THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชัดขึ้น แนะคงน้ำหนักพอร์ตหุ้นไทย 50% เน้นกลุ่มเติบโตดี ไร้ผลกระทบปัจจัยภายนอก

... • 23 พ.ค. 2022

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเริ่มปรากฏมากขึ้นในหลายจุด โดยเฉพาะผลการดำเนินงานกลุ่มค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าคาด จากปัญหาต้นทุนการผลิตและค่าจ้างที่สูงขึ้น 
  • จับตารายงานการประชุม Fed ว่าจะส่งสัญญาณนโยบายการเงินตึงตัวเพียงใด รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อและความคาดหวังเงินเฟ้อจาก U of Michigan สหรัฐฯ ว่าจะมีทิศทางลดลงตาม CPI หรือไม่ 
  • กลยุทธ์หุ้นไทยสัปดาห์นี้ คงน้ำหนักพอร์ตที่ 50% ในหุ้นที่มีการเติบโตดีและมีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอก โดยชูหุ้น OSP เป็นหุ้นเด่นประจำสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงที่มากขึ้น โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวดีช่วงต้นสัปดาห์จากตัวเลขยอดค้าปลีกที่ดีเกินคาด แต่ปรับลดลงแรงปลายสัปดาห์จากผลประกอบการบริษัทค้าปลีกที่แย่ลงเพราะต้นทุนที่สูงขึ้น ด้านเงินเฟ้ออังกฤษสูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้ความเสี่ยง Stagflation มีสูงขึ้น ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจจีนแย่เกินคาดจากการล็อกดาวน์ ด้านตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ดีเกินคาด แต่สภาพัฒน์ปรับประมาณการลงจากความเสี่ยงโลก

 

ฝ่ายวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) ระบุว่า สัปดาห์นี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเริ่มปรากฏขึ้นในหลายจุด 

 

  1. ภาคการบริโภคสหรัฐฯ ที่แม้ยอดค้าปลีกยังคงขยายตัวได้ดี (1%MoM, 8.2%YoY สูงกว่าคาดที่ 6.9%YoY) แต่ตัวเลขผลประกอบการของผู้ประกอบการด้านการค้าปลีกในสหรัฐฯ เช่น Target, Walmart และ Costco กลับปรับตัวลดลงจากปัญหาต้นทุนการผลิตและค่าจ้างที่สูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการอาจไม่สามารถผลักภาระไปยังผู้บริโภคได้มากนัก บ่งชี้ว่าปัญหาซัพพลายเชนและเงินเฟ้ออาจเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป หากผู้ประกอบการไม่สามารถแบกต้นทุนที่สูงขึ้นและต้องส่งผ่านไปยังลูกค้า 

 

  1. เงินเฟ้ออังกฤษที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ที่ 9% ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มองว่าอัตราเงินเฟ้ออาจปรับขึ้นถึงระดับ 2 หลักในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งระดับเงินเฟ้อที่สูงนั้น ทั้งผู้ว่าการฯ BOE และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ มองว่าเป็นปัญหาของโลก ซึ่งนโยบายการเงินการคลังอาจช่วยเหลือได้ไม่มากนัก นอกจากนั้นการที่อัตราว่างงานอังกฤษที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 50 ปี ที่ 3.7% บ่งชี้ว่าการทำนโยบายการเงินการคลังตึงตัวเพื่อลดเงินเฟ้ออาจทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นตามความสัมพันธ์ของ Phillips Curve และอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัว นั้นสะท้อนผลกระทบจากการล็อกดาวน์จากนโยบาย Zero-Covid ที่เรามองว่าภาครัฐจะยังไม่ยกเลิกนโยบายนี้ก่อนพิธีรับตำแหน่งสมัยที่สามของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ทำให้ปัญหาซัพพลายเชน รวมถึงการบริโภคภายในประเทศจะยังเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจจีนต่อเนื่อง

 

สัปดาห์นี้ต้องจับตารายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ว่าจะส่งสัญญาณนโยบายการเงินตึงตัวเพียงใด รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อ (Core PCE) และความคาดหวังเงินเฟ้อจาก U of Michigan สหรัฐฯ ว่าจะมีทิศทางลดลงตาม CPI หรือไม่ โดยตลาดมองว่า Core PCE อาจปรับลดลงเล็กน้อย (เหลือ 5% จาก 5.2%) ขณะที่ความคาดหวังเงินเฟ้อจะทรงตัวที่ 5.4%

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดทั่วโลกยังอยู่ในช่วงปรับฐาน โดยปรับตัวลดลง 1.5% แบ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ (EM) เพิ่มขึ้น 1% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ลดลง -1.8% โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขภาคการผลิตที่มีสัญญาณการชะลอตัวลง และผลประกอบการของหุ้นกลุ่มค้าปลีกสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่คาด ส่งผลให้ตลาดกังวลกับแนวโน้มการฟื้นตัวของการบริโภคในสหรัฐฯ

 

นอกจากนี้ท่าทีของธนาคารกลางยังไม่เปลี่ยนแปลงที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว หุ้นกลุ่ม Value (-1.1%) ให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นกลุ่ม Growth (-2%) หุ้นขนาดเล็ก (+0.1%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดใหญ่ (-1.7%) หุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% กลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 0.5% ในขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีลดลง 3.6% จากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และกลุ่ม Staples ปรับตัวลดลง 6.6% หลังผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ของ Target และ Walmart อ่อนแอกว่าที่คาดและถูกปรับลดกำไรลง

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ 

 

  1. การเลือกตั้งของออสเตรเลีย 
  2. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เยือนญี่ปุ่น 
  3. ECB จะออกรายงาน Financial Stability Review ซึ่งธนาคารในยุโรปไม่น่าจะมีปัญหานี้ 
  4. รายงานการประชุม FOMC จับตาท่าทีการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง
  5. ผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ของบริษัท Alibaba, Baidu, Costco, Dell, Dollar General, Gap, Nvidia, Pinduoduo, Singapore Telecom และ Zoom Video Communication

 

“ตลาดยังมีความผันผวนในทิศทางที่เป็นขาลง มองไปรอบด้านเรายังไม่พบสัญญาณของข่าวดีในระยะสั้น รวมถึงแนวโน้มของข่าวดีน่าจะเริ่มเห็นในช่วงปลาย 3Q22 ไปจนถึงช่วงต้นของ 4Q22 ดังนั้นจากช่วงปัจจุบันถึงช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีความไม่แน่นอนสูงและกำไรก็ยังไม่ได้ถูกปรับลดมากนักจากการเติบโตที่ชะลอตัวลง ทำให้ในช่วงนี้ที่เป็น Low Season ของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงก็จะทำให้ตลาดผันผวนสูง เรายังไม่ได้มองว่าจะเป็นรอบขาขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้

การลงทุนในระยะสั้นมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ปัจจัยภายในประเทศมีผลค่อนข้างจำกัดและหาจังหวะในการลงทุนในช่วงที่ความผันผวนเพิ่มสูงขึ้น

 

คงน้ำหนักพอร์ตที่ 50% ในหุ้นที่มีการเติบโตดีและมีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอก เช่น KBANK, AMATA, LH, GULF, ADVANC หุ้นที่กำไร 1Q22 ดีเกินคาด และ 2Q22 โมเมนตัมกำไรดีต่อเนื่อง เลือก IVL, AMATA, MTC, CPALL

 

หุ้นที่กำไรผ่านจุดแย่สุดไปแล้วและจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2Q22 เลือก OSP ระมัดระวังหุ้นกลุ่มขนส่ง วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ โรงไฟฟ้า อสังหา บรรจุภัณฑ์ ที่มีโอกาสถูก Downgrade Earning จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นหลังประกาศงบ 1Q65

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: OSP - พ้นจุดต่ำสุด...ก้าวสู่ช่วงฟื้นตัว

สัปดาห์นี้ SCBS เลือกแนะนำ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทยที่มีศักยภาพเติบโตและกระแสเงินสดดี โดยมีแบรนด์สินค้าหลักที่รู้จักกันดี เช่น M-150, ลิโพ, ซี-วิท, เบบี้มายด์, ทเวลฟ์ พลัส, ลูกอมโบตันและโอเล่ ฯลฯ
  • ผ่านจุดต่ำสุดปีนี้ไปแล้วและกำไรจะเริ่มดีขึ้นต่อเนื่อง โดย 2Q22 คาดกำไรจะฟื้นตัวทั้ง YoY และ QoQ โดยได้ประโยชน์เต็มไตรมาสจากการปรับขึ้นราคาขาย M-150 จากขวดละ 10 บาท เป็น 12 บาท และตลาดส่งออกดีขึ้น อีกทั้งรับรู้ยอดขายจากสินค้าเครื่องดื่มใหม่ที่มีส่วนผสม CBD
  • ปี 2022 คาดกำไรฟื้นตัว 18%YoY แม้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มแต่คาดถูกหักล้างได้ด้วยหลายปัจจัยบวก เช่น กำลังซื้อที่ฟื้นตัว มีแผนเปิดสินค้าอุปโภคบริโภคใหม่ และรุกธุรกิจต่างประเทศ อีกทั้งยังมีแผนลดต้นทุนตามกลยุทธ์ ‘Fast Forward 10X’ โดยตั้งเป้าลดต้นทุน 5 พันล้านบาท ใน 5 ปี
  • มองราคาหุ้น OSP กำลังเข้าสู่โหมดฟื้นตัวเช่นเดียวกับผลการดำเนินงานที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยราคาหุ้นปัจจุบัน OSP ยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดอยู่ -15.4% เทียบกับ SET ที่เพิ่มขึ้น 2.2% จากก่อนโควิดแล้ว
  • เป็นหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตอย่างยั่งยืนและมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยประเมินราคาเป้าหมายที่หุ้นละ 37 บาท พร้อมคาดจ่ายเงินปันผลจากกำไรปีนี้หุ้นละ 1.41 บาท

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งยังคงกดดัน Sentiment ตลาดฯ นอกจากนี้ ตลาดฯ ยังคงเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักใน DM 

 

อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดเศรษฐกิจมากขึ้นบนประเทศกลุ่ม DM รวมทั้งผลประกอบการของ บจ. ในกลุ่ม DM ใน 1Q22 ที่ดีกว่าคาด และนำไปสู่การทยอยปรับประมาณ EPS ทั้งปีนี้ดีขึ้น จะสามารถช่วยประคองให้ตลาดหุ้นฯ ยังทรงตัวถึงฟื้นตัวได้บางส่วน

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากความกังวลวิกฤตยูเครน และการที่ Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม และจะเริ่มลดขนาดงบดุลในเดือนมิถุนายน 

 

นอกจากนี้ หลังจากที่ CPI เดือนเมษายนออกมาสูงกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนยังจับตา Core PCE (รายงานวันที่ 27 พฤษภาคม) และเริ่มกังวลมากขึ้นว่า Fed อาจเร่งดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น จนกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เรามองว่า EPS ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปีนี้ที่ยังถูกปรับประมาณดีขึ้นต่อ จะช่วยประคองตลาดฯ ไว้ได้

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

วิกฤตยูเครนจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของยุโรป โดยยุโรปพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกดดันอำนาจซื้อภาคครัวเรือนและต้นทุนการผลิต ขณะที่ภาคการผลิตยังถูกกดดันจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาอุปทานที่แย่ลงจากการล็อกดาวน์ในจีน ประกอบกับแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ ECB ที่ยังกดดันตลาดฯ อย่างไรก็ดี Valuation หุ้นยุโรปที่ลดลงมามากจะช่วยจำกัด Downside ตลาด

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นดัชนีมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยังยืดเยื้อและมาตรการล็อกดาวน์ของจีนที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นมีการผ่อนคลายการควบคุมการระบาดอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีแผนที่จะเปิดประเทศในเดือนมิถุนายน 

 

ขณะที่ BOJ มีแนวโน้มคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลัง GDP ใน 1Q22 หดตัว -1%QoQ จากที่ขยายตัว +3.8%QoQ ใน 4Q21 และการที่ญี่ปุ่นเข้าใกล้การเลือกตั้งสภาสูงในเดือนกรกฎาคมนี้

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน H-Share ดัชนียังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ส่วนใหญ่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ยกเว้นกลุ่ม Live Streaming ขณะที่ล่าสุดรองนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า จะส่งเสริมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งส่งเสริมการระดมทุนในตลาดหุ้น 

 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเรื่อง Delisting ของหุ้นจีน ADRs ภายในปี 2024 ที่ยังมีอยู่ และผลประกอบการ บจ. จีน โดยเฉพาะกลุ่ม Platform ที่ส่วนใหญ่อาจมีแนวโน้มทำจุดต่ำที่สุดในช่วง 2Q22 ตามผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่ในจีน จะยังกดดันการฟื้นตัวของดัชนีฯ โดยรวม

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

 

หุ้นจีน A-Share ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มทยอยออกมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงเศรษฐกิจ ขณะที่แม้ว่าเมืองเซี่ยงไฮ้เริ่มผ่อนคลายการคุมการระบาดบางจุดและจะยกเลิกล็อกดาวน์ในวันที่ 1 มิถุนายน แต่การที่มาตรการคุมการระบาดโดยรวมที่ยังดำเนินต่ออย่างน้อยก่อนถึงการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เดือนพฤศจิกายน จะยังกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และสร้าง Sentiment เชิงลบต่อการลงทุนในหุ้นจีน

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 5

 

ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยพักฐานจากปัจจัยนอกประเทศเป็นหลัก ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังคงได้รับแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจ (เห็นได้จาก GDP ใน 1Q22 ซึ่งออกมาดีกว่าคาด) และการดำเนินนโยบายการเงิน การคลัง ที่เน้นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ 

 

ขณะที่เรามองว่า Valuation ตลาดฯ สมเหตุสมผลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีต ดังนั้นเราจึงแนะนำลงทุนบนตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ ธนาคาร ท่องเที่ยว และสุขภาพเป็นหลัก

 

กองทุนแนะนำ

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

  • SCB Dividend Stock Open End Fund

กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 5

 

ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะตัวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการคุมเข้มในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นกู้ และตลาดอสังหา แต่เราเชื่อว่าความกังวลดังกล่าวจะกดดันให้ตลาดหุ้นเวียดนามพักฐานเพียงช่วงสั้น และมองเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสมตลาดหุ้นเวียดนาม เนื่องจากตลาดฯ ยังได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจและผลประกอบการ บจ. เวียดนามที่เติบโตดีต่อเนื่อง ประกอบกับระดับ Valuation ของตลาดฯ ล่าสุด ที่อยู่ในระดับน่าสนใจอย่างมาก

 

กองทุนแนะนำ

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

  • SCB Vietnam Equity Fund

กองทุน SCB Vietnam ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

ทองคำมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ท่ามกลางสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และ Bond Yield สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะใน 2Q22) ตามแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

อุปสงค์น้ำมันได้รับแรงกดดันจากมาตรการ Zero Covid ของจีน ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน แม้ว่าเซี่ยงไฮ้วางแผนจะยุติมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ก็ตาม ด้านอุปทานน้ำมันยังคงตึงตัวจากการที่ EU เตรียมบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย และยูเครนปิดท่อส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรป 

 

ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ และกลุ่ม OPEC+ ยังเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด แม้ว่าความเสี่ยงเรื่องอุปทานน้ำมันที่อาจมากขึ้นจากเวเนซุเอลายังเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าติดตามก็ตาม

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากการทยอยเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed และการระบาดในบางประเทศที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงถูกกดดัน และ Upside ของตลาดถูกจำกัด

 

EXCLUSIVE CONTENT

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 5

 

REITs ไทยและสิงคโปร์ยังคง Laggard เมื่อเทียบกับ DM REITs สิงคโปร์มีการยกเลิกมาตรการคุมโควิดเกือบทั้งหมด ส่งผลให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวมีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่แม้ประเทศไทยยังมีการแพร่ระบาดของโควิดอยู่ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง และรัฐบาลเริ่มมีการวางแผนปรับให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นในระยะอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มปรับมาตรการให้ยืดหยุ่นขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้มากขึ้น

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 23 พ.ค. 2022

READ MORE



Latest Stories