THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
เศรษฐกิจโลก
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ไส้ในเศรษฐกิจยังเปราะบาง สะท้อนภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ‘มากกว่าคาด’

... • 3 ก.ค. 2023

HIGHLIGHTS

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากประเด็นเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะผ่านพ้น ที่ทำให้ความเชื่อมั่นดีขึ้นเท่านั้น 
  • ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชะลอลง โดยเฉพาะดัชนี Flash Composite PMI ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกชะลอลงอย่างพร้อมเพรียงในเดือนมิถุนายน บ่งชี้ว่าการชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 
  • บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า ท่าทีของประธานธนาคารกลางต่างๆ ที่ยังส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อนั้น เป็นไปเพื่อบริหารความคาดหวังของตลาดว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยปีนี้ เพื่อให้ความคาดหวังเงินเฟ้อโดยรวมลดลง
  • ตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจระดับสูงสุด เนื่องจากดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน นำโดยภาคบริการ ประกอบกับ ทางการจีนยังมีแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะการปรับลดลง RRR เพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังปีนี้ และการเร่งออกพันธบัตรพิเศษของรัฐบาลท้องถิ่นจีน ขณะที่ EPS ของ บจ.จีน ยังมีแนวโน้มถูกปรับเพิ่มขึ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่เหมือนจะดูดีขึ้น ทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ จาก Conference Board ที่ปรับตัวดีขึ้นหลังประเด็นเพดานหนี้ผ่านพ้นไป แต่บ่งชี้ว่าจะซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ลดลง และคำสั่งซื้อสินค้าคงทนรายเดือนที่ฟื้นตัวขึ้น 1.7% ต่อเดือน ผลจากคำสั่งซื้อเครื่องบินที่เพิ่มขึ้น 

 

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะ Flash Composite PMI ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยในสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 53 จากระดับ 54.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ในยูโรโซนลดลงเหลือ 50.3 ในเดือนมิถุนายนจาก 52.8 ในเดือนก่อนหน้า การชะลอตัวรุนแรงเป็นพิเศษในฝรั่งเศส ทั้งนี้ กิจกรรมทางธุรกิจในประเทศขนาดใหญ่ในยุโรปชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนมิถุนายนจากภาคบริการที่ชะลอลงเป็นหลัก บ่งชี้ว่าต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นอาจเริ่มกระทบเศรษฐกิจ ขณะที่การชะลอตัวจากภาคการผลิตกำลังเข้าสู่ภาคบริการ 

 

ส่วนดัชนีราคาบ้าน S&P Case-Shiller หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 ที่ -0.2% ในเดือนเมษายน จาก 0.7% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนี 20 เมืองใหญ่หดตัว -1.7% ต่อเนื่องจาก -1.1% เดือนก่อน ผลจากดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ที่ 6.7% 

 

นอกจากนี้ประธานธนาคารกลางกลางซีกโลกตะวันตกยังคงส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อคุมเงินเฟ้อ โดยประธาน Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรกฎาคมและกันยายนเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ประธาน ECB และ BOE ระบุ เงินเฟ้อยังสูงเกินไปและมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ทำให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ มีเพียงประธาน BOJ ที่ยังเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่ถึงเป้าที่ 2% จึงยังไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย และ WSJ รายงานว่า สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการใหม่ในการจำกัดการส่งออกชิปไปยังประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างเร็วที่สุดในเดือนกรกฎาคม (6) ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 สหรัฐฯ ประกาศครั้งสุดท้าย ปรับตัวขึ้นดีเกินคาดที่ 2%QoQ จากที่ตลาดคาดที่ 1.4%

 

“สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดปรับตัวดีขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่เหมือนจะดูดีขึ้น ทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ และคำสั่งซื้อสินค้าคงทนรายเดือนที่ฟื้นตัวขึ้นหลังประเด็นเพดานหนี้ผ่านพ้นไป อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว เช่น Flash Composite PMI ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมถึงดัชนีราคาบ้าน S&P Case-Shiller หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2012 ขณะที่ส่งออกไทยยังคงหดตัวที่ -4.6% ต่อเนื่องเดือนที่ 8 ด้านส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตร 2 และ 10 ปี สหรัฐต่ำสุดในรอบ 42 ปี ที่ -1%”

 

ประเด็นสำคัญ

 

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ มองว่า แม้ตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของสหรัฐฯ เช่น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและคำสั่งซื้อสินค้าคงทนจะปรับตัวดีขึ้น แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากประเด็นเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะผ่านพ้นที่ทำให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น และจากสายการบินสั่งซื้อเครื่องบินโดยสารเพื่อสนับสนุนการเดินทาง 

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวชะลอลง โดยเฉพาะดัชนี Flash Composite PMI ของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกชะลอลงอย่างพร้อมเพรียงในเดือนมิถุนายน หมายความว่าการชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเริ่มชะลอลงโดยพร้อมเพรียงจาก 

 

  1. การชะลอตัวจากภาคการผลิตกำลังเข้าสู่ภาคบริการ
  2. นโยบายการเงินที่ตึงตัว นำไปสู่สภาพคล่องทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น และเริ่มกดดันภาคเศรษฐกิจมากขึ้น
  3. ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อน่าจะชะลอลงเป็นลำดับ โดยเฉพาะเงินเฟ้อจากภาคการผลิตที่จะเริ่มชะลอตัวลงตามราคาโภคภัณฑ์และเงินเฟ้อจากจีนที่หดตัว 

 

ทั้งนี้ ราคาบ้านสหรัฐฯ ที่หดตัวและความคาดหวังเงินเฟ้อ 1 ปีข้างหน้าที่ชะลอต่อเนื่อง ตอกย้ำมุมมองของเราเช่นกัน ทำให้เรามองว่ามุมมองของประธานธนาคารกลางต่างๆ ที่ยังส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อนั้น ส่วนหนึ่งเป็นการบริหารความคาดหวังของตลาดว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยปีนี้ เพื่อให้ความคาดหวังเงินเฟ้อโดยรวมลดลง 

 

ทั้งนี้ การที่ทิศทางนโยบายการเงินของซีกโลกตะวันตกยังคงส่งสัญญาณตึงตัว ขณะที่นโยบายการเงินในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและจีน มีทิศทางผ่อนคลายกว่า ทำให้เงินสกุลเอเชียอ่อนค่าลงรุนแรงขึ้น และทำให้บาทมีทิศทางอ่อนค่าลงแรงเช่นกัน

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

 

  1. หุ้นที่คาดว่าผลการดำเนินงาน 2Q66 จะยังเติบโตได้ดี YoY เลือก AOT, BBL, ADVANC, MINT, OSP, BDMS และ BEM
  2. หุ้นพื้นฐานดีซึ่งคาดยังมีศักยภาพจ่ายเงินปันผลสูง โดยคาดให้ Div. Yield ปี 2023 มากกว่าปีละ 5% เลือก TISCO, LH และ AP
  3. หุ้นสู้วิกฤต ซึ่งคาดราคาจะทยอยฟื้นตัวได้ดีใน 1 เดือนหลังปรับตัวลงมาแรง เนื่องจากสิ้นสุดการเลือกตั้งไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เลือก BH, BTS, CHG และ CPALL
  4. หุ้นที่คาดว่าได้อานิสงส์จากเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า เลือก AH, NYT และ ERW

 

ขณะที่ช่วงสั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุน

 

  1. หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและกลุ่ม PTT ออกไปก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือความไม่ชัดเจนของโครงสร้างราคาพลังงานจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่
  2. หุ้นที่คาดว่าได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ได้แก่ กลุ่มพาณิชย์ (GLOBAL), กลุ่มสินเชื่อ (MTC SAWAD), กลุ่มยานยนต์ (SAT STANLY), กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG มีต้นทุนน้ำตาลสูง), กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (CKP) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร (CPF GFPT)

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤษภภาคมว่าจะหดตัวหรือไม่ (ตลาดคาด -0.4% เราคาด 0.5% เดือนเมษายน 0.57%) 
  2. การประชุม OPEC ว่ามุมมองอุปสงค์-อุปทานและราคาน้ำมันเป็นอย่างไร มีแผนจะปรับลดกำลังการผลิตอีกหรือไม่ 
  3. ดัชนี ISM ภาคการผลิตสหรัฐฯ ตลาดคาด 47.2 ฟื้นตัวจาก 46.9 
  4. รายงานผลการประชุม FOMC เดือนมิถุนายน 
  5. ตัวเลขตลาดแรงงานที่น่าจะชะลอลง ทั้งตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLT ตลาดคาด 9.9 ล้านตำแหน่งจาก 10.1 ล้านตำแหน่ง) อัตราว่างงาน (ตลาดคาด 3.7% เท่าเดิม) และการจ้างงานนอกภาคเกษตร (ตลาดคาด 2 แสน จาก 3.29 แสนตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม)

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: ERW - 2Q23 เป็นโลว์ซีซันที่แข็งแกร่ง

 

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ. ดิเอราวัณกรุ๊ป หรือ ERW เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  • เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจโรงแรม ซึ่งพอร์ตโรงแรมมีความหลากหลายและกระจายตัวอยู่ในทุกระดับ ครอบคลุมตั้งแต่โรงแรมระดับลักชัวรี ระดับกลาง ระดับชั้นประหยัด และระดับบัดเจ็ต โดยตั้งอยู่ทั่วจุดหมายปลายทางที่สำคัญของประเทศไทย
  • การฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวไทยหนุนให้อัตราเข้าพักและ ARR ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ RevPar แข็งแกร่ง โดย 2Q23 คาดกำไรปกติที่ 70 ล้านบาท ฟื้นจากขาดทุนปกติ 131 ล้านบาทใน 2Q22 แต่ลดลงจาก 224 ล้านบาทใน 1Q23 ตามฤดูกาล และสูงกว่ากำไรปกติ 2Q19 ที่ 11 ล้านบาท  
  • ผลประกอบการจะฟื้นตัวต่อเนื่องหลังไทยกลับมาเปิดประเทศ โดยปี 2566 คาดพลิกมีกำไรปกติ 502 ล้านบาท สูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด และเติบโตต่อ 39%YoY ในปี 2024  จากอัตราเข้าพักและ ARR ที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้คาดว่า RevPar จะเติบโตและสูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด 
  • ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น ERW ปรับลง 11% แย่กว่า SET ที่ลดลง 8% จากกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวกระทบต่อความต้องการเดินทาง อย่างไรก็ดี มองบริษัทเป็นผู้ได้ประโยชน์รายสำคัญจากท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว และประเทศไทยยังติด Top 10 ที่เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก เนื่องจากดำเนินธุรกิจโรงแรมเพียงอย่างเดียว
  • เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 5.50 บาท (อ้างอิง EV / EBITDA ที่ 13 เท่า) และคาดว่าจะกลับมาจ่ายเงินปันผลจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.04 บาท คิดเป็น Div. Yield 0.8% 

 

มุมมองการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง / เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

สินทรัพย์สภาพคล่อง / เงินสด มีโอกาสให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบาย (อาจถูกปรับขึ้นเพิ่ม และคาดว่าจะไม่ถูกรีบปรับลด) มากขึ้น โดยที่เศรษฐกิจโลกยังเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยใน DMs แม้ว่าความวิตกแผ่วลงไปบ้าง ทั้งนี้ ได้แรงส่งจากภาคบริการและการเปิดเมืองของจีนและเอเชีย ซึ่งค่อนข้างแย่กว่าคาด

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

UST Yields ใน 6-12 เดือนถัดไปมีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขึ้นจากเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลง Fed ใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย และ Recession Risks แต่ Yields มี Upside Risks จากเงินเฟ้อพื้นฐานหนืด Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด และ Recession ที่อาจเกิดขึ้นช้ากว่าคาด ด้าน TH Bond Yields เคลื่อนไหวค่อนข้างสอดรับกับของ US

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

US IG ที่หนุนด้วยงบดุลที่ดี ได้แรงส่งจาก UST Yields ที่มีแนวโน้มเป็นขาลงมากกว่าขึ้น แต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการที่ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด รวมทั้งจำนวนบริษัทล้มละลายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัย ทั้งนี้ High Grade อย่าง AA ขึ้นไปค่อนข้าง Resilient ในช่วงเศรษฐกิจแย่ ด้าน TH IG Spreads ยังทรงตัว

 

US HY มีความเสี่ยง Spread Widening มากกว่า IG อย่างชัดเจน เหตุจาก Recession Risks โดยเฉพาะจากภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้นจนใกล้เคียงระดับในช่วงเผชิญ Recessions ในอดีต ซึ่งถูกกดดันเพิ่มเติมจากวิกฤตธนาคารภูมิภาคที่ถึงแม้ว่าจะแผ่วลง แต่ยังคงสร้างความกังวล อีกทั้งจำนวนบริษัทยื่นล้มละลายสูงขึ้นชัดเจน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มถูกกดดันจากภาคผลิตหดตัว สินเชื่อตึงตัว Earnings หดตัว และ Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด อย่างไรก็ดี การจ้างงานและผู้บริโภคที่แข็งแรง ภาคบริการฟื้นตัว และ EPS มีท่าที Bottom Out ด้าน Mega-Cap Tech หนุนด้วย EPS ที่ดีกว่าคาด และ AI Trend แต่ valuations แพงขึ้น จึงควรทยอยลดสัดส่วน

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

Bond Yield เยอรมนี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม ECB ที่ยังมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือนกรกฎาคม พร้อมทั้งสภาพคล่องที่มีแนวโน้มลดลงตามการเร่งทำ QT บน APP และการชำระคืนบน TLTRO 3 ขณะที่โมเมนตัมเศรษฐกิจ EU แผ่วลงจะกดดันต่อ EPS ประกอบกับ Valuation ตลาดหุ้นยุโรปแพงเมื่อเทียบตราสารหนี้ยุโรป

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ เสี่ยงเผชิญแรงขายทำกำไรหลังปรับเพิ่มขึ้นมามาก ขณะที่ความเสี่ยง Recession ในโลกที่ยังมีอยู่และโมเมนตัมการฟื้นตัวที่แผ่วของจีนจะกดดันแนวโน้ม EPS ญี่ปุ่น ประกอบกับยังโอกาสที่ BOJ จะปรับ YCC ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะกดดันให้เยนชะลอการอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ดัชนีฯ ยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน นำโดยภาคบริการ ประกอบกับทางการจีนยังมีแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะการปรับลดลง RRR เพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังปีนี้ และการเร่งออกพันธบัตรพิเศษของรัฐบาลท้องถิ่นจีน ขณะที่ EPS ของ บจ.จีน ยังมีแนวโน้มถูกปรับเพิ่มขึ้น

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นของทางการจีนจาก EPS ที่มีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่ม Platform ที่มีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ขณะที่ Valuation ที่ยังไม่แพง อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะการกีดกันเทคโนโลยีอาจสร้างความผันผวนบนดัชนีฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

การส่งออกที่หดตัวน้อยกว่าคาดในเดือนพฤษภาคมและการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ EPS มีแนวโน้มขยายตัวใน 2H66 อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มผันผวนบนปัจจัยเสี่ยงด้านการเมือง โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องหลังการเลือกตั้ง

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ GDP ใน 2Q66 โตกว่าตลาดคาดเล็กน้อย อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจเวียดนามพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ประกอบกับอุปสงค์ประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่มีแนวโน้มชะลอตัวในระยะต่อไป ทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดัน

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ธนาคารกลางฯ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.75% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน ทำให้ภาพการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศยังไม่ชัดเจน Upside ระยะสั้นมีจำกัด อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามการบริโภคในช่วง 2H66 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ต้นปี 2567 รวมทั้งแนวโน้มของ FDI ที่กำลังรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

ได้แรงหนุนจากแนวโน้ม USD อ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า และ US (Real) Bond Yields ที่อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำมี Upside จำกัด เนื่องจาก Fed มีท่าทีขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด และตลาดทยอยปรับมุมมองตาม Fed ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อทั้ง Real Yields ขาลง และ USD ด้านอ่อนค่า

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

 

เศรษฐกิจโลก

 

อุปสงค์โลกเป็นตัวแปรสำคัญที่ยังไม่แน่นอน ซึ่งค่อนข้างหดตัวในภาคผลิต แต่ขยายตัวต่อเนื่องในภาคบริการ แม้จะเริ่มชะลอลงในระยะหลัง นอกจากนี้อุปสงค์โลกเป็นขาลงใน DMs แต่กำลังฟื้นตัวในจีนและเอเชีย กระนั้นยังไม่ทั่วถึงและไม่ร้อนแรง นับเป็นอุปสรรคต่อทั้งราคาพลังงานและอุตสาหกรรม

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

ถูกกดดันจากกลุ่ม Office จาก Hybrid Working, Occupancy Rate ลด, Vacancy Rate เพิ่ม และ Delinquency Rate เพิ่ม อีกทั้งสินเชื่อ CRE ตึงตัว, เศรษฐกิจขาลงแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่ง Fed มีท่าทีปรับเพิ่มขึ้นและไม่รีบลด นับเป็นการเพิ่ม Refinancing Risks อย่างไรก็ดี Net Operating Income ของกลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

เศรษฐกิจโลก

 

หนุนด้วยเศรษฐกิจฟื้นตัว, REIT-Govt Yield Spreads สูง, Valuation ถูก และกลุ่ม Data Storage นอกจากนี้ Office Leasing และ Vacancy Rates ที่แย่ลงในสหรัฐฯ กลับทรงตัวได้ในเอเชีย ทั้งนี้ Bond Yields มี Upside Risks ภายนอก (Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มและไม่รีบลด) ขณะที่อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอลงในสิงคโปร์

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

เศรษฐกิจโลก

 

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สำหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศแนะนำให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 3 ก.ค. 2023

READ MORE



Latest Stories