- สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดเป็นกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ขณะที่เส้นตายในวันที่ 1 มิถุนายน ก็ใกล้เข้ามาทุกที
- แม้ล่าสุดจะมีการเจรจาระหว่างไบเดนและแมคคาร์ธีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดออกมามากนัก โดยเฉพาะการตัดลดงบด้านสวัสดิการสาธารณะ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ามาแทรกแซง
- ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูงทั้งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป จะเพิ่มความกังวลต่อการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ โดยตลาดเชื่อว่าธนาคารกลาง โดยเฉพาะ Fed ยังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ส่วนตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนตามความชัดเจนทางการเมือง ทั้งการจัดตั้งรัฐบาลและการดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายค่าแรงและโครงสร้างราคาพลังงาน
สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงจาก
- ความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น หลัง Fitch ปรับลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังระยะสั้นที่ครบกำหนดช่วงวันที่ 1 มิถุนายน ปรับสูงขึ้นถึง 7% ขณะที่พันธบัตรระยะสั้นอื่นๆ อาทิ 3 เดือนปรับขึ้นมาอยู่ที่ 5.4% ทำให้ความตึงตัวทางการเงินเพิ่มขึ้น ผลจากเข้าใกล้เส้นตายการผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้
ขณะที่การเจรจาระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังไม่มีความคืบหน้า แม้ทั้งสองฝ่ายจะแสดงความเห็นเชิงบวกต่อการเจรจา โดยฝั่ง ส.ส. พรรครีพับลิกัน ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของไบเดนที่จะขึ้นภาษีจากผู้มั่งคั่งเพิ่ม แต่ต้องการให้มีการลดรายจ่ายลง โดยเฉพาะด้านสวัสดิการสาธารณะ
- ตัวเลขเศรษฐกิจยังคงร้อนแรง ขณะที่เงินเฟ้อยังสูงแม้ลดลง โดย Flash Composite PMI ประเทศสำคัญยังคงอยู่ระดับสูง โดยของสหรัฐฯ สูงสุดในรอบ 13 เดือนที่ 54.5 จุด ขณะที่ดัชนีของประเทศใหญ่อื่นๆ เช่น ยุโรป และญี่ปุ่น ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ผลจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตยังคงหดตัว / ชะลอตัว
- เงินเฟ้ออังกฤษปรับลงตามทิศทางราคาพลังงาน โดยอยู่ที่ 8.7% จาก 10.1% ในเดือนก่อน แต่เงินเฟ้อจากอาหารยังสูงในระดับ 19.3% กดดันให้ดอกเบี้ยยังคงสูง
- มุมมองของสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) บางท่าน เช่น คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ และบันทึกการประชุม FOMC เดือนพฤษภาคม ที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยง โดยความเห็นของคณะกรรมการแตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่มองว่าควรจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง เพื่อลดเงินเฟ้อที่ลดลงช้า และฝ่ายที่ต้องการหยุดการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งมองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจกำลังชะลอลง จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องคงแนวทางการใช้นโยบายทางการเงินตึงตัวต่อ ซึ่งความเห็นที่แตกต่างกันทำให้นโยบายการเงินจะยังคงตึงตัวยาวขึ้น เป็นผลลบต่อเศรษฐกิจการลงทุนต่อเนื่อง
“สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงจากความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น หลัง Fitch ปรับลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังระยะสั้นที่ครบกำหนดช่วงวันที่ 1 มิถุนายน ปรับสูงขึ้นถึง 7% ขณะที่พันธบัตรระยะสั้นอื่นๆ อาทิ 3 เดือนปรับขึ้นมาอยู่ที่ 5.4% ทำให้ความตึงตัวทางการเงินเพิ่มขึ้น
“ด้านเงินเฟ้ออังกฤษปรับลงตามทิศทางราคาพลังงาน แต่เงินเฟ้อจากอาหารยังสูง กดดันให้ดอกเบี้ยยังคงสูง ขณะที่ตัวเลข Flash Composite PMI ประเทศสำคัญยังคงอยู่ระดับสูงจากภาคบริการ ท่ามกลางมุมมองของสมาชิก FOMC บางท่าน และบันทึกการประชุม FOMC เดือนพฤษภาคม ที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อยังเป็นความเสี่ยง ทำให้นโยบายการเงินจะยังคงตึงตัวยาวขึ้น เป็นผลลบต่อเศรษฐกิจการลงทุนต่อเนื่อง”
การเจรจาขยายเพดานหนี้ยังสร้างความกังวล
บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ (InnovestX) มองว่า นักลงทุนมีความกังวลต่อประเด็นการเจรจาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ มากขึ้น เนื่องจากเข้าใกล้เส้นตายการผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน แต่ยังไม่เห็นข้อสรุปในประเด็นสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต่างกัน เช่น ระยะเวลาและวงเงินในการปรับลดงบประมาณ สิทธิประโยชน์ของผู้ได้รับสวัสดิการสังคม และงบประมาณส่วนใดที่ควรต้องตัดทอน (เช่น งบกลาโหม หรืองบสวัสดิการสังคม)
นอกจากนั้นเป็นไปได้ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดี อาจเข้ามามีอิทธิพลในการเจรจาผ่านข้อเสนอของ เควิน แมคคาธี และสมาชิกพรรครีพับลิกัน ฝ่ายขวาจัด ในส่วนของรายงานการประชุม FOMC และทิศทางเศรษฐกิจล่าสุด โดยเฉพาะตัวเลข Composite PMI เบื้องต้นของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม ที่ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือนนั้น เรามองว่าแนวนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และความเสี่ยงตลาดเงินตลาดทุนเป็นหลัก
โดยหากเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อและเงินเฟ้อยังลดลงช้า จะมีคณะกรรมการบางท่านยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่หากเศรษฐกิจชะลอลง เงินเฟ้อลดลง และสถานการณ์ด้านตลาดเงินตลาดทุน เช่น การเจรจาเพดานหนี้ รวมถึงวิกฤตธนาคาร มีความเสี่ยงมากขึ้น (ซึ่งเป็นสถานการณ์หลักที่เรามอง) จะเห็นการยุติการขึ้นดอกเบี้ย และส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น
กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย
- หุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดจาก MOU 23 ข้อที่ 8 พรรคการเมืองร่วมลงนาม เลือก BBL, KTB, KBANK, HMPRO, GLOBAL, BCH, CHG, SPRC, STANLY, AH หรือ ONEE (HTC, TNP)
- หุ้นที่ INVX Research มีการปรับเพิ่ม Rating และ/หรือ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย เลือก KKP, BJC หรือ OSP
- สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและคาดการเจรจาเพดานหนี้สหรัฐฯ ได้ข้อสรุป ซึ่งจะเป็น Sentiment บวกระยะสั้นต่อ SET แนะนำเก็งกำไรสั้นสำหรับ DELTA, PTTEP หรือ BCP
ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุน
- หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่
- หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัย จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลใหม่ ได้แก่ กลุ่มขนส่งพัสดุ (KEX), กลุ่มอาหาร (CPF, ZEN, GFPT, TU, AU และ CENTEL), กลุ่มอสังหา (LPN, PSH, SIRI, QH และ AP) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (HANA และ KCE)
- หุ้นที่ราคาขึ้นมาสูงกว่าโควิดและเราแนะนำ Underperform เลือก AAV, SAWAD, MST หรือ NRF
เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
- ติดตามความคืบหน้าการเจรจาการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 1 มิถุนายนนี้
- การประชุมนโยบายการเงินของ กนง. ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคมนี้ ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps สู่ระดับ 2.00% และคาดว่าเป็นการขึ้นครั้งสุดท้ายในปีนี้
- ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม ซึ่งคาดว่าจะเห็นสัญญาณการชะลอตัว
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: HMPRO - มีความเสี่ยงจำกัดที่สุดในกลุ่ม
สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ หรือ HMPRO เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้
- ผู้นำธุรกิจ Home Improvement ของไทย ที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งและผลการดำเนินงานยังมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ตามแผนขยายสาขาที่มีอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยราวปีละ 4-6 แห่ง และการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSS) ราวปีละ 3%YoY
- ปี 2023 มีแผนขยายเชิงรุก โดยวางแผนเปิดสาขาใหม่ 10 สาขา (โฮมโปร 2 สาขา และเมกาโฮม 8 สาขา ซึ่งจะทำให้พื้นที่ขายสุทธิเพิ่มขึ้น 12% จากที่มีอยู่เดิม) สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าเปิดเมกาโฮม 3 สาขา (ในรัตนาธิเบศร์ บางพลี และติวานนท์) ใน 1Q23, เมกาโฮม 3 สาขาใน 2Q23 และที่เหลือจะเปิดในเมืองใหญ่ๆ ในต่างจังหวัดใน 2H23
- 2Q23 คาดว่ากำไรจะเติบโตทั้ง YoY และ QoQ จากยอดขายรวมและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอากาศร้อนที่ช่วยกระตุ้นยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 20-25% ของยอดขาย ขณะที่ทั้งปี 2023 คาดว่ากำไรเติบโต 14%YoY จากยอดขายสาขาเดิม (SSS) ที่เพิ่มขึ้น รายได้ค่าเช่าที่ฟื้นตัวและมาร์จิ้นที่กว้างขึ้นจากที่มีสัดส่วนยอดขายสินค้าอัตรากำไรสูงเพิ่มขึ้น
- มองราคาหุ้นมีความเสี่ยงจำกัดทั้งจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ และจากต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะมีมาร์จิ้นสูงและมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยลอยตัวต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในกลุ่มพาณิชย์
- เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 17.00 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7% และอัตราเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) และคาดให้ Div. Yield ราวปีละ 2.6%
Asset Allocation Strategy
เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วมีโอกาสชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายการเงินที่เข้มงวดและอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปีก่อน รวมไปถึงเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นหลังเกิดปัญหาในภาคการธนาคาร ในกรณีของสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงบ่งชี้โอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ในขณะที่บางประเทศในยุโรปเริ่มเห็นตัวเลข GDP หดตัวระหว่างไตรมาส มีเพียงอัตราการว่างงานที่ยังต่ำ ซึ่งเรามองว่าการจ้างงานจะชะลอตัวลงต่อจากนี้
ความเสี่ยงเรื่องการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ยังเป็นประเด็นที่ตลาดจับตามากที่สุด เนื่องจากการเจรจายังไม่มีพัฒนาการในเชิงบวก และวันที่เงินคงคลังจะหมด (X-Date) เริ่มกระชั้นเข้ามา กลายเป็นความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลลบไปยังตลาดหุ้นและ Yield พันธบัตรระยะใกล้ที่ปรับสูงขึ้น
ด้านกลุ่มประเทศยุโรปยังแสดงสัญญาณชะลอตัวในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง และอาจได้รับผลพวงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนผ่านการท่องเที่ยวและความต้องการสินค้าในกลุ่มแบรนด์เนม นอกจากนี้เศรษฐกิจเยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะถดถอย (Technical-Recession) ตามคาดการณ์ที่ IMF ได้ให้ไว้ กลยุทธ์หลักจึงยังคงแนะนำพอร์ตการลงทุนที่ให้น้ำหนักสภาพคล่องมากกว่าสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อรอการคลี่คลายของปัจจัยลบต่างๆ
การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียและจีนยังมีแนวโน้มดีกว่าตลาดประเทศพัฒนาแล้ว จึงเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นที่มีมูลค่าไม่แพงนัก เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเอเชียและจีน ปัจจัยลบที่ต้องระวังคือการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ กับจีน ในช่วงที่สหรัฐฯ เริ่มมีการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่อาจมีข้อพิพาทรุนแรงขึ้นและสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้
ด้านตราสารทางเลือก เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่ออสังหาริมทรัพย์ / REIT ประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีมุมมองเชิงบวกต่อ REIT ไทยและอาเซียน ซึ่งอัตราเงินปันผลมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนะนำให้ถือลงทุนทองคำในพอร์ต เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO
สภาพคล่อง / เงินสด
ความน่าสนใจระดับ 3
เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด โดยเศรษฐกิจโลกได้รับแรงส่งจากภาคบริการ รวมทั้งการเปิดประเทศของจีนและเอเชีย แต่ถูกกดดันด้วย Recession Risks ใน DMs ที่รวมถึงภาวะสินเชื่อตึงตัว นอกจากนี้ความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังส่งสัญญาณเชิงลบอยู่เป็นระยะๆ
พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 5
UST Yields ปรับขึ้นบ้างจากที่ Fed ไม่รีบลดดอกเบี้ย เงินเฟ้อพื้นฐานหนืด และผู้บริโภคและภาคแรงงานที่แข็งแรง แต่ Yields ยังเป็นขาลงมากกว่าขึ้น จาก Recession Risks, Fed มีท่าทีหยุดขึ้นดอกเบี้ย, เงินเฟ้อทั่วไปลงต่อเนื่อง และการจ้างงานเริ่มแผ่วลง / TH Bond Yields เคลื่อนไหวสอดรับ UST และต่างชาติเป็น Net Sell
หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ
ความน่าสนใจระดับ 4
US IG ได้รับแรงหนุนหลักจาก UST Yields ที่มีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขึ้น และมี Buffer จากงบดุลที่ค่อนข้างแข็งแรง อย่างไรก็ตาม IG Spreads มีความน่าจะเป็น Widening อยู่บ้างจากภาวะสินเชื่อตึงตัวและความเสี่ยง Recession ซึ่งเริ่มสะท้อนจากจำนวนบริษัทยื่นล้มละลายที่สูงขึ้น ในขณะที่ TH IG Spreads ค่อนข้างทรงตัว
US HY มีความเสี่ยง Spread Widening มากกว่า IG อย่างชัดเจน เหตุจาก Recession Risks โดยเฉพาะจากภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้นจนใกล้เคียงระดับช่วงเผชิญ Recessions ในอดีต ซึ่งถูกกดดันเพิ่มเติมจากวิกฤตธนาคารภูมิภาค ที่ถึงแม้ว่าจะแผ่วลง แต่ยังคงสร้างความกังวลต่อเสถียรภาพระบบการเงิน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ความน่าสนใจระดับ 3
ยังถูกกดดันจากภาวะ Earnings หดตัว ภาวะสินเชื่อตึงตัว และความยืดเยื้อของ Debt Ceiling อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานและผู้บริโภคที่แข็งแรงกว่าปกติ, ภาคบริการที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง, Bond Yields ขาลงมากกว่าขึ้น และ Earnings Growth ที่เริ่มมีลักษณะ Bottom Out ของ Mega-Cap Tech ช่วยจำกัด Downside ของดัชนี
ตลาดหุ้นยุโรป
ความน่าสนใจระดับ 3
Valuation ดัชนีตึงตัวเมื่อเทียบตลาดตราสารหนี้ยุโรป ขณะที่ Bond Yield เยอรมนี ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม ECB ที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 25 bp ในการประชุม 2 ครั้งถัดไป และการหยุด Reinvest โครงการ APP ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่โมเมนตัมเศรษฐกิจและผลประกอบการของยุโรปเริ่มแผ่ว จึงทำให้ Upside ดัชนีจำกัดมากขึ้น
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ความน่าสนใจระดับ 2
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย จากความผันผวนในตลาดการเงินโลกอาจส่งผลให้เงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่า นอกจากนี้ตลาดฯ ยังมีปัจจัยกดดันจาก JGB Yields มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามความเป็นไปได้ในการปรับ YCC และ EPS ที่มีแนวโน้มถูกปรับลดลง และข้อพิพาทด้านเทคโนโลยีกับจีนที่มากขึ้น
ตลาดหุ้นจีน A-Share
ความน่าสนใจระดับ 5
ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากโมเมนตัมเศรษฐกิจจีนที่ยังดี นำโดยภาคการบริโภคและบริการตามเงินออมส่วนเกินที่ยังสูง และจาก EPS ปีนี้ที่มีแนวโน้มถูกปรับขึ้น และจากแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมเฉพาะจุดจากทางการ เช่น การฟื้นฟูความเชื่อมั่น และการเพิ่มเสถียรภาพภาคอสังหากับตลาดแรงงานกลุ่มวัยรุ่น
ตลาดหุ้นจีน H-Share
ความน่าสนใจระดับ 4
ดัชนียังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และจากการคุมเข้มกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนียังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากข้อพิพาทเทคโนโลยีกับสหรัฐฯ ชาติตะวันตก และญี่ปุ่น ที่เพิ่มขึ้น และจากหยวนที่มีแนวโน้มอ่อนค่า
ตลาดหุ้นไทย
ความน่าสนใจระดับ 4
ตลาดมีแนวโน้มผันผวนต่อไปจนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะเสร็จสมบูรณ์ ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มดีตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนที่มีแผนเพิ่มเที่ยวบินเข้าไทย ช่วยหนุนช่วง 2H66 Valuation อยู่ในระดับน่าสนใจ โดยให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม Consumer เช่น อาหาร และค้าปลีก รวมทั้งหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ความน่าสนใจระดับ 2
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาต่อเนื่องยังไม่ส่งผลต่อ Credit Growth ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย โดยตลาดยังคงกังวลบนการส่งออกที่ถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อีกทั้งสภาพคล่องบนธุรกิจภาคอสังหายังตึงตัว ทำให้ปัจจัยบวกในระยะสั้นมีจำกัด ให้จับตารายงานสรุปการประชุม National Assembly
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความน่าสนใจระดับ 3
การคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.75% ในขณะที่เงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้ากรอบบนของทางการ ทำให้ Domestic Consumption มีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ Cycle ถ่านหินผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้ Upside ในระยะสั้นมีจำกัด อย่างไรก็ดี ให้จับตามอง FDI ที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนใน EV Value chain ในระยะยาว
ทองคำ
ความน่าสนใจระดับ 3
ราคาทองคำได้แรงหนุนจาก US (Real) Bond Yields เป็นขาลงมากกว่าขึ้น, USD ถึงแม้ว่าปรับขึ้นแต่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า และความเสี่ยงโลก เช่น US Debt Ceiling อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมี Upside จำกัด เนื่องจากอาจมีแรงขายทำกำไร, Fed ยืนยันท่าทีไม่รีบลดดอกเบี้ย และตลาดเริ่มคลายความหวังลดดอกเบี้ยปีนี้
น้ำมัน
ความน่าสนใจระดับ 3
ในระยะข้างหน้า อุปสงค์โลกเป็นตัวแปรที่สำคัญโดยที่ยังมีความไม่แน่นอน กล่าวคือเป็นขาลงใน DMs แต่กำลังฟื้นตัวในจีนและเอเชีย กระนั้นยังไม่ทั่วถึงและไม่ร้อนแรง นับเป็นแรงกดดันต่อทั้งราคาพลังงานและโลหะอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันภาคการผลิตโลกยังค่อนข้างถดถอย แต่ภาคบริการโลกฟื้นตัวได้ต่อไป
REITs ประเทศพัฒนาแล้ว
ความน่าสนใจระดับ 2
แรงกดดัน ได้แก่ แนวโน้ม Hybrid Working / E-Commerce, สินเชื่อ Commercial RE ที่ตึงตัวขึ้น และเศรษฐกิจขาลงแต่ดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ สะท้อนใน Office Leasing / Occupancy Rate ที่ลดลง และ Vacancy Rate ที่สูงขึ้น แม้ว่า UST Yields ซึ่งเป็นขาลงมากกว่าขึ้น จะส่งผลดีต่อ REIT-Govt Yield Spreads
REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ความน่าสนใจระดับ 4
ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หนุนด้วยการเปิดเมือง / ประเทศ อีกทั้ง REIT-Govt Yield Spreads (เช่น ใน SG และ TH) อยู่ในระดับสูงและปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ Office Leasing และ Vacancy Rates ที่แย่ลงต่อเนื่องในสหรัฐฯ กลับค่อนข้างทรงตัวได้ในเอเชีย
Private Asset
ความน่าสนใจระดับ 2
Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566