THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
‘ปฏิรูปภาษี’
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

‘ปฏิรูปภาษี’ แม้จะทำให้รายได้รัฐเพิ่มเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่อาจแลกด้วยเศรษฐกิจที่หดตัว -2.4%

... • 9 ธ.ค. 2024

HIGHLIGHTS

10 MIN READ
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นโลกยังปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่ระหว่างสัปดาห์ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะผสมผสาน แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าเติบโตได้
  • ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวจากแรงหนุนกองทุนในประเทศที่ซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากเงินไหลเข้ากองทุนประหยัดภาษี รวมถึงเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ นอกจากนั้นยังมีประเด็นบวกสำหรับหุ้นรายตัวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Data Center จากการเดินทางมาเยือนไทยของซีอีโอ NVIDIA 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยประกาศแนวทางในการปฏิรูปภาษีในสูตร 15-15-15 โดย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์คลังเป็นหลัก เนื่องจากการปรับขึ้น VAT จาก 7% เป็น 15% จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 8 แสนล้านบาท
  • อย่างไรก็ตาม ในเชิงเศรษฐกิจหากทำทันทีทั้งหมด จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวถึงกว่า -2.4% ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนที่หดตัวแรง

การปรับขึ้น VAT จาก 7% เป็น 15% จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 8 แสนล้านบาทหากทำทั้งหมดในปีงบประมาณ 2569 ตามการคำนวณเบื้องต้นของเรา ขณะที่การปรับภาษีรายได้นิติบุคคลที่ 15% นั้นจะสูญเสียรายได้ประมาณ 25% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะชดเชยด้วยการเก็บเงินได้ภาษีบุคคลธรรมดามากขึ้น ทำให้โดยสรุปแล้วจะทำให้รายได้รวมของรัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 8 แสนล้านบาท และจะทำให้ดุลการคลังของไทยกลับมาสมดุล รวมถึงหนี้สาธารณะลดลง 

 

อย่างไรก็ตาม ในเชิงเศรษฐกิจหากทำทันทีทั้งหมด จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวถึงกว่า -2.4%

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นโลกยังปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่ระหว่างสัปดาห์ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะผสมผสาน แต่โดยรวมยังถือว่าเติบโตได้ ขณะที่ท่าทีของประธาน Fed ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม 

 

ทิศทางดอกเบี้ยขาลงยังคงอยู่ แม้จะระบุว่าต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ยังแกร่งและการจ้างงานที่ไม่น่ากังวล ขณะที่เงินเฟ้อขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย ตลาดยังให้น้ำหนักว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงเดือนธันวาคมมากกว่า 70% ภาพดังกล่าวยังตอกย้ำภาพความเป็น Goldilocks ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ 

 

นอกจากนั้นท่าทีของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะออกนโยบายไม่เข้มงวดอย่างที่ตลาดกังวล รวมถึงแรงสนับสนุนจากความต้องการใน AI ยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้กลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3% ส่วนกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลง 2.2% ตามราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลงจากความกังวลเรื่องอุปทานล้นตลาดในปี 2025 

 

ตลาดหุ้น EM ปรับขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของหุ้นจีนและอินเดีย โดย Caixin PMI ภาคการผลิตของจีนเพิ่มขึ้นและดีกว่าตลาดคาด รวมถึงมุมมองของตลาดที่เชื่อว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมออกมา ด้านตลาดหุ้นอินเดียเริ่มฟื้น หลังจากอ่อนตัวลงไปแรงในเดือนที่ผ่านมา 

 

ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวจากแรงหนุนกองทุนในประเทศที่ซื้อสุทธิในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากเงินไหลเข้ากองทุนประหยัดภาษี รวมถึงเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ นอกจากนั้นยังมีประเด็นบวกสำหรับหุ้นรายตัวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Data Center จากการเดินทางมาเยือนไทยของซีอีโอ NVIDIA 

 

ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่บรรเทาลง แม้กลุ่ม OPEC+ จะมีมติเลื่อนการปรับเพิ่มการผลิตโดยสมัครใจออกไป 3 เดือนจากเดือนมกราคมเป็นเมษายน 2025 จากความกังวลอุปทานส่วนเกินถึง 1 MBD ในปี 2025 

 

ข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยประกาศแนวทางในการปฏิรูปภาษีในสูตร 15-15-15

 

ประกาศแนวทางในการปฏิรูปภาษีในสูตร 15-15-15

 

ปฏิรูปภาษี อาจทำให้เศรษฐกิจหดตัว -2.4% 

 

ในส่วนของแนวทางการปฏิรูปภาษีของไทย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่าเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์คลังเป็นหลัก เนื่องจากการปรับขึ้น VAT จาก 7% เป็น 15% จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 8 แสนล้านบาทหากทำทั้งหมดในปีงบประมาณ 2569 ตามการคำนวณเบื้องต้นของเรา ขณะที่การปรับภาษีรายได้นิติบุคคลที่ 15% นั้นจะสูญเสียรายได้ประมาณ 25% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะชดเชยด้วยการเก็บเงินได้ภาษีบุคคลธรรมดามากขึ้น ทำให้โดยสรุปแล้วจะทำให้รายได้รวมของรัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 8 แสนล้านบาท และจะทำให้ดุลการคลังของไทยกลับมาสมดุล รวมถึงหนี้สาธารณะลดลง

 

อย่างไรก็ตาม ในเชิงเศรษฐกิจหากทำทันทีทั้งหมด จะทำให้เศรษฐกิจหดตัวถึงกว่า -2.4% ทั้งจากการบริโภคและลงทุนที่หดตัวแรง ขณะที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เราจึงมองว่าหากรัฐบาลจะทำการปฏิรูปนี้ จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยแบ่งเป็นเฟส 

 

ในส่วนของทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่าข้อมูลผสมผสานแต่สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการและการบริโภค โดยดัชนี ISM ภาคบริการที่ลดต่ำสุดในรอบ 3 เดือนและต่ำกว่าคาด รวมถึงคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานชะลอตัวลงท่ามกลางดัชนี ISM ภาคการผลิตหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ด้านตลาดแรงงาน แม้ตัวเลขการจ้างงาน ADP จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ต่ำกว่าคาด ส่วนข้อมูลจาก JOLTS ยังแสดงให้เห็นว่าแม้ตำแหน่งงานเปิดใหม่จะเพิ่มขึ้นที่ 7.7 ล้านตำแหน่งในเดือนตุลาคม แต่หากพิจารณาแนวโน้มระยะยาวจะเห็นว่า JOLTS ปรับลดลงต่อเนื่องจาก 12 ล้านตำแหน่งใน 2 ปีก่อน สอดคล้องกับอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเมื่อประกอบกับข้อมูลจาก Beige Book ที่แม้จะยังขยายตัวต่อได้ แต่ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคามากขึ้น ขณะที่หลายธุรกิจชะลอการตัดสินใจลงทุนและจ้างงาน โดยรอดูความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลใหม่ เราจึงมองว่า Fed จะยังคงลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 2025 

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์บวกจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคและท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของภาครัฐ แนะนำกลุ่มพาณิชย์ (CPALL, CPAXT, CRC, HMPRO และ TNP) กลุ่มท่องเที่ยว (AWC, AOT และ MINT) และกลุ่มธนาคาร (BBL)
  2. หุ้น Earnings Play ซึ่งมองมีโมเมนตัมกำไร 4Q67 จะเติบโตดี YoY และ QoQ อีกทั้งเราแนะนำ Outperform เลือก BCP, GULF, OSP, AMATA, AU และ TIDLOR 
  3. หุ้นที่จ่ายปันผลสูงและคาดว่าจะได้อานิสงส์จากการเป็นเป้าหมายสะสมของกองทุนวายุภักษ์และกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เลือก BBL, ADVANC และ HMPRO
  4. นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจเก็งกำไรหุ้นที่ Laggard ซึ่งมีเทคนิคมีแนวโน้มฟื้นตัว เช่น BEM, BDMS, MINT และ AP เก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะมีโอกาสเข้าคำนวณ SET50 ในงวด 1H68 เช่น BANPU, CCET, COM7 และ SAWAD, หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกจากสถานการณ์น้ำท่วมใต้ แนะนำ HMPRO, CPALL และ TASCO ขณะที่ระมัดระวังการลงทุนสำหรับหุ้นกลุ่มการแพทย์ ยานยนต์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่โมเมนตัมกำไร 4Q67 ยังอ่อนแอ

 

“ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวผันผวน โดยมีแนวรับที่บริเวณ 1,440-1,450 จุด ทั้งนี้ Upside ของตลาดคาดว่าจะอยู่ที่มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนและช่วยเหลือเกษตรกรของไทย รวมทั้งเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยปัจจัยในประเทศยังค่อนข้างจำกัด แต่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งท่าทีของ ECB น่าจะมีผลต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป โดยตลาดคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนการประชุมนโยบายการเงินของ ECB คาดว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม ขณะที่ยังต้องติดตามนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก” ทีมวิจัย บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ ระบุ

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน: ตลาดคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.7% ใกล้เคียงกับเดือนตุลาคมที่ระดับ 2.6%
  2. การประชุมนโยบายการเงินของ ECB: ตลาดคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 BPS มาอยู่ที่ 3.00%

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: HMPRO - Risk/Reward น่าสนใจ

 

แนะนำ บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ หรือ HMPRO เนื่องจากเหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • ผู้นำธุรกิจ Home Improvement ของไทยที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งและผลการดำเนินงานมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ตามแผนขยายสาขาที่มีต่อเนื่องเฉลี่ยราวปีละ 4-6 แห่ง และการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSS) ราวปีละ 3%YoY
  • 4Q24 คาดว่ากำไรจะเติบโต QoQ และ YoY จาก SSS ที่ดีขึ้น การวางแผนเปิดสาขาใหม่ 4 สาขา (ร้านโฮมโปร 3 สาขา ในแม่สอด เชียงใหม่ และภูเก็ต รวมถึงร้านเมกาโฮม 1 สาขาในศรีราชา) และมาร์จิ้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากที่มีสัดส่วนยอดขายสินค้า Private Brand ที่มีมาร์จิ้นสูงเพิ่มมากขึ้นและการคุมค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
  • มองเป็นหุ้นใน SETESG Index ที่น่าสนใจ ซึ่งได้ Rating ‘AA’ และมี Upside Risk จากการเป็นผู้ได้ประโยชน์หากรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม เช่น นำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษี (ถ้ามี) โดยที่ผ่านมามีมาตรการช้อปปิ้งที่ได้รับอนุมัติ 8 ครั้งในปี 2015-2023 ช่วยหนุนให้ SSS ปรับเพิ่มขึ้น 1-2%YoY
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 13.00 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 7.0% และอัตราเติบโตระยะยาวที่ 2.5%) และคาดให้ Dividend Yield ปีนี้ราว 3.9% 

 

ธีมการลงทุนตลาดหุ้นโลก

 

ผู้บริโภคสหรัฐฯ มีการใช้จ่ายในสินค้าโปรโมชัน ทำให้ยอดขายช่วงวันหยุด Cyber Week ปี 2024 เติบโตดีจากปีก่อน ซึ่งเราเชื่อว่าภาพนี้จะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2024 หลังยังมีช่วงเทศกาลวันหยุดและมีการเสนอส่วนลดต่อ โดยภาพรวมคาดว่าจะเป็น Sentiment บวกต่อราคาหุ้น โดยเราแนะนำ WMT, AMZN, COST, SHOP, AFRM, V, MA, TCOM, ABNB และ BRNG อย่างไรก็ดี ช่วง 1H25 แนะนำให้อยู่ในกลุ่มค้าปลีกที่มีสัดส่วนสินค้าจำเป็นมากเช่นเดิม (WMT) หลังการฟื้นตัวยังเปราะบาง

 

  • ยอดขาย Cyber Monday ปี 2024 เพิ่มขึ้น 7.3%YoY อยู่ที่ 1.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และดีกว่าคาดที่ 1.32 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ยอดขายรวมในช่วง Cyber Week (วันขอบคุณพระเจ้าถึง Cyber Monday) อยู่ที่ 4.11 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2%YoY ถือได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีของการจับจ่ายในสหรัฐฯ หนุนจากการใช้โปรโมชันและ Buy-Now-Pay-Later เพื่อซื้อสินค้าราคาแพง
  • ขณะที่เรายังคงเห็นสัญญาณเชิงบวกของแนวโน้มการเติบโตไปจนถึงสิ้นปี โดย 

 

  1. คาดการณ์ยอดขายออนไลน์รวมกันในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะอยู่ที่ 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.4%YoY
  2. แนวโน้มผลประกอบการของกลุ่มค้าปลีกใหญ่ที่ดีกว่าคาด อาทิ WMT
  3. กลุ่มสินค้า Discretionary ที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองทั้ง ULTA, LULU, ANF และ URBN เผยงบดีกว่าคาดและเพิ่มคาดการณ์ปี 2024 รวมถึงรายงานยอดขายช่วงวันหยุดที่ดี
  4. กลุ่มท่องเที่ยวอย่าง Airbnb มีคาดการณ์เชิงบวก และ United Airlines คาดการณ์การเดินทางไปยุโรปในช่วงคริสต์มาสเพิ่มขึ้น 30%

 

ภาพนี้ทำให้เราประเมินว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงปลายปีนี้จะยังคงมีแนวโน้มที่ดีจากในช่วงเทศกาลที่มีการจัดส่วนลดและเสนอโปรโมชัน โดยมองประเด็นนี้เป็น Sentiment บวกต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นได้จนถึงสิ้นปี 2024 โดยในกลุ่มคอมเมิร์ซและค้าปลีกเราแนะนำ WMT, AMZN, COST และ SHOP รวมถึงกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายบนคอมเมิร์ซอย่าง AFRM, V และ MA ขณะที่กลุ่มท่องเที่ยวที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเดินทางอย่าง TCOM, ABNB เช่น BRNG

 

อย่างไรก็ดี ในช่วง 1H25 ความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของกลุ่มยังมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในกลุ่ม ทำให้การเติบโตของผลประกอบการจะต้องมาจากกลยุทธ์การดำเนินงานที่ดีในแต่ละไตรมาส เราจึงมองว่าการฟื้นตัวของกลุ่ม Retail โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสัดส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยมากนั้นยังมีความไม่แน่นอน แนะนำอยู่ในกลุ่มค้าปลีกอย่าง WMT ที่มีภาพการเติบโตที่ดีและชัดเจนมากกว่า

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

เงินสด/สภาพคล่อง

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังสูง โดยเฉพาะสหรัฐฯ นอกจากนี้สภาพคล่อง/เงินสดมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินต่อ เช่น ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง สงครามรัสเซีย-ยูเครน และข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ-คู่ค้าต่างๆ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ เตือนว่าจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากกลุ่ม BRICS ที่ประกอบไปด้วยบราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ ที่ 100% หากกลุ่ม BRICS สร้างหรือหนุนสกุลเงินใหม่มาแข่งกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

ตราสารหนี้/เงินฝากระยะยาว

 

โอกาสที่ UST Yield Curve จะเพิ่มความชัน โดยที่ Yield ตัวยาวเพิ่มขึ้นยังมีอยู่จากแนวโน้มการผลักดันนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเงินเฟ้อ ทั้งนโยบายกีดกันผู้อพยพและนโยบายกำแพงภาษี โดยอาจทำให้ Fed เพิ่มความระมัดระวังในการลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป นอกจากนี้นักลงทุนอาจต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงสำหรับการลงทุนใน UST มากขึ้นท่ามกลางความกังวลทั้งการขาดดุลการคลัง แรงกดดันเงินเฟ้อ และความผันผวนในตลาด UST ทั้งนี้ Bond อายุ 2-4 ปีมีความเสี่ยง Duration ไม่มาก และ Coupon ที่มากพอ จึงทำให้ตราสารหนี้ตัวสั้นยังน่าสนใจลงทุน เพื่อรับ Coupon และคุ้มที่จะถือเพื่อ Hedge หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก

 

US Treasury & IG

 

UST Yield โดยเฉพาะตัวยาว มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากความคาดหวังที่ลดลงของตลาดฯ เกี่ยวกับแนวโน้มการลดดอกเบี้ยที่มากของ Fed หลังล่าสุด เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะนี้แข็งแกร่งมากกว่าที่เคยคาดไว้ พร้อมกับส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในอนาคต ประกอบกับความกังวลแนวโน้มการขาดดุลการคลังที่มากขึ้นและแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังหนืดจากการผลักดันนโยบายต่างๆ ของทรัมป์

 

แนะนำลงทุนทั้ง UST และ US IG Bond โดยเน้นลงทุนใน Duration ประมาณ 2-4 ปีที่ให้ Yield เฉลี่ยยังสูงกว่าประมาณการอัตราดอกเบี้ย ‘ระยะยาว’ ของ Fed ที่ 2.9% เพื่อเป็นการ Lock Coupon 

 

High Yield Bond

 

US HY ยังให้ผลตอบแทนรวมเป็นบวก QTD ส่วนใหญ่มาจาก Spread ที่แคบลง ตาม 

 

  1. US HY Default Rate ที่ยังอยู่ต่ำเพียง 1.39%
  2. ภาพรวม Rising Stars ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า Fallen Angels สอดคล้องกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตดี 
  3. ความผันผวนของตลาด US HY ที่ยังต่ำ
  4. ประเด็น Maturity Wall ที่ยังไม่ได้น่ากังวลนัก

 

โดยในปี 2025 อยู่ที่เพียง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ด้วย Spread ที่ค่อนข้างแคบ และ UST Yield ตัวยาวที่ยังเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อ จึงทำให้ Upside ของ US HY มีจำกัด

 

สินทรัพย์ผสม, กึ่งหนี้กึ่งทุน และ REITs

 

REITs ถือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนในรูปกระแสเงินให้กับ Portfolio ได้ทั้งในระยะกลางถึงยาว และเป็นการเพิ่ม Diversification ให้กับ Portfolio จากความสัมพันธ์ของผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อื่นต่ำ

 

สินทรัพย์ผสม (Ready Mixed - Asset Allocation) ช่วยกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ลงทุน และช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่มีต่อสินทรัพย์ที่ถือครอง

 

US REITs

 

US REITs มีปัจจัยหนุนจาก 

 

  1. แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งเราคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปี 2025 ส่งผลให้ US REITs มีความน่าสนใจในแง่ของเงินปันผลที่สูงราว 4.0%
  2. Occupancy Rate ที่อยู่ในระดับสูงราว 94% และกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NOI) ที่เติบโตต่อเนื่อง 
  3. ผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงตามแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
  4. งบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต 
  5. Valuation ที่อยู่ในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต 

 

อย่างไรก็ตาม Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้นจากแผนขาดดุลการคลังที่เพิ่มขึ้นของทรัมป์และความกังวลเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกดดันราคา US REITs ในระยะสั้น

 

Private Credit

 

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อ Private Credit Asset จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้วและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) อย่างไรก็ตาม ยังเน้นการลงทุนใน Private Credit ที่ปล่อยกู้ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิ์เรียกร้องหลักประกันเป็นลำดับแรก (First Lien Seniority)

 

หุ้นไทย

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้ปัจจัยหนุนระยะยาวจาก

 

  1. เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2568 ที่เร่งตัวขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น มาตรการแจกเงิน 10,000 บาททั้ง 3 เฟส รวมทั้งแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว
  2. แนวโน้มการลงทุนด้าน Data Center ในไทยที่เพิ่มขึ้น
  3. นโยบายการเงินที่มีแนวโน้มผ่อนคลาย โดยคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดดอกเบี้ยปี 2568 อีก 25 BPS อยู่ที่ 2.0% 
  4. กำไร บจ. ในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัว โดย Bloomberg คาดการณ์ EPS Growth ในปี 2568 ของ SET ที่ 13% แม้ว่าการจะปรับขึ้น Tariff ของสหรัฐฯ อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าและเงินทุนไหลออก แต่ในระยะกลาง-ยาวภาคการท่องเที่ยวและ FDI ที่ยังดีจะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท 

 

หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว

 

เรามองว่าการที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายภายใต้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวแบบ Soft Landing จะทำให้ตลาดหุ้นโลกมีผลตอบแทนที่ดี กำไร บจ. สหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตเป็นวงกว้างมากขึ้น นโยบายของทรัมป์ปรับลดภาษีเงินได้และผ่อนคลายกฎระเบียบช่วยสนับสนุนกำไรของ บจ. ขณะที่การปรับขึ้น Tariff จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในระยะสั้น กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายทรัมป์ เช่น กลุ่มการเงินและกลุ่มพลังงาน

 

หุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากการลดดอกเบี้ย แต่ยังเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ จะปรับเพิ่ม Tariff และเสถียรภาพทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนีที่ลดลง 

 

หุ้นญี่ปุ่นได้อานิสงส์จากเงินเยนอ่อนค่าและการปฏิรูปบรรษัทภิบาลของตลาดฯ

 

หุ้นสหรัฐฯ

 

ความคาดหวังแนวโน้มเศรษฐกิจ Soft Landing ในสหรัฐฯ ยังมีอยู่ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง สูงกว่าตลาดคาดและเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ขณะที่ Consensus คาดว่า S&P 500 EPS Growth ใน 4Q24 จะ +11.8%YoY และจะขยายตัวถึง 2 หลักในทุกไตรมาสของปี 2025 ส่วนการที่คณะทำงานของทรัมป์ที่เตรียมเข้ามาบริหารในเดือนมกราคม 2025 ได้หนุนความหวังของตลาดเกี่ยวกับการผ่อนคลายกฎระเบียบและการลดภาษีเงินได้ในสหรัฐฯ 

 

ทั้งนี้ เรายังเน้นหุ้นกลุ่ม Quality Growth ที่ EPS มีแนวโน้มขยายตัวดีและสอดรับกับ AI Theme ผสมผสานกับหุ้นกลุ่ม Defensive ที่ช่วยลดความเสี่ยงสงครามการค้า

 

หุ้นยุโรป

 

ดัชนีหุ้นยุโรปได้แรงหนุนจากแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักในยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มส่งเสริมการบริโภค โดยเราเน้นหุ้นกลุ่ม Quality Growth ยุโรปที่มีความสามารถในการกำไรสูงและมีงบดุลแข็งแกร่ง แม้จะยังมีความเสี่ยงจาก ภาคการเมืองของเยอรมนีและฝรั่งเศสที่มีเสถียรภาพลดลงจากการที่รัฐบาลมีเสียงส่วนน้อยในสภา ขณะที่ยังไร้ข้อสรุปบนร่างงบประมาณประจำปี 2025 รวมทั้งข้อพิพาทการค้ากับจีน (หลังจีนบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวต่อการนำเข้าบรั่นดีจาก EU) และแนวโน้มการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หลังทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ (กลุ่ม Auto) ของสหภาพยุโรป

 

หุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่

 

ตลาดหุ้น EM เผชิญความท้าทายมากขึ้น หลังทรัมป์ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ สร้างความกังวลต่อประเด็นการเก็บภาษีสินค้านำเข้า ขณะที่ 10Y UST Yield ปรับเพิ่มขึ้น และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

 

แม้ทางการจีนจะมีการออกมาตรการกระตุ้นในช่วงที่ผ่านมาจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยรอการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุม CEWC ช่วงเดือนธันวาคมนี้

 

เศรษฐกิจของอินเดียเติบโตชะลอตัวลง ขณะที่กำไรของ บจ. อาจถูกปรับประมาณการลงและกดดันดัชนีฯ ระยะสั้น อย่างไรก็ดี หุ้นอินเดียอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจโลก ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ และต่อดอกเบี้ยของ Fed ต่ำ จึงได้รับผลกระทบเชิงลบจากความเสี่ยงมหภาคภายนอกที่น้อยกว่า EM อื่นๆ

 

หุ้นอินเดีย

 

ตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มชะลอตัวลงในระยะสั้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด โดยธนาคารกลางอินเดียปรับลดคาดการณ์ GDP ใน FY68 ลงอยู่ที่ 6.6% จากเดิมคาดไว้ที่ 7.2% และได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 6.5% ตามคาดจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 6.21% (มากกว่ากรอบเป้าหมายที่ 4-6%) ขณะที่ได้ปรับลดอัตราส่วนสำรองเงินสดของธนาคารลง 0.50% เป็น 4.0% เพื่อเสริมสภาพคล่องในเศรษฐกิจ 

 

นอกจากนี้ Valuation ของดัชนีฯ อยู่ในระดับที่แพง อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจอินเดียพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ในสัดส่วนต่ำกว่า EM อื่นๆ และโครงสร้างเศรษฐกิจยังเติบโตดีในระยะยาว แนะนำให้ทยอยสะสมเมื่อย่อตัว

 

หุ้นอินโดนีเซีย

 

ดัชนีฯ ได้แรงหนุนจาก 

 

  1. เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตดีจากการบริโภคที่ฟื้นตัวและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีราว 10.3% ในเดือนตุลาคม ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ ปราโบโว ซูเบียนโต ซึ่งจะหนุนภาคการลงทุนและก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
  2. FDI มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยใน 3Q67 FDI ขยายตัวอยู่ที่ +18.6%YoY เพิ่มขึ้นจาก 2Q67 ที่ +16.6%YoY
  3. เราคาดว่า BI จะลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 100 BPS จนถึงสิ้นปี 2568 ซึ่งจะช่วยหนุนภาคการบริโภค
  4. Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดย 12M Fwd P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ -1.0 s.d. อย่างไรก็ตาม ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลงจากความกังวลต่อนโยบายของทรัมป์ที่อาจส่งผลกดดันดัชนีฯ ในระยะสั้น 

 

หุ้นจีน

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากมาตรการแก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น มาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการส่งเสริมตลาดทุน รวมทั้งจาก EPS ดัชนีฯ ที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ในการประชุม CEWC ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม ตลาดยังคาดหวังว่าทางการจีนจะหารือเกี่ยวกับการรักษาเป้า GDP Growth ของปี 2025 ให้สอดคล้องกับเป้าที่ราว 5% ซึ่งได้กำหนดไว้ในปี 2024รวมถึงยังคาดหวังแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้นสำหรับปี 2025 ท่ามกลางความเสี่ยงสงครามการค้ากับสหรัฐฯ 

 

สินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยพื้นฐานของทองคำยังคงสนับสนุนการลงทุนในพอร์ตระยะยาวเนื่องจาก

 

  1. เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะสงครามที่รุนแรงได้ท่ามกลางความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครน
  2. ความกังวลประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่อยู่สูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง สนับสนุนการถือครองทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ
  3. ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากนโยบายการกีดกันทางการค้า
  4. Fund Flow ของ ETF ทองคำที่กลับมาซื้อสุทธิ 7 เดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าและ US Bond Yield ที่ปรับขึ้น มีแนวโน้มส่งผลกดดันราคาทองคำในระยะสั้น

 

ภาพ: Guirong Hao / Getty Images, CGinspiration / Getty Images 

 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

... • 9 ธ.ค. 2024

READ MORE



Latest Stories