruiyot) เป็นนักวิ่งระยะไกลชาวเคนยาที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยลงแข่งขันวิ่งมาราธอนมาก่อน ไม่เคยมีประวัติอยู่ในการแข่งขันใดทั้งนั้น เรียกได้ว่าเป็นเพชรในโคลนตมของจริง

 

แต่ก็เป็นเพราะแสงที่เปล่งประกายในตัวเองที่ทำให้มีคนค้นพบเขาจนได้

 

เคลวิน คิปตัม เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1999 ในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อว่าเชปซาโม ซึ่งอยู่ที่เมืองเชปโคริโอ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,600 เมตร

 

หมู่บ้านแห่งนี้อยู่ในแถบเดียวกับแคว้นเอลเกโย-มาราเกวต ซึ่งอยู่ในหุบเขา และเป็นถิ่นที่สร้างยอดมนุษย์ปอดเหล็กมามากมาย และยังถือเป็นเมกะหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเหล่านักวิ่งชาวต่างชาติที่ทั้งอยากมาและอยากไปสู่จุดสูงสุดของการเป็นนักวิ่งด้วย

 

ที่แห่งนี้คือที่ที่คิปตัมเรียนรู้การวิ่ง โดยใช้เวลาว่างหลังช่วยที่บ้านเลี้ยงวัวไปวิ่งด้วยเท้าเปล่า

 

วิ่งไปตามหุบเขา วิ่งไปตามแนวป่า วิ่งไปตามหาฝัน

 

จนเขาเริ่มฝึกอย่างจริงจังเมื่อปี 2013 ในวัย 13 ปี โดยการฝึกนั้นก็ไม่ได้มีโค้ชหรือมีครูที่ไหน เขาศึกษาและฝึกฝนการวิ่งด้วยตัวเอง รวมถึงฝึกจากประสบการณ์จริงคือการลงแข่งขันด้วย

 

ในวัย 13 ปี คิปตัมลงแข่งประเภทฮาล์ฟมาราธอนในบ้านเกิดเป็นรายการแรก และจบด้วยอันดับที่ 10 ก่อนที่จะพยายามอีกหลายครั้งเพื่อให้ไปถึงชัยชนะ ซึ่งชัยชนะรายการแรกเกิดขึ้นในปี 2018 โดยทำเวลาได้ 62.01 นาที

 

หลังจากนั้นเขาเดินหน้าไปสู่เวทีในระดับนานาชาติ เริ่มจากการแข่งขันฮาล์ฟมาราธอนรายการลิสบอนฮาล์ฟมาราธอน ในเดือนมีนาคม 2019 โดยจบที่อันดับ 5 และทำเวลาได้ 59.54 นาที ซึ่งเป็น ‘PB’ หรือเวลาที่ดีที่สุดในขณะนั้น ก่อนจะตระเวนแข่งไปทั่วยุโรปในปีดังกล่าว

 

แววของเขาเข้าตา เกอร์เวส ฮาคิซิมานา นักวิ่งวิบากชาวรวันดา ที่ขอรับอาสาเป็นโค้ชให้ (แม้จะมีข่าวว่าทั้งคู่เป็นครู-ศิษย์กันมาตั้งแต่ปี 2013 แล้วก็ตาม)

 


โดยที่นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา คิปตัมถูกเจียระไนเพื่อรอวันจะแจ้งเกิดบนเวทีใหญ่ที่สุดและทรงพลังต่อโลกมากที่สุด อย่างเช่น การแข่งขันมาราธอน แต่เรื่องนี้ถูกเก็บไว้เป็นความลับที่สุด โดยที่เขายังคงลงแข่งในประเภทฮาล์ฟมาราธอนอยู่เรื่อยๆ

 

จนกระทั่งถึงเวลาที่เหมาะสมที่ฮาคิซิมานาคิดว่าโลกควรจะได้รู้จักกับดาวดวงใหม่ที่สามารถจะก้าวขึ้นมาแทนที่ของ เอเลียด คิปโชเก ซึ่งกำลังเริ่มโรยราตามวัย คิปตัมจึงได้โอกาสลงแข่งขันมาราธอนรายการแรกที่เมืองวาเลนเซีย ประเทศสเปน

 

รายการนั้นจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2022 และเขาก็เขย่าโลกได้จริงๆ ด้วยการเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 1 เอาชนะนักวิ่งดาวดังที่เป็นตัวเต็งของรายการอย่าง ตามิรัต โตลา แชมป์โลกมาราธอน 2022 และดาวดังคนอื่นๆ

 

นอกจากนี้ยังทุบสถิติของรายการ สร้างตำนานเป็นนักวิ่งหน้าใหม่ที่ทำสถิติได้เร็วที่สุดในโลก และเวลาของเขาเป็นอันดับ 4 ในทำเนียบสถิติตลอดกาล เป็นรองแค่คิปโชเก (2.01.09 และ 2.01.39 ชั่วโมง) กับ เคเนนิซา เบเกเล (2.01.41 ชั่วโมง) เท่านั้น

 

หลังจากนั้นคิปตัมก็กลายเป็นนักวิ่งปริศนาที่สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงให้แก่โลก

 

มาราธอนรายการที่ 2 ที่เขาลงแข่งคราวนี้เป็นรายการระดับเมเจอร์อย่าง ‘ลอนดอนมาราธอน’​ ในเดือนเมษายน 2023 และคว้าชัยชนะได้อย่างง่ายดายทั้งๆ ที่สภาพแวดล้อมไม่ดี มีฝนตกลงมา โดยทำเวลาได้ 2.01.25 ชั่วโมง ทุบสถิติเดิมของคิปโชเกที่เคยทำไว้ 2.02.37 ชั่วโมง ได้เร็วกว่าถึงนาทีนิดๆ

 

แท็กติกที่เขาเลือกใช้คือ Negative Split หรือการเร่งฝีเท้าในช่วงครึ่งหลังของการแข่งให้เร็วกว่าครึ่งแรก ซึ่งเป็นแท็กติกเดียวกับที่ใช้ในการแข่งรายการที่วาเลนเซีย

 

ในชัยชนะครั้งนี้ คิปตัมยังเอาชนะฮีโร่ที่เป็นแรงบันดาลใจของตัวเองอย่าง เจฟฟรีย์ คัมวอเรอร์ ซึ่งเป็นคนที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันได้ด้วย

 

 

จากนั้นคิปตัมก็กลายเป็นมากกว่าแค่ฮีโร่ เพราะเขากลายเป็นซูเปอร์ฮีโรของโลกไปแล้ว เมื่อทำลายสถิติโลกได้ในการแข่งขันรายการชิคาโกมาราธอน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ด้วยเวลา 2.00.35 นาที

 

ทำลายสถิติโลกเดิมที่คิปโชเกทำไว้ในรายการเบอร์ลินมาราธอน เมื่อปี 2022 ได้ถึง 34 วินาที ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าจริงๆ แล้วเขาไม่ได้คิดทำลายสถิติมาก่อน แต่มาเริ่มคิดเอาตอนครึ่งหลังของการวิ่งเท่านั้น

 

“แต่ผมรู้ว่าสักวันผมจะทำได้อยู่แล้ว”

 

ถึงตรงนี้โลกมีความหวังใหม่ คนที่จะรับไม้บาตองต่อจากคิปโชเกในการทำภารกิจ ‘Sub 2’ ในการแข่งขันจริงๆ ให้ได้ ซึ่งแม้ความจริงคิปโชเกยังคงเป็นความหวังสูงสุดอยู่ แต่ด้วยวัยที่มากขึ้น ส่งผลต่อผลงานของนักวิ่งเบอร์หนึ่งของโลกไม่น้อยในช่วงหลัง

 

ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เรื่องของการวิ่งมาราธอนต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เคยเป็นเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีใครกล้าคิดมาก่อน แต่การที่จู่ๆ โลกก็มีนักวิ่งวัย 23 ปีที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนและเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการมาราธอนได้ในเวลาไม่ถึงปี นี่คือ ‘ปรากฏการณ์’ ที่ยิ่งใหญ่ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในระดับเดียวกับที่โลกเพิ่งเคยเจอกับ มูฮัมหมัด อาลี หรือ เปเล่ เลยทีเดียว

 

ด้วยพรสวรรค์ วัย และเวลาแล้ว คิปตัมกำลังจะเป็นความหวังที่ยิ่งใหญ่กว่า (หรือเป็นไปแล้วด้วยซ้ำ) คิปโชเก

 

ในภาพความฝัน คิปตัมมีโอกาสจะกลายเป็นมนุษย์คนแรกที่ก้าวผ่านกำแพงที่เคยถูกมองว่าไม่มีวันก้าวข้ามได้

 

มันจะกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนทั้งโลกในยุคที่มองหาความหวังยากขึ้นทุกเวลานาที

 

 

การจากไปก่อนวัยอันควรทั้งของเขาและโค้ชจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงเป็นเรื่องที่ทั้งยากจะเชื่อและยากที่จะทำใจ

 

โลกได้สูญเสียความหวังและแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ คนที่ฟ้าส่งมาให้เป็นนักวิ่งในระดับ ‘ร้อยปีจะมีสักคน’

 

จริงอยู่ที่สักวันเราจะมีนักวิ่งดาวดวงใหม่เกิดขึ้นมา แต่สิ่งที่ค้างคาอยู่ในใจจะยังคงอยู่

 

ถ้า เคลวิน คิปตัม ยังอยู่ เขาจะทำให้เกิดปรากฏการณ์อะไรได้อีกบ้างนะ

 

แต่ ณ เข็มนาฬิกาเดินไป เรื่องนี้ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรแล้ว

 

หลับให้สบายนะพ่อนักวิ่ง ขอบคุณสำหรับประกายแสงที่สว่างจ้า แม้จะเพียงชั่วเวลาสั้นๆ ก็ตาม

The post โลกสูญเสียมากแค่ไหนในการจากไปของ เคลวิน คิปตัม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘Blue Card’ นวัตกรรมใหม่การตัดสินที่จะช่วยให้เกมฟุตบอลดีขึ้น? https://thestandard.co/blue-card-in-football/ Fri, 09 Feb 2024 08:24:35 +0000 https://thestandard.co/?p=897988

“ลูกค้ามี Blue Card ไหม” เป็นประโยคแรกที่แวบขึ้นมาในหัว […]

The post ‘Blue Card’ นวัตกรรมใหม่การตัดสินที่จะช่วยให้เกมฟุตบอลดีขึ้น? appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ลูกค้ามี Blue Card ไหม” เป็นประโยคแรกที่แวบขึ้นมาในหัวโดยไม่ตั้งใจ หลังจากที่ได้เห็นข่าวใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (8 กุมภาพันธ์)

 

แต่เอาสาระ เกมฟุตบอลเตรียมจะทดลองใช้ ‘ใบน้ำเงิน’ (Blue Card) ในการตัดสิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามทดลองใช้กฎ ‘Sin Bins’ ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่มีการพูดถึงมาสักระยะในช่วงก่อนหน้านี้

 

เรื่องนี้เป็นมาอย่างไร และจะมีการนำมาใช้จริงไหม?

 

กระแสข่าวเรื่อง ‘ใบน้ำเงิน’ ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกโดย Daily Telegraph สำนักข่าวอังกฤษ ที่รายงานข่าวว่า ทางด้านบอร์ดสมาคมฟุตบอลนานาชาติ (International Football Association Board หรือ IFAB) ซึ่งเป็นผู้ออกกฎเกณฑ์การตัดสินในเกมฟุตบอล กำลังพิจารณาถึงการทดลองใช้ใบน้ำเงินในเกมการแข่งขันฟุตบอล

 

 

โดยใบน้ำเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องกฎ ‘Sin Bins’ ที่จะให้ผู้เล่นที่ทำผิดกติกาในบางกรณี

 

  • พูดจาดูถูกเหยียดหยามหรือแสดงความไม่เคารพต่อผู้ตัดสิน
  • ทำโปรเฟสชันนัลฟาวล์

 

ผู้เล่นที่ถูกใบน้ำเงินจะต้องออกนอกสนามเป็นเวลา 10 นาทีด้วยกัน

 

สิ่งที่น่าสนใจคือ หากผู้เล่นโดนใบน้ำเงินจำนวน 2 ใบในเกมเดียวกัน จะมีค่าเท่ากับโดนใบแดง คือต้องออกจากสนามกลับห้องแต่งตัวทันที โดยไม่มีสิทธิ์กลับมาลงสนาม

 

หรือหากโดนใบเหลืองและใบน้ำเงินในเกมเดียวกันก็เท่ากับใบแดงเช่นกัน

 

 

ประวัติศาสตร์ใบเหลือง ใบแดง

 

สำหรับใบน้ำเงินนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเรื่องของการลงโทษผู้เล่น ซึ่งกฎนี้จริงๆ แล้วเรียกว่า ‘ใบทำโทษ’​ (Penalty Card)

 

ก่อนหน้านี้ ในเกมฟุตบอลผู้ตัดสินสามารถไล่ผู้เล่นออกจากสนามได้ แต่ไม่มีความชัดเจน ซึ่งก็เกิดกรณีปัญหาในฟุตบอลโลกปี 1966 ในเกมระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินา โดยหลังเกมจบลงมีการเปิดเผยว่า ผู้ตัดสิน รูดอล์ฟ เครตไลน์ ได้เตือนพี่น้องบ็อบบี้ และ แจ็คกี้ ชาร์ลตัน ของอังกฤษ และได้ไล่ อันโตนิโอ รัตติน ของอาร์เจนตินาออกจากสนามด้วย

 

ปัญหาคือผู้ตัดสินไม่ชัดเจนในระหว่างเกม เซอร์ อัลฟ์ แรมซีย์ ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษในเวลานั้น จึงได้ติดต่อกับตัวแทนของ FIFA เพื่อขอคำชี้แจงในช่วงหลังจบเกม

 

นั่นทำให้ เคน แอสตัน ผู้ตัดสินชาวอังกฤษ คิดหาวิธีที่จะทำให้การตัดสินชัดเจนขึ้น เพราะการจะให้ผู้ตัดสินบอกอย่างเดียวบางทีอาจจะมีปัญหาเรื่องกำแพงของภาษาได้

 

แอสตันมาปิ๊งไอเดียของไฟสัญญาณจราจร ซึ่งก็ถือเป็นภาษาสากลอย่างหนึ่ง

 

เหลือง – เตรียมหยุด
แดง – หยุด

แบบนี้ใครก็เข้าใจแน่นอน จึงได้มีการทำเรื่องเสนอ สุดท้าย IFAB มีมติให้เริ่มใช้ใบเหลืองและใบแดงในฟุตบอลโลกปี 1970 เพื่อลงโทษและตักเตือนผู้เล่น กลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของเกมฟุตบอล ส่งผลต่อทั้งความประพฤติของผู้เล่น ไปจนถึงการวางแท็กติกการเล่นด้วย

 

 

นี่ไม่ใช่เกมฟุตบอลอีกแล้ว​?

 

สำหรับใบน้ำเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Sin Bins ซึ่งทางด้าน IFAB ให้ความสนใจที่จะนำกฎที่ใช้ในเกมรักบี้มาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลในระดับสูง หลังจากที่เริ่มมีการทดลองใช้แล้วประสบความสำเร็จในเกมระดับรากหญ้าและระดับเยาวชน

 

เรื่องนี้เริ่มมีการหารือกันอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะได้เริ่มทดลองใช้ในเร็วๆ นี้

 

เดิมสมาคมฟุตบอลเวลส์มีแผนจะเริ่มทดลองใช้ในการแข่งขันรายการระดับรากหญ้า (Grassroots) ในฤดูกาลนี้ก่อน ซึ่งเดิมคิดว่าจะให้ใช้เป็นใบสีส้ม (Orange Card) แต่ดูก้ำกึ่งเกินไประหว่างใบเหลืองกับใบแดง จึงเลือกสีน้ำเงินแทน แต่สุดท้ายยังไม่มีความชัดเจน

 

แต่ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้น และทางด้าน IFAB อนุมัติให้เริ่มทดลองใช้ได้เลย ซึ่งรวมถึงในเกมระดับสูงสุดด้วย ที่คาดว่าจะสามารถเริ่มได้เร็วที่สุดในช่วงฤดูร้อนนี้เลย ซึ่งรวมถึงรายการอย่างเอฟเอคัพ และเอฟเอคัพหญิง ที่คาดว่าจะมีการทดลองใช้

 

อย่างไรก็ดี ในรายการใหญ่อย่างยูโร 2024 หรือยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทางด้าน อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ไม่ค่อยเห็นด้วยนัก และเคยให้สัมภาษณ์ว่า กฎนี้ “มันจะไม่ใช่เกมฟุตบอลอีกต่อไป”

 

เรียกว่าเสียงยังแตกอยู่สำหรับกฎนี้ แต่สุดท้ายมันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกมฟุตบอลดีขึ้นได้จริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องทดลองกันก่อน

 

มันอาจจะดีก็ได้ เพราะไม่น่ามีอะไรแย่ไปกว่าการตัดสินของพรีเมียร์ลีกตอนนี้อีกแล้ว

 

อ้างอิง:

The post ‘Blue Card’ นวัตกรรมใหม่การตัดสินที่จะช่วยให้เกมฟุตบอลดีขึ้น? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘อองรี-โรนัลดินโญ-โอซิล’ ฟุตบอลโลกของตำนาน การกลับมารวมตัวกันของนักเตะที่เราคิดถึง https://thestandard.co/legendary-football-player/ Thu, 08 Feb 2024 14:41:41 +0000 https://thestandard.co/?p=897678 นักฟุตบอลระดับตำนาน

ในรอบปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ต้อนรับการมาเยือนของนักฟุตบ […]

The post ‘อองรี-โรนัลดินโญ-โอซิล’ ฟุตบอลโลกของตำนาน การกลับมารวมตัวกันของนักเตะที่เราคิดถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักฟุตบอลระดับตำนาน

ในรอบปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ต้อนรับการมาเยือนของนักฟุตบอลระดับตำนานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรนัลดินโญ, เดวิด เบ็คแฮม, พอล สโคลส์, นิคกี บัตต์ ไปจนถึง เจมี คาร์ราเกอร์, เดิร์ก เคาต์ และ เอ็มมานูแอล เปอตีต์

 

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึง ‘คุณค่า’ ของกลุ่มอดีตนักเตะเหล่านี้ที่แม้ว่าจะอำลาสนามไปเป็นเวลานานแล้ว แต่อารมณ์ความรู้สึกคิดถึงคะนึงหาของแฟนบอลยังคงเหลืออยู่ และมีคนที่พร้อมจะมาหานักเตะเหล่านี้เสมอ

 

เป็นเรื่องดีต่อใจ เพราะแฟนบอลเองก็ดีใจที่ได้เจอ นักเตะเองก็ดีใจที่ได้เจอ ต่างฝ่ายต่างดีใจ

 

แต่มันจะดีขึ้นไปอีกไหมหากเราจะได้เห็นตำนานเหล่านี้กลับมาโลดแล่นในสนามอีกครั้ง ในรูปแบบที่จริงจังมากกว่าแค่เกมวีไอพีที่เล่นกันเพื่อความสุข

 

จะดีไหมถ้าเราจะได้เห็น เธียร์รี อองรี, โรนัลดินโญ, ฟรานเชสโก ต็อตติ, เมซุต โอซิล หรือ เฮอร์นัน เครสโป กลับมากันอีกครั้ง?

 

 

ฟุตบอลโลกของเหล่าตำนานนี้เป็นไอเดียที่ได้รับการเปิดเผยทาง Daily Mail ถึงการแข่งขันรายการใหม่เอี่ยมที่จะมีขึ้นในประเทศอังกฤษในช่วงเดือนมิถุนายน

 

ตามแผนการเบื้องต้นจะมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 8 ทีมด้วยกัน โดยจะมีทีมบิ๊กเนมอย่างอังกฤษ, อาร์เจนตินา, บราซิล, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี,​ สเปน และอุรุกวัย ที่ล้วนเป็นทีมที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกด้วยกันทั้งสิ้น

 

ทั้งหมดจะลงสนามแข่งขันกันในรูปแบบของทัวร์นาเมนต์ จะมีการแข่งขันทั้งหมด 8 นัด ซึ่งจะจัดขึ้นที่สนามฟุตบอลของสโมสรในระดับพรีเมียร์ลีกแห่งหนึ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

 

รายการนี้เป็นไอเดียของบริษัท Elite Players Group (EPG) ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มอดีตนักฟุตบอลในระดับสูงสุดของโลก รวมถึงกลุ่มนักธุรกิจกีฬาที่มองเห็นศักยภาพและโอกาสที่จะชุบชีวิตนักเตะในตำนานให้กลับมามีความหมายมากกว่าแค่ความทรงจำ

 

ที่จัดเป็นการแข่งขันก็เพื่อให้เป็นรายการที่สนุก เข้มข้นประมาณหนึ่ง มากกว่าเป็นแค่เกมระดับวีไอพี หรือเกมการกุศลที่นักเตะเหล่านี้ก็มักจะได้รับเชิญเพื่อมาร่วมสร้างสีสันในสนามเป็นประจำอยู่แล้ว

 

 

โดยกัปตันแต่ละทีมที่เข้าร่วมก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง EPG นั่นเอง เช่น สตีฟ แม็คมานามาน (อังกฤษ), เอสเตบัน กัมบิอัสโซ (อาร์เจนตินา), เอเมอร์สัน (บราซิล), คริสติยอง การอมเบอ (ฝรั่งเศส),​ เควิน คูรานี (เยอรมนี), มาร์โก มาเตรัสซี (อิตาลี), มิเชล ซัลกาโด (สเปน) และ ดีเอโก ลูกาโน (อุรุกวัย)

 

กลุ่มนักเตะเหล่านี้คือ ‘กัปตันทีม’ ที่จะเลือก (เชิญ) นักเตะมาเข้าร่วมอีกที ภายใต้กติกาคร่าวๆ ที่จะเป็นการคัดกรองว่างานนี้การันตีนักเตะตำนานตัวท็อปแน่ๆ คือ

  • จะต้องเป็นนักฟุตบอลที่อายุ 35 ปี หรือมากกว่านั้น
  • จะต้องติดทีมชาติ หรือผ่านการลงเล่นในระดับลีกสูงสุดมากกว่า 100 นัด
  • ผู้เล่นลงสนามทีมละ 11 คน ระยะเวลาในการแข่งขัน 70 นาที
  • เปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัด ภายในจำนวนผู้เล่น 18 คนในทีม

 

มาถึงส่วนที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือเรื่องของรายชื่อนักเตะที่ถูกคาดหมายว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วย จะมีใครบ้างนั้น?

 

อังกฤษนอกจากแม็คมานามานแล้วยังมี แอชลีย์ โคล, โจ โคล, ริโอ เฟอร์ดินานด์, เดวิด เจมส์, แฟรงค์ แลมพาร์ด, ไมเคิล โอเวน และ ร็อบบี ฟาวเลอร์

 

เยอรมนีมี เมซุต โอซิล ส่วนอาร์เจนตินาจะมี เฮอร์นัน เครสโป, ปาโบล ซาบาเลตา สำหรับสเปนมี ดาวิด บียา, การ์เลส ปูโยล ขณะที่บราซิลมี คาปู, โรแบร์โต คาร์ลอส และฝรั่งเศสมี เธียร์รี อองรี กับ มาร์กเซล เดอไซญี

 

อิตาลี? ถ้าเราจะได้เห็น ‘เจ้าชายหมาป่า’ ฟรานเชสโก ต็อตติ ฟังดูน่าตื่นเต้นไหม?

 

 

ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน เชื่อว่าฟุตบอลโลกของตำนานรายการนี้น่าจะเป็นรายการที่ได้รับความสนใจจากแฟนฟุตบอลไม่น้อยแน่นอน และจะเป็นมิติใหม่สำหรับกลุ่มอดีตนักฟุตบอลที่จะมีอะไรให้ทำมากกว่าแค่การรับเชิญ โชว์ตัว และแจกลายเซ็นให้แฟนๆ เพียงอย่างเดียว

 

ต่อให้สภาพจะเหลือไม่ถึงครึ่งจากวันวาน แต่ในภาษาฟุตบอลเขาพูดกันมาเนิ่นนาน

 

Form is temporary, class is permanent

 

อย่างไรเสียชั้นเชิงลูกหนังก็ยังเหลืออยู่ และแค่นี้ก็มากพอแล้ว

 

ว่าแต่มีใครคิดจะชวน ‘R9’ โรนัลโด กลับมาบ้างไหมนะ? 🙂

 

อ้างอิง:

The post ‘อองรี-โรนัลดินโญ-โอซิล’ ฟุตบอลโลกของตำนาน การกลับมารวมตัวกันของนักเตะที่เราคิดถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิกฤตซ้อนวิกฤต เชลซีไม่มี ‘ผู้นำ’ ทั้งในสนามและนอกสนาม? https://thestandard.co/crisis-upon-crisis-for-chelsea/ Wed, 07 Feb 2024 06:19:51 +0000 https://thestandard.co/?p=897038

“มันถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว ถ้าปล่อยให้นานไปกว่านี้จะสาย […]

The post วิกฤตซ้อนวิกฤต เชลซีไม่มี ‘ผู้นำ’ ทั้งในสนามและนอกสนาม? appeared first on THE STANDARD.

]]>

“มันถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว ถ้าปล่อยให้นานไปกว่านี้จะสายเกินไป”

 

ข้อความจาก เบลล์ ซิลวา ที่โพสต์บน X กลายเป็นประเด็นที่ถูกนำมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในวงการฟุตบอล เพราะเบลล์ไม่ได้เป็นแค่แฟนฟุตบอลธรรมดา แต่เธอคือภรรยาของ ติอาโก ซิลวา ปราการหลังอาวุโสของทีมสิงห์บลูส์

 

ข้อความนี้ถูกสำทับด้วยข่าวสะพัดเรื่องความผิดหวังของนักเตะภายในทีม ที่การมาเล่นในสแตมฟอร์ดบริดจ์ไม่ได้สวยงามเหมือนอย่างที่คิดและถูกขายฝันเอาไว้เลย ซึ่งหนึ่งในนักเตะที่ตกเป็นข่าวคือ เอ็นโซ เฟอร์นันเดส กองกลางดีกรีแชมป์โลกทีมชาติอาร์เจนตินา

 

ในขณะที่ เมาริซิโอ โปเชตติโน นายใหญ่ก็ถูกจับตามองว่าเริ่มมีอาการอยู่ไม่สุขในการแถลงข่าวช่วงหลัง โดยการแถลงข่าวครั้งล่าสุดก่อนเกมเอฟเอคัพนัดรีเพลย์กับแอสตัน วิลลา มีการพาดพิงถึงลิเวอร์พูลที่พ่ายแพ้อาร์เซนอลเหมือนกันแต่ไม่มีใครพูดถึงเลย ซึ่งไม่ใช่การให้สัมภาษณ์ที่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา

 

โดยมีข่าวว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้จัดการทีมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เพราะเสี่ยงจะเป็นการผิดต่อกฎการเงิน Profit and Sustainability Rules (PSR)

 

นี่หมายถึงเชลซีอยู่ในวิกฤตซ้อนวิกฤตที่ไม่มีทางออกหรือไม่?

 

 

ความพ่ายแพ้ในเกมต่อวูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส คาสแตมฟอร์ดบริดจ์ถึง 4-2 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาสะเทือนหัวใจของแฟนเชลซีอย่างแรง เพราะเป็นอีกครั้งที่ทีมพ่ายแพ้แบบหมดรูปต่อคู่แข่งหลังจากโดนลิเวอร์พูลไล่ต้อน 4-1 ไปในเกมก่อนหน้านี้

 

สถานการณ์ดังกล่าวสร้างแรงกดดันอย่างมหาศาลต่อ เมาริซิโอ โปเชตติโน ผู้จัดการของทีมที่เข้ามารับตำแหน่งในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา พร้อมความคาดหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงเชลซีให้กลายเป็นทีมที่ยอดเยี่ยมได้อีกครั้ง

 

แต่ยิ่งเวลาผ่าน สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น

 

เวลานี้เชลซีอยู่ในอันดับที่ 11 ของตารางมี 31 คะแนน อยู่ใกล้กับโซนลุ้นหนีตกชั้นอย่างเอฟเวอร์ตัน (19 คะแนน) มากกว่าโซนลุ้นไปแชมเปียนส์ลีกอย่างแอสตัน วิลลา (46 คะแนน) ขณะที่ฟอร์มการเล่นของทีมยังมองไม่เห็นถึงความชัดเจนใดๆ

 

ไม่มีสไตล์ ไม่มีแผน ไม่มีอะไรทั้งนั้น โดยไม่มีอะไรดีไปกว่าวันที่ เกรแฮม พอตเตอร์ คุมทีมเลย

 

จริงอยู่ที่เชลซีประสบปัญหานักเตะบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงคีย์แมนอย่างกัปตันทีม รีซ เจมส์ และ เบน ชิลเวลล์ ที่มีอาการบาดเจ็บรบกวนตลอด แต่โปเชตติโนเข้ามาคุมทีมตั้งแต่ช่วงปิดฤดูกาล ผ่านการพรีซีซันเต็มรูปแบบ

 

ทีมยังมี ‘แกน’ ที่ใช้งานต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น ติอาโก ซิลวา, อักเซล ดิซาซี, ลีวาย โคลวิลล์, เอนโซ เฟร์นานเดซ, มอยเซส ไกเซโด, คอเนอร์ กัลลาเกอร์, โคล พาลเมอร์, ราฮีม สเตอร์ลิง, มิไคโล มูดริก และ นิโคลัส แจ็คสัน ซึ่งทั้งหมดนี้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกไม่ต่ำกว่า 19 นัด

 

 

แต่เชลซีของโปเชตติโนยังติดอยู่ที่แยกคลองตัน มองไม่เห็นพัฒนาการสักที ที่สำคัญคือยิ่งเล่นก็ยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ

 

เล่นแย่ไม่พอ โปเชตติโนยังถูกจับตามองเรื่องของการแก้เกม (In Game Management) ที่มักจะเปลี่ยนแปลงตัวผู้เล่นช้าเกินไปและไร้ประสิทธิผล

 

มีแค่ 3 นัดที่เชลซีพลิกแซงคู่แข่งได้คือการเจอกับเอเอฟซี วิมเบิลดัน ในลีกคัพ, เบิร์นลีย์ที่ย่ำแย่ และสเปอร์สที่นักเตะโดนไล่ออกไป 2 คน

 

ความผิดหวังที่สะสมทำให้ เบลล์ ซิลวา ขอเป็นตัวแทนหมู่บ้านในการเปิดฉากโจมตีโปเชตติโนผ่านการพูดอ้อมๆ ซึ่งแม้จะไม่มีการระบุว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ คืออะไร แต่ทุกคนรู้ว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งผู้จัดการทีม

 

ในมุมของ ‘พอช’ เขาพยายามบอกว่าทีมต้องการเวลา และเขาเองก็อยากขอเวลาในการทำงานมากกว่านี้ เพื่อจะจัดการแก้ไขปัญหาทุกอย่าง

 

ทั้งนี้ ในโปรเจกต์ใหญ่ของเชลซี ซึ่งเริ่มในวันที่ ทอดด์ โบห์ลี นำกลุ่มนักลงทุนเข้ามาเทกโอเวอร์สโมสรต่อจากโรมัน อบราโมวิช เมื่อปี 2022 ทีมก็เริ่มมีการเปลี่ยนถ่ายสายเลือดนักเตะใหม่ มีการซื้อนักเตะแห่งอนาคตเข้ามามากมาย

 

 

เริ่มจาก เอนโซ, มูดริก, พาลเมอร์, ไกเซโด ไปจนถึง คริสโตเฟอร์ เอ็นคุนคู และ โรเมโอ ลาเวีย ในกลุ่มนักเตะระดับสตาร์อนาคตไกล

 

นอกจากนี้ยังมี ดิซาซี, เบอนัวต์ บาเดียชิล, โนนี มาดูเอเก, มาโล กุสโต, เซซาเร คาซาเดด, คาร์นีย์ ชุควูเมกา, นิโคลัส แจ็คสัน, เลสลีย์ อูโกชุควู ในกลุ่มที่ถูกมองว่าจะเป็นนักเตะที่พัฒนาขึ้นมาเป็นดาวเด่นได้

 

ตามแผนของโบห์ลีแล้วเขาคาดหวังที่จะเห็นเชลซีชุดนี้เติบโตไปด้วยกัน และก้าวขึ้นมาในวันที่ เจอร์เกน คล็อปป์ และ เป๊ป กวาร์ดิโอลา อำลาจากลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซึ่งคาดไว้ว่าไม่เกินปี 2025

 

แต่มันเป็นการมองการณ์ไกลเกินไปและห่างจากความเป็นจริง นักเตะเหล่านี้อ่อนประสบการณ์และวุฒิภาวะต่ำเกินไป เชลซีกลายเป็นทีมที่สูญเสียความสมดุลอย่างแรง อย่าว่าแต่เล่นดี นัดแย่หลายนัดในระหว่างเกมเองก็มีทั้งช่วงเวลาที่เหมือนจะทำได้ดีแต่ก็กลับมาแย่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

ทีมไม่มี ‘ผู้นำ’ ในสนามที่จะเป็นคนกำกับเกมผ่านการเล่นจริง ซึ่งในอดีตจะมีนักเตะอย่าง จอห์น เทอร์รี, แฟรงค์ แลมพาร์ด, ดิดิเยร์ ดร็อกบา หรือแม้แต่ ปีเตอร์ เช็ก ที่เป็นเสาหลักค้ำยันทีมให้

 

 

ตอนนี้นักเตะที่อยู่ในระดับนั้นเหลือเพียงแค่ ติอาโก ซิลวา ไม้ใกล้ฝั่งในวัย 39 ปีที่ช่วยทีมแทบไม่ไหวแล้ว

 

แต่ก่อนจะฟูมฟาย สิ่งที่โปเชตติโนต้องแก้ไขเป็นการเร่งด่วนคือการ ‘ซื้อใจ’ ลูกทีมเหล่านี้กลับมาให้ได้ หลังจากที่เริ่มมองเห็นว่านักเตะไม่เชื่อใจและไม่ตอบสนองต่อคำสั่งในสนาม ไปจนถึงข่าวลือเรื่องการไม่มีความสุขของนักเตะหลายคนที่คิดถึงเรื่องการย้ายออกจากทีมหลังจบฤดูกาลนี้

 

ประเด็นนี้นักข่าวสอบถามโปเชตติโนเช่นกัน โดยเฉพาะกับ ติอาโก ซิลวา แต่กุนซือชาวอาร์เจนไตน์ยังเชื่อว่าทุกอย่างยังเป็นไปด้วยดี “ไปถามเขาเลยก็ได้ แต่ผมคิดว่าระหว่างเรายังดีกันอยู่ ผมคิดว่าความสัมพันธ์ของเราดีต่อกันมาตลอดตั้งแต่แรก ลองดูได้จากเวลาที่ผมแถลงข่าวหรือสัมภาษณ์ ผมพูดถึงเขาอย่างไร”

 

โปเชตติโนเปิดเผยว่าระหว่างเขากับ ติอาโก ซิลวา ได้มีการเปิดใจเคลียร์กันเรียบร้อย โดยนักเตะเป็นฝ่ายที่เข้ามาขอเคลียร์ด้วยตัวเองหลังการโพสต์ข้อความของภรรยา เพียงแต่รายละเอียดการพูดคุยเป็นเรื่องส่วนตัว

 

 

สำหรับนักเตะคนอื่นอดีตผู้จัดการทีมสเปอร์สยืนยันว่าเขายังยืนหยัดเคียงข้างลูกทีมเสมอ และมั่นใจในความเป็น ‘ผู้นำ’ ของเขา

 

“ผมบอกกับนักเตะในการประชุมวันนี้ว่า ผมเชื่อใจพวกเขามากกว่าทุกที ผมจะสนับสนุนพวกเขามากขึ้นกว่าทุกครั้ง ผมไม่ได้เป็นแค่เจ้านายธรรมดา แต่ผมคือผู้นำ”

 

ส่วนนักเตะจะยืนข้างเขาหรือไม่เป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูกัน

 

ที่สำคัญคือโบห์ลีและเหล่าผู้บริหารระดับสูงจะยืนข้างโปเชตติโนต่อไปหรือไม่ และสมมติหากมันไปไม่ไหวจริงๆ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่

 

ถ้าทำไม่ได้ก็อาจหมายถึงต้องทนอยู่กันไปแบบนี้ ไม่ว่าจะนักเตะหรือผู้จัดการทีม ซึ่งไม่มีอะไรจะเศร้าไปกว่านี้อีกแล้ว

 

อ้างอิง:

The post วิกฤตซ้อนวิกฤต เชลซีไม่มี ‘ผู้นำ’ ทั้งในสนามและนอกสนาม? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ซอมบี้ฟุตบอล’ จะพาเกาหลีใต้ถึงฝันเอเชียนคัพหรือไม่? https://thestandard.co/south-korea-afc-asian-cup/ Tue, 06 Feb 2024 06:49:08 +0000 https://thestandard.co/?p=896621 ซอมบี้ฟุตบอล

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ดูเหมือนคนเกาหลีกับหนังแนวซ […]

The post ‘ซอมบี้ฟุตบอล’ จะพาเกาหลีใต้ถึงฝันเอเชียนคัพหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอมบี้ฟุตบอล

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ดูเหมือนคนเกาหลีกับหนังแนวซอมบี้จะเป็นของที่เข้ากันได้อย่างน่าประหลาดใจ

 

จากเรื่องราวของ Train to Busan ที่เป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ ‘K-Zombie’ จนนำมาสู่ซีรีส์ที่ได้รับการกล่าวขานอย่าง Kingdom และอีกมากมายหลายเรื่องตามมา นับได้ว่าเป็นความสำเร็จที่งดงามสำหรับวงการบันเทิงแดนกิมจิ

 

แต่ในวงการฟุตบอลเองดูเหมือนซอมบี้ก็เริ่มจะเข้ามามีส่วนนิดๆ ด้วยเหมือนกัน กับผลงานของทีมชาติเกาหลีใต้ในรายการเอเชียนคัพ ที่ตอนนี้เข้ามาจนถึงรอบรองชนะเลิศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

สถิติที่น่าสนใจคือใน 5 นัดที่ลงสนามพวกเขามาทำประตูได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บของครึ่งหลังถึง 4 ประตู

 

ความตายยากตายเย็นนี้เองที่ทำให้เกาหลีใต้ถูกขนานนามว่า ‘ซอมบี้ฟุตบอล’ 🧟‍♂️

 

รายการฟุตบอลเอเชียนคัพ 2023 ที่ประเทศกาตาร์ ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากในเรื่องของคุณภาพเกมการแข่งขันที่พัฒนาขึ้นจากในอดีตมาก โดยเฉพาะการเติบโตของบรรดาทีมเล็กทีมน้อยที่เคยถูกมองว่าเป็นไม้ประดับ ก็สามารถปักหลักต่อสู้กับทีมใหญ่ได้อย่างน่าประทับใจ

 

 

แต่ในจำนวนนี้ก็มีทีมที่เล่นได้ไม่เป็นที่น่าประทับใจเหมือนกัน ซึ่งทีมที่แฟนบอลดูแล้วส่ายหัวมากที่สุดคือทีมชาติเกาหลีใต้ ที่ได้ ‘ฉลามขาว’ เจอร์เกน คลินส์มันน์ ตำนานศูนย์หน้าทีมชาติเยอรมนี ที่เคยคุมทีม ‘อินทรีเหล็ก’ ในช่วงฟุตบอลโลก 2006 รวมถึงทีมชาติสหรัฐอเมริกามาคุมทัพ

 

จากทีมที่แข็งแกร่ง ดุดัน เล่นได้มันที่สุดทีมหนึ่ง เกาหลีใต้ในเอเชียนคัพครั้งนี้อ่อนปวกเปียก ไม่เฉียบคมเหมือนเก่า และดูไร้ซึ่งเรี่ยวแรง ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับทีมที่มีสมญาในอดีตว่าพลังโสม (สมัยก่อนคนเฒ่าเขาแซวกันว่านักเตะเกาหลีใต้กินโสมเยอะเลยแรงดี)

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ ขนาดเล่นแย่เกาหลีใต้ก็ทะลุเข้ามาได้ถึงรอบรองชนะเลิศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยระหว่างทางพวกเขาผ่านด่านมหาหินอย่างซาอุดีอาระเบีย รวมถึงออสเตรเลียมาได้อย่างไม่มีใครอยากเชื่อในรอบ 16 ทีมและ 8 ทีมสุดท้าย

 

ทั้งสองนัดเริ่มและจบลงเหมือนกันประหนึ่งหนังภาคต่อ เกาหลีใต้ตกเป็นรอง และเล่นไม่เป็นโล้เป็นพายเลย จนกระทั่งมาฮึดเอาในช่วงสุดท้ายของเกม

 

ในเกมกับซาอุดีอาระเบีย พวกเขาทำประตูตีเสมอได้ในนาทีที่ 99 ก่อนจะยื้อกันในช่วงต่อเวลาพิเศษและเอาชนะได้ในการดวลจุดโทษ

 

ส่วนในเกมกับออสเตรเลียไม่ต้องถึงฎีกา แต่กว่าจะตีเสมอได้ก็คือนาทีที่ 6 ของการทดเวลาจากจุดโทษของฮวังฮีชาน แล้วมาพลิกแซงชนะได้จากลูกฟรีคิกนอกกรอบเขตโทษของซนฮึงมินที่โชว์ความเป็นสุดยอดนักเตะระดับโลกของแท้ยิงหลอกเข้าเสาแรกอย่างเหนือชั้น

 

 

ความตายยากของเกาหลีใต้ที่เหมือนจะถูกปลุกให้ตื่นในช่วงสุดท้ายของเกม และปลดปล่อยพลังหลังจากได้ประตูตีเสมอเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก

 

ในถ้อยคำของคลินส์มันน์เองก็ดูเหมือนจะปล่อยทุกอย่างให้อยู่ในมือสตาร์ของทีมอย่างซนฮึงมิน, ฮวังฮีชาน รวมถึงอีคังอิน ที่จะหาหนทางเอาชัยชนะมาให้ทีมให้ได้

 

“ซนเป็นผู้นำและผู้เล่นที่ยอดเยี่ยม ผมเชื่อในการตัดสินใจของเขา” คลินส์มันน์ที่ดูไม่มีสง่าราศีเหลือเลยกล่าว โดยที่แฟน ‘นักรบแทกุก’ เองก็ไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไร เพราะไม่เชื่อมือของกุนซือชาวเยอรมันคนนี้มาสักพักแล้ว

 

ความจริงไม่มีใครคาดหวังกับศูนย์หน้าที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1990 มาแล้วสักเท่าไร

 

คลินส์มันน์ได้รับการแต่งตั้งให้คุมทีมชาติเกาหลีใต้เมื่อต้นปี 2023 แทนที่ของเปาโล เบนโต ที่อำลาหลังจบภารกิจในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ซึ่งปรากฏว่าการทำงานในช่วงแรกเป็นที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งในสายตาของสื่อมวลชนเกาหลีใต้

 

ไม่เพียงแค่ฟอร์มการเล่นของทีมที่ย่ำแย่ การปฏิบัติกับสื่อของคลินส์มันน์ก็ไม่เป็นที่ถูกใจนัก โดยเฉพาะเรื่องของการให้สัมภาษณ์ผ่าน Zoom จากบ้านพักที่แคลิฟอร์เนีย

 

เสียงวิจารณ์ดังกระหึ่มในช่วงเวลาดังกล่าว ก่อนที่ทุกอย่างจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับทั้งเรื่องผลงานของทีม ไปจนถึงเรื่องของการวางตัวต่างๆ เพียงแต่ในความรู้สึกลึกๆ แล้วไม่มีคนเชื่อมือหรือเชื่อใจกุนซือฉลามขาวคนนี้สักเท่าไรนัก

 

อย่างไรก็ดีในการแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ ทีมที่ประสบความสำเร็จไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นทีมที่เล่นได้ดีสวยงามตั้งแต่นัดแรกเสมอไป

 

บ่อยครั้งทีมที่เริ่มต้นได้กระท่อนกระแท่น แต่ค่อยๆ เริ่มดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแต่ละนัดก็จบด้วยถ้วยแชมป์ ตัวอย่างที่ดีล่าสุดคือในฟุตบอลโลก 2022 ที่อาร์เจนตินา เริ่มต้นด้วยการแพ้ซาอุดีอาระเบียมาก่อนจะค่อยๆ พลิกฟอร์ม ฝ่าตะลุยไปทีละรอบทีละนัดจนสุดท้ายคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่ 3 ปิดตำนานเทพนิยายลูกหนังของลิโอเนล เมสซีได้

 

 

เกาหลีใต้ก็มีโอกาสจะทำได้เช่นกัน หลังจากที่ไม่เคยคว้าแชมป์รายการนี้มาครองได้เลยนับตั้งแต่ปี 1964 หรือ 50 ปีมาแล้ว โดยครั้งล่าสุดที่ได้เข้าชิงชนะเลิศคือปี 2015 แต่ก็พ่ายให้กับออสเตรเลีย (ซึ่งมี แอนจ์ ปอสเตโคกลู คุมทัพ และเป็นบอสของซนฮึงมินในสโมสร)

 

เริ่มจากเกมคืนนี้ที่จะพบกับจอร์แดน ซึ่งบู๊กันมาอย่างสนุกในเกมรอบแรกที่เสมอกัน 2-2 โดยที่จอร์แดนก็เป็นหนึ่งในความเซอร์ไพรส์ของรายการนี้

 

ถ้าหากผ่านด่านไปได้ก็จะรอพบกับผู้ชนะระหว่างแชมป์เก่าและเจ้าภาพกาตาร์ หรืออิหร่านที่หักด่านญี่ปุ่นได้อย่างยอดเยี่ยม

 

คลินส์มันน์บอกเป็นนัยว่าทีมของเขาพร้อมเสมอหากเกมจะยื้อไปถึงช่วงของการต่อเวลาพิเศษ หรือแม้แต่การดวลจุดโทษ

 

ฟอร์มอาจไม่โดนใจ แต่บอกเลยไม่มีใครประมาท ‘ซอมบี้ฟุตบอล’ ได้แน่นอนในตอนนี้!

 

อ้างอิง:

The post ‘ซอมบี้ฟุตบอล’ จะพาเกาหลีใต้ถึงฝันเอเชียนคัพหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘Trust the Process’ ชัยชนะสำคัญและความสุขล้นใจของอาร์เซนอล https://thestandard.co/trust-the-process-arsenal/ Mon, 05 Feb 2024 09:20:51 +0000 https://thestandard.co/?p=896268 อาร์เซนอล

ภาพของ มิเกล อาร์เตตา ที่วิ่งฉลองประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ […]

The post ‘Trust the Process’ ชัยชนะสำคัญและความสุขล้นใจของอาร์เซนอล appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาร์เซนอล

ภาพของ มิเกล อาร์เตตา ที่วิ่งฉลองประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บของ เลอันโดร ทรอสซาร์ด ไปจนถึงโมเมนต์ระหว่าง มาร์ติน โอเดการ์ ที่ขอสลับบทถ่ายภาพตากล้องประจำสโมสร โดยมีเหล่ากูนเนอร์สเป็นฉากหลังเมื่อจบเกมที่เอมิเรตส์สเตเดียมที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอยู่บ้าง

 

นักวิเคราะห์อย่าง เจมี คาร์ราเกอร์, แกรี เนวิลล์ และ ริโอ เฟอร์ดินานด์ มองว่า อาการ ‘สุขล้น’ ของอาร์เตตา นักเตะ และแฟนบอลอาร์เซนอล ถือว่า ‘เกินเบอร์’ ไปมาก

 

ผู้จัดการทีมชาวสเปนถึงขั้นทำท่า ‘ชกลม’ (Fist Pump) ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของ เจอร์เกน คล็อปป์ เลยทีเดียว

 

“ชนะแล้วก็เดินกลับเข้าห้องแต่งตัวไปสิ” 

 

“นี่แค่เกมเดียวไม่ได้แปลว่าจะได้แชมป์”

 

อย่างไรก็ดี หากมองในมุมของอาร์เซนอลแล้วก็จะเข้าใจได้ถึงความสำคัญของชัยชนะในเกมนี้

 

รวมถึงวิธีการที่ทำให้พวกเขาได้มาซึ่งชัยชนะด้วย

 

 

ในวันที่อาร์เตตาเข้ามารับงานคุมทีมกันเนอร์สต่อจากอูไน เอเมรี ในเดือนธันวาคม 2019 หากมีใครบอกในเวลานั้นว่า ผู้จัดการทีมหน้าใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการคุมทีมใหญ่มาก่อน จะสามารถเปลี่ยนแปลงอาร์เซนอลให้กลายเป็นทีมในระดับลุ้นแชมป์ (Title Contender) อาจจะถูกมองด้วยสายตาที่ไม่ดีได้

 

เพราะอาร์เซนอลในเวลานั้นเต็มไปด้วยปัญหาไปเสียแทบทุกจุด ทีมขาดพลัง ไม่มีความเชื่อ มีสตาร์ที่เล่นไม่คุ้มค่าเหนื่อย ไปจนถึงนักเตะที่ดีไม่พอสำหรับทีมที่เคยยิ่งใหญ่อย่างอาร์เซนอล

 

แต่สิ่งที่ได้เห็นในเกมที่เอมิเรตส์สเตเดียมเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันนี้นักเตะอาร์เซนอลพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า พวกเขาดีพอที่จะสยบทีมที่แข็งแกร่งอย่างลิเวอร์พูลลงได้แบบไร้ซึ่งคำถาม เพราะทุกอย่างมันชัดเจนตั้งแต่นาทีแรกจนนาทีสุดท้าย

 

นักเตะปืนใหญ่แสดงให้เห็นไม่เพียงแค่เรื่องของคุณภาพของทีมที่แกร่งทั่วแผ่น แต่พวกเขาแสดงให้เห็นถึงทีมเวิร์กที่เหนือกว่า แผนการที่ดีกว่า และสำคัญที่สุดคือเรื่องของลูกล่อลูกชนและหัวจิตหัวใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเขาถูกตั้งคำถามมาตลอด 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา

 

กระดูกยังแข็งไม่พอหรอก ยังเคี่ยวกรำไม่พอ ใจไม่ได้หรอก คือสิ่งที่อาร์เซนอลเจอมาโดยตลอด

 

แต่ในฤดูกาลนี้พวกเขาจัดการแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ได้แล้วที่สนามแห่งนี้

 

และเมื่อคืนนี้พวกเขาจัดการลิเวอร์พูลได้เหมือนกัน

 

 

ในระบบลีกของเกมฟุตบอล ในแต่ละนัดไม่ว่าจะชนะใครด้วยสกอร์สักเท่าไร ในเรื่องทางโลกถือว่าก็ได้ 3 คะแนนเท่ากันและเท่านั้น

 

แต่ในเรื่องทางใจแล้ว คนที่เข้าใจเกมฟุตบอลดีจะเข้าใจว่าชัยชนะในเกมใหญ่แบบนี้มันมีความหมายมากแค่ไหน

 

จริงอยู่ที่ลิเวอร์พูลมาในสภาพที่ไม่พร้อมสรรพนัก พวกเขาต้องขาดนักเตะที่กำลังทำผลงานได้ดีและมีความสำคัญมากในระบบการเล่นไป 3 คนจากทีมตัวจริง เมื่อ คอเนอร์ แบรดลีย์ แบ็กขวาดาวรุ่ง ได้รับข่าวร้ายการจากไปของ คุณพ่อโจ แบรดลีย์ ก่อนเกมเพียงแค่ 2 วัน ขณะที่ โดมินิก โซโบสไล กองกลางตัวเดินเกมคนสำคัญ มีอาการบาดเจ็บ ซ้ำยังไม่มีชื่อด้วยอีกคน ส่วน ดาร์วิน นูนเญซ มีอาการบาดเจ็บจากเกมกับเชลซี ไม่พร้อมสำหรับการลงตัวจริง

 

อย่าลืมชื่อของ โมฮัมเหม็ด ซาลาห์ ที่บาดเจ็บ ไปจนถึง วาตารุ เอนโดะ ที่เพิ่งเดินทางกลับจากภารกิจรับใช้ทีมชาติญี่ปุ่นในรายการเอเชียนคัพ

 

ถ้าเป็นการลงสนามเจอทีมอื่นทั่วไป ขุมกำลังที่เหลือของลิเวอร์พูลน่าจะดีพอให้พวกเขาเอาชนะคู่แข่งได้ หรืออย่างน้อยเอาตัวรอดได้เหมือนที่ได้เห็นมาตลอดทั้งฤดูกาลใ นการเป็นทีมที่พลิกสถานการณ์กลับมาคว้าผลการแข่งขันที่ดีได้มากที่สุด

 

แต่ไม่ใช่สำหรับอาร์เซนอล โดยเฉพาะในวันที่เหล่ากันเนอร์สตั้งตารอโอกาสจะล้างตา

 

อาร์เตตาไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือแผนการเล่นอะไรเป็นพิเศษ พวกเขายังเป็นฝ่ายที่สามารถ ‘ตรึง’ ลิเวอร์พูลได้เหมือนเดิมด้วยตาข่ายล่องหนที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้

 

ตาข่ายที่ว่าคือการเพรสซิ่งสูงที่กดไม่ให้ลิเวอร์พูลโงหัวขึ้นได้เด็ดขาด ซึ่งกลายเป็นปัญหาของลิเวอร์พูลแสดงออกให้เห็นตั้งแต่ต้นเกมโดยที่ยังหาทางแก้ลำไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นการพบกันครั้งที่ 3 ในรอบระยะเวลาห่างกันแค่ไม่ถึง 2 เดือน (2 พรีเมียร์ลีก และ 1 เอฟเอคัพ)

 

เมื่อบวกกับการที่ทีมของคล็อปป์ดูขาด ‘พลัง’ ที่พวกเขาแสดงให้เห็นอย่างล้นเหลือในช่วงที่ผ่านมา ลิเวอร์พูลจึงตกเป็นรองตลอดในครึ่งเวลาแรก

 

 

ขณะที่อาร์เซนอลเล่นแบบเดิม แต่เพิ่มเติมคือวิธีการเข้าทำที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ด้วยการใช้การเปิดบอลแบบไดเรกต์ทิ้งไปยังพื้นที่ฮาล์ฟสเปซ ที่เป็นจุดเกรงใจของบรรดาแนวรับลิเวอร์พูล โดยมีความเร็วและเทคนิคจัดจ้านของ กาเบรียล มาร์ติเนลลี เล่นงานตรง ‘กล่องดวงใจ’ ของผู้มาเยือนจากเมอร์ซีย์ไซด์เข้าอย่างจังในพื้นที่หลังแบ็กขวาที่เป็นความรับผิดชอบของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์

 

ในช่วงหลายนัดที่ผ่านมา พื้นที่ตรงนี้เป็นงานของแบรดลีย์ ไอ้หนูดาวรุ่งวัย 20 ปีที่เป็นฟูลแบ็กธรรมชาติที่เล่นเกมรับได้อย่างยอดเยี่ยม มีทั้งความเร็ว ความแข็งแกร่ง และรูปร่าง ซึ่งช่วยงานของ อิบราฮิมา​ โคนาเต ได้เป็นอย่างดี แต่ในเกมนี้เมื่อเปลี่ยนเป็นแบ็กที่มีจุดอ่อนเรื่องเกมรับอย่างอเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ทำให้มาร์ติเนลลีลูบปากเบาๆ

 

ประตูขึ้นนำของอาร์เซนอลก็เริ่มจากการที่เทรนต์ไม่ได้ตามมาร์ติเนลลี ทำให้โคนาเตพะวงกับกองหน้าชาวบราซิล เปิดพื้นที่ให้ ไค ฮาเวิร์ตซ์ ที่ขยับหาช่องได้ยอดเยี่ยม และต้องชมโอเดการ์ดที่เปิดด้วยน้ำหนักที่สุดยอดจนได้หลุดเข้าไป แม้จะยิงไม่ผ่าน อลิสสัน เบ็คเกอร์ แต่ก็ยังมี บูกาโย ซากา ซ้ำดาบสองให้

 

หลังจากนั้นแผนของอาร์เซนอลคือการหยุดเพรสซิ่งหนัก เพราะพวกเขาไม่สามารถจะเล่นแบบนั้นได้ทั้งเกม แต่เปลี่ยนมาเป็นแพ็กเกม ปล่อยให้ลิเวอร์พูลครองบอลได้ แต่ไม่ปล่อยให้สร้างโอกาสได้

 

ความผิดพลาดครั้งเดียวคือการที่ วิลเลียม ซาลิบา ประมาทเกินไปจนทำให้ หลุยส์ ดิอาซ ชิงบอลได้ในกรอบ 6 หลา ก่อนลูกสะกิดแบบไม่คิดอะไรจะโดนแขนของ กาเบรียล มาร์กัลเญส เข้าไปเป็นประตูตีเสมอ 1-1

 

ในสถานการณ์แบบนี้เป็นเรื่องที่คาดได้ว่าอาร์เซนอลจะเสียหลัก และอาจถึงขั้นโดนลิเวอร์พูลเล่นงานได้ ซึ่งเกมในช่วงต้นครึ่งหลังก็ส่อเค้าแบบนั้นจริงๆ เมื่อนักเตะหงส์แดงเหยียบคันเร่งหวังยิงแซงให้ได้โดยเร็วที่สุดในระหว่างที่คู่แข่งยังตั้งตัวไม่ถูก

 

 

จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดมาเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของ เวอร์จิล ฟาน ไดจ์ค ที่ปล่อยลูกเปิดยาวของมาร์กัลเญสมาให้มาร์ติเนลลีข้ามหัวไปโดยไม่ยอมขึ้นโหม่งตั้งแต่แรก และมาพลาดท่าในจังหวะชิงเหลี่ยมปะทะกันด้วยพละกำลังที่อัดสตาร์แซมบ้าไม่ลง ซ้ำยังเสียหลักไปรบกวนอลิสสัน ซึ่งก็ทะเลอทะล่าออกมาหมายเตะบอลทิ้งเหมือนกัน

 

สุดท้ายเมื่ออลิสสันจั่ววืด เกมก็เข้าทางอาร์เซนอลทั้งหมดทันที

 

เพราะคราวนี้ทีมของอาร์เตตารู้แล้วว่าพวกเขาจะพลาดแบบเดิมไม่ได้อีกเด็ดขาด เกมรับถอนลงไปแพ็กกันแน่น ซึ่งไม่เพียงแค่เรื่องของทีมเวิร์ก ความเข้าใจเกม กันเนอร์สยังมีวินัยที่ยอดเยี่ยม

 

พวกเขาสู้เพราะรู้ว่าชัยชนะเกมนี้ไม่ได้มีความหมายแค่ 3 คะแนน แต่มันคือการจุดประกายความหวังของทีมให้กลับสู่เส้นทางของการลุ้นแชมป์อีกครั้ง ซึ่งสิ่งนี้มีความหมายอย่างมากสำหรับช่วงที่เหลือของฤดูกาล

 

ระหว่างการโดนลิเวอร์พูลทิ้งเป็น 8 แต้ม กับไล่ตามเหลือ 2 คะแนน มันเป็นความรู้สึกเหมือนโลกคนละใบ

 

และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้อาร์เตตาวิ่งฉลองประตูของทรอสซาร์ดอย่างสุดสะใจ ไปจนถึงการใช้กำปั้นอัปเปอร์คัตให้แฟนอาร์เซนอล รวมถึงการที่โอเดการ์ดถ่ายภาพตากล้องให้เป็นที่ระลึก

 

ขณะที่กูนเนอร์สประกาศศักดาหน้าสนามเอมิเรตส์อย่างมั่นใจ “พวกเราจะคว้าแชมป์ได้แน่”

 

 

‘Trust the Process’ ได้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าพวกเขาก้าวไปอีกขั้นแล้ว และมันก็มีเหตุผลให้เชื่อเช่นนั้น

 

ในความเป็นจริงฤดูกาลยังเหลือเส้นทางอีกค่อนข้างไกล ยังมีจุดพลิกผันที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ตลอด โดยเฉพาะมีปัจจัยเรื่องของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รวมถึงเรื่องอาการบาดเจ็บและความอ่อนล้าของผู้เล่นที่จะกลับมาในช่วงหลังจากนี้ ซึ่งอาร์เตตาถูกวิพากษ์ว่าบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ค่อยดีนัก แต่โชคดีที่ไม่ค่อยมีปัญหาตัวผู้เล่นบาดเจ็บ

 

อย่าลืมว่ายังมีแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ตอนนี้กลับมาเข้าฟอร์ม ‘ลาสต์บอส’ อีกครั้ง หลังได้ เควิน เดอ บรอยน์ และ เออร์ลิง เบราต์ ฮาลันด์ กลับมา และลิเวอร์พูลก็ไม่ใช่ทีมที่ล้มแล้วไม่เคยลุกเสียเมื่อไร

 

แต่นั่นเป็นเรื่องของอนาคต เอียน ไรต์ ตำนานกันเนอร์ส ไม่เห็นด้วยกับการที่ใครต่อใครออกมาท้วงติงเรื่องอาการ ‘สุขล้น’ ของอาร์เซนอล

 

ไม่ใช่ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้ายังมีขวากหนามรออยู่ ไม่ใช่ไม่รู้ว่ามีโอกาสที่จะผิดหวัง

 

แค่วันนี้จะขอมีความสุขบ้าง ผิดมากหรือไร?

The post ‘Trust the Process’ ชัยชนะสำคัญและความสุขล้นใจของอาร์เซนอล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฤดูนี้หนาวๆ เหงาๆ สาเหตุที่ทำให้ตลาดนักเตะพรีเมียร์ลีกซบเซา? https://thestandard.co/january-transfer-spending-analysis/ Fri, 02 Feb 2024 14:39:00 +0000 https://thestandard.co/?p=895468 ตลาดซื้อขายนักเตะ

หากตลาดการซื้อ-ขายรอบฤดูหนาวของปี 2023 คือตลาดที่ว้าวุ่ […]

The post ฤดูนี้หนาวๆ เหงาๆ สาเหตุที่ทำให้ตลาดนักเตะพรีเมียร์ลีกซบเซา? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดซื้อขายนักเตะ

หากตลาดการซื้อ-ขายรอบฤดูหนาวของปี 2023 คือตลาดที่ว้าวุ่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกด้วยเม็ดเงินสะพัดถึงกว่า 815 ล้านปอนด์ (3.6 หมื่นล้านบาท) ตลาดการซื้อ-ขายรอบที่เพิ่งปิดตัวลงไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็คือตลาดรอบที่ทั้งหนาวและเหงาที่สุดเช่นกัน

 

ตัวเลขการย้ายทีมของนักเตะในรอบตลาดนี้ลดลงเหลือเพียงแค่ 112 ล้านปอนด์ (5 พันล้านบาท) เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างน่าใจหายเป็นอย่างยิ่ง

 

เกิดอะไรขึ้นกับตลาดการซื้อ-ขายนักเตะในปีนี้? มันเกี่ยวอะไรกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกหรือไม่?

 

ตลอดช่วงระยะเวลา 32 วันที่ตลาดการซื้อ-ขายฤดูหนาว (Winter Transfer Window) เปิดให้ทุกสโมสรซื้อหาผู้เล่นเข้ามาเพื่อปรับทัพเสริมทีมสำหรับการสู้ศึกในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล สปอตไลต์ย่อมจับไปที่พรีเมียร์ลีก ในฐานะลีกฟุตบอลอันดับหนึ่งที่ร่ำรวยเงินทองมากที่สุด

 

 

โดยเฉพาะเมื่อปีกลายที่พรีเมียร์ลีกแสดงแสนยานุภาพของความเป็น ‘ซูเปอร์ลีก’ ออกมาด้วยการซื้อ-ขายผู้เล่นมโหฬารกันถึงกว่า 815 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงอย่างน่าตกใจ โดยที่ลีกใหญ่ในระดับ Top 5 ของยุโรปที่อื่นได้แต่มองตากันปริบๆ

 

เจ้าพ่อตลาดปีที่แล้วคือเชลซี ภายใต้การนำของ ทอดด์ โบห์ลี นักธุรกิจกีฬาชาวอเมริกันที่ช้อปปิ้งนักเตะเข้าทีมเหมือนกดใส่ตะกร้ารอแล้วจ่ายโดยไม่ต้องคิด ซึ่งก็มีการย้ายทีมของสตาร์อย่าง เอนโซ เฟร์นานเดซ กองกลางทีมชาติอาร์เจนตินาที่เพิ่งคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก รวมถึง มิไคโล มูดริก ปีกยูทูเบอร์ที่ได้จากชัคตาร์ โดเนตสก์

 

แต่ในตลาดรอบนี้เชลซีไม่ได้เสริมทัพด้วยนักเตะรายไหนอีก แม้ว่าจะเพิ่งพ่ายต่อลิเวอร์พูลมาแบบหมดรูปถึง 4-1 ในเกมพรีเมียร์ลีกนัดกลางสัปดาห์ก็ตาม

 

ทีมที่กลายเป็นเจ้าตลาดสำหรับรอบนี้กลายเป็นคริสตัล พาเลซ ที่ใช้เงินไป 30 ล้านปอนด์ในการคว้าตัว อดัม วอร์ตัน กองกลางจากทีมแบล็กเบิร์น โรเวอร์ส และ แดเนียล มูนอซ แบ็กขวาจากเกงค์ สโมสรในเบลเยียม เพื่อความหวังในการลุ้นหนีตกชั้นในฤดูกาลนี้

 

รองลงมาคือท็อตแนม ฮอตสเปอร์ ที่ได้ ราดู ดรากูซิน มาจากเจนัว ด้วยค่าตัว 26 ล้านปอนด์ (ส่วนรายของ ติโม แวร์เนอร์ เป็นการยืมตัว)

 

ในภาพรวมมีสโมสรที่ใช้เงินซื้อผู้เล่นเพียงแค่ 9 สโมสรเท่านั้น อีก 11 สโมสรสงบนิ่งไม่ไหวติงสำหรับตลาดซื้อ-ขายในรอบนี้

 

 

สิ่งที่ทำให้ตลาดการซื้อ-ขายรอบนี้ดูซบเซาหนักมาจากเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน

 

ประการแรก ในช่วงตลาดการซื้อ-ขายรอบฤดูร้อน ซึ่งเป็นตลาดหลักนั้น สโมสรในพรีเมียร์ลีกได้มีการลงทุนกันมหาศาลถึงกว่า 2.36 พันล้านปอนด์ เรียกว่าทุบทุกสถิติแบบแหลกลาญ โดยหลักแล้วทีมพอใจกับขุมกำลังที่มีอยู่ จึงไม่มีการเสริมทัพเข้ามาอีก

 

ตรงนี้เป็นเรื่องของกลยุทธ์การวางแผนที่ดีขึ้นของสโมสรที่เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ใช้คนทำงานเป็นมาบริหาร ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่มีการซื้อนักเตะแบบคุกกี้เสี่ยงทายอีก

 

อีกเหตุผลที่สำคัญคือ เรื่องของความกังวลต่อการทำผิดกฎการเงิน Profit and Sustainability Rule (PSR) ที่เล่นงานเอฟเวอร์ตันจนโดนตัดไปแล้วถึง 10 แต้ม (จากคดีในฤดูกาล 2021/22) และเอฟเวอร์ตันถูกตั้งข้อหาเพิ่มอีกร่วมกับน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ จากความผิดในกรณีฤดูกาล 2022/23

 

เรื่องนี้ ดร.แดน พลัมลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินในวงการกีฬาจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ฮัลลัม ฟันธงว่ามีส่วนเต็มๆ “ปัจจัยใหญ่ที่สุดคือเรื่องของ PSR”

 

 

จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับเอฟเวอร์ตัน ที่โดนตั้งข้อหาซ้ำอีกรอบ รวมถึงฟอเรสต์ที่โดนครั้งแรก เป็นการทำให้สโมสรในพรีเมียร์ลีกต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นในการใช้จ่าย นั่นทำให้เราไม่ได้เห็นพฤติกรรมการซื้อนักเตะที่น่าสะพรึงกลัวเหมือนเชลซีที่ใช้เงินเหมือนพิมพ์ธนบัตรเองได้

 

จนกว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของกฎ PSR (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ 115 คดีของแมนเชสเตอร์ ซิตี้) สโมสรในพรีเมียร์ลีกไม่กล้าที่จะขยับตัวหากจะมีความสุ่มเสี่ยงแม้แต่นิดเดียว เพราะการโดนลงโทษไม่คุ้มอย่างมาก

 

ตัวกฎ PSR นั้นยังมีส่วนในการทำให้ตลาดการซื้อ-ขายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากปกติที่จะเป็นรอบตลาดฤดูร้อนและฤดูหนาว ตอนนี้สโมสรในพรีเมียร์ลีกเหมือนมีตลาดเพิ่มในรอบฤดูร้อนและฤดูร้อนกว่า

 

ที่บอกแบบนี้เพราะด้วยเรื่องของบัญชีสโมสรที่จะมีการสรุปงบประจำปีในวันที่ 30 มิถุนายน กลายเป็นเหมือนตลาดฤดูร้อนรอบแรกที่สโมสรจะต้องเคลื่อนไหว ไม่ใช่แค่เรื่องจะซื้อ แต่รวมถึงการจะขายใครออกไป เพื่อตกแต่งตัวเลขบัญชีให้สวยงามด้วย

 

จากนั้นหลังเข้าวันที่ 1 กรกฎาคม ก็จะถือเป็นตลาดฤดูร้อนแบบจริงจังที่จะมีการจับจ่ายใช้สอยตามปกติ เพราะจะถือว่าเข้าปีงบประมาณใหม่แล้ว

 

สโมสรในพรีเมียร์ลีกจึงต้องมีการปรับตัวและมีการใช้เทคนิคทางการบัญชีมากขึ้น แต่สิ่งที่ไม่สามารถทำได้แล้วคือ การเกลี่ยยอดรายจ่ายที่เชลซีใช้ในปีที่แล้วผ่านสัญญานักเตะในระยะยาวหลายปี (7-8 ปี) ซึ่งพรีเมียร์ลีกและยูฟ่าได้มีการอัปเดตกฎเพื่อปิดรูโหว่

 

 

เหตุผลสุดท้ายคือ จอมดิสรัปต์วงการอย่างซาอุดีอาระเบียได้ยุติการล่านักเตะเข้ามาค้าแข้งในแดนทะเลทราย โดยหลังจากที่คุ้ยแบงก์ย่อยมาใช้ซื้อนักเตะในพรีเมียร์ลีกไปกว่า 245 ล้านปอนด์ในช่วงตลาดรอบฤดูหนาวที่ผ่านมาเงียบกริบ

 

แล้วตลาดนักเตะในลีกอื่นเป็นอย่างไร?

 

ลีกที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดคือลีกเอิง ที่มีการซื้อ-ขายนักเตะกันถึง 163 ล้านปอนด์ (7.3 พันล้านบาท) ซึ่งมาจากการเสริมทัพของบรรดาทีมใหญ่ทั้งปารีส แซงต์ แชร์กแมง, โอลิมปิก ลียง, โอลิมปิก มาร์กเซย และแรนส์

 

ส่วนเซเรียอาใช้จ่ายที่ 86 ล้านปอนด์ (3.8 พันล้านบาท), บุนเดสลีกา 70 ล้านปอนด์ (3.1 พันล้านบาท) และลาลีกา 69 ล้านปอนด์ (3.1 พันล้านบาท) ซึ่งก็ถือเป็นตัวเลขที่ปกติสำหรับลีกเหล่านี้

 

จะมีเพียงพรีเมียร์ลีกที่น่าประหลาดใจ แต่เมื่อมองถึงเหตุผลต่างๆ ก็พอจะเข้าใจได้ โดยเฉพาะตัวแปรในเรื่องกฎ PSR – ซึ่งในความจริงแล้วก็คือ Financial Fair Play แบบอัปเกรด – ที่กำลังถูกจับตามองว่าจะมีส่วนในการช่วยควบคุมการแข่งขันให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้น หรือในอีกทางจะเป็นการ ‘คุมกำเนิด’​ ทำให้ทีมพรีเมียร์ลีกอ่อนแอลงหรือไม่

 

แต่ที่แน่ใจได้คือ ในรอบตลาดฤดูร้อนกว่า (หลังวันที่ 1 กรกฎาคม) ทุกทีมจะกลับมาใช้จ่ายกันอย่างสนุกมืออย่างแน่นอน

 

เพราะเดือนมกราคมมันยาวนานและหนาวเหน็บเกินไปแล้วในตอนนี้

 

อ้างอิง:

 

The post ฤดูนี้หนาวๆ เหงาๆ สาเหตุที่ทำให้ตลาดนักเตะพรีเมียร์ลีกซบเซา? appeared first on THE STANDARD.

]]>
คอเนอร์ แบรดลีย์ ไอ้หนูสลาตันสีแดง มาแรงแบบขี่พายุทะลุฟ้า https://thestandard.co/conor-bradley/ Thu, 01 Feb 2024 06:43:15 +0000 https://thestandard.co/?p=894761 คอเนอร์ แบรดลีย์

อาการบาดเจ็บของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ที่เกิดข […]

The post คอเนอร์ แบรดลีย์ ไอ้หนูสลาตันสีแดง มาแรงแบบขี่พายุทะลุฟ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
คอเนอร์ แบรดลีย์

อาการบาดเจ็บของ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ที่เกิดขึ้นในจังหวะไล่กวด กาเบรียล มาร์ติเนลลี กองหน้าอาร์เซนอล ในเกมเอฟเอคัพ รอบ 3 เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา สร้างความกังวลใจให้กับแฟนบอลลิเวอร์พูลอยู่ไม่น้อย

 

เพราะแบ็กขวารองกัปตันทีมรายนี้คือหัวใจและแกนกลางของทีม ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เกมรับ แต่เป็นคนคุมจังหวะการเล่นในเกมรุกด้วยการเปิดบอลที่แม่นยำ ไปจนถึงการเติมขึ้นมาหาโอกาสทำประตูด้วยตัวเอง

 

ในเวลานั้นเองลิเวอร์พูลก็มีปัญหาที่ตำแหน่งแบ็กซ้ายด้วย เมื่อ คอสตัส ซิมิกาส บาดเจ็บตาม แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน ไปอีกคน นั่นหมายถึง โจ โกเมซ ที่ปกติจะเป็นคนลงทดแทนเทรนต์ ต้องโยกตัวเองไปอยู่ทางซ้ายแทน

 

โบราณว่า สถานการณ์ทำให้เกิดวีรบุรุษ และวีรบุรุษคนที่ได้โอกาสแจ้งเกิดในช่วงเวลานี้คือ คอเนอร์ แบรดลีย์ แบ็กขวาดาวรุ่งวัย 20 ปีชาวไอร์แลนด์เหนือ ที่ไม่เพียงแต่พิสูจน์ตัวเองว่าดีพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นตัวทดแทนในตำแหน่งนี้

 

ผลงาน 2 แอสซิสต์ กับอีก 1 ประตูสุดสวย ในเกมที่ช่วยให้ลิเวอร์พูลถล่มเชลซี 4-1 เมื่อคืนนี้ ทำให้เกิดบทสนทนาภาษาลูกหนังเรื่องใหม่

 

หรือไอ้หนูคนนี้ควรจะเป็นตัวจริงในตำแหน่งนี้แทนเทรนต์เลย?

 

 

ในช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่แฟนฟุตบอลลิเวอร์พูลตั้งตารอคอยว่าทีมจะมีการเสริมทัพในทีมกี่ตำแหน่ง หนึ่งในจุดที่เป็นปัญหาคือ ตำแหน่งแบ็กขวาที่จะต้องหาคนมาทดแทน เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ซึ่งกำลังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเล่นมิดฟิลด์ในอนาคต

 

แต่จนแล้วจนรอดลิเวอร์พูลก็ไม่ได้มีการเสริมทัพในตำแหน่งนี้แต่อย่างใด เพราะมี โจ โกเมซ นักเตะสารพัดประโยชน์อยู่แล้วคนหนึ่ง และอีกคนหนึ่งคือ คอเนอร์ แบรดลีย์ นักเตะดาวรุ่งจากอะคาเดมีที่กลับมาสู่ต้นสังกัดหลังจากไปเล่นให้กับโบลตัน วันเดอเรอร์ส ในสัญญายืมตัวหนึ่งฤดูกาล

 

อย่างไรก็ดี แบรดลีย์โชคร้ายเพราะบาดเจ็บตั้งแต่ในช่วงพรีซีซัน หลังลงเล่น 2 เกมแรกแล้วรู้สึกปวดหลังในเช้าวันหนึ่ง ปรากฏว่าไม่ใช่อาการปวดหลังธรรมดา แต่เป็นรอยร้าวในกระดูกสันหลัง ทำให้ต้องพักรักษาตัวอย่างระมัดระวัง และใช้เวลายาวนานกว่า 5 เดือนกว่าที่จะกลับมาแข็งแรงลงสนามได้อีกครั้ง

 

ช่วงเวลาที่หายไปทำให้ไม่มีใครคิดหรือสนใจในตัวของเขามากนัก เรียกว่าไม่ได้เป็นคนที่ถูกคาดหวังสักเท่าไร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ เบน โด๊ก กองหน้าดาวรุ่งที่ร้อนแรงจัดในช่วงพรีซีซัน หรือ จาเรลล์ ควานซาห์ เซ็นเตอร์แบ็กที่แจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ

 

แต่ในความ Low-Key ของแบรดลีย์ ไอ้หนูคนนี้ค่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อยในโอกาสที่นายใหญ่อย่าง เจอร์เกน คล็อปป์ มอบให้

 

เกมแรกที่เขาได้ลงสนามคือศึกยูฟ่ายูโรปาลีกกับลัสก์ ซึ่งแบรดลีย์ถูกส่งลงมาในช่วง 8 นาทีสุดท้ายของเกม แม้ว่าจะยังเก้ๆ กังๆ ไม่ได้ทำอะไรมากนัก แต่เขาคือเด็กที่คล็อปป์มั่นใจว่าเป็น ‘ของจริง’ และเป็น ‘คนที่พึ่งพาได้’

 

โดยที่ไม่มีใครคิดว่าแบรดลีย์จะพิสูจน์ตัวเองได้อย่างรวดเร็วขนาดนั้น

 

 

นับจากการลงสนามในเกมแรก แบรดลีย์ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละนัดที่ผ่านไป เริ่มจากพื้นฐานการเล่นสำหรับตำแหน่งแบ็กขวาคือเกมรับ ด้วยความเร็วและความแข็งแกร่ง แม้จะมีรูปร่างที่บอบบางก็ตาม

 

ประกายแสงแวบแรกเกิดขึ้นในเกมเอฟเอคัพที่พบกับอาร์เซนอล ซึ่งเป็นเกมเดียวกับที่อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ บาดเจ็บ โดยเขาถูกส่งลงมายืนแบ็กขวาเพื่อช่วยเกมรับที่กำลังโดนเจาะทะลวงทางฝั่งของรองกัปตันทีมวัย 25 ปี

 

แบรดลีย์เอาชนะการดวลกับปีกที่จัดจ้านที่สุดคนหนึ่งของพรีเมียร์ลีกอย่าง กาเบรียล มาร์ติเนลลี และได้รับคำชมเชยอย่างมาก

 

ก่อนที่เทรนต์จะบาดเจ็บต้องพักการเล่นราว 3 สัปดาห์ ซึ่งกลายเป็นโอกาสของแบ็กรุ่นน้องในการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวแทน

 

เริ่มจากเกมลีกคัพ หรือคาราบาวคัพ รอบรองชนะเลิศ กับฟูแลม ทั้งสองนัด ซึ่งเล่นได้อย่างแข็งแกร่ง รับมือกับปีกลายครามอย่างวิลเลียนได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนี้ยังมีเกมพรีเมียร์ลีกนัดที่พบกับบอร์นมัธ และเอฟเอคัพ รอบ 4 กับนอริช ซิตี้

 

จุดที่แบรดลีย์สร้างความประหลาดใจให้ทุกคนคือ ความจัดจ้านในการเล่นเกมรุก เพราะหลังจากประเดิมการทำแอสซิสต์แรกให้ ดีโอโก โชตา ในเกมพรีเมียร์ลีกกับบอร์นมัธ หลังจากนั้นเขายังมีส่วนกับการได้ประตูของทีมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเกมเอฟเอคัพกับนอริชที่ทำไป 2 แอสซิสต์ในการเปิดให้ ดาร์วิน นูนเญซ และ ไรอัน คราเฟนแบร์ก

 

ก่อนที่จะระเบิดผลงานสุดยอดในเกมกับเชลซี ด้วยการประเดิมประตูแรกกับลิเวอร์พูลด้วยลูกยิงสุดสวย เท่านั้นไม่พอ ยังได้อีก 2 แอสซิสต์ในการผ่านบอลให้โชตากับ โดมินิก โซโบสไล ทำประตูได้

 

นั่นเท่ากับ 1 เดือนที่ผ่านมาแบรดลีย์ทำไปแล้ว 1 ประตู กับ 5 แอสซิสต์ เลยทีเดียว

 

 

อย่างไรก็ดี สำหรับคนที่รู้จักแบรดลีย์เป็นอย่างดีจะไม่ประหลาดใจกับขีดความสามารถของเด็กคนนี้สักเท่าไรนัก

 

เพราะจุดเด่นของแบรดลีย์ไม่ใช่เรื่องของเกมรับ แต่เป็นเรื่องของการเล่นเกมรุก ขึ้นสุดลงสุด และมีทีเด็ดติดตัวพอสมควร ซึ่งมาจากพื้นฐานที่เคยเล่นในตำแหน่งปีกหรือกองกลางตัวริมเส้นมาก่อน ทำให้เรื่องของจังหวะการเติมเกมหรือจังหวะการเปิดบอลทำได้หลากหลายรูปแบบ

 

อาจจะไม่ได้หวือหวาแฟนตาซีเหมือนอเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ แต่ความแม่นยำและประสิทธิภาพยอดเยี่ยม เป็นไปตามมาตรฐานของตัวริมเส้นที่ดีพึงมี

 

เมื่อบวกกับการได้ไปเก็บประสบการณ์กับโบลตัน สโมสรในระดับลีกวัน เมื่อฤดูกาลที่แล้ว ที่แม้จะเป็นทีมในระดับรอง แต่การได้ลงสนามจริงก็มีส่วนช่วยนักเตะดาวรุ่งอย่างเขามาก โดยตลอดทั้งฤดูกาล 2022/23 แบรดลีย์ลงเล่นไปกว่า 53 นัดเลยทีเดียว และเป็นคนสำคัญที่มีส่วนช่วยให้โบลตันคว้าแชมป์ปาปาจอห์นโทรฟี่

 

นอกจากนี้เขายังเป็นนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยมของโบลตัน และได้รางวัล Players’ Player และ Player of the Season ของสโมสรด้วย เรียกว่ากวาดครบทุกรางวัล

 

ดิออน ชาร์ลส์ กองหน้าวัย 28 ปีของโบลตัน และเป็นรุ่นพี่ในทีมชาติไอร์แลนด์เหนือ เชื่อว่าเด็กคนนี้จะมีอนาคตที่สดใส “คอเนอร์เป็นเด็กที่น่าเหลือเชื่อ เขาสามารถไปได้ไกลอย่างที่ใจเขาต้องการเลย

 

“ข้อดีที่สุดคือ เรื่องความคิดความอ่าน เขาเป็นคนที่ต้องการเรียนรู้ ต้องการทำให้ดีขึ้น” ซึ่งชาร์ลส์มั่นใจมาตลอดว่าแบรดลีย์จะสามารถแทรกตัวอยู่ในทีมลิเวอร์พูลได้

 

ที่เหลือคือเรื่องของการท้าชนกับเทรนต์ เจ้าของตำแหน่งเดิม ซึ่งชาร์ลส์เชื่อว่าการที่ได้ฝึกซ้อมร่วมกันจะทำให้แบรดลีย์เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และจะพัฒนาขีดความสามารถในตัวขึ้นมา

 

ขณะที่โค้ชสมัยเด็กๆ ของแบรดลีย์อย่าง ทอมมี มอสส์ จากทีมเซนต์ ดาว็อกส์ บอกว่า เขาเป็นเด็กดีที่ทำตัวเรียบง่าย ซึ่งมาจากการที่คุณแม่ลินดาพร่ำสอนดูแลมาเป็นอย่างดี บ่มเพาะนิสัยให้เป็นคนถ่อมตน ซึ่งแม้จะเริ่มโด่งดัง มีชื่อเสียง และเติบโตในเส้นทางฟุตบอล ก็ไม่ได้ทำให้ตัวตนของเขาเปลี่ยนแปลง

 

 

การแจ้งเกิดของแบรดลีย์ที่เห็นได้ชัดแล้วว่าเด็กคนนี้ดีพอที่จะอยู่กับสโมสรใหญ่อย่างลิเวอร์พูลในอีกหลายปีข้างหน้า นำมาสู่คำถามที่น่าสนใจในอนาคต

 

ระหว่างเขากับเทรนต์ ใครควรจะได้เป็นแบ็กขวาของลิเวอร์พูลมากกว่ากัน?

 

ถ้ามองในเรื่องของประสบการณ์ รองกัปตันวัย 25 ปียังคงเหนือกว่า โดยเฉพาะความสามารถในการเปิดบอลที่เป็นสกิลพิเศษที่ไม่มีใครจะทำแทนได้ในแบบเดียวกัน แต่แบรดลีย์ก็พิสูจน์ให้เห็นในเรื่องของความสมดุลที่ดีทั้งรุกและรับ อาจจะไม่ได้มีช็อตการเล่นที่พิเศษมหัศจรรย์ แต่ได้ความดุดัน เร้าใจ ทั้งยังมีเทคนิคสูง (ที่เริ่มโชว์ให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ)

 

ในวัย 20 ปี แบรดลีย์ไม่ได้เป็นรองเทรนต์ในช่วงอายุเท่ากันเลยด้วยซ้ำ

 

หรือมันถึงเวลาที่คล็อปป์จะต้องดันเทรนต์ไปเล่นแดนกลางอย่างจริงจัง? ไม่ว่าจะในบทกองกลางตัวรับหรือในบทกองกลางตัวเดินเกม หรือจะต้องคิดค้นระบบและวิธีการเล่นใหม่ เพื่อดึงศักยภาพและใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเปิดบอลที่เหลือเชื่อของเขาให้มากที่สุด

 

ตรงนี้เป็นโจทย์สนุกๆ สำหรับคล็อปป์ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของเขาที่แอนฟิลด์

 

แต่สำหรับแบรดลีย์ นี่เป็นเดือนแรกที่น่ามหัศจรรย์ในชีวิตการเล่นของเขาเท่านั้น เส้นทางของเด็กคนนี้ยังอีกยาวไกล

 

อย่างน้อยที่สุดมันก็ทำให้ผู้คนจดจำและกล่าวขานถึงสายฟ้าสลาตันสีแดงคนนี้กันแล้ว

 

อ้างอิง:

The post คอเนอร์ แบรดลีย์ ไอ้หนูสลาตันสีแดง มาแรงแบบขี่พายุทะลุฟ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทีมชาติไทยในเอเชียนคัพ สิ่งที่พิสูจน์แล้วและสิ่งที่รอการพิสูจน์ https://thestandard.co/thailand-football-team-in-asian-cup-2023/ Wed, 31 Jan 2024 05:40:42 +0000 https://thestandard.co/?p=894213

อาจจะจบลงแบบน่าเสียดายสักหน่อยสำหรับทีมชาติไทยในศึกฟุตบ […]

The post ทีมชาติไทยในเอเชียนคัพ สิ่งที่พิสูจน์แล้วและสิ่งที่รอการพิสูจน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาจจะจบลงแบบน่าเสียดายสักหน่อยสำหรับทีมชาติไทยในศึกฟุตบอลเอเชียนคัพ 2023 แต่ดูเหมือนใจของเราจะตรงกันว่า ไม่มีอะไรให้รู้สึกเสียใจแม้แต่น้อย

 

นักรบลูกหนังแดนสยามสู้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจทุกนัดที่ลงสนาม ทั้ง 3 เกมของรอบแบ่งกลุ่มไปจนถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่ถึงจะพ่ายแพ้ต่อชั้นเชิงและประสบการณ์ที่เหนือกว่าของอุซเบกิสถาน แต่ก็ยืนหยัดต่อสู้ได้อย่างสง่างาม

 

เสียงปรบมือดังกึกก้องไม่เพียงแค่ในสนามอัลยานูบเท่านั้น แต่ยังดังกระหึ่มไปทั่วทั้งโซเชียลมีเดียที่สดุดีความทุ่มเทของผู้เล่นทุกคนไปจนถึงทีมสตาฟฟ์โค้ช และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาซาทาดะ อิชิอิ โค้ชใหญ่คนปัจจุบันที่พิสูจน์ให้เห็นว่าฝีมือของเขาคือของจริง ไม่ใช่เพียงแค่เสียงลือเสียงเล่าอ้าง

 

มากกว่านั้นคือการพิสูจน์ร่วมกันของวงการฟุตบอลไทยว่าเรายังมี ‘ความหวัง’ อยู่เสมอ

 

แต่ในเวลาเดียวกันมันยังมีสิ่งที่เราต้องรอการพิสูจน์อีกมากมายหลังจากนี้

 

 

นับตั้งแต่การลงสนามของทีมชาติไทยนัดแรก รายการเอเชียนคัพ ในการพบกับทีมชาติคีร์กีซสถาน บรรยากาศของวงการฟุตบอลไทยได้เปลี่ยนแปลงทันที

 

เปลี่ยนจากฤดูร้อนกลายเป็นฤดูรัก

 

นั่นเพราะผลงานในสนามของขุนพล ‘ช้างศึก’ ทีมชาติไทย ดีเกินความคาดหมายไปมาก นานเท่าไรแล้วที่เราไม่ได้เห็นทีมชาติไทยเล่นกันได้อย่างลื่นไหลสวยงามขนาดนี้ มากกว่านั้นคือเรื่องของกลยุทธ์ วิธีการเล่น และสำคัญที่สุดคือเรื่องของหัวจิตหัวใจ

 

เรียกว่ามีอยู่ 100 แต่ใส่ให้ 150

 

การขาดหายของสองนักเตะจอมเก๋าที่ดีที่สุดอย่าง ธีรศิลป์ แดงดา และ ชนาธิป สรงกระสินธ์ กลายเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้มองเห็นภาพอนาคตของทีมชาติไทยชัดขึ้นด้วยสายเลือดใหม่อย่าง ศุภชัย ใจเด็ด, สุภโชค สารชาติ, ศุภณัฎฐ์ เหมือนตา รวมถึง วีระเทพ ป้อมพันธุ์, เอเลียส ดอเลาะ, พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี, บดินทร์ ผาลา, นิโคลัส มิคเกลสัน ไปจนถึง ปฏิวัติ คำไหม

 

นักเตะเหล่านี้ดีพอสำหรับการก้าวขึ้นมาแบกรับทีมร่วมกับรุ่นพี่แล้ว และฉายแววได้อย่างโดดเด่นยิ่งกว่าที่ผ่านมา

 

แน่นอนว่าต้องยกความดีความชอบให้กับอิชิอิด้วย ในฐานะนายใหญ่ที่ต้องเข้ามารับเผือกร้อนในการคุมทีมรายการนี้ต่อจาก มาโน โพลกิง โดยมีระยะเวลาในการเตรียมงานที่น้อยจนน่าตกใจ ไหนจะมีปัญหาเรื่องของการวางแผนเก็บตัวประสานงานของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ไม่ได้เอื้อต่อการทำงานเลย

 

แต่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ กุนซือชาวญี่ปุ่นสามารถสร้างระบบการเล่น วิธีการเล่น สไตล์ และดึงศักยภาพผู้เล่นออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

 

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนทีมฟุตบอลทีมหนึ่งให้เล่นดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาในเวลาแค่ไม่ถึงเดือน

 

จริงอยู่ที่ไทยยังไม่ได้ยอดเยี่ยมที่สุด ยังมองเห็นปัญหาในหลายจุด โดยเฉพาะการแก้เกมเพรสซิงของคู่แข่ง ที่หากโดนกดดันขึ้นมายังคงมีปัญหากับการแก้ไขสถานการณ์ หรือการตัดสินใจเลือกชอยส์การเล่นที่ไม่ดีนัก

 

ไปจนถึงเกมรับที่ยังมีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ในบางสถานการณ์ ซึ่งนำไปสู่ความผิดพลาดใหญ่ได้ เหมือนในเกมเมื่อคืนนี้กับอุซเบกิสถาน 2 ประตูที่เสียไปเกิดจากการประมาทคู่แข่งเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งนำไปสู่การโดนลงโทษได้เลย

 

แต่หากเราเลือกมองในแง่งาม จากทั้ง 4 นัดไม่ว่าจะเป็นเกมกับคีร์กีซสถาน, โอมาน, ซาอุดีอาระเบีย และอุซเบกิซสถาน ก็จะพบว่า อิชิอิได้เริ่มต้นวางรากฐานสิ่งที่ดีให้กับทีมชาติไทย (เอาล่ะถ้าจะตำหนิกันบ้างก็มีแค่เรื่องการจัดตัว 11 คนแรกในเกมเจอแข้งอุซเบกเท่านั้น)

 

 

หลังการหลงทางในความมืดมนมาหลายปี ในที่สุดทีมชาติไทยก็ได้พบโค้ชที่ ‘ใช่’ ที่เก่งกาจทั้งฝีมือและเข้าใจกับฟุตบอลไทยอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ใช่โค้ชทุกคนบนโลกจะเข้าใจได้ เพราะฟุตบอลไทยมีรายละเอียดสลับซับซ้อนที่ซ้อนทับกันในหลายมิติ

 

นั่นนำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดคือ การที่ทีมชาติไทยในเอเชียนคัพครั้งนี้ได้จุดประกายความหวังกลับคืนมา

 

คำว่า ‘ศรัทธา’ กับฟุตบอลไทยไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ของแบบนี้มีอยู่จริงและพิสูจน์ผ่านวันเวลามาหลายยุคสมัย (สาธุ)

 

ถ้ายุคไหนศรัทธามา ยุคนั้นคือช่วงเวลาที่ดี เหมือนสมัยอดีตตั้งแต่ยุคดาราเอเชียของ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, เฉลิมวุฒิ สง่าพล มาจนถึง ‘ดรีมทีม’ ที่ได้ บิ๊กหอย-ธวัชชัย สัจจกุล ปลุกปั้นนักเตะอย่าง ซิโก้-เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ดุสิต เฉลิมแสน, สุรชัย จตุรภัทรพงศ์

 

และ 10 ปีที่แล้วที่ ซิโก้ได้กลับมาจุดประกายให้ฟุตบอลไทยด้วยตัวเองอีกทอดหนึ่งในบทบาทหัวหน้าโค้ชทีมชาติไทย

 

ในบ้านอื่นเมืองอื่น สมการจะเป็นฟุตบอลภายในประเทศต้องแข็งแรงก่อนจึงมาถึงทีมชาติ แต่สำหรับในไทยแล้ว ฟุตบอลทีมชาติต้องแข็งแรงก่อน ฟุตบอลภายในประเทศถึงจะแข็งแรง

 

ประกายความหวังในเอเชียนคัพจึงหมายถึงความหวังในการจุดประกายให้ฟุตบอลไทยกลับคืนมาด้วย หลังจากที่ซบเซาจนใกล้จะขาดใจตาย

 

แต่จุดนี้เองคือสิ่งที่จะเป็นบทพิสูจน์สำหรับคนที่อยู่สูงกว่าอิชิอิ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของ บิ๊กอ๊อด-สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่กำลังจะครบวาระตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ​ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าแล้ว

 

มันคือเรื่องของผู้บริหารสมาคมชุดใหม่ที่จะต้องหาทางเอาประกายไฟที่ได้มาไปจุดต่ออีกที โดยมีสิ่งที่ต้องจัดการแก้ไขอีกมากมาย

 

อย่างแรกคือ การพยายามยืนระยะกระแสของทีมชาติไทยเอาไว้ให้ได้นานที่สุดผ่านการทำผลงานให้ดีต่อเนื่อง ซึ่งจุดตัดสินคือ 4 นัดหลังจากนี้ในรายการฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 ซึ่งจะพบกับทีมชาติเกาหลีใต้ 2 นัด ก่อนจะวัดกับจีนและสิงคโปร์ต่อ

 

ไทยยังมีความหวังอยู่ ซึ่งต้องพยายามสนับสนุนการทำงานของอิชิอิให้ดีที่สุด โดยไม่ได้คิดแค่เรื่องของเงินอัดฉีดโบนัส ซึ่งเป็นปลายเหตุแล้ว

 

ต่อมาคือเรื่องของฟุตบอลภายในประเทศที่ต้องฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพราะฟุตบอลไทยจะล้มอีกไม่ได้ มันไม่ไหวแล้ว ลีกต้องพยายามสร้างมูลค่ากลับมาอีกครั้ง โดยลีกบนจะต้องดูแลลีกล่างไปด้วย จะปล่อยให้หมดลมหายใจไม่ได้อย่างเด็ดขาด

 

 

ถัดมาคือ การทบทวนแนวทางสำหรับวงการฟุตบอลไทยในอนาคต ในยุคของบิ๊กอ๊อดได้เคยมีการทำ ‘Thailand Way’ ยุทธศาสตร์ฟุตบอลแห่งชาติ แต่คำถามที่หลายคนอยากรู้และไม่เคยมีคำตอบคือ สิ่งเหล่านี้ได้ทำไปมากน้อยแค่ไหน มีการวัดผลหรือไม่

 

จำเป็นต้องมีการอัปเดตหรือมีการปรับเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่หรือเปล่า?

 

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ในทางตรงกันข้าม ชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างญี่ปุ่นหรือแม้แต่เบลเยียมก็เริ่มต้นจากการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน

 

มองฟุตบอลไทยแบบไหน อยากเห็นฟุตบอลไทยเป็นแบบไหน เราจะเล่นแบบไหน จะพัฒนาตัวเองอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อจะไปให้ถึงจุดหมายนั้น

 

อยากไปฟุตบอลโลก? คิดว่าจะใช้เวลาสักเท่าไร 20 ปี 30 ปี หรือ 50 ปี คุยกันอย่างตรงไปตรงมา

 

ไหนจะเรื่องของวิทยาการจัดการ วิทยาศาสตร์การกีฬา โภชนาการ ไปจนถึงเรื่อง Data Driven การนำข้อมูลมาใช้ ตอนนี้วงการฟุตบอลไทยจริงจังกับเรื่องเหล่านี้แค่ไหน? เรามีนักวิเคราะห์ที่นำตัวเลขสถิติมาตีความและใช้ประโยชน์ได้จริงกี่คน และเป็นไปได้ไหมที่เราจะทำให้สิ่งเหล่านี้คือ ‘สแตนดาร์ด’ สำหรับทุกทีมในไทย

 

เพราะฟุตบอลเป็นเรื่องของทั้ง ‘ศาสตร์’ และ ‘ศิลป์’ ตัวเลขสถิติเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับเกมฟุตบอลสมัยใหม่ เมืองนอกเขาคุยกันด้วยตัวเลขแบบ Organic และ Real-Time วิ่งเท่าไร ระยะเท่าไร ในระยะวิ่งสปรินต์กี่ครั้ง ผ่านบอลสั้นสำเร็จกี่หน ผ่านบอลยาวสำเร็จกี่หน จุดที่วางบอลทิ้งไปตรงไหน ฯลฯ

 

พูดไปแล้วก็นึกได้เรื่อยๆ ว่ายังมีสิ่งที่ฟุตบอลไทยต้องพิสูจน์อีกมาก

 

ฟุตบอลไทยไม่ใช่แค่ทีมชาติไทย ไม่ใช่อิชิอิคนเดียวหรือแฟนบอลทุกคนต้องแบกรับ

 

ไม่อยากให้ผลงานในเอเชียนคัพเป็นเพียงแค่การจุดเทียนเล่มเดียวแล้วถูกสายลมพัดจนแสงเทียนเลือนหายไป

 

อยากให้จุดแล้วช่วยกันต่อเทียนไปเรื่อยๆ ทีละเล่ม อาจใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าวันหนึ่งจุดได้มากพอ วงการฟุตบอลไทยจะสว่างไสว

 

แม้ประสบการณ์ที่ผ่านมาจะเตือนตัวเองว่าอย่าคาดหวังอะไรมากมายนัก

 

แต่เพราะรัก จะไม่ให้ห่วงหาอย่างไรไหว 🇹🇭

The post ทีมชาติไทยในเอเชียนคัพ สิ่งที่พิสูจน์แล้วและสิ่งที่รอการพิสูจน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>