- ตลาดหุ้นโลกสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วงหนักถึง 4.4% นักลงทุนกังวลเงินเฟ้ออาจลากยาวกว่าคาด หลังสหรัฐฯ เผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนล่าสุดที่ยังสูงกว่าคาด
- ความเสี่ยงสงครามมีแนวโน้มลากยาวมากขึ้น หลังจากประธานาธิบดีปูตินส่งสัญญาณว่ารัสเซียจะยังพร้อมต่อสู้เพื่อครอบครองยูเครน ขณะที่จีนมีความเสี่ยงจากการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ที่ยาวนานเข้าสู่เดือนที่ 2 ท่ามกลางผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มากขึ้น
- SCBS มองว่า ความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอยมีมากขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และนโยบาย Zero-COVID ในจีน ที่ยังคงไม่คลี่คลายภายในครึ่งแรกปี 2022 และนโยบายการเงินตึงตัวในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีต่อเนื่อง
- SCB CIO เพิ่มมุมมองความน่าสนใจของหุ้นไทยเป็นระดับสูงสุด โดยตลาดได้พักฐานในช่วงที่ผ่านมาจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังคงได้รับแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เน้นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ตลาดสัปดาห์นี้ตกต่ำลงเนื่องจากความเสี่ยงเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นในทุกภูมิภาค โดยในสหรัฐฯ เงินเฟ้อผู้บริโภคที่สูงเกินคาดหลังจากการจ้างงานและค่าจ้างยังคงเติบโตดี ทำให้ Fed ส่งสัญญาณตึงตัวนโยบายการเงินมากขึ้น ด้านความเสี่ยงสงครามมีแนวโน้มลากยาวมากขึ้นหลังสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีปูติน ขณะที่เศรษฐกิจจีนเสี่ยงมากขึ้นหลังรัฐบาลยังคงนโยบาย Zero-COVID ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าและผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มลดลง
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ หรือ SCBS ระบุว่า ตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมาตกต่ำลงเนื่องจากความเสี่ยงเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นในทุกภูมิภาค โดยในสหรัฐฯ เงินเฟ้อผู้บริโภคที่สูงเกินคาดที่ 8.3% (ตลาดคาด 8.1%, เราคาด 7.9%) แม้จะปรับตัวลดลงกว่าเดือนมีนาคมที่ 8.5% แต่สัญญาณบ่งชี้มากขึ้นว่าเงินเฟ้ออาจลากยาวมากขึ้น ทั้งจาก
- เงินเฟ้อจากบ้าน (Housing) ที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องที่ 6.5% จาก 6.4%
- ตัวเลขค่าจ้าง (Wage) ที่ยังสูงที่ 4.6%
- ปัญหาซัพพลายเชนที่ยังมีอยู่ ทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อสูงในระยะต่อไปยังคงมีอยู่ เห็นได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนที่ยังสูงเกินคาดที่ 8.0% ซึ่งภาพเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มสูงนี้ทำให้ความเสี่ยงนโยบายการเงินตึงตัวยังคงสูงอยู่ สอดคล้องกับคำกล่าวของรองประธาน Fed สาขาคลีฟแลนด์ ที่พร้อมขึ้นดอกเบี้ยแรง
ส่วนในฝั่งยุโรป ความเสี่ยงสงครามมีแนวโน้มลากยาวมากขึ้น หลังจากประธานาธิบดีปูตินส่งสัญญาณว่ารัสเซียจะยังพร้อมต่อสู้เพื่อครอบครองยูเครนที่มองว่าเป็นดินแดนเดียวกับรัสเซีย สอดคล้องกับ ผอ.หน่วยข่าวกรองกลาโหมสหรัฐฯ ที่มองว่าสงครามมีแนวโน้มรุนแรงในระยะถัดไป
ในส่วนของจีน เสี่ยงจากการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้ที่ยาวนานเข้าสู่เดือนที่ 2 ท่ามกลางผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นด้านซัพพลายเชน โดยล่าสุด Bloomberg Consensus มองว่าเศรษฐกิจจีนปีนี้จะขยายตัวได้ 4.9% ต่ำกว่าที่่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 5.5% ซึ่งภาพเศรษฐกิจที่ชะลอลงขณะที่เงินเฟ้อสูงนี้จะยังคงกดดันการลงทุนต่อเนื่อง
SCBS มองว่า ความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอย (Recession) มีมากขึ้น จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และนโยบาย Zero-COVID ในจีน ที่ยังคงไม่คลี่คลายภายในครึ่งแรกปี 2022 (1H22) ประกอบกับนโยบายการเงินตึงตัวในสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีต่อเนื่อง จะส่งผลให้ภาพการลงทุนมีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสปรับตัวลดลง ดังนั้นนักลงทุนจึงควรใช้จังหวะนี้ในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพดีเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกยังอยู่ในช่วงปรับฐาน โดยปรับตัวลดลง 4.4% แบ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ (EM) ลดลง 4.2%, ตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ลดลง 4.4% โดยได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด ส่งผลให้ธนาคารกลางยังมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังไม่มีพัฒนาการเชิงบวกจากประเด็นความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน รวมถึงมาตรการควบคุมโควิดที่เข้มงวดของจีน และมีความผันผวนเพิ่มเติมในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
หุ้นกลุ่ม Value (-3.3%) ให้ผลตอบแทนมากกว่ากว่าหุ้นกลุ่ม Growth (-6.6%) หุ้นขนาดใหญ่ (-4.4%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (-5%) ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง 6.6% ตามความกังวลของอัตราผลตอยแทนพันธบัตร ส่วนหุ้นกลุ่มเชิงรับอย่างกลุ่ม Healthcare, Utilities และ Consumer Staples ปรับตัวลดลง 1-3% น้อยกว่าตลาด
“ตลาดปรับตัวลดลงจากความกังวลเรื่องการเติบโตเป็นสำคัญมากกว่าประเด็นการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นสิ่งที่ต้องติดตามจะเป็นเรื่องการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ของจีน หากฉีดได้เร็วก็มีความน่าจะเป็นที่จะมีการฟื้นตัวของการเติบโต ส่วนประเด็นรัสเซีย-ยูเครน ต้องจับตาท่าทีของรัสเซียที่มีต่อฟินแลนด์และสวีเดนที่ตั้งใจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ดังนั้นภาพการลงทุนยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการคลี่คลายของปัจจัยความเสี่ยงในภาพรวม ซึ่งจะยังกดตลาดให้มี Upside จำกัดแม้ว่าจะมีการฟื้นตัวในระยะสั้นก็ตาม”
กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้
การลงทุนในระยะสั้นมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ปัจจัยภายในประเทศมีผลค่อนข้างจำกัด และหาจังหวะในการลงทุนในช่วงที่ความผันผวนเพิ่มสูงขึ้น
- คงน้ำหนักพอร์ตที่ 50% ในหุ้นที่มีการเติบโตดีและมีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายนอก เช่น KBANK, AMATA, LH, GULF และ ADVANC
- หุ้นที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีหลังจากปรับตัวลดลงแรง เราเลือก ADVANC, BLA, KBANK, RATCH และ TU โดยคาดว่าจะมีผลตอบแทน 4-6% 1 สัปดาห์หลังจากที่ตลาดผ่านจุต่ำสุด
- เก็งกำไรหุ้นส่งออกที่ได้อานิสงส์บาทอ่อน และสหรัฐฯ มีแผนลดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อสกัดเงินเฟ้อ เลือก DELTA, PSL และ RCL
- ระมัดระวังหุ้นกลุ่มขนส่ง, วัสดุก่อสร้าง, ยานยนต์, โรงไฟฟ้า, อสังหา และบรรจุภัณฑ์ ที่มีโอกาสถูก Downgrade Earning จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นหลังประกาศงบ 1Q22 อีกทั้งล่าสุดตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ราคาดีเซลจะปรับขึ้นเป็นขั้นบันได
หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BDMS - ปลอดภัยช่วงตลาดผันผวน
สัปดาห์นี้ SCBS เลือกแนะนำ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้
- เป็นผู้นำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่มากสุดในไทย (มีโรงพยาบาล 49 แห่ง รวมกว่า 8,500 เตียง) ซึ่งคาดได้ประโยชน์จากอุปสงค์ทางการแพทย์ในไทยและต่างประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นในระยะยาว
- ไตรมาสแรกปี 2022 (1Q22) กำไรปกติทำนิวไฮ 3.4 พันล้านบาท เติบโต 157%YoY จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งที่ไม่เกี่ยวและเกี่ยวกับโควิด ขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2022 (2Q22) คาดโมเมนตัมกำไรยังดีต่อเนื่อง YoY จากการคลายล็อกดาวน์และข้อจำกัดเดินทางเข้าไทย ช่วยหนุนให้ตลาดผู้ป่วยต่างชาติและผู้ป่วยทั่วไปฟื้นตัว
- ช่วงสั้นมองราคาหุ้นจะได้อานิสงส์บวกจากตลาดปรับเพิ่มประมาณการหลังงบ 1Q22 ดีเกินคาด ขณะที่ล่าสุดราคาหุ้นของ BDMS ยังต่ำกว่า 3.9% จากก่อนเกิดโควิด และแย่กว่า BH ที่ปรับขึ้น 12.2% จากก่อนเกิดโควิด ซึ่งมองยังไม่สะท้อนกำไรที่ปรับตัวดีขึ้น
- มีศักยภาพเติบโตที่ดีจากกลุ่มประกันสุขภาพเอกชนที่เพิ่มขึ้น หลังการเข้าสู่สังคมสูงอายุและการระบาดของโควิด ทำให้ประชาชนตระหนักเรื่องค่าใช้จ่ายสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งมี Upside Risk จากแผนร่วมทุนกับ COM7 ดำเนินธุรกิจร้านขายยาแบรนด์ใหม่ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2022 (4Q22)
- เป็นหุ้น Defensive ที่ปลอดภัยภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูงขึ้น โดยเราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 30 บาท
มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO
บรีฟอาร์ต: ระดับความน่าสนใจของตลาดต่างๆ รบกวนทำกราฟิกแถบพลังตาม Format ลิงก์นี้จ้ะ https://thestandard.co/120-days-opening-the-country-support-thai-reit-exclusive-summary/
ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะยังกดดัน Sentiment ตลาด นอกจากนี้ตลาดยังคงเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางหลักใน DM
อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดเศรษฐกิจมากขึ้นบนประเทศกลุ่ม DM รวมทั้งผลประกอบการของ บจ. ในกลุ่ม DM ใน 1Q22 ที่ยังมีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด จะสามารถช่วยประคองให้ตลาดหุ้น DM ยังทรงตัวถึงฟื้นตัวได้บางส่วน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากความกังวลวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และการที่ Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม และจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลในเดือนมิถุนายน
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาสูงกว่าคาด ได้ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกังวลมากขึ้นว่า Fed อาจเร่งดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้นจนกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ใน 1Q22 ที่ยังมีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด จะช่วยประคองตลาดไว้ได้
ตลาดหุ้นยุโรป
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดหุ้นยุโรป เนื่องจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของยุโรป โดยยุโรปพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นระดับราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกดดันอำนาจซื้อของประชาชนและต้นทุนการผลิต ขณะที่ภาคการผลิตถูกกดดันจากพลังงานที่อาจถูกดิสรัปต์จากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาด้านอุปทานมีแนวโน้มแย่ลงจากการล็อกดาวน์ในจีน อย่างไรก็ดี Valuation หุ้นยุโรปที่ลดลงมามากจะช่วยจำกัด Downside ของตลาด
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยดัชนี TOPIX และ Nikkei 225 มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากวิกฤตยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และมาตรการล็อกดาวน์ของจีนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีแผนที่จะเปิดประเทศในเดือนมิถุนายน ขณะที่ดัชนี Core CPI เดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 1.9%YoY สูงสุดในรอบ 7 ปี แต่ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% โดย BOJ ยังมีแนวโน้มคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
ตลาดหุ้นจีน H-Share
ความน่าสนใจระดับ 3
หุ้นจีน H-Share ดัชนียังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่มแพลตฟอร์มที่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แม้ว่าล่าสุดทางการจีนจะเผยกฎระเบียบใหม่สำหรับกลุ่มไลฟ์สตรีมมิงก็ตาม อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเรื่อง Delisting ของบรรดาหุ้นจีน ADRs ภายในปี 2024 ที่ยังมีอยู่ และผลประกอบการ บจ.จีน โดยเฉพาะกลุ่มแพลตฟอร์มที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อและอาจทำจุดต่ำสุดในช่วง 2Q22 ตามผลกระทบจากการระบาดในจีน จะยังกดดันการฟื้นตัวของดัชนีโดยรวม
ตลาดหุ้นจีน A-Share
ความน่าสนใจระดับ 3
เรามีมุมมอง Neutral ต่อหุ้นจีน A-Share โดยดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มทยอยออกมาตรการต่างๆ เช่น การเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรอบใหม่ และการออกคูปองไว้สำหรับใช้อุปโภคบริโภค เพื่อช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การคงมาตรการควบคุมการระบาดในเมืองหลักๆ ที่ยาวนาน จะยังกดดันการฟื้นตัวของภาคการบริโภค ภาคบริการ และทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานยังยืดเยื้อ รวมทั้งยังเป็นการกดดัน Sentiment การลงทุนบนตลาดหุ้นจีนของนักลงทุนต่างๆ
ตลาดหุ้นไทย
ความน่าสนใจระดับ 5
SCB CIO ได้ปรับเพิ่มมุมมองความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทยเพิ่มเป็นระดับสูงสุด โดยตลาดหุ้นไทยได้พักฐานในช่วงที่ผ่านมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังคงได้รับแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่เน้นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการรักษาอำนาจซื้อของประชาชน ซึ่งเรามองว่าระดับมูลค่าหุ้นไทยในปัจจุบันมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น ดังนั้นเราจึงแนะนำลงทุนบนตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ ธนาคาร ท่องเที่ยว และสุขภาพเป็นหลัก
กองทุนแนะนำ
-
SCB Dividend Stock Open End Fund
กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
ตลาดหุ้นเวียดนาม
ความน่าสนใจระดับ 5
ตลาดหุ้นเวียดนาม ในช่วงที่ผ่านมาเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะตัวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการคุมเข้มในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นกู้ และตลาดอสังหา รวมทั้ง Margin Call กับนักลงทุนรายย่อยของเวียดนามที่ยังมีอยู่ แต่เราเชื่อว่าความกังวลดังกล่าวจะกดดันให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีการให้พักฐานเพียงช่วงสั้น และมองเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสมตลาดหุ้นเวียดนาม เนื่องจากตลาดยังได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจ และผลประกอบการ บจ. ของเวียดนามที่เติบโตดีต่อเนื่อง ประกอบกับระดับ Valuation ของตลาดล่าสุดที่อยู่ในระดับน่าสนใจอย่างมาก
กองทุนแนะนำ
-
SCB Vietnam Equity Fund
กองทุน SCB Vietnam ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม
ทองคำ
ความน่าสนใจระดับ 3
ทองคำมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ท่ามกลางสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังมีแนวโน้มถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และ Bond Yield ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed
น้ำมัน
ความน่าสนใจระดับ 3
ตลาดน้ำมันได้รับแรงกดดันจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดภายใต้ Zero-COVID ของจีน ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน อย่างไรก็ดี อุปทานน้ำมันยังคงตึงตัว จากการที่สหภาพยุโรปเตรียมบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย และยูเครนปิดท่อส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรป ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังเพิ่มขึ้นในระดับจำกัด และกลุ่ม OPEC+ ยังคงปรับเพิ่มกำลังการผลิตเดือนมิถุนายน 2022 อยู่ที่ 432,000 บาร์เรลต่อวันตามเดิม
REITs ประเทศพัฒนา
ความน่าสนใจระดับ 3
REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากการทยอยเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed และการระบาดในบางประเทศที่ยังคงมีอยู่ ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงถูกกดดัน และ Upside ของตลาดถูกจำกัด
REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
ความน่าสนใจระดับ 5
REITs ไทยและสิงคโปร์ยังคง Laggard เมื่อเทียบกับ DM REITs สิงคโปร์มีการยกเลิกมาตรการคุมโควิดเกือบทั้งหมด ส่งผลให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวมีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่แม้ประเทศไทยยังมีการแพร่ระบาดของโควิด แต่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง และรัฐบาลเริ่มวางแผนปรับให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นในระยะอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มปรับมาตรการให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้มากขึ้น